รองศาสตราจารย ์ดร.พอพันธ ์อุยยานนท์
์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร
เรื่อง โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
29 มิถุนายน 2549
2
บทที่ 1 : ความเบื้องต้น
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาคือบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์ในฐานะหน่วยงานจัดการ รายได้และบริหารทรัพย์สินและเงินลงทุนของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการ “การสะสมทุนทางเศรษฐกิจ” นับ แต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยครอบคลุมถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลให้ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ กลายเป็นทุนชั้นนำ ของสังคมไทย โดยศึกษาในประเด็นที่สำคัญ คือ (1) พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (2) ลักษณะพิเศษของ พ.ร.บ. จัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย ์ปัจจัยทางสถาบัน และการบริหารจัดการ (3) แรงจูงใจทางเศรษฐกิจหรือยุทธ ศาสตร์อื่น ๆ สำหรับการลงทุน (4) ความสัมพันธ์และเครือข่ายระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ กับกลุ่ม “ทุน” ต่างๆ
(5) การเติบโตของธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ (6) การปรับตัวของสำนักงานทรัพย์สินฯ และธุรกิจใน เครือภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 และ (7) การขยายตัวของรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และการเจริญเติบโต ทางธุรกิจและการลงทุนของบริษัทในเครือฯ ภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าจะมีหลาย ปัจจัยที่มีผลต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่กลายเป็นทุนชั้นแนวหน้าของสังคมไทย อาทิเช่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและเมืองกรุงเทพฯ ลักษณะของการเป็นผู้ผูกขาดน้อยรายของบริษัทใน เครือ การเกาะกลุ่มทางเศรษฐกิจในรูปของการถือหุ้นระหว่างบริษัทและการควบคุมการบริหารและการเกาะกลุ่ม กรรมการแต่ทว่าปัจจัยที่น่าจะมีบทบาทสำคัญคือ การเป็น “หน่วยงาน” ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีสถานภาพ พิเศษและได้รับการคุ้มครอง โดย พ.ร.บ.จัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 รวมทั้งปัจจัย ทางการเมืองและสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก ศึกษาถึงการลงทุนทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดย ครอบคลุมถึงการครอบครองที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งการลงทุนทางธุรกิจ โดยเฉพาะการ ลงทุนระยะยาวของบริษัทในเครือ รวมทั้งผลตอบแทนทางธุรกิจ เช่น กำไร เงินปันผล ค่าเช่า ทั้งนี้เพื่อเห็นความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ กับกลุ่ม “ทุน” ต่าง ๆ ของ เศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ศึกษาถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในด้านการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ
8 มิ.ย.2549
3
และการมีบทบาททางเศรษฐกิจและการเมืองเพิ่มขึ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ และสถาบัน พระมหากษัตริย์ภายหลังปี 2491 ประการที่สอง ศึกษาถึงลักษณะพิเศษหรือสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในทาง กฎหมาย ตลอดจนศึกษาภูมิหลังของคณะกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ
ประการที่สาม ศึกษาถึงผลกระทบของวิกฤตการณ์ปี 2540 กับการปรับบทบาทของ สำนักงานทรัพย์สินในแง่นโยบาย กลยุทธ์การลงทุน และการปรับบทบาทธุรกิจในเครือฯ เพื่อความ อยู่รอดและกลับมาเป็นกลุ่ม “ทุน” ชั้นแนวหน้าของสังคมไทย
ลำดับของงานวิจัย
หลังจากบทที่ 1 ความเบื้องต้นแล้ว ลำดับของงานวิจัย คือ บทที่ 2 : ภูมิหลังของสำนักงานทรัพย์สินฯ : พัฒนาการของการสะสมทุนในอดีต บทที่ 3 : การลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 – 2540 บทที่ 4 : สถานภาพพิเศษ การบริหารและการจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ บทที่ 5 : วิกฤตการณ์ปี 2540 และการปรับตัวของสำนักงานทรัพย์สินฯ บทที่ 6 : การเจริญเติบโตทางธุรกิจและรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ภายหลังวิกฤต
การณ์ปี 2540
8 มิ.ย.2549
4
บทที่ 2 : ภูมิหลังของสำนักงานทรัพย์สิน : พัฒนาการของการสะสมทุนในอดีต
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์1 (หรือชื่อใน อดีตคือ กรมพระคลังข้างที่) สามารถแบ่งออกเป็นช่วงใหญ ่ๆ เป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 : พ.ศ. 2433 – 2476 ; ช่วงที่ 2 : พ.ศ. 2476 – 2491 และ ช่วงที่ 3 : พ.ศ. 2491 – ปัจจุบัน
สำนักงานทรัพย์สินฯ : 1890 – 1933
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (หรือต่อไปจะเรียกว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ) หรือชื่อเดิมคือ กรมพระคลังข้างที่(The Privy Purse Bureau) ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะ เป็นกรมอิสระในสังกัดกระทรวงพระมหาสมบัติในปี 2433 โดยกรมพระคลังข้างที่ทำหน้าที่ในการ บริหารตลอดจนการลงทุนพระราชทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย ์โดยได้รับงบประมาณเท่ากับ ร้อยละ 15 ของรายได้แผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 (ทวีศิลป์ 2528 : 124)
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่มิเพียงแต่จะเป็นส่วนหนึ่งของการ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 การรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง การปฏิรูปการคลัง โดยการดึงอำนาจควบคุมบริหารงบประมาณแผ่นดินและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากกลุ่ม บุนนาค แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญหรือเป็นหน่วยงานที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของ สถาบันพระมหากษัตริย์ (The Principal arm of the monarchy’s financial strength)
บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่คนแรก คือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระ นราธิปประพันธ์พงษ ์ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2433 – 2435 หลังจากนั้นก็มีผู้ดำรงตำแหน่งอีก หลายคน แต่ผู้ที่มีบทบาทในแง่การสร้างรายได้โดยผ่านการลงทุนต่าง ๆ ให้แก่กรมพระคลังข้างที่ที่สำคัญที่สุดคือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงป .2435 – 2454 ขอบเขตงานของการจัดการลงทุนและจัดหาผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีผลให้การ บริหารงานของกรมพระคลังข้างที่ได้มีข้าราชการเพิ่มขึ้นจากเพียง 3 คน ในปี 2435 และเพิ่มขึ้นเป็น ทั้งหมด 26 คน ในปี 2438 (ชลลดา 2529 : 19) และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 กรมพระคลังข้างที่ได ้ขยายหน่วยงานรับผิดชอบออกไปอีก โดยมีฝ่ายเวรบัญชาการ กรมการผลประโยชน ์กรมการโยธา กรมการบัญชีกรมการคลัง และหุ้นส่วน โดยมีข้าราชการและพนักงานกว่า 200 คน และในสมัย รัชกาลที่ 7 ได้เพิ่มหน่วยงานในสังกัดกรมการผลประโยชน์ในเขตต่างจังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา
1 งานศึกษาเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในแง่ของภูมิหลัง บทบาท และการลงทุนทางธุรกิจที่น่าสนใจคือ ทวีศิลป์ (2528) ; ชลลดา (2529) ; Tasaka (2003)
8 มิ.ย.2549
5
นครปฐม และราชบุรี (ชลลดา 2529 : 20) ซึ่งแสดงถึงบทบาทหน้าที่มิเพียงจำกัดอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ทว่าครอบคลุมไปถึงภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย การเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ และการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง : จุดกำเนิดของอำนาจและความ เข้มแข็งของกรมพระคลังข้างที่
อำนาจและความเข้มแข็งของกรมพระคลังข้างที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงป .2433 ถึง 2453 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอำนาจและความเข้มแข็งคือ (1) การ เจริญเติบโตของกรุงเทพฯ และ (2) การรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง การเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภายหลังสนธิสัญญาเบาริงในปี 2398 ส่งผลให ้กรุงเทพฯ มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต ้โดยเฉพาะบทบาทของเมืองท่าเพื่อการส่งออกและนำเข้า เพราะสินค้าส่งออกและนำเข้าเกือบ ทั้งหมดต้องส่งผ่านเมืองท่ากรุงเทพฯ ข้าวได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย (สัดส่วน การส่งออกข้าวมีมูลค่าเท่า 3 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากประมาณ 10,000 ตันต่อปีในช่วง 2403 – 2412 โดยเพิ่มเป็น 500,000 ตันต่อปีในทศวรรษช่วง 2433 - 2432 และกว่า 1,000,000 ตันต่อปีในช่วง 2463 – 2472 การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศจึงมีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ เช่น การเดินเรือ โรงสีข้าว โรงเลื่อย โกดังสินค้า การขยายตัวของสะสมทุนทางเศรษฐกิจรวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีและที่สำคัญคือ การอพยพเข้า มาของแรงงานชาวจีน แรงงานอพยพชาวจีนที่ท่าเรือกรุงเทพฯ เท่ากับ 16,000 คนต่อปีในช่วงป .2423 – 2432 25,000 คนต่อปีในช่วง 2433 – 2442 60,000 คนต่อปีช่วง 2433 - 2463 และมากกว่า 100,000 คนต่อปีในช่วง 2463 – 2472 (Skinner 1957) คนจีนมีบทบาทสำคัญในทางเศรษฐกิจการ พาณิชย ์และนอกการเกษตรอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ ซึ่งได้ประกอบอาชีพเป็น พ่อค้า นายทุน แรงงาน รับจ้าง เป็นต้น
การขยายตัวของการเจริญเติบโตของการค้าข้าว หลังทศวรรษ 2410 มีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อ การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจกรุงเทพฯ เพราะการเติบโตของการค้าข้าวได้สร้างโอกาสแก่กำไรและ การสะสมทุนที่สำคัญคือ การค้า โรงสีข้าว ธุรกิจส่งออก พ่อค้าคนกลาง การประกันภัย การ เดินเรือ การขุดคลอง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ และกิจกรรมเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาคการ ก่อสร้างต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนของพระคลังข้างที่อย่าง กว้างขวาง
การสร้างถนนภายในกรุงเทพฯ ก็มีผลสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางกายภาพจาก “เมืองนํ้า” มาสู่ “เมืองบก” ซึ่งมีผลต่อ
8 มิ.ย.2549
6
