วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550

Thai End Game?

Thai End Game ? โดย.James Vander Meer

เป็นนักหนังสือพิมพ์ นักธุรกิจ นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ตายแล้วเกิดใหม่ สนธิ ลิ้มทองกุล มักจะ คิดว่าตนเองเป็นผู้เสียสละที่รอคอย ได้ปาวรนาตัวเองขึ้นมาเป็น ศัตรูตัวฉกาจของทักษิณ ชินวัตร สนธิพูดเป็นประจำในรายการเมืองไทยรายสัปด์ ของเขาว่า เขายอมตาย ในการที่จะทำให้ศัตรูกระเด็นออกไปจากวงการการเมือง เขาเคยอ้างว่ามีบุรุษลึกลับพร้อมอาวุธสงครามโยนระเบิดเข้าไปในบ้านพักของเขา

ไอ้แป๊ะ..เอ๊ย...สนธิ ครั้งหนึ่งเคยพูดว่าทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดที่ ประเทศเคยมีมา ใช้เวลากว่า 10 เดือน เสี่ยงภัยเสี่ยงอนาคตในการที่จะเอา
ทักษิณออก ก่อนที่จะประเมินถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างเพื่อนเก่าทั้งสอง เรามา ดูภูมิหลังของสนธิ คนที่ชอบพูดให้คนอื่นหลงเชื่อและมาดูสถานะทางการเงินของ เขาก่อน ซึ่งตอนนั้นสนธิค่อนข้างจะย่ำแย่ ไม่ว่าจะดีหรือเลว การทะเลาะกันของคน ดังทั้งสองคงไม่ใช่ด้วยเหตุผลอื่น นอกจากเหตุผลที่ทักษิณใช้อำนาจและอิทธิพล กำจัดคู่แข่งให้พ้นไปจากวงจรธุรกิจ หลังจากที่เขาได้รับการยกย่องว่าช่วยให้สนธิ หลุดพ้นจากการล้มละลายเมื่อห้าปีก่อน

ถึงตอนนี้สนธิคิดว่าตนเองต้องฉวยโอกาศ ขณะที่ทักษิณเป็นเพียงนายกรักษาการ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม สนธิกำลังประสบปัญหาเรื่องการเงิน เงินมี ไม่พอจ่ายเงินเดือนพนักงานทั้งในโรงพิมพ์และเวปไซท์ในเครือ โดยกล่าวหาว่ารัฐ ใช้อำนาจบีบธนาคารพานิชย์ไม่ให้ปล่อยเงินกู้ให้เขา อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เมื่อ 15-16 ปีก่อน ตอนที่บริษัทในเครือผู้จัดการทั้งหลาย กำลังเฟื่อง สนธิได้ซื้อกิจการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ที่มีบริษัท IEC ผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือรวมอยู่ด้วย เขาหว่านเงินลงทุนไปทั่วเอเซีย ซื้อ กิจการดาวเทียม โรงแรม สถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์รายวันท้องถิ่น นิตยสารที่มี ฐานอยู่ในฮ่องกง รวมทั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ เมื่อปี 2539 นิตยสารฟอร์จู นตีพิมพ์ว่าทรัพย์สินของเขามีมูลค่าถึง 500 ล้านดอลลาร์ (ประมาณสองหมื่น ล้านบาท)

ในช่วงเวลานั้น สนธิทำธุรกิจกับทักษิณอย่างสม่ำเสมอ AIS ของทักษิณซื้อเครื่อง โทรศัพท์มือถือจาก IEC ของสนธิ ในปี 2535 สนธิขายหุ้น IEC ให้ทักษิณ 17.5 เปอร์เซ็นต์ ในราคาหุ้นละ 10 บาท ก่อนที่เขาจะนำ IEC เข้าตลาด หลักทรัพย์ หลังเข้าตลาดราคาหุ้นของ IEC กระโดดขึ้นมา 25 เท่า ทำให้
ทักษิณรวยไม่น้อยกว่า 20 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 800 ล้านบาท) จาก การซื้อหุ้นครั้งนั้น

ทั้งสองคนเบิกบานกับความสำเร็จในยุคปี 2530 เป็นต้นมาที่เศรษกิจเฟื่องฟู แต่ โชคลาภกลับมาอันตรธานหายไปเมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ส่งผลให้เศรษกิจเดินถอยหลังเป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตการทาง การเงินในภูมิภาค ชินคอร์ปของทักษิณรอดพ้นวิกฤตมาแบบไม่เจ็บตัวเมื่อเทียบกับ คู่แข่ง ทำให้AIS บริษัทลูกของชินคอร์ปเข้ายึดครองตลาดโทรศัพท์มือถือไว้ได้ อย่างรวดเร็ว ทักษิณกล่าวว่า บริษัทของเขาโชคดีที่ทำประกันความเสี่ยงเงินกู้ต่าง ประเทศไว้เมื่อหกเดือนก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤต แต่สนธิบอกว่าทักษิณมีพราย กระซิบเรื่องลอยตัวค่าเงินบาทจากคนในรัฐบาล

ขณะที่ทักษิณรอดพ้นจากวิกฤต แต่กับสนธิอาณาจักรของเขากลับพังทลายลง บริษัท ในเครือผู้จัดการมีหนี้สินหลายสิบล้านดอลลาร์ ตัวสนธิเองถูกศาลพิพากษาให้เป็น บุคคลล้มละลาย จากวิกฤตครั้งนี้ทำให้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการโจมตีพรรคประชา ธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้นอย่างไม่ลืมหูลืมตา

เมื่อคู่ซี้เก่าทางธุรกิจหันหน้าเข้ามาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว สนธิใช้สื่อที่มีอยู่ในมือ สนับสนุนพรรคไทยรักไทยของทักษิณที่กำลังสยายปีก คนของผู้จัดการมีตำแหน่ง สำคัญในรัฐบาลและผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจ พันธิ์ศักดิ์ วิญญารัตน์ หัวหน้ากอง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ Asia Times ในเครือผู้ จัดการของสนธิ ที่ปัจจุบันปิดไปแล้ว ได้เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของทักษิณ ขณะที่ผู้ ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพานิชย์และได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากทักษิณ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เกื้อหนุนกันอย่างดีเมื่อห้าปีที่แล้ว ทักษิณแสวงหาอำนาจ

ขณะที่สนธิก็ต้องการปีนขึ้นจากหลุมอุกาบาตทางการเงินที่ตกลงไป วิโรจน์ นวลแข อดีตที่ปรึกษาทางการเงินของเครือผู้จัดการได้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ธนาคารกรุงไทย ภายใต้การบริหารของเขา หนี้ของผู้จัดการถูกตัดทอนลงจาก ประมาณ 45 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,800 ล้านบาท) ให้เหลือเพียง 5 ล้านดอลลาร์ (200 ล้านบาท) และสนธิก็ได้ก่อตั้งทีวีผ่านดาวเทียม ASTV ขึ้นในช่วงนั้น สนธิได้เวลาเช่าสถานีจากทีวีของรัฐหลายรายการ รวมถึงรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ที่ช่อง9 เขายังได้ลงทุนในสถานีช่อง 11 ของรัฐบาล นอก เหนือจากการที่เขาจะลงทุนในสถานีใหม่ที่รัฐบาลมีแผนที่จะเปิดอีก 2 ช่องด้วย ทุกอย่างก็ดูราบรื่นดี แล้วทำไมสนธิถึงได้กลายมาเป็นผู้ต่อต้านทักษิณอย่างเอาเป็น เอาตายอย่างที่เห็น หลายคนคิดว่าความตกต่ำของสนธิเป็นสาเหตุ แต่บางคนคิดว่ามี หลายเหตุผลรวมกันรวมทั้งเรื่องธุรกิจด้วย

สองปีก่อน กรุงไทยทำให้นักลงทุนตื่นตระหนกเมื่อออกมาประกาศว่ามีหนี้ที่มี ปัญหาถึง 40,000 ล้านบาท ทำให้เกิดแรงกดดันกับวิโรจน์ทำให้เขาต้องลาออก
สนธิออกมาปกป้องวิโรจน์คนที่ตัดหนี้ให้เขา แต่ก็รั้งวิโรจน์ไว้ไม่อยู่ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ยกเลิกแผนที่จะเปิดทีวีใหม่อีกสองช่องด้วย

ความตรึงเครียดมาถึงจุดแตกหักเมื่อเดือนกันยายน 2548 เมื่อรายการเมืองไทย รายสัปดาห์ของสนธิโดนถอด โดยผู้ถอดให้เหตุผลว่า สนธิพาดพิงถึงกษัตริย์ภูมิพล โดยไม่เหมาะสม สนธิประกาศว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพทางการพูด ซึ่งทำให้เขาได้ รับความเห็นใจจากประชาชนไม่น้อย เขาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเมื่อนำรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ไปจัดที่อื่น โดยเอาเรื่องการทุจริตของรัฐบาลมาพูดในแต่ละ สัปดาห์

สิ่งที่เขาได้รับก็คือ ทักษิณได้ฟ้องร้องเขาเป็นเงินหลายล้านดอลลาร์ การกระทำของ ทักษิณกลับเป็นการเสริมภาพพจน์ให้สนธิว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ
ความขัดแย้งของทั้งสองคนดูเหมือนจะทุเลาลงบ้าง เมื่อกษัตริย์ภูมิพลได้ให้พระ บรมราโชวาทแก่ทักษิณ(แบบทางอ้อมเหมือนเคย)เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์
พรรษาปี 2548 ให้ทักษิณยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ ทักษิณตอบรับด้วยการ ถอนฟ้องในทันที แต่สนธิก็พยายามหาหนทางอื่นในการสร้างกระแสต่อต้านทักษิณ
ต่อไป และแล้วเมื่อถึงเดือนมกราคม 2549 เหมือนสวรรค์มาโปรด เมื่อครอบครัวของ ทักษิณขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทชินคอร์ปให้กับเทมาเส็กของสิงคโปร์เป็นมูลค่า 1.9 พันล้านดอลลาร์(เจ็ดหมื่นสามพันล้านบาท) โดยไม่เสียภาษี การขายหุ้นครั้งนี้ทำ ให้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มต่อต้านทักษิณ และสนธิก็เริ่มนำฝูงชนเดินประท้วง ในหลายแห่งของกรุงเทพฯ คำตะโกนที่เป็นเอกลักษณ์ “ท๊ากกกก สิน........ออกไป” ของเขากึกก้องไปตามถนนในกรุงเทพฯ ด้วยความ กลัวว่าจะเกิดความรุนแรง อาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายที่เฝ้าดูฉวยโอกาศ ทักษิณถูก บังคับโดยปริยายประกาศยุบสภาให้มีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และประเทศ ไทยก็ไม่มีรัฐสภามาตั้งแต่นั้น

สิ่งนั้นดูเหมือนจะเป็นชัยชนะแบบกลายๆของสนธิและพันธมิตรต่อต้านทักษิณ แต่ จริงๆแล้วไม่ใช่ เมื่อรู้ว่าอย่างไรเสียทักษิณก็ต้องชนะการเลือกตั้งอยู่วันยังค่ำ พรรค ร่วมฝ่ายค้านจึงรวมหัวกันไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง หลายสัปดาห์แห่งการตรึง เครียดก่อนการเลือกตั้ง ประชาชนหลายพันคนออกมาเรียกร้องให้ทักษิณลาออก จากนายกรักษาการ มันเกือบจะได้ผลในตอนแรก ถ้าไม่เป็นเพราะ 16 ล้านเสียง ที่พรรคไทยรักไทยได้รับจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน ซึ่งมากกว่าเสียงที่ พรรคฝ่ายค้านได้รับเมื่อการเลือกตั้งปี 2544 ถึงกว่าสองเท่า ทักษิณประกาศ ทั้งน้ำตาว่าเขาจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ใน ประเทศ

ปฏิบัติการสำเร็จแล้วหรือ? ก็ไม่เชิง สองสามอาทิตย์หลังจากนั้น กษัตริย์ภูมิ พลออกมาแซกแทรง เป็นเหตุนำไปสู่ประกาศการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นโมษะ และ
การถูกจำคุกของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนักสังเกตุการณ์ลงความเห็นว่าเป็น แผนการโกงของพวกเดียวกัน การเลือกตั้งครั้งใหม่ถูกกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม คณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ คงจะทำให้ผลการเลือกตั้งไร้ข้อกังขา ดู เหมือนว่าไทยรักไทยก็ยังจะชนะอีกนั่นแหละ เพราะได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้น หลามในต่างจังหวัด แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าทักษิณจะรับเป็นนายกอีกหรือไม่ในรัฐบาล ชุดหน้า ทางพรรคประกาศว่าทักษิณมีชื่อเป็นบุคคลแรกในรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ที่พรรค จะส่งลงรับเลือก ด้วยกำไรมหาศาลจากการขายหุ้นชิน ทักษิณมีเงินมากมายที่จะใช้ หาเสียงเลือกตั้ง และใช้จัดการสยบกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยในพื้นที่เลือกตั้งต่างๆ ส่วนสนธิตอนนี้ก็พยายามต่อสู้เพื่อให้กิจการอยู่รอด ด้วยความที่เป็นกลุ่มธุรกิจที่อิง การเมือง จึงได้หันกลับมามองกระบวนการทางการเมืองอีกครั้ง ขณะที่ประชาชนก็ เหนื่อยหน่ายกับหนทางตัน สนธิได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะคิดวิธีการต่อ ต้านทักษิณขึ้นมาใหม่ ในขณะเดียวกันคู่ค้าทางธุรกิจของเขาต้องเผชิญกับความล่า ช้ากว่าจะได้เช็คจากสนธิ บางคนบอกว่าสนธิกำลังมองหาแหล่งเงินใหม่เพื่อหนีการ บีบรัดจากธนาคาร

พนักงานที่เริ่มไม่พอใจก็มองหางานใหม่ ถึงแม้ว่ายอดขายบนแผงของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการจะมียอดสูงขึ้นตลอดเวลาที่มีการ ขับไล่ทักษิณ แต่ยอดโฆษณาที่ทางกลุ่มได้รับก็ลดลงอย่างน่าใจหาย ธุรกิจใหญ่ๆ หลายแห่งไม่อยากยุ่งกับคนปากมากอย่างสนธิ และเขาก็ต้องจำใจปลดพนักงานกว่า ร้อยคนในกิจการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของเขา และก็ยังไม่แน่ว่าหนังสือพิมพ์ ภาษาอังกฤษ ThaiDay ที่จำหน่ายร่วมกับหนังสือพิมพ์ International Herald Tribune ในประเทศไทยจะอยู่ได้ อีกนานเท่าไหร่ เวปไซท์ภาษาอังกฤษ Asia Times Online ยังคง ดำเนินอยู่ แต่พนักงานก็มีปัญหาได้รับเงินเดือนล่าช้า เท่านี้ยังไม่พอ รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ก็เรียกฝูงชนได้ไม่มากเหมือนเมื่อก่อน การนำข้อมูลต่างๆมาเปิดเผยก็น้อยลง คำพูดของเขาก็ไม่ได้รับความสนใจ เมื่อ เดือนพฤษภาคม สนธิกล่าวหาโดยขาดหลักฐานว่าทักษิณไปฟินแลนด์เมื่อปี 2542 เพื่อวางแผนล้มล้างสถาบันกษัตริย์เพื่อให้ประเทศปกครองแบบเป็นประชาธิปไตย โดยสมบูรณ์ (คนไทยส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย) พรรคไทยรักไทยต้องออกมาปฏิเสธ ว่าแผนการนั้นไม่เคยมี

ทักษิณทำการฟ้องสนธิต่อศาลเรียกค่าเสียหาย 25 ล้านดอลลาร์ (1,000 ล้านบาท) แต่ดูเหมือนว่ากษัตริย์ภูมิพลจะออกมาบอกทักษิณให้ถอนฟ้องอีกครั้ง
การที่สนธิตั้งใจที่จะเอาเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองสร้าง ความไม่พอใจให้กับประชาชนทุกวงการ เมื่อราวหนึ่งเดือนก่อน ทักษิณทำให้คน
ไทยทั้งประเทศไม่พอใจเมื่อเขากล่าวถึง “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ที่ต้อง การทำลายระบอบประชาธิปไตย คนทั่วไปคิดว่าทักษิณหมายถึงเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและอดีตนายกรัฐมนตรีที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบทักษิณ สนธิ สอดแทรกเข้ามาทันที เรียกร้องให้ประชาชนเลือกข้าง ที่เขาทำให้ดูเหมือนว่าเป็น
ความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับกษัตริย์ภูมิพล การเรียกร้องของสนธิไม่ได้รับการตอบสนอง และแล้วอีกอาทิตย์ต่อมา สนธิกล่าว หาว่าทักษิณว่าไม่ยอมทำอะไรเลยในการที่จะหยุดหนังสือ The King Never Smiles หนังสือชีวประวัติของกษัตริย์ภูมิพล เขียนโดยนักข่าว Paul Handley จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเป็นหนังสือ ต้องห้ามในประเทศไทย หนังสือเล่มนี้มีความเห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลเข้ามายุ่งเกี่ยว ทางการเมืองตลอดหกสิบปีที่ครองราชย์ เป็นความเห็นที่ตรงข้ามกับสิ่งที่คนไทยถูก สอนให้เชื่อ


ข้อกล่าวหาของสนธิถูกชี้แจงโดยอดีตเพื่อนเก่าของเขาเองที่ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา ของทักษิณคือพันธ์ศักดิ์ ที่ให้สัมภาษย์ผ่านรายการวิทยุรายการหนึ่งว่ารัฐบาลได้ส่ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงไปหารือกับอดีตประธานาธิบดีและเป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเยล จอร์จ บุช หนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับไม่ได้เสนอข่าวนี้ รัฐบาลโกรธมากเมื่อสนธิ นำปกหนังสือเล่มนี้ไปลงไว้บนเว็ปไซท์ผู้จัดการ ถึงแม้ว่าสนธิจะเอาออกหลังจาก นั้นไม่กี่ชั่วโมง รัฐบาลมีความเห็นว่าการกระทำของสนธิเป็นการกระตุ้นให้เกิด ความวุ่นวายในหมู่ประชาชน สนธิเป็นเครื่องมือของใครหรือเปล่า? หลายคนในกรุงเทพฯคิดเช่นนั้น ดูเหมือน ว่าเขาจะมีแหล่งข้อมูลที่เอามาใช้โจมตี เมื่อข้อมูลหมด ความสามารถที่จะปั่นฝูงชน ได้หดหายไปอย่างเห็นได้ชัด ความนิยมในตัวเขาเกิดจากการวิพากย์วิจารณ์ทักษิณ มาเป็นเวลานาน ซึ่งครั้งหนึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน แต่สนธิเป็นผู้นำ ข้อผิดพลาดของทักษิณมาเปิดเผย แต่ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งก็มองไม่เห็นใครที่จะดี กว่าทักษิณ

สามัญสำนึกบอกว่ารัฐบาลใหม่ที่นำโดยพรรคไทยรักไทยคงต้องทำทุกวิถีทางที่จะ สยบสนธิ มีการพูดกันหนาหูว่าสนธิคงจะต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศสักระยะ จริง หรือไม่จริงไม่รู้ แต่นักหนังสือพิมพ์ที่ทำให้เกิดการต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรงกำลัง หลังพิงฝา ขณะเดียวกันลูกจ้างของเขาก็ได้แต่หวังว่าคงจะได้รับค่าจ้างตรงเวลา...

James Vander Meer เขาว่าไว้ใน “Thai End Game?” เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2549 ลงในเว็ป asiasentinel เจ้าเก่า เลย ถอดความมาเล่าสู่กันฟัง ถึงตอนนี้เมื่อมีการปฏิวัติกำจัดทักษิณออกไปได้สำเร็จ สนธิคงจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานโขอยู่ พนักงานในเครือผู้จัดการคงไม่ ต้องลุ้นว่าเดือนนี้จะได้รับค่าจ้างตรงเวลาหรือเปล่าอีกต่อไป นี่แหละ..

คน ทำได้ ทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ประเทศชาติจะฉิบหายอย่างไรช่างมัน เพราะไม่ ใชประเทศของกูคนเดียว

ถอดความโดย. Heineken

ไม่มีความคิดเห็น: