วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ไพร่ปฎิวัติ !


บางคนเชื่อว่า การปฏิวัติภาคประชาชนจะไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะประชาชนไม่มีผู้นำที่เข็มแข็ง เหมือนที่ กลุ่มพันธมิตรมีแกนนำที่เข็มแข็ง

แต่ผมเชื่อมั่นใน "ทฤษฎีปฏิวัติประชาชน" ที่ หากสถานการณ์เหมาะสม ผู้นำตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นเอง อาจไม่ใช่ ผู้นำเดี่ยว แต่จะเป็นกลุ่มๆ ไป แต่ละกลุ่มจะพัฒนาแกนนำของตนขึ้น และเมื่อสถานการณ์สับสนมายิ่งขึ้น ส่งเสริมด้วยระบบข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วในยุคปัจจุบัน สุดท้ายแกนนำของกลุ่มต่างๆ จะพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายกัน กลายเป็น

"ตาข่ายอันมหึมา"

ที่ทรงพลัง และผมเชื่อว่าแกนนำแบบนี้จะไม่มีใครควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชนก็ตาม

กรณีม็อบต่อต้านพันธมิตรที่อุดร หรือที่บุรีรัมย์ เชียงใหม่ หรือกลุ่มคนวันเสาร์ที่ กทม. ผมว่าสุดท้ายคนเหล่านี้จะเชื่อมโยงเข้าถึงกันกลายเป็นเครือข่ายของ "พลังมวลชน" ขนาดมหึมา และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเทคโนโลยีสมัยนี้ทำได้ไม่ยากนัก ไม่ว่าจะเป็นคลิปวิดิโอ คลิปเสียงคำปราศรัย หรืออื่นๆ หรือแม้แต่วิทยุอินเตอร์เนทเป็นต้น

สุดท้ายพื้นที่อีสาน และภาคเหนือ แนวร่วมต่อต้าน "อำมาตยาธิปไตย"
ก็จะขยายตัวขึ้น และเข็มแข็งมากขึ้น

นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดี

ต้อง ขอบคุณ พธม. ครับ ที่ไปปลุกและกระตุ้นยักษ์หลับเหล่านั้นให้ตื่นขึ้นครับ มวลชนที่มีประสบการณ์ต่อสู้ร่วมกัน จะมีจิตวิญญานที่เชื่อมโยงถึงกัน เห็นใจกันมีพลังร่วม สุดท้ายก็จะพัฒนาระบบการจัดตั้งและ เชื่อมโยงเครือข่ายกัน หากพวกชนชั้นนำและ "ศักดินาไทย" ยังคิดว่าประชาชนเหล่านั้นถูกซื้อ และมีท่อน้ำเลี้ยงมาจาก "ทักษิณ" ผมคิดว่า เมื่อพวกเขารู้ตัวก็สายเสียแล้วครับ

ผมว่าประชาชนจำนวนมากตอนนี้ "ก้าวผ่านทักษิณ" ไปแล้ว ผมไม่ได้หมายถึงพวกเขาไม่ได้รักทักษิณ พวกเขายังรักและศรัทธาอยู่ แต่พวกเขาไม่ได้่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ทักษิณกลับมา แต่พวกเขาต่อสู้เพื่อเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้นคือ "ต่อสู้เพื่อให้เสียงของพวกเขามีความหมาย" จะเรียกว่า "ระบอบประชาธิปไตย" ก็ได้ แต่ผมไม่คิดว่าชาวบ้านจะมองประเด็นเหล่านี้จากอุดมการณ์ทางการเมือง

แต่ เขามองผ่านผลประโยชน์และประสบการณ์ของตนเอง นั่นคือ พวกเขารู้ว่า "หนึ่งเสียงที่กาบัตรเลือกตั้ง" มีความหมายต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเขา และเมื่อพวกเขาชนะเลือกตั้ง ผู้ปกครองไม่ว่าใครก็ตาม จะต้องฟังเสียงของพวกเขา

นั่นคืิอ ระบอบประชาธิปไตยภาคปฏิบัติกำลังเกิดขึ้นคือ หากทุกคนปกป้องผลประโยชน์และรักษาสิทธิของตน สุดท้าย การโหวต ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่มีใครยอมให้คนอื่นมาละเมิดสิทธิของตนอย่างแน่นอน

ชาวบ้านไม่ต้องการการชี้นำเรื่องประชาธิปไตย บ้าๆ บอๆ จากนักวิชาการที่ไม่เข้าใจสังคม และมุ่งรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนเท่านั้น

ชาวบ้านเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงครับ

บางคนอาจคิดว่า พวกเราจำเป็นต้องชี้เป้าหมายให้ประชาชนว่า เรากำลังสู้กับใคร ต้องล้มล้างอำมาตยาธิปไตยเท่านั้น..เรื่องต่างๆ จึงจะจบ

แต่ผมเชื่อว่าประชาชนเขาเรียนรู้เองครับว่า พวกเขากำลังต่อสู้กับใคร พวกเขาไม่ได้กลัวแต่อย่างใด เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ "ออกไปลงคะแนนเลือกตั้ง" ตามสิ่งที่เขาได้เรียนรู้เท่านั้นครับ แค่ชาวบ้าน "กาบัตรเลือกพรรคตรงข้ามกับระบอบอำมาตย์" สุดท้ายพวกนั้นก็แพ้อยู่ดี ไม่ว่าจะทำอย่างไร ไม่ว่าจะดิ้นอย่างไร

เมืองไทยยุคศตวรรษที่ 21 สิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้คือ "การเลือกตั้ง" ครับ ระบอบปกครองที่ผู้ปกครองต้องเข้าสู่อำนาจโดย "การเลือกตั้ง" เป็นระบอบบังคับของโลกยุคปัจจุบัน มันไม่มีทางเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นที่ฝืนกระแสโลกไปได้

ผมไม่ กลัวแนวคิดระบอบ 70/30 เพราะไม่คิดว่า

" ระบอบที่ชั่วร้ายแบบนี้

ระบอบที่แปลกประหลาดนี้ จะดำรงอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 ในโลกยุค "ข้อมูลข่าวสาร" นะัครับ ระบอบแบบนั้นมันคือศตวรรษที่ 19 มันขวางโลก ย้อนหลัง มันย่อมไม่อาจคงทนอยู่ได้ในโลกยุคใหม่นี้ แม้ว่าพวกที่พยายามสถาปนาระบอบแบบนี้ขึ้นมา จะมีบารมีมากมายแค่ไหนก็ตาม เขาไม่สามารถทวนกระแสโลกได้

ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามทำอย่างไรก็ตาม หากพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนใจผู้เลือกตั้งได้ สุดท้ายพวกก็ต้องแพ้อยู่ดี จะมาพยายามดำรงอำนาจต่อต้านประชาชนไว้ โดยบีบบังคับทำรัฐประหาร เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแบบ 70/30 มันก็ไม่มีทางอยู่ได้อย่างยั่งยืน ระบอบแบบนี้ มันทำได้แต่ไปจุดไฟต่อต้าน เร่งให้มีการ “ปฎิวัติภาคประชาชน” ให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง

ระบอบประชาธิปไตยแบบ "ประชาชนทุกคน (บรรลุนิติภาวะ) มีสิทธิเลือกตั้ง" มันไม่มีพื้นที่ให้ “ศักดินาอำมาตยาธิปไตย” ยืนอยู่ได้ ไม่ว่าจะโฆษณาชวนเชื่ออย่างไรก็ตาม โลกยุคใหม่ ไม่มีพื้นที่ให้คนที่โอ้อวดตนเองว่า “เหนือกว่าผู้อื่น ผู้อื่นควรอยู่ใต้ปกครอง” โลกยุคนี้ เป็นยุคแห่งความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเหนือกว่าใคร จากการเกิด

การที่ประชาชนต่อสู้ เพื่อการเลือกตั้ง หมายความว่า สู้เพื่อสิทธิ์ในความเป็นอธิปไตย ของประชาชนเอง ใช่หรือไม่ สำหรับผมแล้วผมคิดว่าประชาชนไม่ได้มองประชาธิปไตยแบบอุดมการณ์ เพราะมันเป็นอุดมคติมากเกินไป และไม่สอดคล้องกับวิถีการคิดของชาวบ้านที่มักไม่สนใจเรื่องอุดมการณ์ มากกว่าเรื่องปากท้องของเขาเอง

แต่ "สิทธิในการลงคะแนน" พิสูจน์ว่ามันสัมพันธ์กับ "ความกินดีอยู่ดีและปากท้องของชาวบ้าน" และชาวบ้านได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในทศวรรษ 2540-2550 นี้ครับ

ดังนั้นเมื่อพวกเขาจะโหวตเพื่อรักษาสิทธิของพวกเขา มันก็จะกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยไปโดยปริยาย คือระบอบที่ปกครองโดยเสียงข้างมากครับ

