วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามความเห็นของคนกลุ่มเล็กๆในสังคม


??? : ผมว่ากฏหมายข้อนี้บังคับใช้พร่ำเพรื่อและเกินขอบเขตไปนะ เท่าที่ทราบ กฏหมายข้อนี้ปกป้อง ในหลวง ราชินี และ ฟ้าชาย คนอื่นไม่เกี่ยว

แต่หากมีใครสักคนไปพูดถึงคนอื่นๆ อย่างเช่นพระเทพ หรือฟ้าหญิงเล็ก ผมว่าตำรวจจับแน่นอน

แม้แต่การโจมตีการทำงานของสำนักพระราชวัง สำนักงานทรัพย์สิน หรือโครงการในพระราชดำริ ก็มีคนมองไปได้ว่าเป็นการจาบจ้วง

การที่มีกฏหมายนี่อยู่นั้นก็แย่พอแล้ว แต่การนำกฏหมายนี้มาใช้อย่างไม่มีแบบแผนทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก

เพราะเราอยู่กันบนความไม่ชัดเจน แม้กฏหมายเขียนไว้ชัดเจน แต่การปฏิบัติกลับไม่ชัดเจนเหมือนในกฏหมาย และดูเหมือนว่าประชาชนทั่วไปจะยอมรับได้ กับความไม่ชัดเจนนั้น

ความไม่ชัดเจนทำให้คนบางคนหรือบางกลุ่มฉวยโอกาสจากความไม่ชัดเจนนั้นได้ กฏหมายถูกนำมาเป็นเครื่องมือทำลายกัน ถูกนำมาปิดโอกาสที่จะสร้างสรรสิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้แต่ประมุขของประเทศก็ชอบพูดอะไรที่ดูเหมือนจะจงใจให้มันไม่ชัดเจน ความไม่ชัดเจนคงต้องมีประโยชน์อะไรบางอย่างกัยใครแน่ๆ


องค์ชาย : กฎหมายหมิ่น เป็นกฎหมายที่คลุมเครือ เป็นเหมือนโล่ห์เกราะกำบังที่เอาไว้ใช้ปกป้องเจ้า ส่วนองคมนตรีเปรียบเหมือนอาวุธของเจ้า แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายหมิ่นก็ใช้เป็นอาวุธที่จะทำร้ายใครต่อใครก็ได้ เพราะมันเป็นความคลุมเครือนี่แหละมันยากที่จะบอกว่าอย่างไหนถือว่าหมิ่นเจ้า

ถ้ามองในเรื่องของประชาธิปไตยแล้ว เจ้าก็มีสิทธ์ที่จะปกป้องไม่ให้ใครมาหมิ่นประมาท แต่จากที่เป็นอยู่ ไม่ว่าใครที่พาดพิงถึงเจ้า ในทางเป็นเรื่องจริง หรือ ไม่จริง ก็ต้องโดนข้อหาหมิ่นฯ ตลอด แล้วคู่กรณีไม่มีสิทธ์ที่จะชนะได้เลย ซึ่งต่างจากบุคคลธรรมดา

กฎหมายหมิ่นประมาทนี่แหละครับผมเชื่อว่าท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นอาวุธที่กลับมาทิ่มแทงพวกเจ้าเอง เพราะกฏหมายนี้ทำให้เกิดความคลุมเครือในตัวเจ้า ทำให้เกิดการตรวจสอบไม่ได้ ซึ่งจะทำให้พวกเจ้าโง่ ๆ บางคนหลงเหลิงกับอำนาจนี้เพราะขาดการตรวจสอบถ่วงดุลย์น่ะครับ

อ้อ..แล้วก็ กฎหมายหมิ่นฯ จะมีได้ แต่ต้องมีเงื่อนไข คือ ต้องไม่มีองคมนตรี เจ้าต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และ ทรัพย์สินต่าง ๆ ของเจ้าสามารถที่จะตรวจสอบได้ แล้วควบคุมโดยรัฐบาล


FTKNS : กฎหมายหมิ่นฯ คือ เครื่องมือหากินทางการเมืองอย่างหนึ่ง คล้ายๆ กับกฎหมายคอมมืวนิสต์แต่ก่อน มีทั้งความเหมือนและความต่าง

