วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

คำพิพากษาฎีกาที่ 1544/2497

คำพิพากษาฎีกาที่ 1544/2497 พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ นายเฉลียว ปทุมรส ที่ 1, นายชิต สิงหเสนี ที่ 2 จำเลย นายบุศย์ ปัทมศริน ที่ 3 อาญา ประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การสมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือรู้แล้วว่ามีผู้คิดจะปลงพระชนม์ ช่วยปกปิดไม่เอาความไปร้องเรียนจนมีเหตุปลงพระชนม์ขึ้น เป็นความผิดตาม ม.97 ตอน 2.
------------------------------------

โจทก์ฟ้องว่า นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ 1 นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ 2 นายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยที่ 3 กับพรรคพวกที่ยังหลับหนีอยู่ บังอาจสมคบกันกระทำการปรพทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์ในรัชการที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ต่างกรรมต่างวาระกัน คือ

ก. เมื่อระหว่างวันที่ 9 เมษายน 2489 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2489 จำเลยทั้งสามนี้กับพรรคพวก สมคบกันคิดการตระเตรียมและกระทำการปลงพระชนม์พระองค์ท่าน โดยประชุมปรึกษาวางแผนการณ์ตกลงกันในอันที่ทำการปลงพระชนม์ และให้ผู้ใดรับหน้าที่ร่วมกันไปกระทำการปลงพระชนม์ แม้จำเลยที่ 3 ช่วยปกปิด ไม่นำความไปร้องเรียน เหตุเกิดที่ตำบลชนะสงคราม ท้องที่อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร

ข. วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลากลางวัน นัยชิตและนายบุศย์ กับพรรคพวกสมคบกันกระทำการปลงพระชนม์พระองค์ท่าน โดยใช้อาวุธปืนยิง 1 นัด ถูกพระนลาตทะลุเบื้องหลังพระเศียร ในขณะบรรทมอยู่บนพระที่ เป็นเหตุให้สวรรคตทันที ขณะที่จำเลยกับพวกได้กระทำการปลงพระชนม์ดังกล่าว นายชิต นายบุศย์ ไม่ร่วมรู้อยู่ในที่นั้นด้วย จงใจไม่ถวายคำพิทักษ์ตามหน้าที่มหาดเล็กห้องพระบรรทม กลับบังอาจเป็นใจช่วยเหลือให้ช่องโอกาศแก่พรรคพวกอันเป็นการอุปการะในการประทุษร้ายนั้นได้สำเร็จและปกปิดไม่นำความไปร้องเรียน เหตุเกิน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

ค. วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลากลางวัน ภายหลังที่ถูกปลงพระชนม์แล้ว นับชิตบังอาจเพทุบายเอาปลอกกระสุนปืน 1 ปลอกส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยกล่าวเท็จว่าเก็บได้ใกล้พระแท่นบรรทมในขณะถูกประทุษร้าย ประสงค์จะให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อไปในทางที่เป็นเท็จว่าเป็นปลอกกระสุนปืนที่ได้ยิงในวันนั้นจากปืนกระบอกหนึ่งซึ่งวางอยู่ใกล้พระกรเบื้องซ้าย และเพื่อจะให้หลงเชื่อต่อไปว่า ทรงใช้ปืนกระบอกนั้นประทุษร้ายพระองค์ท่านเอง ความจริงปืนกระบอกนั้นหาได้ใช่ยิงในวันนั้นไม่ และไม่ใช่กระบอกที่ประทุษร้าย ทั้งนี้โดยนายชิตรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ ด้วยเจตนาช่วยพรรคพวกให้พ้นอาญา และปกปิดมิให้ความปรากฏว่า ได้มีประทุษร้ายพระองค์ท่าน เหตุเกิด ณ พระที่นั่งบรมพิมาน

ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97-154-63-64-70 และ 71 จำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ และว่า เหตุที่จำเลยถูกกล่าวหานี้เพราะมีบุคคลบางจำพวกฉวยโแกาสการสวรรคตเป็นเกมการเมืองเพื่อทำลายล้างบุคคลอื่น มีอาทิเช่น นายปรีดี พนมยงค์ นายเรือเอกวัชรชัย ชัยสิทธิเวช นายเฉลียว ประทุมรส ปละพลอยไปถึงนายชิต นายบุศย์ด้วย ศาลอาญาพิจารณาพิพากษาว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอา นันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยถูกผู้ร้านลอบปลงพระชนม์ นายชิต รู้เห็นร่วมมือกับผู้ร้านรายนี้ด้วย ความผิดของนายชิตต้องด้วยกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอน 2 ส่วนข้อขอให้ลงโทษนายชิตตาม มาตรา 154 ในข้อหาสับเปลี่ยนปลอกกระสุนของกลาง โดยกล่าวเท็จแก่เจ้าหน้าที่เพื่อช่วยผู้กระทำผิดนั้น ทางพิจารณาก็ได้ความสม แต่เป็นความผิดที่เกลื่อนกลืนอยู่ในความผิดประธานข้างต้น ไม่พึงแยกกระทงลงโทษอีกได้ จึงลงโทษนายชิต จำเลย ตามมาตรา 97 ตอน 2 บทเดียวให้ประหารชีวิต ส่วนนายเฉลียวและนายบุศย์ จำเลย คดียังไม่มีหลักฐานให้พอฟังว่า ได้ร่วมกระทำผิดด้วย ให้ยกฟ้อง นายชิต จำเลย อุทธรณ์ ขอให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยอีก 2 คนด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษประหารชีวิตนายบุศย์ จำเลย ตามมาตรา 97 ตอน 2 ด้วยอีกคนหนึ่ง ส่วนนายชิต นายเฉลียว จำเลยคงยืนตามเดิม แต่มีความเห็นแย้งของผู้พิพากษานายหนึ่งว่าควรยกฟ้อง ปล่อยจำเลยทั้งสามคน โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษนายเฉลียว จำเลย โดยอธิบดีกรมอัยการรับรอง นายชิต นายบุศย์ จำเลย ฎีกา ขอให้ยกฟ้อง ศาลฎีกานั่งฟังคำแถลงของฝ่ายโจทก์จำเลย ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาคดีแล้ว ตามคำแถลงของจำเลยเป็นใจความว่า การแต่งตั้งรัฐบาลเนื่องจากการกระทำรัฐประหาร เป็นการไม่ชอบ ฉะนั้นการสอบสวนตลอดจนการฟ้องร้องจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยนั้น เห็นว่า ความข้อนี้ศาลล่างทั้ง 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องคดีได้ และศาลนี้ก็ได้เคยวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496 คดีระหว่างนายทองเย็น หลีละเมียร โจทก์ กระทรวงการคลังฯ จำเลย ว่ารัฐบาลที่ตั้งขึ้นภายหลังรัฐประหารเป็นรัฐบาลที่ชอบ ฉะนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ จะได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงต่อไป ทางพิจารณาได้ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระราชอนุชาเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน พระองค์ท่านประทับอยู่ทางริมฝ่ายด้านตะวันออก ส่วนอีก 2 พระองค์ประทับริมฝ่ายด้านตะวันตก นายชิตและนายบุศย์เป็นมหาดเล็กประจำห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายเฉลียวเป็นราชเลขานุการในพระองค์ และเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ประจำพระองค์ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง นายปรีดีพ้นตำแหน่งหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องนายปรีดีไว้ในฐานะรัฐบุรุษอาวุโส มีหน้าที่รับปรึกษาราชการแผ่นดิน ต่อมาได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากนายดวง อภัยวงศ์ ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 24 มีนาคม 2589 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติสู่พระนครแล้ว ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานาประการเพื่อให้บังเกิดผลดีแก่ประเทศชาติ พระองค์ทรงพระราชอึตุสาหะเสด็จไปในที่ต่างๆ ทั้งในกรุงและต่างจังหวัด เช่น เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2488 เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรีพร้อมด้วยนายปรีดี พลโทพระศราภัยสฤษดิการ สมุหราชองค์รักษ์ นายเฉลียว นายชิต ทอดพระเนตรการแสดงอาวุธของคณะพลพรรคเสรีไทย มีผู้น้อมเกล้าถวายอาวุธปืน กับของอื่นที่พลพรรคเสรีไทยใช้อยู่ ทรงโปรดการหัดยิงปืนชนิดใหม่ๆ ที่มีผู้น้อมเกล่าถวาย ต่อมาเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรตามจังหวัดต่างๆ หลายแห่ง ทรงพระราชปฏิสันถารแก่ราษฎรที่มาเฝ้า ราษฎรถวายสิ่งของแม้เล็กน้อยก็ทรงยินดีรับ และโปรดเกล้าพระราชทานเงินก้นถุงให้เป็นศิริมงคล ผู้ใดร้องทุกข์ก็ทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือ ครั้งสุดท้ายเสด็จประพาสท้องสำเพ็งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2589 ในค้านเกี่ยวกับการบริหารงานของประเทศชาติ พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยที่จะทรงทราบและศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้เชิญนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปลัดกระทรวง และอธิบดีผลัดเปลี่ยนกันเข้าเฝ้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทรวงซักถามกิจการในหน้าที่และแลกเปลี่ยนความรู้ ในทางพระพุทธศาสนาก็ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ลำรุงวัดวาอารามและตั้งพระราชหฤัยจะทรงผนวช แม้ทางศาสนาอื่นก็อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยิ่งนานวันพระองค์ก็ยิ่งทรงได้รับความนิยมเป็นมิ่งขวัญที่เคารพสักการะอย่างประทับใจด้วยความชื่นชมโสมมนัสของบรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาทและพศกนิกร โดยที่มีพระราชประสงค์จะทรงกลับไปศึกษาต่อยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีก กำหนดเสด็จวันที่ 13 มิถุนายน 2489 ตามที่โหรถวายพระฤกษ์ ในโอกาสนี้ รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้กราบทูลอัญเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศนั้นๆ ด้วย วันที่ 8 มิถุนายน 2589 ทรงพระประชวรเกี่ยวกับพระนาภีงดเสด็จงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาและงานที่กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เวลาประมาณ 17.00 นาฬิกา หลวงนิตยเวชวิศิษฐ์ ถวายตรวจพระวรกาย ปรากฏมีพระอาการไข้เล็กน้อยขอให้สมเด็จพระราชชนนีถวายพระโอสถ โนแวลยินแก้ไข้ 1 เม็ด ตอนค่ำถวายสวนล้างพระนาภี ถวายยาอ๊อปตาลิดอนแก้เมื่อย และตอนเช้าถวายน้ำมันละหุ่งอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 8 นี้ พระอาการไม่มาก เสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้าและกลางวันอย่างปกติ ส่วนพระกระยาหารค่ำสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งให้จัดมาเสวยร่วมที่ห้องทรงพระสำราญ สมเด็จพระราชชนนีได้เฝ้าถวายพระโอสถและอื่นๆ อยู่จนสมเด็จเข้าที่พระบรรทม เมื่อเวลาประมาณ 21.00 นาฬิกา แล้วจึงเสด็จจากไป รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาราว 6.00 นาฬิกา สมเด็จพระราชชนนีเสด็จไปปลุกบรรทมรับสั่งถามว่าหลับดีไหม? ทรงตอบว่าหลับดี สมเด็จพระราชชนนีถวายน้ำมันละหุ่งผสมกับบรั่นดี แล้วทรงรู้สึกว่ายังใคร่จะทรงบรรทมต่อ จึงถวายโอกาสโดยรีบเสด็จกลับไป ขณะนั้นมหาดเล็กห้องพระบรรทมยังไม่มีใครมา ต่อเวลา 7.00 นาฬิกาเศษ นายบุศย์ เวรประจำจึงมาและนั่งเฝ้าอยู่ตามหน้าที่ที่ระเบียงหน้าพระถวายห้องแต่งพระองค์ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ห้องพระบรรทม ครั้นเวลา 8.00 นาฬิกาเศษ นายชิตได้มานั่งอยู่คู่กับนายบุศย์ เวลาราว 90.. นาฬิกา สมเด็จพระราชอนุชาเสด็จไปที่ระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์ รับสั่งถามนายชิต นายบุศย์ว่า ในหลวงมีพระอาการเป็นอย่างไร ทรงได้รับคำตอบว่า ทรงสบายดีขึ้นเสด็จเข้าข้องสรงแล้ว สมเด็จพระราชอานุชาก็เสด็จกลับยังห้องพระบรรทมของพระองค์ ภายนั้นมาเวลาไม่ถึง 9.00 นาฬิกา มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดภายในห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นสมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จออกจากห้องห้องบรรทมของพระองค์ไปเสวยพระกระยาหารเช้า นายชิตวิ่งไปกราบทูลว่า “ในหลวงยิงพระองค์” สมเด็จพระราชชนนีก็ทรงวิ่งไปทันที นายชิต นางสาวเนื่อง จินตดุลย์ สมเด็จพระราชอนุชาและนางสาวจรูญ ตะละภัฏ ตามติดๆ เข้าไปในห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหงายบนพระแท่น พระเศียรหนุนพระเขนยดุจบรรทมหลับอย่างปกติ มีผ้าดอกคลุมพระองค์อยู่เรียบตั้งแต่เหนือพระอุระตลอดลงไปจนถึงข้อพระบาทกึ่งกลางของผ้าอยู่กึ่งกลางของพระองค์พอดี ชายผ้าทั้งสองข้างล้ำพระองค์ออกมาพอๆ กัน ผ้าลาดพระยี่ภู่ปูอยู่เรียบดี พระเขนยคงอยู่ในที่ตามปกติ มีพระโลหิตไหลโทรมพระพักตร์ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียรตะแคงไปทางขวามือเล็กน้อย เหนือพระโขนงซ้ายมีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พระเนตรทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ทรงพระฉลองพระเนตร ฉลองพระเนตรวางอยู่บนโต๊ะเล็กข้างประแท่น พระเกษาแสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ปิด พระกรทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 เซนติเมตร มีปืนของกลางขนาด 11 ม.ม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนาดและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก) นางสาวเนื่องเห็นพระวรกายแน่นิ่งไม่ไหวติง จึงเข้าจับชีพจรที่พระหัตถ์ซ้าย ยังเต้นแรงและเร็วอยู่สักครึ่งหรือหนึ่งนาที ก็หยุดเต้น แล้วนางสาวเนื่องใช้ 3 นิ้วจับกลางกระบอกปืนนั้นขึ้นวางบนหลังตู้เล็กข้างพระแท่น รู้สึกว่ากระบอกปืนไม่ร้อนไม่เย็น และไม่มีอะไรเปื้อนเปรอะ การที่หยิบย้ายปืนไปเสียนั้นเพราะเกรงจะไม่ปลอดภัยแก่สมเด็จพระราชชนนีซึ่งยังคงซบพระพักตร์อยู่ที่พระชงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาราว 20 นาที หลวงนิตย์ฯ ไปถึงตรวจพระอาการแล้วทูลว่าไม่มีหวัง สมเด็จพระราชชนนีก็รับสั่งให้แต่งพระบรมศพ โจทก์นำสืบต่อไปว่า เวลาราว 10.00 นาฬิกา เมื่อ ม.ร.ว. เทวาธิราชทราบข่าวการสวรรคต แล้วได้ไปพบนายปรีดีที่ศาลาท่าน้ำทำเนียบท่าช้าง บอกว่า สวรรคตแล้ว นายปรีดีร้อง “เอ๊ะอะไรกัน” มีท่าทางสะดุ้งตัวแสดงว่าตกใจ ม.ร.ว. เทวาธิราชตอบว่าไม่ทราบ อีกสัก 15 นาที ม.จ. นิกรเทวัญซึ่งถูกเรียกก็มาถึง เวลานั้นนายปรีดีแต่งตัวเสร็จแล้ว กำลังเดินอยู่หน้าตึกรับแขก ม.จ. นิกรเทวัญเข้าไปหานายปรีดีแล้วเงยหน้าเป็นเชิงถาม พอไปชิดตัว นายปรีดีพูดเป็นภาษาอังกฤษพอให้ได้ยินเฉพาะตัว แปลเป็นไทยว่าในหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง และพูดต่อไปว่า รอท่านอยู่นะซี รีบเข้าไปในวังด้วยกัน แล้วก็พากันเข้าไปในพระที่นั่งบรมพิมานพร้อมทั้งพันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลตำรวจโท พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งสองคนหลังนี้ได้ไปอยู่ที่ทำเนียบท่าช้างก่อนตั้งแต่เช้าแล้ว ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธุยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร และพระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าอลงกฎ กับข้าราชการผู้ใหญ่อีกหลายท่านก็เสด็จและไปถึงทะยอยๆ กัน นายปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรีและว่าการสำนักพระราชงวัง ให้เรียกตัวนายชิต นายบุศย์ นางสาวเนื่องมาถาม นายชิตให้ถ้อยคำในเวลานั้นว่า ในหลวงยิงพระองค์ นายปรีดีให้ทำท่าให้ดู นายชิตจึงลงนอนหงายมือจับปืนทำท่าส่องที่หน้าผาก ม.จ. ศุภสวัสดิ์ซึ่งอยู่ในที่นั้นรับสั่งว่าปืนอย่างนี้ยิงเองที่พระนลาตอย่างนั้นไม่ได้จึงปรึกษากันว่าจะออกคำแถลงการณ์อย่างไรดี นายปรีดีพูดว่า ออกแถลงการว่าสวรรคตเพราะพระนาภีเสียได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ตอบว่า ออกเช่นนั้นผมไปก่อนเพื่อนแน่เพราะเมื่อวานนี้ยังดีๆ อยู่ วันนี้สวรรคต ไม่ได้ พันเอกช่วงว่า ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นโรคหัวใจได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ตอบว่าไม่ได้เหมือนกัน เพราะอย่างไรคนก็ต้องทราบความจริง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรรับสั่งว่า เห็นจะต้องแถลงตามความจริง นายปรีดีว่า เพื่อถวายพระเกียรติให้ออกแถลงการณ์ว่าเป็นอุบัติเหตุ จึงได้ออก

คำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเป็นฉบับแรกลงวันที่ 9 มิถุนายน 2489 มีข้อความดังนี้
“ด้วยนับแต่วันที่ 2 มิถุนายน ศกนี้เป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เริ่มทรงพระประชวรเกี่ยวแก่พระนาภีไม่ปกติ และทรงเหน็ดเหนื่อยไม่มีพระกำลัง แม้กระนั้นก็ดีพระเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรเป็นพระราชกรณรยกิจของพระองค์ ครั้นต่อมาพระอาการเกี่ยวกับพระนาภีก็ยังมิได้ทุเลาลง จึงต้องเสด็จประทับอยู่แต่บนพระที่ มิได้เสด็จออกงานตามหมายกำหนดการ ครั้นวันที่ 9 มิถุนายน ศกนี้ เมื่อตื่นพระบรรทมตอนเช้าเวลา 6.00 นาฬิกา ได้เสวยพระโอสถน้ำมันละหุ่งแล้วเข้าห้องสรงซึ่งเป็นพระราชกิจประจำวันแล้วก็ได้เส็จเข้าพระที่ ครั้นเวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา มหาดเล็กห้องบรรทมได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในพระที่นั่ง จึงรีบวิ่งเข้าไปดู เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อนพระองค์แล้วสวรรคตเสียแล้ว มหาเล็กห้องบรรทมจึงได้ไปกราบทูลสมเด็จพระราชชนนีให้ทรงทราบแล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ ต่อนั้นมามีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมาตรี ได้เข้าไปกราบถวายบังคม และอธิบดีกรมตำรวจกับอธิบดีกรมการแพทย์ได้ไปถวายตรวจพระบรมศพและสอบสวน ได้ความสันนิฐานได้ว่า คงจะทรงจับคลำพระแสงปืนตามพระราชอัธยาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น”

เกี่ยวกับบาดแผลที่พระบรมศพ ครั้งแรกหลวงนิตย์ไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียร เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาตด้านเดียว บรรดาท่านที่ประชุมกันอยู่ก็พลอยเข้าใจเช่นนั้น ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 10 เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็น จึงได้พบแผลที่เบื้องหลังพระเศียรอีกแผลหนึ่งตรงท้ายทอยมีพระเกษาปกคลุมบาดแผล จึงมีเสียงกล่าวกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาต โดยเหตุที่มีเสียงครหาว่า คำแถลงการณ์ฉบับแรกไม่ถูกต้องต่อความจริง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ได้ประชุมกันพิจารณารายงานของอธิบดีกรมตำรวจ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน แล้วได้ออกเป็นคำแถลงการณ์ขิงกรมตำรวจในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 มีข้อความพิศดารประกอบคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเพื่อจะให้ฟังได้หนักแน่นยิ่งขึ้น โดยอ้างการสอบสวนอย่างกว้างขาวงตั้งเป็นข้อสังเกต 3 ประการ คือ 1. มีผู้ลอบปรงพระชนม์ 2. ทรงปลงพระชนม์เอง หรือ 3. อุบัติเหตุ คำแถลงการณ์นั้นอ้างว่า ตามทางสอบสวน ไม่มีเหตุกรณีใดที่น่าสงสัยในทางลอบปรงพระชนม์ทั้งไม่มีเหตุอันใดจะส่อให้เห็นว่าพระองค์ทรงปลงพระชนม์เอง แต่มีพฤติการณ์ควรให้สันนิษฐานว่าคงจะทรงหยิบพระแสงปืนมาลูบคลำเล่นตามพระอัธยาศัยที่โปรดเช่นเคยโดยมิได้ทรงตรวจก่อน คงจะทรงหันปากลำกล้องขึ้นส่องดู แล้วนิ้วพระหัตถ์ต้องไกปืนกระสุนปืนลั่นไปถูกพระนลาต จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น รุ่งขึ้นวันที่ 11 กรมตำรวจออกแถลงการณ์เป็นฉบับที่ 2 ดังนี้ ได้ความในการสอบสวนเพิ่มเติมจากพระราชกิจประจำวันว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากำหนดให้หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล เข้าเฝ้าในวันที่ 9 มิถุนายน 2589 เวลา 10.00 นาฬิกา เพื่อกราบบังคมทูลลาทรงผนวช กับนัดให้หใอมเจ้าศุภสวัสดิ์ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวงศ์ เชาวนะกวี ไปการทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า จะเสด็จไปทูลลาเสด็จสหรัฐอเมริกา ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 อันเป็นหลักฐานเพิ่มเติมข้อสันนิฐาน ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า การสวรรคตได้เป็นไปโดยอุบัติเหตุ ไม่มีทางส่อแสดงว่า ทรงปลงพระชนม์เอง แต่อย่างไรก็ดี คำแถลงการณ์ยังไม่เพียงพอที่จะระงับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของหมู่ประชาชนยิ่งแพร่สะพัดออกไปทุกทีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จสวรรคตโดยอุบัติเหตุ แต่ถูกปลงพระชนม์ ถึงกับมีผู้ร้องตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า นายปรีดีฆ่าในหลวง เป็นเหตุให้รัฐบาลเกรงจะเกิดจลาจล จึงได้ตั้งกรรมการขั้นคณะหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีออกประกาศเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2489 ความว่า คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบรมนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ได้อนุมัติให้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่สอบสวนพฤติการณ์ในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต แล้วให้เสนอรายละเอียดและความเห็นเพื่อนำความกราบบังคมทูลต่อไป ให้อธิบดีกรมตำรวจนำพยานมาสอบสวนต่อหน้ากรรมการ ในการนี้ได้ขอพระบรมราชานุญาตเปิดพระบรมโกษฐ์ตรวจชันสูตรพระบรมศพได้ถี่ถ้วนและทำการทดลองยิงศพคนที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อทราบระยะยิงที่จะให้เกิดบาดแผลเช่นบาดแผลที่พระบรมศพ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนพฟติการณ์สวรรคตที่เรียกกันว่าศาลกลางเมืองสอบสวนเสร็จแล้วรายงานเสนอความเห็นว่า สำหรับกรณีอุบัติเหตุ ไม่เห็นทางว่าจะเป็นไปได้เลย ส่วนกรณีถูกลอบปลงพระชนม์ไม่มีพยานหลักฐาน แต่ก็ไม่สามารถจะตัดออกเสียได้ เพราะท่าทางของพระบรมศพด้านอยู่ในกรณีทรงปลงพระชนม์เองนั้น ไม่ปรากฏเหตุผลและหลักฐานอย่างใดว่าได้เป็นเช่นนั้นโดยแน่ชัด คณะกรรมการไม่สามารถชี้ขาดว่า เป็นกรณีหนึ่งกรณีใดในสองกรณีนี้ ตกเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่จะดำเนินการสืบสวน และปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป คณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น (สืบต่อจากนายปรีดี) และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นพ้องด้วยความเห็นของคณะกรรมการ เรื่องจึงถกส่งไปยังกรมตำรวจเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2489 พลตำรวจตรี พระพิจารณ์ พลกิจ อธิบดีตรวจสำเนาเท่าที่มีอยู่ในเวลานั้น แล้วมีความเห็นว่ายังไม่พอที่จะวินิจฉัย จึงสั่งตั้งกรรมการขึ้นดำเนินการตรวจสำนวนและสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วให้เสนอความเห็นต่อกรมตำรวจโดยด่วน แก่พฤติการณ์ก็ยังไม่คลี่คลาย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 พลตำรวจตรี หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ ได้ออกคำสั่งตั้งนายตำรวจ 10 นาย เป็นพนักงานสอบสวนกรณีนี้เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 มีพันตำรวจเอก เนื่อง อาขุบุตร เป็นหัวหน้า ในคำสั่งท้ายความว่า “โดยที่ทางราชการฝ่ายทหารได้ส่งหลักฐานแผนการณ์ของบุคคลคณะหนึ่งสมคบกันดำเนินการประทุษร้ายองค์พระมหากษัตริย์ มีการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และเตรียมการเปลี่ยนระบอบการปกครองแผ่นดินโดยทำลายล้างรัฐบาล มาให้กรมตำรวจสอบสวนดำเนินคดี” วันที่ 8 ธันวาคม 2490 กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งให้พันตำรวจโท หลวงแผ้วพาลชน เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนแทนพันตำรวจเอกเนื่อง ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งให้พลตำรวจตรีพระพินิจชนคดี เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนกรณีสวรรคต และคงให้หลวงแผ้วพาลชน เป็นพนักงานสอบสวนต่อไปด้วย เมื่อเกิดรัฐประหารแล้วไม่กี่วัน จำเลยทั้งสามนี้ถูกจับกุมคุมขังตลอดจนถูกฟ้อง นอกจากจำเลย 3 คนนี้ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรหัวหน้ากองมหาดเล็ก และนางชอุ่ม ชัยสิทธิเวช ภรรยาเรือเอกวัชรชัยก็ได้ถูกจับมาด้วย แต่แล้วก็พ้นข้อหาไปในชั้นสอบสวน ส่วนนายปรีดีและเรือเอกวัชรชัยหลบหนีไปในคืนที่เกิดรัฐประหารจนกระทั่งบัดนี้ โจทก์ตั้งรูปคดีและนำสืบว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตโดยถูกปลงพระชนม์ แต่พยานบุคคลที่ได้รู้เห็นเป็นประจักษ์ขณะลอบปลงพระชนม์ไม่มีสืบ แต่มีหลักฐานพยานแวดล้อมกรณีต่างๆ แสดงว่าจำเลยเหล่านี้สมคบกับพรรคพวกที่ยังหลบหนีอยู่ ซึ่งได้แก่นายปรีดีและเรือเอกวัชรชัย กระทำการปลงพระชนม์ พระที่นั่งบรมพิมานเป็นที่ระโหฐาน อยู่ในพระบรมมหาราชวังมีทหารยามและเจ้าหน้าที่ประจำ ตามธรรมดาผู้ร้ายไม่น่าสามารถจะเล็ดลอดเข้าไปกระทำการเช่นนั้นได้ แต่ถ้าได้ใช้ความพยายามและความรู้ถึงลู่ทางเข้าออกตลอดจนความเป็นอยู่ของทหารยามและเจ้าหน้าที่ประจำว่าไม่เข้มงวดกวดขันแล้ว ผู้ร้ายก็อาจเข้าไปกระทำการสำเร็จได้หรือถ้ามีคนภายในรู้เห็นเป็นใจด้วย หรือคนที่อยู่ภายในนั้นเป็นผู้ร้านเสียเอง การก็ยิ่งสะดวกง่ายดายเป็นอันมาก รัฐบาลในสมัยเกิดเหตุ แม้จะได้ตั้งศาลกลางเมืองขึ้น ก็มีจุดมุ่งหมายจะให้เป็นกรณีอุบัติเหตุหรือปลงพระชนม์เอง ทางพิจารณาได้ความว่า นายปรีดีเป็นผู้ให้ส่งคำซักถามพยานมาจากทำเนียบท่าช้าง สำหรับนายตำรวจผู้มีหน้าที่ใช้ซักถามพยาน เมื่อรัฐบาลสมัยนั้นเห็นว่ามิใช้กรณีถูกลอบปลงพระชนม์แล้ว การที่จะสืบสวนหาพยานหลักฐานไปในทางถูกลอบปลงพระชนม์ก็ย่อมไม่มี ปรากฏในทางพิจารณาว่า มีคำสั่งของรัฐบาล ให้การสืบสวนและสอบสวน ถ้าจะต้องจับกุมผู้ใดต้องได้รับอนุญาตจากนายกรัฐมนตรีก่อน อนึ่ง มีประกาศเป็นทางการให้ผู้ที่รู้เรื่องการสวรรคตมาแจ้งแก่เจ้าพนักงาน แต่ผู้ใดยืนยันรู้เรื่องว่าเป็นการถูกลอบปรงพระชนม์ก็ย่อมเป็นภัยแก่ตน ดังเช่นเมื่อพันเอก พระยาวิชิตสรศาสตร์ ร้องเรียนว่าเป็นกรณีลอบปลงพระชนม์ โดยพาซื่อหลงเชื่อตามประกาศ ก็กลับถูกจับกุมฟ้องร้องหาว่าร้องเรียนเท็จ อ้างว่าจะก่อให้เกิดเหตุจลาจลเป็นต้น ทั้งที่รู้กันอยู่ในพระราชสำนักว่า ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์กรณีสวรรคต เมื่อทางราชการปฏิบัติดังนี้ ก็เป็นการตัดหนทางของพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ ได้ความว่า พระบาทสดเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องกระสุนปืนขณะบรรทมหงายอยู่บนพระที่ ตามคำเบิกความของนายแพทย์ที่กระทำการชันสูตรพระบรมศพและจากผลของการทดลองยิงศพที่โรงพยาบาลศิริราชว่า กระสุนปืนแล่นเจาะนลาตทะลุออกทางเบื้องหลังพระเศียรตรงท้ายทอยผ่านสมอง ส่วนหน้าออกทางส่วนหลัง เป็นการทำลายสมองโดยตรง เป็นผลให้หมดความรู้สึก และหมดกำลังทันทีที่จะเคลื่อนไหว กำลังหายใจเข้าอยู่ก็คงจะหายใจเข้าไปตามธรรมดาอีกเฮือกหนึ่ง ถ้ากำลังหายใจออกอยู่ก็ไม่มีการหายใจออกได้ หัวใจอาจเต้นต่อไปได้อีกนิดหน่อยราวครึ่งนาทีหรือกว่าสักเล็กน้อย นัยน์ตาถ้าลืมอยู่ก็คงลืมอยู่อย่างเดิม ถ้าหากหลับก็คงหลับอยู่อย่างเดิมเหมือนกัน อาการอย่างนี้แสดงว่าเสด็จสวรรคตทันที ในขณะต้องกระสุนปืน ดังนี้ คดีจึงฟังได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตทันที่ที่ต้องกระสุนปืน การเสด็จสวรรคตโดยทันทีเช่นนี้ ได้ความตามคำพยานที่เป็นแพทย์หลายปากว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องกระทำพระองค์เอง เพราะท่าทางของพระหัตถ์และพระกรทั้งสองข้างไม่งอหรือกำ ถ้าเป็นการปลงพระองค์เองหรืออุบัติเหตุโดยการกระทำของพระองค์เองแล้ว พระหัตถ์และพระกรไม่เป็นเช่นนั้นเป็นเด็ดขาด คดีได้ความชัดว่า เมื่อต้องกระสุนปืนแล้ว พระบาทสดเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมอยู่บนพระที่ดุจบรรทมหลับ พระกรทั้ง 2 ข้างทอดเหยียดชิดพระวรกาย พระภูษาที่คลุมพระองค์ก็อยู่ในสภาพเรียบร้อยดังกล่าวมาแล้ว จึงฟังได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องกระสุนปืนสวรรคต โดยมิใช่การกระทำของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ โจทก์ยังสืบถึงว่า ปืนกระบอกที่วางอยู่ใกล้พระหัตถ์ขณะเสด็จสวรรคตไม่ใช่กระบอกที่ใช้ยิงพระองค์ท่าน เพราะโดยการพิสูจน์ปรากฏว่า ได้ใช้ยิงมาก่อนวันเกิดเหตุหลายวันแล้ว และหัวกระสุนที่เก็บได้ในพระยี่ภู่ก๋ไม่ใช่กระสุนที่ทะลุผ่านพระเศียร เพราะมีลักษณะเรียบร้อยไม่มีรอยยับเยิน ผู้ร้ายในคดีนี้มิได้คิดมุ่งมาตร์ปรารถนาแก่ทรัพย์สินอย่างใดในห้องพระบรรทม ไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินสิ่งของอย่างใดได้ขาดหายไป โจทก์นำสืบพฤติการณ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับนายปรีดีว่า มีข้อขัดแย้งกันในการจะตั้งใครเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถึงกับนายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนวันสวรรคตเพียงวันเดียว เป็นภาษาไทยปนอังกฤษความว่า ต่อไปนี้จะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์ นายเฉลียวและเรือเอกวัชรชัย ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายปรีดีจัดให้นายเฉลียวได้เข้ารับราชการตำแหน่งสำคัญในราชสำนัก ส่วนเรือเอก วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้วก็ได้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์ ส่วนนายชิตและนายบุศย์ มหาดเล็กรับใช้ประจำห้องพระบรรทมก็อยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว เฉพาะนายชิตนั้น ยังเป็นผู้สนิทชิดชอบกับนายเฉลียวเป็นพิเศษอีกด้วย โจทก์นำสืบต่อไปว่า เนื่องจากนายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้นว่า ส่งรถยนต์ประจำพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำงาน ซึ่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมาน จนพระบาทสดเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไปเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขานุการ นายเฉลียวจึงจำต้องออกจากตำแหน่งในราชสำนักไปตั้งแต่ตอนต้นๆ เดือนพฤษภาคม 2489 แล้วต่อมานายเฉลียวก็ได้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสืบต่อไป ส่วนเรือเอก วัชรชัย มิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อยๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้าง ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนกยกรัฐมนตรีสืบต่อไป ในระหว่างที่นายเฉลียวเป็นราชเลขานุการในพระองค์ มีข้าราชการในราชสำนักเข้าฝักใฝ่เป็นพรรคพวก ทั้งนายเฉลียวยังได้จัดพรรคพวกของตนเข้ามารับราชการเพิ่มเติมอีก ถึงกับเมื่อคราวที่นายเฉลียวจะพ้นหน้าที่ พวกข้าราชการประเภทที่กล่าวมานี้ มีนายนเรศน์ธิรัก นายกำแพง ตามไทย เป็นหัวหน้าพร้อมใจกันกล้าแสดงออกอย่างเปิดเผย ทำเรื่องราวถึงนายปรีดีคัดค้านว่า ไม่ควรปลดนายเฉลียวซึ่งเป็นการทนงจงใจที่จะขัดขวางพระราชประสงค์โดยตรง ถ้าพวกนั้นไม่มีนิสัยหยาบช้า ก็คงไม่กล้าขัดแย้งพระราชประสงค์อันเกี่ยวกับกิจการในสำนักของพระองค์ท่านถึงปานนั้น นายนเรศน์ธิรักษ์ผู้นี้เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็กโดยนายปรีดีเป็นผู้แต่งตั้งแทนเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรถักดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เป็นผู้ไม่ได้ราชการ จึงให้ไปทำหน้าที่อื่น ต่อมานายปรีดีก็จัดให้ไปรับตำแหน่งเลขานุการยายกรัฐมนตรีสืบต่อไป อาจเป็นเพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วหรืออย่างใดไม่ปรากฏชัดนายฉันท์ หุ้มแพร ผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงวิตกกังวลเป็นห่วงพระองค์นักว่าจะทรงเป็นอันตราย ถึงแก่พกปืนและคอยระแวดระวังเฝ้าพระองค์ท่าน แต่นายฉันท์ก้มาตายเสียก่อนและเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตไม่ถึง 7 วัน และพันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม พูดกับหลวงนิตย์ฯ ว่า ถ้ามีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชชนนีให้ช่วยกราบทูลด้วยว่าไหนๆ ในหลวงก็สวรรคตแล้วยังเหลือในหลวงพระองค์ใหม่อยู่ ขอให้สมเด็จพระราชชนนีระวังไว้ให้ดีด้วย เพราะตามประวัติศาสตร์ก็มีอยู่ว่าพี่ฆ่าน้อง น้องฆ่าพี่ อนึ่ง ยังได้มีการ กลั่นแกล้งปล่อยข้าวอกุศลให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อพระราชชนนี สมเด็จพระราชบิดาบ้าง ดังปรากฏในการพิจารณาลับ นอกจากเหตุแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะกล่าวต่อไปข้างหน้า โจทก์นำสืบว่ากรณีนี้ได้มีการสมคบและประชุมคิดกระทำการปรงพระชนม์ที่บ้านพลเรือตรี กระแส ศรยุทธเสนี ที่ถนนจักรพงษ์ จังหวัดพระนคร พยาน คือ ก. พลเรือตรี กระแส เบิกความว่า ก่อนหน้าสวรรคตประมาณ 2 เดือน นายปรีดีได้ไปที่บ้านพยานครั้งหนึ่งหรือสองครั้งจำไม่ได้ ไปถึงเมื่อเวลาเย็นมากแล้ว มีเรือเอกวัชรชัย นายเฉลียวกับพวกอีกคนหนึ่งหรือสองคนไปด้วย พยานได้เชิญเข้าไปนั่งในห้องรับแขก เข้าไปเพียง 3 คน คือนายปรีดี เรือเอกวัชรชัย และนายเฉลียว ครั้นถึงตอนซักค้านของทนายจำเลย พยานกลับว่า สำหรับนายปรีดีเข้าไปนั่งในห้องรับแขกแน่ ส่วนอีก 2 คนจะใช้เรือเอกวัชรชัยและนายเฉลียวหรือไม่ จำไม่ได้ นายปรีดีบอกว่ามาเยี่ยมถามพยานถึงการค้าไม้ พยานตอบว่ายังไม่ได้ลงมือ คุยอยู่ราว 5 นาที พยานขอตัวออกไปบอกให้คนจัดน้ำมารับรอง 2-3 นาที ก็กลับเข้ามานั่งคุยเรื่องการค้าต่อไป ประมาณ 10 นาที นายปีดีกับพวกก็กลับ คำพยานปากนี้ปรากฏว่า ในชั้นสอบสวนได้แสดงอาการอิดเอื้อน ไม่ยอมที่จะให้ถ่อยคำอย่างธรรมดา พระพินิจชนคดีผู้สอบสวนถามว่า นายปรีดีได้ไปที่บ้านพยานหรือไม่ เพียงเท่านั้นก็ไม่ตอบ ซักหนักๆ เข้าก็ว่าจำไม่ได้ เมื่อคาดคั้นว่าเป็นเหตุการณ์ใกล้ชิด ซึ่งพยานน่าจะจำได้และตอบได้ว่าไปหรือไม่ พยานก็ยืนคำว่า จำไม่ได้ร่ำแต่นัดยาอยู่ท่าเดียว ตั้งแต่เวลากลางวันไปจนเย็นคำก็ยังไม่ยอมเผย พระพินิจฯ เห็นว่าพยานจงใจปิดบังความจริง จึงได้เชิญภรรยาและบุตรเขย (ซึ่งเป็นทนาย) ของพยานปรึกษาหารือ จะได้ช่วยกันรื้อฟื้นความจำ จวบจนถึงเวลาประมาณ 22.00 นาฬิกา พยานจึงยอมให้การออกมาเป็นปกติดังเช่นข้อความที่เบิกต่อศาล การที่พยานมากลับคำในตอนถูกทนายจำเลยวักค้านว่า สองคนนั้นจะใช้เรือเอกวัชรชัยและนายเฉลียวหรือไม่ จำไม่ได้นั้น พิเคราะห์เห็นว่าเป็นการกลับคำอย่างไม่มีเหตุผล เป็นคนเคยรู้จักกันดีและไปนั่งคุยกันอยู่ เหตุใดจะจำไม่ได้ ข. นายตี๋ ศรีสุวรรณ เบิกความว่า เมื่อปีจอ (2489) เดือน 4 ข้างขึ้น นายแม้น จันทวานิช ไปหาพยานที่บ้านปากน้ำโพ บอกว่าพลเรือตรี กระแสจะซื้อไม้หมอน จึงชวนกันลงมาหาพูดเรื่องไม้หมอนที่จะซื้อขายกันไม่ตกลง นายแม้นกลับไปก่อน ส่วนนายตี๋นั้นพลเรือตรีกระแสชวนให้อยู่ด้วย จะให้มีหน้าที่ตรวจไม้หมอนจากคนทำโดยจะแบ่งกำไรให้บ้าง นายตี๋จึงอยู่ด้วย จนกระทั่งเดือน 6 ข้างขึ้นปีเดียวกัน พลเรือตรี กระแสใช้ให้นายตี๋ขึ้นไปดูไม้ที่แก่งคอย ลพบุลีและปากน้ำโพ นายตี๋ไปอยู่ปากน้ำโพธิ์ได้ 9 หรือ 10 วัน ก็ได้ทราบข่าวการสวรรคต กลับจากดูไม้แล้วก็กลับมาอยู่อีก รวมเป็นเวลาที่อยู่บ้านพลเรือตรี กระแสนี้ ปีเศษ ระหว่างที่อยู่บ้านนี้ นายตี๋ว่า ได้เห็นนายปรีดีกับพวกไปหาพลเรือตรี กระแส 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือน 6 ข้างขึ้น ปีจออยู่ในระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 พฤษภาคม 2489 ไปถึงเวลา 18.00 นาฬิกาเศษ มีชายอีก 2 คนไปด้วยหนึ่งสูงโปร่ง อีกคนหนึ่งสูงท้วม ไม่ทราบว่าเป็นใคร พลเรือตรี กระแสออกมาเชิญเข้าไปในห้องรับแขก 3 คน นายปรีดีถามพลตรี กระแส ถึงตัวพยานซึ่งปรากฏอยู่ในที่นั้นด้วยว่าเป็นใคร พลเรือตรี กระแสตอบว่า เป็นพ่อค้าไม้มาจากนครสวรรค์ เป็นคนดี ไว้ใจได้ แล้วพลเรือตรี กระแส ก็ให้พยานไปหานายหงวนที่บางลำภูเรื่องไม้หมอน พยานกลับมาเวลา 21.00 นาฬิกาเศษ นายปรีดีกับพวกกลับไปหมดแล้ว ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกสัก 9 ถึง 10 วัน ไปถึงเวลา 18.00 นาฬิกา คราวนี้ไป 5 คน นายปรีดี กับพวกสองคนที่ไปครั้งแรกกับคนใหม่อีก 2 คน คนหนึ่งสูงท้วม อีกคนหนึ่งเตี้ยเล็ก เข้าไปในห้องรับแขกทั้ง 5 คน สัก 5 นาทีได้ยินเสียงถามว่า การค้าไม้เป็นอย่างไร พลเรือตรี กระแส ตอบว่า ได้บ้างเสียบ้าง ยังไม่ได้ผล แล้วมีเสียงพูดขึ้นว่า ใกล้จะไปอยู่แล้ว จะทำอย่างไรก็ทำกันเสีย ได้ยินเท่านี้พยานก็รุกไปกินกาแฟนอกบ้าน ชั่วโมงเศษจึงกลับ ไม่พบคนเหล่านั้นแล้ว ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่ 2 7-8 วันไปเวลา 19.00 นาฬิกาเศษ คราวนี้ซ้ำหน้ากันทั้ง 5 คน เช่นครั้งที่ 2 เข้าไปในห้องรับแขกทั้ง 5 คน แต่ไม่เห็นพลเรือตรี กระแสอยู่ในห้องรับแขก พยานนั่งอยู่ที่ม้านั่งข้างฝาห้องรับแขกด้านนอก ได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกว่า “ผมไม่นึกเลยเด็กตัวนิดเดียวปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้” แล้วอีกเสียงหนึ่งพูดว่า “ผมก็ได้ยิน ผมอยู่ใกล้ พี่ชายว่า จะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนกยก” อีกสัก 5 นาทีก็มีเสียงพูดขึ้นว่า “นั่นซีพวกเรา เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จรอดไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้อย่าไปทันไปได้ รีบกำจัดเสีย” เสียงหนึ่งพูดขึ้นทันทีว่า นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง” อีกเสียงหนึ่งว่า “พวกผมทำเสร็จแล้ว ข้อให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน” มีเสียงตอบว่า “กันพูดไม่จริง ก็เอาปืนมายิงกันเสีย” อีกเสียงหนึ่งว่า ให้สำเร็จแล้วกันจะมีรางวัลให้อย่างสมใจ” หลังจากนั้นเงียบหายไป สัก 10 นาที นายปรีดีคนเดียวออกจากบ้านไป พลเรือตรี กระแส ตามออกไปส่ง ส่วนพวกที่มากับนายปรีดีอีก 4 คนนั้น ออกไปนั่งดื่มสุรากันที่ใต้ต้นมะม่วงริมสนามหญ้าหน้าบ้าน ราว 20 นาทีจึงพากันกลับไป ในตอนนั่งดื่มสุรากันอยู่นี้ พยานได้ยินคนเหล่านั้นเรียกชื่อกันจึงทราบชื่อสามชื่อ คือ นายตุ๊ นายเฉลียว นายชิต ส่วนอีกคนหนึ่งคงไม่รู้จักเช่นเดิม (ปรากฏในทางพิจารณาว่า เรือเอก วัชรชัยมีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตุ๊) พยานเบิกความต่อไปว่า คนที่มากับนายปรีดีครั้งแรก คือ นายตุ๊ นายเฉลียว ส่วนคนที่มากับนายปรีดีครั้งที่ 2 และที่ 3 เป็นชุดเดียวกันคือ นายตุ๊ นายเฉลียว นายชิต อีกคนหนึ่งไม่รู้ชื่อ พยานดูตัวจำเลยหน้าศาลแล้วชี้นายเฉลียว นายชิต จำเลยว่า คือ นายเฉลียวและนายชิตที่เห็นไปกับนายปรีดี พยานเบิกความต่อไปว่า เมื่อพวกที่ดื่มสุรากลับไปแล้ว พยานพูดกับพลเรือตรี กระแสว่า “เจ้าคุณในเรื่องนี้เอากับเขาด้วยหรือ” ก็ได้รับตอบว่า “เราไม่เอากับเขาหรอกเราเออๆ คะๆ ไปกับเขาเช่นนั้น เขามีวาสนา เขามีบุญคุณกับเรา” พยานจึงว่า “ไม่เอากับเขาก็เป็นการดี” การพิจารณาปรากฏว่า นายตี๋ผู้นี้เป็นพ่อค้า มีบ้านเรือน ครอบครัวเป็นหลักฐาน มาพักอยู่บ้านพลเรือตรี กระแสชั่วคราว เพื่อร่วมการค้าไม้ ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่า นายตี๋มาพักอยู่บ้านพลเรือตรี กระแสภายหลังเสด็จสวรรคต ย่อมจะไม่รู้เห็นเหตุการณ์ดังที่ให้การมาแล้ว ความข้อนี้จำเลยอ้างจดหมายของนายแม้นลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2489 ถึงพลเรือตรี กระแสว่า นายตี๋จะขายไม้ให้ อันเป็นทำนองให้แปลความว่า ถ้าระหว่างนั้นนายตี๋อยู่บ้านพลเรือตรี กระแสแล้ว นายแม้นจะต้องมีจดหมายมาบอกทำไม เมื่อพิเคราะห์จดหมายฉบับนี้แล้ว ได้ปรากฏชัดว่า นายตี๋จะได้มาอยู่บ้านพลเรือตรี กระแสก่อนหรือหลังสวรรคตอย่างไร และก็ได้ความตามคำนายตี๋ว่า เมื่อมาพักอยู่บ้านพลเรือตรี กระแสนั้น ไม่ได้อยู่ประจำ ต้องขึ้นล่องไปดูไม้ต่างจังหวัด เช่น ไปปากน้ำโพธิ์ สระบุรี ข้อโต้เถียงของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ได้ อย่างไรก็ดี คำให้การนายตี๋ที่ว่า ได้เห็นพวกนั้นไปที่บ้านพลเรือตรี กระแส จะฟังได้เพียงใดนั้น จะได้วินิจฉัยต่อไป ค. นางสาวทองใบ แนวนาค เบิกความว่าเป็นลูกจ้างอยู่ใน บ้านพลเรือตรี กระแสเมื่อก่อนสวรรคต 10 กว่าวัน เวลา 18.00 นาฬิกา เด็กชายเพิ่มศักดิ์ บุตรพลเรือตรี กระแส ใช้ให้พยานไปซื้อข้าวโพดเผา จึงเดินออกจากครัวผ่านไปทางหน้าห้องรับแขก เห็นมีแขกนั่งอยู่กับพลเรือตรี กระแส กี่คนไม่ทันสังเกต แต่มีนายเฉลียวจำเลยนั่งอยู่ที่เก้าอี้รอบโต๊ะกลางห้องคนหนึ่ง พยานผ่านห้องรับแขกไปแล้วพบนายตี๋นั่งอยู่ที่ม้านั่งใต้ต้นมะม่วงห้องรับแขก เมื่อกลับจากซื้อข้าวโพด พยานเดินผ่านหน้าห้องรับแขกอีก สังเกตเห็นมีแขกนั่งอยู่กับพลเรือตรี กระแส ในห้องรับแขก 3–4 คน ง. ขุนเทพประสิทธิ์ นายชวน จนิษฐ์ และหลวงแผ้วพาลชน เบิกความประกอบกันว่า เมื่อเดือนมีนาคม 2491 นายตี๋ ศรีสุวรรณ ซึ่งเป็นคนคุ้นเคยกับขุนเทพฯ ได้ไปพักอยู่ที่บ้านขุนเทพฯ คืนวันหนึ่งหลังจากพักอยู่แล้ว 2-3 วัน ซึ่งตรงกับวันที่ 11 มีนาคม 2491 (ขุนเทพฯ บันทึกไว้ในสมุดพก) นายชวนมาคุยที่บ้านขุนเทพฯ ตามที่เคยมา นายตี๋ร่วมวงคุยด้วย ชั้นแรกคุยกันถึงเรื่องอื่นๆ แล้วเลยมาถึงเรื่องกรณีสวรรคต วิพากวิจารณ์โต้เถียงกันระหว่างขุนเทพฯ กับนายชวนว่าใครเป็นคนปลงพระชนม์ในหลวง นายปรีดีจะรู้เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ารู้ได้รู้เบื้องต้นหรือรู้เมื่อภายหลัง โต้เถียงกันอยู่นาน นายตี๋ได้ฟังการโต้เถียงนั้นแล้วอดอยู่ไม่ได้ พูดโพล่งออกมาว่า “ลื้อสองคนไม่รู้จริงหรอก อั๊วนี่ถึงจะรู้จริงว่าใครฆ่าในหลวง” ขุนเทพฯ และนายชวนอยากรู้ความจริง จึงช่วยกันซักถามต่อไป นายตี๋ตอบเป็นทำนองว่า หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นหัวหน้าคิดปลงพระชนม์ในหลวง ก่อนถูกปลงพระชนม์ เข้ามีการประชุมกันมาตั้งเดือนแล้วที่บ้านข้าราชการผู้ใหญ่ผู้หนึ่ง และว่านายตี๋อยู่ในบ้านนั้นด้วยจึงรู้ ซักถามถึงข้าราชการผู้ใหญ่นั้นว่าเป็นใคร นายตี๋ไม่ยอมบอก อ้างว่าเป็นผู้มีบุญคุณ เกรงจะเป็นที่เสียหาย นายตี๋ได้กำชับเป็นนักหนาว่ารู้แล้วอย่างนี้อย่างไปพูดให้ใครฟังต่อไป ครั้นนายชวนกลับไปแล้ว ขุนเทพฯ นึกถึงบ้านข้าราชการผู้ใหญ่ที่นายตี๋พูดก็เข้าใจว่าเป็ยบ้านพลเรือตรี กระแส จึงถามนายตี๋โดยเฉพาะตัว นายตี๋ก็รับว่าใช่ แล้วขยายความให้ขุนเทพฯ ฟังต่อไปว่า มีคนไปประชุมกันที่นั่นหลายคนและหลายครั้ง ผู้ที่ไปประชุมกระหลวงประดิษฐ์ฯ มีนายเฉลียว นายชิต นายตุ๊ โดยได้ยินเขาเรียกชื่อกัน นอกจากนั้นไม่รู้จักชื่อ เมื่อขุนเทพฯ ได้ทราบจากนายตี๋เช่นนั้น เกิดกังวล ในที่สุดตัดสินใจจะบอกความแก่เจ้าหน้าที่ ต่อมาวันที่ 30 พฤษภาคม 2491 ตรงกับวันอาทิตย์เวลาเช้าไปเที่ยวตลาดนัดท้องสนามหลวง เผอิญพบหลวงแผ้วพาลชน ซึ่งเคยรู้จักกันมาแต่เล็ก จึงถือโอกาสเล่าเรื่องที่ทราบจากนายตี๋ หลวงแผ้วพาลชนขอติดต่อกับนายตี๋ ขุนเทพฯ จึงโทรเลขถึงนายตี๋ว่าต้องการพบด่วน เมื่อนายตี๋ลงมาที่บ้านขุนเทพฯ ตามโทรเลขแล้วขุนเทพฯ ลอบโทรศัพท์ถึงหลวงแผ้วพาลชนว่านายตี๋มาแล้ว ให้มาพบ อย่าแต่งเครื่องแบบ หลวงแผ้วพาลชนก็มาที่บ้านขุนเทพฯ แนะนำให้นายตี๋รู้จักว่าเป็นเพื่อนเรียนหนังสือมาตั้งแต่เล็ก ร่วมคุยกันถึงเรื่องการค้าสักครู่ แล้วคุยถึงข่าวการสวรรคต ขุนเทพฯ ว่านายตี๋นี่แหละรู้ข่าวสวรรคตดี หลวงแผ้วฯ ถามนายตี๋ 2-3 คำ แล้วแสดงตัวว่าเป็นตำรวจ นายตี๋ตกตลึงนิ่งอึ่งอยู่ ขุนเทพฯ ก็ปลอบว่าจงเห็นแก่ชาติ เกิดมาตายครั้งเดียว นำเรื่องให้ตำรวจทราบสักหน่อย ครั้งแรกนายตี๋ไม่พอใจแต่ในที่สุดก็ยอมไปให้ถ้อยคำแก่เจ้าหนักงาน เสร็จแล้วกลับมาต่อว่าขุนเทพฯ ว่า บอกแล้วอย่างบอกตำรวจ ทำไมจึงบอก มาต้มกันทีแรกคิดว่าโทรเลขเรื่องไม้ หลังจากได้นายตี๋เป็นพยานแล้ว จึงได้ดำเนินการเรียกตัวพลเรือตรี กระแสและนางสาวทองใบมาสอบสวนเป็นพยานดังกล่าว พึงสังเกตว่า พยานชุดนี้ต่างรู้ต่างเห็นเบิกความเกี่ยวโยงติดต่อกันเป็นลำดับ ประกอบเจือสมกันตลอดสาย มิใช่เป็นเพยานโดดเดี่ยวขึ้นมาลอยๆ และไม่มีทีท่าว่าแกล้งเสกสรรปั้นเรื่องขึ้นเลย ตามพยานหลักฐานที่ได้ความมานี้ ศาลนี้เห็นควรฟังได้ว่า นายเฉลียว นายชิต กับพวกไปที่บ้านพลเรือตรี กระแสก่อนหน้าวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคตจริงดั่งคำพยาน ส่วนปัญหาว่า ไปเพื่ออะไรนั้น พลเรือตรี กระแสว่า นายปรีดีเยี่ยมพูดกันเรื่องค้าไม้ ก็เมื่อยังไม่ได้ลงมือค้าจริงจัง เหตุใดจึงต้องพากันไปตั้งหลายคน และถ้าจำเลยไปที่บ้านพลเรือตรี กระแสโดยสุจริตแล้ว ก็ไม่น่าจะปิดบังถึงแก่เบิกความปฏิเสธข้อนี้ เมื่อยิ่งระลึกถึงกริยาอิดเอื้อนเป็นเวลานานหลายชั่วโมงของพลเรือตรี กระแสในการตอบคำถามชั้นสอบสวนถึงข่อนี้ประกอบด้วยแล้ว ย่อมส่อให้เห็นข่อพิรุธว่า มิได้ไปมาหาสู่กันอย่างปกติ ส่วนถ้อยคำของพวกที่จะไปพูดจากันอย่างใดบ้าง เพื่อแสดงให้เห็นความประสงค์ของผู้พูดนั้น ตอนนี้พยานโจทก์เบาบาง มีแต่คำนายตี๋ ถึงได้จะแย้มพรายความข้อนี้แก่ผู้อื่นอย่างลับๆ โดยยั้งใจไม่อยู่และมิได้มุ่งหมายจะให้เป็นเรื่องราวเกิดขึ้น แล้วตนก็กลับไปอยู่ต่างจังหวัดห่างไกล ไม่น่าจะถูกสงสัยว่า เป็นผู้เสกสรรปั้นเรื่องขึ้นก็ดี แต่พยานที่สนับสนุนนายตี๋ให้ข้อที่พูดจาดั่งนั้นหามีไม่ นายตี๋อาจได้ยินได้ฟังถ้อยคำบางคำแล้วเสริมความหรือหมายความให้เกินไปกว่าความจริงของถ้อยคำก็ได้ หรืออาจได้ยินข้อความเหล่านั้นจนจับเนื้อความได้ก็ได้ ให้เหตุการณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ศาลนี้เห็นว่าจะฟังความหรือถ้อยคำที่พูกกันให้เป็นแน่อย่างใดอย่างหนึ่งยังไม่ถนัด ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัยว่าใครเป็นผู้ประทุษร้ายพระองค์ท่าน โจทก์มีพยาน 2 ชุด ชุดหนึ่งรู้เห็นว่า เรือเอก วัชรชัยปรากฏตัวในพระบรมมหาราชวังตอนก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ ความว่า เช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ราว 8.00 นาฬิกา เรือเอก วัชรชัยนั่งรถยนต์ไปลงที่กระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาจวน 9.00 นาฬิกา มีผู้เห็นเรือเอก วัชรชัยเดินอยู่แถวหน้าโรงลครหลังพระที่นั่งบรมพิมาน โฉมหน้าจะไปยังพระที่นั่ง เมื่อเสียงปืนดังแล้วมีผู้เห็นเรือเอก วัชรชัยเดินลงบันไดพระที่นั่งบรมพิมานด้านหลังไปอย่างรีบร้อน แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีใครได้เห็นเรือเอก วัชรชัยขึ้นไปบนพระที่นั่งและได้ทำอะไรอย่างไรบ้าง พยานอีกชุดหนึ่งนำสืบว่า ก่อนวันสวรรคต นายสี่หรือนายชูรัตน์ได้บอกแก้ร้อยตรี กรี พิมพกร คนชอบกันตั้งแต่ครั้งต้องโทษอยู่ในเรือนจำว่า นายชาติ เศรษฐทัต พวกของนายปรีดีได้ว่าจ้างนายสี่หรือชูรัตน์ให้ยิงคำสำคัญ สัญญาให้ค่าจ้างสี่แสนบาท รับปากไว้แล้วรุ่งขึ้นจากวันสวรรคต นายสี่หรือชูรัตน์ได้ไปหาร้อยตรีกรี ร้องไห้บอกว่าที่รับจ้างยิงคนสำคัญนั้น คือ ยิงในหลวง โดยมีผู้นำตัวเขาเข้าไปในวังก่อนสวรรคตวันหนึ่งหรือสองวันเพื่อให้ยิง ผู้ที่รอรับอยู่ในวัง คือ นายชิต นายบุศย์ แต่นายสี่หรือชูรัตน์ไม่กล้ายิงจึงหลบออกมาเสีย ส่วนผู้ที่ยิงในหลวง คือ เรือเอก วัชรชัย และว่าตำรวจกำลังติดตามจะยิงเขาอยู่ จึงขออาศัยอยู่กับร้อยตรี กรีด้วย ปรารภว่า จะตามไปฆ่าเรือเอก วัชรชัยให้ได้ ขอให้ร้อยตรี กรี ช่วยพาไปหาพลโท พระยาเทพหัสดินฯ เพื่อจะฝากลูกเมีย พระยาเทพหัสดินฯ ฟังเรื่องแล้วห้ามปรามแนะนำให้รักษาตัวให้ดี เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามกฎหมายยังมีอยู่ ในที่สุดบอกปัดไม่ยอมรับให้อาศัยอยู่ด้วย นายสี่หรือชูรัตน์จึงมาอาศัยอยู่กับร้อยตรี กรี ต่อมาสัก 1 เดือนก็จากไป ว่าจะไปอยู่กับร้อยตำรวจเอกเฉียบ ชัยสงค์ แล้วก็หายสาปสูญไป เฉพาะคำที่พาดพิงมาถึงนายชิต นายบุศย์ คงมีแต่ร้อยตรี กรีผู้เดียวเท่านั้นที่อ้างว่าได้รับคำบอกเล่าจากนายสี่หรือชูรัตน์ พระยาเทพหัสดินฯ หาได้รับคำบอกเล่าละเอียดถึงเพียงนั้นไม่ พยานสองชุดนี้ยังไม่เป็นหลักฐานพอจะชี้ได้ว่า ใครเป็นผู้ลงมือกระทำการลอบปลงพระชนม์ ต่อไปนี้จะได้วินิจฉัยถึงตัวนายชิต นายบุศย์ จำเลย ซึ่งอยู่ในที่นั้นเสียก่อนว่าเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ทางที่ผู้ร้ายจะปีนป่ายขึ้นมาบนพระที่นั่งนั้น ตามคำพยานได้ความว่าไม่มีร่องรอยอย่างใดเลย บนพระที่นั่งมีทางเข้าออกห้องพระบรรทมได้ 3 ทาง ด้านกลาง (คือ ทางห้องทรงพระสำราญ ซึ่งติดกับห้องพระบรรทมๆ อยู่ทางตะวันออก) ด้านหน้า (เหนือ) และด้านหลัง (ใต้) ด้านกลางมี 3 ช่องหรือ 3 ประตู มีฉากกลั้นและลงกลอนข้างในทางห้องพระบรรทมทั้ง 3 ช่อง ส่วนภายนอกฉากซึ่งเป็นห้องทรงพระสำราญ มีตู้ โต๊ะ เก้าอี้วางกันอยู่ เป็นอันว่าทางด้านกลางนี้ไม่ได้ใช้เป็นทางเข้าออก ด้านหน้า (เหนือ) มรประตูเดียว จากเฉลียงเข้าประตูถึงห้องทรงพระอักษรส่วนพระองค์แล้วถึงห้องพระบรรทม ประตูด้านนี้มีฉากลงกลอนในเช่นเดียวกัน ได้ความว่าจะปิดต่อเมื่อพระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินออกไปเสวยพระกระยาหารเช้าที่ห้องเฉลียงด้านหน้าตามคำนายบุศย์ จำเลย ว่า ในคืนวันที่ 8 มิถุนายน นั้น เมื่อพระองค์ท่านเสด็จเข้าที่บรรทมแล้ว นายบุศย์เป็นผู้ลงกลอนที่ฉากด้านในโดยเรียบร้อยตามหน้าที่ด้วยมือของตนเอง ต่อนี้ไปจนกระทั่งพระองค์ท่านต้องกระสุนปืน ไม่ปรากฏว่ามีใครเข้าออกทางประตูนี้อีก จนเมื่อสมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จจากห้องพระบรรทมกลับออกทางด้านเหนือนี้ นายชิต จำเลย ยังต้องเปิดฉากถวาย คดีเป็นอันฟังได้ว่า ทางด้านหน้า (เหนือ) นี้ปิดอยู่ตลอดเวลา นับแต่เสด็จเข้าที่พระบรรทมไปจนภายหลังพระองค์ท่านต้องกระสุนปืนแล้ว และเพิ่งจะถอดกลอนเปิดฉากในตอนสมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จออกจากห้องพระบรรทม ห้องทรงพระอักษรออกไปนี้เอง คงมีทางเข้าออกห้องพระบรรทมทางเดียวทางด้านหลัง (ใต้) ซึ่งนายชิต นายบุศย์ นั่งเฝ้าอยู่ที่เฉลียงหน้าประตู เป็นทางเข้าห้องแต่งพระองค์แล้วสู่ถึงห้องพระบรรทม แม้จำเลยเองก็ให้การต่อสู้คดีไปในทางว่า ไม่มีทางอื่นที่ผู้ร้ายจะเข้าไปสู่ห้องบรรทมได้ ฉะนั้น ผู้ร้ายที่เข้าออกห้องบรรทม จะต้องผ่านที่ที่นายชิต นายบุศย์นั่งอยู่ ต่อไปนี้จะได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนายชิต จำเลย ต่อไป นายชิตเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม มีเวรผลัดเปลี่ยนกับนายบุศย์ ให้ขณะเกิดเหตุเป็นเวรของนายบุศย์ แต่นายชิตได้ไปนั่งอยู่หน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์กับนายบุศย์ด้วย กรณีมีเหตุที่ควรพิจารณาคือ 1. นายชิต รีบวิ่งไปทูลเสด็จต่อสมเด็จพระราชชนนีว่า ในหลวงยิงพระองค์ ข้อความนี้นายชิตเพียงแต่เห็นพระองค์ท่านทรงบรรทมหงายอย่างปกติและมีพระโลหิตที่พระนลาดเท่านั้น เหตุใดจึงว่า ท่านทรงยิงพระองค์เอง ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวเพื่อกลบเกลื่อนเรื่องร้ายแรงให้หายสูญ ข้อนี้นายชิตกล่าวแก้ว่า พูดผิดเพราะเข้าใจผิดว่าไม่มีใครเข้าไปทำพระองค์นั้น ไม่มีเหตุอันควรเชื่อฟังเลย 2. ในเวลากระชั้นชิดกับที่เสด็จสวรรคต นายชิตยังได้แสดงกิริยาวาจาและท่าทางอย่างเป็นจริงเป็นจัง ถึงกับทำท่านอนหงายจับปืนจ่อหน้าผากต่อหน้าพระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ ณ พระที่นั่งทั้งๆ ที่ตนไม่รู้เห็น และเมื่อพันเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร ราชองครักษ์ถามเรื่องสวรรคต นายชิตตอบว่าทรงยิงพระองค์เอง ครั้นถามถึงสาเหตุนายชิตก็ว่า ทรงมีเรื่องกับสมเด็จพระราชชนนีไม่ได้ร่วมโต๊ะเสวยกันมา 2-3 วันแล้ว ซึ่งล้วนแต่เป็นการเพทุบายกล่าวเท็จโดยจงใจทั้งสิ้น 3. นายชิตว่า เช้าวันนั้นนายชิตไปว่าจ้างทำหีบพระตรา ช่างต้องการให้วัดขนาดพระตรา นายชิตจึงมานั่งอยู่กับนายบุศย์ รอให้ตื่นพระบรรทมเพื่อเข้าไปเอาพระตราออกมาวัด ความข้อนี้พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรพยานจำเลยเองเบิกความตัดว่า หีบตัวอย่างที่นำไปมอบแก่ช่างมีรอบบุ๋มตามขนาดดวงพระตราอยู่แล้ว ทั้งนี้แสดงว่า นายชิตไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาวัดพระตรา อนึ่ง พระตราเก็บอยู่ในตู้ห่างจากพระแท่นบรรทม ประมาณ 6 วา มีพระฉากกันระหว่างตู้กับพระแท่น นายชิตคุ้นเคยแก่การเข้าออก เพียงแต่เข้าไปเปิดตู้นำพระตราออกมาวัด ไม่น่าจะถึงแก่ทำให้บังเกิดเสียงดังรบกวนการบรรทม เหตุใดนายชิตต้องรั้งรอการตื่นพระบรรทม คำนายชิตไม่สมเหตุสมผลด้วยประการฉะนี้ กลับเป็นการแสดงว่านายชิดไปนั่งรอเพื่อเหตุ 4. ราวสองสัปดาห์ก่อนหน้าวันสวรรคตเวลาเย็น นางสาวจรูญ ตะละภัฏ ไปหยิบสิ่งของในห้องพระภูษา พบนายชิตอยู่ในห้องนั้น นายชิตพูดขึ้นว่า “นี่จะบอกให้ ท่านไม่เสด็จออกดอก วันที่ 13 นั่น” นางสาวจรูญถามว่า “เพราะอะไร” นายชิตนิ่งเฉยเสีย นางสาวจรูญจึงว่าไม่เชื่อหรอก นายชิตหัวเราะแล้วพูดว่า “ไม่เชื่อก็แล้วไป คอยดูไปก็แล้วกัน” นางสาวจรูญเข้าใจว่า นายชิตล้อเล่นเพราะเห็นกะตือรือล้นเตรียมการตามเสด็จต่างประเทศ ต่อมาคืนวันที่ 8 มิถุนายน 2489 นางสาวจรูญได้เล่าความตามที่ได้พูดโต้ตอบกับนายชิตให้สางสาวนิภาน้องสาวฟัง เป็นทำนองคุยกันตามธรรมดา ครั้นเกิดเหตุสวรรคตขึ้นพันตำรวจตรี พจนาถ จันทรสุวรรณ เป็นผู้สอบสวนนางสาวจรูญ นอกจากข้ออื่น นางสาวจรูญก็ได้ก็ได้ให้การถึงข้อความนี้ด้วย ในชั้นกรรมการศาลกลางเมืองสวบสวนก็ได้ให้การไว้เช่นเดียวกัน สมเด็จพระราชชนนีก็ได้พระราชทานพระกระแสรับสั่งเป็นพยานว่า นางสาวจรูญเคยกราบทูลว่า มหาดเล็กคนหนึ่งพูดว่า ในหลวงจะเสด็จในวันที่ 13 ไม่ได้ เขาบอกชื่อมหาดเล็กคนนั้นเหมือนกัน จะเป็นนายชิตหรือนายบุศย์คนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ทรงจำไม่ได้เสียแล้ว ฉะนั้น คำเบิกความของนางสาวจรูญจึงประกอบด้วยน้ำหนักหลักฐานควารฟังเป็นความจริงได้ นอกจากนี้ นายมี พาผล ยังเบิกความยืนยันว่า นายชิตได้พูดแก่นายมีโดยทำนองเดียวกันโดยเช้าวันหนึ่งก่อนเสด็จสวรรคต ขณะที่นายมีกำลังอยู่เวรบนพระที่นั่งชั้นบน นายชิตได้มาคุยด้วย ตอนหนึ่งนายชิตพูดว่า “แปลกในทำไมนายหลวงจึงเสด็จกลับในวันที่ 13 ฝรั่งเขาถือ” นายมีตอบว่า “ท่านไม่ทรงถืออย่างฝรั่งเพราะท่านเป็นไทยท่านก็เสด็จกลับได้” นายชิตว่า “ท่านจะไม่ได้เสด็จน่ะนา นายมีว่าก็โหรให้ฤกษ์แล้วท่านก็คงจะเสด็จ นายชิดพูดในที่สุดว่า ท่านจะไม่ได้เสด็จนา หลังจากให้การที่ศาลกลางเมืองแล้วสัก 2-3 วัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้รับสั่งให้นายมีเข้าเฝ้า ทรงซักถามว่าได้รู่เรื่องอะไรให้เล่าถวาย นายมีจึงกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงข้อความที่นายชิดพูดคำยกันดังที่กล่าวมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ได้พระราชทานพระราชกระแสรับสั่งเป็นพยานว่า ภายหลังเสด็จสวรรคตแล้ว 2-3 อาทิตย์ นายมี พาผล เคยกราบทูลว่านายชิตพูดว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้ ตามคำพยานหลักฐานที่กล่าวมานี้ เป็นอันฟังได้ว่า นายชิตได้พูดเช่นนั้นจริง เป็นการพูดยืนยันรู้ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ใช่เป็นการแสดงความคิดเห็น พูดออกมาโดยความแน่ใจและอดใจไว้ไม่อยู่ เป็นข้อที่ส่อให้เห็นว่า เพราะนายชิตได้ล่วงรู่เหตุร้ายซึ่งจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันใกล้มั่นใจในความสำเร็จตลอดปลอดโปร่งด้วยความอิ่มใจและทนงใจ จึงกล้าเผยข้อความออกมาเป็นนัย เพื่อสำแดงความศักดิ์สิทธิ์ของตนว่าเป็นคนรู้ความสำคัญอันลี้ลับ 5. ได้ความตามคำพระพิจิตรราช สาน์สผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์ว่า ในวันเสด็จพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2489 ตามหมายกำหนดการเวลา 10.00 นาฬิกาแต่พระองค์สายสพายนพรัตน์ พยานมีหน้าที่ตามเสด็จได้ไปถึงพระที่นั่งบรมพิมานเวลา 9.00 นาฬิกาเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกวักพระหัตถ์เรียกให้ขึ้นไป รับสั่งว่า ช่วยดูทีเถิด เขา (นายชิตจำเลย) ติดเหรียญตราให้แยะเชียว แล้วทรงนำพยานไปดูฉลองพระองค์ ขณะนั้นนายชิตกำลังจัดฉลองพระองค์ติดเหรียญอยู่แถบหนึ่งประมาณ 10 กว่าเหรียญ พยานเห็นว่าไม่ใช่เหรียญสำหรับพระองค์ ถามนายชิตว่า นี่เหรียญของใคร นายชิตว่า เหรียญของรัชกาลที่ 6 พยานว่าติดไม่ได้ ไม่ใช่เหรียญของท่าน ให้เอาออกเสีย พยานเห็นสอดสายสพายนพรัตน์ไว้แล้ว แต่ไม่มีดวงตราและดวงห้อย ถามนายชิตว่า ดวงดาราอยู่ที่ไหน นายชิตว่ายังให้คนไปเอาอยู่ พอดีสมเด็จพระราชชนนีเสด็จมารับสั่งถามว่าอย่างไรกัน พยานกราบทูลว่า ยังรอดารากับดวงห้อย สมเด็จฯ รับสั่งว่า พระพิจิตรฯ ช่วยดูให้ด้วยนะ ฉันจะล่วงหน้าไปก่อน พยานดูนาฬิกาเห็นจวนเวลาเต็มที่จะไม่ทันฤกษ์ตามหมายกำหนดการ จึงสั่งให้เปลี่ยนเครื่องฉลองพระองค์ใช้สายสะพายจักรีแทน ไม่ตรงตามหมายกำหนดการ ระหว่างเปลี่ยนสายสะพายอยู่ นายชิตทำไปพูดไป ในหลวงสั่งว่าทำไปไม่ต้องพูด พยานรู้สึกว่า ทรงกริ้ว การกระทำของนายชิตในข้อนี้ส่อให้เห็นว่า นายชิตดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีเจตนาให้พระองค์ท่านทรงได้รับความอัปยศในงานพระราชพิธีท่ามกลางรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม จะเป็นเหตุให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดในพระราชจริยาวัตร ส่วนนายบุศย์ จำเลย นั้น แม้โจทก์จะมิได้สืบถึงข้อพิรุธนานาประการอย่างเช่นนายชิต แต่การที่นายบุศย์มีหน้าที่อยู่เวรคอมเฝ้าอารักขาพระองค์ท่านอย่างใกล้ชัดขณะยั่งไม่เสด็จจากพระแท่นบรรทมนับว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างยิ่ง และผู้ร้ายเข้าออกจากต้องผ่านทางระเบียงหลังที่นั่งอยู่ แต่นายบุศย์มิได้ทำการขัดขวางป้องกันหรือเอะอะโวยวายขึ้น หรือแม้จะสมมติว่า ผู้ร้ายจะเข้าออกทางห้องทรงพระสำราญได้ ก็ปรากฏว่าทางห้องทรงพระสำราญติดกับเฉลียงด้านหลังมีช่องโค้งโล่งส่องช่อง ไม่มีบานประตู จากที่นายบุศย์นั่งอยู่ นายบุศย์ก็ย่อมแลเห็นได้เพราะบรรทมในขณะที่ทรงบรรทมอยู่ นายบุศย์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงก็มิได้เข้าไปดูให้เห็นเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร กลับอ้างในชั้นสอบสวนว่าไม่กล้าเข้าไปเพราะกลัวจะถูกหาว่ายิงในหลวง การกระทำหรืองดเว้นกระทำของนายชิต นายบุศย์ จำเลยทั้งสองเช่นนี้ ไม่มีทางให้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น นอกจากจะฟังได้ว่า จำเลยสองคนนี้อย่างน้อยก็เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปรงพระชนม์ด้วย นายเฉลียว ปทุมรส จำเลย มีข้อควรที่วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ (1) เป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เดิมรับราชการอยู่ในกรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้โอนไปรับราชการในกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ แล้วโอนไปรับราชการในกรมสรรพสามิต จน พ.ศ.2480 ลาออก ในปีนั้นเองเข้ารับราชการในสำนักพระราชวัง ต่อมาเลื่อนเป็นรองเลขาธิการพระราชวัง พ.ศ.2487 ย้ายไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ ทั้งนี้เป็นด้วยทางการเมืองเข้าไปครอบงำราชการในพระราชสำนัก นายเฉลียวนั้น นอกจากมีจิตใจฝักใฝ่กับนายปรีดีมาก่อนนานแล้ว เมื่อนายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมบูรณ์ด้วยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่เพียงผู้เดียว นายเฉลียวก็ยิ่งมีอำนาจยิ่งขึ้น นายเฉลียวดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ได้ 3 เดือน แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนิวัติพระนคร นายทวี บุณยเกตุ รองนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งลงวันที่ 8 ธันวาคม 2488 ว่า เพื่อให้มีความเรียบร้อยและเหมาะสม เป็นการสมควรจัดให้มีข้าราชการผู้ใหญ่ประจำพระองค์ เพื่อถวายพระราชกรณียกิจและรับพระกระแสพระบรมราชโองการต่างๆ ให้เป็นที่เรียบร้อย จึงให้นายเฉลียวซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ มีหน้าที่ติดต่อใกล้ชิดพระองค์อยู่แล้ว ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวประจำพระองค์อีกหน้าที่หนึ่งด้วย ด้วยเหตุเหล่านี้ นายเฉลียวจึงตั้งสำนักงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตึกหน้าพระที่นั่งบรมพิมานภายในประตูเหล็กกล้า ซึ่งน่าหวังว่ากิจการจะเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่ปลอดภัย แต่กลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม นายฉันท์ หุ้มแพร มีความหวั่นหวาดและปรารภแก่บุคคลหลายคนว่า เกรงจะมีภยันตรายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมตัวระวังเหตุการณ์อย่างเต็มที่ แต่มาตายเสียก่อนเกิดกรณีสวรรคต (2) ว่าถึงในหน้าที่ราชการในพระราชสำนักแล้ว นายชิตและ นายบุศย์ จำเลย อยู่ในบังคับบัญชาของนายเฉลียว (3) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนคร ทางราชการได้จัดรถเชฟโรเลตและรถแนชถวายเป็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ ถ้าจะเสด็จเป็นพระราชพิธี หรือรัฐพิธีแล้วก็ใช้รถโรลลอยด์กับรถเดมเล่อ วันหนึ่งหลังจากเสด็จกลับจากหัวหิน สมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จทรงไปซื้อของ นายฉันท์ หุ้มแพร จึงสั่งให้นายระวิ ผลเนื่องมา หัวหน้าแผนกพระราชพาหนะจัดรถยนต์ถวาย นายระวิขัดข้องว่ารถไม่มีทั้งนี้เป็นเพราะก่อนเสด็จหัวหินรถสองคันนี้ยังอยู่ แต่เมื่อเสด็จกลับจากหัวหินแล้วปรากฏว่ารถเชฟโรเลตนั้น นายเฉลียวจัดส่งไปให้นายปรีดีใช้ ส่วนรถแนชสำนักพระราชวังส่งไปกรมพาหนะทหารบกเพื่อซ่อมไว้ให้แขกเมืองใช้ จึงเป็นอันว่า รถพระที่นั่งสำหรับทรงใช้ส่วนพระองค์ไม่มี นอกจากนี้ก็มีแต่รถใช้งานพระราชพิธีและรถมอริส เป็นรถประทุน ทาสีน้ำเงินใช้สำหรับท้าวนางหรือหม่อมเจ้า นายฉันท์ดูรถนั้นแล้วว่า น่าจะไม่โปรด จะกลับไปกราบบังคมทูลก่อน สักครู่หนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปทอดพระเนตรและรับสั่งถามว่ารถคันนี้หรือที่จะจัดถวายสมเด็จพระราชชนนี แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรที่โรงรถ ไม่ทรงโปรดรถคันใด ต่อมานัยฉันท์จึงไปสั่งนายระวีว่าให้หารถที่คเยทรงมาถวายในตอนบ่ายให้ได้ นายระวีจึงติดต่อไปทางกรมพาหนะทหารบก ได้ความว่ายังไม่ได้รื้อเครื่อง ตอนบ่ายจึงนำเอาไปจอดถวายที่หน้ามุขพระที่นั่งบรมพิมาน พอสมเด็จพระราชชนนีเสด็จลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จตามมาส่ง และทรงรับสั่งว่า “รถที่ไหนๆ ไม่มีแล้วหรือ จึงมาเอารถของฉันไปเสียหมด” นายระวีกราบบังคมทูลว่า ทางราชการสั่งให้เอาไปก็ขัดไม่ได้ วันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระกระแสรับสั่งกับพระยาชาติเดชาอุดมว่า เมื่อเข้านี้ สดเด็จพระราชชนนีจะเสด็จไปซื้อของ เรียกรถไม่ได้ ถามเขา เขาว่านายเฉลียวจัดเอาไปให้นายปรีดีใช้ เพราะรถของนายปรีดีเสีย ในที่สุดทรงรับสั่งว่า “ทำไมของคนอื่นจึงขาดไม่ได้ แต่ของฉันขาดได้ ถ้าเช่นนั้นไฟไหม้ทำเนียบท่าช้างฉันมิต้องเอาวังให้อยู่หรือ เรื่องผู้คนก็เหมือนกัน เอาไปจากราชเลขาก็มี สำนักพระราชวังก็มี ทำไมไม้ตั้งขึ้นเอง” เมื่อเกิดเรื่องรถยนต์ที่กล่าวมานี้ นายปรีดีไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับสำนักพระราชวังแล้ว การจึงเป็นว่านายเฉลียวได้ใช้อำนาจและหน้าที่ซึ่งตนปกครองอยู่สั่งให้จัดไปเพื่อประโยชน์ของนายปรีดี เป็นการขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พฤติการณ์เรื่องรถพระที่นั่งนี้ ต่อมาได้เกิดปฏิกิริยา คือหลังจาวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับนายระวิประมาณ 15-20 วัน รถแนชพระที่นั่งคันนั้นหายไปจากโรงเก็บรถในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน ทั้งๆ มีเวรยามเผฝ้ารักษา ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ร้านแสดงอำนาจเหยียบหยามพระองค์ท่าน ในการที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ แต่ครั้งนี้ใครเป็นผู้กระทำหรือสั่งการนั้นเป็นเรื่องยังไม่กระจ่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้องพระราชหฤทัยมาก มีพระประสงค์จะพบนายปรีดี แต่พระยาชาติเดชอุดมกราบบังคมทูลว่า ได้ให้พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจจัดการสืบหาคนร้ายอยู่แล้ว ถึงกระนั้นยังทรงพระราชอุสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในตอนกลางคืนหนึ่งว่าเก็บอย่างไรและยามอยู่ตรงไหน หลังจากนั้นก็ยังได้ทรงเตือนถามพระยาชาติฯ อีก 2-3 ครั้งว่า ได้ความอย่างไรหรือยัง และได้เคยทรงถามพระรามอินทรา ในที่สุดก็หาได้ตัวผู้ร้ายไม่ เหตุการณ์ได้บังเกิดขึ้นในพระราชสำนัก เกี่ยวแก่ราชกรณียกิจแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้ น่าที่นายเฉลียวจะจัดการให้ได้เรื่องได้ราว เพราะมีสมัครพรรคพวกเป็นอันมากตลอดทั้งคนรถ แต่หาปรากฏว่าได้นำพาเป็นกิจธุระประการใดไม่ ส่วนที่นายเฉลียวกระด้างกระเดื่องต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น พึงเห็นได้จากอาการที่แสดงออกต่างๆ หลายประการดังเช่นจะกล่าวต่อไปนี้ (ก) นายเฉลียวนั่งรถยนต์ล่วงล้ำไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมานซึ่งเป็นพระราชฐานภายใน ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับ ฝืนระเบียบประเพณี บางครั้งนั่งไขว่ห้างเข้าไป ทรงทราบถึงพระเนตรพระกรรณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชชนนีเนืองๆ (ข) เวลานายเฉลียวนำหนังสือไปทูลถวายฯ เกล้า สรวมแว่นดำและสูบบุหรี่พรวดพราดขึ้นไป ไม่ได้บอกมหาดเล็กไปกราบบังคมทูลเสียก่อนตามระเบียบ ต่อเมื่อเห็นพระองค์จึงถอดแว่นและทิ้งบุหรี่ บางทีเมื่อถึงชั้นบนแล้วจึงถอดพลางเดินพลาง ชั้นบนไม่มีกระโถน นายเฉลียวก็โยนบุหรี่ทิ้งลงกับพื้น มหาดเล็กต้องคอยรีบเก็บเพราะเกรงจะไม้พรม ระเบียบประเพณีการเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือราชการ ถ้าเลขาฯ อ่านหนังสือราชการถวาย ตามธรรมดาจะต้องหมอบอ่าน ถ้าพระองค์ท่านประทับอยู่บนพระเก้าอี้ทรงพระอักษร ผู้อ่านก็จะต้องคุกเข่าเข้าไปใกล้ๆ โต๊ะทรงพระอักษร แล้วจึงอ่านหนังสือราชการนั้น ส่วนนายเฉลียวเข้าไปยืนอ่านใกล้ๆ โต๊ะทรงพระอักษร เมื่ออ่านถวายแล้วก็จะต้องกราบบังคมทูลว่า เรื่องต่างๆ ที่เคยปฏิบัติมานั้นจะควรสั่งอย่างไร ถ้าทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย ก็หมอบเขียนบันทึกในหนังสือราชการเป็นพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ถวายให้ทรงลงพระบรมนามาภิไธย แต่นายเฉลียวคงยืนเขียนบันทึกบนโต๊ะทรงพระอักษรนั้นเอง แล้วเลื่อนหนังสือให้ทรงลงพระบรมนามาภิไธย (ค) นายเฉลียวเปิดวิทยุที่ตึกที่ทำงาน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งบรมพิมาน ถึงเวลาบรรทมก็ยังหาหยุดเปิดไม่ จนมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ที่นั่นเขาทำอะไรกันอยู่จนดึกดื่น (4) การที่นายเฉลียวจำต้องพ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ เพราะปฏิบัติตนไม่ต้องด้วยพระราชประสงค์ ย่อมเป็นเหตุกระทบกระเทือนจิตใจนายเฉลียวอย่างแรง ข้อที่นายเฉลียวว่าไม่เสียใจ เพราะไปได้รับตำแหน่งใหม่ เป็นสมาชิกวุฒิสภานั้น ข้อนี้ไม่เป็นเหตุผลที่จะให้เห็นว่า นายเฉลียวจะหายโกรธเคืองพระองค์ท่าน (5) ได้วินิจฉัยมาแล้วว่า บุคคลผู้ที่ไปประชุมที่บ้านพลเรือตรี กระแส มีนายชิดกับนายเฉลียวด้วย นายชิตเป็นผู้สมคบร่วมมือกับผู้ร้ายในการกระทำการปลงพระชนม์ ส่วนนายเฉลียวก็เป็นผู้ขาดความจงรักภักดี มีสาเหตุไม่พอใจในการที่ถูกออกจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระราชหฤทัยที่จะให้ดำรงอยู่ และนายชิตเป็นผู้สนิทชิดชอบและคุ้นเคยกันเป็นอันมาก คนทั้ง 2 นี้กับพวกนี้ได้มาประชุมกันที่บ้านพลเรือตรี กระแส โดยไม่ปรากฏชัดว่าประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เป็นข่อน่าสังเกตประการหนึ่ง (6) โหรถวายพระฤกษ์ และทางราชการได้กำหนดนัดหมายแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จต่างประเทศวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2589 ต้อเป็นที่เข้าใจกันว่าในหลวงจะเสด็จกำหนดในเวลานั้นแน่ เพราะมีกำหนดเป็นทางราชการแล้ว และการกำหนดเช่นนี้ มิใช่แต่เพียงวงราชการในประเทศ ยังเกี่ยวข้องแก่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่จะเสด็จไปพำนักนั้นด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งจะต้องเตรียมการต้อนรับ เพราะจะเสด็จไปในฐานะพระมหากษัตริย์องค์ประมุขแห่งชาติ ตามซึ่งทางต่างประเทศได้ทูลเชิญเสด็จไว้ ฉะนั้น การกำหนดนัดหมายซึ่งจำต้องเป็นการแน่นนอน แต่มีคนบางหมู่รู้ความจริงอย่างเที่ยงแท้ว่า ในหลวงจะไม่ได้เสด็จในวันที่ 13 นั้น ผู้ที่ได้พูดออกมาให้ปรากฏความข้อนี้ ก็คือ 1. นายชิด 2. นายเฉลียว เป็นที่ประหลาดใจว่า บุคคลผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำได้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันถึง 2 คน และบุคคลทั้งสองนั้นก็สนิทชิดชอบกันเป็นอันมากด้วย สำหรับนายชิตได้กล่าวความข้อนี้แก่ใครที่ไหนบ้าง ได้ยกขึ้นกล่าวมาแล้ว ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงนายเฉลียว (ก) กำหนดพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ วันที่ 8 มิถุนายน 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเสด็จแทนพระองค์ตอนกลางคืน 21.00 นาฬิกา เป็นเวลาเผาจริง พันเอก ประพันธ์ กุลพิจิตร์ ได้พบนายเฉลียว ณ ที่นั้น ระหว่างนั่งรออยู่ที่เก้าอี้หน้าพลับพลาได้พูดจาวิสาสะกัน พันเอก ประพันธ์ ได้ถามนายเฉลียวว่า “ทำไมจึงไปกำหนดวันเสด็จวันที่ 13” ทั้งนี้ เพราะพันเอก ประพันธ์ข้องใจโดยที่ฝรั่งเขาถือ นายเฉลียวตอบว่า “ไม่ได้ไปหรอก” พันเอก ประพันธ์ ถามว่า “เพราะอะไร” นายเฉลียวตอบว่า “คอยดูไปก็แล้วกัน” พันเอก ประพันธ์ผู้นี้เป็นราชองครักษ์ประจำกรมราชองครักษ์มาช้านาน ระหว่างเวลาที่นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ยังเป็นอยู่ ขณะนี้นายเฉลียวดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ จึงมีความชอบพอกัน เมื่อนายเฉลียว ปทุมรส จะพ้นจากตำแหน่ง พันเอกประพันธ์ยังเตือนนายเฉลียวด้วยความหวังดีว่า “ไม่ขึ้นไปเฝ้าทูลลาพระเจ้าอยู่หัวหรือ” นายเฉลียวตอบว่า “ไม่ขึ้นไปละ ทำให้ท่านลำบากใจเปล่าๆ เดี๋ยวจะหาว่าขึ้นไปยิงท่านเข้า” ทำให้พันเอก ประพันธ์ รู้สึกในขณะนั้นว่า เคยมีเรื่องที่โคราช นายทหารคนหนึ่งถูกออกแล้วเข้าไปยิงผู้บัญชาการตาย ความสนิทสนมซึ่งนายเฉลียวแสดงต่อพันเอก ประพันธ์มีอยู่ต่อกัน เช่น พันเอก ประพันธ์ อุปสมบท นายเฉลียวนิมนต์ไปฉันที่บ้าน นายเฉลียว จำเลย อ้างตนเป็นพยานก็ยังรับว่า ได้พูดคุยปรารภกันว่า ในหลวงประชงวนลงเช่นนี้ จะเสด็จตามกำหนดหรือไม่ ไม่มีใครพูดว่า วันที่ 13 จะไม่เสด็จ เป็นอันว่าคำของนายเฉลียว จำเลย ก็มีค้าความว่าได้พูดจาในข้อนี้จริง ไม่มีเหตุอันใดที่จะสงสัยว่า พันเอก ประพันธ์ ป้ายร้ายใส่ความ (ข) วันเดียวกัน ในงานพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ ตอนบ่าย นายเฉลียวเรียกเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีไปถึงก่อนในหลวงพระองค์ปัจจุบันเสด็จ นายเฉลียวเรียกเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีเข้าไปหานั่งเก้าอี้เคียงกันกับนายเฉลียว พระพิจิตรราชศาสน์นั่งขวาเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดี นายเฉลียวถามถึงการทำมาหากินของเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดี ในฐานะที่ออกจากราชการไปแล้ว คุยกันสัก 15 นาที ในหลวงองค์ปัจจุบันก็เสด็จถึง เจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีถามขึ้นว่า ทำไมนายหลวงจึงไม่เสด็จซึ่งหมายถึงในหลวงรัชการที่ 8 พระพิจิตรฯ ตอบว่าประชวร เจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีถามว่า ประชวรอะไร พระพิจิตรฯ ว่า ประชวรนาภี ต่อมาอีกสัก 2 นาที นายเฉลียวพูดขึ้นบ้าง ประโยคแรกๆ จะว่ากระไรฟังไม่ศัพท์ ฟังได้แต่ประโยคท้ายว่า “ไม่ได้กลับ” นายเฉลียวพูดขึ้นเบาๆ แต่ไม่ใช่กระซิบ เวลาพูดเอียงตัวยื่นปากมาใกล้ๆ ทางเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีๆ เข้าใจว่าหมายถึงในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่ได้กลับไปเมืองนอก ที่เข้าใจเช่นนี้ก็โดยพูดกันถึงในหลวงประชวร จึงเข้าใจว่าในหลวงคงประชวรหายไม่ทันกำหนดเสด็จกลับเมืองนอก รุ่งขึ้นเป็นวันสวรรคต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีทราบเมื่อเวลาบ่าย 3 โมงเศษ วันแรกทราบว่าถูกปืนโดยแอ๊กซิเดนท์ วันหลังได้ยินโจษกันว่า ปลงพระชนม์เองบ้าง ถูกลอบปรงพระชนม์บ้าง ทำให้นึกถึงคำพูดของนายเฉลียวในวันนั้นที่ว่า “ไม่ได้กลับ” ซึ่งเดิมเจ้าใจว่าในหลวงคงหายประชวรไม่ทันจึงไม่ได้กลับ ไฉนมากลายเป็นสวรรคตเสียจึงไม่ได้กลับ เรื่องช่างมาตรงกันเข้า เมื่อเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีคิดถึงคำพูดของนายเฉลียวแล้ว ก็คิดสงสัยวกเวียนไปมา และคิดว่าถ้าในหลวงถูกลอบปลงพระชนม์จริงแล้ว นายเฉลียวเกี่ยวข้องรู้เห็นด้วย จึงได้พูดขึ้นเช่นนั้น วันหนึ่งเจ้าหมื่นสรรเพ็ชรภักดีได้ไปพบกับพระยาชาติเดชอุดมในงานบำเพ็ญกุศลพระบรมศพในพระบรมมหาราชวัง ได้เล่าคำพูดของนายเฉลียวที่พูดในวันงานพระราชทานเพลิงพระศพพระองค์เจ้าอาทิตย์ฯ นั้น ให้พระยาชาติเดชอุดมฟัง ซึ่งความข้อนี้ พระยาชาติเดชอุดมก็เบิกความรับรองว่าเป็นความจริง การที่นายเฉลียวพูดความข้อนี้ น่าจะเป็นพระความกระหยิ่มอิ่มใจและมั่นใจในความสำเร็จ ไม่เห็นมีทางเป็นภัยประการใด คำที่นายเฉลียวพูดนี้เป็นการยืนยันเหตุการณ์ภายหน้าอย่างแน่ชัด มิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยอาศัยเหตุใดเกตุหนึ่ง ซึ่งมิอาจตีความเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากว่าเพราะนายเฉลียวรู้เหตุการณ์แห่งความจริงของเรื่องที่พูดนั้น จึงได้พูดถูกต้องตรงต่อความจริง เมื่อประมวลเหตุทั้งหลายที่เกี่ยวแก่ตัวนายเฉลียว จำเลย มาวินิจฉัยประกอบกัน ก็จะเห็นได้ถนัดชัดว่า นายเฉลียวได้รู้อยู่แล้วว่ามีผู้คิดจะกระทำการปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดลฯ หมดโอกาสที่จะเสด็จไปต่างประเทศตามกำหนดนัดหมายนั้นได้ นายเฉลียวช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้น จนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงแก่สวรรคต อาศัยคำพยานหลักฐานและเหตุผลทั้งหลายในท้องสำนวนตามที่ได้กล่าวมาแล้วแต่เบื้องต้น

ศาลนี้เห็นว่า นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยทั้ง 3 ได้กระทำผิดจริงดังโจทก์ฟ้อง ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น จึงพร้อมกันพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ว่า นายเฉลียว ปทุมรส จำเลย มีความผิดตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอน 2 ให้ลงโทษประหารชีวิต นอกจากที่แก้นี้ คงให้ยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกฎีกาของจำเลย
(เลขวณิชธรรมวิทักษ์ – ธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงฆาร – ดุลยพากย์สุวมัณฑ์ – ศิลปสิทธิ์วินิจฉัย – นาถปริญญา)

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใครจะออกมาปกป้องคนที่ทำร้ายประเทศตัวเองล่ะเจ๊
ไม่ต้องเป็นคนไทยน่ะดีแล้ว แผ่นดินจะได้สูงขึ้น แล้วก็อย่ามาเสือกเรื่องของประเทศไทยอีก