การขยายตัวของเศรษฐกิจตลาดเพิ่มขึ้น การสร้างถนนเจริญกรุงในป ีพ.ศ.2404-2406 ซึ่งมีระยะทาง ประมาณ 10 กิโลเมตรจากพระบรมมหาราชวัง โดยวิ่งขนานแม่นํ้าเจ้าพระยาไปทางด้านตะวันออก และผ่านย่านธุรกิจสำคัญของชาวจีนคือ ย่านสำเพ็งและเยาวราช และเลยไปถึงบางรัก ย่านการค้า ขยายตัวตามถนนเจริญกรุงและถนนเจริญกรุงก็กลายเป็นถนนที่เป็นศูนย์กลางการค้าทั้งขายปลีก และขายส่งนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และภายหลังรัชกาลที่ 5 ขึ้น ครองราชย ์การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ได้มีผลต่อความต้องการในการตัด ถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าและการลงทุนเป็นอันมาก ดังนั้นในช่วงปี 2433 - 2443 ได้มีการตัดถนนในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นอีกหลายสาย รวมทั้งสิ้นถึง 130 สาย ที่สำคัญคือ หลานหลวง กลุ่ม ถนนราชดำเนิน สามเสน สุโขทัย ถนน 18 สายบริเวณอำเภอสำเพ็ง และอื่น ๆ โดยที่งบประมาณ บางส่วนจากการสร้างถนนมาจากกรมพระคลังข้างที่ด้วย ผลของการสร้างถนนมิเพียงแต ่เปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณริมแม่นํ้าเจ้าพระยาและลำคลองน้อยใหญ่มาสู่ชุมชน ริมถนนโดยมีการก่อสร้างบ้านเรือนโดยเฉพาะตึกแถว แต่ทว่ายังมีผลต่อการขยายตัวของการ คมนาคมขนส่งทางบก อาทิเช่น รถราง รถไฟ รถยนต ์รวมทั้งการขยายตัวของสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา เป็นต้น เศรษฐกิจของเมืองขยายตัวซึ่งหมายถึง การขยายตัวของตลาดนั่นเอง
การเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ ของกรุงเทพฯ จากปลายทศวรรษ 2430 เป็นต้นมา จึงมีผล ต่อการขยายตัวของการลงทุนทางเศรษฐกิจของกรมพระคลังข้างที่นั่นเองโดยเฉพาะการลงทุนการ สร้างตึกแถวซึ่งขยายตัวไปตามถนนที่ตัดใหม่ในกรุงเทพฯ การครอบครองที่ดินในย่านที่สำคัญทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งการเข้าไปร่วมลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของชาวจีน และชาวตะวันตกที่สำคัญ เช่น โรงสีข้าว โรงแรม รถราง รถไฟ (โปรดดูในสยมพร 2527)
ปัจจัยทางการเมืองก็มีผลต่อการเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ คือ การรวมศูนย์อำนาจส ู่ส่วนกลางในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ภัยที่คุกคามประเทศสยาม (รวมทั้งประเทศในเอเซียอื่น ๆ) คือ การล่าอาณานิคม ซึ่งหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านได้ตกเป็นอาณานิคมของ มหาอำนาจอังกฤษและฝรั่งเศส ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครองด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองและการบริหารเข้าสู่ส่วนกลางนั่นเอง
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีพระราชอำนาจเพิ่มขึ้น (ส่วนหนึ่งขุนนางตระกูลบุนนาคเริ่มมีอำนาจน้อยลง) ในฐานะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย ์ในทางการบริหาร มีการปฏิรูประบบ ราชการโดยแบ่งส่วนราชการเป็นแบบกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งมีบริหารส่วนภูมิภาค/จังหวัด ตามแบบประเทศตะวันตก จากต้นทศวรรษ 2410 อำนาจของกษัตริย์และส่วนราชการได้เพิ่มขึ้น แทนที่อำนาจของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างจังหวัด การก่อตั้งหอรัษฎากรในป ีพ.ศ.2416 ได้ส่งผลให้อำนาจการจัดเก็บภาษีมีความเป็นเอกภาพและรวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวง (ซึ่งก่อนหน้านั้น
8 มิ.ย.2549
7
ขึ้นอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรและกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ) และส่งผลกษัตริย์และพระ บรมวงศานุวงศ์สามารถควบคุมอำนาจทางการคลังได้เพิ่มมากขึ้น (Chaiyan 1994: 85) นอกจากนี้ใน ทศวรรษ 2410 รัชกาลที่ 5 ได้พยายามบั่นทอนอำนาจการปกครองของภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งขึ้นตรงต่อ เจ้าผู้ครองนคร โดยแต่งตั้งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปปกครองเมืองเชียงใหม ่ซึ่งส่งผลให ้อำนาจการปกครองของกรุงเทพฯ ได้เพิ่มขึ้นและขยายตัวสู่ภูมิภาคอื่น ๆ (Tej 1977: 61-3) ในป ีพ.ศ.2430 ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองจากกรุงเทพฯ หรือในบางกรณีได้ส่งเจ้าเมืองจากรัฐบาลกลางใน กรุงเทพฯ เพื่อปกครองและบริหารเมืองต่าง ๆ คือเชียงใหม ่ภูเก็ต พระตะบอง หนองคาย การ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการปฏิรูปการปกครองและระบบราชการในป ีพ.ศ.2435 ซึ่งมีการ จัดรูปแบบการบริหารประเทศในรูปของเสนาบดี (หรือคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีหน้าที่การบริหาร กระทรวงต่าง ๆ และแบ่งหน้าที่โดยชัดเจน ซึ่ง ณ ขณะนั้นมีกระทรวงทั้งสิ้น 12 กระทรวง ด้วย ลักษณะการบริหารประเทศดังกล่าว จึงมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง นอกจากนี้ในทศวรรษ 2430 ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปกครองส่วน ภูมิภาคโดยการควบคุมจากกรุงเทพฯ ภายใต้การนำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย การสร้างทางรถไฟเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาคอื่น ๆ จากปี 2433 ก็มีผลต่อการ สร้างการเติบโตของกรุงเทพฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ในฐานะ “เมืองหลวง” การเติบโตของสถาบันพระมหากษัตริย์ประกอบกับการเติบโตทาง เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ กรุงเทพฯจึงเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ ในปี 2435 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงนครบาลเพื่อดูแลการบริหารการปกครองตนเองของกรุงเทพฯ สาเหตุสำคัญของการจัดตั้งกระทรวงนครบาล เพราะเพื่อรองรับการเติบโตของประชากรหลัง ทศวรรษ 2420 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการค้าจาก “เมืองนํ้า” ไปสู่ “เมืองบก” รายได ้และภาษีของกรุงเทพฯ ก็เพิ่มขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ ซึ่งแสดง ถึง บทบาทของกรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวงแห่งความทันสมัยของประเทศ รวมทั้งศูนย์กลาง การเงินและการคลังของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการบริหารเมือง การ ก่อตั้งกระทรวงนครบาลจึงเป็นองค์กรจัดการบริหาร “กรุงเทพฯ” เพื่อสนองตอบกับผลประโยชน ์ของรัฐและสถาบันพระมหากษัตริย์ (โดยความร่วมมือของกรมพระคลังข้างที่) บทบาทของกรม พระคลังข้างที่ในทางเศรษฐกิจจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากจะมีรายได้และรายจ่ายใน สัดส่วนของงบประมาณแผ่นดินที่สูงแล้ว งานของกรมพระคลังข้างที่ได้เกี่ยวข้องกับงานของ กระทรวงนครบาลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการซื้อขายแลกเปลี่ยนการถือครองที่ดินและการลงทุน ต่าง ๆ ทางด้านทรัพย์สิน เช่น การตัดถนนและการสร้างห้องแถว รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ (ทวีศิลป์ 2528 ชลลดา 2529 Porphant 1999) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การเจริญเติบโต
8 มิ.ย.2549
8
