ผมฟังถ่ายทอดการเสวนาผ่านทางเว็บไซต์ http://www.newskythailand.com/
(เว็บนี้เขาจะตามไปถ่ายทอดงานเสวนา อภิปรายที่ต่างๆ แต่โดยหลักเขาจะเกาะติดเวทีสนามหลวง)
สิ่งแรกที่ผมทึ่งและอยากจะชมเชย คือ การอภิปรายของณัฐพล ใจจริง เขาทำการบ้านค้นคว้าเยอะมาก
ประเด็นที่ณัฐพลนำเสนอนั้น เกี่ยวกับ การแบ่งความคิดนักกฎหมายในช่วงอภิวัตน์ ๒๔๗๕ กับ หลังจากนั้น เป็นสองกลุ่มหลักๆ เพื่อฉายภาพการต่อสู้ทางความคิด การรณรงค์ ชวนเชื่อผ่านงานวิชาการ คำอธิบาย ตำรา ของทั้งสองฝ่าย
ผมคิดว่า นักกฎหมายน้อยคนมากที่รู้เรื่องเหล่านี้ และหากรู้ ก็เพียงแต่รู้ว่าใครเป็นใคร อธิบายว่าอะไร แต่ไม่ได้จัดกลุ่ม แบ่งพวก นำเสนอแบบที่ณัฐพลทำ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการมองภาพการต่อสู้ของกลุ่มเจ้า และกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งจะว่าไป ก็ยังต่อสู้กันอยู่ในสมัยนี้
การอภิปรายของณัฐพล จำต้องเผยแพร่ให้คนเรียนกฎหมาย และนักกฎหมายทั้งหลายได้รับรู้ในวงกว้าง เพราะปัจจุบัน เราเรียนกฎหมายแบบนิติศาสตร์โดยแท้ เรียนว่ากฎหมายปัจจุบันเป็นอย่างไร เอาไปใช้อย่างไร โดยไม่ได้ตระหนักถึงที่มา การต่อสู้ การโต้แย้ง บริบททางประวัติศาสตร์ ตลอดจนสปิริตที่อยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมหนีไม่พ้นกับบริบททางการเมืองในขณะนั้น
(อยากให้ณัฐพลเขียนเป็นบทความขนาดยาวเผยแพร่ลงวารสาร)
ข้อสังเกตประการต่อมา เนื่องจากผู้อภิปรายทั้งสามท่าน มีความคิดสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน จึงไม่มีการโต้แย้งกันมากนัก แต่ช่วงท้ายอภิปราย กิตติศักดิ์ ปกติ ได้เข้าฟังและแสดงความเห็นเพิ่มเติม ความเห็นผมเองนะ เขาน่าจะมีความเห็นต่างจากการอภิปรายของ ๓ คน แต่การพูดของเขาไม่ชัด ไม่ยอมบอกว่าเขาเห็นอย่างไร (อาจจะเวลาไม่พอ และโดนสมศักดิ์โต้เสียก่อน) แต่ไปยกความเห็นของประเวศ บวรศักดิ์ มาอ้าง
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความเห็นของกิตติศักดิ์ ๒ เรื่อง
๑. เขาตั้งข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลง รธน ในส่วนที่เกี่ยวกับ การเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขของรัฐ และกฎมณเฑียรบาล (ตั้งแต่ปี ๓๔ เปลี่ยนให้เป็นเรื่องของวังล้วนๆ สภาไม่เกี่ยว ทำได้แค่ตรายางรับรองเท่านั้น ลงมติไม่ได้) เป็นเพราะว่า สังคมไม่ยอมรับรัฐสภาความเชื่อถือ ความชอบธรรมไปไว้ที่สถาบันกษัตริย์ (ผมอาจสรุปไม่ตรงเป๊ะๆกับที่เขาพูดนัก แต่ไอเดียประมาณนี้ ยังไงลองดูคำอภิปรายเต็มๆที่ประชาไทคงถอดเทปมาให้)
ผมเห็นว่า การอธิบาย และการให้เหตุผลของกิตติศักดิ์ ไม่เป็นผลดีต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ "เข้าทาง" พวกอำมาตยาธิปไตย แอนตี้การเลือกตั้ง แอนตี้ระบบผู้แทน-รัฐสภา โอเค มองในแง่ดี เป็นไปได้ว่าเขาเพียงแต่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม แต่ผมคิดว่าต้องยืนยันว่าเป็นเรื่องผิด ไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย คือ จะอธิบายปรากฎการณ์นั้นก็ได้ แต่ต้องยืนยันว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง
๒. เขาพยายามแยกว่าเรื่องรูปแบบของรัฐ
กับระบอบการปกครอง นั้นคนละเรื่อง
ผมเห็นว่ากิตติศักดิ์พูดถูก คือ มันคนละเรื่องจริงๆ แต่กิตติศักดิ์ต้องยืนยันแบบที่สมศักดิ์บอกด้วยว่า ระบอบการปกครองต้องมาก่อน (ประเด็นนี้อยากให้อาจารย์สมศักดิ์เข้ามาอภิปรายเพิ่มเติมต่อจากวันนั้นด้วยครับ) คุณจะมีกษัตรยิ์ก็มีไป เป็นราชอาณาจักรก็เป็นไป แต่ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย
หากกิตติศักดิ์จะยืนยันดังที่เขาพูด ก็ต้องสม่ำเสมอ และเอาไปบอกไอ้พวกที่ชอบใช้คำว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แบบมีนัยแอบแฝงด้วยว่า ต้องแยกจากกันเด็ดขาด
ปิยบุตร
ที่มา : บอร์ด "ฟ้าเดียวกัน" : ควันหลงจากการอภิปรายเรื่อง "สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"
เพิ่มเติม :
Downloadเทปเสียงงานเสวนา "พระมหากษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"
อ.ณัฐพล ใจจริง :
http://www.mediafire.com/?njmy0mwvsun
อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ :
http://www.mediafire.com/?i179hmi9i7b
อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ :
http://www.mediafire.com/?0l3mowz3hi1
สรุปสุดท้าย :
http://www.mediafire.com/?wvublll33xn
จาก : newskythailand.com : ชมรมฟ้าใหม่
http://www.newskythailand.com/board/index....98.html#msg6598
หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ
วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
ควันหลงจากการอภิปรายเรื่อง "สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 8:49 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น