วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

การปฏิวัติฝรั่งเศสพ.ศ. 2332-2342

ค.ศ.1793 วันที่ 21 มกราคม พระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพระชนม์
ด้วยเครื่องกิโยตีน เพราะทรงถูกกล่าวหาว่า ทรยศต่อชาติ


การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งใหญ่ของโลกมนุษย์ทุกวันนี้ มีที่มาจากปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปและอเมริกา จนในที่สุดนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นั่นก็คือการปฏิวัติประชาธิปไตยของนายทุน อันเป็นการเปลี่ยนผ่านจากสังคมการผลิตแบบศักดินามาสู่ยุคการผลิตแบบทุนนิยมสมัยใหม่ จนทำให้สังคมขับเคลื่อนมาสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่สำคัญจนทำให้สังคมโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่อาณาเขตและพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆผนวกเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเช่นทุกวันนี้

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อันเป็นที่มาของหลักสิทธิเสรีภาพและระบอบรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาสุ่การสถาปนารัฐทุนนิยม ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี คศ. 1789 ถือเป็นแม่แบบการปฏิวัติเปลี่ยนผ่านสังคมแบบศักดินา มาเป็นทุนนิยม

ระบบศักดินา เป็นสังคมที่พัฒนามาจากสังคมทาส เมื่อบรรดาทาสก่อการลุกขึ้นสู้ ก่อการกบฏ เพื่อปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากความเป็นทาสด้วยรูปแบบต่างๆ จนในที่สุดนายทาสถูกความจำเป็นให้ต้องแบ่งที่ดินของตนออกไปเป็นแปลงเล็กๆให้กับทาสและชาวนา เพื่อทำการกดขี่ขูดรีดในรูปแบบการเกณฑ์แรงงานและการส่งค่าเช่า หรือการแบ่งปันผลิตการเกษตรให้กับเจ้าศักดินา ระบอบการปกครองแบบกษัตริย์สถาปนาขึ้นมาในสังคมแบบศักดินาที่มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้ครอบครองผืนดินทั้งหมดและแบ่งปันการถือครองที่ดินให้กับขุนนางลดหลั่นกันไปจนถึงระดับทาส-ไพร่ ติดที่ดิน ในสังคมแบบศักดินาจึงมีการรบพุ่งฆ่าฟันกัน มีการเกณฑ์ทหารเพื่อให้ออกไปรบแย่งชิงหรือปล้นสะดมครอบครองดินแดนของคนอื่น ขยายอาณาเขตการปกครองของระบอบกษัตริย์ให้กว้างขวางออกไป ทำการกวาดต้อนเชลยข้าศึกให้เข้ามาเป็นทาส – ไพร่ ทำงานแบบบีบบังคับให้กับรัฐศักดินา

แต่เมื่อสังคมมีการพัฒนาพลังการผลิตที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น หัตถกรารมพื้นฐานที่รับใช้การเกษตร จึงค่อยๆแยกตัวเป็นอิสระจากเกษตรกรรม กลุ่มพ่อค้า นายภาษีอากรและขุนนางส่วนหนึ่ง ทำการผลิตและการพาณิชกรรมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนนำมาสู่การคิดค้นเครื่องจักรทันสมัย ดังเช่นการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำ ที่นำมาใช้เป็นพลังขับเคลื่อนของการผลิตขนาดใหญ่ เป็นที่มาของโรงงานอุตสาสหกรรม ทำให้มีความจำเป็นของการใช้แรงงานเสรีมากยิ่งขึ้น แต่ในระบบศักดินา แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานทาส-ไพร่ติดที่ดินที่ถูกครอบครองและควบคุมโดยกษัตริย์และขุนนาง โดยที่ทาส-ไพร่เหล่านี้ปราศจากสิทิเสรีภาพ อย่างสิ้นเชิง

กษัตริย์และขุนนางในยุคศักดินา ครอบครองทรัพย์สินมหาศาล ได้รับการยกเว้นไม่เสียภาษี ในขณะที่รัฐศักดินาใช้กำลังทหาร เข้าไปรีดนาทาเร้นเก็บภาษีและค่าเช่าที่ดินสูงจากชาวนา รวมทั้งการเกณฑ์แรงงานให้เข้าไปทำงานให้พวกขุนนางและกษัตริย์ พวกชนชั้นกลางและพ่อค้าซึ่งกำลังก่อตัวขึ้นจากการเฟื่องฟูของเมืองและการค้าทางทะเล จึงเกลียดชังอำนาจ สิทธิพิเศษของพวกขุนนางและอำนาจที่เกินขอบเขตของกษัตริย์

สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศส สามารถแบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ คือ ฐานันดรที่1 กษัตริย์และ ขุนนาง มีประมาณ 400 , 000 คน ฐานันดรที่2. นักบวช มีประมาณ 115, 000 คน ฐานันดรที่สาม (tiers état) เป็นส่วนที่เหลือของประเทศ เช่น ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น) สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก

ระบบการบริหารประเทศล้าหลังของกษัตริญ์ฝรั่งเศส ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษอย่างไม่เป็นระบบ ( อัตราภาษี ศุลกากรในแต่ละจังหวัดต่างกัน , การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย) ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ, ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน) การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้งหมด เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย


การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางศีลธรรม นักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น ความคิดของท่านเหล่านี้ได้จุดประกายเกี่ยวกับความเสมอภาคและเสรีภาพ ส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง ทำให้เริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองขึ้นอย่างเงียบ ๆ

ภาวะเศรษบกิจตกต่ำ ประชาชนกรรมกร ชาวนายากจนกันถ้วนหน้า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเป็นเสนาบดีการคลัง เช่น ตูร์โกต์ , เนคเกร์, คาลอนน์ ท่านเหล่านี้ได้เรียกร้องให้พระเจ้าหลุยส์ทรงระงับสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนางที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษ ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม


การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์
เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319

เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบาย เศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี-อองตัวเนตต์ไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์ โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330

ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์


อรุณรุ่งการปฏิวัติฝรั่งเศส Les états généraux

ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกประชุมสภา les états généraux ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย

สภา les états généraux ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่า Assemblée Nationale ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ

สภา Assemblée Nationale นี้ประกาศว่าสภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภา les états généraux ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง แต่สมาชิกสภา Assemblée Nationale ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส (สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ


เปิดฉากการปฏิวัติ

หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ


การยึดคุกบาสตีย์

แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และพี่ชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็น พระเจ้าชาร์ลส์ที่สิบในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและ พระราชวังแวร์ซายส์ ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจราจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม วันที่ 13 กรกฎาคมมีการจัดตั้งคอมมูนปารีส (Paris Commune) อารมณ์ปฎิวัติเริ่มแพร่กระจาย ไปทั่วปารีส มีการตั้งกองกำลังแห่งชาติ (National Guards) มีมาร์กีส์ เดอ ลาฟาแยตต์ (Marquis de Lafayette) เป็นผู้บังคับการวันที่ 14 กรกฎาคม1789 ( พศ.2332) เริ่มการโจมตีคุกบาสติลย์ (Bastille) พวกชาวไร่ชาวนาไม่ยอมเสียภาษี และเริ่มโจมตีบ้านขุนนาง (กรกฎา-สิงหา)และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี ถือเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบันนี้

หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส ( l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน ( Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส


ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก

การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ

สภา Assemblée Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมือง
หรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen


เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง( Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมพ.ศ. 2332 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ, เสมอภาค, ภราดรภาพ"

ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย

สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น


การปฏิรูปครั้งใหญ่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

: ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน

: จังหวัดต่าง ๆ ถูกยุบ , ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)

: ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น

: มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส

: การเวนคืนที่ ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ


การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์

การจับกุม ณ วาเรนน์

มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์ คือ จักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย เพื่อที่จะให้ จักรพรรดยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ พระเจ้าหลุยส์ นั้นไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่ ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์ในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์ ในวันที่ 21 มิถุนายนพ.ศ. 2334 ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส


การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ

แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปหว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้บฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพระองค์กระทำการกระทำใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ

ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรีส์แล้ว ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน

หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน ( l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ

ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน.

การต่อสู้ขับเคี่ยวระหว่างระบอบกษัตริย์และสาธารณรัฐดำเนินการอย่างเข้มข้น และขยายผลสะเทือนไปทั่วทั้งยุโรป วันที่ 27 สิงหาคม 1791(พศ.2334) มีการประกาศพิลนิทซ์ (Declaration of Pillnitz) ปรัสเซียกับจักรวรรดิออสเตรีย ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อรักษาระบอบกษัตริย์ ในปีถัดมา วันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1792 สภานิติบัญญัติภายใต้พรรคจิรองแดงประกาศสงครามกับออสเตรีย วันที่11 กรกฎาคม กองทัพออสเตรียเข้าสู่ฝรั่งเศส

วันที่ 27 กรกฎาคม ฝ่ายออสเตรียออกประกาศบรุนสวิก ( Brunswick Manifesto) ขู่ทำลายกรุงปารีสหากกษัตริย์เป็นอันตราย ประชาชนโกรธแค้นคำประกาศนี้

วันที่ 10 สิงหาคม ฝูงชนบุกพระราชวังตุยเลอรี (Tuilleries) สังหารทหารรักษาการชาวสวิต ดังตองจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและตั้งสภาแห่งชาติ (National Convention)

วันที่ 22 สิงหาคม คศ.1792 ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐครั้งที่หนึ่งยกเลิกระบอบกษัตริย์

ค.ศ.1793 วันที่ 21 มกราคม พระเจ้าหลุยส์ถูกปลงพะชนม์ด้วยเครื่องกิโยตีน เพราะทรงถูกกล่าวหาว่า ทรยศต่อชาติ

ค.ศ.1793-4 เริ่มยุคน่าสะพึงกลัว (Reign of Terror) โรเบสปิแอร์ (Robespierre) ได้ครองอำนาจ
วันที่ 16 ตุลาคม ปลงพระชนม์พระนาง มารี อังตัวเนตต์ ด้วยกิโยตีน และมีการสังหารพวกจิรองดิสต์ไม่น้อยกว่า 60 คน


การปฏิวัติฝรั่งเศส กินเวลาในช่วงระหว่างปีคศ. 1789-1799 ( พ.ศ.2332-2342) ในการโค่นล้มระบอบกษัติย์ หลังจากสถาปนาระบอบสาธารณรัฐสำเร็จแล้วไม่นาน มีการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองด้วยกันเอง จนนำมาสู่ค.ศ. 1799 นาย พลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน

ฝรั่งเศส ผ่านกระบวนการสร้างระบอบสาธารณรัฐ มาถึง สาธารณรัฐที่ 5 ( ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน)นาย พลชาร์ล เดอ โกลใช้ระบบประธานาธิบดีที่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แทนระบบรัฐสภาแบบเดิม ซึ่งคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีมาทั้งหมด5 คนดังนี้

นาย พลชาลส์ เดอ โกล ค.ศ. 1958 - ค.ศ. 1969

ชอร์ช ปงปีดู ค.ศ. 1969 - ค.ศ. 1974

วาเลรี ชีสการ์ แดสแตง ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981

ฟรองซัว มีแตรอง ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1995

ชาก ชีรัก ค.ศ. 1995 – ปัจจุบัน


หมายเหตุ
ข้อความที่ถูกเน้น เปนไปตามความสนใจของผู้จัดเก็บบทความเอง เพื่อการสะดวกในการอ่าน

ที่มา : http://workers-voice.org/adtusite/article06/frenchrev.html

ไม่มีความคิดเห็น: