ช่วงนี้ นอกจากงานสอนงานสอบที่ออกจะยุ่ง เพราะใกล้ปิดเทอมแล้ว ผมยังพยายามรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่วง 2490 เพื่อทำบทความบางชิ้นที่ค้างไว้เจอนสพ.สมัยนั้น พาดหัวข่าว และ จัดหน้า 1 ที่เกี่ยวกับกษัตริย์ ในลักษณะที่เห็นได้ชัดว่า แตกต่างจากสมัยนี้ จึงเอามาแสดงให้ดู สำหรับคนที่ยังไม่เคยเห็น
ตัวอย่างที่ 1
พิมพ์ไทย วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๙๓
พาดหัวตัวโต 2 บรรทัดติดกัน (มีเส้นตรงขีดคั่น) ดังนี้
ในหลวงตักบาตร์ร่วมกับสิริกิต
เสี่ยชกสาวสลบเพราะไม่ยอมร่วมเตียง
แล้วตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจ ถัดลงมาทันที
ตัวอย่างที่ 2
พิมพ์ไทย ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๙๓
พาดหัว 3 บรรทัด ติดกัน (มีเส้นตรงขีดคั่น) ดังนี้
ในหลวงทรงเสื้อครุยดุษฎีบัณฑิตในห้องประชุม มธก.
อ้างชื่อ ร.ม.ต.ปล้นรมยาสลบ
นางโลม "เปลือย" เย้ยโปลิศในกรงขัง
แล้วตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์พระราชทานปริญญาที่ มธก. ถัดลงมาทันที
ตัวอย่างที่ 3
พิมพ์ไทย ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๕
ฉบับนี้น่าสนใจ ก่อนอื่นคือ เป็นฉบับ 2 วันหลังการจับ "กบฏ ๑๑ พ.ย." หรือที่รู้จักกันในนาม "กบฏสันติภาพ" พาดหัว ดังนี้
ปล้นเรือยนต์เปลือยผู้โดยสาร
พี่น้องฝาแฝดจูงมือกันหนีไม้เรียวคุณพ่อ
เผ่าแถลงคดีกบฏ: เพื่อนอังกฤษ อเมริกาเร่งเร้าให้จับ
สังเกตภาพหัวตัวโต 3 บรรทัด ไม่มีข่าวเกี่ยวกับกษัตริย์ แต่สามารถเอาอยู่เหนือ ภาพที่ตีพิมพ์ถัดลงมาทันที (ภาพกลางใน 3 ภาพ) ซึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เสด็จไปวางพวงมาลาในงาน ที่ระลึกทหารอาสาคราวสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนนี้"
ทีน่าสนใจตามมาคือ ภาพประกอบอีก 2 ภาพ ที่ตีพิมพ์ในขนาดเท่าๆกันและประกบข้างซ้าย-ขวา พระบรมฉายาลักษณ์ คือ ภาพซ้ายมือ "ชนิด สายประดิษฐ์ ไปเยี่ยมนายกุหลาบสามี ในคดีต้องหากบฏในและนอกอาณาจักร" ภาพขวามือ คือ "สมบัติ สุวรรณชีพ ลูกสาวหลวงสังวรณ์ โดนข้อหากบฏในคราวนี้ด้วย"
ลักษณะการจัดหน้า และ พาดหัวหน้า 1 ของ นสพ. ในลักษณะนี้ ไม่สามารถเห็นได้แล้วในทุกวันนี้
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา : เอามาให้ดูเป็นตัวอย่างว่า สมัยก่อน นสพ.พาดหัว และ จัดหน้า 1 เกี่ยวกับกษัตริย์ แบบนี้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น