วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและการเมืองไทย


หมายเหตุ
บทความที่ผมทำสำเนามานี้เปนแค่หัวข้อย่อยจากบทความเต็ม ซึ่งต้นฉบับที่ผมทำสำเนามาก็ยังเปนแค่ส่วนหนึ่งของบทความ ( ดูได้จากลิ้งก์ที่มาของบทความ ) เลยทำให้ไม่สามารถทราบนามผู้เขียน และชื่อของบทความได้ ส่วนในหัวข้อที่ผมคัดสำเนามา ก็มีความน่าสนใจในตัวของข้อมูลและความเห็น


การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและการเมืองไทย

เป็นผลมาจากนโยบายในแต่ละยุคสมัย

รัชกาลที่4 :

(1) การเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการทำสนธิสัญญาบาวริ่ง และ (2) การรักษาโครงสร้างการปกครองจากนโยบายการฑูต

เดิมในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ส่งข้าราชการออกไปกินเมือง ความสัมพันธ์ของส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค เป็นแบบ push (หัวเมืองผลักส่วนกลางออก) & pull (ส่วนกลางดึงหัวเมืองไว้) ส่วนกลางต้องการรายได้ จึงมีพระบรมราชโองการห้ามหัวเมืองชายฝั่งค้าขายกับต่างชาติ โดยให้ทำการโดยตรงกับราชสำนัก เกิดการค้าผูกขาดโดยราชสำนัก กลางศตวรรษที่ 19 (1850+) เริ่มเจรจาลงนามสนธิสัญญาบาวริ่ง ซึ่งจากนโยบายนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นผลที่ตามมา


1. ยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ยอมให้ขึ้นศาลกงสุลของประเทศนั้นๆ) เกิดผลในรัชสมัย ร.5 การคมนาคมสะดวกขึ้ นคนที่เดินทางมากับเรือกลไฟเมื่อทำความผิดก็มักจะอ้างว่าอยู่ในอาณัติของประเทศต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงศาลไทยจึง ต้องส่งคนไปศึกษาด้านกฎหมายเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย เพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับ

2. ยอมยกเลิกการผูกขาด ให้มีการค้าเสรี ตามทฤษฎีของ Adams Smith ทำให้เกิดความมั่งคั่ง เกิดชนชั้นกลางมากขึ้น พ่อค้าต้องการแรงงาน มากขึ้น ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่มาจากชนชั้นไพร่และทาส เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ร.5 จึงยกเลิกการเกณฑ์แรงงานและเลิกทาส มาเป็นระบบการว่าจ้างแรงงาน โดยการเลิกทาสทรงยึดหลัก Pracmatism ผลของการปฏิบัติเป็นสำคัญ ค่อยเป็นค่อยไปหลายวิธีการ เช่น การไถ่ตัวจากทาส และห้ามขายตัวเป็นทาส ใช้เวลาถึง 30 ปี

3. ยกเลิกระบบภาษีตามความกว้างของปากเรือ มาเป็นระบบร้อยชักสาม (3%) มูลค่าการค้าขายที่สูงขึ้น ทำให้ได้เงินภาษีมาก นำมาใช้ในการปฏิรูประบบสาธารณูปโภค การบริหารปกครอง ให้โอกาสชนชั้นสามัญในการศึกษา เกิดชนชั้นกลางมากขึ้น

โครงสร้างทางการปกครองของไทยยังคงรักษาอยู่ได้ เพราะนโยบายทางการฑูต (บ้างว่าเกิดจากสภาพภูมิศาสตร์) เมื่อสุลต่านหัวเมืองทางใต้ดึงไทยไปถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษ ทำให้อังกฤษไม่พอใจ จึงต้องหนีเข้ามาในประเทศไทย อังกฤษได้ส่งเรือรบมาข่มขู่ แต่แทนที่ไทยจะขับไล่ ร.4 กลับใช้กลวิธีทางการฑูตส่งคนไปถามจุดประสงค์ และนำกัปตันเข้าเฝ้า ต่างกับพม่าที่ Riggs วิเคราะห์เปรียบเทียบไว้ว่าผู้นำพม่ายกกองทัพมาขับไล่แต่ถูกอังกฤษตอบโต้จนตกเป็นอาณานิคม และที่ตั้งเมืองหลวงของไทย ไม่ใช่เมืองท่าชายฝั่งที่จะใช้ระบายสินค้า หรือรับวัตถุดิบ น้ำจืด ดังที่นักล่าอาณานิคมหมายปอง เช่น กัลกัตตา บอมเบย์ แต่ก็ไม่ได้ลึก in land มากเหมือนพม่า กรุงเทพอยู่ไม่ห่างทะเลมาก พ่อค้าเข้ามาทำการค้าขายได้ง่าย ทำให้ไทยได้รับข้อมูล เพื่อตัดสินใจได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง (มองไปข้างนอก outward looking)


รัชกาลที่ 5 :

เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ทรงเห็นว่ายังไม่พร้อม จึงได้พระราชทาน

- State Council (อภิรัฐมนตรี) ซึ่งต่อมา คือ คณะรัฐมนตรี ที่มีอำนาจสูงสุดทางการบริหารในปัจจุบัน

- Privy council (องคมนตรี) เป็นคณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์

ทรงยอมเสียดินแดนเมืองขึ้นเพื่อรักษาเอกราชของประเทศ นับเป็นนโยบายแบบ Pracmatism เช่นกัน


รัชกาลที่ 6 :

ทรงมีทัศนคติต่อคนจีนว่าเป็น Jew of the East (ยิวแห่งบูรพาทิศ) มีพฤติกรรมเห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ มุ่งสะสมเงิน เพื่อเอาไปสร้างเมืองในบ้านเกิด เป็นข้อมูลเพียงวงแคบที่ทรงได้รับจากในราชสำนัก ทำให้มีผลต่อนโยบายที่กำลังจะเปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ให้วิธีการปกครองคนต่างชาติแบบแบ่งแยกแล้วปกครอง ตั้งชุมชนชาติต่างๆ ให้ดูแลปกครองกันเอง เป็นอิสระ รวมทั้งให้ตำแหน่งหน้าที่ขุนนาง สร้างความจงรักภักดี ไม่มีปัญหารัฐซ้อนรัฐ และกระแสชาตินิยมไม่ยอมให้ถือ 2 สัญชาติ โดยเฉพาะรุ่นลูกที่มีแม่เป็นคนไทย ถูกเลี้ยงดูมีความเป็นไทย ถูกทำให้กลมกลืน แต่ศตวรรษที่ 20 เรือกลไฟทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น คนจีนอพยพมามากทั้งชาย หญิง จึงมีการแต่งงานในหมู่ชาติเดียวกัน รวมทั้งจากสนธิสัญญาบาวริ่ง ทำให้อ้างอาณัติของชาติต่างๆ มีผลต่อการดูดซับคนเหล่านี้เข้าสู่ระบบของสังคมไทย


รัชกาลที่ 7 : หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ยุคจอมพล ป. ลัทธิชาตินิยมรุนแรง ทัศนคติสมัย ร.6 กลายมาเป็นนโยบายต่อต้านคนจีน ทำให้คนจีนไม่มีทางเลือก เช่น การบีบให้พ่อค้า ที่จะทำสัญญากับรัฐประมูลงาน ขอสัมปทาน ต้องเป็นบริษัทที่มีสัญชาติไทย พ่อค้าจีนจึงต้องเปลี่ยนสัญชาติ รวมทั้งชื่อนามสกุลมาเป็นไทย รวมทั้งคนที่เกิดในประเทศไทย จะได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยอัตโนมัติ การสร้างสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ ข้าราชการให้มานั่งในบริษัท สงวนอาชีพให้คนไทยทำ แต่บางอาชีพที่คนไทยไม่พร้อมจะทำเองก็ยอมให้คนจีนทำ เพื่อรักษาเศรษฐกิจ (คิด Pracmatism) การควบคุมโรงเรียนจีน ใบอนุญาตสอนหนังสือของครูจีน ต้องเทียบความรู้ชั้น ป.4 เพื่อเรียนรู้ภาษาไทย

หลังจีนเปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 1949 ปีต่อมาจึงมีการกำหนดโควตาการอพยพเข้าเมืองลดเหลือปีละ 200 คน ทำให้คนจีนไม่สามารถเข้ามาเติมความเป็นจีนในสังคมไทยได้อีก มาตรการ(นโยบาย)ทั้งหมดนี้จึงทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไป มีความผสมกลมกลืนของวัฒนธรรมมากขึ้น ไทย+จีนปรับตัวเข้าหากัน และมีการยอมรับคนไทยเชื้อสายจีนมากขึ้น เห็นได้จากการเลือกตั้งที่พ่อค้า นักธุรกิจ (คนจีนเป็นส่วนใหญ่) ได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภามากขึ้นเรื่อยๆจนมากกว่าข้าราชการ

สมัย Riggs พลังในระบบราชการ (Bureaucratic force) มีอิทธิพลมาก และมีการต่อสู้กันระหว่างก๊ก ตามตัวแบบ Bureaucratic Polity Model ขณะที่พลังนอกระบบราชการ (Extra-Bureaucratic force) ยังมีอิทธิพลน้อย แต่เมื่อมีการพัฒนาทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ที่เป็นพลังนอกระบบราชการ มีการต่อสู้ถ่วงดุลอำนาจกันเอง รวมทั้งต่อสู้กับพลังในระบบราชการ ทำให้มีอิทธิพลมากขึ้นในการถ่วงดุลอำนาจ โดยทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องต่อสู้กันเสมอไป อาจมีการร่วมมือ (2 วงทับซ้อนกัน)


บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในทางการเมือง

Kingship จะไม่มาแตะ 2 วงล่าง ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับ day-to-day politics แต่ยังจำเป็นต่อการพัฒนาการเมืองไทย เพราะ การเมืองยังไม่ได้ต่อสู้ด้วยหลักการ หรือนโยบาย (Policy Conflict) ยังคงใช้ความขัดแย้งส่วนตัว ผลประโยชน์ (Personalized Conflict) นำไปสู่วิกฤตการณ์ ซึ่งต้องอาศัยบารมีของสถาบันกษัตริย์เข้ามาหยุดยั้งวิกฤตการณ์นั้น บทบาทจึงเป็น Stabilizing Influence & Balance พลังที่นำมาซึ่งเสถียรภาพ และการถ่วงดุลทางการเมือง

Prof. Tambiah : อำนาจบารมีของกษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองกลับมีมากขึ้น เพราะทรงแต่งตั้งผู้อื่นบริหารแทน To reign but not to rule และ Do no wrong ทำให้สะสมบารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


สรุป

โครงสร้างสังคมไทย กำลังเกิดพหุสังคม เริ่มมีการคานอำนาจ ถ้าอำนาจที่กระจัดกระจายให้แต่ละกลุ่มผลประโยชน์ ใช้เพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคมคนหมู่มาก ก็จะเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่ถ้าเอาพลังจากคณะพรรคพวก หาประโยชน์เพื่อตนเองแล้ว ก็จะเกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะถ้าคนยังไม่มีวินัย การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เสมอภาค จะเป็นการพัฒนาทางการเมืองที่เร็วเกินไป บทบาทของสื่อต่างๆและองค์กรอิสระที่จะต้องติดตามตรวจสอบ และลงโทษจึงมีความสำคัญยิ่ง


ที่มาของบทความ : http://64.233.169.104/search?q=cache:B6GsPqO9X14J:cddweb.cdd.go.th/kutchum/sombat/sombat%25203.htm+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C&hl=th&ct=clnk&cd=359

ไม่มีความคิดเห็น: