วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ


ต้องห้าม ว. สงวนไว้, ไม่ให้แตะต้อง

หนังสือ น. อักขระที่กำหนดแทนเสียงในภาษามนุษย์, ตัวหนังสือ ก็เรียก, จดหมาย หรือ แผ่นกระดาษที่มีอักขระกำกับและระบุเนื้อความ เช่น ส่งหนังสือ, กระดาษที่มีอักขระและคุมเข้าเป็นเล่ม, โดยปริยายหมายถึง วิชาความรู้ เช่น ไม่รู้หนังสือ คือ อ่านหนังสือไม่ออกหรือไม่มีความรู้

พจนานุกรมฉบับมติชน (๒๕๔๗)

หนังสือต้องห้าม แผ่นกระดาษที่มีอักขระกำกับ หรือความรู้ ที่ถูกสงวนไว้, ไม่ให้แตะต้อง

ปฐมบทแห่งการห้าม

ผู้ปกครองทุกยุคสมัยตระหนักดีว่า “กำลังอำนาจนั้นผูกมัดไว้เพียงชั่วคราว แต่ความคิดนั้นดำรงอยู่ชั่วกาล” และไม่มีสิ่งอื่นใดที่จะนำพาความคิดความอ่านให้แพร่ออกไปกว้างขวางได้เท่ากับหนังสือ ...ด้วยเหตุนี้จึงต้อง “ห้ามหนังสือ” และมี “หนังสือต้องห้าม”

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ (๒๕๔๐)

๒๔๔๗ ปีที่แล้ว ผลงานของโปรตากอรัส นักปรัชญาชาวกรีก ถูกเผากลางกรุงเอเธนส์ ๑๙๘ ปีต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกที่รวมแผ่นดินจีนไว้จนเป็นปึกแผ่นด้วยการสร้าง “อาณาจักรแห่งความกลัว” ทรงสั่งเผาหนังสือทุกเล่มในราชอาณาจักร รวมทั้งทรงบัญชาให้สังหารนักปราชญ์จำนวนมากที่ทรงเห็นว่าเป็นศัตรู

แต่การทำลายหนังสือครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์มวลมนุษยชาติ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๔๙๕ เมื่อ จูเลียส ซีซาร์ ได้กรีธาทัพเข้าสู่เมืองอเล็กซานเดรีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอียิปต์) พร้อม ๆ กับการสั่งเผา “หอสมุดอเล็กซานเดรีย” หอสมุดที่ดีที่สุดของโลกยุคโบราณ ที่บรรจุม้วนปาปิรัสซึ่งมีสรรพวิชาความรู้ต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า ๔ แสนม้วน รวมทั้งมีการจัดทำหมวดหมู่ บทวิจารณ์ เรื่องย่อของหนังสือทุกเล่ม และนี่เองที่เป็นจุดสิ้นสุดของอารยธรรมกรีก-โรมันที่เริ่มต้นตั้งแต่ ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล

ไม่เพียงแต่อำนาจรัฐเท่านั้นที่ “ห้ามหนังสือ” ในยุคกลางซึ่งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลอย่างมาก บรรดาพระผู้ใหญ่ที่มาประชุมกันในปี พ.ศ. ๒๑๐๒ มีความเห็นร่วมกันให้จัดทำ Index Librorum Prohibitorum (Index of Forbidden Books) ประกาศรายชื่อหนังสือที่เห็นว่าเป็นภัยต่อศรัทธาของชาวโรมันคาทอลิก โดยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมรายชื่อหนังสือและนักเขียนต้องห้ามอยู่ตลอดเวลา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ มีการปรับปรุง ๓๒ ครั้ง มีรายชื่อหนังสือต้องห้ามบรรจุไว้กว่า ๔,๐๐๐ เล่ม ซึ่งในรายชื่อเหล่านั้นประกอบไปด้วยผลงานของนักคิดคนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กาลิเลโอ วอลแตร์ เรื่อยมาจนถึง วิกเตอร์ ฮูโก ลีโอ ตอลสตอย เจมส์ จอยซ์ ฯลฯ




( ภายหลังจากตีพิมพ์หนังสือ บทสนทนาว่าด้วยระบบใหญ่สองระบบของโลก (Dialogue on the Two Great Systems of the World) ในปี พ.ศ. ๒๑๗๕ ซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับความเชื่อของคริสต์ศาสนา กาลิเลโอก็ถูกบังคับให้เพิกถอนทฤษฎีของเขาในปีรุ่งขึ้น ต่อหน้าคณะกรรมการสอบสวนในกรุงโรมซึ่งมีพระสังฆราชเป็นประธาน )

ประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่น่าสะพรึงกลัว คือการขึ้นมาของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมนีผู้ใฝ่ฝันที่จะสร้างอาณาจักรไรซ์ที่ ๓ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ฮิตเลอร์ได้บัญชาการให้นายพอล โจเซฟ กอบเบลส์ รัฐมนตรีกระทรวงโฆษณาชวนเชื่อ (Ministry of Propaganda) เป็นผู้นำในการเผาหนังสือจำนวนกว่า ๒ หมื่นเล่มต่อหน้าฝูงชนนับแสนกลางกรุงเบอร์ลิน ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๖ กอบเบลส์ได้กล่าวปราศรัยต่อหน้าฝูงชนว่า “คืนนี้ ท่านกำลังทำสิ่งถูกต้องแล้วที่โยนอดีตอันลามกอนาจารลงในเปลวเพลิง”

หลังจากนั้นไม่นาน ฮิตเลอร์ได้นำเยอรมนีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการสังหารชาวยิวไปกว่า ๖ ล้านคน และมีคนล้มตายทั่วโลกกว่า ๖๒ ล้านคน

นานมาแล้ว ไฮน์ริช ไฮเนอ กล่าวไว้อย่างถูกต้องว่า

“ถ้าที่ไหนเผาหนังสือกันได้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเผาคน”


แรกห้ามในสยามประเทศ

แม้การอ่าน-เขียนจะไม่เป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายของสังคมสยามมาแต่ก่อน แต่หนังสือก็เป็นมากกว่าวัตถุที่บันทึกตัวอักษร ดังนั้นคนสมัยก่อนจึงมีความเคารพหนังสือ (แม้จะอ่านไม่ออกก็ตาม) เพราะเชื่อว่าหนังสือมีความศักดิ์สิทธิ์ เห็นได้จากเรื่องเล่าถึงการค้นพบ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ ที่ว่า หลวงประเสริฐอักษรนิติ์เดินไปพบยายแก่คนหนึ่งกำลังเอาสมุดข่อยมาเผา จึงได้เข้าไปขอดูและได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การเผาหนังสือดังกล่าวไม่ได้เกิดจากเจตนาที่จะทำลายหนังสือ หากแต่ยายแก่คนนั้นต้องการจะนำขี้เถ้าจากการเผาไปผสมทำยาเพราะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสือต่างหาก แต่การทำลายหนังสือก็มิใช่ไม่เคยมีในสังคมสยาม ใน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ได้ปรากฏเหตุการณ์ “คนตื่นเอาตำราคุณไสยทิ้งน้ำ” ในปี พ.ศ. ๒๑๗๘ เมื่อพระเจ้าปราสาททองเสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าลูกเธอฝ่ายใน ณ วัดไชยวัฒนาราม พบเนื้อในท้องเผาไม่ไหม้ ทำให้สงสัยว่าโดนคุณไสย จึงเกิดข่าวลือว่าจะมีการค้นตำรับตำราตามบ้านเรือน ทำให้ผู้แก่ผู้เฒ่าที่มีตำราคุณไสยต่างเอาหนังสือไปทิ้งน้ำเสียเนื่องจากกลัวความผิด



( หมอบรัดเลย์เช่าบ้านและใช้เป็นโรงพิมพ์ หรือ Printing Office of the American Missionary Association ซึ่งเป็นสถานที่พิมพ์ หนังสือกฎหมายไทย )

กว่าที่การห้ามหนังสือจะเกิดขึ้นในสยามก็ต้องรอจนถึงปีสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แต่หลายคนเมื่อได้รู้ว่าหนังสือเล่มแรกที่ถูกห้ามในสยามนั้นเป็นหนังสือว่าด้วยเรื่องอะไร ก็อาจตั้งคำถามว่าทำไมต้องห้าม ? เพราะมันเป็นหนังสือกฎหมาย

เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่เราใช้มโนทัศน์ในปัจจุบันที่ว่า ทุกคนเสมอภาคภายใต้กฎหมาย “การไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้ออ้างให้พ้นผิด” ไม่ได้ เพราะในยุคนั้นความรู้เรื่องกฎหมายเป็นเรื่องของชนชั้นนำ รวมทั้งมันยังถูกเก็บไว้ในสถานที่ “ต้องห้าม” อีกด้วย

เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อนายโหมด อมาตยกุล ต้องขึ้นศาลในคดีมรดก นายโหมดได้แอบจ้างคัดลอกกฎหมายที่โรงอาลักษณ์เป็นเงิน ๑๐๐ บาท จนได้ต้นฉบับนำมาพิมพ์เผยแพร่โดยหวังว่าจะได้ช่วยคนที่ไม่รู้กฎหมายและนำเงินมาหักลบต้นทุนที่ลงไป นายโหมดได้นำต้นฉบับดังกล่าวไปว่าจ้างให้หมอบรัดเลย์พิมพ์เป็น หนังสือกฎหมายไทย จำนวน ๒๐๐ ชุด ชุดละ ๒ เล่ม เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๐-๒๓๙๓

ทันทีที่หนังสือเล่มแรกออกมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้ว มีรับสั่งให้นำตัวนายโหมดและพวกลูกจ้างของหมอบรัดเลย์ไปสอบ รวมทั้งริบหนังสือกฎหมายนั้น แต่ก็มิได้มีรับสั่งให้นำไปเผาหรือทำลายเพราะความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสือ เพียงรับสั่งว่าเมื่อพระเจดีย์ที่วัดสระเกศสร้างแล้วเสร็จให้นำหนังสือที่ริบมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้งหมด

กำธร เลี้ยงสัจธรรม ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของการ “ริบหนังสือ” ครั้งนั้นไว้ว่า เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าหากหนังสือกฎหมายตกอยู่ในมือของคนทั่วไปแล้ว “พวกเจ้าถ้อยหมอความ” จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับคดโกง ทำให้เกิดความยุ่งยากต่อบ้านเมือง นอกจากนี้การกระทำของนายโหมดยังถือเป็นการละเมิดต่อธรรมเนียมการศึกษากฎหมายที่สงวนไว้เฉพาะเจ้านายและขุนนางจำนวนน้อยเท่านั้นด้วย

แต่เมื่อผลัดแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่มากกว่า ก็มีรับสั่งว่า “จะต้องให้เอากฎหมายตีพิมพ์ขึ้นไว้อีกจะเป็นคุณกับบ้านเมือง” และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เอาหนังสือที่ริบไว้คืนแก่นายโหมด พร้อมทั้งทรงรับซื้อไว้จำนวนหนึ่งเพื่อแจกแก่โรงศาลทุกแห่ง ถือเป็นการเปิดยุคของการศึกษากฎหมายอย่างเสรีจากที่ก่อนหน้านั้นเป็นวิชาต้องห้าม


เมื่อความคิด ความรู้ ถูกท้าทาย

ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมพรรษาเพียง ๑๖ พรรษา โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพียงต้นรัชกาล ก็ได้มีประกาศห้าม นิราศหนองคาย ของหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์)

มูลเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองสมัยนั้น ระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าสายตระกูลบุนนาคซึ่งกุมอำนาจไว้ทั้งหมด กับเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดสงครามปราบฮ่อ ทั้งสองได้ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในการจัดทัพ ทำให้นายทิมซึ่งเป็นคนของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ฯ ต้องออกมา “เถียงแทนนาย” ผ่าน นิราศหนองคาย โดยหาว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ สั่งเดินทัพในฤดูฝนเป็นการไม่สมควร ทั้งยังเป็นการขาดเมตตาจิตต่อไพร่พล สมเด็จเจ้าพระยาฯ โกรธมาก จึงนำเรื่องเข้ากราบบังคมทูลฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งผลให้มีการสั่งเผา นิราศหนองคาย และลงโทษนายทิมด้วยการโบย ๕๐ ทีและจำคุก ๘ เดือน

ถึงแม้ว่าในยุคนี้สยามจะรับเทคโนโลยีจากตะวันตกจำนวนมาก แต่วิชาความรู้ก็ยังจำกัดอยู่ในหมู่ชนชั้นนำ หอสมุดของวังหลวงที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ก็เป็นเพียง “หอสมุดสำหรับราชตระกูล” ให้บริการเฉพาะเจ้านายและพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น นี่ยังไม่ต้องเอ่ยถึงระบอบการปกครองที่ไกลกว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่แม้ใครเพียงคิด ก็จะกลายเป็นพวก “ราดิกัล” (หัวรุนแรง) ไปเสียทุกคน

แต่ในยุคนี้เองที่สามัญชน ๒ ท่าน คือ ก.ศ.ร. กุหลาบ และ เทียนวรรณ ได้รังสรรค์ความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งคู่มีความเหมือนกันหลายประการ เช่น การได้รับการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม การได้เดินทางไปต่างประเทศ การมีทักษะด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งการเขียน/การทำหนังสือ ท่านแรกมีความสำคัญในการ “เหลียวมองหลัง” สืบเสาะค้นหาและรวบรวมความรู้ที่ถูกหวงห้ามไว้เฉพาะชนชั้นสูง ขณะที่ท่านต่อมาเป็นผู้ที่ “แลไปข้างหน้า” มีจินตนาการเกินกว่าระบอบการปกครองในขณะนั้น นอกจากนี้ทั้งคู่ยังมีชะตากรรมที่ไม่ต่างกัน นั่นคือถูกพิพากษาจากอำนาจรัฐ คนแรกถูกทำให้กลายเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้ ขณะที่อีกคนถูกขังลืมเกือบ ๑๗ ปี

ก.ศ.ร. กุหลาบ (๒๓๗๗-๒๔๕๖)
ก.ศ.ร. กุหลาบ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำลายการผูกขาด “ความรู้” ของชนชั้นนำในยุคนั้น โดยเริ่มจากการออกอุบายขอยืมหนังสือจากหอหลวงมาอ่าน แล้วจ้างอาลักษณ์คัดลอก การทำเช่นนี้ดำเนินต่อเนื่องมานานนับปีจึงทำให้ท่านมีต้นฉบับจากหอหลวงเป็นจำนวนมาก

ต่อมาท่านจึงนำความรู้ที่ได้มาพิมพ์เผยแพร่ ทั้งที่เป็นหนังสือเล่ม เช่น คำให้การของขุนหลวงหาวัด และที่นำลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สยามประเภท ที่จัดทำขึ้นเพื่อ “บำรุงปัญญาประชาชน” แต่ด้วยความที่ท่านทราบดีว่าการนำความรู้ที่หวงห้ามไว้มาเผยแพร่มีความผิด ท่านจึง “ดัดแปลง” บางข้อความเสีย ทว่าการกระทำดังกล่าวกลับนำโทษมาสู่ตัวเอง เมื่อท่านเขียนชีวประวัติของสมเด็จพระสังฆราช (สา) พระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคลาดเคลื่อน จนมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้ และได้ข้อสรุปว่า ก.ศ.ร. กุหลาบ “เปนผู้แสดงความเท็จอวดอ้างตนให้คนเชื่อถือ เปนผู้ปั้นความที่ไม่จริงขึ้นลวงให้คนเชื่อผิด ๆ” หลังจากนั้น “กุ” จึงกลายเป็นคำที่หมายถึงการสร้างเรื่องขึ้นมาโดยไม่มีมูล ทั้ง ๆ ที่ความจริงมูลเหตุที่ ก.ศ.ร. กุหลาบ ต้อง “กุ” นั้นมาจากการหวงห้ามความรู้นั่นเอง

เทียนวรรณ (๒๓๘๕-๒๔๕๘)
เทียนวรรณ เป็นตัวแทนความคิดสมัยใหม่ที่มาพร้อมการเปลี่ยนแปลงของสยามภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ที่ส่งผลให้การค้าถือเป็นมาตรวัดความเจริญของประเทศ ท่านพยายามเปลี่ยนทัศนคติให้ชาวสยามหันมาทำการค้ามากกว่าจะมุ่งแต่เป็นข้าราชการ ท่านได้เห็นทั้งการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลางและการคอร์รัปชันในระบบราชการ พอ ๆ กับการทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก จึงเป็นที่มาของความกระตือรือร้นในการเปลี่ยนแปลงสยามสู่ความ “ศิวิไลซ์” ด้วยการเรียกร้อง “ปาลิเมนต์”, การเลิกทาส, ห้ามสูบฝิ่น ฯลฯ

เทียนวรรณได้ก้าวสู่การเป็นนักหนังสือพิมพ์โดยการออกหนังสือ ตุลวิภาคพจนกิจ และเปิดสำนักงานทนายความ “ออฟฟิศอรรศนานุกูล” อันเป็นเหตุให้ท่านถูกกลั่นแกล้งจนตกเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นตราราชสีห์ จากการที่มีผู้มาหลอกลวงให้เขียนใบฎีกา ส่งผลให้ท่านถูกโบย ๕๐ ที และถูกขังลืมเกือบ ๑๗ ปี ในระหว่างนั้นท่านได้เขียนงานที่ทรงคุณค่าและมาก่อนกาลเป็นจำนวนมาก ก่อนจะสิ้นอายุขัยในวัย ๗๓ ปี ได้มีเด็กนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยคนหนึ่งเข้ามาคุยด้วย เราไม่ทราบว่าทั้งสองคุยกันเรื่องอะไร แต่อีก ๑๖ ปีต่อมา นักเรียนหนุ่มผู้นั้นได้เป็นมันสมองของคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองชนิดพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน


ทรัพย์ศาสตร์ : เศรษฐศาสตร์ต้องห้าม

ถึงแม้เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิชาที่ศึกษาได้ทั่วไปในปัจจุบัน แต่ถ้าค้นลงไปในประวัติศาสตร์กลับพบว่า ก่อนปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาต้องห้าม เห็นได้จากที่มีการห้ามหนังสือ ทรัพย์ศาสตร์ ของพระยาสุริยานุวัตร การห้ามหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันว่าเป็น “ยุคทองของนักหนังสือพิมพ์”

พระยาสุริยานุวัตร อดีตเสนาบดีกระทรวงพระมหาสมบัติ นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารนโยบายเศรษฐกิจแล้ว ท่านยังมีความเชื่อเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจด้วย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเสนอให้โอนกิจการฝิ่นจากเจ้าภาษีนายอากรมาสู่รัฐบาลเพื่อขจัดการรั่วไหลของรายได้ และจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศ แต่เมื่อนโยบายถูกต่อต้านจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชหัตถเลขาแนะนำให้ท่านลาออก ชีวิตราชการของท่านจึงยุติด้วยวัยเพียง ๔๕ ปี




( ความทุกข์ยากของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทั้งจากพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออก ส่งผลให้พระยาสุริยานุวัตรเขียน ทรัพย์ศาสตร์ ขึ้น ทั้งในแง่ของการวิเคราะห์และชี้ทางออก แต่หนังสือเล่มนี้กลับถูกห้าม )







หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านก็ได้อุทิศเวลาที่เหลือทุ่มเทให้แก่การเขียนตำราทางเศรษฐศาสตร์เล่มแรกของสยามที่ชื่อว่า ทรัพย์ศาสตร์ เนื้อหาในเล่มนอกจากการวิจารณ์การดำเนินนโยบายที่ไม่ส่งเสริมการสะสมทุน จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประเทศล้าหลังแล้ว ท่านยังชี้ให้เห็นการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจของชาวนาไปให้แก่พ่อค้าคนกลางและพ่อค้าส่งออกในรูปแบบของการปล่อยกู้ดอกเบี้ยสูงและการกดราคาข้าวเปลือกอีกต่อหนึ่ง

ทันทีที่ ทรัพย์ศาสตร์ ๒ เล่มแรกตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ (จากที่วางแผนไว้ว่าจะมีทั้งหมด ๓ เล่ม) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีรับสั่งให้พระยาสุริยานุวัตรยุติการเขียน หลังจากนั้นทรงเขียนบทวิจารณ์ “ทรัพย์ศาสตร์ (เล่ม ๑) ตามความเห็นของเอกชนผู้ได้อ่านหนังสือเท่านั้น” ในนามปากกา “อัศวพาหุ” ลงในวารสาร สมุทรสาร ทรงเห็นว่า ทรัพย์ศาสตร์ จะทำให้คนไทยแตกแยกเป็นชนชั้น เพราะในสยามประเทศนั้น เว้นแต่พระเจ้าแผ่นดินแล้ว “ใคร ๆ ก็เสมอกันหมด” ทรงเห็นว่าผู้เขียน “ตั้งใจยุแหย่ให้คนไทยเกิดฤศยาแก่กันและแตกความสามัคคีกัน” เพราะเขียนเรื่องความต่างทางรายได้

ทรัพย์ศาสตร์ จึงต้องยุติลงเพียงเล่ม ๒ เท่านั้นท่ามกลางความทุกข์ใจอย่างยิ่งของผู้เขียน และเมื่อผลัดแผ่นดิน เหตุการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลง เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นถึงกับมีการแก้ไขกฎหมายอาญากำหนดความผิดของการสอนลัทธิเศรษฐกิจ โดยมีโทษสูงสุด ๑๐ ปี และให้ปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท ทรัพย์ศาสตร์ จึงกลายเป็นหนังสือต้องห้ามสมบูรณ์แบบ

กว่าที่วิชาเศรษฐศาสตร์จะกลับมาสู่สาธารณะอีกครั้งก็เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ “ลัทธิเศรษฐกิจ” ได้รับการบรรจุเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิต และพระยาสุริยานุวัตรก็ได้เขียนทรัพย์ศาสตร์ เล่ม ๓ ออกมาในชื่อ เศรษฐศาสตร์และการเมือง

หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ถึงแก่กรรมในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๗๙ เหลือทิ้งไว้แต่มรดกล้ำค่าที่คนจะจดจำไปตลอดกาล นั่นคือหนังสือที่ชื่อ ทรัพย์ศาสตร์

อรุณรุ่งแห่งเสรีภาพ

“ผมกับเพื่อนรุ่นหนุ่มอีกสองสามคนชักชวนกันแสวงหาคำตอบจากหนังสือต่าง ๆ ซึ่งเดิมโรงเรียนห้ามไม่ให้อ่าน เพราะเป็นบาป เช่น หนังสือของรุสโซ วอลแตร์ โซลา และหนังสือประวัติการปฏิวัติของฝรั่งเศส”

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (๒๕๑๕)

การปฏิวัติสยาม ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎร ไม่เพียงแต่เปลี่ยนอำนาจการเมืองเท่านั้น แต่ความคิดความรู้ของผู้คนจำนวนมากก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อครั้งเรียนอยู่ชั้น ม. ๘ โรงเรียนอัสสัมชัญ หันมาสนใจการบ้านการเมืองมากขึ้น พร้อม ๆ กับการขวนขวายอ่านหนังสือที่ถูกประทับตราว่าเป็นหนังสือต้องห้ามของโรงเรียนโรมันคาทอลิกอย่างอัสสัมชัญ

ทว่าช่วงเวลาของเสรีภาพต้องสะดุดเมื่อหนังสือ เค้าโครงการณ์เศรษฐกิจ หรือที่รู้จักกันในนาม “สมุดปกเหลือง” ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ออกมา เอกสารภายในที่จัดพิมพ์ไม่เกิน ๒๐๐ เล่ม เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ (ปีปฏิทินเก่า) ได้ก่อให้เกิดความเห็นแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่านี่จะเป็นหนทางนำความผาสุกมาสู่สยาม ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่านี่เป็นโครงการของคอมมิวนิสต์ ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้นจนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ต้องทำการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ โดยการ “ปิดสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา” ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖

และในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการประกาศใช้ “กฎหมายคอมมิวนิสต์” ซึ่งมีไว้เล่นงานนายปรีดี พนมยงค์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ จนมีการประกาศห้ามหนังสือสมุดปกเหลืองด้วยเหตุว่า “แสลงไปในทางการเมือง...เหลื่อมไปในทางลัทธิคอมมูนิสม์”

นายปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองในวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จากนั้นในวันต่อมาก็มีหนังสือ บันทึกพระบรมราชวินิจฉัยเรื่องเค้าโครงการณ์เศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ออกมาแจกจ่ายจำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม เนื้อหาในเล่มมุ่งโจมตีนายปรีดี เช่นข้อความที่ว่า “โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ หรือหลวงประดิษฐ์จะเอาอย่างสตาลิน”

ถึงแม้ต่อมาอำนาจการเมืองจะหมุนกลับมาที่คณะราษฎรจากการยึดอำนาจคืนในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ แต่พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กลับแก้ปัญหาด้วยการขอร้องมิให้รื้อฟื้นเรื่องขึ้นมาอีก โดยบอกว่า “ช่วยกันปล่อยให้ลืมเสียเถิด เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมือง”

หลังจากนั้นสมุดปกเหลืองก็หายไปจากการเมืองไทยกว่า ๒๐ ปี ขณะที่ข้อหาคอมมิวนิสต์ได้ติดตัวนายปรีดีไปตลอดชีวิต

แต่สมุดปกเหลืองก็เป็นจุดสะดุดเดียวเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นได้มีการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อให้เป็น “บ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎรผู้สมัครแสวงหาความรู้” ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๗ วิชา “ต้องห้าม” เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง ฯลฯ ก็เปิดสอนอย่างเปิดเผย และการเป็นตลาดวิชาก็ทำให้มีผู้สมัครเรียนในปีแรกถึง ๗,๐๔๙ คน หนึ่งในนั้นคือ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นักเรียนอัสสัมชัญผู้ได้รับผลสะเทือนโดยตรงจากการปฏิวัติสยาม


มรดกจอมพล ป. พิบูลสงคราม

“เพราะเรามีนักการเมืองที่ใจแคบและมีความคิดบ้องตื้นเช่นนั้น หนังสือพิมพ์ของเราจึงต้องเป็นฝ่ายค้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา”

กุหลาบ สายประดิษฐ์ (๒๕๐๐)

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีร่วม ๑๖ ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (๒๔๘๑-๒๔๘๗, ๒๔๙๑-๒๕๐๐) มีความสำคัญยิ่งต่อสังคมไทย หลายอย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันเป็นผลผลิตมาจากการเมืองยุคนั้น และหนึ่งในนั้นคือ “แอก” สำคัญของสิ่งพิมพ์ปัจจุบัน นั่นคือ พ.ร.บ. การพิมพ์ ๒๔๘๔

ยุคแรกของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (๒๔๘๑-๒๔๘๗) เริ่มต้นด้วยการจับกุมฝ่ายตรงข้ามและตั้งศาลพิเศษพิพากษาประหารนักโทษการเมืองรวม ๑๘ คน พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ได้ดำเนินนโยบายชาตินิยมทางการทหารและต่อต้านคนจีน

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ อุบัติขึ้นในยุโรปเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๒ ถึงแม้รัฐบาลจะประกาศวางตัวเป็นกลาง แต่ก็ได้อาศัยข้ออ้างเรื่องความมั่นคงออก พ.ร.บ. การพิมพ์ ๒๔๘๔ เนื้อหาใจความของกฎหมายฉบับนี้อยู่ที่มาตรา ๙ ที่ระบุว่า เมื่อเห็นว่าสิ่งพิมพ์ใด “อาจจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ก็สามารถ “ห้ามการขายหรือจ่ายแจก และให้ยึดสิ่งพิมพ์นั้น” ซึ่งเริ่มต้นด้วยการห้ามหนังสือภาษาจีน เช่น เลียกลือท้วน ตงกกชุดโล่ว ฯลฯ

เพียง ๒ เดือนให้หลัง ญี่ปุ่นก็บุกไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ แต่รัฐบาลกลับร่วมมือกับญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดขบวนการใต้ดินต่อต้านรัฐบาลและขับไล่กองทัพญี่ปุ่น รัฐบาลถือโอกาสนี้เข้าควบคุมหนังสือพิมพ์ทุกประเภทหนักมือยิ่งขึ้น ข่าวการเมืองทุกชิ้นต้องส่งให้รัฐบาลพิจารณาก่อนตีพิมพ์ รวมทั้งมีการ “บังคับ” ให้หนังสือพิมพ์ลงข้อความโฆษณารัฐบาลที่หน้าปกทุกฉบับ เช่น “เชื่อผู้นำทำให้ชาติพ้นภัย” “ความปลอดภัยของชาติอยู่ที่เชื่อผู้นำ” ฯลฯ

ในช่วงนั้นถ้าจะเผยแพร่ความคิดโดยเสรีก็ต้องทำหนังสือ “ผิดกฎหมาย” เช่น มหาชน ฉบับใต้ดิน ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่มีไว้เพื่อต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. และกองทัพญี่ปุ่นโดยตรง

ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจอยู่ในมืออย่างล้นเหลือ แต่จอมพล ป. กลับแพ้ภัยตัวเองเมื่อแพ้การลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรในกรณีการย้ายเมืองหลวงไปเพชรบูรณ์ จนต้องลาออกจากตำแหน่ง และถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลเสรีไทยซึ่งได้นำประเทศไทยผ่านสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยไม่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้

รัฐบาลหลังสงครามได้เปิดเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น มีการยกเลิก พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ ๒๔๗๖ รวมทั้งอนุญาตให้ตั้งพรรคการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ทำคือยกเลิก พ.ร.บ. การพิมพ์ ๒๔๘๔ แม้รัฐบาลจะปล่อยให้มีการรวมกลุ่มทางการเมืองอย่างเปิดเผย แต่เสรีภาพทางการเมืองก็เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเมื่อเกิดรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ คณะรัฐประหารได้ตั้งนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกฯ หุ่นเชิดจนถึงปี ๒๔๙๑ ต่อมาจอมพล ป. ก็กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ยุคที่ ๒ ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (๒๔๙๑-๒๕๐๐) เริ่มต้นด้วยการสังหารนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามเช่นเดิม แต่ครั้งนี้การต่อต้านมีมากขึ้น โดยเฉพาะจากกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ที่มี กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นหลัก ซึ่งนอกจากจะทำการต่อต้านในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนแล้ว นักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย จนเป็นเหตุให้มีการจับกุมครั้งใหญ่ในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ หรือที่รู้จักกันในนาม “กบฏสันติภาพ” พร้อม ๆ กับการกลับมาของ พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์ ในอีก ๓ วันต่อมา

สิ่งที่ต้องบันทึกไว้ด้วยก็คือ ยุคนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นระหว่าง “โลกเสรี” ที่นำโดยสหรัฐอเมริกา กับ “โลกคอมมิวนิสต์” ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ โดยที่รัฐบาลไทยมีจุดยืนเคียงข้างสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยที่หนังสือต้องห้ามกว่า ๒๕๐ รายการส่วนใหญ่มาจากสหภาพโซเวียต เช่น รวมเรื่องสั้นของกอร์กี้ โดย แมกซิม กอร์กี้ ลัทธิมาร์คซ์และการปฏิวัติ โดย เลนิน ความหมายสากลแห่งการปฏิวัติเดือน ๑๐ โดย สตาลิน

แต่อำนาจเผด็จการก็ไม่สัมบูรณ์ ขณะที่นโยบายรัฐบาลคล้อยตามสหรัฐอเมริกาอยู่นั้น แนวคิดสังคมนิยมก็ถูกจุดให้เป็นทางเลือกของสังคมผ่านนักคิดนักเขียนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า “ฝ่ายก้าวหน้า” เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ อัศนี พลจันทร์ จิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ พวกเขาไม่เพียงแต่มีฝีไม้ลายมือในการขีดเขียนเท่านั้น แต่ข้อเขียนที่สื่อออกสาธารณะยังกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงความฉ้อฉลของรัฐบาลและปลุกให้คนไม่ยอมจำนนกับระบอบเผด็จการ

จนเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้ทำการรัฐประหาร เป็นการปิดฉากทางการเมืองของจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยมีมรดกชิ้นสำคัญที่ทิ้งไว้คือ พ.ร.บ. การพิมพ์ ๒๔๘๔ ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ “ห้ามหนังสือ” มาจนถึงปัจจุบัน


ยุคสมัยแห่งความเงียบ

ต่อมา การ “รัฐประหารตัวเอง” ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑ ก็ได้นำมาสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และพรรคการเมือง พร้อม ๆ ไปกับการจำกัดเสรีภาพทางการเมืองแทบทุกด้าน สฤษดิ์สั่งจับกุมนักคิดนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าจำนวนมาก คนที่เหลือถ้าไม่ลี้ภัยทางการเมืองก็ต้องยุติบทบาททางการเขียนลง หรือหากจะอยู่บนเส้นทางวรรณกรรมต่อไปก็ต้องเปลี่ยนไปเขียนเรื่องแนวโรแมนติก เช่นกรณีของ “รพีพร” หรือ สุวัฒน์ วรดิลก

สิ่งที่ขาดไม่ได้ของรัฐเผด็จการทุกแห่ง คือการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ และประกาศรายชื่อหนังสือต้องห้าม

แต่ในยุคนี้ จากจำนวนหนังสือต้องห้ามทั้งหมดกว่า ๓๕๐ รายการ (ระหว่างปี ๒๕๐๑-๒๕๑๖) กลับมีหนังสือของนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าถูกห้ามเพียง ๒ เรื่องเท่านั้น คือนวนิยาย แลไปข้างหน้า ของ ศรีบูรพา และงานแปล ประวัติจริงของอาQ แต่งโดย หลู่ซิ่น ที่เหลือ ถ้าไม่ใช่หนังสือโป๊ซึ่งมีทั้งไทยและเทศ ก็เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศคอมมิวนิสต์ ถ้าไม่เป็นภาษาจีนก็เป็นภาษาอังกฤษ

การห้ามหนังสือในยุคนี้จึงมิได้เกิดจากผลทางกฎหมายเท่านั้น แต่มาจากความหวาดกลัวต่ออำนาจที่มีอย่างล้นเหลือของสฤษดิ์ จนกลายเป็นวัฒนธรรมเซ็นเซอร์ตัวเอง ซึ่งไม่เพียงแต่นักเขียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ ร้านหนังสือด้วย

จริงอยู่ที่อำนาจเผด็จการอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะห้ามหนังสือ เพราะถ้ามีคนต้องการอ่าน ก็ต้องมีคนผลิต ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ตาม แต่ที่สฤษดิ์ทำสำเร็จคือการสะกดความใฝ่ฝันของสังคมโดยทำให้หนทางอื่นที่ไม่ใช่หนทางเผด็จการเป็นไปไม่ได้ พร้อมกับเสนออุดมการณ์ “พัฒนา” มาเป็นหนทางไปสู่การสร้างความสำเร็จให้แก่สังคม ผ่านการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในปี ๒๕๐๔

นี่คงเพียงพอที่จะอธิบายว่า ทำไมแผงหนังสือจึงไม่มีที่ว่างให้หนังสือที่ท้าทายอำนาจเผด็จการ

แต่ก็ใช่ว่างานเขียนของฝ่ายก้าวหน้าจะสูญหายไปจากสังคมไทย เพราะนักคิดนักเขียนจำนวนมากยังคงผลิตงานของตนอยู่อย่างเงียบ ๆ ในคุกลาดยาว เหมือนรู้ว่าสักวันหนึ่งงานเขียนเหล่านั้นมันจะได้ใช้

ประจักษ์ ก้องกีรติ เรียกสิ่งที่รัฐเผด็จการของสฤษดิ์กระทำต่อนักคิดนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าว่าเป็นการ แยก “ปัญญาชน” ออกจาก “สาธารณะ” ซึ่งแม้ว่าจะมิได้ทำลายชีวิตทางกายภาพ แต่ก็เท่ากับทำลายชีวิตทางการเมืองวัฒนธรรมซึ่งสำคัญยิ่งยวดต่อการดำรงชีวิตในฐานะปัญญาชน ทำให้พวกเขาตายจากสาธารณะ หรือหมดบทบาทของการเป็นปัญญาชนสาธารณะ (public intellectual)

แต่อำนาจเผด็จการที่ไหนก็ไม่ยั่งยืน หลังอสัญกรรมของสฤษดิ์ พืชพันธุ์แห่งการต่อต้านเผด็จการก็ก่อตัวขึ้น โดยเฉพาะขบวนการนักศึกษาที่ก่อตัวจากกลุ่มอิสระตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมตัวมาเป็นองค์การนักศึกษา และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จนเกิดเป็นเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ ที่ล้มอำนาจเผด็จการที่สืบทอดมานานนับสิบปี


หนึ่งเดียว หลัง ๑๔ ตุลา

ตลาดหนังสือหลัง ๑๔ ตุลา มีความเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่อง “ปริมาณ” ที่มีการเกิดขึ้นของสำนักพิมพ์อิสระ ที่มุ่ง “ขาย” ความคิดมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้มีหนังสือออกมาเป็นจำนวนมาก ขณะที่ “คุณภาพ” ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ๑๔ ตุลานำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญาครั้งใหญ่ของสังคมไทย

๑๔ ตุลายังนำมาซึ่งการปลดปล่อยงานเขียนในทศวรรษ ๒๔๙๐ ที่ถือเป็นงาน “ต้องห้าม” ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง นับเฉพาะหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้รับการตีพิมพ์นับหมื่นเล่มในเวลาไม่กี่เดือน จนต้องมีการจัดสัมมนาว่าด้วยหนังสือเล่มนี้โดยเฉพาะ

แต่ ๑๔ ตุลาก็ไม่สามารถให้ความกระจ่างต่อความดำมืดของประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ นั่นคือ กรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙

กลางปี ๒๕๑๗ วิวาทะว่าด้วยกรณีสวรรคตก็เริ่มขึ้น เมื่อหนังสือ กรณีสวรรคต ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ โดย สรรใจ แสงวิเชียร วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ได้ตั้งข้อสงสัยต่อบทบาทการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายปรีดี พนมยงค์ ในกรณีสวรรคต หลังจากนั้นเพียงสัปดาห์เดียว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ของ สุพจน์ ด่านตระกูล ก็ออกมาโต้อย่างทันควัน สุพจน์นอกจากเสนอว่าปรีดีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ยังขยับไปอีกขั้นว่าใครน่าจะมีส่วนบ้าง หนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้รับการพิมพ์ซ้ำอย่างรวดเร็วและตามมาด้วยหนังสือที่เกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคตอีกจำนวนมาก

และในบรรดาหนังสือว่าด้วยกรณีสวรรคต เล่มที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดก็คือ กงจักรปีศาจ ซึ่งแปลมาจาก The Devil’s Discus ของ เรย์น ครูเกอร์ (Rayne Kruger) ความจริงแล้วฉบับภาษาอังกฤษนั้นถูกจัดเป็น “สิ่งพิมพ์ที่ห้ามเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร” ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ หรือแทบจะทันทีที่หนังสือเล่มนี้ออกวางจำหน่าย เพียงแต่ครั้งนั้นหนังสือเล่มนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างเนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษและช่วงเวลานั้นยังอยู่ในยุคเผด็จการ

กงจักรปีศาจ แปลโดย เรือเอก ชลิต ชัยสิทธิเวช ร.น. จัดพิมพ์โดยชมรมนักศึกษากฎหมาย ด้านหลังบอกว่า “พิมพ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคัดจากสำนวนศาลแพ่งคดีดำที่ ๗๒๓๖/๒๕๑๓ ระหว่างนายปรีดี พนมยงค์ โจทก์ บริษัทสยามรัฐ จำกัด ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพวก จำเลย”

ความเป็นมาของหนังสือเล่มนี้เริ่มจากนายปรีดี พนมยงค์ ได้ฟ้อง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพวก ในข้อหาหมิ่นประมาทว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีสวรรคต โดย กงจักรปีศาจ ฉบับแปลนี้เป็นเอกสารประกอบการฟ้อง และเมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้ว เอกสารสำคัญนี้ก็เหมือนได้รับความคุ้มครองในทางกฎหมายระดับหนึ่ง หลังจากนั้น กงจักรปีศาจ (ฉบับโรเนียว) ก็เผยแพร่อยู่ในวงแคบ ๆ ในหมู่ผู้สนใจประวัติศาสตร์ก่อน ๑๔ ตุลา
แต่ภายหลังเมื่อมีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อร่วมวิวาทะกับหนังสือกรณีสวรรคตเล่มอื่น ๆ ทางคณะผู้จัดพิมพ์กลับเปลี่ยนใจ “ถอด” เนื้อหาในส่วนแรก (๑๖ หน้า) ที่ประกอบด้วยชื่อผู้รับผิดชอบและคำชี้แจงในการจัดพิมพ์ออก พร้อม ๆ กับแปรสภาพให้ กงจักรปีศาจ เป็นหนังสือใต้ดิน ที่แม้ไม่วางขายทั่วไปแต่ก็เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เมื่อมีการประกาศรายชื่อหนังสือต้องห้าม จะมี กงจักรปีศาจ รวมอยู่ด้วย


เผาคน (แล้ว) เผาหนังสือ

ภายหลังจากอาชญากรรมรัฐที่กระทำต่อนิสิตนักศึกษาด้วยการล้อมปราบและทารุณกรรมในเช้าวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ แล้ว ตกค่ำ คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนและนำประเทศเข้าสู่การปกครองระบอบเผด็จการอีกครั้งหนึ่ง

ในคืนนั้นเอง คณะปฏิรูปฯ ได้สั่งปิดหนังสือพิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ และตั้งคณะกรรมการซึ่งมีนายประหยัด ศ. นาคะนาท เป็นประธาน เพื่อพิจารณาคำร้องว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับไหนที่ควรได้ดำเนินการต่อไป ผลปรากฏว่า ประชาชาติรายวัน ประชาธิปไตย อธิปัตย์ ฯลฯ ถูกลบออกจากสารบบหนังสือพิมพ์ไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนฉบับที่เหลือก็ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองทุกครั้งที่ตีพิมพ์

ในคำสั่งเดียวกัน คณะปฏิรูปฯ ได้ให้เจ้าหน้าที่ริบหรือทำลายหนังสือที่เห็นว่าจะก่อให้เกิดความแตกสามัคคีในชาติและทำให้ประชาชนเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ เท่านั้นยังไม่พอ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๓ ได้มีการออกประกาศ ๔ ฉบับ ระบุรายชื่อสิ่งพิมพ์ต้องห้ามรวมแล้ว ๒๑๙ รายการ ซึ่งนับเป็นการห้ามหนังสือครั้งใหญ่ที่สุดในสังคมไทย

เมื่อผสานกับนโยบายการปราบปรามอันเข้มงวด ก็ทำให้ประชาชนต้องนำหนังสือมาทำลายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ย้อนนึกไปยังสมัยพระเจ้าปราสาททอง เพียงแต่เปลี่ยนจากหนังสือคุณไสยมาเป็นหนังสือการเมืองเท่านั้น

เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้มีอำนาจสมัยนั้นมิได้มีความรู้ในการห้ามเสียด้วยซ้ำ หลายเล่มก็ดูเพียงชื่อผู้เขียน เช่น จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลาคม โดย ปรีดี พนมยงค์ หลายเล่มก็ดูเพียงชื่อหนังสือ เช่น ชาวนาไทยกับการเปลี่ยนแปลง ของ สุเทพ สุนทรเภสัช กระบวนการห้ามหนังสืออย่างบ้าคลั่งนี้ทำให้ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ถึงกับทิ้งงานวิชาการโดยสิ้นเชิง เมื่อ กลยุทธในการแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย ของเขาได้กลายเป็น ๑ ใน ๒๑๙ หนังสือต้องห้าม

นอกจากการห้ามหนังสืออย่างเป็นทางการแล้ว เอกสารราชการจำนวนมากที่เก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือหน่วยงานราชการอื่น ที่เคยเปิดให้ใช้ภายหลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ก็ถูก “ห้าม” เช่นเดียวกัน ทั้งที่เอกสารเหล่านั้นกล่าวถึงเหตุการณ์ในอดีต เช่น การเจรจาเขตแดนกับอังกฤษและฝรั่งเศสในสมัย ร. ๕ ซึ่งส่งผลสำคัญต่อวงวิชาการเป็นอย่างมาก

แต่เมื่อขบวนการคอมมิวนิสต์ล่มสลายลงทั้งในระดับประเทศและสากลในต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ หนังสือต้องห้ามหลายเล่มก็ได้ออกมาวางจำหน่ายอีกครั้งแต่กลับไม่คึกคักเหมือนเคย เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่มีอารมณ์ร่วมในการอ่านหนังสือเหล่านี้อีกต่อไปจึงไม่คุ้มที่จะพิมพ์ออกมาในเชิงธุรกิจ มันจึงปรากฏอยู่เพียงตามร้านหนังสือเก่าทั้งที่รัฐเองก็อนุญาตอยู่กลาย ๆ เพราะใน พ.ศ. นี้ คอมมิวนิสต์มิใช่ภัยของรัฐอีกต่อไป การออก “พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ ๔๓ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙“ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ก็เป็นเพียงการอนุญาตอย่างเป็นทางการเท่านั้น


ต้องห้าม เพราะถามไม่ตรงคำตอบ

“วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ?”

ปกหลัง การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (๒๕๓๘)


เมื่อคอมมิวนิสต์ไม่เป็นภัยคุกคามแล้ว การห้ามหนังสือก็ดูเหมือนจะคลี่คลายลง แต่จู่ ๆ ก็เกิดปรากฏการณ์การห้ามโดย “ภาคประชาชน” มูลเหตุเกิดจากข้อความสั้น ๆ ที่ปรากฏอยู่บนปกหลังหนังสือ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ของ สายพิน แก้วงามประเสริฐ ว่า “วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ ?”

นี่มิใช่คำถามใหม่ แม้แต่ปราชญ์สยามอย่างสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ก็เคยทูลถามสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า “เรื่องท่านผู้หญิงโม้นี้ดูก็ประหลาด ...ไม่เห็นว่าแสดงแผลงอิทธิฤทธิ์อะไร เป็นแต่ว่าคุมพวกผู้หญิงเป็นกองหลังเท่านั้น ทำไมยกย่องกันหนักหนาไม่ทราบ”

ต่อสายพินไปไกลกว่านั้นด้วยคำถามใหม่ ๆ เช่น ทำไมจึงต้องเร่งสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้นในปี ๒๔๗๗, ทำไมต้องเร่งเปิดอนุสาวรีย์ทั้งที่เป็นเพียงรูปปูนปลาสเตอร์ปั้นแล้วทาสีทองทับเท่านั้น, เหตุใดต้องเปลี่ยนท่าทางของท้าวสุรนารี ฯลฯ

จากคำถามเหล่านี้ สายพินได้เริ่มค้นหาคำตอบด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์จนพบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารีถูกนำมาใช้เพื่อเป้าประสงค์ทางการเมืองในทศวรรษ ๒๔๗๐ และนั่นก็คือที่มาที่ทำให้ท้าวสุรนารีเป็นสามัญชนคนแรกที่ทางการสร้างอนุสาวรีย์ให้

งานวิจัยชิ้นนี้ได้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี ๒๕๓๖ และอีก ๒ ปีต่อมา สำนักพิมพ์มติชนก็ได้นำมาปรับปรุงเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ก็มีชาวโคราช ทั้งนักการเมือง นักวิชาการ และสื่อมวลชน ออกมาประท้วงผู้เขียนและสำนักพิมพ์ว่าลบหลู่สิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เคารพ ก่อให้เกิดการแตกแยกในสังคม พร้อมทั้งข่มขู่ว่า หากย่างเท้าเข้ามาเมืองโคราชจะถูก “ต้อนรับ” อย่างสาสม มีการรวมพลังคนนับหมื่นที่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ทำให้สำนักพิมพ์มติชนต้องเก็บหนังสือออกจากท้องตลาด ขณะที่ผู้เขียนก็ถูกย้ายจากโรงเรียนสะแกราชธวัชศึกษา อำเภอปักธงชัย นครราชสีมา

สายพินสรุปว่าเรื่องของท้าวสุรนารียังคงถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของวิชาประวัติศาสตร์ ที่ไม่ช่วยให้คนในสังคมแก้ปัญหาด้วยการค้นหา “ความจริง” มาโต้แย้ง “ความจริง” ที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์

นับว่าเป็นเรื่องน่าแปลกที่หนังสือเรื่องเดียวกัน เมื่ออยู่ใน “พื้นที่” มหาวิทยาลัย ใน “รูปแบบ” วิทยานิพนธ์ ไม่มีปัญหา แต่เมื่อกลายเป็นหนังสือเล่มวางขายทั่วไปในท้องตลาด กลับก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง ความผิดของหนังสือเล่มนี้คืออยู่ผิดที่ผิดทาง หรือว่าอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับความเชื่อที่แตกต่าง และพร้อมที่จะจัดการความเชื่อที่แตกต่างด้วยกำลัง

ผลจากกรณีดังกล่าวได้ก่อให้เกิดขนบบางอย่างขึ้นในการทำงานวิชาการว่า บางเรื่อง “ไม่เชื่อก็อย่า (แม้แต่) ตั้งคำถาม”


ไม่ห้ามหนังสือ ใช่ว่าไม่มีหนังสือต้องห้าม

นอกจากหนังสือที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่มีหนังสือต้องห้ามเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ขณะที่ตลาดหนังสือก็ขยายตัวมากขึ้น รายงาน “ที่สุดในธุรกิจหนังสือ ปี ๒๕๔๘“ ของซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ พบว่า ในปีที่ผ่านมามีหนังสือไปขอเลขมาตรฐานประจำหนังสือ ๓๙,๘๕๐ ปก หรือเฉลี่ยมีหนังสือออกใหม่วันละ ๑๐๙ ปก (ตัวเลขนี้รวมทั้งวิทยานิพนธ์ หนังสือราชการ หนังสืองานศพ ที่ไม่เข้าสู่ระบบตลาดด้วย) และมีหนังสือเข้าร้านซีเอ็ด ๑๑,๖๕๑ ปก เฉลี่ยวันละ ๓๑.๙ ปก

หนังสือขายดี ๕ อันดับแรก คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่ม ๖, เกิดแต่กรรม เล่ม ๑, เล่ม ๒, เข็มทิศชีวิต และ คู่มือ Windows XP ฉบับสมบูรณ์ ขณะที่ประเภทของหนังสือที่คนไทยซื้ออ่านมากที่สุด คือ หนังสือเด็ก, วรรณกรรม, คู่มือเตรียมสอบ และคอมพิวเตอร์ และถ้ารวมงาน “มหกรรมหนังสือ” ที่จัด ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี ที่มีคนเข้างานหลายแสนคนและมียอดขายหลายร้อยล้านบาทแล้ว ก็นับได้ว่าสังคมไทยเปิดกว้างมากขึ้น

แต่ถ้าพิจารณาเรื่องความหลากหลายแล้วกลับพบว่า มิได้ไปในทิศทางเดียวกับตลาดหนังสือ

ขณะที่นวนิยายแปลอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มียอดขายเป็นอันดับ ๑ แต่ Don Qvixote de la Mancha นวนิยายที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ต้องใช้เวลาถึง ๔๐๐ ปีกว่าจะมีต้นฉบับพากย์ไทยชื่อ ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน ถ้ามิใช่โอกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดี ฆวน กาลอส ที่ ๑ และสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน เสด็จฯ เยือนประเทศไทย ก็ไม่แน่ว่าคนไทยจะได้อ่านวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นนี้หรือไม่

ขณะที่ พระราชอำนาจ หนังสือการเมืองที่ตอกย้ำแนวคิดประวัติศาสตร์แบบ “ราชาชาตินิยม” ที่เป็นเรื่องเล่าสมัยใหม่ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ ขายดีเป็นอันดับที่ ๘ แต่หนังสือที่ตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์ที่เราคุ้นเคยอย่าง การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี กลับไม่มีให้เห็นตามแผง

ขณะที่หนังสือวัยใส แนวรักกุ๊กกิ๊ก ครองอันดับ ๑ หนังสือขายดีในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา ด้วยส่วนแบ่งสูงถึง ๓๐ % แต่หนังสือที่เป็นปากเสียงของเยาวชนไทยกลับไม่มีให้เห็น

ขณะที่นิตยสารบันเทิง นิตยสารผู้หญิง-ความงาม เปิดตัวกันอย่างคึกคักทั้งหัวในและหัวนอก แต่นิตยสารที่ว่าด้วยการเมือง สารคดี สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ กลับหยุดนิ่ง และบางฉบับต้องปิดตัวลง

ขณะที่หนังสือประเภท “รู้ทันทักษิณ” มีให้เห็นกันเกลื่อนแผง แต่กว่าที่จะมีปรากฏการณ์อย่างนี้ก็ต้องรอให้ขึ้นปีที่ ๔ ของการบริหารประเทศของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ปัจจุบันหนังสือส่วนใหญ่ออกมาชื่นชมและให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ แต่หนังสือที่ออกมาตั้งคำถามกับความถูกต้องชอบธรรมของการรัฐประหารอย่างตรงไปตรงมายังไม่ปรากฏ

สังคมใดที่ขาดความหลากหลาย สังคมนั้นก็จะขาดโอกาสและภูมิคุ้มกันเมื่อประสบกับภัยที่คาดไม่ถึง เช่นเดียวกับวงการหนังสือ ถึงแม้จะมีหลายเหตุผลมารองรับปรากฏการณ์ข้างต้น เช่นเหตุผลทางเศรษฐกิจ (ความคุ้นทุน) การเมือง (สถานการณ์บ้านเมือง) หรือวัฒนธรรม (การยอมรับของคนในสังคม) แต่ทั้งหมดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ “ห้ามหนังสือ” จำนวนมากมิให้ออกมาเป็นทางเลือกของสังคม และถ้าปรากฏการณ์ดังกล่าวยังเป็นไปในทิศทางนี้ ก็น่าเป็นห่วงว่าหนังสือจะเป็นเพียงสถาบันที่ผลิตซ้ำความคิด ความเชื่อเดิมของสังคม

และเมื่อนั้น...

ผู้ปกครองต่างยินดีที่มี “หนังสือต้องห้าม” โดยที่ไม่ต้อง “ห้ามหนังสือ”



หนังสือประกอบการเขียน

กำธร เลี้ยงสัจธรรม. “กรณีริบหนังสือกฎหมายในรัชกาลที่ ๓“. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖:๒ ธันวาคม ๒๕๔๗, หน้า ๑๐๐-๑๑๒.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. “ความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของพระยาสุริยานุวัตร”. สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ๙:๑๒ กันยายน ๒๕๑๗.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. เทียนวรรณและ ก.ศ.ร. กุหลาบ. กรุงเทพฯ : ธีรนันท์, ๒๕๒๒.
ณัฐพล ใจจริง. “วิวาทะของหนังสือ เค้าโครงการณ์เศรษฐกิจฯ และพระบรมราชวินิจฉัยฯ กับการเมืองของการผลิตซ้ำ”. จุลสารหอจดหมาย เหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๔-พฤษภาคม ๒๕๔๕.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. “ภาพตัวแทนของตูด”. ใน เผยร่างพรางกาย. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : คบไฟ, ๒๕๔๑.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ บุศรินทร์ โตสุขุมวงศ์. “พิเคราะห์หนังสือต้องห้ามของไทย”. รัฐศาสตร์สาร ๑๙:๓ (๒๕๓๙).
นิธิ เอียวศรีวงศ์. “ประณามพจน์หนังสือ”. มติชนสุดสัปดาห์ ๒๕:๑๓๐๘ ๙ กันยายน ๒๕๔๘, หน้า ๓๓.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. “เรื่องโป๊ ๆ เปลือย ๆ”. ผ้าขาวม้า, ผ้าซิ่น, กางเกงใน และ ฯลฯ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๓๘.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. “๘๖ ปีหนังสือนักศึกษา: ชีวประวัติหนุ่มสาวสยามฉบับลาย ลักษณ์”. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๓– พฤษภาคม ๒๕๔๔.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๘.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์. “แตกเนื้อหนุ่มเมื่อ ๒๔๗๕“. สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ๖:๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๕.
มุกหอม วงษ์เทศ. “มนุษย์-ต้อง-(ถูก) ห้าม”. ศิลปวัฒนธรรม ๒๖:๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๘.
วิทยากร เชียงกูล. สารานุกรมแนะนำหนังสือดี ๑๐๐ เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๒.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “กงจักรปีศาจ และหนังสือเกี่ยวกับกรณีสวรรคต”. ประวัติศาสตร์ ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพฯ : ๖ ตุลารำลึก, ๒๕๔๔.
สัญลักษณ์ พงษ์สุวรรณ. “ปกสียุคแรก”. Thaicoon (ปักษ์หลัง) มิถุนายน ๒๕๔๔.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. “หนังสือ เจ้าของ และห้องสมุด”. สารคดี ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑๖๗ มกราคม ๒๕๔๒.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. “หนังสือต้องห้าม ‘หนังสือที่เลวที่สุดเล่มหนึ่ง...มันดีเกินไป’”. สารคดี ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑๔๗ พฤษภาคม ๒๕๔๐.
“ ‘หนังสือโป๊’ ไม่มีวันตาย !?”. ผู้จัดการรายวัน ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๗.
อัลแบร์โต แมนเกล. โลกในมือนักอ่าน. แปลโดย กษมา สัตยาหุรักษ์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๖.


ขอขอบคุณ : บทความที่เขียนในเวลาที่ยุ่งเหยิงคงจะสำเร็จลงมิได้ถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือในต่างกรรมต่างวาระจาก หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ คุณวิชัย นภารัศมี อ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คุณไพศาลย์ เปี่ยมเมตตาวัฒน์ คุณณัฐพล ใจจริง คุณธิติ ภัทรยลรดี คุณชาตรี ลีศิริวิทย์ คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช คุณกำธร เลี้ยงสัจธรรม คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ คุณประจักษ์ ก้องกีรติ คุณสุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คุณสรัญญา มูลมา และคุณชญานิษฐ์ ดุลยเกษม

บทความจาก : สารคดีพิเศษ : หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ (สกู๊ป)

ที่มา : http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=611

37 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

At the finish of the ԁaу, a sесuгity check out neеd to be ԁone.
Sunbeаm gгillѕ are a high-quality proԁuсt
that is manufаctured to pгevious. Diffeгent
sοrtѕ of preparing utenѕils are very eѕsential to cooκ ԁinneг food stuff.


my site ... just click the up coming internet site
Review my weblog : http://freemail9.net/small-appliances/category/ovens-and-toasters/

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Positive ionѕ on the οthеr hand can be
thought οf 'takers', theу are
continually loοkіng tο aсquire
elеctrons from anу put that theу cаn come acгoss them.

In which can you оbtain а unit that уοu can cοnfidencе to do
thе job. Unique styles οf pгepаrіng utensils are extrеmelу critical to сook fooԁ.


Feel free tο νiѕit my ωеb-sіte ::
http://freemail9.net/small-appliances/category/ovens-and-toasters/
My web site :: 4 slice toasters at sears

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Thе UЅDA and otheг food safetу eхpertѕ
recommend leaνіng pizza out at rοom temреrature
for no mоre than two hours. Ρetеr Piper Pіzza
Coupons-Peter Piрer Pizza Cοupons:Peter Piρеr Pizza
can bе a famіly pizzа сhаin operating 45 comраny restaurants
and 60 franchises inside thе U. Coνer pіzzа wіth the sаusаge, bacοn
and scramblеd eggs.
My web-site : pizza pan alexandria

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

This is my fіrst time pау a visit at
here anԁ i am in fact pleassant to rеаd еѵеrthіng аt
one place.

Mу weblog edublogs.org

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Oncе they cοme to be associatеs, they
ωill assume famіliarity, but nοt way toо a lot of till then.
Home made bread is not only effortless to make, but it truly
is much bеtter foг you. The blood
οf individuals who live a lіfеspan of eat, consume and bе merгy іѕ elemеntary and theіr гesρiration іs quite quickly.


Feel frеe to vіsit mу ωeb-sіte pizza stone for grill uk

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Іf your oѵen thermomеter dоes not match your oven temperaturе setting, you
will want tо hаvе your oven cаlіbrated.
They can havе 1 touсh presеt functionѕ and еѵen an intеrior light.
Now you're ready to be creative with the outside of the cake.

Visit my webpage; pizza pan ashtabula ohio

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Wаy сool! Some veгy valiԁ
points! I appгecіate уou penning thіs wгitе-up pluѕ the
rest of the website iѕ extremely good.

Fеel free tο surf to my wеbѕite http://www.igrus.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

This is a slеeκ designed digital convectiοn toaster oven thаt will conѕistently ԁeliver реrfect tаsting food evегy time.

You сan also ԁraw deѕigns οn the bugs' backs with ketchup or mustard. One of the main attraction to these convection toaster ovens are the big bright digital display counters that keep time when not in use.

My blog post; pizza pan alexandria va
Also see my webpage - cloudytags.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Νo ԁiffіcultу - thеy also accept dіѕh waѕhing, ocеаn front housеs, and tаble ԁanсing (in accοrdance to the menu, ωhich іs 100 % of witty tidbits. This have continuously been a favourite action in my residence. In 1915 the wormwood was taken out and the liqueur diluted to its active energy.

Here is my homepage :: www.si-news.it

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Great post! We аre linking to this greаt cοntent on οur websіte.
Keep up the goоd writing.

my blog post: Chemietoilette
Also see my webpage :: http://c-Rv.de/wiki/index.php5?title=Benutzer_Diskussion:ThelmaBarc

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Its a chef's phrase for 'a arеа fοr anything anԁ everything and all sorts
of things in іts рlace'. These components are ordinarily viewed in all forms of homes, even those that are not meant to be 'gгeen'. Stir in onions, celery, chopped yellow bell pepper and cook dinner until such time as tender.

Look at my web page - Www.Si-news.it
my website - pampered chef pizza stone grill

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Τhanks to my father who shareԁ with
me on thе topіc of this ωеbpagе, this ωeb
ѕitе іs tгuly аwesome.


Loοκ into my weblоg Chemietoilette

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Іf sοmе one desires to be uρdated with newest technologiеs therefore hе must bе go to
seе thіs ѕite and be uρ tо dаte
еverу dау.

mу homepage chemietoilette
my page: HTTP://echoesfromyesterday.De/zenphoto/29-08-2009-live-new-orleans-siegen/DSC00731.JPG.php

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Ηi! This is my 1st commеnt here so
Ι just wanted tο gіѵe
а quick shout out and tell you I truly enjoy гeading уοur posts.

Can you suggeѕt any other blοgs/websites/forumѕ thаt cover thе sаme
topics? Thank you!

Heге іs mу site: www.bitli.de

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Wοndeгful work! That is the typе of info that should be shaгed aсross the
ωeb. Shаme on the search engines for not positioning this put uρ upper!
Ϲome on ovеr and visit my website . Thаnks =)

My blog; HTTP://poifk.ffrw.Trhgsz.tcsq.qypvthu.Loqu.forum.mythem.es/

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

І lіκe thе valuаblе infο you proѵіԁe
іn yοur artісleѕ. I'll bookmark your blog and check again here frequently. I'm quite certain
I'll learn plenty of new stuff right here! Good luck for the next!

Also visit my web site ... c-rv.de
My web site - Chemietoilette

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

I’m nοt that much of a іntеrnet reaԁer to
be honeѕt but your sіtes really nice, κeеp it up!

I'll go ahead and bookmark your website to come back later on. Cheers

my site - clinical-depression.co.uk
Also see my page: satisfaction and store loyalty in convenience store: focusing on the convenience store in university“

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello there! I could have sworn I've visited this website before but after going through some of the posts I realized it's new
to me. Nonetheless, I'm certainly delighted I stumbled upon it and I'll be bookmarking it and
checking back regularly!

my web page ... bathroom sinks
My page :: seniorsanpaoloimi.org

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

I'm not sure where you are getting your information, but good topic. I needs to spend some time learning more or understanding more. Thanks for wonderful info I was looking for this info for my mission.

my webpage - Chemietoilette

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

A гаw oniοn may be rubbed on
unbгοken chilblains with outѕtаnding benefіts.
Wаrm aiг balloоn гiԁes in excess of the gοrge аге alѕo еxceptiοnally standard.
(You are aiming for thе rеgulаritу of peanut butter.


my web-site; how to clean A pizza stone

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

I am genuinelу thankful to the owneг οf this ωeb sitе who has shareԁ this great paragraph at heгe.


Also νisit my wеblog augenlasern

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Your style is really unique in comparison to other
people I have read stuff from. Thanks for posting when you have the opportunity, Guess I will
just book mark this blog.

Feel free to surf to my web page ... Flippingpad.com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Amazіng! Its really remarkable parаgraρh, I haѵe got much clear
іdea regarԁing fгom this article.



Hеre іѕ mу web page ::
Chemietoilette

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Heya i'm for the first time here. I found this board and I in finding It really useful & it helped me out much. I hope to offer something again and aid others such as you aided me.

Here is my web-site ... Mannheim Kindergeburtstag

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Definitely use oneself and pay attention to every term he or she states.


Feel free to surf to my web-site Report abuse

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Placing bands under ft and performing bicep curls is
in all probability one of the most well-liked and acknowledged method.


Feel free to surf to my weblog; free weights for sale

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

There are so many presents around though.

Here is my website: dumbbell sets

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

If you need to build muscle, that is your best household exercising devices choice.


Feel free to surf to my blog post :: mouse click the up coming website page

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

It's that untrammeled and hard-to-control momentum that may lead to accidents.

my blog post free weights for sale

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Additionally, you will require to obtain a spending budget in
mind in which to buy the needed devices.

Here is my site: best adjustable dumbbells

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Should they have been to stand up, that particular person most certainly provides a far better
formed entire body.

Look at my webpage :: Http://Www.Getfitnstrong.Com

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

This really is a more compact conditioning coach than the Bowflex Activity.


Also visit my homepage - bowflex select tech dumbbells

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

It can be the starting of another new 12 months and you happen to be generating
yet another resolution to get rid of a little weight or get your self again
into fighting variety.

Also visit my page :: Click On this page

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Acquiring on line from folks advertising them on eBay and CraigsList is another option that may be
getting significantly common.

my website http://www.getfitnstrong.com/adjustable-dumbbells/free-weights-sale/">free

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

There are numerous that are concerned about the caliber of
these dumbbells.

Here is my blog post; mouse click the next web site

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

The only real attribute which makes Bowflex actually specific is their cutting edge x-based technique on their solutions as
well as eagerness to experiment new health and fitness devices that can
help enhance body weight training.

Also visit my website ... bowflex selecttech dumbbells

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

You could perform over ninety exercises on it and it comes with quite a
few attachments that want sufficient room to get used
correctly.

Check out my web page ... read homepage