เมธีหรือนักปรัชญาทางการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี
ค.ศ. 1632-1704 ชื่อจอห์นล็อค กล่าวไว้ว่า....
“ สิทธิมูลฐานของพลเมืองนั้นสิทธิที่จะก่อกบฏเป็นสิทธิตามธรรมชาติสิทธินี้จะนำมาใช้ก็เฉพาะกรณีที่ชนชั้นปกครองกลายเป็นทรราชกฎหมายบ้านเมืองเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมกลายเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการเท่านั้น ”
มาตรา 17 คือกฎหมายที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ร่างขึ้นมีอำนาจครอบคลุมจักรวาลในการกำจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบกฎหมายนี้ประหารชีวิตได้แม้กระทั่งนายศุภชัย ศรีสติ ที่เพียงแค่ออกใบปลิวคัดค้านการจับกุมสามล้อเครื่องชื่อนายศิลา วงศ์สินชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมาที่เพียงสำคัญตนเองอวดว่าเป็นผู้วิเศษผู้ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่โดนข้อหา วางเพลิง ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งยิงเป้า โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน มาตรา 21 สั่งจบชีวิตใครก็ได้ตามอำเภอใจของผู้ปกครองในสมัยนั้นภายใต้ข้ออ้างว่า
“ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ศีลธรรมอันดีของประเทศชาติ ”
ครูครอง จันดาวงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการปกครองในการสมัยนั้นไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงและเขียนเรื่องราววิถีการต่อสู้ของเขามากนักเหมือนเหมือนกับจิตรภูมิศักดิ์นักคิดนักเขียนนักต่อสู้ร่วมสมัยกับเขา
ครูครอง จันดาวงศ์เคยถูกจับข้อหาทางการเมือง 3 ครั้งใหญ่ๆคือ
ครั้งแรกเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491
ข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดงและกบฏภายในราชอาณาจักร
มีผู้ร่วมถูกจับกุม 18 คน
ครั้งที่สอง ถูกจับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495
ข้อหากบฏสันติภาพ
มีผู้ร่วมถูจับกุม 38 คน
ครั้งที่สาม ถูกจับเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
ข้อหามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดง
มีผู้ถูกร่วมจับกุม 108 คน ถูกสอบสวนที่กรุงเทพฯ 20 กว่าวัน ก็ถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่อำเภอสว่างดินแดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504
ปลายปี พ.ศ. 2503รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปราบปรามอย่างหนัก องค์กรสามัคคีธรรมก็เช่นกัน ครูครองจันดาวงศ์และเพื่อนครูถูกล่าไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซนหลบลี้ภัยไปอยู่ภูพานชั่วคราว ก่อนแอบกลับมาบ้านวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระสำหรับอยู่บนภูและรอเพื่อนแต่เพื่อนไม่มาตามนัด จนถึงเช้าตรู่วันที่ 16 เดือนเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังมาล้อมจับเขาพร้อมนายภักดี พงษ์สิทธิศักดิ์ น้องภรรยา นำไปฝากขังที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างดินแดง ลูกชายคนโตชื่อวิทิตกับเพื่อน ชื่อสมพงษ์ ราชพลีที่ไปเยี่ยมที่โรงพักก็พลอยถูกจับขังด้วย หลังจากนั้นครูครองก็ถูกย้ายไปขังที่จังหวัดอุดรธานี ขังอยู่ สองสามวันก็ถูกนำตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาสอบสวนที่กรุงเทพฯ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอธิบดีกรมตำรวจ
ครูครอง จันดาวงศ์ และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกเบิกตัวเข้าพบ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งสองรู้ตัวทันทีว่าใครก็ตามที่ถูกเบิกตัวเข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั่นหมายความว่าโดนคำสั่งประหารชีวิตด้วย ม. 17 แน่ เมื่อไปถึงตึกกองบัญชาการกรมตำรวจซึ่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พูดอย่างยโสโอหังว่า
“พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าการกระทำของพวกมึงเป็นการขายชาติ”
ครูครอง จันดาวงศ์ตอบอย่างสุภาพ
“....ในที่สุดประชาชนต้องเป็นฝ่ายชนะอธรรม พวกเผด็จการจะต้องพินาศผมขอภาวนาว่าเมื่อถึงวันนั้นมาถึงขอให้ท่านยังอยู่และอย่าหนีทัน....”
เมื่อมาถึงตอนนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอาการโกรธจัดไม่สามารถทนฟังต่อไปได้อีกแล้ว จึงออกคำสั่งต่อนายตำรวจที่อยู่ข้างๆว่า
“จับมันไปประหารเดี๋ยวนี้ ตามแผนที่กูสั่งไว้แล้ว”
แล้วนักโทษการเมืองทั้งสองก็ถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังสนามบินลับเสรีไทย อำเภอสว่างดินแดง จ.สกลนคร สาเหตุที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ประหารชีวิตที่นี่เพราะต้องการข่มขู่อดีตพลพรรคเสรีไทยทั้งหมดให้สยบ เมื่อไปถึงสกลนครเวลา 11.30 น. ผู้นำทางได้แจกจ่ายข้าวผัดให้ทั้งสองคนละห่อ พร้อมด้วยน้ำดื่มคนละขวดทั้งสองรับประทานอาหารด้วยใจสงบก่อนเข้าถูกมัดกับหลักประหารพร้อมใช้ผ้ามัดตาเป็นที่เรียบร้อย บุคคลเหยื่อ ม.17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครูครองได้เปล่งคำขวัญ
“ เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ ”
ก่อนเสียงปืนรัว 90 นัด เวลา 12.13 น.
ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารเมื่ออายุได้ 54 ปี
ท่านเคยตำรงตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาหลายตำแหน่งเช่นเป็นครูประจำชั้นและครูใหญ่ตามโรงเรียนประชาบาลต่างๆในเขตอำเภอสว่างดินแดงไม่น้อยกว่า 5 แห่งเคยเป็นผู้จัดการโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 2 ของครูเตียง ศิริขันธ์เป็นผู้ปฎิบัติการดีเด่นของขบวนการเสรีไทยสายอีสาน
เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนครในปี 2489เป็นสมาชิกขบวนการสันติภาพแห่งประเทศไทยเป็นประธานองค์กรมวลชนช่วยเหลือตนเองที่เรียกว่า “กลุ่มสามัคคีธรรม”เป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกรและแนวร่วมสังคมนิยมที่ต่อสู้เพื่อนโยบายเป็นกลางคัดค้านการรวมกลุ่มของทหารเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในช่วงปี 2501 และสภาถูกยึดเพราะการยึดอำนาจครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ส่วนนายทอง สุทธิมาศ เป็นรุ่นน้องอายุน้อยกว่าครูครอง 20 ปี บุคคลทั้งสองเคียงคู่กันในการหาเสียงการรณรงค์เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านช่วยเหลือกันอย่างดี นายทองพันธ์เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร ในเขตอำเภอวานรนิวาส และเคยลงเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม ท่านเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนสกลนครเช่นกัน ขณะนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาว บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประพันธ์เพลงสดุดีวีรกรรมให้กับครูครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ ทั้งๆที่ตัวเองก็อยู่ในคุกโดยให้ชื่อเพลงว่า
“ วีรชนปฎิวัติ ”
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ได้เปิดเผยตนเองออกมาว่าเป็นเผด็จการ
อย่างล้อนจ้อนดำรงโยบาย 3 เรียบคือ
จับเรียบ
ฆ่าเรียบ และ
เผาเรียบ
กลุ่มปกครองไทยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มิเพียงเข่นฆ่าครูครองและคุณทองพันธ์เท่านั้น หากยังทำให้ครอบครัวของทั้งสองแตกสลายอีกด้วย บางคนเข้าป่าบางคนต้องหลบลี้ภัยไปอยู่ต่างแดน ครอบครัวของครูครองยังถูกอำนาจมืดรังควานตลอดเวลา ลูกชายคนที่สองถูกคุกคามจนอยู่ไม่ได้ ต้องลี้ภัยไปประเทศลาว ต่อมาลูกสาวคนสุดท้องก็หลบภัยไปอยู่ต่างประเทศเช่นกัน
ต่อมาวันที่ 5 มกราคม 2506 นางแตงอ่อนภรรยาครูครอง จันดาวงศ์ ถูกจับอีกครั้งพร้อมคนอื่นๆอีก 90 คน นายแตงอ่อนถูกแยกตัวออกไปขังที่อำเภอเมือง 11 วัน แล้วส่งไปขังเดี่ยวที่อำเภอโนนสังข์ 1 เดือน ต่อมานางแตงอ่อนถูกย้ายไปขังที่กองบังคับการสันติบาล กรุงเทพฯ ถูกขังลืมนานปีกว่าโดยไม่มีการสืบสวนและไม่มีการส่งฟ้อง จนกระทั่งทรราชสฤษดิ์ป่วยตาย นายวิชิต จันดาวงศ์ลูกชายได้ยื่นคำร้องต่อ พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจคนใหม่ ท้วงติงเร่งรัดดำเนินคดี ไม่นานก็ได้รับคำสั่งการปล่อยตัวพร้อมนายทองปาน วงศ์สง่า และคณะทั้งหมด
นางแตงอ่อนเมื่อถูกปล่อยตัวออกมายังถูกสายลับไปรังควานอยู่เสมอ ในที่สุดภรรยาครูครองจินดาวงศ์ตัดสินใจอำลาบ้านเกิดและญาติพี่น้องไปพำนักในต่างประเทศชั่วคราวอีกผู้หนึ่ง
วันที่ 24 เมษายน 2505
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ก่อกรรมทำเข็ญอีกราย
โดยสั่งประหารชีวิตนายราม วงศ์พันธ์ ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย
เกือบ 6 ปีแห่งอำนาจเผด็จการ ถูกหนังสือพิมพ์เปิดโปงตีแผ่ พฤติกรรมชั่วอันโสมมของเขาในเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์แก่พรรคพวก มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านในที่สุด ทรราชสฤษดิ์ก็ถูกลูกน้องของตนเองคือจอมพลถนอม กิตติขจร ผู้สืบอำนาจเผด็จการคนต่อมายึดทรัพย์ด้วยมาตรา 13 ฐานโกงชาติโกงแผ่นดิน ยึดทรัพย์เข้าหลวงได้ถึง
3,000 ล้านบาทในสมัยนั้น!
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ผู้มั่วกามโลกีย์ผิดลูกผิดเมียชาวบ้าน เป็นไข้ไม่สบายจนม้ามแตกตายไปเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2506
สิ้นยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ก็สืบอำนาจเผด็จการต่อ กระทั่งถูกประชาชน นักศึกษาขับไล่ เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อ 14 ตุลาลาคม 2514 และ 6 ตุลาคม 2519 เรียกว่าเป็น
วันมหาวิปโยค.
ประมวลจาก
๑.
หนังสือเผด็จการครองเมือง
๒.
หนังสือชุดประวัติศาสตร์ประชาชน
ครูครอง จันดาวงศ์ ชะตากรรมที่เลือกไม่ได้
๓.
หนังสือเบื้องหลังการปฏิวัติ 2475
๔.
หนังสือเล่าความจริงขบวนการนักศึกษายุคต้น 2514-2519
โดย :
คนร่วมสมัยเดือนตุลา
บรรณาธิการ : ถนนนักสู้ : History of Thailand
ที่มา : History of Thailand : เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารลูกพี่จอมพล ป.พิบูลสงครามสำเร็จก็สืบอำนาจเผด็จการต่อทันที
อ่านเพิ่มเติม
(ผู้จัดเก็บเอกสารและบทความ)
๑.
งานศพสฤษดิ์ ในหลวงทรงโปรดเกล้าให้จัดให้สูงกว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ : สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
๒.
สมเด็จพระศรีนครินฯ เขียนถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในหนังสืองานศพ : บทนำ ของหนังสือที่พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ
หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ
วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารลูกพี่จอมพล ป.พิบูลสงครามสำเร็จก็สืบอำนาจเผด็จการต่อทันที
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 10:05 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
เห็นไหม..!!! มันมีอำนาจ ..แต่ขาดความยุติธรรม
ทั้ง 2 ตัว ทั้งเขียวถนอม และเขียวสฤษดิ์ เป็นถึงจอมพล.. แต่ดันโง่เง่ากว่าพลทหารเลว เสียอีก.. ใช้อำนาจไม่เป็น ถ้าใช้อำนาจเป็นประเทศชาติ ประชาชน ลูกหลาน เหลน คงไม่จนยาก ประเทศต้องด้อยพัฒนา ...เช่นนี้ น่าอนาตใจนัก ปัญญาของพวกเจ้าก็แค่.. นักมวยขนมต้มสมัยกรุงเทพฯ ..เท่านั้น!!! ช่างเสียโอกาส ช่างเสียชาติเกิด ซ่ะจริงๆ!!! เจ้าเด็กดื่อ???
จากนักติดตามประเมินผลงาน และชีวิตคนแก่ไทย กรุงเก่า
23 ก.ค. 2551
แสดงความคิดเห็น