ความเหมือนก็คือ ตีความได้ไม่มีที่สิ้นสุด และใช้เป็นเครื่องมีอกลั่นแกล้งกันทางการเมืองของผู้มีอำนาจมากกว่าต่อฝ่ายตรงข้าม ไม่มีความยุติธรรมใดๆ

ความต่างก็คือ กฎหมายหมิ่นฯ นั้นเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ สังเกตว่าคดีความประเภทนี้จะมากขึ้น และการตีความกว้างไปเรื่อยๆ ตามพระราชอำนาจในทางปฎิบัติที่มีมากขึ้นเรื่อยๆรวมทั้งผูกโยงอำนาจขั้วฝ่ายนิยมเจ้า ซึ่งหลายๆ ครั้งเอามาเล่นงานคนธรรมดาๆ ก็เพื่อหวังผลความศักดิ์สิทธิ์ คล้ายๆ กับการเชือดไก่ให้ลิงดู

กฎหมายนี้ ผมคิดว่า ไม่ได้มีประโยชน์อันใดต่อสังคมและการปกครองเลย มีแต่จะสร้างความคิดผิดๆ และนำไปสู่สังคมชนชั้น ที่ไพร่ไม่มีปากเสียงใดๆ

อย่าลืมว่ากฎหมายนี้ยังขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

ส่วนเรื่องความคลุมเครือก็เป็นธรรมชาติ ของอะไรที่มันเทียมๆ ไม่แท้ ย่อมต้องการให้เห็นแค่ภาพเบลอๆ แล้วหลอกลวงว่าดีแสนดี เท่านั้นเอง


พระบิดาแห่งขอทาน : ผมเห็นว่ากฎหมายนี้เขียนได้กำกวมมากไม่ชัดเจนมากเพียงแต่มีนักวิชาการและท่านอื่นๆพยายามสร้างมายาว่ามันไม่ต่างอะไรกับกฎหมายหมิ่นประมาทเท่าไหร่เลย

ที่ต่างกันมีเพียงโทษหนักกว่าแค่นี้เอง แต่ความเป็นจริง ตัวกฎหมายหมิ่นเจ้า (อาญา มาตรา 112) กับหมิ่นคนธรรมดา (อาญา มาตรา 326-333) นั้นต่างกันมาก

ข้อแตกต่างประการแรก

กฎหมาย มาตรา 112 ไม่มีการนิยามคำว่าหมิ่นประมาท ส่วนกฎหมายมาตรา 326 มีการนิยามคำนี้ว่า หมิ่นประมาท หมายถึง ”ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง” และนักวิชาการหลายคนที่พยายามเขียนบทความอ้างคำว่าหมิ่นประมาทจากมาตรา 326 อันนี้ แต่ที่จริงไม่มีส่วนไหนของ มาตรา 112 ที่อ้างโยงไปถึงมาตรา 326 เลย

ข้อแตกต่างประการที่สอง

กฎหมายมาตรา 112 มีคำว่า ดูหมิ่น และก็ไม่มีคำนิยาม ดังนั้นคำนี้จึงตีความได้กว้างมาก ถ้าจะเอาผิดอะไรก็ง่ายมาก การกระทำใดบ้างเรียกว่าหมิ่น?

ข้อแตกต่างประการที่สาม

หมิ่นใครกระทบถึงใครบ้าง? ในกฎหมายหมิ่นเจ้าไม่มีบอกไว้ดังนั้นถ้าหมิ่นโยงไปถึง ต้นตระกูล ก็ถือว่าหมิ่นแต่กฎหมายหมิ่นคนธรรมดาบอกไว้ในมาตรา 327 ว่า ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทของคนธรรมดาเขียนไว้ชัดว่า ครอบคลุมถึงแค่ พ่อ แม่ เมีย และลูก

ข้อแตกต่างประการที่สี่

ในกฎหมายหมิ่นคนธรรมดามีข้อยกเว้น ในมาตรา 329 และ 330ถ้าเป็นการแสดงความเห็นโดยชอบธรรม โดยสุจริต ถ้าเป็นความจริงไม่ได้ใส่ความ และมีประโยชน์แก่ประชาชน ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ถ้าหมิ่นเจ้า ไม่ว่าจริง และมีประโยชน์กับสาธารณชน ยังไงก็ผิด

ข้อแตกต่างประการที่ห้า

หมิ่นคนธรรมดายอมความได้ หมิ่นเจ้ายอมความไม่ได้ข้อแตกต่างประการที่หกหมิ่นคนธรรมดา ผู้เสียหายฟ้องร้อง แต่หมิ่นเจ้าใครฟ้อง?


น้ำยาล้างตา : เรื่องกฎหมายกำกวมอะไรทั้งหลายนั้นเราไม่ควรสงสัยแต่เราควรทำใจยอมรับแต่โดยดีว่าราชวงศ์/ราชสำนักไทยดำรงอยู่โดยไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ใดๆทั้งสิ้น

...ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้านายไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎหมายกฎมณเฑียรบาลหรือราชประเพณีใดๆ

...ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นยังไงก็ให้นึกถึงราชวงศ์แขก

...อีหรอบเดียวกัน

...การทำงานของราชวงศ์อังกฤษแม้เจ้านายจะเป็นนาย มีสำนักงานของตัวเองแต่ดูเหมือนเค้าก็ยังเกรงใจกฎมณเฑียรบาลอยู่อย่างน้อย ควีนก็สถาปนาอดีตเมียเก็บชาร์ลให้เป็นแค่เจ้าจอมไม่มีสิทธิ์เป็นราชินี และเค้าก็เคร่งมาก ว่า รัชทายาทต้องเป็นลูกเมียแต่งคนแรกเท่านั้น จะเอาลูกเมียน้อยมาไม่ได้

...ราชวงศ์ของญี่ปุ่น น่าจะเรียกได้ว่ามีระเบียบมากที่สุดในโลก

- สมาชิกราชวงศ์เป็นเหมือนพนักงานของสำนักพระราชวังจะตัดสินใจอะไรเองไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามการกำกับของคณะกรรมการสำนักงานราชวัง

กฎมณเฑียรบาลเค้าก็เคร่งมาก

-ลูกสาว ถ้าแต่งงานกับสามัญชนก็ต้องไปเป็นสามัญชนจริงๆคือหายไปจากพระราชพิธีโดยสิ้นเชิง เวลาเรียกชื่อก็เรียกนาง

-เมียของมกุฎราชกุมาร ถ้ายังไม่มีลูก ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ(ฟังดูงี่เง่า แต่มันเป็นกฎ) ทำให้เมียฟ้าชายญี่ปุ่นไม่ได้ออกนอกประเทศถึงเกือบ 8 ปีเพราะทำลูกไม่ได้สักที

-รัชทายาทจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น เพราะเค้าสืบสันดานกันมาเป็นพันปี ปัจจุบันญี่ปุ่นมีจักรพรรดิแล้ว 125 คน เมื่อสืบไปแล้วทั้ง 125 คนนี้มีปู่ของปู่ของปู่ฯลฯเป็นคนเดียวกันทั้งสิ้นแต่ถ้าเปลี่ยนให้ผู้หญิงครองราชย์ ลูกของจักรพรรดิหญิงจะมีปู่เป็นอีกสายสกุลหนึ่งที่ต่างจากจักรพรรดิคนก่อนๆทันทีคนคิดมากไม่ค่อยอยากยอมเพราะมันหมายถึงการเปลี่ยนราชวงศ์เลยทีเดียว

...เมื่อฟ้าชายญี่ปุ่นไม่มีลูกชายสำนักราชวังถึงกับออกมากดดันให้น้องชายของฟ้าชายทำลูกชายออกมาให้ได้ ซึ่งก็สำเร็จ

...ฟังๆดูเหมือนงี่เง่าครึ่าครึแต่จริงๆเป็นการดำเนินการทุกอย่างตามกฎระเบียบสมาชิกราชวงศ์ต้องทำงานตามกฎเกณฑ์โดยมีสำนักราชวังเป็นเจ้านายคอยกำกับดูแล ไม่ใช่พอทำไม่ได้ก็เปลี่ยนกฎแมร่งซะ

ช่างแตกต่างราวฟ้ากับเหวที่อะไรๆแมร่งก็ยกเว้นให้เป็นกรณีพิเศษตลอดชาติ

อนึ่ง จักรพรรดิญี่ปุ่นคนปัจจุบันไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศแบบที่เรียกว่าไปเที่ยวส่วนตัวเลยแม้แต่ครั้งเดียว


หมายเหตุ

สี่หนุ่ม กับหนึ่งสาว พวกเขานั้งคุยกัน ณ.ที่แห่งหนึ่งนานมาแล้ว....

ไม่มีความคิดเห็น: