วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ประวัติศาสตร์ไทย แบบราชาชาตินิยม ฯ


ประวัติศาสตร์ไทย แบบราชาชาตินิยม จากยุคอาณานิคมอำพราง
สู่ราชาชาตินิยมใหม่หรือลัทธิเสด็จพ่อของกระฎุมพีไทยในปัจจุบัน


วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ของไทย

เราได้ยินเสมอว่าคนไทยไม่สนใจประวัติศาสตร์ คนรุ่นหนึ่งห่วงใยว่าคนรุ่นหลังจะไม่ใส่ใจซาบซึ่งเพียงพอ พวกเขาต้องการให้มีการค้นคว้าถึงทุกเหลี่ยมทุกมุมของประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม เป็นไปได้ไหมว่าความทรงจำแบบนี้ซึมอยู่ในทุกเซลล์สมองจนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นให้ต้องคิดกันอีก

คนไทยรู้จักประวัติศาสตร์ชนิดนี้ดีโดยไม่จำเป็นต้องสนใจทุกเหลี่ยมมุม ถึงไม่รู้รายละเอียดคนไทยก็สามารถดื่มด่ำปลาบปลื้มกับประวัติศาสตร์ได้

ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม กล่อมประสาทเราสนิทจนไม่เหลืออะไรน่าตื่นเต้นสำหรับคนรุ่นหลัง

ในขณะที่เราเรียกร้องให้ระบบการศึกษาผลิตคนที่คิดเป็น เรากลับเรียกร้องให้เยาวชนเสพประวัติศาสตร์เป็นยากล่อมประสาทหนักเข้าไปอีก

ทางออกจึงไม่ใช่การโทษครู แล้วหวังว่าการฝึกฝนครูจะช่วยสอนให้เด็กรู้จักคิด นั่นเป็นการคิดแบบปลายเหตุ(พูดอย่างอาจารย์ประเวศก็ได้ว่าเป็นทางออกแบบแยกส่วน)

เพราะประวัติศาสตร์แบบยากล่อมประสาทเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทย เป็นส่วนหนึ่งของตัวตนความเป็นไทยสมัยใหม่ตลอด 100 ปีที่ผ่านมา จะคาดหวังให้ครูเติบโตมาเป็นแบบอื่นได้ยังไง


ทำไมวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ (hisorical culture) แบบไทยต้องการความรู้ประวัติศาสตร์แบบยากล่อมประสาท?

คัมภีร์โบราณที่บันทึกเรื่องอดีตมีหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการสถาปนาและรักษาระเบียบของโลก (สังคม)
เชื่อกันว่าคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่บันทึกเรื่องราวได้ถูกต้องตามสัจจะ จะช่วยทำให้ระเบียบของโลก (สังคม)เข้ารูปเข้ารอยไปด้วย เพราะการสร้างคัมภีร์คือการถ่ายทอดจำลองโลกลงเป็น text และอักษรอันศักดิ์สิทธิ์ แต่สัจจะมีคุณค่าควรบันทึกในการสร้างคัมภีร์หมายถึงความรู้ที่ตอกย้ำสัจจะตามแบบฉบับที่เชื่อว่าเป็นความจริงอย่างอกาลิโก อาจบไม่ใช่ข้อมูลเรื่องราวที่ตรงตามความจริง ( factuall correct) อย่างที่เราคาดหวังกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่

ความรู้ประวัติศาสตร์แบบคัมภีร์ไม่ได้มีไว้ให้ถกเถียง แต่มีไว้ให้รู้ การชำะคัมภีร์ประวัติศาสตร์อย่างพระราชพงศาวดารเกิดขึ้นต่อเมื่อเชื่อว่าคัมภีร์นั้นวิปริตผิดเพี้ยน นี่ไม่ใช่การถกเถียงตีความโดยคนรุ่งหลังวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ แบบจารีต และมรดกของความรู้ประวัติศาสตร์แบบคัมภีร์ไม่เคยถูกปะทะแบบถึงรากถึงโคน

ไม่เคยมีการปฎิวัติภูมิปัญญา ไม่มีการปฎิวัติศาสนา ไม่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แบบวิพากษ์วิจารณ์ ญหาของวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แบบยากล่อมประสาท ไม่ใช่เพราะตามก้นฝรั่งมากเกินไปแต่ตรงกันข้ามนี่อาจจะเป็นปัญหาของวัฒนธรรมการแสวงหาความรู้และการศึกษาของไทยโดยรวมเลยก็ได้

ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมทั้งเก่า ใหม่จึงเป็นเรื่องเล่าด้วยภาษาสมัยใหม่ภายใต้มรดกทางวัฒนธรรมประวัติศาสตร์แบบเก่ากล่าวคือมีหน้าที่ตอกย้ำความรู้แบบฉบับ และสัจจะอันจริงแท้แน่นอน เพื่อค้ำจุนระเบียบสังคมแบบราชาชาตินิยมการเรียกรู้ประวัติศาสตร์จึงมีหน้าที่ผลิตซ้ำตอกย้ำความรู้ตามแบบฉบับ ไม่ใช่เพื่อการสร้างปัจเจกบุคคลที่เป็นตัวของตัวเองสูง

ดังนั้นเมื่อคนไทยบอกว่าหาบทเรียนทางประวัติศาสตร์ จึงพบบทเรียนเดิมๆ ที่ท่องบ่นได้เป็นสูตรสำเร็จ ได้แก่ ความสามัคคี ความภาคภูใจในบรรพบุรุษ ความสำนึกในบุญคุณของพระมหากษัตริย์ เป็นต้นคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องอ่านประวัติศาสตร์จริงๆจังๆ ไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียด เพราะแบบแผนความทรงจำและบทเรียนสูตรสำเร็จซึมซาบในชีวิตของเราแล้วนี่คือความรู้ประวัติศาสตร์ที่สังคมไทยคาดหวัง

ประวัติศาสตร์แบบที่"ไม่ต้องคิด"เป็นส่วนหนึ่งของจารีตประเพณีอันดีงามของไทยประวัติศาสตร์ที่บอกว่า"รัฐก่ออาชญากรรม""ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ " ทำให้คนบ้าคลั่งเสียสติเหมือนคนเสพยาบ้า แล้วฆ่าคนอื่นได้อย่างทารุณ (ดูภาพเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ประกอบ )


ประวัติศาสตร์แบบนี้ผิดจารีต


การศึกษาประวัตศาสตร์ตามจารีตของไทยไม่ได้มีไว้เพื่อยกระดับการคิดการใช้สมองของประชากรไม่ได้มุ่งหมายผลิตปัจเจกชนที่อิสระ หัวแข็ง ไม่ยอมเชื่ออะไรง่ายๆ


ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล
Deparment of History
University of Wisconsin? Madison


บทความจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พ.ย. 2544

ไม่มีความคิดเห็น: