๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์”
เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา”?
๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน”
ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?
คำถามชวนคิดที่โพสในบล็อกตอนนี้
เกิดจากข่าวปาฐกถาของพล.อ.เปรมที่ จปร เลยสงสัย เอามาถามกันต่อ
พล.อ.เปรม บอกว่า "ทหารเป็นของชาติและพระเจ้าอยู่หัว"
เห็นแบบนี้ ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมจึงคิดกันว่า ข้า"ราช"การ หรือ ผู้พิพากษาตัดสินคดีในพระปรมาภิไธย
ถ้าเอาข้อความคิดว่าด้วย "รัฐ" มาจับกับรัฐไทย น่าสงสัยว่า รัฐไทยแยกออกเด็ดขาดกับสถาบันกษัตริย์หรือยัง
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ต้องการแยก "รัฐ" ออกจากสถาบันกษัตริย์อย่างชัดเจน
แต่ก็ถูกดึงกลับไป
บางที รัฐไทยอาจเป็นรัฐเดียวในโลกที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่ "รัฐ" ไม่ได้แยกออกจากสถาบันกษัตริย์
ดังนั้น หากเราเขียนงานวิชาการ คงต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศคร่อมคำว่า "ประชาธิปไตย" ไว้เสมอเวลาจะกล่าวถึงประชาธิปไตยของไทย เพราะ "ประชาธิปไตย"ในบริบทของไทย ไม่เหมือนที่อื่นอย่างแท้จริง
By Etat de droit
เสนอความเห็น..
ขอยกเพลงพี่เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย ที่ถูกใช้เป็นเพลงกึ่งทางการในทีวีเมื่อเดือนก่อน มาแสดงให้เห็นถึงมุมมองของ “พลเมือง” ไทยที่เชื่อ, หรือทำให้เชื่อ ถึงความสัมพันธ์ และความสำคัญของสถาบันกษัตริย์กับตัวพลเมือง ดังนี้
“เราทุกคนก็เหมือนก้อนดินแค่ก้อนหนึ่ง
บอบบางไร้ค่าไร้ความหมาย อ่อนแอเหมือนโคลน
ไหลไปตามทางเรื่อยไป เมื่อน้ำแห้งไป ก็แตกระแหง
มีพลังเพียงแค่แรงหนึ่งที่ยึดเรา เหนี่ยวรั้ง เราไว้ให้กล้าแข็ง
รวมผู้คนมากมาย ให้ทรงพลังแข็งแรง รวมเม็ดดินเล็กๆให้เป็นแผ่นดิน...”
บทเพลงนี้แสดงความที่ชัดเจนอย่างยิ่งให้เห็นแนวคิด ที่ยอมรับ (หรือถูกทำให้ยอมรับ) ว่า ประชาชนพลเมืองทั้งหลายนั้น เป็นเพียง “ก้อนดิน” ที่ “ไร้ค่า” “อ่อนแอ ไร้ความหมาย” และ อยู่ไม่ได้ ไหลไป แตกระแหง หากขาดสถาบันกษัตริย์เสียแล้ว เพลงนี้จึงช่วยส่งเสริมให้ตอกย้ำในความเชื่อลงไปในหัวใจของราษฎรไทยให้มั่นคงยิ่ง
หรือถ้าเผื่อคุณไปแสดงท่าที “ไม่เชื่อมั่น” ต่อแนวคิดเช่นว่านี้ในเวบบอร์ดสาธารณะที่เปิดกว้าง คำประณามที่คุณจะได้รับอันหนึ่ง คือ หากไม่มีกษัตริย์แล้ว โครตเหง้าสักกะหลาดคุณจะมีแผ่นดินอยู่หรือ
ซึ่งผู้พูดหมายถึงกษัตริย์ในอดีตที่กอบกู้เอกราช หรือป้องกัน “ชาติ” มิให้ถูกรุกรานจากการล่าอาณานิคม แต่ผู้พูดละทิ้งในความสำคัญของทหาร ข้าราชการ พลเรือน ประชาชนในยุคนั้นสมัยนั้นไปเสียหมด เพราะพลเมืองเหล่านั้นเป็นแค่ “ก้อนดินที่ไร้ค่า” หากปราศจากเสียซึ่งกษัตริย์ การ “มีแผ่นดินอยู่” จึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์เสียเท่านั้น
ข้าราชการทั้งหลาย ถูกสั่งสอนให้เชื่อว่าเป็น “ข้าราชการของพระมหากษัตริย์” ดังนั้น ข้าราชการทั้งหลายจึงมีอุปทานลึกๆ เสมอว่าหน้าที่ของตนนั้น เหนือกว่าการรับใช้รัฐ และหน้าที่ของตนนั้นเหนือกว่าพลเมืองอื่นๆ เพราะตนเป็น “ผู้รับใช้” แห่งกษัตริย์
และ “การหมิ่น หรือไม่เชื่อมั่นในสถาบันกษัตริย์” จึงเป็นอาวุธชั้นดีในทางการเมืองเสมอมา
ต่อข้อถามของผู้ตั้งประเด็น
๑. “กษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “สถาบันกษัตริย์”?
- คำตอบนี้ต้องรอการพิสูจน์อีกราว 40 ปี
ตอนนี้ยังคงได้แต่คาดเดา
๒. “กษัตริย์” หรือ “สถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งเดียวกับ “ชาติ” และ “ศาสนา” ?
- ไม่ทั้งหมด แต่ “ชาติ”
นั้นคือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แน่ๆ
๓. ข้อความคิดว่าด้วย “พลเมือง” หรือ “ประชาชน” ไม่มีอยู่จริงในประเทศไทย?
- ไม่, ไม่มีอยู่จริง
By แซงแซวแห่งวงไฮโล
ในมุมมองของผม...
1. กษัตริย์ คือ "ตัวแทน อันดับหนึ่ง" ที่ทำหน้าที่ของ สถาบันกษัตริย์ ทั้งโดนนิตินัยและพฤตินัย
2. กษัตริย์ ในปัจจุบัน โดย Implication ของคนไทยหลายๆคน (ส่วนใหญ่ของประเทศก็ว่าได้) ต่างมีมุมมองว่า กษัตริย์ (พระองค์นี้) (ไม่ใช่สถาบันกษัตริย์) คือตัวแทนของ "ชาติ" และ "ศาสนา" ไปนานแล้ว
ถามว่านานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการรับข่าวสาร และพระราชกรณียกิจของคนนั้นๆที่แน่ๆ เริ่มจากสมัย สฤษดิ์
3. สถาบัน "ประชาชน" มีอยู่จริงในประเทศไทยแต่เป็นสถาบันที่มีบทบาทน้อย ในทางปฏิบัติ
กระทั่งสิ่งที่ประชาชน ไปแสดงความเห็นของประชาชนเอง โดยวิธีการเลือกตั้ง ในระดับ Major election ที่ถึงแม้เป็น snap
เสียงทีประชาชนไปแสดงนั้น ก็ถูก "freeze" หรือ "Abort" ได้โดยง่าย เพียงอาศัยการแทรกแซงของสถาบันอื่นๆ ตามกลไกที่เอื้อำนวยและอยู่ในมือ
ไม่ว่าจะไร้เหตุผล หรือ มีเหตุผลก็ตาม...
นั่นแสดงถึง ความปวกเปียกของสถาบันประชาชนในเมืองไทยที่ชัดเจน
ปล.
ผมเคยเห็น หน่วยทหารแห่งหนึ่ง เขียนข้อความไว้ข้างตึกบัญชาการเล็กๆ ของตนเองว่า
"เพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และ ประชาชน"
ผมไม่รู้ว่า ในมุมมองของผู้เขียนข้อความนั้นเขาเรียงลำดับความสำคัญของ ทั้ง 4 สถาบันนั้นไว้อย่างไร
แต่ บอกตามตรงว่า พอเห็นตอนแรก ก็ยังรู้สึกว่า นี่ยังดี ที่มันมี สถาบันอันหลังสุดอยู่
เพราะทั่วไปแล้ว ผมไม่เคยเห็นในที่อื่นมาก่อน...
By หมีpooh!
ที่มา : Etat de droit : คำถามชวนคิด (วันศุกร์, กรกฎาคม 14, 2006)
หมายเหตุ
ผมเห็นว่าประเด็นที่ตั้งคำถาม กับคำตอบที่ได้รับมีความน่าสนใจ
เลยทำสำเนามาไว้อ่านกัน...
และหวังว่าเจ้าของบล็อกคงมิว่าอะไรนะครับ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
คำถามชวนคิด
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 9:31 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น