วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ฟาเรนไฮต์ 451 : เสรีภาพใต้เงาทะมึนของรัฐ



" ถ้าคุณอยู่ในระบบไม่ได้ ก็มีสองทางคือออกไปเสีย หรือไม่ก็กำจัดระบบมันเสียเลย แต่ถ้าระบบมันเก่าแก่คร่ำครึมากจนแทบจะพังทลายอยู่แล้วก็รอสักนิดก็แล้วกัน "


เสรีภาพใต้เงาทะมึนของรัฐ

Fahrenheit 451: เขียนโดย Ray Bradbury (เกิด 1922-ปัจจุบัน 2007 ยังมีชีวิตอยู่) เขียนเรื่องนี้เมื่อปี 1953 แปลเป็นไทยโดย ชาญ คำไพรัช สำนักพิมพ์ทศวรรษ พิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2529 ชื่อไทย ฟาเรตไฮต์ 451 อุณหภูมิเผาหนังสือ

ผมได้โอกาสหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งที่เคยเห็นหนังสือเล่มนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แต่ด้วยความอ่อนเดียงสาจึงคิดว่านี่คงเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีพล็อตเรื่องอ่อน ๆ เรื่องหนึ่ง... นั่นนับเป็นข้อดี เนื่องจากว่าหากผมอ่านหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่เมื่อเรียนมัธยม ความนุ่มลึกของการเข้าถึงความหมายของนิยายเรื่องนี้คงไม่มากเท่ากับที่ได้อ่านตอนนี้ บางทีตอนนั้นอาจถึงกับอ่านไม่จบก็เป็นได้ !


คำนำเปิดประเด็นของหนังสือด้วยการตั้งคำถามถึงบทบาทของนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสังคมว่านิยายวิทยาศาสตร์ควรจะสนองต่อจินตนาการอันตื่นเต้นเร้าใจของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียวหรือไม่ นิยายวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการผจญภัยไปตามอวกาศและกาลเวลาเป็นการตอบคำถามของสังคมหรือไม่ ?

ผมยังไม่เคยเห็นใครที่กล้าปรามาศมือชั้นครูเช่น อาซิมอฟ หรือ อาเธอร์ ซี คลาร์ก ว่า "ช่างไร้เดียงสาจริงหนอ" ในบทใดในหนังสือเล่มใด นอกจากคำนำของหนังสืเรื่องนี้ เสียดายที่ไม่ได้ลงชื่อไว้ว่าเป็นบทนำจากผู้แปลหรือจากบรรณาธิการ


ทำไมผมถึงหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน ? เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม พ.ศ. 2550) เห็นข่าวตำรวจสองชุดบุกจับกุมหนังสือโรมานซ์กลางงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ หลายคนออกมาประกาศถึงความมิชอบในการเข้าจับกุมครั้งนี้ หลายคนบอกว่ามีเบื้องหลังมาจากความต้องการสร้างภาพพจน์อันขาวสะอาดของประเทศที่ต้องการกวาดล้างสิ่งพิมพ์ที่พวกเขาเรียกว่า "ลามก"

วินาทีหนึ่งผมคิดถึงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาได้ หนังสือที่ผมเคยคิดว่ามีพล็อตเรื่องที่อ่อน ๆ และไม่น่าอ่านเล่มหนึ่ง ท้ายที่สุดจึงไปได้มาจากร้านหนังสือมือสอง online ร้านหนึ่ง หนังสือติดอันดับหนึ่งในหนังสือแห่งศตวรรษของ New York Pulbic Library ในหมวด Utpoia และ Dystpoia เป็นหนึ่งในหนังสือทรงคุณค่าที่เคยเป็นหนังสือต้องห้าม และเป็นหนึ่งในหนังสืออ่านนอกเวลาของหลายโรงเรียน



ทำไมถึงต้องเผาหนังสือ ?

โลกในวันข้างหน้าที่ "พวกเขา" มอมเมาประชาชนด้วยจอภาพสามมิติ เป็นโทรทัศน์ที่สามารถพูดคุยกับคนดูได้ ติดตั้งบนผนังสามด้าน (หรือทั้งสี่ด้าน) ของห้อง ผู้คนที่ไม่ต้องอ่านหนังสือ รับแต่ความบันเทิงทางโทรทัศน์อันมีแต่ละคอนกับการถ่ายทอดสด ...ใช้ชีวิตอย่างไร้ค่า ขับรถเร็วไปตามถนนอย่างไร้จุดหมาย เด็กในโรงเรียนที่ห้ามตั้งคำถาม เรียนรู้ในสิ่งที่ "พวกเขา" จัดหามาให้ มีชีวิตอยู่ในความหวาดกลัวต่อสงคราม

"พวกเขา" ในที่นี้เป็นตัวแทนของรัฐที่ควบคุมผู้คนให้อยู๋ในกรอบระเบียบ เสมือนเป็นรัฐเผด็จการสมบูรณ์ที่ไม่ต้องมีการประกาศผู้นำ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐทั้งสิ้น (ใน 1984 ของ Orwell ใช้รูปชายวัยกลางคนคนหนึ่งเป็นตัวแทน) สงครามที่พวกเขาหวาดกลัวน่าจะเป็นสงครามกับคอมมิวนิสต์รัสเซีย (แบรดบิวรี่เขียนเรื่องนี้ในปี 1953 ภาวะสงครามเย็นยังคุกรุ่น)

โลกที่มีความขัดแย้งและแตกต่าง ทั้งเรื่องภาษา แนวคิด ศาสนา วัฒนธรรม โดยที่ "พวกเขา" คิดได้เพียงว่าหนังสือนี่แหละที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้งเหล่านี้ ผู้คนไม่สามารถโต้เถียงกับหนังสือได้ ทุกคนอ่านและซึมซับสิ่งที่หนังสือเขียนและต้องการให้ผู้คนรับรู้เข้าไปในสมอง โลกที่ต้องเร่งรีบขึ้นไปทุกขณะทำให้หนังสือต้องถูกย่อให้สั้นลง หนังสือเล่มใหญ่ไร้ความหมาย มีเพียงบทสรุปเป็นคำย่อให้คนอ่านแทนและท้ายที่สุดก็ถูกแทนที่ด้วยโทรทัศน์ !

ใครที่มีหนังสือในครอบครองถือเป็นความผิด บุรุษเพลิงที่ครั้งหนึ่งต้องทำหน้าที่ผจญเพลิงและดับไฟต้องไปทำหน้าที่เผาหนังสือที่ผู้คนซุกซ่อนไว้ด้วยการราดน้ำมันและจุดไฟเผา พวกเขาไม่ต้องดับเพลิงอีกต่อไปเพราะบ้านทั้งหลายกันไฟได้อยู่แล้ว

อุณหภูมิที่กระดาษจะมอดไหม้เป็นผีเสื้อสีดำคือ
451 ฟาเรนไฮต์ 232.77 องศาเซลเซียส


...โอ้ว แล้วความงดงามของตัวหนังสือและ
บทกวีทั้งหลายจะคงอยู่ได้อย่างไร ???

แต่ถ้าผู้คนทั้งหมดเดินไปตามเส้นทางเดียวกัน เสพและรับในสิ่งที่ "พวกเขา" จัดหาให้มาเหมือนกัน โลกในวันนั้นก็คงไม่ต้องมีเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้น เรื่องที่เป็นของคนนอกคอกจำนวนหนึ่ง กับระบบที่เหลวแหลกระบบหนึ่ง


บุรุษเพลิงผู้หนึ่งใช้ชีวิตอยู่ในความหมองหม่นของสิ่งรอบข้าง ภรรยาที่เย็นชาและเหินห่าง รวมทั้งงานเผาหนังสือที่เขายังต้องถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่ามันถูกต้องหรือเปล่าทำให้ชีวิตของเขาเหมือนอยู่ในหมอกควันที่คอยตามติดชีวิตเขาไปตลอดเวลา

กระทั่งเขาได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งที่จุดประกายแสงในชีวิตเขา เด็กหญิงผู้ที่บอกว่าตัวเองอายุ 17 เพราะลุงบอกมา เด็กหญิงที่ถูกไล่ออกจากระบบด้วยเหตุที่ตั้งคำถามมากเกินไป เธอเป็นเหมือนคนที่มีชีวิตจริง ๆ เพียงคนเดียวในหนังสือเรื่องนี้ด้วยซ้ำไป ...ที่เหลือนอกจากนั้นคือความรันทดและมืดบอดแห่งอนาคตกาลที่เปลวเพลิงจากหนังสือก็ไม่สามารถส่องให้ส่ว่างขึ้นมาได้

ประกายแสงที่เปล่งออกมาจากเด็กผู้หญิงคนนี้ทำให้บุรุษเพลิงต้องเผชิญหน้ากับตนเอง เขาแอบไปพบกับอดีตศาสตราจารย์ทางภาษาคนหนึ่งที่เป็นตัวแทนของคนในโลกเก่า มีจุดมุ่งหมายในบั้นปลายชีวิตคือตีพิมพ์หนังสือทั้งหลายออกมาใหม่ให้ได้อีกครั้ง

ท้ายที่สุด บุรุเพลิก็ต้องเผชิญหน้ากับตัวแทนของรัฐผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีดับเพลิงที่บุรุษเพลิงผู้นี้ทำงานอยู่ ...หัวหน้าสถานีเป็นคนที่ดูเหมือนมีความขัดแย้งในตัวเองอยู่มากพอกับบุรุษเพลิงนั่นเอง เขาเป็นคนที่มีภูมิความรู้ดีจากหนังสือ แทบจะทุกประโยคที่เขาพูดเป็นคำที่แสดงให้เห็นว่าเขา "อ่าน" เขาเป็นคนที่ทรงภูมิคนหนึ่ง แต่ก็เลือกที่จะทำงานเป็นตัวแทนของรัฐบนความขัดแย้งในตนเองอยู่ต่อไป


ลองคิดถึงหนังสือที่รักมากที่สุดเล่มหนึ่ง และจินตนาการว่าวันนี้มีกฎหมายออกมาบังคับให้เผาหนังสือเล่มนั้น... คัดลอกไม่ได้ ทำสำเนาไม่ได้

จะทำอย่างไร ?


หนังสือให้ทางออกไว้ในระดับหนึ่ง เป็นทางออกที่ให้การประนีประนอมในระดับหนึ่ง นั่นคือ

ถ้าคุณอยู่ในระบบไม่ได้ ก็มีสองทางคือออกไปเสีย หรือไม่ก็กำจัดระบบมันเสียเลย แต่ถ้าระบบมันเก่าแก่คร่ำครึมากจนแทบจะพังทลายอยู่แล้วก็รอสักนิดก็แล้วกัน


คนที่ไม่สามารถอยู่ในสภาพเมืองแบบนี้ได้ก็ไม่แคล้วต้องออกจากสังคมแบบนี้ไปเสีย ไปอยู่รวมกับคนนอกคอกนอกกฎเกณฑ์ที่ระบบหันหลังให้ แต่สิ่งที่ชวนให้คิดก็คือถ้าคนนอกคอกเหล่านี้มีมากขึ้นเล่า เมื่อพวกเขาสามารถได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นทางจำนวน ความคิด ความก้าวหน้า ฯ คนพวกนี้อาจสานสร้างระบบใหม่ขึ้นมาแทน และทำให้คนในระบบเก่าต้องระเห็จไปเป็นคนนอกแทน

ประวัติศาสตร์การแย่งชิงทางความคิดแบบนี้มีมาตลอดกาลของมนุษยชาติ และผมเชื่อว่าจะยังมีอยู่ต่อไปอีกนาน ตราบเท่าที่รัฐยังกำหนดให้คนที่อยู่ใต้อาณัติของรัฐถูกจำกัดโอกาสทั้งหลาย เช่นโอกาสในการรับรู้ โอกาสในการแสดงความคิดเห็น โอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งหลายอย่างในนี้รัฐแทบไม่ต้องใช้งบประมาณหรือการลงทุนจำนวนมากก็สามารถส่งสเสริมให้ประชาชนได้รับสิ่งเหล่านี้ได้

รัฐบาลที่ปิดกั้นการรับรู้และการแสดงออกจะพบจุดจบไม่ว่าจะจากภายในหรือจากภายนอกคนที่มีความเห็นแตกต่างต้องมีเวทีที่เหมาะสมในการแสดงออก ประชาธิปไตยเป็นการปฏิบัติตามความเห็นคนส่วนใหญ่ โดยไม่เบียดเบียนเสียงส่วนน้อย แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลในหนังสือเรื่องนี้ (รวมทั้งบางประเทศในปัจจุบัน) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประโยคหลังเท่าใดนัก หรือถึงกับไม่ให้ความสำคัญเอาเสียเลยก็มี


สำหรับแฟนหนัง หนังสือเรื่องนี้มีสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วเมื่อปี ค.ศ. 1966 Fahrenheit 451

ภาพยนตร์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ที่มีการดำเนินเรื่องทำนองเดียวกันคือ Equilibrium ปี ค.ศ. 2002


ไม่น่าเชื่อว่าจินตนาการของ Bradbury เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน จะมีเค้าโครงว่าอาจเป็นจริงขึ้นได้ ...คงต้องไปค้น 1984 มาอ่านเสียแล้ว ก่อนที่ใครจะมาเผาไปเสียก่อน

I read, therefore I am.

...แด่หนังสือทุกเล่ม


Zhivago


ที่มา : BlogGang : Zhivago (เรื่องที่ไม่มีสอนในโรงเรียนแพทย์: The Untold Stories from The Medical School. ) : ฟาเรนไฮต์ 451: Bradbury

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

"ควายอันธพาลฝูงนี้ ที่กินข้าวในนาของชาวบ้านแทบหมดแปลง มันเป็นควายของใคร"


เหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคมนั้น รัฐบาลถอยกรูดๆ แม้ว่าทหารไม่ได้ทำรัฐประหาร แต่ว่าสื่อต่างๆ พากันประโคมข่าวว่ารัฐบาลหมดสภาพแล้ว นายกฯสมชายหมดสภาพแล้ว

แต่พอมีเหตุการณ์วันที่ 13 ตุลาคม สถานการณ์ต่างๆ ค่อยๆ พลิกกลับทันที คนจำนวนมากค่อนประเทศต่างตกตลึงพรึงเพริด บรรลุธรรม ทันทีว่า "ความวุ่นวายทางการเมือง" ไม่จบไม่สิ้นใน 3 ปีที่ผ่านมา มีสาเหตุมาจากอะไร ทุกคนตาสว่างทันทีเหมือนกัน


undefined

หลังเหตุการณ์ 13 ตุลาคม (...วันตำรวจแห่งชาติมั๊ง) สถานการณ์ก็ไม่หวนคืนกลับไปอย่างเดิมอีก

"มวลชนเสื้อแดงเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ " แม้ว่าจะมีความพยายามบรรเทาความเสียหาย แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้น มันใหญ่โตกว่าที่จะสามารถใช้การกระทำเล็กๆ น้อยๆ บรรเทาได้

ปีนี้คือปี 2008 ไม่ใช่ปี พ.ศ. 2490
ที่จะสามารถหลอกประชาชนอย่างไรก็ได้

ความวุ่นวายทางการเมือง 3 ปีที่ผ่านมา สร้างความเจ็บช้ำให้กับประชาชนอย่างยิ่ง ทำลายความหวังของประเทศชาติ ทำลายโอกาสต่างๆ ของประเทศชาติ รวมทั้งทำลายความหวังของเยาวชนของชาติ ในโครงการต่างๆ ของทักษิณมากมาย


พลันปรากฎการณ์ 13 ตุลาคม เกิดขึ้น

คนทั้งมวลจึง โยนบาปทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน 3 ปีมานี้ ไปยังต้นตอทันที

สถานการณ์ที่พลิกกลับเช่นนี้ ยากที่จะหวนคืนกลับไปได้แล้วครับ

มีแต่การ ถอนตัวออกไปจากความขัดแย้ง ปล่อยให้พัฒนการของประเทศเป็นไปอย่างปกติ อย่าพยายาม ดึงประเทศหวนกลับไปแบบอดีตเท่านั้น ที่จะเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

ตอนนี้ต้องเงียบ และ "จัดการเอา พธม." ออกไปเสียจากเกม ไม่อย่างนั้น คนก็จะเห็น "ตราสัญลักษณ์ที่ติดอยู่กับ พธม." ว่าเป็นเครื่องมือของใครอยู่นั่นเอง


แม้ว่า "ตราอันนั้น" เป็นเพียงนามธรรมมองไม่เห็น
แต่คนก็จะเห็นทางใจแบบแจ่มแจ้งที่สุด

ไม่ต้อนฝูงควายกลับเข้าคอก เอาไปทำลูกชิ้น คนทั้งปวงก็จะคิดอยู่นั้นเองว่า "ควายฝูงนี้" ที่มันไปกินข้าวในนาชาวบ้าน มันเป็นควายของใคร ใครเป็นเจ้าของ จึงไม่มีใครกล้าไล่มัน

ตอนนี้ชาวบ้านรู้แล้วว่า

"ควายอันธพาลฝูงนี้ ที่กินข้าวในนาของชาวบ้านแทบหมดแปลง
มันเป็นควายของใคร"

จะติดป้ายหรือไม่ติดป้ายก็ตาม ทุกคนรู้ดี จะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ว่าไม่ใช่ควายของข้า ก็คงไม่มีคนโง่ที่จะไม่เชื่อหรอกครับ


ใบไม้เขียว


เพื่อเติม..


คุณดิสธรพูดออกมาเองก่อนนะครับ
ถ้าชาวบ้านเขาถามหา "หัวหน้าพรรค"

จะตอบว่าอย่างไร?

(ได้ "แรงบันดาลใจ" จากการตั้งกระทู้นี้ของคุณ BooBoo แห่งประชาไท "ผมอยู่พรรคในหลวง และพรรคนี้ใหญ่โตมาก" )


"ผมเป็นตัวจริงเสียงจริงนะครับ รับพระราชกระแสมาเอง.....
ผมอยู่พรรคในหลวง และพรรคนี้ใหญ่โตมาก"

ดิสธร วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ (มติชนออนไลน์ )


พูดอย่างนี้ เดี๋ยวชาวบ้าน เขาถามหา "หัวหน้าพรรค" คือใคร คุณดิสธร จะตอบว่าอย่างไรครับ?

คุณดิสธร พูดมาเองก่อนนะครับ โทษคนอื่นไม่ได้


ผมว่าสถานการณ์ตอนนี้ไปไกลกันกว่าที่ใครจะคาดคิดมาก
(โดยเฉพาะ 13 ตุลา เป็น "จุดเปลี่ยน" สำคัญมากๆ)

ยิ่งบรรดา "ผู้จงรักภักดี" แย่งกันออกมา "แก้สถานการณ์" เท่าไร ดูเหมือนจะยิ่ง "พัวพันยุ่งเหยิง" "ดูดกลืนเข้าสู่วังวนปัญหา" มากขึ้นเท่านั้น


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ที่มาของข้อเขียนทั้งหมด : เว็บบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : คุณดิสธรพูดออกมาเองก่อนนะครับ ถ้าชาวบ้านเขาถามหา "หัวหน้าพรรค" จะตอบว่าอย่างไร?

วิเคราะห์สถานการณ์ : สัญญาณบอกว่า...(สมศักดิ เจียมธีรสกุล) และความคิดเห็นในประชาไท (กระทู้ได้ถูกลบไปแล้ว)



(1) อาจจะเกิดการ split ใน P.C. หรือ/และ

(2) P.C. รู้สึกกันแล้วว่า ถ้าปล่อยสถานการณ์ต่อไป ทุกอย่างจะพัง

(หมายเหตุ: คำว่า P.C. ย่อมาจาก "..... Circles" ("แวดวง.....") ผมต้องขออภัย ที่ในบทวิเคราะห์สถานการณ์นี้ หลายจุด เขียนแบบตรงไปตรงมาไม่ได้ ต้องเขียนด้วยภาษายุ่งยากนิดหน่อย)


ก่อนอื่น ขอบคุณคุณ "รากหญ้ามหาโหด" ที่โพสต์ข่าวนี้

ปธ.มูลนิธิราชประชาฯชี้รัก"ในหลวง" แนะให้อยู่บ้าน ไม่ออกแสดงพลัง กองทัพแจงปชช.แตกแยกทรงไม่สบายพระทัย ( มติชนออนไลน์ )


ผมเห็นว่าสำคัญมาก การที่ ดิศธร วัชโรทัย ออกมาประกาศว่า

"ผมกล้าพูดตรงนี้เพราะผมเป็นตัวจริงเสียงจริงนะครับ
รับพระราชกระแสมาเอง"

ผมเชื่อว่า (ก) ถ้าดิศธร ไม่ได้ "รับพระราชกระแสมาเอง" คงไม่กล้าประกาศอย่างนี้และ (ข) แสดงว่า ในหมู่ P.C (หรืออย่างน้อย "บางส่วน" - ดูข้างหน้า) รู้สึกว่า ที่ผ่านมา คนที่ให้ออกมาพูด ยังไม่ทำให้คนเชื่อได้ว่า เป็น "ตัวจริงเสียงจริง" หรือมิฉะนั้น ก็ (ค) ตระหนักว่า ที่ผ่านมา มีการ "พูดในนาม" .... โดยไม่ใช่ "ตัวจริงเสียงจริง"

ดิศธร (หรือ P.C บางส่วน หรือ ทั้งหมด) กำลังพาดพิงถึงใคร ทีว่า ไม่ใช่ "ตัวจริงเสียงจริง"? ถ้าหมายถึง (ค) ก็แน่นอนว่า คงหมายถึง สนธิกับพันธมิตร และอาจจะ "บางคน" ที่ออกมาสนับสนุนพวกเขาก่อนหน้านี้

แต่ที่น่าสนใจคือ ถ้าหมายถึง (ข) ผมคิด่วา แสดงว่า ที่ผ่านมาไม่กี่วันนี้ สุเมธ-บวรศักดิ์ และ เปรม ออกมาเรียกร้องทำนองให้ "สามัคคีกัน" หรือให้หาทาง "ยุติการทะเลาะกัน" นั้น และอาจจะหมายถึง "บางการให้สัมภาษณ์" ("certain interview") ที่สหรัฐด้วย เป็นการออกมาอย่างจงใจ แต่ดิศธร และ P.C. (บางส่วนหรือทั้งหมด) รู้ตัวว่า คนเหล่านี้ ยังไม่สามารถทำให้คนทั้งหลาย (พันธมิตร พวกต่อต้านพันธมิตร ประชาชนทั่วไป) เชื่อได้ เพราะอาจจะรู้สึกว่า ยังไม่ใช่ "ตัวจริงเสียงจริง" พอ


ทั้งหมดนี้ แสดงว่าอะไร? ผมขอเสนอดังนี้


(1) แสดงว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะเกิดการ split ใน P.C จริง

เรื่องนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมจงใจไม่พูดถึง เพราะผมเห็นว่า ในทางการเมือง ความแตกต่างระหว่างความเห็น หรือท่าทีการแสดงออกมาใน P.C ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ หรือถึงใช่ ก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ พูดง่ายๆคือ พยายามวิเคราะห์ไป ก็ปวดหัวเปล่าๆ เพราะจำกัดในแง่ข้อมูลที่จะใช้ยืนยัน/สนับสนุน/พิสูจน์ มองในแง่ประวัติศาสตร์ระยะยาว หรือ ในภาพประวัติศาสตร์ที่กว้างออกไป "ความแตกต่าง" (หรือ ความเป็นไปได้ของความแตกต่าง) เหล่านี้ ล้วนแต่ต้องถือเป็น การแทรกแซง/บทบาททางการเมืองของ P.C. ในฐานะ "สถาบัน / พลัง ทางสังคม-การเมือง" หนึ่งเดียว ทั้งสิ้น

แต่สถานการณ์ดูเหมือนจะแหลมคมมากขึ้น จนจำเป็นต้องพูดบ้าง โดยเฉพาะใน 2-3 วันนี้ เมื่อครั้งที่มี "บางการสัมภาษณ์" ผมยังรู้สึกว่า พูดไม่ได้ เพราะพูดไปก็เหมือนเดามากเกินไป (ต้องสารภาพว่า ผมโน้มเอียงไปในทางที่รู้สึกว่า เป็น "เรื่องฟลุ๊ก" หรือ "ไม่ตั้งใจ" ไม่น้อย) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใน 2-3 วันนี้ ที่สะกิดใจผม ในการออกมาของ บวรศักดิ์ และ สุเมธ คือ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ในเชิงการงานกับพระเทพฯ บวรศักดิ์ เป็นประธาน ศูนย์สิริธร สุเมธ เป็นเลขาฯมูลนิธิชัยพัฒนา ที่พระเทพ เป็นนายกฯ

ท่าทีของบวรศักดิ์-สุเมธ และ response ของสนธิพันธมิตร (ซึ่งเซอร์ไพรส์ ไม่น้อย ในระดับความรุนแรง) แกนนำพันธมิตรทุกคน ที่ขึ้นพูดวันที่ 27 ตุลาคม ล้วนโจมตีสุเมธ-บวรศักดิ์ อย่างดุเดือดมากๆ และล่าสุด การออกมาของดิศธร นี้ ทำให้ผมรู้สึกว่า อาจจะเกิดการ split จริง นั่นคือ บางส่วนของ P.C (ดังที่รู้กัน) ได้ให้การสนับสนุนพันธมิตร จนทำให้บางกลุ่มรู้สึกว่า สถานการณ์กำลัง "หลุดจากการควบคุม" (getting out of hand / control) คือ กำลังทำให้สถานภาพของ P.C โดยรวม อยู่ในอันตราย จึงออกมาเบรก และทำให้ส่วนที่สนับสนุน (และพันธมิตรทีได้รับการสนับสนุน) ไม่พอใจและตอบโต้

ความจริง ในประวัติศาสตร์ การ split ใน P.C (ไม่เพียงในประเทศไทย) เป็นเรื่องที่มักเกิดขึ้น ถ้าสถานการณ์แหลมคมมากๆ (แม้แต่การแตกต่างระหว่าง จำลอง สนธิ ในเรื่องการ response ต่อ สุเมธ ก็กล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของความแหลมคมของสถานการณ์ขณะนี้)

แต่ขณะเดียวกัน ผมยังไม่ปักใจ 100% และเสนอว่า ไม่ควรปักใจ 100% ว่า มีการ split จริงๆ อาจจะเป็นเพียงการแสดงออกทีแตกต่างกัน ในสถานการณ์ทีแตกต่างออกไป เช่น หลัง "กรณี 13 ตุลาคม" แม้แต่ P.C. ที่อาจจะเคยสนับสนุนพันธมิตรร่วมกัน ก็อาจจะรู้สึกว่า "ไปไกลเกินไป" แล้ว

ผมอยากย้ำว่า ในความเห็นของผม ต่อให้มีการ split จริง ในการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์โดยรวม ไม่ทำให้แตกต่างกัน คือยังคงเป็น "การแทรกแซงทางการเมือง" ของ P.C. ในฐานะกลุ่ม/พลังทางสังคมหนึ่งเดียวกัน


(2) แสดงว่า รู้สึกกันใน P.C ว่า ถ้าปล่อยสถานการณ์ต่อไป ทุกอย่างจะพัง ควร call a halt คือ หยุดแค่นี้ ได้แล้ว

ผมคิดว่า ข้อนี้ไม่ยากในการอ่าน นั่นคือ การที่จู่ๆดูเหมือนจะมี urgency (ความรีบร้อน) ให้ "หยุดทะเลาะกัน" ให้ "สามัคคีกัน" ก็เพราะรู้สึกกันใน P.C ไม่ว่าจะอย่างเป็นเอกภาพ หรือ อย่างแยกกัน คือบางส่วน ว่า เรื่องนี้ถ้าปล่อยไป จะ "พังกันหมด"


สิ่งที่แน่ๆที่ผมคิดว่าสามารถสรุปได้ (ใครๆน่าจะดูออก) คือ

โป๊กเกอร์ Casino Royale ครั้งนี้ ทั้ง "เดิมพัน"
และ "ผู้เล่น" สูงขึ้นๆ ทุกทีแล้ว

(ดังที่เคยบอกแล้วว่า ผมเล่นโป๊กเกอร์ หรือไพ่ชนิดไหน ไม่เป็นทั้งสิ้น แต่ชอบดู โดยเฉพาะ Casino Royale นี่ชอบดูมาก ... อ้อ Quantum of Solace เพิ่ง world premiere ที่ลอนดอน เมื่อคืนนี้ พร้อมการกลับมาของ Q และ Money Penny เห็นว่านักวิจารณ์บางคนที่ดูแล้ว ไม่ชอบมากๆ Bond ตอนนี้ - กำลังรอดูในเมืองไทย โฆษณาให้ฟรีๆนะเนี่ย)

ในสถานการณ์ที่ "เดิมพัน" สูงขึ้นๆ เช่นนี้ ไม่น่าแปลกใจ ที่มีกระแส "ให้ปราบผู้ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยเด็ดขาด" นี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ผมคิด่วา เป็นที่รู้สึกกันในหมู่ "ชนชั้นนำ" (elite) (P.C และอื่นๆ) ว่า ถ้าปล่อยสถานการณ์เช่นนี้ต่อไป โดยไม่พยายาม "ยั้ง" ไว้ ... ทุกอย่างอาจจะสายเกินแก้ การปราบปราม คราวนี้ จึงอาจจะเป็น "ตัวจริงเสียงจริง" หรือ "ของจริง" (ไม่ใช่แค่ขู่ / เงื้อง่าราคาแพง)

อีกอย่างที่ผมคิดว่า จะไม่น่าแปลกใจคือ ถ้าภายในไม่กี่วันข้างหน้านี้ คนที่ออกมา เรียกร้องให้ "หยุด" จะไม่จำกัดที่ ดิศธร ......


สมศักดิ เจียมธีรสกุล



ความเห็นเพิ่มเติม
(จากผู้เข้ามาอ่านในกระทู้นี้ ซึ่งมีความน่าสนใจในหลายความเห็น หากแต่ว่ากระทู้นี้ได้ถูกลบไปแล้วจากบอร์ดประชาไทแล้ว) [เจ้าน้อย.. ]


ผู้แค่เพียงต้องการแสดงความคิดเห็น คนที่ 1

อ.ผมเชื่อในข้อ 2 มากกว่าครับ ตอนนี้ใครก็ประเมินได้ว่าหากปล่อยไปเรื่อยๆ จะทำให้พังอย่างแน่นอน

แต่ปัญหาตอนนี้มันไปไกลเกินกว่าจะมาเรียกร้องความสามัคคี ความสมานฉันทน์แล้วครับ ผมว่าต่อให้ไม่ใช้ตัวแทน แต่ออกมาพูดเอง มันก็ไม่จบอย่างแน่นอน

เพราะ "ตอนนี้เกิดรอยแยกขึ้นใน ใจของคนแล้วครับ"

สิ่งที่จะทำได้คือ "หยุดการรุกต่อทักษิณทุกอย่าง" และหยุด "การยุบพรรค พปช. " ในทันที

หากยังทำสิ่งเหล่านี้อยู่ ต่อให้ออกมาเรียกร้องความสามัคคี ความสมานฉันทน์ มันก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

การยุบพรรคนั้นแม้กระทบต่อ กลุ่มทักษิณบ้าง แต่ไม่มากเท่าที่ควร เพราะมีทางแก้ไขแล้ว ดูเหมือนว่าตอนนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ด้วยซ้ำไป แต่จะสร้างผลเสียต่อ "ฝ่ายโน้นมากกว่า"

หากยังรุกทางการเมืองต่อ แต่ปากออกมาเรียกร้องความสามัคคี ความสมานฉันทน์ มันก็เหมือนกับหนังเรื่อง Mars attack นั่นแหละครับคือ มนุษย์ต่างดาวปากเรียกร้อง Peace,.Peace... แต่มือก็ถือปืนแสงไล่ฆ่ามนุษย์ไปเกือบหมดโลก

ตอนนี้ปัญหาไม่ใช่การพูด การเรียกร้อง แต่ต้องการการกระทำ

คดีทักษิณยังไม่เท่าไหร่ แต่ "เรื่องการยุบพรรค การรุกทางการเมืองต่างๆ นี่" คือ การทำลายความนิยมความนับถือการทางใจโดยแท้"

ยิ่งออกมาเรียกร้องความสามัคคีในตอนนี้ คนก็ยิ่งเข้าใจผิด และเดือดดาลมากขึ้น เพราะคนจะคิดว่า พันธมิตรกำลังเพลี่ยงพร้ำทางการเมือง ก็เลยออกมาเรียกร้องให้ "สีแดงที่กำลังเดือดพล่าน" ให้หยุด

พธม. ป่วนเมืองตั้งนาน ดันไม่ออกมาส่งสัญญาณอะไรเลย

พอสีแดงเริ่มเดือดขึ้นมา ต่างออกมากันระนาว

มันยิ่งสร้างความเคลือบแคลงมากกว่า

เรียกว่า "ตอนนี้วัดดวงทิ้งไพ่ใบสุดท้ายกันเลยทีเดียว"

แต่ผมไม่คิดว่าจะได้ผลอะไร และ Over Estimated พลังของตนเองมากเกินไปวิกฤตการณ์ทางการเมืองกว่า 3 ปี ทำให้คนสรุปอะไรไปเยอะแล้ว คนเรียนรู้เยอะแล้ว มนต์ตรามที่เคยขลังก็ไม่ขลังแล้ว


คำพูดที่ว่า รัก...ให้สามัคคี ผมว่ามันไม่ขลังแล้ว

บอกตรงๆ สำหรับผม ไม่เหลือความรักให้แล้ว


ลูกชาวนาไทย (1)



ผู้แค่เพียงต้องการแสดงความคิดเห็น คนที่ 2

พวกเขาเลยเถิดกันมามาก..

มากในชนิดที่ไม่น่าเชื่อมันจึงดูแปลกๆ แปล่งๆ อย่างไรชอบกล.....

หากเป็นนักพนันพวกเขาน่าจะประเภท...

เซียนเรียกพ่อมันยิ่งกว่าการเป็นทั้งเจ้าของบ่อน
และเจ้ามือเองทั้งลงแทงเป็นหน้าม้าเอง...

แบบว่าเอาทุกอย่างจะเซียนเหยียบเมฆ แน่ๆที่ไหนมา
ดูแล้วไม่มีทางที่ทางที่จะโค่นล้มเขาลงได้เลย....

ในอดีตมีให้เห็นเขาโค่นเซียนปราบเซียนมาเป็นว่าเล่น...

สร้างเกมส์เองก็เอาฉนั้นจึงดูแปลก...

แปลกที่เกมส์นี้เขาเล่นแบบนี้ได้อย่างไรหากจะบอกว่า ลูกน้อง คนข้างเคียง แอบลงมาเล่นหรือแอบยึดอำนาจของตัวจริงเสียงจริงไป ซึ่งก็..

ไม่น่าที่จะเชื่อได้จริงๆว่าเขาพลาดให้คนเหล่านั้น เข้ายึด..

อย่างไรผมก็ไม่เชื่อเพราะเห็นชัดๆว่า
เขาลงมาสั่งผู้คุมเองให้เล่นตามกฏ...

แต่ไงกฏของเขามันไม่ใช่กฏปกติ...

จนผู้เล่นบ่นกันพรึมดังลั่นบ่อน...

เขาก็ยังเฉยไม่ได้ยิน ทั้งๆที่น่าจะได้ยิน...

แล้วตอนนี้จะว่ามีสัญญาณออกมาให้ถอย เพราะพังแน่...

มันจะทันละหรือ........

ท่านขอรับ


ชอลิ้วเฮียง


ผู้แค่เพียงต้องการแสดงความคิดเห็น คนที่ 3

ความจริงวิเคราะห์ไม่ยากเลยเมื่อ นาย ออกมาเล่นเอง แต่กระแสกลับตกฮวบฮาบอีกทั้ง สีแดง กลับยิ่งฮึกเหิม ท้าทายอำนาจร้องท้า กองทัพ เส็งเคร็ง ออกมายึดอำนาจมีการ หมิ่นฯ เกิดขึ้นทั่วประเทศ

เดาไม่ยาก หลายตัวในฝ่ายอำมาตย์ เริ่มเห็นลางเริ่มปอดแหก คิดหาทางเอาตัวรอดเชื่อว่าความเป็นเอกภาพคงหายากสำหรับกองทัพที่กำลังล่าถอยอย่างไม่เป็นกระบวน

บางคนพยายามให้*****เป็นแพะ
บางคนพยายามรักษาหน้านายชุลมุนวุ่นวาย

ผมขอคอมเม้นท์ ข้อเขียนนิดหน่อย

"
ผมเห็นว่าสำคัญมาก การที่ ดิศธร วัชโรทัย ออกมาประกาศว่า

"ผมกล้าพูดตรงนี้เพราะผมเป็นตัวจริงเสียงจริงนะครับ
รับพระราชกระแสมาเอง"

"

แล้วแบบนี้แปลว่า ที่พูดที่งานศพ โกหกหรือ เรื่องเงินหากไม่ออกมาพูดเอง ให้ลิ่วล้อชั้นต่ำออกมาเถียงกับเมียไม่มีประโยชน์อะไรเลย


"
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นใน 2-3 วันนี้ ที่สะกิดใจผม ในการออกมาของ บวรศักดิ์ และ สุเมธ คือ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์ในเชิงการงานกับพระเทพฯ บวรศักดิ์ เป็นประธาน ศูนย์สิริธร สุเมธ เป็นเลขาฯมูลนิธิชัยพัฒนา ที่พระเทพ เป็นนายกฯ

"

มองกลับกันผมก็ถามได้ว่า แล้วที่ ไอ้ 2 ตัวนี่ออกมาสนับสนุนกบฏอย่างเต็มที่ พระเทพ สั่งมาหรือ สนับสนุน งั้นหรือ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ควรไว้ใจสถานะการณ์เป็นอย่างยิ่งทั้งหมดอาจเป็นกลลวงให้ตายใจ แล้วระดมกำลังใช้อำนาจเถื่อนเข้าห้ำหั่นอีกครั้ง


cromwell


ผู้แค่เพียงต้องการแสดงความคิดเห็น คนที่ 4

ผมเคยแสดงความเห็นไปหลายครั้งแล้วว่าในที่สุดก็ไม่มีใครมาสั่งหยุดสนธิได้ เขามาไกลเกินกว่าจะหยุด

มันมีความจำเป็นที่หยุดไม่ได้ เพราะมีคดีมากมายรอเขาอยู่

ตอนนี้ เขามีสาวกมากมาย มีกองกำลังที่สับสนุน และมีแนวร่วมที่แสดงตัวแล้ว เช่นพรรคประชาธิปัติย์และที่ยังไม่แสดงตัว จนคิดว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบใหม่ ตามที่พวกเขาต้องการได้

เขากำความลับของผู้ที่อยู่เบื้องหลังไว้เป็นตัวประกัน ถ้าหักหลังเขา หรือขัดใจ เขาก็พร้อมที่จะแฉมันออกมา

ตอนนี้ ความแตกแยกเกินที่จะประสาน ผู้ที่ถูกสกดจิต ล้างสมองมานาน ตอนนี้ เอาข้อมูลอะไรไปยัดก็ไม่เข้า

พอเห็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เริ่มเติบใหญ่ขึ้น เริ่มไม่ยอมถูกกระทำฝ่ายเดียว เริ่มจะตอบโต้ด้วยวิธีการเดียวกัน

ดาหน้ากันออกมานอนนี้ มาช้าแต่ก็ยังดีกว่าไม่มา

เพียงแต่ว่า มาแล้วจะทำอะไรได้ ทางฝ่ายต่อต้านน่ะคุยง่ายเพียงแต่ขอให้ท่านไปคุยกันพันธมิตรให้รู้เรื่องก่อน ว่าที่ทำลงไปนั้นมันผิดกฎหมาย ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนแตกแยก เกิดความไม่สงบสุข และเดือดร้อน


ott


ผู้แค่เพียงต้องการแสดงความคิดเห็น คนที่5

๑ = ๒ or ๒ = ๑

and ๑ + ๒ = ๐

กรุณาอย่าหลงกลมุขตื้นๆ ที่เขาเล่นละครให้ดูมาตลอด 60 ปี

สีแดงยังไม่ชนะ ยังไม่ใช่ปีสองปีนี้ อีกหลายปี กว่าจะชนะ

เพียงแต่วันนี้ เสื้อแดง และคนรู้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องที่ผ่านมา 60 ปีมากเกินไป เขาต้องยอมถอยเพื่อรอ และสร้างศรัทธาขึ้นมาใหม่อย่างเป็นกระบวนการและเตรียมรุกกลับเมื่อโอกาสมาถึง ถ้ามีการสมานฉันท์ จะมีการระดมสรรพกำลังสร้างศรัทธาขึ้นมาใหม่ ด้วยกระบวนการและพิธีการต่างๆ มากมาย รวมถึงการอาจเปลี่ยนตัวเล่นใหม่

ประชาชนที่รู้ความจริงและใส่เสื้อแดง จะถอย แล้วลืม เหมือนที่คนไทยเคยลืม ให้เขาสร้างศรัทธาใหม่ แล้ว ตีกลับหรือไม่

เดิมพันมันสูงนัก ถึงสิ้นตระกูล สิ้นสมบัติ สมบัติในตลาดหุ้น มูลค่าลดเหลือ 1ใน 3 แล้วตอนนี้ และที่ดินก็ขนไปเมืองนอกไม่ได้ เดิมพันมันสูง ต้องถอยก่อน เพื่อรอเวลา เขายังไม่ยอมแพ้แน่

เดิมพันประชาธิปไตยก็สูงนัก เพื่อนพ้องน้องพี่เสื้อแดง อย่าหลงกลนี้ ถ้าไม่คิดรักษาประชาธิปไตยเพื่อพวกเรา ก็คิดถึงคนรุ่นลูกรุ่นหลาน อย่าให้เขาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลนอกระบบ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เหมือนที่คนรุ่นปู่ รุ่นพ่อ และรุ่นเราเผชิญมาตลอด 60 กว่าปี


ไทยชน


ที่มา : บอร์ด"ประชาไท" : วิเคราะห์สถานการณ์ : สัญญาณบอกว่า (1) อาจจะเกิดการ split ใน P.C. หรือ/และ (2) P.C. รู้สึกกันแล้วว่า์

หมายเหตุ
การเน้นข้อความในส่วนของผู้แสดงความคิดเห็น ทำโดยผู้จัดเก็บบทความ

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แถลงการณ์ดร.ทักษิณระบุประชาธิปไตยคือภัยคุกคามต่อชนชั้นสูงผู้ไม่เชื่อในประชาธิปไตย


ดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรออกแถลงการณ์ต่อสำนักข่าวต่างประเทศระบุคำตัดสินของศาลที่ชี้ว่าเขามีความผิดนั้นเกิดจากแรงขับเคลื่อนทางการเมืองซึ่งเป็นการสมคบกันของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลายผู้เชื่อในทุกสิ่งอย่างยกเว้นประชาธิปไตย

พร้อมกล่าวว่า “ผมเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพียงเพราะผมเป็นตัวแทนของหลักการแห่งระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งส่งเสริมความหวังและความภาคภูมิใจของคนยากคนจนในประเทศของผม“

เรื่องชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลายที่ไม่เชื่อในประชาธิปไตยนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยใน พ.ศ.นี้ แต่ค่านิยมของชนชั้นสูงที่มองว่าผู้ที่มีศักดิ์และคุณวุฒิด้อยกว่าตนไม่เหมาะกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมันเป็นแนวความคิดที่ถูกฝังรากลึกมานานแล้ว

หากมองย้อนไปในอดีตจะเห็นว่าคนไทยเรามักจะถูกศักดินาชั้นสูงอย่างอภิรัฐมนตรีสภา(ในสมัยรัชกาลที่ 7) ไม่เห็นด้วยกับการที่สยามจะมีระบอบรัฐสภาที่มีตัวแทนมาจากการเลือกตั้งดังจะเห็นได้จากร่างรัฐธรรมนูญในปี 2474 (ร่างขึ้นเป็นการภายในและรับรู้เฉพาะแต่ในวงการชั้นสูงเท่านั้น)ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติที่จะให้มีนายกรัฐมนตรีและสส.ที่มาจากการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้งในขณะเดียวกันก็ยังรักษาพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ส่วนหนึ่ง(มีการถกเถียงและต่อรองกันในเรื่องนี้หลังคณะราษฎร์ยึดอำนาจในปี2475) แต่ก็ได้รับการคัดค้านทั้งจากผู้ร่างเองคือพระยาศรีวิศาลวาจาและอภิรัฐมนตรี(คล้ายกับองคมนตรีในปัจจุบัน)อีกด้วย

ประเด็นของการคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือชาวสยามยังไม่เหมาะที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นความเห็นและประเพณีความเชื่อของบรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ในสมัยก่อนที่เชื่อว่าความไม่พร้อมของสยามต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีรากฐานมาจากความด้อยการศึกษาของประชาชนเหมือนที่ทหารการเมือง นักวิชาการและชนชั้นสูงในสังคมไทยตอนนี้เชื่อว่าการเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบในระบอบประชาธิปไตยเพราะประชาชนส่วนใหญ่มีวุฒิทางปัญญาต่ำและที่ลึกลงไปกว่านั้นก็คือความที่ไม่เชื่อว่าระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบบของตะวันตกนั้นจะเหมาะสมกับคนตะวันออกอันแพร่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงผู้มีอำนาจ

เมื่ออ่านแนวความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยของชนชั้นสูงในสังคมไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันที่มักจะบอกกับคนไทยว่าประเทศไทยยังไม่เหมาะกับประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรอกเพราะคนชนบทยังด้อยการศึกษาแล้ว มาถึงตรงนี้เลยทำให้ผู้เขียนนึกถึงคำกล่าวของอดีตนายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลร์แห่งอังกฤษที่ท่านได้เคยพูดไว้อย่างเหมาะสมกับทุกกาลสมัยว่า


“ มีมายาคติหนึ่งที่มักกล่าวกันว่า แม้เรารักเสรีภาพแต่ชนชาติอื่นไม่ได้บูชาเสรีภาพเหมือนอย่างเรา ความหวงแหนและยึดมั่นในเสรีภาพของเราเป็นเพียงผลผลิตทางวัฒนธรรม เรื่องเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของ “ค่านิยมอเมริกัน” หรือ “ค่านิยมของพวกตะวันตก” ทั้งสิ้น แต่เปล่าเลย ความหวงแหนในเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐของเราหาใช่ “ค่านิยมตะวันตก” แต่มันคือ

“ค่านิยมสากลแห่งจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติ”

และไม่ว่า ณ ที่แห่งหนใด ไม่ว่าเวลาใดคนธรรมดาสามัญก็มีสิทธิและโอกาสที่จะเลือกและถวิลหาในสิ่งเหล่านี้ ตัวเลือกของพวกเขาก็ไม่แตกต่างจากเราเลยพวกเขายังถวิลหาเสรีภาพหาใช่การปกครองแบบกดขี่ ,ประชาธิปไตยหาใช่เผด็จการทรราชย์ ,ความเป็นนิติรัฐหาใช่กฏเหล็กของเครือข่ายตำรวจลับ “

-โทนี่ แบลร์, อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ


คำพูดดังกล่าวข้างต้นเป็นคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรีโทนี่ แบลร์ของอังกฤษที่ผู้เขียนคัดลอกมาจากหนังสือ The case for democracy: The power of freedom to overcome tyranny & terror ที่แต่งโดย Natan Sharansky ตอนที่เขากล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงฤดูร้อนปี 2003 ถึงสิทธิเสรีภาพของชาวอิรัคที่พวกเขาควรจะได้รับเช่นเดียวกับชนชาติอื่นๆในโลกนี้ เฉกเช่นเดียวกับที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู ที่ท่านได้เคยกล่าวสุนทรพจน์ในที่สาธารณะหลายครั้งถึงความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าของท่านในเรื่องประชาธิปไตยและเสรีภาพอันเป็นนิยามของคำว่าหลักการบุช ( Bush Doctrine) นั่นเองว่า


“อิสระเสรีภาพมิใช่เป็นของขวัญของชาวอเมริกันที่หยิบยื่นให้กับชาวโลกแต่มันเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานมาให้กับมวลมนุษยชาติทั้งมวลต่างหาก”

จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (Gorge W. Bush)


ประเทศไทยในวันนี้ที่การต่อสู้ของประชาชนกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เป็นบทพิสูจน์หนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าไม่มีชนชั้นใดที่อยากจะอยู่ภายใต้การกดขี่และก็ไม่มีชนชั้นใดสมควรที่จะดำรงอยู่เยี่ยงทาส เสรีภาพและประชาธิปไตยจำเป็นต้องถูกปกปักษ์รักษาโดยประชาชน และการปกป้องสิทธิมนุษยชนจะไม่มีทางบังเกิดขึ้นได้หากเสรีภาพของมนุษย์ในสังคมนั้นถูกริดรอน ดังอมตะพจน์ของบุชและแบร์ที่กล่าวว่า Freedom is for everyone นั่นคืออิสระเสรีภาพเป็นของทุกคน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมชาวเยอรมัน เจแปนนีส อิตาเลี่ยน สแปนยาร์ดและอีกหลายชนชาติได้พัฒนาสังคมการเมืองเปลี่ยนผ่านจากระบบหลักกฎหมู่ของชนชั้นเจ้าขุนมูลนายและชนชั้นนำในสังคม จากสังคมแห่งความหวาดกลัวมาเป็นสังคมแห่งเสรีภาพในช่วงศตวรรษที่ 20

จริงๆแล้ว “ระบอบประชาธิปไตย” นั้นไม่มีอำนาจใดใหญ่เท่าอำนาจประชาชนแต่ “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” นี้อำนาจประชาชนกลับเป็นอำนาจที่ถูกริดรอนโดยชนชั้นสูงในสังคมไทยมากที่สุด

ได้อ่านแถลงการณ์ของท่านอดีตนายกทักษิณฉบับนี้แล้วรู้สึก “ถูกใจและใช่เลย!” ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นแถลงการณ์ฉบับที่ดีที่สุดในบรรดาแถลงการณ์ทั้งหลายที่ออกมาก่อนหน้านี้ทั้งช่วงและหลังรัฐประหาร 19 กันยาฯและเป็นแถลงการณ์ที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเฝ้ารอมานานแล้วรอวันที่ท่านอธิบายให้ชาวโลกรับรู้ถึง “ภัย” ที่ทำให้ท่านและครอบครัวต้องระหกระเหินมาอยู่ต่างประเทศและ “ภัย” ที่ท่านกำลังเผชิญอยู่นี้เป็น “ภัยคุกคาม” ต่อระบอบประชาธิปไตยด้วยนั่นเอง

การต่อสู้ทางการเมืองของประเทศไทยในตอนนี้ยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่าเป็น

การต่อสู้กันระหว่าง “ประชาชน” และ “อภิสิทธิ์ชน” ที่อยู่เหนือกฎหมาย หรือ ประชาธิปไตย(Democracy) VS. อภิชนาธิปไตย(Aristrocracy/Oligarchy) นั่นเอง


Jess
ตุลาคม 24, 2008



คำต่อคำ แถลงการณ์ “ทักษิณ”
แจกสื่อนอกประจานบรรดาชนชั้นสูง
ที่มีอภิสิทธิ์ไปทั่วโลก (คำแปล)


วูดซัม แมเนอร์
เซอร์เรย์, อังกฤษ
22 ต.ค. 51


เรียน เพื่อนสื่อมวลชนต่างประเทศ


สิ่งที่ผมกำลังเขียนถึงพวกคุณในวันนี้เพื่อให้ความกระจ่างในข้อเท็จจริงบางอย่าง ข่าวพาดหัวที่มีการรายงานว่าผมถูกตัดสินว่ามีความผิดจากการทุจริตต้องโทษจำคุก 2 ปีจากการซื้อที่ดินของภรรยาผม, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร

สิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้คือความจริง ผมถูกตัดสินโทษจำคุก 2 ปี ไม่ใช่เพราะข้อหาทุจริต เหตุผลเดียวที่ผมถูกสั่งจำคุก เพราะในช่วงเวลาที่ภรรยาของผมซื้อที่ดินโดยการเปิดประมูลนั้น ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ผมได้ฟังคำตัดสินเมื่อวันก่อนและจนถึงตอนนี้ ผมยังคงสับสน เพราะไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการฉ้อฉล คอร์รัปชั่น หรือกระทั่งการใช้อำนาจในทางมิชอบที่เกี่ยวเนื่องกับประมูล คำถามคือ ภรรยาของผมเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องและตัดสินใจยื่นประมูลที่ดินดังกล่าว เป็นผู้ยื่นเสนอราคาจำนวนมากแก่ผู้ขายซึ่งคือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มากกว่าผู้ยื่นประมูลรายอื่นๆ เป็นผู้เซ็นสัญญาซื้อขายกับผู้ขาย จ่ายเงินค่าที่ดินโดยที่สามีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆเลย ยกเว้นเมื่อต้องเซ็นชื่อยินยอมในเอกสาร

ในแง่ของข้อกล่าวหาเรื่องอิทธิพลอำนาจที่ผมอาจมีเหนือกองทุนฟื้นฟูฯ มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องชี้ให้เห็นว่าคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจควบคุมโดยตรงเหนือกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่ศาลไม่ได้พบว่าการซื้อขายที่ดินของภรรยาผมมีอะไรที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำนอกกฎหมาย เขาไม่ได้ตัดสินว่าเธอมีความผิด เพราะเธอไม่ใช่นักการเมือง แต่ผมเป็น ผมเชื่อว่าพวกคุณจะตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เหลืออย่างอิสระเยี่ยงผู้สื่อข่าวมืออาชีพปฏิบัติกัน แต่น่าเสียดายที่เพื่อนร่วมอาชีพของคุณส่วนใหญ่ในประเทศไทยปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น

สิ่งที่ผมจะสามารถทำความเข้าใจได้ดีที่สุดก็คือ ผมถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงอย่างง่ายๆ เพียงเพราะผมเป็นนักการเมืองคนหนึ่งเท่านั้นเอง ผมผิดเพราะผมเป็นนักการเมืองที่ประสบความสำเร็จ ผมได้รับเลือกตั้งขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสองสมัยเพราะเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน

ถ้าหากผมจะมีความผิดอะไรสักอย่าง นั่นก็คงเป็นสิ่งที่ผมได้แสดงออกมาให้ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยกลุ่มที่อยู่ในชนบทและไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆ ได้เห็นว่าพวกเขาสามารถเรียกร้องและมีสิทธิเรียกร้องให้รัฐบาลของพวกเขาจัดทำนโยบายที่มีประสิทธิภาพและทำโครงการต่างๆที่จะยังผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น

ผมยอมรับคำตัดสินนี้ด้วยความรู้สึกที่ผสมปนเปกัน รู้สึกโล่งใจสำหรับภรรยาที่ผมดึงเธอเข้าไปสู่ความยากลำบากมากทีเดียว เพราะความทะเยอทะยานทางการเมืองของผมในการที่จะนำความยิ่งใหญ่และความเป็นอยู่ที่ดีมาสู่ประเทศและประชาชนของผม ทั้งรู้สึกนึกขัน ปนขมขื่นกับคำตัดสินที่ไร้เหตุผล และรู้สึกกังวลแทนนักการเมืองในประเทศไทยว่า พวกเขาสามารถเดินเข้าคุกไปได้ง่ายๆเพียงเพราะภรรยาที่โชคร้ายของพวกเขาพยายามทำตามกฎหมาย

สำหรับพวกคุณที่อาจไม่คุ้นเคยกับประเทศไทย ภาครัฐและภาคเอกชนในไทยที่กำลังดำเนินธุรกิจหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ สื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ไฟฟ้าหรือแม้กระทั่งปั๊มน้ำมัน

ผมไม่ทราบว่าควรจะหัวเราะหรือร้องไห้ดีกับทิศทางที่ประเทศไทยกำลังมุ่งไป ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยถูกขับพ้นจากตำแหน่ง เพียงเพราะว่าเขาทำรายการโทรทัศน์ แต่กลุ่มคนที่ล่วงละเมิดผิดกฎหมายและยึดครองทำเนียบรัฐบาลกลับได้รับความคุ้มครองจากศาล

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับผม ล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนทางการเมือง ซึ่งเป็นการสมคบกันของ บรรดาชนชั้นสูงที่มีอภิสิทธิ์ทั้งหลาย ผู้เชื่อในทุกสิ่งอย่าง ยกเว้นประชาธิปไตย ผมเป็นภัยคุกคามต่อพวกเขา เพียงเพราะผมเป็นตัวแทนของหลักการแห่งระบอบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งส่งเสริมความหวังและความภาคภูมิใจของคนยากคนจนในประเทศของผม

ประเทศไทยเป็นและจะยังคงเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม คนจำนวนไม่มากที่ไม่สามารถเผชิญกับความจริงได้ กำลังขัดขวางเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่าในท้ายที่สุดพี่น้องชาวไทยจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ครั้งนี้ และการสิ้นสุดของฝันร้ายอยู่ไม่ไกล

ผมขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้ร่วมแบ่งปันข้อเท็จจริงกับคุณ


ด้วยความนับถือ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร



จดหมายแถลงการณ์ของ “ทักษิณ”
ที่แจกสื่อมวลชนต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)


Woodsome Manor
Surrey, England

22 of October, 2008


Dear My Friends in International Media,


I am writing to you today to clarify few facts, The news headlines have reported that I have been convicted of corruption for two years stemming from the purchase of land by my wife, Khunying Potjaman Shinawatra.

What you have read is true, I was convicted for two years, but not because of corruption charge. The only reason I was sentenced to Jail is because at the time my wife bought the land through the open bid, I was the Prime Minister.

I listened to the judgment yesterday and even now I am still confused ; there is no evidence of fraud, corruption nor abuse of power in relation to the bid in question; my wife was the one who in volved and made decision to bid for the land, offered a lot more seller, Financial Instit ution Development Fund (FIDF), than other bidders, signed the contract with the seller, paid for the land with no involvement from her husband except when he was required to sign a spousal consent form, In terms of any alleged influence I may have had no direct supervisory power over the FIDF. Interestingly, the Court did not find the sale transaction of my wife unlawful or illegal, they did not convict her because she is not a politician; nevertheless, I was . I trust that you will independently verify the above facts as professional journalists often do. Unfortunately, most of you professsional colleagues in Thailand refuse to do so.

The best. I can comprehend is that I was convicted simply because I was a politician . In that case I was quite guite guilty cause I was quite a successful politician, I got elected twice by the majority of thai people as Prime Minister.

If I were to be guilty of anything, that would be what I have shown to the Thai people, especially those underprivileged rural thais that they can, and have the right to, demand their government to provide effective policy and programs to improve their lives.

I received this judgment with mixed feeling; relief for my wife as I pulled her into enough troubles because of my politcal ambition to bring greatness and well-being to my country and my people, amused and bitter with the illogical of the judgment, and worry for those politicians in Thailand that they could go to jail simply because their unhappy spouses may sought to manipulate the law.

For those of you who may not be too familiar with Thailand, state offices and enterprises in Thailand are doing so many businesses from telecommunication, banking, power generator or even owning gas stations.

I do not know should I laugh or cry to see the direction Thailand is moving forward: a democratically elected leader was put out of job because he cooked on a TV show but those who unlawfully trespassed and occupying the government house got protection from the Court.

Whatever happen to me is a political driven actions collaborated by various group of privileged elites who believe in anything but democracy. I am a threat to them because I represent the principle of liberal democracy which promote hope and pride of the poor of my country.

Thailand is and will remain a great and beautiful country. Few people cannot face the face,obstructing the will of majority of the people. I believe that at the end Thai people will win over this struggle. And the end of their nightmare is not far.

I thank you for the opportunity to share the facts with you.

Truly Yours,


Dr. Thaksin Shinawatra


สำเนา"แถลงการณ์ Dr. Thaksin Shinawatra"
(ภาษาอังกฤษฉบับเต็ม-คำแปล) จาก มติชนออนไลน์ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปล. การเน้นคำทำตามต้นฉบับ

ที่มา : Thinking in ink : แถลงการณ์ดร.ทักษิณระบุประชาธิปไตยคือภัยคุกคามต่อชนชั้นสูงผู้ไม่เชื่อในประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การชุมนุม ของพันธมิตร คือการชุมนุมของผู้ต้องการดึงประเทศกลับไปสู่การใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราช


พันธมิตร

ต้องยุติการชุมนุมของตนทันที
ช่วยกันเรียกร้องกดดันให้พันธมิตรยุติการชุมนุม


การชุมนุม ของพันธมิตร คือการชุมนุมของผู้ต้องการดึงประเทศกลับไปสู่การใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราช

เพิ่มอำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ให้สถาบันกษัตริย์ (การแต่งตั้งนายทหาร และ ข้าราชการประจำต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลและผ่านองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งประชาธิปไตย)

เพิ่มอำนาจให้องค์กรที่ตรวจสอบ แตะต้องไม่ได้ ได้แก่ องคมนตรี กองทัพ ตุลาการ

สร้างระบอบการเมืองบนพื้นฐานว่า พลเมือง มีฐานะไม่เท่าเทียมกัน พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศในชนบท เป็นเพียงพลเมืองชั้นสอง ไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งรัฐบาล

สร้างระบอบวัฒนธรรมแบบฟัสซิสต์ ที่ใครมีความเห็นแตกต่าง ถือเป็นผู้ไม่จงรักภักดี ถือเป็นผู้ขายชาติ และ ไม่มีศีลธรรม ผูกขาดการตีความความถูกต้องทางศีลธรรม ไม่เคารพการตัดสินใจของคนส่วนใหญ่ ถ้าเสียงส่วนใหญ่ตัดสินออกมาไม่เป็นที่พอใจ ก็ใช้วิธีแบล็กเมล์ เอาสังคมเป็นตัวประกัน บีบให้ยอมรับความเห็นผูกขาดของตน

ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกัน เรียกร้อง กดดัน ให้พันธมิตร

ยุติการชุมนุมที่ล้าหลัง
ทีต้องการดึงประเทศถอยหลังเข้าคลองโดยทันที

ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกัน เรียกร้อง กดดัน

ให้ผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังพันธมิตร
ยุติการสนับสนุนโดยทันที


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : การชุมนุม ของพันธมิตร คือการชุมนุมของผู้ต้องการดึงประเทศกลับไปสู่การใช้อำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราช..

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง (นิติภูมิ นวรัตน์) : ถึงว่า วันนี้เลยโดนเด้งจากไทยรัฐ(ออนไลน์)


วันนี้ไปเปิดไทยรัฐออนไลน์อ่าน ปากฎว่า ไม่มีคอลัมเปิดฟ้าส่องโลกของ นิติภูมิ ก็ออกแนวงงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นไปเปิดดูใน http://www.nitipoom.com/ ก็รู้ว่า อ่อ แบบนี้นี้เอง

xiaodingdang


*******


ใดใดในโลกล้วน อนิจจัง

ท่านผู้สนใจสัมมนา “โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน” ที่ สนง. เศรษฐกิจอุตสาหกรรมร่วมกับ บริษัท บาลานซ์ โนว์เล็จ ดีไซน์ จำกัด เชิญเข้าไปดูในเว็บไซต์ nitipoom.com ตรงช่องข่าวประชาสัมพันธ์ได้ครับ

อีกประเทศหนึ่งซึ่งผมตระเวนเทียวเที่ยวไปด้วยความสนใจก็คือ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ผมเคยศึกษาลำดับวงศ์กษัตริย์ของอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนอรับและเปอร์เซีย ย้อนหลังไปนานถึง ๔,๓๔๒ ปี

เมื่อความสนใจทวีมีความอยากรู้เพิ่มขึ้น ผมก็เดินทางไปในเมืองโบราณต่างๆ ที่มีพระศพของกษัตริย์อรับและเปอร์เซีย รวมทั้งกุโบร์ของอิหม่ามสำคัญทั้งของฝั่งอรับและเปอร์เซีย ซึ่งปัจจุบันทุกวันนี้คือ อิหร่าน

ครั้งหนึ่ง เย็นมากแล้ว อากาศในเวลานั้นขมุกขมัวและหนาว ผมกับคณะเดินทางไปถึงที่ฝังพระศพของพระเจ้าไซรัสมหาราช ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนแสนไกลในชนบทของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน พระเจ้าไซรัสมีชีวิตอยู่เมื่อ ๒๕๓๗-๒๕๖๕ ปีก่อน ขณะที่อยู่เบื้องที่ฝังหน้าพระศพ ทุกอย่างที่เป็นเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิกของพวกเราดับสนิท ไม่ว่าจะกล้องถ่ายหนัง รถยนต์ หรือแม้แต่ไฟฉาย สตาร์ทหรือเพียรเปิดเท่าใดก็ไม่ติด ช่างกล้องของผมขอให้พวกเราทุกคนพนมมือไหว้ขอขมา อัศจรรย์พันลึกเหลือเกิน หลังจากนั้นไม่นาน เครื่องใช้ไม้สอยทุกอย่างของพวกเราก็กลับมาใช้ได้อย่างปกติ

๒,๕๖๓ ปีที่แล้ว จักรวรรดิมีเดียนล่มเพราะถูกพระเจ้าไซรัสของเปอร์เซียตีแตก พระเจ้าไซรัสจึงก่อตั้งราชวงศ์อะคามีเนียปกครองจักรวรรดิเปอร์เซีย

ตั้งแต่นั้น อิหร่านก็มีราชวงศ์ผลัดกันปกครองนานถึง ๒,๕๓๘ ปี

กระทั่งถึงราชวงศ์ปาห์ลาวี พระเจ้า เรซา ชาห์ ปกครองอิหร่านระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๘๔ ในห้วงช่วง ๑๖ ปีของ เรซา ชาห์ ประชาชนมีความสุขพอสมควร

มุฮัมมัด เรซา ชาห์ ครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ประชาชนคนอิหร่านก็ยังมีความสุข กระทั่งมีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งเสียผลประโยชน์ไปยุยงส่งเสริมพระเจ้าชาห์ให้เข้าใจอิหม่ามโคไมนีผิด ชาร์จึงเริ่มมีพฤติกรรมขัดแย้งกับผู้นำฝ่ายจิตวิญญาณที่คนอิหร่านจำนวนไม่น้อยให้ความศรัทธาอย่าง อะญาตุลลอฮ์ โคไมนี

การทะเลาะเบาะแว้งทำให้คนอิหร่านแบ่งเป็น ๒ พวก

คือ ๑. พวกนิยมกษัตริย์ และ ๒. พวกชอบอิหม่ามโคไมนี

ใช้กลไกของรัฐทุกอย่าง ทั้งศาล + รัฐบาล + ทหาร วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ กษัตริย์ มุฮัมมัด เรซา ชาห์ ก็ประสบพบความสำเร็จในการให้โคไมนีออกนอกอิหร่าน โคไมนีจึงต้องไปปักหลักอยู่กับมุสลิมชิอะห์ที่นาจาฟ เมืองทางตอนใต้ของอิรัก

ประชาชนคนอิหร่านครึ่งหนึ่งในสมัยนั้น เคารพรักอิหม่ามโคไมนี และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการประท้วงไม่หยุด สมัยนั้น ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตที่วิ่งว่องไวปรู๊ดปร๊าดหรือพูดออนไลน์ได้เหมือนในสมัยนี้ เพื่อไม่ให้กระแสของตนหายไป โคไมนีจึงใช้พูดใส่เทป ผู้ศรัทธาก็เอาเทปไปจำหน่ายจ่ายแจกตามบ้านเรือนผู้คนในอิหร่าน

ผ่านไปหลายปี ไม่มีทีท่าว่าอิหม่ามโคไมนีจะหยุด แม้ตัวไม่อยู่ในประเทศ แต่อิทธิพลคำปราศรัยจากเทปและจดหมาย ก็ยิ่งทำให้ผู้คนถวิลหาอิหม่ามโคไมนี

พระเจ้าชาห์และพวกจึงกลัวแม้แต่เงาของอิหม่ามโคไมนี

พ.ศ. ๒๕๒๑ พระเจ้าชาห์ขอให้ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำคนใหม่ของอิรัก ช่วยไล่อิหม่ามโคไมนีออกจากอิรัก เพราะอิรักมีพรมแดนประชิดติดกับอิหร่าน ผู้คนยังแอบไปมาหาสู่อิหม่ามโคไมนีได้ อิหม่ามโคไมนีจึงต้องระเหเร่ร่อน อพยพออกจากอิรักเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๒๑ คราวนี้ต้องไปไกลจึงชานกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

การไล่รังแกกันจนจนตรอก ทำให้ผู้รักใคร่ในอิหม่ามโคไมนีหันหน้ามาสู้กับพวกกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมเก็บไว้ในใจเหมือนในอดีต การสนทนาพูดจาเกี่ยวกับข้อบกพร่องของผู้คนในราชวงศ์ปาห์ลาวีมีทุกหนแห่ง เพียงเวลาไม่ถึงปี บัลลังก์ที่เคยมั่นคงดุจหินผาของราชวงศ์ปาห์ลาวีก็สั่นคลอนง่อนแง่นรวดเร็วมาก

๑๖ มกราคม ๒๕๒๒ ประชาชนคนที่ฟังเทปของอิหม่ามโคไม่นีลุกฮือกันทั้งประเทศ ชาร์และราชวงศ์ทุกพระองค์จึงต้องทรงเผ่นออกจากอิหร่าน ระบอบกษัตริย์ที่เคยอยู่ยงคงกระพันมานานถึง ๒,๕๓๘ ปี ก็จึงถึงมีอันล้มคลืน ล้มเพราะกษัตริย์หูเบาไปเชื่อคำยุแยงตะแคงรั่วของคนเพียงกลุ่มเดียวที่เสียผลประโยชน์ส่วนตัว

โคไมนีที่ต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปนานถึง ๑๕ ปี จึงได้กลับ

กลับมาคราวนี้ได้เป็นเบอร์หนึ่งของชาติ

พระเจ้าชาร์ทรงเผ่นออกนอกประเทศเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒

พ.ศ.๒๕๒๓ ก็สวรรคต.


นิติภูมิ นวรัตน์

(วันจันทร์ ๒๗ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑)

http://www.nitipoom.com/th/article1.asp?idOpenSky=3078&ipagenum


ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดีวยกัน : ใดใดในโลกล้วนอนิจจัง: นิติภูมิ นวรัตน์, ถึงว่า วันนี้เลยโดนเด้งจากไทยรัฐ

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

เรื่องเล่าเช้านี้ที่สวนหลวงร.9 : ชาวบ้านเค๊าช่างกล้าจริงๆ ผมหละกลัวใจ


ผมเห็นฝนตั้งเค้า
เลยเปลี่ยนใจไม่ออกรอบตีกอล์ฟอย่างที่เคยทำทุกวันอาทิตย์

ไปวิ่งที่สวนหลวงร.9ดีกว่าวันนี้ ว่าแล้วก็ชวนกิ๊กไปหนุงหนิงๆ...

วิ่งไปได้ซีก10กว่านาที ฝนตกจริงๆซะด้วย เลยได้แวะศาลาน้อยครับ มีพวกคนงานของสวนหลวงนะซัก5คนใส่ชุดเขียวปรื๋อเลย แล้วก็ตาลุงคนนึง กวักมือเรียกว่า มาหลบฝนด้วยกัน

ผมกับกิ๊กก็บิดเอวเอ๊กเซอร์ไซส์ไปพลางๆรอฝนซา พวกคนงานที่ทำสวนในสวนหลวงก็คุยกัน คือพวกนี้อยากบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่กทม. หากได้บรรจุก็จะได้เป็นประมาณขรก.ซี3อะไรประมาณนี้ แล้วก็มีนินทาเจ้านายพวกซี5ซี6กันไปตามเรื่อง

ส่วนตาลุงคงนั่งฟังมานานมั๊ง แต่พวกคนงานเรียกแกด้วยความนับถือ
(เห็นว่าแกมาจ๊อกกิ้งที่นี่ประจำ พวกคนงานเลยรู้จักแกดี)อายุคะแนดูน่าจะเกษียณอายุมาหลายปีแล้ว ก็เลยบอกพวกคนงานว่า แกผ่านมาหมดแล้วเรื่องซีเรื่องขั้นอย่าไปจริงจังอะไรให้มาก คนเราก็เหมือนลิเก ตอนมีบทบาทหน้าโรงก็ร้องกันไปว่าเป็นตัวพระตัวนาง ตัวพระราชา เป็นยาจก พอปิดวิกก็ลงมากินก๋วยเตี๋ยวด้วยกัน

"พูดเรื่องกินแล้วในโลกนี้มันกินกันทุกคน พระเรียกว่าฉัน นักการเมืองเรียกว่าเปอร์เซ็นต์ เจ้าเขาเรียกว่าเสด็จพรนะราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย"

ตาลุงว่า...ผมต้องหันขวับมาดู คิดในใจว่าอ้าวเฮ้ย!เล่นแรงไปมั๊ย?

พอดีตรงศาลาน้อยที่เราหลบฝนกันอยู่ มันติดกับคลอง มีบัวอะไรไม่รู้ใบบานแบบกระด้ง แล้วก็มีกังหันหนะนะ แกชี้ไป "ก็ยกกันจังว่าเก่งกล้าสามารถ ดูกังหันชัยโกหกนั่นปะไร ปู้โธ่! ผมก็ยังเห็นน้ำในสวนหลวงเน่าไม่หยุด"...พวกคนงานเสื้อเขียว1ใน5คนนั่นรับว่า"จรืงครับ" แต่บอกว่าเหตุที่น้ำเน่าเพราะเขาไม่ให้เปิดเพราะกังหันที่ว่านี่กินไฟ แต่ถ้าเปิดก็ช่วยได้บ้างบริเวณใกล้ๆกังหัน


"บ้านเมืองเรามันไม่เจริญหรอก เขาอยากให้คนจนยังจนต่อไป ให้คนโง่ก็โง่กันต่อ"ลุงแกปราศรัยแข่งกับสายฝน(สาบานได้ว่าผมนิ่งเงียบตลอด ไม่สอดไม่แทรกซักคำ) "เวลาไปเยี่ยมทีก็ปูผ้าแดง เอาผ้าเช็ดหน้าให้เหยียบแล้วเอาผ้าเช็ดหน้าไปปกหัวว่าเป็นบุญคุณเป็นล้นพ้น แล้วเป็นยังไงไอ้พวกพันธมิตรมันไปบุกยึดบชน.ตายขึ้นมา สีฟ้าก็พาลูกสาวปากสวยไปงานศพ มันสมน้ำหน้าพวกเรามั๊ย?"โอ้โฮ...สะดุ้งครับ ทั้งคนงานและผมกับกิ๊กนะ ไม่นึกว่าลุงแกจะเล่นแรงยังงี้

ฝนยังไม่ซาดีหรอกครับ พอมีเม็ดอยู่ กิ๊กผมรีบสะกิดว่าไปเหอะ แกชักแรงขึ้นเรื่อยๆ เด่วพวกคนงานสวนหลวงฯเกิดเอาเรื่องขึ้นมาจะยุ่งเอา แต่พวกคนงานเหล่านั้นผมสังเกตดูก็ฟังแกเป็นปกติครับ ไม่มีใครด่าแกซักคำ แถมมีรับลูกด้วยเวลาแกด่าสนธิลิ้มแรงๆนะ (แต่ตอนแกด่าของสูง พวกนั้นจะก้มๆหลบๆตาแก)

กิ๊กผมบอกว่าลุงช่างกล้าขนาดนี้ ไม่ไปขึ้นเวทีความจริงวันนี้หรือเวทีนปช.หละ แกบอกว่าแกไม่ขึ้นเวทีไหนทั้งนั้น แกไม่ใช่พวกใคร แต่ที่เห็นๆอยู่ตอนนี้มันเหลืออด โดยเฉพาะงานศพที่เพิ่งผ่านมาเนี่ย (แล้วแกก็เวียนด่าอีกรอบ แต่ชักจะแรงขึ้นเรื่อยๆ)

ผมได้แต่คิดในใจว่า โอ้โฮเว้ย อย่างพวกเรามาพูดกันในฟ้าเดียวกันนี่ก็แบบว่าแอบๆแล้วนะ นี่ลุงแกเล่นเปิดปราศรัยด่าให้คนแปลกหน้าอย่างผมฟังไปแล้วเหรอวะเนี่ย...ของเค๊าแรงจริงๆ


กิ๊กผม..เธอเป็นยอดมนุษย์



เพิ่มเติม..
ความเห็นจากผู้อ่าน


อ่านแล้วรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก จับที่จริงๆ ไม่ได้ซักประเด็น ทั้งเรื่องโดยเสด็จพระราชกุศลฯ(มันต่างจากการโกงของนักการเมือง องค์ประกอบไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนั่นเขาโกงเงินแผ่นดิน แต่บริจาคโดยเสด็จฯ เงินปชช.เขาถวายเอง) เรื่องทำให้คนไทยโง่ จะได้ปกครองนานๆ (ลองดูโครงการที่ริเริ่มโดยเจ้านาย หลายอย่างส่งเสริมให้ปชช.มีความรู้ ทั้งสารานุกรม โครงการทุนเล่าเรียนหลวง ทุนอานันท์ ศึกษาผ่านดาวเทียมฯลฯ) มีอยู่เรื่องนึงที่พอจะไปวัดไปวาได้ ก็เรื่องงานศพพันธมิตรนั่นแหละ อันนี้ผมยอมรับ "สีฟ้า" ไม่ว่าจะโดยจงใจหรือโดยทำตามคำยุยง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าครั้งนี้ "พลาด" ไปแล้วจริงๆ

guaycheng


การเมืองเรื่องการบริจาคเงินมีแน่นอน วันใดที่คุณเจ๋งออกไปทำงานจะเข้าใจทางวังจดบันทึกไว้ ว่าใครจ่ายเท่าไหร่ บริษัทหน่วยงาน องค์กร สามารถเอาใบเสร็จไปหักลดภาษีได้ และเอาไปขอเครื่องราดได้ด้วยเรื่องการหักลดภาษี คุณบริจาึคให้ครอบครัวหนึ่งเข้ากระเป๋า แต่ทำให้รัฐหาเงินมาอุดหนุนได้น้อยลง มันชอบธรรมหรือไม่ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องที่หน่วยงานต่างๆแข่งกันทำโน่นทำนี่ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดแล้วจะทำให้ธุรกิจของเขาดำเนินไปอย่าง "ง่าย"ขึ้น เมื่อมีผู้สนับสนุน เรื่องนี้มีการคอรัปชั่่นอย่างแน่นอน โครงการที่คุณเจ๋งว่ามารู้ได้อย่างไรว่าริเริ่มโดยใคร ดำเนินไปได้โดยใครบ้าง ใช้งบไปเท่าไหร่ เอาเงินมาจากไหน (เกือบทั้งหมดมาจากรัฐ) มัวแต่ดูรายการสารคดีแล้ว แล้วก็เชื่อๆๆๆๆตามนั้น โดยหาได้วิเคราะห์ หรือคิดให้ถี่ถ้วน

magical


ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : เรื่องเล่าเช้านี้ที่สวนหลวงร.9, ชาวบ้านเค๊าช่างกล้าจริงๆ ผมหละกลัวใจ


หมายเหตุ
ผมว่าในเรื่องที่คุณกิ๊กฯเล่ามานั้น(โดยส่วนตัวผมเองเชื่อใจในความคิดเห็นของคุณกิ๊กๆเพราะได้เห็นกันมานาน) มีความน่าสนใจต่อเรื่องความรู้สึกของประชาชนในตอนนี้ เรื่องนี้คงเปนแค่อีกเสียงหนึ่ง ที่เปนเสียงเล็กๆในบ้านเมืองเรา ณ ช่วงเวลานี้ ( เจ้าน้อย..)

ปล.
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

หนังสือ (อดีตต้องห้าม) ที่น่าอ่าน


ช่วงนี้มีสัปดาห์หนังสือจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ผมได้ไปมาและพบหนังสือที่คนไทยควรอ่านหลายเล่ม ที่น่าสนใจก็คือมีการพิมพ์หนังสือที่อดีตกลายเป็นหนังสือต้องห้าม แต่ปัจจุบันหนังสือที่ว่านี้ซึ่งอดีตถือเป็น ของแสลงของผู้ปกครอง นั้นกลับกลายเป็นหนังสือที่ทาง สกว.ได้ทำวิจัยและบรรจุให้เป็นหนังสือหนึ่งในร้อยที่คนไทยควรอ่าน หนังสือที่ผมเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำความเข้าใจสภาพสังคมไทยในอดีตรวมถึงสภาวการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันด้วย

หนังสือที่น่าอ่านเล่มแรก พระเจ้ากรุงสยาม โดย ส. ธรรมยศ หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕ ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗[1] และครั้งล่าสุด พ.ศ. ๒๕๕๑ บทที่สำคัญที่สุด (ส.ธรรมยศเป็นผู้บอกเองและอาจจะเป็นบทที่ล่อแหลมและเป็นที่กล่าวถึงมากที่สุด) ในหนังสือเล่มนี้คือบทที่ ๗ หากใครต้องการทราบว่าบทที่ ๗ มีเนื้อหาว่าอย่างไรคงต้องไปหาอ่านกันเองอ่านแล้วจะรู้ว่า ทำไมหนังสือเล่มนี้จึงเคยเป็นหนังสือต้องห้าม

หนังสือเล่มต่อมาคือ นิราศหนองคาย ของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) หนังสือเล่มนี้พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ แต่ก็ถูกเผาเสียหลังจากพิมพ์ออกมาได้ไม่นาน และมีการพิมพ์อีกครั้งในปีพ.ศ. ๒๔๙๘ โดยผู้แต่งก็ถูกลงโทษด้วยการถูกโบย ๕๐ ที และจำคุกอีก ๘ เดือน หนังสือเล่มนี้พิพม์ครั้งที่สามเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๔ หนังสือนิราศหนองคายของหลวงพัฒนพงศ์ภักดีจัดเป็นหนังสือ ๑ใน ๑๐๐ ที่คนไทยควรอ่าน

หนังสือเล่มต่อมาคือ โฉมหน้าศักดินาไทย ของจิตร ภูมิศักดิ์ หนังสือเล่มนี้คงไม่ต้องกล่าวถึงให้มากความเพราะเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ปัญญาชนไทยมากที่สุดเล่มหนึ่ง มีการพิมพ์ซ้ำกันหลายครั้ง ระยะหลังมีการเผยแพร่เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ให้เป็นที่เผยแพร่ในวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะในระดับประชาชนคนทั่วไป และคงไม่มีช่วงเวลาใดที่เหมาะสมไปกว่าช่วงเวลานี้อีกแล้วที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้

หนังสือต่อไป คือ เทียนวรรณ แต่งโดยคุณสงบ สุริยินทร์ แม้หนังสือเล่มนี้จะมิได้เป็นหนังสือต้องห้ามก็ตาม[2] แต่ก็เป็นหนังสือที่น่าอ่านมาก เทียนวรรณนั้นเป็นนามปากกาของ ต.ว.ส. วรรณาโภ เป็นผู้ได้รับฉายาว่า “บุรุษรัตนของสามัญชน” ผู้เกิดในสมัยรัชกาลที่สามและมีชีวิตเรื่อยมาจนถึงสมัยของรัชกาลที่หก ในหนังสือเล่มนี้ได้บรรยายถึงชีวประวัติและผลงานที่คัดสรรของเทียนวรรณซึ่งปัจจุบันหาอ่านได้ยากยิ่ง เทียนวรรณนั้นเป็นทั้งนักหนังสือพิมพ์ นักกฎหมาย เทียนวรรณกล้าวิจารณ์สภาพสังคมในเวลานั้นอย่างตรงไปตรงมา เทียนวรรณเคยวิจารณ์ระบบทาส เจ้านาย ศาล ประเพณีที่คร่ำครึ ฯลฯ เทียนวรรณวิจารณ์หมด ทั้งๆ ที่ในยุคนั้นเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงไม่แปลกใจที่เทียนวรรณถูกจำคุกร่วมสิบแปดปี ที่น่าสนใจก็คือตอนเทียนวรรณออกจากคุกมีคนพูดเชิงสมน้ำหน้าเทียนวรรณว่า แกมันชิงสุกก่อนห่าม

ปัญญาชนสยามทั้งสามท่านคือ เทียนวรรณ ส.ธรรมยศ และ จิตร ภูมิศักดิ์ ล้วนแล้วแต่ใช้สติปัญญาผ่านคมปากกาวิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครองและสภาพสังคมไทยในขณะนั้น โดยบุคลิกที่คล้ายกันทั้งสามท่านคือการใช้ภาษาที่ดุดัน ตรงไปตรงมาแกมประชดเสียดสี ซึ่งย่อมสร้างความขุ่นเคืองให้กับกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย


ข้อสังเกตของวาทกรรมการชิงสุกก่อนห่าม

หลังจากที่เทียนวรรณออกมาจากเรือนจำก็มีคนตำหนิหรือด่าเทียนวรรณว่า ชิงสุกก่อนห่าม วาทกรรมชิงสุกก่อนห่ามเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อคณะราษฎรได้ทำการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) นั้นก็ถูกวิจารณ์ในภายหลังว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่ามเนื่องจากรัชการที่ ๗ กำลังพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนอยู่แล้ว ผมเองไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ ไม่ทราบว่า หลังจากที่มีการก่อกบฎ ร.ศ. ๑๐๓ ในสมัยรัชการที่ ๖ นั้น มีการอธิบายความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้นด้วยการกล่าวว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่ามหรือไม่

จะเห็นว่าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านในอดีตจนถึงปัจจุบัน หากมีปัญหาเกี่ยวกับการเมืองไทยในด้านต่างๆ เช่นการเลือกตั้ง การได้มาซึ่งรัฐมนตรี ปัญหาการทุจริตของนักการเมือง ฯลฯ ชุดคำอธิบายหนึ่งก็คือความพยายามที่จะอธิบายหรือโน้มน้าวให้กับประชาชนว่า

“ประเทศไทยไม่เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก”

“ประเทศไทยมีเอกลักษณ์ ประเพณี ประวัติศาสตร์ที่ไม่เหมือนชาติใด ซึ่งมีนัยยะว่า เพราะฉะนั้น ไทยควรมีระบอบการปกครองแบบไทยๆ” หรือ

“คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษา ดังนั้น จึงไม่มีวิจารณญาณพอที่จะเลือกผู้แทน ซึ่งมีนัยยะว่า สมควรให้กลุ่มบุคคลหนึ่งมาทำหน้าที่นี้แทน” [3] ฯลฯ

ชุดคำอธิบายทำนองนี้กำลังถูกนำเสนอตอกย้ำมากขึ้นทุกทีๆ หากจะสรุปสั้นๆ ก็คือว่าสังคมไทยอย่าเพิ่งชิงสุกก่อนห่ามที่จะเป็นประชาธิปไตยแบบนานาอารยประเทศ เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม ตอนนี้เอา “การเมืองใหม่” ไปก่อน หากทวยราษฎรมีการศึกษา ความเป็นอยู่ดีขึ้นมากกว่านี้ ก็ค่อยมาพูดเรื่องปาลิเมนต์ (Parliament) และก่อนที่จะนำไปสู่การเมืองใหม่ น่าจะจัดให้มีการทดลองหรือจำลองให้คนไทยรู้จักประชาธิปไตยโดยการสร้างเมืองคล้ายกับ “ดุสิตธานี” อย่างที่รัชกาลที่ ๖ ทรงจัดให้มีการทดลองเกี่ยวกับการปกครองในระดับท้องถิ่น ในครั้งนี้น่าจะจัดให้มีเมือง “มัฆวาน” เพื่อให้ทวยราษฎรไทยมีความเข้าใจ “การเมืองใหม่” อย่างถ่องแท้เสียก่อน มิฉะนั้นการปฎิรูปการเมืองไทยคงล้มเหลวอีกเช่นเคย


บทส่งท้าย

ใครก็ตามที่เบื่อเรื่อง “การชุมนุมแบบนันสต๊อป” และ “การเมืองใหม่” จะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการอ่านหนังสือที่แนะนำเป็นการลับสมองเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคตก็จะดีไม่น้อย ยิ่งหากอ่านควบคู่ไปกับ “แถลงการณ์ของคณะราษฎร” ก็จะได้อรรถรสดีนักแล แล้วจะรู้ว่า หากเปรียบเทียบกับแนวคิดของเทียนวรรณก็ดี ข้อวิจารณ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ ก็ดี แนวคิดเรื่องการเมืองใหม่นั้นกลายเป็นของคร่ำครึไปเลย หากเทียนวรรณยังมีชีวิตอยู่ในเวลานี้ท่านคงนึกประหลาดอย่างยิ่งว่า เวลาผ่านไปร่วมร้อยปี แต่ความคิดหรืออุดมการณ์การเมืองไทยกำลังจะย้อนกลับไปสู่ยุคที่ท่านเทียนวรรณยังมีชีวิตอยู่ ผมไม่แน่ใจว่า กลุ่มพันธมิตร “เกิดช้าไป” (คือน่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ห้าหรือรัชการที่หก) หรือพวกสนับสนุนประชาธิปไตย “เกิดเร็วไป” กันแน่ ถ้าคราวนี้เกิดรัฐประหารหรือมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลคุณสมชายและจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติสำเร็จโดยฝ่ายประชาธิปไตยพ่ายแพ้ และมีการยัดเยียดเรื่องการเมืองใหม่ไว้ในรัฐธรรมนูญสำเร็จ เห็นทีผมคงต้องพูดกับบรรดาผู้รักประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการว่า

พวกแกมันชิงสุกก่อนห่าม



ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



[1] ในการพิมพ์ครั้งที่สองนี้โดยสำนักพิมพ์มติชนนี้ ปรากฎว่ามีการเก็บหนังสือมิให้มีการจำหน่ายอีกต่อไป ดังนั้นหากใครก็ตามอยากอ่านหนังสือเล่มนี้คงต้องรีบซื้อเก็บไว้

[2] ผมไม่แน่ใจว่าผลงานของเทียนวรรณเองเป็นหนังสือต้องห้ามในยุคหลังๆหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น “ศิริพจนภาค” มีทั้งหมด 12 เล่ม เป็นการรวมผลงานของเทียนวรรณที่เขียนขึ้นก่อนถูกจำคุกและระหว่างถูกจำคุก และ “ตุลยวิภาค”

[3] การสรรหาหรือแต่งตั้งสว.ชุดปัจจุบันเป็นการสะท้อนแนวคิดนี้ที่ชัดเจนที่สุด


ที่มา : หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท : หนังสือ (อดีตต้องห้าม) ที่น่าอ่าน


หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ว่าด้วยพระราชนิพนธ์ "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์"



คุณ Francescatti ได้ตั้งกระทู้ถามว่า 'ทำไมพระราชนิพนธ์เรื่อง "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์" ถึงไม่ค่อยมีการเผยแพร่'


ทำให้เป็นโอกาส ที่ผมจะได้พูดอะไรสักเล็กน้อยเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์นี้ ที่ผมรู้สึกสนใจมานาน

ก่อนอื่น ที่คุณ Francescatti กล่าวว่า ไม่ค่อยมีการเผยแพร่นั้น ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าหมายถึงอะไร ความจริง (ดังที่ผมเคยตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้) ในหลวง ในฐานะ "นักประพันธ์" เป็นสิ่งที่ "มาทีหลังสุด" (หลังจากได้รับการสรรเสริญพระบารมีในความเป็น นักแต่งเพลง, นักกีฬา, นักวาด, นักถ่ายภาพ)

ดังนั้น จึงไม่ถึงกับแปลกนัก ถ้าจะรู้สึกว่า "ไม่ค่อยมีการเผยแพร่" งานเรื่อง "จากสยาม" ดังกล่าว เพราะที่จริง ไม่มีการเผยแพร่ งานประพันธ์จริงๆเท่าไร เพิ่งมามี ในช่วงไม่กี่ปีหลังนี้เอง (ปรากฏการณ์ที่ผมเรียกว่า " Mass Monarchy ") ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเสนอภาพ ในหลวงในฐานะ "นักเขียน" ตอนแรกในฐานะ "นักแปล" ก่อน คือ เรื่อง ติโต และ นายอินทร ซึ่งความจริง แปลไว้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 70 หรือ 30 ปีที่แล้ว แต่เพิ่งเผยแพร่ ต่อมา จึงในฐานะ "นักเขียน" โดยตรง ด้วยเรื่อง มหาชนก ทองแดง (รวมฉบับการ์ตูนต่างๆ)

สำหรับผู้ที่ไม่เคยเห็นตัวบทเต็มๆ ผมขอคัดลอกมาให้ดู (ผมเอามาจากอินเตอร์เน็ต เว็บใดจำไม่ได้แล้ว แต่ดูเหมือนไม่ถึงกับหายากนัก) แล้วจะตามมาด้วยข้อสังเกตบางอย่างที่ ผมรู้สึกสะดุดใจเกี่ยวกับงานพระราชนิพนธ์ชิ้นนี้



"

"เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์"

วงวรรณคดี ๒๔๙๘

‘วงวรรณคดี’ ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ถนัดมาลงในหนังสือนี้นานมาแล้ว อันที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่ใช่นักประพันธ์ เมื่ออยู่โรงเรียนเรียงความและแต่งเรื่องก็ทำไม่ได้ดีนัก อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าก็ปรารถนาที่จะสนองความต้องการของ ‘วงวรรณคดี’ อยู่บ้าง และเนื่องด้วยไม่สามารถที่จะเขียนเรื่องที่ข้าพเจ้ารู้บ้าง เช่น ดนตรี ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือกฎหมาย ฯลฯ ได้ เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้ดีพอ ฉะนั้นจึงตกลงใจส่งบันทึกประจำวันที่เขียนไว้ก่อนและระหว่างเดินทางจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์มาให้ และในโอกาสนี้จึงขอขอบใจเป็นการส่วนตัวต่อทุกคน ที่มาถวายความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชของข้าพเจ้า ณ พระมหาปราสาท ตลอดจนความปรารถนาดีที่มีต่อตัวข้าพเจ้าเอง กับขอขอบใจเหล่าทหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการด้วยความจงรักภักดีต่อเราทั้งสองด้วย

วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2489 อีกสามวันเท่านั้น เราก็จะต้องจากไปแล้ว ฉะนั้นจึงตั้งใจจะไปนมัสการพระพุทธชินสีห์ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชด้วย

เมื่อไปถึงวัดบวรนิเวศวิหารตอนบ่ายวันนี้ มีประชาชนผู้รู้ว่าข้าพเจ้าจะมา มายืนรออยู่บ้างแต่ไม่สู้มากนัก เข้าไปในพระอุโบสถ จุดเทียนนมัสการ ฯลฯ...แล้ว ได้มีโอกาสทูลปฏิสันถารกับสมเด็จพระสังฆราช ทรงนำพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูงให้มารู้จัก โดยปกติได้เคยเห็นหน้าท่านเหล่านี้มาจนชินแล้ว ทรงนำขึ้นไปนมัสการพระสถูป บนนั้นมีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ชื่อพระไพรีพินาศ พระองค์นี้ เคยทรงเล่าประวัติให้ฟังมาก่อนหน้านี้แล้วหลายวัน หลังจากนั้นก็นมัสการลาตอนนี้มีราษฎรชุมนุมกันหนาตาขึ้น ต่างก็ยัดเยียดเบียดเสียดกันจนรู้สึกเกรงไปว่ารถที่นั่งมาจะทับเอาใครเข้าบ้าง ช่างเคราะห์ดีแท้ๆ ที่ไม่มีอันตรายอันใดเกิดขึ้นแก่ประชาชนที่มานั้นเลย ในหมู่ประชาชนที่มารอรับกันอยู่วันนี้ จำได้ว่า มีบางคนเคยเห็นที่พระมหาปราสาทเป็นประจำมิได้ขาด ไม่รู้ว่าหาเวลามาจากไหน จึงไปที่พระมหาปราสาทได้เสมอเกือบทุกวันอังคาร พฤหัสบดีและวันอาทิตย์ พวกนี้ก็มาที่วัดนี้ด้วยเหมือนกัน

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - เก็บของลงหีบและเตรียมตัว...

วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - เราจะต้องจากไปในวันพรุ่งนี้แล้ว! อะไรๆๆ ก็จัดเสร็จหมดหมายกำหนดการก็มีอยู่พร้อม...บ่ายวันนั้นเราไปถวายบังคมลาพระบรมอัฐิของพระบรมราชบุพการีของเรา ทั้งสมเด็จพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินี ในรัชกาลก่อนๆ แล้วก็ไปถวายบังคมลาพระบรมศพ เราต้องทูลลาให้เสร็จในวันนี้ และไม่ใช่พรุ่งนี้ตามที่ได้กะไว้แต่เดิม เพื่อจะรีบไม่ให้ชักช้า เพราะพรุ่งนี้จะได้มีเวลาแล่นรถช้าๆ ให้ราษฎรเห็นหน้ากันโดยทั่วถึง

เมื่อออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณมายังพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ผู้คนอะไรช่างมากมายเช่นนั้น! เมื่อวานนี้เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาถามว่า จะอนุญาตให้ประชาชนเข้ามาหรือไม่ในขณะที่ไปถวายบังคมพระบรมศพ ตอบเขาว่า “ให้ข้ามาซิ” เพราะเหตุว่า วันอาทิตย์เป็นวันสำหรับประชาชน เป็นวันของเขา จะไปห้ามเสียกระไรได้ และยิ่งกว่านั้นยังเป็นวันสุดท้ายก่อนที่เราจะจากบ้านเมืองไปด้วย ข้าพเจ้าก็อยากจะแลเห็นราษฎร เพราะกว่าจะได้กลับมาเห็นเช่นนี้ก็คงอีกนานมาก...วันนี้พวกทหารรักษาการณ์กันอย่างเต็มที่ เพื่อกันทางไว้ให้รถแล่นได้สะดวก ไม่เหมือนอย่างวันที่ 15 สิงหาคม ที่ผ่านมา ช้าเกินไป...

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - วันนี้ถึงวันที่เราจะต้องจากไปแล้ว...พอถึงเวลาก็ลงจากรถพระที่นั่งพร้อมกับแม่ ลาเจ้านายฝ่ายใน ณ พระที่นั่งชั้นล่าง แล้วก็ไปยังวัดพระแก้ว เพื่อนมัสการลาพระแก้วมรกตและพระภิกษุสงฆ์ ลาเจ้านายฝ่ายหน้า ลาข้าราชการทั้งไทยและฝรั่ง แล้วก็ไปขึ้นรถยนต์ พอรถแล่นออกไปได้ไม่ถึง 200 เมตร มีหญิงคนหนึ่งเข้ามาหยุดรถแล้วส่งกระป๋องให้เราคนละใบ ราชองครักษ์ไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรอยู่ในนั้น บางทีจะเป็นลูกระเบิด! เมื่อมาเปิดดูภายหลังปรากฏว่าเป็นทอฟฟี่ที่อร่อยมาก ตามถนนผู้คนช่างมากมายเสียจริงๆ ที่ถนนราชดำเนินกลาง ราษฎรเข้ามาใกล้ชิดรถที่เรานั่ง กลัวเหลือเกินว่าล้อรถของเราจะไปทับแข้งทับขาใครเข้าบ้าง รถแล่นฝ่าฝูงชนไปได้อย่างช้าที่สุด ถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นเร็วขึ้นได้บ้าง ตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียง ใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดังๆ ว่า “อย่าละทิ้งประชาชน” อยากจะร้องบอกเขาส่งไปว่า ถ้าประชาชนไม่ “ทิ้ง” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ละทิ้ง” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว

เมื่อมาถึงดอนเมือง เห็นนิสิตมหาวิทยาลัยผู้จงใจมาเพื่อส่งเราให้ถึงที่ ได้รับของที่ระลึกเป็นรูปเครื่องหมายของมหาวิทยาลัย 11.45 นาฬิกาแล้ว มีเวลาเหลืออีกเล็กน้อยสำหรับเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวที่สโมสรนายทหาร ต่อจากนั้นไปขึ้นเครื่องบิน เดินฝ่าฝูงคนซึ่งเฝ้าดูเราจนวาระสุดท้าย

เมื่อขึ้นมาอยู่บนเครื่องบินแล้วก็ยังมองเห็นเหล่าราษฎร ได้ยินเสียงไชโยโห่ร้องอวยชัยให้พร แต่เมื่อคนประจำเครื่องบินเริ่มเดินเครื่องทีละเครื่องๆ เสียงเครื่องยนต์ดังสนั่นหวั่นไหวกลบเสียงโห่ร้องก้องกังวานของประชาชนที่ดังอยู่หมด พอถึง 12 นาฬิกา เราก็ออกเดินทาง มาบินวนอยู่เหนือพระนครสามรอบ ยังมองเห็นประชาชนแหงนดูเครื่องบินทั่วทุกสายในพระนคร

บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตกมุ่งตรงไปยังเกาะลังกา (ซีลอน) เสียงเครื่องบินดังสนั่นหนวกหู หากผู้ใดอยากจะพูดก็จะต้องตะโกนออกมาให้สุดเสียง ดังนั้น จึงไม่มีใครพูดเลย ทางที่ดีที่สุดที่พึงทำคือ หลับตาเสียแล้วนิ่งคิด...แปลกดีเหมือนกันที่ใจหวนไปคิดว่า เพียงชั่วโมงเดียวที่ผ่านมาเมื่อตะกี้นี้เอง เรายังห้อมล้อมไปด้วยประชาชนชาวไทย แต่เดี๋ยวนี้เล่า เรากำลังเหาะอยู่เหนือท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล แม้จะมีเสียงเครื่องยนต์ก็ดูเป็นเหมือนเงียบและนิ่งอยู่กับที่ เพราะเสียงทุกๆ เสียงจากสิ่งที่มีชีวิตได้จางหายไปหมดแล้ว และกำลังชินกับเสียงครางกระหึ่มของเครื่องยนต์นั้น หวนกลับไปนึกดูเมื่อ 9 เดือนที่แล้วมา เรากำลังบินไปในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อจะเยี่ยมเยียนประเทศหนึ่ง เยี่ยมอาณาประชาชนที่เราต้องพลัดพรากจากมาถึง 7 ปีเต็มๆ โดยที่เราเกือบไม่รู้เรื่องข่าวคราวของบ้านเมืองและประชาชนของเราเลยแม้แต่น้อย...เดี๋ยวนี้เรากำลังบินจากประเทศนั้นจากประชาชนพลเมืองเหล่านั้นไปแล้ว การจากครั้งนี้มิได้เพียงแต่จากมาอย่างเดียวเท่านั้น ข้าพเจ้าได้จากเรื่องที่ล่วงแล้วมาด้วย... สจ๊วตเข้ามาขัดจังหวะเสีย ทำให้ความคิดที่กำลังเพลิดเพลินจางไปเสียจากสมอง เขานำอาหารกลางวันที่มีรสกลมกล่อมเข้ามาให้ การเดินทางในระยะต่อมาช่างเปล่าเปลี่ยวเสียจริงๆ สิ่งที่มองเห็นในเบื้องหน้าไม่มีอะไรเสียเลย นอกจากท้องทะเลเขียวครามอันแสนลึก นานๆ จะแลเห็นเกาะบ้างเป็นครั้งคราว

เรามาถึงเมืองเนแกมโบ (Negambo) ใกล้ๆ กับโคลัมโบ เมืองหลวงของเกาะลังกา ภายลังจากที่ได้บินมาเป็นเวลานานถึง 8 ชั่วโมงกับ 15 นาที เดี๋ยวนี้ 18.45 นาฬิกา ตามเวลาของเกาะลังกาแล้ว เมื่อเทียบกับเวลาที่กรุงเทพฯ ที่นี่ช้ากว่า 1 ชั่วโมงกับ 30 นาทีพอดี

ข้าหลวงประจำเกาะลังกาคือ เซอร์จอห์น เฮาเวิร์ด (Sir John Howard) ได้เดินทางจากโคลัมโบมาเพื่อต้อนรับเรา ข้าพเจ้าขึ้นนั่งรถยนต์มีท่านข้าหลวงตามมาด้วย ส่วนแม่นั้นไปกับภรรยาของเขา ระยะทางจากสนามบินไปยังจวนข้าหลวงในเมืองโคลัมโบ ต้องนั่งรถไปราว 30 นาที อันเป็นระยะที่กำลังสบายและมีโอกาสได้ชมภูมิประเทศตามถนน - ตามที่เห็นมาด้วยตาและตามคำบอกเล่าของเซอร์จอห์น เฮาเวิร์ด รู้สึกว่าเกาะลังกานี้ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับเมืองไทยเราเสียจริงๆ เป็นเมืองที่อุดมดี แลดูก็งามตา ประชาชนก็สุภาพและมีนิสัยดี เหตุที่ทำให้เหมือนมากนี้ข้อสำคัญอยู่ที่นับถือศาสนาร่วมกันกับไทยเรา

พอมาถึงจวนข้าหลวง ก็ตรงเข้าห้องพัก เป็นห้องกว้างและสบาย ที่นี่ไม่ค่อยร้อนเหมือนเมืองไทย ทั้งไม่มียุงด้วย ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องก็มีมุ้ง เราได้พักผ่อนชั่วครู่ภายหลังที่ได้เดินทางมาอย่างเหน็ดเหนื่อย หูยังอื้ออยู่เพราะเสียงเครื่องบิน กินข้าวมื้อเย็นกับข้าหลวง และรู้สึกดีใจเหลือเกินที่ได้หลับนอนตามสบาย เพราะเช้าพรุ่งนี้จะต้องบินต่อไปยังเมืองการาจี

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - เวลา 8.30 นาฬิกา ก่อนที่จะออกเดินทาง เราไปที่วัดในพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งที่อยู่ในเมือง เข้าไปในโบสถ์แล้วจุดเทียน (เทียนไขเราดีๆ นี่เอง) เอาดอกไม้ที่ข้าหลวงจัดมาให้บูชาพระ สมภารเจ้าวัดนี้ เป็นคนคนเดียวกัน กับที่ได้เคยต้อนรับเราเมื่อคราวมาเที่ยวที่แล้ว ที่วัดนี้เองเมื่อ 8 ปีมาแล้ว พี่ชายของข้าพเจ้าได้มาปลูกต้นจันทน์...บนแท่นที่บูชายังมีรูปถ่ายเป็นรูปพี่ที่เคยมาด้วยกัน กำลังตั้งท่าปลูกอยู่ทีเดียว สมภารได้นำเราไปยังต้นจันทน์ต้นนั้น คาดว่าจะใหญ่โต แต่ดูไม่เจริญงอกงามเสียเลย สูงยังไม่เกินสองฟุต

เมื่อออกมาจากวัด มีประชาชนกลุ่มหนึ่งมาคอยเฝ้า บางคนยกมือขึ้นไหว้อย่างไทยๆ เรา บางคนตบมือ บางคนตะโกนออกมาด้วยความพออกพอใจ มาถึงสนามบินเวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา เราลาข้าหลวงและภริยาผู้มีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน และให้ความเอื้อเฟื้อต่อเราเป็นอย่างดี แล้วขึ้นเครื่องบินจากมา

การเดินทางเป็นไปอย่างปกติ สจ๊วตนำอาหารมาให้เรากินตามเวลามิได้ขาด บางทีก็ได้รับรายงานจากนักบิน แสดงด้วยแผนที่ ให้เห็นว่า เดี๋ยวนี้เราอยู่ตรงไหน บางทีก็รายงานอากาศที่เราจะต้องประสบในเบื้องหน้า ตลอดจนความเร็ว และระยะสูงของเครื่องบิน ฯลฯ เป็นการเดินทางที่สะดวกและสบายดี...

ในตอนจวนจะถึง อากาศไม่สู้ดีเหมือนที่แล้วมา เพราะมรสุมกำลังตั้งเค้า แต่เรากำลังจะถึงการาจีอยู่แล้ว เพราะเครื่องบินบินเร็วทำเวลาได้ดีมาก เมื่อบินอยู่เหนือเมือง มองดูรอบๆ ลักษณะเป็นทะเลทรายเราดีๆ นี่เอง ช่างไม่มีชีวิตจิตใจเสียเลย ที่ตั้งเป็นเมืองขึ้นได้ ก็เพราะเป็นท่าเรือใหญ่อยู่ในทำเลที่เหมาะ เครื่องบินลงถึงพื้นดินเมื่อเวลา 17 นาฬิกา บินมาได้ 8 ชั่วโมง มีพวกข้าราชการมาคอยรับอยู่ ขึ้นรถตรงไปศาลาว่าการของรัฐบาลแขกของข้าหลวงเช่นเดียวกับที่เกาะลังกา

พรุ่งนี้เราจะต้องบินเป็นระยะทางไกล ฉะนั้นจึงอยากจะนอนแต่หัวค่ำสักหน่อย แต่ว่าต้องกินข้าวกับข้าหลวงและคณะ จำต้องสนทนาปราศรัยถึงเรื่องที่ไม่มีเรื่องเหมือนที่พวกฝรั่งนิยมกัน กว่าจะได้พักผ่อนหลับนอนก็เกือบสองยาม เราเพลียมาก รู้สึกว่าหลับได้อย่างง่ายดาย

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - จากศาลาว่าการรัฐบาลไปสนามบิน รถวิ่ง 20 นาที ผ่านเข้าไปในย่านการค้าในเมือง มีข้อที่น่าสนใจและพึงสังเกตอยู่บ้างคือ พบคนนอนหลับอย่างสบายอยู่ ข้างทางและตามประตู พวกที่ตื่นลุกขึ้นล้างหน้าที่ท่อน้ำใกล้ๆ กับที่นอน และเขาทำกันอย่างนี้ ในบริเวณที่มีตึกรามตามแบบสมัยใหม่ในย่านการค้าเช่นนั้น!

ประชาชนพลเมืองเหล่านี้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ขาดวิ่น สีของเสื้อผ้านั้นขาวหรือก็คงต้องเป็นสีขาวมาก่อน ที่มาแลเห็นเป็นสีเทาไปมากกว่าสีขาวนั้น ก็เพราะระคนปนไปกับฝุ่น นอกจากนี้ยังได้เห็นวัวศักดิ์สิทธิ์ เดินท่องเที่ยวหาอาหารอยู่ตามท้องถนนหลวง จะไปไหนมาไหนไม่มีใครกล้าจะขับไล่ ไม่ว่าจะเกิดหิวขึ้นมาเมื่อไร พบร้านขายผัก ก็เดินเข้าไปเลือกกินได้ตามใจชอบ ส่วนเจ้าของร้านนั้น เมื่อวัวเข้าไปก็ถือว่าเป็นมงคล...

ถึงสนามบินเวลา 8.30 นาฬิกา และออกบินในทันทีที่มาถึง เครื่องบินบ่ายหัวตรงไปสู่ท้องทะเลด้วยอัตราความเร็ว 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง จนสามารถมองเห็นเรือหาปลาเล็กๆ ในท้องทะเลได้ถนัด ทั้งๆ ที่บินอยู่สูงถึง 2,500 เมตร

ข้าพเจ้าชอบเดินไปที่ที่นักบินขับบ่อยๆ และนั่งลงข้างๆ ตรงที่นั่งของนักบินสำรอง ช่างมีเครื่องบังคับหลายอย่างเสียจริงๆ บังคับปีก บังคับใบพัด เครื่องยนต์ ถังน้ำมัน และอื่นๆ อีกมาก ในตอนต้นๆ ออกจะงงๆ แต่นักบินเป็นคนที่สุภาพมาก ได้พยายามชี้แจงให้เข้าถึงเครื่องทุกๆ ส่วนที่มีอยู่

ที่ข้อมือนักบิน สังเกตเห็นว่าผูกนาฬิกาไว้ถึงสองเรือน เรือนหนึ่ง 6 นาฬิกา อีกเรือนหนึ่ง 4 นาฬิกา แต่ของเราเองเป็น 9.30 นาฬิกา เขาอธิบายให้เข้าใจว่า 4 นาฬิกานั้น เป็นเวลาที่กรีนิช (Greenich) 6 นาฬิกานั้น เป็นเวลาที่กรุงไคโรที่เรากำลังจะไป และ 9.30 นาฬิกานั้น เป็นเวลาที่การาจี เราจะไปไคโรจึงเลื่อนเข็มถอยหลังกลับไปสามชั่วโมงครึ่ง

ราวๆ เที่ยงเราบินอยู่เหนือทะเลทรายอาหรับ มีหลุมอากาศหลายแห่ง ฝรั่งเรียกว่า “bumps” เป็นลมสูงขึ้น เกิดจากความร้อนของทรายจากเบื้องล่างที่ถูกพระอาทิตย์แผดเผา หลุมอากาศเหล่านี้มีอยู่ตลอดทาง กระทั่งผ่านพ้นเขตของทะเลทรายนั้นไป คือราว 14.30 นาฬิกา การผ่านหลุมอากาศวับๆ หวำๆ เช่นนี้ไม่มีความสบายเลย และความไม่สบายใจที่ทวีขึ้นเมื่อพวกประจำเครื่องบินเล่าให้ฟังว่า หากเราจำเป็นต้องร่อนลงยังท้องทะเลทรายนี้แล้ว ออกจะน่าวิตกอยู่มาก ที่ชาวพื้นเมืองเบื้องล่างนี้ มิค่อยจะเป็นมิตรที่ดีของคนแปลกหน้านัก

ล่วงไปอีกชั่วโมงหนึ่งก็ผ่านคลองสุเอซ กำลังมีเรือแล่นเข้าคลอง มีเรือรบขนาดหนักลำหนึ่งจอดอยู่ที่นั่น ขนาดของเรือลำนี้เห็นจะหนักกว่าเรือศรีอยุธยา ประมาณ 15 เท่า แม้กระนั้นมองดูช่างเล็กเสียเหลือเกิน เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องทะเลและความเวิ้งว้างของทะเลทรายอันมหึมานั้น

เรามาถึงสนามบินอัลมาซ่า (Almaza) ใกล้ๆ กับกรุงไคโร หลังจากที่ทำการบินมาแล้วเป็นเวลา 11 ชั่วโมง 45 นาที เราเหน็ดเหนื่อยเพราะถูกรบกวนด้วยเสียงสนั่นหวั่นไหวของเครื่องบินด้วยหลุมอากาศ และด้วยความสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์ ทำเอาเรางงไปหมด...

เราไปพักอยู่ ณ โรงแรมที่ดีแห่งหนึ่ง และได้พักผ่อนอย่างสุขสำราญ ในตอนเย็นสมุหพระราชมณเฑียรของพระเจ้าฟารุค ได้เชิญพระราชปราศรัยของพระองค์มา ข้าพเจ้าก็ได้สนองพระราชอัธยาศัยไปตามสมควร นอกประตูของห้องเรา มีตำรวจอียิปต์ยืนยามอยู่ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลอียิปต์ได้จัดไว้เพื่อความปลอดภัยของเรา

กรุงไคโรเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยตึกสมัยใหม่ แต่เบื้องหลังของตึกเหล่านี้ มีบ้านกระจอกงอกง่อยอยู่เป็นอันมาก บ้านเหล่านี้เป็นที่อยู่ของคนจน เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่และสัตว์อื่นๆ อีก ตามถนน รถรางก็เต็มไปด้วยผู้คนเบียดเสียดยัดเยียดห้อยโหนกันจนไม่มีที่ว่าง และล้วนแต่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าปุปะไม่มีชิ้นดี เป็นผู้ชายทั้งนั้นเกือบไม่มีผู้หญิงปะปนอยู่ด้วยเลย คล้ายๆ กับที่การาจีอยู่มาก ผู้คนหลับอย่างแสนสบายตามสนามหญ้าข้างถนน รถยนต์ดีมาก แต่เป็นรถรับจ้างที่ขับกันอย่างเร็วปรื๋อโดยมาก

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2489 - คืนนี้สบายดีแท้ ถ้าไม่คำนึงถึงเสียงที่มาจากโรงหนังใกล้ๆ ที่พัก กินอาหารเช้าแล้วก็ออกเดินทางไปสนามบินด้วยรถยนต์ สมุหพระราชมณเฑียรของพระเจ้าฟารุค มาส่งและเชิญพระพรให้เดินทางโดยสวัสดีของพระองค์มาประทาน...ข้าพเจ้าตอบขอบพระราชหฤทัย และขอให้นำความไปทูลขอให้ทรงพระเจริญสุขกับขออำนวยพรให้ประชาชนพลเมืองของพระองค์มีความสุขสำราญด้วย

รอบๆ เครื่องบินมีตำรวจอียิปต์รักษาการณ์อยู่อย่างกวดขันยิ่งนัก เวลา 8.15 นาฬิกา เริ่มออกเดินทาง ต่อมาอีก 40 นาที ก็ผ่านเมืองอเล็กซานเดรีย เมืองท่าใหญ่ที่สุดของอียิปต์ วันนี้ต้องบินถึง 9 ชั่วโมง กับ 50 นาที จะถึงกรุงเจนีวาราวๆ 17.05 นาฬิกา

ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย เมื่อสามวันที่แล้ว เรายังอยู่เมืองไทย และวันนี้เราจะถึงสวิตเซอร์แลนด์แล้ว ระยะทางตั้ง 10,000 กิโลเมตรกว่า...เวลากว่า 15.00 นาฬิกา เราต้องบินฝ่ากระแสลมอันแรงทำให้เครื่องบินต้องช้าลง และช้าไปกว่ากำหนด 15 นาที เมื่อเวลา 16 นาฬิกา ช้ามากขึ้นอีกเป็น 45 นาที เรากำลังบินอยู่เหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน บางเวลาก็แลเห็นเกาะต่างๆ เกาะใหญ่ที่สุดคือ เกาะซาร์ดิเนียและคาร์ซิกา กว่าจะแลเห็นฝั่งก็ 16.40 นาฬิกา เป็นชายฝั่งของฝรั่งเศส อีกชั่วโมงเดียวเท่านั้น เราจะถึงสวิตเซอร์แลนด์แล้ว...จากขอบฟ้าสลัวๆ ที่บดบังด้วยเมฆหมอกแลเห็นเมืองๆ หนึ่งอยู่ริมทะเลสาบใหญ่ เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่เมืองนั้นๆ คือ เมืองเจนีวา อันเป็นที่หมายปลายทางที่เรามาด้วยเครื่องบิน และเราจะต้องจากพวกประจำเรือไป คนประจำเครื่องบินเหล่านี้เป็นคนที่ดีต่อเรามากได้ให้เครื่องถมเป็นที่ระลึก บินอยู่รอบเมืองรอบหนึ่งแล้วก็ร่อนลงสู่พื้นดินเมื่อเวลา 17.55 นาฬิกา

อธิบดีกรมพิธีการแห่งรัฐบาลสวิสได้มารับรองในนามของรัฐบาล และแนะนำให้รู้จักกับบรรดาข้าราชการที่มารับนักเรียนไทย อัครราชทูตไทย และข้าราชการไทยก็พากันมารับด้วย รัฐบาลสวิสจัดรถยนต์ไว้ส่งเราถึงเมืองโลซาน ซึ่งอยู่ห่างจากเจนีวาไปราว 60 กิโลเมตร

อธิบดีกรมพิธีการและอัครราชทูตไทยนั่งรถไปกับข้าพเจ้าด้วย อธิบดีกรมพิธีการได้เล่าให้ฟังว่า รัฐบาลสวิสมีความยินดีนักที่ข้าพเจ้าเลือกมาอยู่และมาศึกษาที่สวิตเซอร์แลนด์นี้ บอกเขาว่าชอบประเทศนี้มาก เขาได้ชี้ชวนให้ชมสถานที่ต่างๆ ที่ผ่านมา โดยคิดว่า ข้าพเจ้าไม่รู้จัก และรู้สึกประหลาดใจมากเมื่อได้ทราบว่า ข้าพเจ้ารู้จักสถานที่เหล่านี้เป็นอย่างดีเพราะอยู่ที่นี่มาถึง 14 ปีเศษแล้ว เขารับสารภาพว่าเขาเพิ่งเข้ามารับหน้าที่ใหม่ และเพิ่งมาจากอเมริกาใต้ แล้วเราก็คุยกันถึงเรื่องอื่นๆ ต่อไป ได้ทราบต่อมาว่า เขาเป็นคนชอบศึกษาเรื่องราวของชาวตะวันออกและพระพุทธศาสนาด้วย

พอถึง “วิลลาวัฒนา” เขาก็ลากลับ อำนวยพรให้เรามีความสุขความเจริญ ข้าพเจ้าจึงขอให้เขานำคำขอบใจของข้าพเจ้าไปแจ้งต่อท่านประธานาธิบดี พร้อมทั้งคำอวยพรเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศนั้นด้วย

เรากลับถึงโลซานแล้ว...ไม่ช้าข้าพเจ้าจะต้องเข้าเรียนต่อไป...


