วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

คำพิพากษาฎีกาที่ 1544/2497 ช่วงที่น่าสนใจ !

คำพิพากษาฎีกาที่ 1544/2497 พนักงานอัยการ กรมอัยการ โจทก์ นายเฉลียว ปทุมรส ที่ 1, นายชิต สิงหเสนี ที่ 2 จำเลย นายบุศย์ ปัทมศริน ที่ 3


……….ช่วงที่น่าสนใจมากน่าจะอยู่บริเวณนี้

“ในวันที่ 8 นี้ พระอาการไม่มาก เสด็จไปเสวยพระกระยาหารเช้าและกลางวันอย่างปกติ ส่วนพระกระยาหารค่ำสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งให้จัดมาเสวยร่วมที่ห้องทรงพระสำราญ สมเด็จพระราชชนนีได้เฝ้าถวายพระโอสถและอื่นๆ อยู่จนสมเด็จเข้าที่พระบรรทม เมื่อเวลาประมาณ 21.00 นาฬิกา แล้วจึงเสด็จจากไป รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลาราว 6.00 นาฬิกา สมเด็จพระราชชนนีเสด็จไปปลุกบรรทมรับสั่งถามว่าหลับดีไหม? ทรงตอบว่าหลับดี สมเด็จพระราชชนนีถวายน้ำมันละหุ่งผสมกับบรั่นดี แล้วทรงรู้สึกว่ายังใคร่จะทรงบรรทมต่อ จึงถวายโอกาสโดยรีบเสด็จกลับไป ขณะนั้นมหาดเล็กห้องพระบรรทมยังไม่มีใครมา ต่อเวลา 7.00 นาฬิกาเศษ นายบุศย์ เวรประจำจึงมาและนั่งเฝ้าอยู่ตามหน้าที่ที่ระเบียงหน้าพระถวายห้องแต่งพระองค์ ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ห้องพระบรรทม ครั้นเวลา 8.00 นาฬิกาเศษ นายชิตได้มานั่งอยู่คู่กับนายบุศย์ เวลาราว 90.. นาฬิกา สมเด็จพระราชอนุชาเสด็จไปที่ระเบียงหน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์ รับสั่งถามนายชิต นายบุศย์ว่า ในหลวงมีพระอาการเป็นอย่างไร ทรงได้รับคำตอบว่า ทรงสบายดีขึ้นเสด็จเข้าข้องสรงแล้ว สมเด็จพระราชอานุชาก็เสด็จกลับยังห้องพระบรรทมของพระองค์ ภายนั้นมาเวลาไม่ถึง 9.00 นาฬิกา มีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัดภายในห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นสมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จออกจากห้องห้องบรรทมของพระองค์ไปเสวยพระกระยาหารเช้า นายชิตวิ่งไปกราบทูลว่า “ในหลวงยิงพระองค์” สมเด็จพระราชชนนีก็ทรงวิ่งไปทันที นายชิต นางสาวเนื่อง จินตดุลย์ สมเด็จพระราชอนุชาและนางสาวจรูญ ตะละภัฏ ตามติดๆ เข้าไปในห้องพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมหงายบนพระแท่น พระเศียรหนุนพระเขนยดุจบรรทมหลับอย่างปกติ มีผ้าดอกคลุมพระองค์อยู่เรียบตั้งแต่เหนือพระอุระตลอดลงไปจนถึงข้อพระบาทกึ่งกลางของผ้าอยู่กึ่งกลางของพระองค์พอดี ชายผ้าทั้งสองข้างล้ำพระองค์ออกมาพอๆ กัน ผ้าลาดพระยี่ภู่ปูอยู่เรียบดี พระเขนยคงอยู่ในที่ตามปกติ มีพระโลหิตไหลโทรมพระพักตร์ลงมาที่พระเขนยและผ้าลาดพระยี่ภู่ พระเศียรตะแคงไปทางขวามือเล็กน้อย เหนือพระโขนงซ้ายมีแผลกระสุนปืน หนังฉีกเป็นแฉกคล้ายเครื่องหมายคูณกว้างยาวประมาณ 4 เซนติเมตร พระเนตรทั้งสองหลับสนิท ไม่ได้ทรงพระฉลองพระเนตร ฉลองพระเนตรวางอยู่บนโต๊ะเล็กข้างประแท่น พระเกษาแสกเรียบอยู่ในรูปที่เคยทรง พระโอษฐ์ปิด พระกรทั้งสองเหยียดทอดทับนอกผ้าคลุมพระองค์แนบพระวรกายตามปกติ พระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ในท่าธรรมดา พระบาททั้งสองเหยียดทอดชิดกันอยู่ห่างจากปลายพนักพระแท่นประมาณ 7 เซนติเมตร มีปืนของกลางขนาด 11 ม.ม. วางอยู่ข้างพระกรซ้าย ลำกล้องขนาดและห่างพระกร 1 นิ้ว ปากกระบอกหันไปทางพระบาท ศูนย์ท้ายของปืนอยู่ตรงระดับข้อพระกร (ข้อศอก) นางสาวเนื่องเห็นพระวรกายแน่นิ่งไม่ไหวติง จึงเข้าจับชีพจรที่พระหัตถ์ซ้าย ยังเต้นแรงและเร็วอยู่สักครึ่งหรือหนึ่งนาที ก็หยุดเต้น แล้วนางสาวเนื่องใช้ 3 นิ้วจับกลางกระบอกปืนนั้นขึ้นวางบนหลังตู้เล็กข้างพระแท่น รู้สึกว่ากระบอกปืนไม่ร้อนไม่เย็น และไม่มีอะไรเปื้อนเปรอะ การที่หยิบย้ายปืนไปเสียนั้นเพราะเกรงจะไม่ปลอดภัยแก่สมเด็จพระราชชนนีซึ่งยังคงซบพระพักตร์อยู่ที่พระชงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อมาราว 20 นาที หลวงนิตย์ฯ ไปถึงตรวจพระอาการแล้วทูลว่าไม่มีหวัง สมเด็จพระราชชนนีก็รับสั่งให้แต่งพระบรมศพ โจทก์นำสืบต่อไปว่า เวลาราว 10.00 นาฬิกา เมื่อ ม.ร.ว. เทวาธิราชทราบข่าวการสวรรคต แล้วได้ไปพบนายปรีดีที่ศาลาท่าน้ำทำเนียบท่าช้าง บอกว่า สวรรคตแล้ว นายปรีดีร้อง “เอ๊ะอะไรกัน” มีท่าทางสะดุ้งตัวแสดงว่าตกใจ ม.ร.ว. เทวาธิราชตอบว่าไม่ทราบ อีกสัก 15 นาที ม.จ. นิกรเทวัญซึ่งถูกเรียกก็มาถึง เวลานั้นนายปรีดีแต่งตัวเสร็จแล้ว กำลังเดินอยู่หน้าตึกรับแขก ม.จ. นิกรเทวัญเข้าไปหานายปรีดีแล้วเงยหน้าเป็นเชิงถาม พอไปชิดตัว นายปรีดีพูดเป็นภาษาอังกฤษพอให้ได้ยินเฉพาะตัว แปลเป็นไทยว่าในหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง และพูดต่อไปว่า รอท่านอยู่นะซี รีบเข้าไปในวังด้วยกัน แล้วก็พากันเข้าไปในพระที่นั่งบรมพิมานพร้อมทั้งพันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพลตำรวจโท พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งสองคนหลังนี้ได้ไปอยู่ที่ทำเนียบท่าช้างก่อนตั้งแต่เช้าแล้ว ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธุยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร และพระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าอลงกฎ กับข้าราชการผู้ใหญ่อีกหลายท่านก็เสด็จและไปถึงทะยอยๆ กัน นายปรีดีในฐานะนายกรัฐมนตรีและว่าการสำนักพระราชงวัง ให้เรียกตัวนายชิต นายบุศย์ นางสาวเนื่องมาถาม นายชิตให้ถ้อยคำในเวลานั้นว่า ในหลวงยิงพระองค์ นายปรีดีให้ทำท่าให้ดู นายชิตจึงลงนอนหงายมือจับปืนทำท่าส่องที่หน้าผาก ม.จ. ศุภสวัสดิ์ซึ่งอยู่ในที่นั้นรับสั่งว่าปืนอย่างนี้ยิงเองที่พระนลาตอย่างนั้นไม่ได้จึงปรึกษากันว่าจะออกคำแถลงการณ์อย่างไรดี นายปรีดีพูดว่า ออกแถลงการว่าสวรรคตเพราะพระนาภีเสียได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ตอบว่า ออกเช่นนั้นผมไปก่อนเพื่อนแน่เพราะเมื่อวานนี้ยังดีๆ อยู่ วันนี้สวรรคต ไม่ได้ พันเอกช่วงว่า ถ้าอย่างนั้นเอาเป็นโรคหัวใจได้ไหม หลวงนิตย์ฯ ตอบว่าไม่ได้เหมือนกัน เพราะอย่างไรคนก็ต้องทราบความจริง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรรับสั่งว่า เห็นจะต้องแถลงตามความจริง นายปรีดีว่า เพื่อถวายพระเกียรติให้ออกแถลงการณ์ว่าเป็นอุบัติเหตุ จึงได้ออกคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเป็นฉบับแรกลงวันที่ 9 มิถุนายน 2489 มีข้อความดังนี้ “ด้วยนับแต่วันที่ 2 มิถุนายน ศกนี้เป็นต้นมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เริ่มทรงพระประชวรเกี่ยวแก่พระนาภีไม่ปกติ และทรงเหน็ดเหนื่อยไม่มีพระกำลัง แม้กระนั้นก็ดีพระเจ้าอยู่หัวก็ได้เสด็จประพาสเยี่ยมเยียนราษฎรเป็นพระราชกรณรยกิจของพระองค์ ครั้นต่อมาพระอาการเกี่ยวกับพระนาภีก็ยังมิได้ทุเลาลง จึงต้องเสด็จประทับอยู่แต่บนพระที่ มิได้เสด็จออกงานตามหมายกำหนดการ ครั้นวันที่ 9 มิถุนายน ศกนี้ เมื่อตื่นพระบรรทมตอนเช้าเวลา 6.00 นาฬิกา ได้เสวยพระโอสถน้ำมันละหุ่งแล้วเข้าห้องสรงซึ่งเป็นพระราชกิจประจำวันแล้วก็ได้เส็จเข้าพระที่ ครั้นเวลาประมาณ 9.00 นาฬิกา มหาดเล็กห้องบรรทมได้ยินเสียงปืนดังขึ้นในพระที่นั่ง จึงรีบวิ่งเข้าไปดู เห็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรรทมอยู่บนพระที่ มีพระโลหิตไหลเปื้อนพระองค์แล้วสวรรคตเสียแล้ว มหาเล็กห้องบรรทมจึงได้ไปกราบทูลสมเด็จพระราชชนนีให้ทรงทราบแล้วเสด็จไปถวายบังคมพระบรมศพ ต่อนั้นมามีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี รัฐมาตรี ได้เข้าไปกราบถวายบังคม และอธิบดีกรมตำรวจกับอธิบดีกรมการแพทย์ได้ไปถวายตรวจพระบรมศพและสอบสวน ได้ความสันนิฐานได้ว่า คงจะทรงจับคลำพระแสงปืนตามพระราชอัธยาศัยที่ทรงชอบ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น” เกี่ยวกับบาดแผลที่พระบรมศพ ครั้งแรกหลวงนิตย์ไม่ได้พบแผลทางเบื้องหลังพระเศียร เข้าใจว่ามีแผลทางพระนลาตด้านเดียว บรรดาท่านที่ประชุมกันอยู่ก็พลอยเข้าใจเช่นนั้น ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 10 เจ้าหน้าที่จากสภากาชาดมาแต่งพระบรมศพ เพื่อเตรียมการสรงน้ำพระบรมศพในตอนเย็น จึงได้พบแผลที่เบื้องหลังพระเศียรอีกแผลหนึ่งตรงท้ายทอยมีพระเกษาปกคลุมบาดแผล จึงมีเสียงกล่าวกันว่า ถูกยิงทางเบื้องหลังพระเศียรทะลุออกทางพระนลาต โดยเหตุที่มีเสียงครหาว่า คำแถลงการณ์ฉบับแรกไม่ถูกต้องต่อความจริง นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยรัฐมนตรีและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ได้ประชุมกันพิจารณารายงานของอธิบดีกรมตำรวจ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน แล้วได้ออกเป็นคำแถลงการณ์ขิงกรมตำรวจในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 มีข้อความพิศดารประกอบคำแถลงการณ์ของสำนักพระราชวังเพื่อจะให้ฟังได้หนักแน่นยิ่งขึ้น โดยอ้างการสอบสวนอย่างกว้างขาวงตั้งเป็นข้อสังเกต 3 ประการ คือ 1. มีผู้ลอบปรงพระชนม์ 2. ทรงปลงพระชนม์เอง หรือ 3. อุบัติเหตุ คำแถลงการณ์นั้นอ้างว่า ตามทางสอบสวน ไม่มีเหตุกรณีใดที่น่าสงสัยในทางลอบปรงพระชนม์ทั้งไม่มีเหตุอันใดจะส่อให้เห็นว่าพระองค์ทรงปลงพระชนม์เอง แต่มีพฤติการณ์ควรให้สันนิษฐานว่าคงจะทรงหยิบพระแสงปืนมาลูบคลำเล่นตามพระอัธยาศัยที่โปรดเช่นเคยโดยมิได้ทรงตรวจก่อน คงจะทรงหันปากลำกล้องขึ้นส่องดู แล้วนิ้วพระหัตถ์ต้องไกปืนกระสุนปืนลั่นไปถูกพระนลาต จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น รุ่งขึ้นวันที่ 11 กรมตำรวจออกแถลงการณ์เป็นฉบับที่ 2 ดังนี้ ได้ความในการสอบสวนเพิ่มเติมจากพระราชกิจประจำวันว่า ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ากำหนดให้หม่อมเจ้าอาชวดิศ ดิศกุล เข้าเฝ้าในวันที่ 9 มิถุนายน 2589 เวลา 10.00 นาฬิกา เพื่อกราบบังคมทูลลาทรงผนวช กับนัดให้หใอมเจ้าศุภสวัสดิ์ร่วมโต๊ะเสวยพระกระยาหารกลางวัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายวงศ์ เชาวนะกวี ไปการทูลสมเด็จพระสังฆราชว่า จะเสด็จไปทูลลาเสด็จสหรัฐอเมริกา ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศน์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2489 อันเป็นหลักฐานเพิ่มเติมข้อสันนิฐาน ตามแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า การสวรรคตได้เป็นไปโดยอุบัติเหตุ ไม่มีทางส่อแสดงว่า ทรงปลงพระชนม์เอง แต่อย่างไรก็ดี คำแถลงการณ์ยังไม่เพียงพอที่จะระงับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของหมู่ประชาชนยิ่งแพร่สะพัดออกไปทุกทีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จสวรรคตโดยอุบัติเหตุ แต่ถูกปลงพระชนม์ ถึงกับมีผู้ร้องตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า นายปรีดีฆ่าในหลวง เป็นเหตุให้รัฐบาลเกรงจะเกิดจลาจล จึงได้ตั้งกรรมการขั้นคณะหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีออกประกาศเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2489 ความว่า คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบรมนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ได้อนุมัติให้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่สอบสวนพฤติการณ์ในการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต แล้วให้เสนอรายละเอียดและความเห็นเพื่อนำความกราบบังคมทูลต่อไป ให้อธิบดีกรมตำรวจนำพยานมาสอบสวนต่อหน้ากรรมการ ในการนี้ได้ขอพระบรมราชานุญาตเปิดพระบรมโกษฐ์ตรวจชันสูตรพระบรมศพได้ถี่ถ้วนและทำการทดลองยิงศพคนที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อทราบระยะยิงที่จะให้เกิดบาดแผลเช่นบาดแผลที่พระบรมศพ เมื่อคณะกรรมการสอบสวนพฟติการณ์สวรรคตที่เรียกกันว่าศาลกลางเมืองสอบสวนเสร็จแล้วรายงานเสนอความเห็นว่า สำหรับกรณีอุบัติเหตุ ไม่เห็นทางว่าจะเป็นไปได้เลย ส่วนกรณีถูกลอบปลงพระชนม์ไม่มีพยานหลักฐาน แต่ก็ไม่สามารถจะตัดออกเสียได้ เพราะท่าทางของพระบรมศพด้านอยู่ในกรณีทรงปลงพระชนม์เองนั้น ไม่ปรากฏเหตุผลและหลักฐานอย่างใดว่าได้เป็นเช่นนั้นโดยแน่ชัด คณะกรรมการไม่สามารถชี้ขาดว่า เป็นกรณีหนึ่งกรณีใดในสองกรณีนี้ ตกเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่จะดำเนินการสืบสวน และปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาต่อไป”

………….และช่วงสำคัญที่ทำให้ประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยต้องหักเห มาเป็นแบบปัจจุบันน่าจะอยู่ตรงนี้ด้วย นอกจาก ช่วงที่ได้ยินเสียงปืน ตอน 9.00 น. ที่สำคัญที่สุดแล้ว คือ…..

…….. “พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทรรับสั่งว่า เห็นจะต้องแถลงตามความจริง นายปรีดีว่า เพื่อถวายพระเกียรติให้ออกแถลงการณ์ว่าเป็นอุบัติเหตุ”

……..เป็นการออกแถลงการณ์โกหกครั้งแรกเพื่อช่วยฆาตกร ทั้งๆที่รู้ว่าไม่ใช่อุบัติเหตุ ทำให้ประเทศไทยต้องหักเห อย่างยิ่งใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น: