นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่ศิลปินแห่งชาติทั้งสองท่านที่มีบทบาทในงานศิลป์คือคุณเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ศิลปินอาวุโสที่ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ประเภทเพลงไทย-สากลขับร้อง ประจำปีพ.ศ.2534 เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 78 ปีที่เสียชีวิตเมื่อวันที่14 พฤษภาคมที่ผ่านมา
และก่อนหน้านั้น สุวัฒน์ วรดิลก ศิลปินแห่งชาติ (สาขาวรรณศิลป์) ในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นสามีภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อตั้งชมรมนักเขียน 5 พฤษภาคม และสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และเคยดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศ เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวด้วยวัย 84 ปี
ศิลปินแห่งชาติทั้งสองท่านนี้ ไม่ได้เป็นแค่นักคิดนักเขียนแต่เป็นผู้มีบทบาทได้การเมืองในยุคนั้นพอสมควร
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2500 สถานการณ์ทางการเมืองไทยพลิกผันปรวนแปร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาศัยจังหวะที่ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ใช้เล่ห์กลจัดให้มีการเลือกตั้งสกปรกขึ้นจนเกิดเป็นเรื่องอื้อฉาว กระทำรัฐประหารนำกำลังทหารยึดอำนาจการปกครอง ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุบสภาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยอ้างว่าฉบับเดิมไม่ เหมาะสม ตั้งคณะปกครองเผด็จการสมบูรณ์แบบขึ้นแทน ออกคำสั่งบังคับใช้ธรรมนูญปกครองแผ่นดิน ประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งให้อำนาจตนเองและบริวารอย่างกว้างขวางที่สุดพร้อมกับตั้งรัฐบาลหุ่นเอาไว้
การรัฐประหารเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ซึ่งเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ แต่นับเป็นการรัฐประหารครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะการรัฐประหารครั้งนี้มีผลทำให้การเมืองการปกครองไทยต้องเข้าสู่รูปแบบของเผด็จการอำนาจนิยม (authoritarianism) เป็นเวลานานถึง 15 ปี และทำให้ทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารบก มีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองการปกครองไทยในระยะเวลาต่อมา
สาเหตุของการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501 1 ใน4 สาเหตุคือภัยคอมมิวนิสต์ จอมพลสฤษดิ์มองว่า ภัยจากคอมมิวนิสต์เป็นภัยต่อความมั่นคง ของชาติ และอาจเป็นไปได้ที่ว่า การอ้างการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปราบปรามนักการเมืองตลอดจนปัญญาชนที่เป็นฝ่ายตรงข้าม โดยจอมพลสฤษดิ์ได้พูดถึงเรื่องนี้ว่า"…ที่ร้ายยิ่งกว่านั้น คอมมิวนิสต์ได้โหมปฏิบัติการอย่างกว้างขวางเพื่อแทรกซึมเข้าไปในวงการต่าง ๆ เพื่อล้มล้างสถาบันอันศักสิทธิ์ของชาติเราคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อย่างน่าห่วงใยและผู้แทนราษฎรหลายคนได้ยอมขายตนเป็นเครื่องมือของลัทธินี้อย่างเปิดเผย…"
ในขณะเดียวกันนั้น สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยรัสเซียและฝ่ายโลกเสรีนิยมที่นำโดยอเมริกา มีการทำสงครามเย็นกันอย่างกว้างขวางทั่วไป
ภายหลังการทำรัฐประหารแล้วจอมพลสฤษดิ์ ก็ขึ้นสู่อำนาจสูงสุดในนามของหัวหน้าคณะปฏิวัติและนายกรัฐมนตรี และได้อาศัยอำนาจเด็ดขาดตามมาตรา 17 เปรียบเสมือนอาวุธร้ายซึ่งอยู่ในมือมารที่ใช้เป็นเครื่องมือประหัตประหารกวาดล้าง ทำลาย ปัญญาชน นักคิด นักเขียน นักการเมือง และผู้รักประชาธิปไตย ที่มีบทบาทรับใช้ประชาชนอย่างรุนแรงครั้งใหญ่ที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์มีอำนาจล้นฟ้า สุวัฒน์ได้นำคณะศิลปินไทย เดินทางไปแสดงที่ประเทศจีน รัฐบาลไทยขณะนั้นมีนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ประจวบกับเดินทางกลับมาในช่วงที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปฏิวัติล้มอำนาจ จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กวาดล้างจับกุมนักคิดนักเขียนครั้งใหญ่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ต้องลี้ภัยอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เปลื้อง วรรณศรี อิศรา อมันตกุล จิตร ภูมิศักดิ์ ถูกจับ
สุวัฒน์ วรดิลก และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภรรยา ก็ถูกจับกุมคุมขังไปด้วยและตั้งข้อหาร้ายแรงคือ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ระหว่างถูกขังอยู่ในคุกต่อสู้คดีในชั้นศาล
สุวัฒน์ วรดิลก กลายเป็นบุคคลต้องห้ามสำหรับสังคมภายนอก ช่วงนั้น ชาลี อินทรวิจิตร ตั้งคณะละครโทรทัศน์ขึ้น จึงมาชวนให้สุวัฒน์ วรดิลก เขียนบทละครโทรทัศน์ และเมื่อนำเรื่อง “God sees the eruth but waits” ของ ลีโอ ตอลสตอย มาเขียนเป็นบทละครเรื่อง “พระเจ้ารู้ทีหลัง” ก็ประสบผลสำเร็จจนทำให้ ชาลี อินทรวิจิตร ถูกหัวหน้าสถานีโทรทัศน์เรียกตัวไปสอบถาม ต่อมามีเรื่องชุด พระเจ้าออกมาอีก ๒ เรื่องคือ “พระเจ้ารู้ก่อนเสมอ” และ “พระเจ้าไม่รับรู้”
ต่อมาเมื่อย้ายมาอยู่คุกสองที่ลาดยาว สุวัฒน์ วรดิลก รับจ้างเขียนบทละครวิทยุให้กับธนาคารออมสิน เรื่องแรกคือ “ผีก็มีหัวใจ” ใช้นามปากกา ยุพดี เยาวมิตร
จนเมื่อ สุวัฒน์ วรดิลก ได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ส่วนเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ภรรยาได้รับการปล่อยตัวออกมาก่อนแล้ว ช่วงที่สามีอยู่ในคุกเขาก็ให้กำลังใจมิได้ห่างหาย
สำหรับ เพ็ญศรี พุ่มชูศรีหรือนามสกุลสมรสคือ วรดิลก ได้คลุกคลีอยู่กับการเมืองไทยในยุคมืดที่เรียกว่าเผด็จการครองเมือง เขาไม่ได้เป็นศิลปินอย่างเดียวแต่เขายังเป็นเฟืองตัวหนึ่งในแวดวงการเมืองไทยในยุคมืดที่โหยหาเสรีภาพเพื่อสังคมที่ดีขึ้น แม้ว่าเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของสังคมแต่เขาก็เป็นนักเคลื่อนไหวที่ต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง...
โดย ขอนไ้ม้
wat111phuwiang@hotmail.com
29 สิงหาคม 2550
ที่มา : http://ptv1.bravehost.com/column/index.php?c_id=81
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
คู่ทุกข์คู่ยากผู้ผ่านยุคมืด”สุวัฒน์-เพ็ญศรี วรดิลก”
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 7:46 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น