(พระปรมาภิไธย) ภูมิพลอดุลยเดช


"


ก่อนอื่น ขอให้สังเกตว่า ตัวบทพระราชนิพน์ชิ้นนี้ มีลักษณะ "สองตลบ" double (ยืมคำชูศักดิ์ ใน "อ่าน") คือ ตัวบทส่วนใหญ่จริงๆ ได้รับการชี้แจงว่า เป็น "บันทึกประจำวัน" หรือ ไดอารี่ ที่ทรงลงในช่วงเดือนสิงหาคม 2489 ทีทรงเสด็จออกจากไทย กลับไปสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์ได้ 2 เดือน (หรือ - ดังที่จะกล่าวข้างลาง - หลังกรณีสำคัญมากๆที่คนแถวนี้สนใจกัน เพียง 2 เดือน) แต่ตัว "พระราชนิพนธ์" นี้ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2498 ใน "วงวรรณคดี" นั่นคือ ตีพิมพ์ในช่วงที ราชสำนัก กำลังมีภาวะ "ตึงเครียด" กับรัฐบาลพิบูล-เผ่า อยู่ ซึ่งมีสาเหตุถึงที่สุดจากการที่ราชสำนัก พยายามยืนยัน (assertion) บทบาทของสถาบันกษัตริย์มากขึ้นๆ

การเผยแพร่ "พระราชนิพนธ์" นี้ ผมเห็นว่า กล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ (หรืออยู่ในบริบทของ) การพยายาม ยืนยัน บทบาท/ฐานะ ของสถาบันกษัตริย์ ขึ้นมาแข่งกับรัฐบาลในขณะนั้น

แต่ที่น่าสนใจ หรือน่าสะดุดใจมากๆสำหรับผม คือ

ผมสงสัยอยู่เสมอว่า นี่จะใช่ "พระราชนิพนธ์" ทีทรง "เขียน" ด้วยพระองค์เองจริงๆหรือไม่? หรือ ได้ผ่านการ "edit" หรือ กระทั่งร่างโดยผู้อื่น? (อย่าลืมปริบท ที่ผมเพิ่งกล่าว) บรรดา "ที่ปรึกษา" สำคัญ อย่าง Prince ธานี ไม่มีวันจะปล่อยให้ มีการเผยแพร่ พระราชนิพนธ์ ใดๆ โดยไม่มีนัยยะ หรือ ความคาดหวัง ให้มีผลในทางที่ดีในการ "ประลองกำลัง" ระหว่างสถาบันฯ กับ รัฐบาลขณะนั้นแน่

และอันที่จริง หลายคนก็คงรู้ดีว่า สิ่งที่เรียกว่า "พระราชนิพนธ์" โดยเฉพาะประเภท "พระราชดำรัส" ต่างๆนั้น แท้จริงแล้ว หาใช่สิ่งที่ทรง "พระราชนิพนธ์" ด้วยพระองค์เอง แต่อย่างใด แต่เป็นผู้อื่นร่างขึ้นถวาย (แม้แต่กรณี "เพลงพระราชนิพนธ์" ดังที่ผมเขียนเล่าในที่อื่นว่า สมัยก่อน ไม่มีการอธิบายให้สาธารณะอย่างขัดเจนด้วยซ้ำว่า ทรง "พระราชนิพนธ์" เฉพาะทำนอง ไม่ใช่ทั้งเนื้อร้องด้วย)

แต่ตัวบทของ "พระราชนิพนธ์" นี้ส่วนใหญ่ กล่าวว่า เป็น "ไดอารี่" (มีประเพณี ที่บุคคลสำคัญ เช่น กษัตริย์ ทูต จะต้องทำ "ไดอารี่" ไว้ - กรณีกษัตริย์ทีมีชื่อเสียงมาก คือ ไดอารี่ของ ร.6) ดังนั้น อาจจะคิดว่า ไม่น่าเป็นไปได้ ที่จะมีผู้อื่น "ร่างถวาย" น่าจะเป็น "บันทึก" ที่ทรงทำด้วยพระองค์เองมากกว่า

แต่บอกตรงๆว่า ผมรู้สึก แปลกๆ ว่า นี่อาจจะไม่ใช่ "ไดอารี่" ที่ทรง "พระราชนิพนธ์" ด้วยพระองค์เอง ล้วนๆ ด้วยเหตุผล 2 ประการ ทีต่อเนื่องกัน

หนึ่ง คือ ผมออกจะรู้สึกว่า ถ้อยคำ ภาษา สำนวน ที่ใช้ (รวมทั้งที่มีการนำมาโฆษณากันมาก ประโยคที่เล่าว่า มีคนตะโกนว่า "อย่าทอดทิ้งประชาชน" แล้วทรงตอบในใจว่า...) ออกจะ polish (หรือ too formal - ดูกรณีที่จะกล่าวต่อไปในข้อ สอง) และ mature มากกว่าที่ทรงมีบุคคลิกในขณะนั้น (ผมเคยเล่าบันทึกที่ ผู้แทนรัฐบาล ได้เข้าเฝ้าที่สวิสเซอร์แลนด์ในช่วงปี 2490 แล้วรายงานมา) เรื่องทีว่า บุคคลิกพระองค์ ทรง "ขี้อาย" แน่นอน คนที "ขี้อาย" อาจจะบันทึกในไดอารี่ส่วนตัวได้ "คม" มากๆขนาดนี้ก็ได้ แตผมยังสงสัยอยู่

สอง แต่ที่สะดุดใจผมมากๆคือ .. เวลาทีบันทึกนั้น คือ เพียง 2 เดือน หลังการสวรรคตด้วยพระแสงปืนของพระเชษฐา แต่ปรากฏว่า ใน "ไดอารี่" ที่นำมาเผยแพร่นี้ แทบจะไม่ได้ทรงกล่าวถึงพระเชษฐาเลย แม้แต่คำเดียว (ยกเว้นที่กล่าวเรื่อง การเคารพพระบรมศพ (และเรื่อง "พี่ชาย" เคยปลูกต้นไม้ที่วัดหนึ่ง) ซึ่งก็เป็นเพียงการกล่าวอย่างผ่านๆ มากๆ) และทั้งๆที ่"โอกาส" ของการบันทึกนี้ คือการจากเมืองไทย กลับไปสู่สวิสฯ ซึง น่าจะเป็นธรรมดา ที่ความทรงจำถึงพระเชษฐา อยู่ในพระทัยอย่างเข้มข้น ("มากัน 2 คน กลับคนเดียว" อะไรทำนองนี้)

ดังนั้น ถ้างานพระราชนิพนธ์นี้ เป็น บันทึกประจำวัน ทีทรงบันทึกด้วยพระองค์เองจริงๆ ก็ต้องกล่าวว่า การที่แทบจะไม่มีการกล่าวถึงในหลวงอานันท์เลยแม้แต้คำเดียว ในโอกาสเดินทางกลับจากจากไทยสู่สวิสฯ เป็นเรื่อง extra-ordinary อย่างสุดยอด


ในบทความก่อนหน้านี้ของผมเรื่อง พระราชดำรัสให้การในศาลคดีสวรรคต

http://somsakwork.blogspot.com/2006/09/text-1-2-3.html

ผมเคยยกการเล่าเรื่องของ พระพินิจชนคดี ที่อ้างว่า ได้เข้าเฝ้าในหลวงปัจจุบันที่สวิสฯ เพื่อสอบปากคำสำหรับคดีสวรรคต โดยพระยาพินิจชนคดี ได้เล่าดังนี้


ข้าพเจ้าและคณะใช้เวลาขอพระราชทานการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งแรก ประมาณสองชั่วโมงเศษ ฉลองพระองค์ด้วยสักหลาดสีเกรย์ทั้งชุด ฉลองพระเนตรและพระเกษาซึ่งไม่ค่อยจะทรงพิถีพิถัน อย่างที่เคยประทับเคียงข้างกับในพระบรมโกษฐ์ ที่กรุงเทพฯทุกครั้งคราว อย่างไรก็อย่างนั้น แต่แววพระเนตรนั้นต่างหากที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทรงเศร้าสลดอยู่ไม่วาย และโดยฉะเพาะก็บ่อยครั้ง เมื่อข้าพเจ้าขอพระราชทานกระแสร์รับสั่งถึงภาพเมื่อวันสวรรคต พระอสุชลคลออยู่ในพระเนตรตลอดเวลา ดำรัสตอบกับข้าพเจ้าทุกครั้งด้วยคำว่า “พี่นันท์- -“ อย่างนั้น และ “พี่นันท์- -“ อย่างนี้ แล้วก็บางทีดำรัสเพียงคำว่า “พี่” คำเดียว ก็ทรงสดุดหยุดลงคล้ายกับจะทรงรำลึกถึงภาพในอดีต เมื่อชำเลืองพระเนตรไปพบกับภาพในเรือบตลำน้อยในวังบางปะอิน ในพระบรมโกษฐ์ทรงกรรเชียงอยู่เอื่อยๆ สิ่งนี้แหละที่ทำให้ข้าพเจ้าทวีความลำบากใจยิ่งขึ้น มันเป็นการรบกวนต่อความรู้สึกในพระราชหฤทัยเหลือเกิน ข้าพเจ้าได้ขอรับพระราชทานอภัยในเหตุนี้ ทรงยิ้มระรื่น แต่เต็มไปด้วยความเยือกเย็น รับสั่งว่า

“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”

ข้าพเจ้าได้กราบถวายบังคมทูลซักไซร้ต่อไปในหลายประเด็น ทรงตอบคำถามข้าพเจ้าอย่างเปิดเผยในทุกประเด็นเช่นเดียวกัน


ผมได้เขียนแสดงความเห็นไว้ในบทความของผมว่า


จากประวัติการทำคดีสวรรคตของพระพินิจชนคดีซึ่งมีทั้งการข่มขู่พยาน และการสร้างพยานเท็จ ทำให้เราควรต้องอ่านทุกอย่างที่เขาเขียนเกี่ยวกับคดีนี้ รวมทั้งรายละเอียดเรื่องการเข้าเฝ้านี้ อย่างไม่น่าเชื่อถือเสมอ จนกว่าจะมีหลักฐานอื่นมายืนยัน ...... อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าแม้สิ่งที่พระพินิจฯเขียนข้างต้น จะไม่ควรเชื่อถือนัก แต่เฉพาะข้อความที่พระพินิจฯอ้างว่าในหลวงองค์ปัจจุบันทรงรับสั่ง (“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว...ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”) ดูเหมือนจะมีการนำมาอ้างอิงกันต่อๆมา ในลักษณะที่เป็นพระราชดำรัสที่แท้จริง (authentic)


สรุปคือ ที่พระพินิจเล่า (และมีคนเอามาโฆษณาต่อมากมาย ว่า เป็นพระราชดำรัสจริงๆ) อาจจะไม่ถึงกับน่าเชื่อถือได้เต็มที

แต่ความน่าสนใจอยู่ทีวา แม้แต่กรณีพระพินิจ ยัง(อ้าง)เล่าได้ว่า ทรงแสดงอารมณ์ความรู้สึกระลึกถึงพระเชษฐาอย่างน่าสนเทือน ต่อหน้าบุคคลอื่น(พระพินิจกับพนักงานอื่น) แต่ใน "ไดอารี่" ที่ทรงบันทึกส่วนพระองค์ เหตุใด จึง ไม่มีการกล่าวถึงพระเชษฐา ได้?


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ที่มา : บอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : ว่าด้วยพระราชนิพนธ์ "เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์"

พระราชดำรัสให้การต่อศาลคดีสวรรคต ๒๔๙๓ : ตัวบทและปัญหาบางประการ


ผมกำลังเขียนบทความเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องอ้างอิงถึงพระราชดำรัสที่ในหลวงองค์ปัจจุบันทรงพระราชทานต่อศาลอาญาในคดีลอบประทุษร้ายในหลวงอานันท์ เมื่อปี ๒๔๙๓(๑) ทำให้ผมเกิดความคิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งกรณีสวรรคตและเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยและประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ หากนำตัวบท (text) ของพระราชดำรัสดังกล่าว มาเผยแพร่อีกครั้ง โดยชี้ให้เห็นปัญหาบางประการที่สำคัญในการตีพิมพ์ครั้งก่อนๆควบคู่กันไปด้วย อันที่จริง เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญและความน่าสนใจของพระราชดำรัสนี้แล้ว เป็นเรื่องน่าแปลกใจด้วยซ้ำที่ ที่ผ่านมา มีการตีพิมพ์เผยแพร่ตัวบทพระราชดำรัสทั้งหมดน้อยมาก (ดูข้างล่าง)

ในการเผยแพร่ครั้งนี้ ผมได้ใส่ตัวเลขลำดับย่อหน้าไว้ด้วย [1], [2], [3] .... เพื่อสะดวกแก่การอ้างอิง โดยนับเฉพาะตัวบทส่วนที่เป็นพระราชดำรัสให้การจริงๆ (คือ ไม่นับ “ย่อหน้า” ประเภท “วันที่ .... ทรงตอบโจทก์” และย่อหน้าแรกสุด ที่ทรงให้พระนามตามแบบฉบับคำให้การ) ในบทแนะนำข้างล่างนี้ ผมจะใช้ตัวเลขลำดับย่อหน้านี้เป็นตัวอ้างอิง


ภูมิหลัง :
พระราชดำรัสให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” ๒๔๘๙

ในหลวงองค์ปัจจุบัน ทรงให้การในฐานะพยานโจทก์ในคดีสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ต่อหน้า คณะผู้พิพากษา, คณะอัยการโจทก์, จำเลยทั้ง ๓ คน และทนายจำเลยในคดีดังกล่าว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นั่นคือ ผู้พิพากษาและคู่ความมารับพระราชทานคำให้การในลักษณะ “เผชิญสืบ” (พิจารณาคดีนอกสถานที่ตั้งศาล) ไม่ใช่พระองค์ทรงเสด็จไปให้การ ณ ที่ตั้งศาล การพระราชทานคำให้การดังกล่าว กระทำขึ้นในระหว่างที่ทรงเสด็จนิวัตรพระนครเป็นการชั่วคราว เพื่อประกอบ ๓ พระราชพิธีสำคัญ (ถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงอานันท์, ราชาภิเษกสมรส และ ฉัตรมงคล)

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งเดียวที่ทรงพระราชทานเล่าเหตุการณ์ที่แวดล้อมกรณีสวรรคต แต่เป็นครั้งเดียวที่ทรงให้การในศาล (และเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ที่พระมหากษัตริย์ทรงให้การในศาล) ๔ ปีก่อนหน้านั้น ในปี ๒๔๘๙ หลังการสวรรคตของในหลวงอานันท์ไม่กี่วัน เพื่อยุติกระแสข่าวลือที่เริ่มจะแพร่สะพัดเกี่ยวกับสาเหตุของการสวรรคตและวิกฤตทางการเมืองที่เริ่มก่อตัวขึ้นตามมา รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ ในขณะนั้น ได้ประกาศตั้ง “กรรมการสอบสวนพฤติการณ์การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล” ขึ้นคณะหนึ่ง มีหัวหน้าผู้พิพากษาทั้ง ๓ ศาลและเจ้านายชั้นสูงบางพระองค์เป็นกรรมการ คณะกรรมการฯได้ดำเนินการไต่สวนโดยเปิดเผยต่อสาธารณะในลักษณะคล้ายการดำเนินคดีของศาล (แต่ไม่มีโจทก์หรือจำเลย) ทำให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “ศาลกลางเมือง”

เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๔๘๙ คณะกรรมการฯได้เข้าเฝ้าในหลวงองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระราชชนนีที่พระที่นั่งบรมพิมาน (สถานที่เกิดเหตุ) ในหลวงองค์ปัจจุบันทรงมีพระราชดำรัสให้การแก่คณะกรรมการฯเป็นเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ระหว่าง ๑๑ โมงครึ่ง ถึงประมาณเที่ยงครึ่ง และสมเด็จพระราชชนนีทรงให้การจากเวลา ๑๕.๒๐ นาฬิกา ถึงประมาณ ๑๕.๔๐ นาฬิกา ตัวบทของพระราชดำรัสให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” นี้ ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในขณะนั้นและต่อๆมาอีกหลายครั้ง ครั้งหลังสุด ในฐานะส่วนหนึ่งของหนังสือรวบรวมบันทึกการสอบสวนของ “ศาลกลางเมือง” ที่ตีพิมพ์ในโครงการฉลอง ๑๐๐ ปีปรีดี พนมยงค์ (๒)

การพระราชทานคำให้การต่อคณะกรรมการฯเริ่มต้นกระทำกันในห้องบรรทมที่เกิดเหตุเอง โดยกรรมการได้สอบถามในหลวงองค์ปัจจุบันเกี่ยวกับตำแหน่งที่พบปลอกกระสุน และลักษณะพระวิสูตร แล้วกรรมการได้ให้นายตำรวจลองทำท่าทางเพื่อหาตำแหน่งและลักษณะที่คนร้ายจะถือปืนยิง ในกรณีที่เป็นการลอบปลงพระชนม์ ประกอบกับการขอให้ทรงแสดงความเห็น (ซึ่งไม่ได้ทรงแสดงแสดงความเห็นอะไรมากนัก ตัวบทส่วนนี้ เป็นคำพูดของกรรมการที่พยายามจะคาดเดาตำแหน่งการยิงของคนร้ายเป็นส่วนใหญ่) หลังจากนั้น จึงพากันลงมาที่ห้องรับแขกชั้นล่าง และทรงพระราชทานคำให้การต่อ โดยคณะกรรมการฯขอให้ทรงเล่าเหตุการณ์ในเช้าวันสวรรคตว่ำพระองค์ทรงพบเห็นอะไรบ้าง หลังจากนั้น จึงถามถึงพระอุปนิสัยของในหลวงอานันท์ในส่วนที่เกี่ยวกับการทรงปืน

ในทางการเมือง คำถามของคณะกรรมการฯและพระราชดำรัสตอบ ส่วนที่อาจจะมีนัยยะทางการเมืองมากที่สุด คือส่วนที่เกี่ยวกับความไม่ทรงพอพระราชหฤทัยของในหลวงอานันท์ต่อผู้อื่น หรือความไม่พอใจของผู้อื่นที่มีต่อในหลวงอานันท์ ข้อที่น่าสังเกตคือ พระราชดำรัสตอบของในหลวงองค์ปัจจุบัน ไม่มีเนื้อหาที่พาดพิงในเชิงกล่าวโทษผู้ใดทั้งสิ้น ดังนี้


ประธานกรรมการฯ นายชิตกับนายบุศย์ รับใช้เป็นที่สบพระราชหฤทัย หรือนัยหนึ่งเป็นที่ถูกพระราชอัธยาศัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศหรือไม่

พระราชกระแสฯ ในหลวงไม่เคยว่ามหาดเล็กคนหนึ่งคนใด ไม่ว่านายบุศย์หรือนายชิต ใครๆก็ไม่เคยว่าเลย

ประธานกรรมการฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเคยทรงกริ้ว หรือแสดงไม่พอพระราชหฤทัย แม้เพียงเล็กน้อย แก่บุคคลทั้งสองนี้หรือไม่

พระราชกระแสฯ ไม่ทราบ อาจจะกริ้วนิดหน่อย เหมือนอย่างให้เอาโต๊ะมาวางข้างๆ แล้วไปวางเสียอีกข้างหนึ่ง แต่ไม่ใช่กริ้วจริงๆ

ประธานกรรมการฯ พวกชาวที่ก็ดี ยามก็ดี และคนอื่นๆก็ดี นอกจากนายชิตและนายบุศย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเคยแสดงไม่พอพระราชหฤทัย หรือกริ้วผู้ใดบ้าง

พระราชกระแสฯ ก็บอกแล้วว่า ไม่เคยกริ้ว

ประธานกรรมการฯ ได้ทรงสังเกตเห็นว่า พวกเหล่านี้ มีใครบ้างที่แสดงว่าไม่พอใจหรือแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องไม่พอใจในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

พระราชกระแสฯ ก็ไม่เคยได้ยิน เขาอาจจะพูด แต่เขาไม่ให้เราฟัง

ประธานกรรมการฯ ทรงรู้สึกหรือสังเกตเห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศไม่ทรงพอพระราชหฤทัย หรือทรงแสดงความลำบากพระราชหฤทัยอย่างหนักในการที่ต้องทรงปฏิบัติราชกิจบางอย่างบางประการบ้างหรือเปล่า

พระราชกระแสฯ ไม่เคยเลยอย่างหนัก มีแต่ว่าวันนี้เหนื่อยไม่อยากไป แต่ไม่เคยอย่างหนักจริงๆและไม่พอพระทัยจริงๆก็ไม่เคย

ประธานกรรมการฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศได้เคยทรงนำการบ้านการเมืองมารับสั่งหรือทรงปรึกษาใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทบ้างหรือเปล่า

พระราชกระแสฯ ไม่เคย เพราะฉันเป็นเด็กประธานกรรมการฯ ได้เคยทรงพระราชปรารภหรือทรงแสดงพระราชอากัปกิริยาว่า ทรงคับแค้นพระราชหฤทัยอย่างรุนแรงด้วยเหตุอันใดบ้างหรือเปล่า

พระราชกระแสฯ ไม่เคย


ดังที่จะเห็นข้างล่าง ดูเหมือนจะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในเรื่องนี้ ในพระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาใน ๔ ปีต่อมา



พระราชดำรัสให้การต่อตำรวจ ๒๔๘๙
และต่อพระพินิจชนคดี ๒๔๙๑

พระราชดำรัสให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” เป็นพระราชดำรัสเกี่ยวกับกรณีสวรรคตที่รู้จักกันดีที่สุด เพราะมีการตีพิมพ์ซ้ำค่อนข้างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากพระราชดำรัสให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” และพระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาในปี ๒๔๙๓ ที่ผมนำตัวบทมาเผยแพร่ข้างล่างแล้ว ยังมีหลักฐานว่า ในหลวงองค์ปัจจุบัน ได้ทรงให้การเกี่ยวกับกรณีสวรรคตอีกอย่างน้อย ๒ ครั้ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักหรือกล่าวถึงกันนัก

ครั้งแรก ทรงให้การต่อตำรวจ ผมเข้าใจว่า น่าจะในวันเกิดเหตุหรือไม่กี่วันหลังจากนั้น แต่ต้องก่อนที่จะทรงให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” เท่าที่ผมทราบ ดูเหมือนจะไม่เคยมีใครกล่าวถึงการให้การนี้ และไม่เคยปรากฏว่ามีการเผยแพร่บันทึกพระราชดำรัสให้การนี้ด้วย (ผมเข้าใจว่าน่าจะมีการบันทึกตามระเบียบราชการ) แต่เรามีหลักฐานว่า มีการพระราชทานคำให้การนี้ จากบันทึกคำถามของคณะกรรมการฯ “ศาลกลางเมือง” และพระราชดำรัสตอบ ต่อไปนี้ (การเน้นคำของผม)


ประธานกรรมการฯ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้พระราชทานคำตอบแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจมาบ้างแล้ว ในคำถามอันนี้ ดูเหมือนว่ายังมีที่สงสัยอยู่ จึงขอกราบบังคมทูลถามเพื่อความชัดเจนในเรื่องสาเหตุแห่งการสวรรคตนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เคยพระราชทานพระราชกระแสแก่หลวงนิตย์ฯ หรือแก่บุคคลอื่นเป็นประการใด บ้างหรือไม่

พระราชกระแสฯ ก็เคยบอกว่า อาจจะเป็นนี่จะเป็นนั่น เพราะไม่ทราบแน่ และก็ไม่ได้บอกว่าเป็นนี่แน่ เป็นอุปัทวเหตุหรือเป็นอะไรแน่ ฉันบอกว่าอาจจะเป็นอุปัทวเหตุ เพราะเห็นตำรวจเขาอาจจะเห็นว่าอุปัทวเหตุจริงๆแล้ว ฉันนึกว่า เขาพิสูจน์ไปตรวจได้เต็มที่แล้วก็อาจจะเป็นได้ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นแน่


อีกครั้งหนึ่ง ทรงให้การต่อพระพินิจชนคดี ซึ่งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร ๒๔๙๐ ตั้งให้เป็นนายตำรวจผู้รับผิดชอบคดี เราได้ทราบว่ามีการพระราชทานคำให้การครั้งนี้ จากบทความเรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าบินไปสืบกรณีสวรรคต ที่สวิตเซอร์แลนด์” ซึ่งเป็นบันทึกคำสัมภาษณ์พระพินิจชนคดี (โดยผู้ใช้นามว่า “แหลมสน”) ตีพิมพ์ใน เกียรติศักดิ์ ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๑(๓) พระพินิจชนคดีได้เล่าว่า หลังจากพิจารณาบันทึกคำให้การต่างๆใน “ศาลกลางเมือง” แล้ว เขาและคณะผู้รับผิดชอบคดีลงความเห็นว่า “ยากที่จะคลำหาเงื่อนงำคลี่คลายออกไปได้...จำเป็นจะต้อง...ขอพระราชทานการสอบสวนพระราชกระแสร์เพิ่มเติมจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนี ผู้ทรงใกล้ชิดกับเหตุการณ์ และบุคคลอื่นๆอีกหลายคนซึ่งล้วนแต่อยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น” เขาจึงขอและได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้เดินทางไปยุโรป และได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การจากทั้ง ๒ พระองค์ที่พระตำหนัก “วิลล่าวัฒนา” พระพินิจชนคดีได้บรรยายการเข้าเฝ้ารับพระราชทานคำให้การด้วยภาษาที่ค่อนข้าง melodramatic ดังนี้



ข้าพเจ้าและคณะใช้เวลาขอพระราชทานการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งแรก ประมาณสองชั่วโมงเศษ ฉลองพระองค์ด้วยสักหลาดสีเกรย์ทั้งชุด ฉลองพระเนตรและพระเกษาซึ่งไม่ค่อยจะทรงพิถีพิถัน อย่างที่เคยประทับเคียงข้างกับในพระบรมโกษฐ์ ที่กรุงเทพฯทุกครั้งคราว อย่างไรก็อย่างนั้น แต่แววพระเนตรนั้นต่างหากที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่าทรงเศร้าสลดอยู่ไม่วาย และโดยฉะเพาะก็บ่อยครั้ง เมื่อข้าพเจ้าขอพระราชทานกระแสร์รับสั่งถึงภาพเมื่อวันสวรรคต พระอสุชลคลออยู่ในพระเนตรตลอดเวลา ดำรัสตอบกับข้าพเจ้าทุกครั้งด้วยคำว่า “พี่นันท์- -“ อย่างนั้น และ “พี่นันท์- -“ อย่างนี้ แล้วก็บางทีดำรัสเพียงคำว่า “พี่” คำเดียว ก็ทรงสดุดหยุดลงคล้ายกับจะทรงรำลึกถึงภาพในอดีต เมื่อชำเลืองพระเนตรไปพบกับภาพในเรือบตลำน้อยในวังบางปะอิน ในพระบรมโกษฐ์ทรงกรรเชียงอยู่เอื่อยๆ สิ่งนี้แหละที่ทำให้ข้าพเจ้าทวีความลำบากใจยิ่งขึ้น มันเป็นการรบกวนต่อความรู้สึกในพระราชหฤทัยเหลือเกิน ข้าพเจ้าได้ขอรับพระราชทานอภัยในเหตุนี้ ทรงยิ้มระรื่น แต่เต็มไปด้วยความเยือกเย็น รับสั่งว่า


“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว ฉันเคยคิดว่า ฉันจะไม่ห่างจากพี่ตลอดชีวิต แต่มันเป็นเคราะห์กรรม ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”


ข้าพเจ้าได้กราบถวายบังคมทูลซักไซร้ต่อไปในหลายประเด็น ทรงตอบคำถามข้าพเจ้าอย่างเปิดเผยในทุกประเด็นเช่นเดียวกัน การขอพระราชทานสอบสวนในวันแรกนี้ ข้าพเจ้าได้ผ่อนในประเด็นซึ่งไม่รุนแรง และกะทบพระราชหฤทัยนัก เพราะถ้าจะรวบรัดให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวก็จะเป็นการกะทบกระเทือนต่อพระองค์มากไป ความเศร้าสลดต่อพี่ผู้ร่วมสายโลหิต แม้จะห่างไกลผ่านพ้นมาเกือบสองปีเต็มแล้วก็ยังเป็นความเศร้าที่ข้าพเจ้าเองก็พลอยสั่นสะเทือนไปด้วย ข้าพเจ้ากราบถวายบังคมลากลับโฮเต็ลในวันนี้เมื่อได้เวลาพอสมควร รับสั่งถามถึงความสดวกสบายแก่ข้าพเจ้าและคณะ ข้าพเจ้ากราบทูลว่าสดวกเรียบร้อยทุกประการ .................

ข้าพเจ้าใช้เวลาเวียนถวายการสอบสวนสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชชนนีประมาณ ๔ ครั้ง จึงเสร็จสิ้น การสอบสวนซึ่งนับว่าครบทุกประเด็นที่คณะกรรมการต้องการ นับเป็นการคลี่คลายมูลเหตุสวรรคตอันมหึมา



จากประวัติการทำคดีสวรรคตของพระพินิจชนคดีซึ่งมีทั้งการข่มขู่พยาน และการสร้างพยานเท็จ ทำให้เราควรต้องอ่านทุกอย่างที่เขาเขียนเกี่ยวกับคดีนี้ รวมทั้งรายละเอียดเรื่องการเข้าเฝ้านี้ อย่างไม่น่าเชื่อถือเสมอ จนกว่าจะมีหลักฐานอื่นมายืนยัน น่าเสียดายว่า หลักฐานเกี่ยวกับการสอบปากคำในหลวงในปี ๒๔๙๑ นี้ เช่นเดียวกับการสอบปากคำโดยตำรวจในปี ๒๔๘๙ ข้างต้น น่าจะสูญหายไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าแม้สิ่งที่พระพินิจฯเขียนข้างต้น จะไม่ควรเชื่อถือนัก แต่เฉพาะข้อความที่พระพินิจฯอ้างว่าในหลวงองค์ปัจจุบันทรงรับสั่ง (“อดคิดถึงพี่ไม่ได้เลยแม้แต่ขณะเดียว...ไม่ได้คิดเลยว่าจะเป็นกษัตริย์ คิดแต่จะเป็นน้องของพี่เท่านั้น”) ดูเหมือนจะมีการนำมาอ้างอิงกันต่อๆมา ในลักษณะที่เป็นพระราชดำรัสที่แท้จริง (authentic)


พระราชดำรัสให้การต่อศาล ๒๔๙๓

ดังกล่าวข้างต้นว่า ทรงให้การเป็นพยายนโจทก์ใน ๒ วัน คือวันศุกร์ที่ ๑๒ และวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ สยามนิกรวันอาทิตย์ ฉบับวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ได้รายงานการทรงให้การในวันแรก ดังนี้


บรรทึกเสียงเผชิญสืบ
ในหลวงทรงให้การอย่างช้าๆ
องค์มนตรีนั่งฟังในหลวงครบชุด
--------------------


เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนนี้ คณะผู้พิพากษาอันมีพระนิติธานพิเศษอธิบดีศาลอาญา นายวิจิตร อัครวิจิตรไกรฤกษ์ นายทวี เจริญพิทักษ์ หลวงกำจรนิติศาสตร หลวงการุณยนราทร พร้อมด้วยอัยยการ มีหลวงอรรถปรีชาชนูปการ หลวงอรรถโกวิทวที และนายเล็ก จุนนานนท์ สำหรับฝ่ายจำเลยมี นายฟัก ณ สงขลา น.ส.เครือวัลย์ ปทุมรส ทนายจำเลย และนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี นายบุศย์ ปัทมศิรินทร์ จำเลย ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ ตำหนักสวนจิตลดาระโหฐาน เพื่อเผชิญสืบในกรณีสวรรคต

ก่อนเวลาที่ในหลวงจะเสด็จออกสู่ท้องพระโรง เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังได้จัดให้ผู้ไปเผชิญสืบพักในห้องรับแขก ครั้นได้เวลาเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกสู่ท้องพระโรง ด้วยฉลองพระองค์ชุดสีเทา ผูกเน็คไทสีม่วง และฉลองพระเนตรสีดำ พร้อมองคมนตรีครบชุด

การเผชิญสืบครั้งนี้ ทางสำนักพระราชวังได้ทำการอัดเส้นลวด ครั้นแล้วฝ่ายอัยยการได้ทูลซักพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตอบด้วยพระอิริยาบถช้าๆสำหรับทางด้านผู้พิพากษา หลวงการุณยนราทร ได้เป็นผู้จดการบรรทึก ครั้นแล้วก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้ทอดพระเนตรสำนวนพระราชกระแสเสร็จแล้ว จึงพระราชทานให้พระพิจิตราชสารอ่านถวาย มีบางตอนที่พระองค์ทรงสั่งให้พระจิตแก้ไข ในหลวงได้พระราชทานพระราชกระแสรับสั่ง สำหรับในตอนนั้นเสร็จสิ้นเมื่อ ๑๒.๓๐ น. และพระองค์จะพระราชทานพระกระแสรับสั่งแก่ผู้ไปเผชิญสืบอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ ๑๕ เดือนนี้


๔ วันต่อมา (๑๘ พฤษภาคม) สยามนิกร ได้ตีพิมพ์ตัวบทพระราชดำรัสคำให้การทั้งในวันที่ ๑๒ และ ๑๕ ฉบับเต็ม โดยมีพาดหัวนำ ดังนี้


“ร.๘ พระราชชนนีและฉัน ไม่มีอะไรหมองใจกัน”
ในหลวงรับสั่งกับศาล
ถึงเหตุการณ์วันสวรรคต

------------------

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานกระแสพระราชดำรัส ในกรณีสวรรคตรวม ๒ คราว คือเมื่อวันที่ ๑๒ และ ๑๕ เดือนนี้นั้น เมื่อวันที่ ๑๖ เดือนนี้ ศาลก็อนุญาตให้หนังสือพิมพ์คัดพระราชดำรัสมาลงพิมพ์ได้

สยามนิกร ไม่ได้อธิบายว่าการ “คัดพระราชดำรัสมาลงพิมพ์” นั้น ทำอย่างไร แต่

พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ซึ่งตีพิมพ์ตัวบทพระราชดำรัสคำให้การเช่นกัน (แต่ไม่สมบูรณ์และลำดับย่อหน้าผิดพลาดสับสน) ได้อธิบายว่า “ศาลได้ยินยอมให้หนังสือพิมพ์นำพระราชกระแสร์รับสั่งของพระองค์เปิดเผยได้ โดยผู้พิพากษานายหนึ่งเป็นคนบอกให้นักหนังสือพิมพ์จดเมื่อบ่ายวันวานนี้”


การตีพิมพ์ซ้ำ
เท่าที่ผมค้นคว้าได้ขณะนี้ นอกจาก สยามนิกร ฉบับวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ที่ตีพิมพ์ตัวบทพระราชดำรัสให้การฉบับเต็มแล้ว มีการตีพิมพ์ซ้ำอีกเพียง ๓ แห่ง คือ

แห่งแรก ในหนังสือโปรเจ้าแอนตี้ปรีดีของ ดำริห์ ปัทมะศิริ ในหลวงอานันท์ฯกับปรีดี ในปี ๒๔๙๓ (สำนักพิมพ์รัชดารมภ์, หน้า ๓๙๖-๔๐๙) หนังสือเล่มนี้ดูเหมือนไม่เคยมีการตีพิมพ์ซ้ำ

แห่งที่ ๒ ในหนังสือโปรเจ้าแอนตี้ปรีดีอีกเล่มหนึ่ง ในหลวงอานันทกับคดีลอบปลงพระชนม์ ของ ชาลี เอี่ยมกระสินธ์ โดยสำนักพิมพ์พีจี ของ พจนาถ เกสจินดา หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ในช่วงเดียวกับที่มีกระแสการตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตอย่างขนานใหญ่ในปี ๒๕๑๗ โดยพิมพ์ถึง ๒ ครั้งในปีนั้น แล้วตีพิมพ์ซ้ำอีกในปี ๒๕๒๐ ปรีดีได้ฟ้องหมิ่นประมาทหนังสือเล่มนี้และชนะคดี แล้วได้นำคำฟ้อง (ที่เขาเขียนเอง) และคำตัดสินยอมความของศาลมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มในปี ๒๕๒๓ ในชื่อ คำตัดสินใหม่กรณีสวรรคต ร.๘ ตัวบทพระราชดำรัสให้การที่ชาลี นำมาตีพิมพ์ในหนังสือของเขานี้ น่าจะเอามาจากตัวบทที่ตีพิมพ์ในหนังสือของดำริห์ เพราะมีที่ผิดพลาดสำคัญเหมือนกัน (ดูข้างหน้า)

แห่งที่ ๓ ในปี ๒๕๓๑ บุญร่วม เทียมจันทร์ อัยการพิเศษ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการ กรมอัยการ ได้นำพระราชดำรัสคำให้การ มาตีพิมพ์ในหนังสือของเขาชื่อ คดีพยายามลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (ร.๙) เขาไม่ระบุแหล่งที่มาของตัวบท แต่น่าเชื่อว่า คงมาจากหนังสือของชาลี หรือดำริห์ เพราะมีที่ผิดซ้ำเหมือนๆกัน ชื่อหนังสือของบุญร่วม พาดพิงถึงกรณีที่มีการวางระเบิดหน้าที่ประทับในหลวงองค์ปัจจุบันขณะทรงเสด็จยะลาในปี ๒๕๒๐(๔)


ปัญหาบางประการเกี่ยวกับ
พระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓

ในที่นี้ ผมขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ ใน ๒ ลักษณะ คือ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาของพระราชดำรัส และ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์ซ้ำ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการตีความบางประการ

ในส่วนเนื้อหาของพระราชดำรัสนั้น ผมคิดว่า ผู้ใดทีอ่านพระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ เปรียบเทียบกับคำให้การที่ทรงพระราชทานต่อ “ศาลกลางเมือง” ย่อมอดสะดุดใจไม่ได้ว่าพระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ มีเนื้อหาในเชิงเป็นผลร้ายต่อปรีดี พนมยงค์ และต่อจำเลยคดีสวรรคต โดยเฉพาะเฉลียว ปทุมรส ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุน (บริวาร) ใกล้ชิดของปรีดี(๕) หากลองเปรียบเทียบข้อความในพระราชดำรัสคำให้การต่อ “ศาลกลางเมือง” ที่ยกตัวอย่างข้างต้น กับข้อความในย่อหน้า [10] ถึง [16] และย่อหน้า [25] ของพระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ ดังนี้


[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ จะทรงพอพระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน

[11] ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการเข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ

[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ

[13] นายปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียนโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียนโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง

[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระราชดำริห์หรือไม่ ฉันไม่ทราบ

[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า

[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๘๙

[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์


ควรเข้าใจว่า ลักษณะการบันทึกคำให้การของพยานในศาลไทย ดังเช่นในกรณีพระราชดำรัสให้การ ๒๔๙๓ นี้ ใช้วิธีที่ผู้พิพากษาจดเฉพาะคำตอบของพยานเท่านั้น ไม่จดคำถามของอัยการหรือทนายจำเลย เมื่อสิ้นสุดการให้การในวันนั้นแล้ว ผู้พิพากษาก็เรียบเรียงคำตอบที่เขาจดไว้เหล่านั้น ออกมาเป็นข้อความที่ต่อเนื่องกันในลักษณะราวกับว่า พยานกำลังให้การด้วยการพูดออกมาเองคนเดียว (monologue) ไม่ใช่การพูดโต้ตอบกับคำถามที่อัยการหรือทนายจำเลยตั้งขึ้น ในแง่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ สำหรับวิเคราะห์ความคิดของบุคคลใด บันทึกคำให้การของพยานลักษณะนี้ อาจทำให้ให้ตีความไขว้เขวคลาดเคลื่อนได้ เพราะความจริง ตัวบทบันทึกคำให้การไม่ได้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่พยานพูดตามที่บันทึกนั้น เป็นการพูดออกมาเอง หรือเป็นการตอบสนองต่อ คำถามที่มีลักษณะเชิงชี้นำก่อน มากน้อยเพียงใด (ใครที่ศึกษาเรื่องการสัมภาษณ์ทางสื่อมวลชนสมัยใหม่อย่างจริงจัง ควรทราบดีว่า “คำตอบ” เป็นอย่างไร ที่สำคัญไม่น้อยขึ้นอยู่กับการตั้ง “คำถาม” ด้วย)

การที่ผู้พิพากษาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มหรือตัด “คำเล็กๆ” ประเภทคำสร้อยหรือบุพบทสันธาน เข้ามาหรือออกไป ในแง่ของวิเคราะห์ตัวบท (textual analyses) ถือว่ามีความสำคัญ เพราะ “คำเล็กๆ” เหล่านั้น สามารถทำให้น้ำหนักของประโยคเปลี่ยนไปได้ ในบางกรณีการเพิ่มหรือตัด อาจจะไม่ใช่เพียง “คำเล็กๆ” เพราะผุ้พิพากษาต้องเรียบเรียงคำให้การใหม่ให้อ่านได้ต่อเนื่อง ดังนั้น ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่พยานเพียงตอบสั้นๆ ต่อคำถามบางคำถาม โดยไม่ได้ทวนคำถามนั้นซ้ำ (คือตอบเพียง “ใช่”, “ไม่ใช่” หรือ “ไม่ทราบ”) เมื่อผู้พิพากษาเรียบเรียงใหม่ ย่อมต้องเขียนคำถามของผุ้ถาม เข้าไปในลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของ “คำพูด” ของพยานด้วย ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ข้อความหรือการเลือกใช้คำ (phrasing) ตอนนั้นเป็นของผุ้ถาม ไม่ใช่ของผู้ตอบ

ยิ่งกว่านั้น หลังจากผู้พิพากษาเรียบเรียงบันทึกคำให้การของพยานเสร็จแล้ว จะอ่านทวนให้พยานฟัง พยานเองยังอาจขอแก้ไขบางคำได้ คำบางคำในบันทึกคำให้การจึงอาจจะไม่ใช่คำที่พยานใช้จริงๆในระหว่างให้การ แต่เป็นผลจากการแก้ไขนี้ (ดูรายงานข่าวใน สยามนิกร ที่ยกมาข้างต้นที่ว่า “สำหรับทางด้านผู้พิพากษา หลวงการุณยนราทร ได้เป็นผู้จดการบรรทึก ครั้นแล้วก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้ทอดพระเนตรสำนวนพระราชกระแสเสร็จแล้ว จึงพระราชทานให้พระพิจิตราชสารอ่านถวาย มีบางตอนที่พระองค์ทรงสั่งให้พระจิตแก้ไข”)

สรุปแล้ว บันทึกคำให้การพยาน เป็นหลักฐานที่เสี่ยงต่อการคลาดเคลื่อนจากความจริงไม่น้อย โดยเฉพาะคือ ส่วนที่เป็นความละเอียดอ่อน (subtleties) ต่างๆที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ในแง่ความคิดหรือท่าทีของบุคคลผู้เป็นพยาน

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ แม้ว่าเราควรตระหนักถึงข้อจำกัดต่างๆ (qualifications) ที่เกิดจากลักษณะของการบันทึกคำให้การพยานในศาลดังกล่าวแล้วก็ตาม ด้านที่พระราชดำรัสให้การต่อศาลในคดีสวรรคตของในหลวงองค์ปัจจุบันในปี ๒๔๙๓ มีเนื้อหาเชิงลบต่อปรีดี ก็ยังเป็นสิ่งที่ชวนสะดุดใจสังเกตเป็นอย่างยิ่ง


ปัญหาที่เกิดจากการตีพิมพ์ซ้ำ

เท่าที่ผมมองเห็นในตอนนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับตัวบทพระราชดำรัสคำให้การคดีสวรรคต ๒๔๙๓ ที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำต่อๆกันมา อยู่ ๓ จุด จุดแรก เป็นปัญหาตั้งแต่การตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สมัยนั้นอย่าง สยามนิกร และ พิมพ์ไทย ส่วนอีก ๒ จุด เป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดในการตีพิมพ์ ในหนังสือของ ดำริห์ ปัทมะศิริ แล้วถูกผลิตซ้ำในหนังสือของ ชาลี เอี่ยมกระสินธ์ และ บุญร่วม เทียมจันทร์ ที่เอาฉบับของดำริห์ เป็นต้นแบบ ผมขออธิบายปัญหาแต่ละจุดตามลำดับ

(๑) ตั้งแต่ฉบับที่ตีพิมพ์ในสยามนิกร และ พิมพ์ไทย ไม่กี่วันหลังจากทรงพระราชทานคำให้การ ไปจนถึงฉบับที่พิมพ์ในหนังสือของดำริห์และคนอื่นๆ มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งในตัวบทพระราชดำรัสให้การ ที่ไม่ตรงกับที่อัยการโจทก์นำมาอ้างในคำแถลงปิดคดีของตน คือข้อความต่อไปนี้ในย่อหน้า [12]


[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ


ในคำแถลงปิดคดี (ลงวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๙๔) อัยการโจทก์ได้อ้างพระราชดำรัสตอนนี้ และมีประโยคหนึ่งเพิ่มเข้ามา ซึ่งยิ่งมีเนื้อหาเชิงลบต่อปรีดีมากขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้ (การเน้นคำของผม)


ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดี พนมยงค์ ได้โดยเสด็จพักอยู่ด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งต่อศาลว่า “นายปรีดีฯ ปฏิบัติการไม่พอพระราชหฤทัยมีหลายอย่าง นายปรีดีฯ ได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต นายปรีดีฯ ได้เคยจัดให้มีการเลี้ยงขึ้นที่นั่น โดยไม่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนี้มีเสียงเอะอะ”(๖)


ประโยค “นายปรีดีฯปฏิบัติการไม่พอพระราชหฤทัยหลายอย่าง” เป็นประโยคที่ในหลวงองค์ปัจจุบันรับสั่งจริงๆ หรืออัยการจดมาผิด? (น่าสังเกตด้วยว่า ประโยคที่ตามมาก็มีบางคำไม่ตรงกับในฉบับที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ คือไม่มี “เลี้ยงพวกใต้ดิน” แต่จุดนี้อัยการเองอาจจะอ้างมาแบบไม่ครบ) โดยทั่วไปอัยการน่าจะมีคำให้การของพยานฉบับทางการ คือฉบับที่ผู้พิพากษาจดและเรียบเรียงอ่านให้พยานลงนาม และน่าจะอ้างอิงจากฉบับทางการนั้น ซึ่งถ้าเช่นนั้น ในกรณีนี้ ก็แปลว่า ฉบับที่พิมพ์ในหนังสือพิมพ์มีความคลาดเคลื่อน (เป็นไปได้หรือไม่ว่า ในการที่ “ผู้พิพากษานายหนึ่งเป็นคนบอกให้นักหนังสือพิมพ์จด” ได้ “บอกจด” ผิดพลาด ข้ามประโยคนี้ไป?)

แน่นอน สมมุตว่า ฉบับที่อัยการอ้างในคำแถลงปิดคดีเป็นฉบับทางการที่ถูกต้อง และมีประโยคดังกล่าวในบันทึกพระราชดำรัสให้การจริงๆ เราก็ยังไม่สามารถบอกได้เด็ดขาดลงไปว่า ในหลวงองค์ปัจจุบันมีรับสั่งเช่นไรแน่ อันเนื่องมาจากลักษณะวิธีการจดบันทึกคำให้การพยานที่ผมอธิบายข้างต้น เช่น ในการถาม-ตอบจริงๆ อัยการอาจจะถามว่า “ได้ยินว่า นายปรีดีฯปฏิบัติการไม่พอพระราชหฤทัยหลายอย่าง ทรงยกตัวอย่างได้ไหมพะยะค่ะ?” แล้วในหลวงองค์ปัจจุบันทรงตอบว่า “นายปรีดีฯ ได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต...” แต่เมื่อผู้พิพากษาเรียบเรียงใหม่ ได้รวมทั้งประโยคที่อัยการถาม และที่ทรงตอบเข้าด้วยกัน เป็นพระราชดำรัสให้การ แต่ต้องไม่ลืมว่า ในหลวงองค์ปัจจุบันต้องทรงอ่านทวนคำให้การที่ผุ้พิพากษาเรียบเรียงใหม่นี้ แล้วลงพระปรมาภิไธยรับรองว่าเป็นของพระองค์ ที่แน่นอนคือ การมีประโยคนี้ ทำให้ข้อความในย่อหน้า ที่มีลักษณะในเชิงลบต่อปรีดีอยู่แล้ว มีน้ำหนักเชิงลบต่อปรีดีเพิ่มขึ้นอย่างมาก

(๒) ตัวบทพระราชดำรัสให้การที่ตีพิมพ์ในหนังสือของ ดำริห์ ปัทมะศิริ (และในหนังสือของชาลี และบุญร่วม ที่เอาดำริห์เป็นต้นแบบ) มีที่ผิดพลาด คือ ในระหว่างย่อหน้า [25] กับย่อหน้า [26] ควรจะมีข้อความหรือหัวข้อใหม่ว่า “(ทรงตอบทนายจำเลย)(เขียนในวงเล็บแบบนี้) นั่นคือ ข้อความจากย่อหน้า [26] เป็นต้นไป ถึงย่อหน้า [34] เป็นข้อความที่ทรงตอบคำถามของทนายจำเลย ไม่ใช่ของโจทก์ การพิมพ์ตกหล่นนี้ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ ปรีดีตีความผิดว่า การเผชิญสืบในหลวงองค์ปัจจุบันครั้งนี้ กระทำกันที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยไม่มีฝ่ายจำเลยเข้าร่วมด้วย ซึ่งปรีดีเสนอว่า (เมื่อรวมกับการเผชิญสืบพระราชชนนีที่สวิตเซอร์แลนด์ โดยไม่มีฝ่ายจำเลยเข้าร่วมด้วยจริงๆ) ทำให้การดำเนินคดีทั้งหมด ควรถูกถือเป็นโมฆะ(๗)

(๓) นอกจากนี้ ดำริห์ยังได้ตีพิมพ์ข้อความในย่อหน้า [2] ของพระราชดำรัสให้การผิดพลาด ดังนี้ (การเน้นคำของผม)


[2] ในเช้าวันที่ ๙ มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว ๘.๓๐ น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า (โจทก์ขอให้ทรงชี้หุ่นจำลองพระที่นั่ง ได้นำมาจากศาลด้วย ฃ ทรงชี้ตรงที่แสดงไว้ในหุ่น) กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทมในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ซึ่งเป็นเวลา ๙.๐๐ น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ (ทรงชี้หุ่นจำลอง ตรงกับจุด ๒ จุด ที่จุดไว้ในแผนผัง หมายเลข ๑) นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ ๙.๒๕ น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบรรไดซึ่งอยู่ติดกับห้องเครื่องเล่น (ทรงชี้หุ่นจำลองและแผนผังหมายเลข ๑ และศาลได้ขีดเส้นด้วยดินสอสีแดงเป็นลูกศรแสดงทางที่เห็นคนวิ่งไปในแผนผัง) เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบรรได (ทรงขีดเส้นดินสอแดงไว้ในแผนผังหมายเลข ๑ แสดงทางที่พระองค์เสด็จ) ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชชกาลที่ ๘ (ทรงขีดเส้นหมึกในแผนผังหมายเลข ๑ แสดงเส้นทางที่เสด็จตรงไปยังห้องพระบรรทม)


ข้อความตอนนี้ที่ถูกต้องคือ “ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ ๙.๒๕ น. ได้ยินเสียงคนร้อง....” ข้อความที่พิมพ์ผิด ตกหล่นไปประมาณ ๑ บรรทัดนี้ ทำให้อ่านไม่ได้ความหมายใดๆ แน่นอน ต่อมาในย่อหน้า [26] ทรงใช้คำใกล้เคียงกันอีก (และดำริห์พิมพ์ได้ถูกต้อง) ว่า “ระหว่างที่ฉันเดินไปๆมาๆอยู่ในห้องนอนและห้องเครื่องเล่นนั้น จะมีใครอยู่ในสองห้องนั้นบ้างไหม ไม่ได้สังเกต” แต่ถ้าอ่านข้อความในย่อหน้า [2] ไม่รู้เรื่องแล้ว ก็ยากจะเข้าใจนัยยะของข้อความในย่อหน้า [26] ได้ และจากการพิมพ์ตกหล่น คำว่า “ทรงตอบทนายจำเลย” ก่อนย่อหน้า [26] ทำให้ไม่สามารถเข้าใจว่า ข้อความส่วนนี้ เป็นการทรงตอบการซักค้านของทนายจำเลย ต่อคำตอบที่ทรงให้โจทก์ (และถูกพิมพ์ผิด) ในย่อหน้า [2] (ประเด็นพระองค์ทรงอยู่ที่ใดขณะเกิดเสียงปืน)


ยิ่งกว่านั้น ประโยคที่ดำริห์พิมพ์ผิดนี้ อาจจะมีนัยยะสำคัญต่อการเข้าใจเหตุการณ์แวดล้อมการสวรรคตได้ อย่างน้อย นี่คือประเด็นที่ สุพจน์ ด่านตระกูล พยายามนำเสนอ ในหนังสือที่มีความสำคัญขั้นขี้ขาดของเขาเรื่อง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต สุพจน์ได้ตีพิมพ์พระราชดำรัสให้การย่อหน้านี้ และเน้นคำประโยคนี้ (ที่ดำริห์และคนอื่นๆพิมพ์ผิด) โดยเปรียบเทียบกับบางส่วนของคำให้การของพยานโจทก์อีกคนหนึ่ง คือพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๑ ต่อไปนี้ (การเน้นคำเป็นของสุพจน์)


ข้าพเจ้าอยู่ในห้องสมเด็จพระราชชนนีเป็นเวลาราว ๒๐ นาที จึงออกจากห้องสมเด็จพระราชชนนีไปทางห้องในหลวงองค์ปัจจุบันโดยเข้าไปจัดฟิล์มหนัง เมื่อเข้าไปในห้อง ข้าพเจ้าไม่พบใครแม้แต่ในหลวงองค์ปัจจุบัน ซึ่งพระองค์จะเสด็จไปประทับอยู่ที่ไหนในขณะนั้นก็หาทราบไม่ ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังจัดฟิล์มหนังอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงดังมาก เป็นเสียงปืน ดังทีเดียวเท่านั้น ข้าพเจ้านึกสงสัยว่าอะไรจึงดังเช่นนั้น จึงรีบออกมาทางระเบียงด้านหลัง ผ่านห้องเครื่องเล่นของในหลวงองค์ปัจจุบัน ห้องบันได พอมาถึงห้องพระภูษาก็ได้ยินเสียงวิ่ง (พยานชี้ให้ดูแผนผัง) ตามระเบียงด้านหน้า ขณะนั้นคะเนว่าไม่ใช่คนเดียว และวิ่งไปทางทิศตะวันออกคืไปทางห้องในหลวงในพระบรมโกษฐ์ เมื่อได้ยินเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงออกวิ่งบ้าง วิ่งไปทางระเบียงด้านหลัง มุ่งตรงไปห้องในหลวงในพระบรมโกษฐ์ ระหว่างทางนั้นจะมีใครอยู่แถวที่ผ่านไปบ้างหรือไม่ ไม่ได้สังเกต และพระฉากที่ประตูห้องของพระองค์จะเปิดหรือยัง ไม่ได้สังเกตทั้งนั้น(๘)


ตัวบท
ตัวบทพระราชดำรัสให้การในศาลคดีสวรรคตปี ๒๔๙๓ ที่ผมนำมาเผยแพร่ข้างล่างนี้ ผมถือเอาฉบับที่ตีพิมพ์ใน สยามนิกร วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๘๙ เป็นหลัก โดยเปรียบเทียบกับฉบับที่พิมพ์ไม่สมบูรณ์ใน พิมพ์ไทย วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๘๙ และฉบับเต็มที่ ดำริห์ พิมพ์ในหนังสือของเขา (แล้วชาลี และ บุญร่วม เอามาพิมพ์ต่อ) ผมตัดแบ่งย่อหน้าเพิ่มเติมบางแห่งจากฉบับที่พิมพ์ใน สยามนิกร


คำให้การพะยานโจทก์
คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๙๘/๒๔๙๑


ศาลอาญา
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

ความอาญาระหว่าง อัยการ โจทก์
นายเฉลียว ปทุมรส กับพวก จำเลย

ข้าพเจ้าขอให้การว่า ข้าพเจ้าชื่อ พระบาทสมเด็จพระปริมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอให้การต่อไป (ทรงตอบโจทก์)


[1] ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ฉันไปในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์แทนรัชชกาลที่ ๘ และในคืนเดียวกันนั้น ไปในกรมทหารมหาดเล็ก แต่มิใช่ไปแทนพระองค์ เหตุที่รัชชกาลที่ ๘ ไม่ได้เสด็จในงานพระศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ ก็เพราะไม่ทรงสบาย อาการไม่ทรงสบายนั้น ไม่ถึงขนาดต้องบรรทมอยู่กับพระแท่น ยังทรงพระราชดำเนินไปมาบนพระที่นั่งได้ ไม่ทรงสบายด้วยพระโรคอะไรฉันไม่ใช่หมอ ได้ยินแต่รับสั่งเพียงว่าไม่สบาย

[2] ในเช้าวันที่ ๙ มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว ๘.๓๐ น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า (โจทก์ขอให้ทรงชี้หุ่นจำลองพระที่นั่ง ได้นำมาจากศาลด้วย ฃ ทรงชี้ตรงที่แสดงไว้ในหุ่น) กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทมในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ซึ่งเป็นเวลา ๙.๐๐ น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ (ทรงชี้หุ่นจำลอง ตรงกับจุด ๒ จุด ที่จุดไว้ในแผนผัง หมายเลข ๑) นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ ๙.๒๕ น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบรรไดซึ่งอยู่ติดกับห้องเครื่องเล่น (ทรงชี้หุ่นจำลองและแผนผังหมายเลข ๑ และศาลได้ขีดเส้นด้วยดินสอสีแดงเป็นลูกศรแสดงทางที่เห็นคนวิ่งไปในแผนผัง) เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบรรได (ทรงขีดเส้นดินสอแดงไว้ในแผนผังหมายเลข ๑ แสดงทางที่พระองค์เสด็จ) ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชชกาลที่ ๘ (ทรงขีดเส้นหมึกในแผนผังหมายเลข ๑ แสดงเส้นทางที่เสด็จตรงไปยังห้องพระบรรทม)

[3] เมื่อเข้าไปถึงห้องพระบรรรทมแล้ว เห็นสมเด็จพระราชชนนีและพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่เบื้องปลายพระบาทในหลวง โดยพระองค์อยู่บนพระแท่นครึ่งพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม และอยู่ตอนไปทางด้านพระเศียร เห็นในหลวงบรรทมอยู่บนพระแท่นในท่าหงายอย่างปรกติ เห็นที่พระนลาตมีรอยโลหิต พระเนตรหลับ สังเกตเห็นพระกรยืดอยู่ข้างพระวรกาย อยู่ท่าคนนอนธรรมดา พระกรแนบพระวรกาย ห่างจากพระวรกายตรงขอบพระหัตถ์ด้านในประมาณ ๕ ซ.ม. ที่ว่านี้หมายถึงพระกรซ้าย ส่วนพระกรข้างขวาเป็นอย่างไรไม่เห็น สังเกตเห็นพระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมดา นิ้วพระหัตถ์ไม่งอแต่พระหัตถ์งอบ้างอย่างธรรมดา คืองดนิดหน่อย มีผ้าคลุมพระบรรทมคลุมอยู่ด้วย พระกรอยู่ภายนอกผ้านั้น เห็นแต่ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้เห็น ผ้าคลุมพระองค์ขึ้นมาเสมอพระอุระ

[4] เมื่อฉันเห็นเช่นนั้นก็บอกกับคนที่อยู่ที่นั่นให้ไปตามหมอมา แล้วฉันได้เข้าไปประคองสมเด็จพระราชชนนีมาประทับที่พระเก้าอี้ปลายพระแท่นบรรทม ต่อจากนั้น หลวงนิตย์ฯได้มาถึง จะมาถึงภายหลังที่ฉันเข้าไปในห้องพระบรรทมแล้วนานเท่าใด กะไม่ถูก หลวงนิตย์ฯเข้าไปดูแล้วกก็ไม่ได้พูดว่ากะไร แต่ฉันเห็นหน้าหลวงนิตย์ฯก็รู้ได้ว่าไม่มีหวังแล้ว สมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จไปประทับในห้องทรงพระอักษรต่อไป

[5] เมื่อทราบว่าหมดหวังแลว ต่อมาได้เรียกพระยาชาติฯขึ้นมาถามว่าจะทำอย่างไรต่อไป พระยาชาติฯบอกถึงพระราชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพแล้ว ฉันก็สั่งให้เขาจัดการไปตามระเบียบ

[6] ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ เคยทรงปืนในงานแฟร์ (งานออกร้าน) ในต่างประเทศบ้างหรือไม่ ก็เป็นปืนของเล่น ปืนที่ทรงในงานแฟร์เป็นปืนที่เขามีกัน ปืนพกเคยทรงแต่ที่เป็นปืนของเล่น เมื่อเสด็จนิวัตพระนครแล้วใหม่ๆ คือ ในระหว่างเดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ นั้น ได้เคยทรงพระแสงปืนเหมือนกัน เป็นปืนที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย โดยถวายที่เมืองชล เสด็จเมืองชลในราวเดือนธันวาคม โดยหลวงประดิษฐ์ฯเป็นผู้ถวายบังคมทูลเชิญเสด็จไปดูพวกใต้ดินของหลวงประดิษฐ์ฯ ปืนที่ทูลเกล้าฯถวายนั้นมีทั้งปืนสั้นและปืนยาว เมื่อเสด็จกลับมาประทับที่นั่งบรมพิมานแล้ว ก็ได้ทรงปืนนั้นเหมือนกัน โดยมีคนมาชี้แจงการใช้ปืนถวาย ผู้มาชี้แจงมี ร.อ.วัชรชัย ซึ่งขณะนั้นเป็นราชองครักษ์ พวกที่ให้ปืนมานั้นเป็นผู้แนะนำให้ ร.อ.วัชรชัยเป็นผู้ชี้แจงถวาย การที่ทรงปืนเป็นพระราชประสงบค์ของในหลวงเอง ทรงปืนที่ในสวนหลังพระที่นั่งบรมพิมาน ฉันก็ไปยิงปืนอยู่ด้วยเหมือนกัน ทรงทั้งปืนสั้นและปืนยาวทั้งสองอย่าง

[7] ปืนที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายมานั้นเป็นปืน U.S. Army ๑๑ ม.ม.นี้ ได้ทรงในสวนด้วยเหมือนกัน (โจทก์ขอให้ทรงทอดพระเนตรปืนของกลาง แล้วกราบบังคมทูลถามว่า ปืน U.S. Army ที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวายมานั้น ลักษณะเป็นอย่างเดียวกับปืนของกลางหรือไม่ ทรงตอบว่าอย่างเดียวกัน) เมื่อทรงปืน U.S. Army แล้ว มีพวกมหาดเล็กที่อยู่ในที่นั้นเก็บเอาปลอกกระสุนไปบ้าง นายชิตนายบุศย์ก็เคยเก็บปลอกกระสุนไปเหมือนกัน และเห็นจะเก็บไปทั้งสองคน ปืนนั้นเมื่อทรงแล้วก็มอบให้ราชองครักษ์เก็บไป (โจทก์ขอให้ทรงทอดพระเนตรบัญชีปืนตามที่อ้างไว้ และศาลหมายเลข ๑๔๓ และโจทก์ได้อ่านรายการในบัญชีนั้นถวาย แล้วกราบบังคมทูลถามว่า ลูกระเบิดมือตามบัญชีนั้น ใครทูลเกล้าฯถวายมา ทรงรับสั่งตอบว่า จำไม่ได้)

[8] ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ต้องทรงฉลองพระเนตร โดยสายพระเนตรสั้น เวลาทรงปืนจะได้ทรงฉลองพระเนตรทุกคราวหรือไม่ จำไม่ได้ แต่โดยมากเห็นทรง

[9] ดูเหมือนในวันสวรรคตนั้นเอง แต่จำไม่ได้แน่ นายชิตได้บอกว่า เก็บปลอกกระสุนปืนได้ในห้องบรรทม โดยบอกว่า เก็บได้ใกล้พระแท่น จะได้บอกละเอียดว่าเก็บตรงไหนอย่างไรจำไม่ได้ นายชิตจะชี้ที่ที่เก็บได้ให้ดูหรือเปล่าก็จำไม่ได้ แม้ตัวนายชิตเองก็ไม่แน่ใจว่า ตนเก็บได้ที่ไหน

วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ (ทรงตอบโจทก์) ต่อจากวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๓

[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ จะทรงพอพระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน

[11] ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการเข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ

[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ

[13] นายปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียนโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียนโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง

[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระราชดำริห์หรือไม่ ฉันไม่ทราบ

[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า

[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๔๘๙

[17] นายมี พาผล เคยบอกฉันว่า วันที่ ๑๓ จะเสด็จกลับไม่ได้ บอกเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้วราว ๒-๓ อาทิตย์ ว่านายชิตเป็นผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ ๑๓

[18] ตามที่ตอบไว้เมื่อวันก่อนว่า เห็นคนวิ่งผ่านห้องบรรไดไปนั้น ต่อมาฉันได้สอบสวนดู ฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าพระที่นั่ง และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังพระที่นั่งแล้วออกไปทางหน้า เขาไม่แน่ใจ นายชิตบอกและชี้ทางด้วย แต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน

[19] นายวงศ์ เชาวน์กวี เคยสอนหนังสือฉันในวันที่ ๘ ก่อนสวรรคตนั้น นายวงศ์ได้ไปเฝ้าในวันที่ ๙ หลังจากในหลวงสวรรคตแล้ว นายวงศ์ได้มาตามคำสั่งของฉัน หลังจากนั้น นายวงศ์ยังได้มาอีกหลายครั้ง

[20] ในระหว่างในหลวงรัชชกาลที่ ๘ สมเด็จพระราชชนนี และฉัน ไม่มีอะไรขุ่นข้องหมองใจกัน ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ไม่เคยรับสั่งกับฉันว่ามีความคับแค้นพระราชหฤทัยอย่างใด เคยรับสั่งแต่ว่า อากาศร้อน

[21] เกี่ยวกับราชการ ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ จะทรงมีอะไรคับแค้นพระราชหฤทัยบ้างไหมฉันไม่รู้ ส่วนที่เกี่ยวกับส่วนพระองค์ ก็ไม่มีเรื่องคับแค้นที่รุนแรง

[22] ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ พระทัยเย็น และเวลาทรงปืน ทรงระมัดระวังทุกทาง ยังเคยทรงเตือนฉันเวลายิง หรือเล่นปืนพก ให้ดูเสียก่อนว่ามีลูกอยู่ในลำกล้องหรือเปล่า

[23] ในหลวงไม่เคยพูดเรื่องการเมืองกับฉัน และฉันไม่เคยทราบเรื่องในหลวงทรงอยากพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

[24] นายฉันท์ หุ้มแพร เป็นคนจงรักภักดี และเป็นห่วงในความสุขสบายของเรา เกี่ยวกับการปลอดภัย เขาเป็นห่วงเหมือนกัน นายฉันท์ฯไม่เคยพูดกับฉันมาก เป็นแต่เคยบอกกับฉันว่า ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังนั้น เข้าใจว่าระวังคน บอกตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย

[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์

(ทรงตอบทนายจำเลย)

[26] คนที่ฉันเห็นวิ่งผ่านประตูห้องบรรไดไปนั้น เขาผ่านโดยเร็ว ฉันไม่รู้ว่าเป็นใคร ก่อนนั้นฉันไม่ได้ยินเสียงอะไรดังผิดปรกติ ระหว่างที่ฉันเดินไปๆมาๆอยู่ในห้องนอน และห้องเครื่องเล่นนั้น จะมีใครอยู่ในสองห้องนั้นบ้างไหม ไม่ได้สังเกต ในที่สุด ฉันก็ไม่ทราบว่า คนที่เห็นวิ่งไปนั้นเป็นใคร ขณะเห็นไม่ทันได้คิดว่าอย่างไร

[27] เสียงคนร้องที่ได้ยินนั้น เป็นเสียงทั้งตกใจทั้งร้องไห้ และเป็นเสียงของคนๆ นอกจากเห็น น.ส.จรูญ ที่เฉลียงแล้ว ไม่เห็นมีใครอีก ตอนนั้นจะมีเสียงร้องทางหน้าพระที่นั่งบ้างไหม ไม่รู้ ฉันถาม น.ส.จรูญ แล้ว ก็ได้เดินต่อไปโดยเร็ว จะมีเสียงคนวิ่งไหม ไม่ได้สังเกต เวลานั้นประตูห้องทรงพระอักษรทางด้านที่เปิดออกสู่เฉลียงด้านหน้าจะปิดหรือเปิดอยู่ ไม่ได้สังเกต ประตู้นั้นตามธรรมดาเมื่อยังไม่ตื่นบรรทมก็ปิด และตามธรรมดาฉันไปห้องพระบรรทม ก็เข้าทางห้องแต่งพระองค์ ฉันเข้าไปถึงห้องพระบรรทมแล้ว ก็เลยตรงเข้าไปที่สมเด็จพระราชชนนี ขณะนั้นจะได้มีการเช็ดพระโลหิตที่พระพักตร์ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ แล้วบ้างไหม ฉันไม่ทราบ ฉันเข้าใจว่าพระพี่เลี้ยงเนื่องกำลังทำการเช็ดพระพักตร์ในหลวงอยู่ ฉันเข้าไปถึง สมเด็จพระราชชนนีแล้วนานสัก ๑ นาที หรือ ๒ นาที ก็ประคองพระองค์ท่านออกมา ขณะนี้พระพี่เลี้ยงจะคงเช็ดพระพักตร์อยู่หรือเปล่า ฉันไม่ได้ดู จะมีคนอื่นเข้าไปในพระวิสูตร์หรือเปล่า ฉันไม่ได้สังเกต ฉันไม่ได้แหวกพระวิสูตร์เข้าไป น่าจะมี คนแหวกไว้ แหวกข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ไม่ได้สังเกต ฉันออกจากพระวิสูตร์มาแล้ว ก็มาอยู่กับสมเด็จพระราชชนนีที่ปลายพระแท่น ไม่ได้เข้าไปอีก

[28] ฉันสังเกตท่าทางของพระบรมศพ ตั้งแต่ก่อนเข้าไปในพระวิสูตร์แล้ว จะมีอะไรอยู่ใกล้พระกรเบื้องซ้ายบ้าง ไม่ได้สังเกต พระเศียรหนุนพระเขนยอยู่ในท่าปรกติ สังเกตเห็นตั้งแต่แรกเข้าไป

[29] สมเด็จพระราชชนนีเสด็จออกไปประทับอยู่ที่ห้องทรงพระอักษรก่อนฉัน ฉันออกจากห้องพระบรรทมไปแล้ว ก็ได้กลับเข้าไปอีก กี่ครั้งไม่ได้นับ

[30] ฉันได้เห็นปืน เมื่อนายชิตนำมาให้ดูที่เฉลียง ขณะนั้นเวลาสักเท่าใดจำไม่ได้ ปืนที่นายชิตนำมาให้ดู เป็นปืนที่นายฉันท์ หุ้มแพร ถวายรัชชกาลที่ ๘ ถวายตั้งแต่ตอนเสด็จมาถึงประเทศไทย

[31] ในวันสวรรคตนั้น นายวงศ์ได้มาหาฉัน ที่ห้องทรงพระอักษรในตอนแรก ต่อมาอีกตอนหนึ่ง มาหาที่ใกล้ห้องของฉัน

[32] เคยยิงปืนจากเฉลียงชั้นบนลงไปในสวน บางคราวก็ลงไปยิงในสวน ในหลวงรัชชกาลที่ ๘ ได้เว้นทรงปืนอยู่ก่อนเสด็จสวรรคตหลายวัน อาจจะมีคนอื่นมาแนะนำวิธีทรงปืนอีกบ้าง

[33] การที่นายปรีดีโดยเสด็จไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่มีหน้าที่โดยเสด็จ แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้

[34] เรื่องสมเด็จพระราชชนนี ทรงเรียกรถใช้ไม่ได้นั้น จะก่อนหรือหลังกลับจากหัวหินจำไม่ได้ ได้ยินเขาพูดกันว่า รถนั้นนายปรีดีเอาไปใช้ โดยนายเฉลียวส่งไปให้

(ทรงตอบโจทก์ติง)

[35] เวลานายชิตนำปืนมาให้ฉันดูนั้น จะพูดอย่างไร จำไม่ได้

ลงพระปรมาภิไธย

***********

บทความโดย :

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา : somsak's work : พระราชดำรัสให้การต่อศาลคดีสวรรคต ๒๔๙๓ : ตัวบทและปัญหาบางประการ

หมายเหตุ
บทความนี้มีรูปภาพประกอบบทความ(น่าสนใจมาก)สามารถดูได้ที่ somsak's work ตามที่มาข้างต้น [ ผู้จัดเก็บบทความ]