บางคนอาจคิดว่า ประชาชนชนชาวรากหญ้าขี้เซาไปหน่อย ต้องใช้เวลาถึง 75 ปี ในการตื่นขึ้นเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง แต่ผมคิดว่ามันเป็น "พัฒนาการของสังคม" มากกว่า ในปี 2475 ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็น ชาวนาที่ไม่มีความรู้ ทำเกษตรกรรมตามธรรมชาติ และไม่มีปัีญหาเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน ไม่ได้รับการรังแกจากขุนนาง เหมือนในประเทศจีนหรือยุโรป ซึ่งที่ดินเป็นของพวกขุนนางทั้งหมด เราจะหวังให้ชาวบ้านที่เขามีความเป็นอยู่แบบสุขสบาย ให้ลุกขึ้นมาปฏิวัตินั้น มันไม่มีทางเป็นไปได้ ชาวบ้านยุคนั้นเขาไม่ได้เสียสิทธิแต่อย่างใด "ประชาธิปไตย" ก็เป็นเรื่อง "อุดมการณ์" มากเกินไป ไม่เกี่ยวกับปากท้องของชาวบ้าน

ยุคนั้นเรามีประชากรแค่ 10 ล้านกว่าคน ที่ดินทำกินยังมีพอทุกครัวเรือน

แีต่ปี 2550 ประชากรมี 64 ล้านคน มีคนกว่า 8 ล้านที่ตกอยู่ใต้เส้นความยากจน และที่ดินไม่เพียงพอกับทุกครอบครัว การผลิตเป็นแบบตลาด ที่สัมพันธ์กับกลไกตลาด และการบริหารงานของรัฐบาลมีผลต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

ปี 2475 กับปี 2551 ประเทศไทยสมัยโน้น กับสมัยนี้ ไม่ใช่ประเทศเดียวกัน ประชาชนก็ไม่ใช่คนเดียวกัน วิุีถีชีวิต และวิถีคิดก็ไม่เหมือนกัน

มันเป็นคนละประเทศ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินเดียวกันเท่านั้นครับ

ความตื่นตัวทางการเมืองมันจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ

ยิ่งกวนน้ำให้ขุ่น ผู้นำตามธรรมชาติก็เกิดขึ้น
สุดท้ายจะเกิดสงครามระหว่างประชาชน

ยิ่งพวกผู้ปกครองที่กำลังเลื่อนหายไปกับประวัติศาสตร์พยายามยื้อ ที่จะดำรงอำนาจของตนไว้ โดยการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของประชาชน นั่นเท่ากับเป็นการ กระตุ้นเร่งเร้าให้มีการ
“ปฎิวัติของประชาชน การปฎิวัติของไพร่” เร็วขึ้น


ผมจึงไม่ได้กลัวการทำรัฐปราหารของผู้ปกครองที่แก่หง่อม
และกำลังจะลาโลกไปนี้แต่อย่างใด


ลูกชาวนาไทย


ที่มา : กลุ่มสื่อประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน thaifreenews : ไพร่ปฎิวัติ !

หมายเหตุ
การเน้นข้อความ(บางส่วน)ทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรื่องของชนชั้นศักดินาของสังคมไทย มันเป้นเรื่องการแบ่งชนชั้นของความคิดที่จะคอยเอาเปรียบกัน ไพร่ต้องทำงานรับใช้เจ้านาย เจ้านายต้องเป็นผู้รู้ ผู้กุมชะตากรรมของไพร่ กระแสความคิดในยุค 90 มันเป็นกันมานานแล้ว แต่การติดยึดของชนชั้นสุง ยังคงที่จะรักษาฐานอำนาจ สถานะของชนชั้นอยู่ ถึงแม้นระดับการศึกษาของคนในชาติจะก้าวหน้าเพียงใด การติดยึดในศัธทายังเป็นตัวบ่งชี้ ถึงศักดินาฟ้าประทานให้คนเหล่านั้นมีบุญญาธิการที่คนในชาติไม่อาจปฏิเสธได้ สังคมถูกหล่อหลอมให้เชื่อฟัง ให้เชื่อตาม มาแรมปี การดิ้นรนที่จะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ จึงเป็นเรื่องยาก หากชนชั้นศักดินายังคงมุ่งที่จะรักษาตัวตน แห่งความีอำนาจเอาไว้ สิ่งเดียวที่จะโค่นล้มและทำลายล้างได้ คงเป็นการสิ้นศัทธาเท่านั้น แต่ใครกันละจะทำให้ศัทธานั้นเสื่อมสลายไปในชั่วข้ามคืน ...Free...