ของกรุงเทพฯ จึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการลงทุนของกรม พระคลังข้างที่และการบริหารราชการของกระทรวงนครบาล จุดที่อยากจะเน้นในงานวิจัยฉบับนี้คือ อำนาจและหน้าที่ของกระทรวงนครบาลมีบทบาทสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกรมพระ คลังข้างที่และเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เพราะฐานะของกระทรวงนครบาลมีฐานะเป็นที่ปรึกษาของ สถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าจะเป็นรัฐบาลส่วนท้องถิ่นที่เป็นอิสระจากอำนาจกษัตริย์ซึ่งดำรง อยู่ในประวัติศาสตร์ยุโรป เช่น กรุงลอนดอน และด้วยเหตุที่การปกครองของสยามอยู่ภายใต ้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงมีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง กรุงเทพฯ และประเทศสยามโดยรวม ดังนั้นความเชื่อมโยงของการบริหารกรุงเทพฯ กับ ผลประโยชน์ของกษัตริย์จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและกายภาพ รวมทั้งการพัฒนา กรุงเทพฯ ด้านอื่น ๆ (Porphant 1997)
อำนาจและความเข้มแข็งของกรมพระคลังข้างที่
การก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่ภายใต้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติมีหลักการที่สำคัญคือ การพยายามแบ่งแยกฐานะทางการคลังหรือรายได้รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับรัฐโดยเด็ดขาด (แม้ในทางปฏิบัติอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกโดยเด็ดขาดก็ตาม) อำนาจ งบประมาณ และความเป็นอิสระของกรมพระคลังข้างที่ได้เริ่มปรากฏอย่างจริงจัง จาก ทศวรรษ 2430 พร้อม ๆ กับการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของ กรมพระคลังข้างที่หรือแหล่งที่มาของรายได้หรือพระราชทรัพย์มาจาก 2 แหล่งใหญ่คือ (1) รายได ้จากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาล และ (2) รายได้จากค่าเช่า กำไร และ ผลประโยชน์จากการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของกรมพระคลังข้างที่เช่น ที่ดิน ค่าเช่าห้องแถว ตลาด สด โรงสีข้าว ธนาคาร สายการเดินเรือ โรงงานผลิตปูนซีเมนต ์รถราง เป็นต้น ศาสตราจารย .Suehiro Akira มีความเห็นว่า “กรมพระคลังข้างที่เปรียบเสมือนธนาคารเพื่อการลงทุน (protoinvestment bank) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดำเนินธุรกิจในนามของพระมหากษัตริย์” (Suehiro 1989: 92)
ในปลายทศวรรษที่ 2440 พระคลังข้างที่มิเพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ที่สุดของ ประเทศและครอบครองพื้นที่ๆ สำคัญทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ แต่ทว่ายังมีฐานะเป็นกลุ่ม “ทุน” ที่ทรงพลังของสังคมไทยด้วย (ดังจะได้กล่าวต่อไป)
ตัวเลขจากตารางที่ 1 ข้างล่างนี้แสดงถึงรายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับจาก งบประมาณแผ่นดินโดยผ่านกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มขึ้นจาก 1.49 ล้านบาทในปี 2435 และ เพิ่มเป็นเท่ากับ 6.1 ล้านบาทในปี 2445 และเพิ่มเป็นเท่ากับ 9.0 ล้านบาทในปี 2465 ในบางป ีเช่น
8 มิ.ย.2549
9
ในปี 2434-2435 รายได้ของกรมพระคลังข้างที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ของภาษีอากรของประเทศที่จัดเก็บได้ทั้งหมด (ทวีศิลป์ 2528: 129 และชลลดา 2529)
ตารางที่ 1 รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติพ.ศ.2435-2478
ปี พ.ศ.
2435 1.49
2445 6.1
2455 8.7
2465 9.0
2475 .479
2478 .409
รายได้ (ล้านบาท)
แหล่งที่มา: ชลลดา (2529: 38)
นอกจากรายได้ที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีแล้ว รายได้ส่วน สำคัญของกรมพระคลังข้างที่มาจาก ค่าเช่าห้องแถว ตลาดสด กำไรและเงินผลตอบแทนจากการ ลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รายได้ส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนสำคัญของกรมพระคลังข้างที่นับ แต่ปี 2433 เป็นต้นมา เพราะมีการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของการลงทุนใหม ่ๆ ของกรุงเทพฯ ทั้ง เป็นการลงทุนโดยตรงของกรมพระคลังข้างที่เช่น การก่อสร้างตึกแถวและตลาดสด หรือการร่วม ลงทุนในกิจการการผลิตการค้าและอุตสาหกรรมของชาวจีน ชาวยุโรป และชาวตะวันตกอื่น ๆ
กรมพระคลังข้างที่กับบทบาท “เจ้าที่ดิน” รายใหญ่ที่สุดของประเทศ
การเติบโตของเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินกรมพระคลังข้างที่ได ้เข้าครอบครองที่ดินย่านที่สำคัญในกรุงเทพฯ อย่างขนานใหญ่ในปลายทศวรรษ 2440 พระคลังข้าง ที่ได้กลายเป็นผู้ถือครองที่ดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และที่ดินได้กลายเป็น “ทุน” ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อการลงทุนทางธุรกิจของกรมพระคลังข้างที่และสำหรับเชื้อพระวงศ์ในการลงทุนด้าน อสังหาริมทรัพย์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ
กรมพระคลังข้างที่สามารถจับจองหรือครอบครองที่ดินได้หลายวิธีอาทิเช่น ครอบครอง ที่ดินสาธารณะอันประกอบไปด้วย ที่ว่างเปล่าหรือที่ที่เป็นของกระทรวงต่าง ๆ หรือที่ที่เป็นที่ตั้ง ของวังและพระราชวัง รวมทั้งสามารถรับจำนองจากเอกชน โดยที่กรมพระคลังข้างที่ให้เงินกู้แก่ผ ู้
8 มิ.ย.2549
10
เอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนอง ลูกค้าส่วนใหญ ่ได้แก ่พ่อค้าชาวจีน เจ้าภาษีนายอากร ขุนนาง และ เจ้านายชั้นผู้ใหญ ่ถ้าหากว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ทรัพย์สินย่อม ตกอยู่แก่กรมพระคลังข้างที่นอกจากนี้กรมพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ดินจากราษฎรทั่วไปโดยตรง และ ด้วยเหตุที่กรมพระคลังข้างที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดถนน ราคาที่ดิน และข้อได้เปรียบในเรื่องแหล่ง ที่ตั้งและทำเลการค้า ส่งผลให้กรมพระคลังข้างที่ได้สะสมซื้อที่ดินในเขตพื้นที่เขตธุรกิจที่เหมาะแก ่การลงทุนและค้าขาย ผลที่ตามมาก็คือ กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ที่เหมาะแก่การ พาณิชยกรรมในกรุงเทพฯ นับแต่ทศวรรษ 2440 เป็นต้นมา
กรมพระคลังข้างที่ได้สะสมที่ดินเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกรุงเทพฯ เขตชั้นใน ในป .2445 กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯ เท่ากับ 4,083 ไร ่โดย กระจายอยู่ที่ย่านธุรกิจในสำเพ็ง 1,831 ไร่) บางรัก (458 ไร่) ดุสิต (4,083 ไร่) และภายในประตูเมือง หรือย่านวัดชนะสงคราม ย่านพระราชวัง ยานสำราญราษฎร ์และย่านพาหุรัด (86 ไร่) อำเภอ ดุสิต (1,708 ไร่) (กจช. ร.5 กระทรวงเกษตรฯ 6/6153 (2456)) ในขณะที่เอกสาร ร.5 นครบาล 41.1/221 (2442 – 2444) ระบุว่า กรมพระคลังข้างที่มีที่ดินรวมกันเท่ากับ 1,850 ไร ่ในช่วง พ.ศ. 2442 - 2444 หรือเท่ากับร้อยละ 22.2 ของพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน (Tasaka 2003) โดยที่การกระจายตัวของการถือครองที่ดินในย่านที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ อำเภอดุสิต (กระจุกตัวย่านสามเสน – บางขุนพรม) 1,615.5 ไร ่อำเภอสำเพ็ง (กระจุกตัวย่านสามแยก – ตลาด น้อย) 63.57 ไร ่อำเภอบางรัก (กระจุกตัวยานถนนสี่พระยา) 172.97 ไร ่ตามลำดับ (Tasaka 2003)
ที่ดินจึงกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของกรมพระคลังข้างที่เพราะกรมพระคลัง ข้างที่ได้สร้างตึกแถวและตลาดสดเป็นจำนวนหลายร้อยห้องเพื่อเก็บค่าเช่า โดยเฉพาะริมถนนสาย สำคัญตามย่านที่สำคัญทางธุรกิจ เช่น เจริญกรุง จักรวรรดิเยาวราช ราชวงศ ์หัวลำโพง สี่พระยา สามเสน ซางฮี้นอก ดวงเดือนนอก ดาวข่าง เป็นต้น ตึกแถวนั้นใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช ้ดำเนินธุรกิจค้าขาย ตลอดจนเป็นที่ตั้งของสำนักงาน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ อัตราค่าเช่าของห้อง แถวจะแตกต่างกันตามชนิดของห้องแถว และย่านธุรกิจ ในปี 2450 อัตราค่าเช่าของห้องแถวริม ถนนบำรุงเมืองและริมถนนเจริญกรุงอยู่ประมาณ 20 – 30 บาทต่อเดือน และหากเป็นห้องแถวที่ทำ ด้วยไม ้อัตราค่าเช่าจะตํ่าลงไปอีกประมาณ 3 – 10 บาทต่อเดือน (กจช. ร.5 คลัง 9.4 ค/65 (2450)) อาคารที่อยู่ริมถนนราชวงศ์เก็บค่าเช่าในอัตราเดือนละ 10 บาท ส่วนที่อยู่หัวมุมจะเก็บในอัตรา 40 – 60 บาทต่อเดือน ในขณะที่ตึกถนนสี่พระยาที่สร้างเพื่อให้ชาวยุโรปเช่านั้นราคาตํ่าสุดอยู่ที่ 100 บาท ต่อเดือน รายได้จากการดำเนินการเก็บค่าเช่าตึกแถวน่าจะเป็นแหล่งรายได้ในการดำเนินธุรกิจของ กรมพระคลังข้างที่ในขณะนั้น แม้ว่าอัตราค่าเช่าจะค่อนข้างตํ่าและต้องใช้ระยะเวลานานถึงจะได้เงิน
8 มิ.ย.2549
11
ลงทุนกลับคืน เช่นเป็นระยะเวลาถึง 10 ป ีนอกจากนี้แม้ว่าการเก็บค่าเช่าในอัตราที่ตํ่าจะไม่มีผลให ้ระดับกำไรอยู่ในระดับสูง แต่ทว่าก็สามารถมีรายได้จากค่าเช่าได้ระยะยาวนั่นเอง
การถือครองที่ดินขนาดใหญ่ของกรมพระคลังข้างที่มิเพียงแต่มีผลต่อการสะสมทุนของ กลุ่มทุนศักดินา แต่ทว่ายังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ ในทศวรรษ 2440 และหลังจากนั้น เพราะการเจริญเติบโตของกรุงเทพฯ ภายหลังจากทศวรรษ 2440 นั้นเกิดจากการตัดถนนและเปิดพื้นที่ใหม ่ๆ ส่งผลให้กรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนบทบาทจากกิจกรรมทาง เศรษฐกิจจาก “เมืองนํ้า” มาสู่ “เมืองบก” และมีผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในแง่ศูนย์การค้าและ ยานพาณิชยกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเจริญเติบโต ของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการตัดสินใจในการตัดถนนและลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย ์คือ ห้องแถวและตลาดสดของกรมพระคลังข้างที่นั่นเอง
กรมพระคลังข้างที่กับบทบาทการลงทุนทางเศรษฐกิจ
การสะสมทุนอย่างต่อเนื่องของกรมพระคลังข้างที่ส่งผลให้กรมพระคลังข้างที่มิเพียงแต ่เป็นหน่วยงานการลงทุนทางเศรษฐกิจของและนำรายได้มาสู่ราชสำนัก แต่ทว่ายังมีบทบาทที่สำคัญ ในฐานะเป็นกลุ่มทุนของคนไทยที่ใหญ่ที่สุดในปลายทศวรรษ 2440 การลงทุนในกิจการทาง เศรษฐกิจต่าง ๆ ของกรมพระคลังข้างที่มีบทบาทสำคัญเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่กลุ่ม ทุนศักดินา ซึ่งประกอบไปด้วยพระมหากษัตริย ์ขุนนาง และพระบรมวงศานุวงศ ์กลุ่มศักดินามีบทบาทสำคัญในการลงทุนทางเศรษฐกิจทั้งการลงทุนโดยตัวเองและในฐานะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ การสะสมทุนเพิ่มขึ้นและขยายตัวซึ่งมิเพียงแต่ที่กรุงเทพฯ แต่ทว่ายังขยายตัวไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ บันทึกฉบับหนึ่งของผู้ทำงานในบริษัทบอร์เนียว ในปี 2437 ซึ่งแสดงถึง การขยายตัวของการสะสม ทางเศรษฐกิจของกลุ่มศักดินาดังต่อไปนี้
“ในระยะปีสองปีที่ผ่านมา การลงทุนที่นิยมกันมากของพระราชโอรส
และขุนนางที่กรุงเทพฯ และฉะเชิงเทราคือ โรงสีข้าว ทั้งที่เป็นเจ้าของ
ดำเนินการเองและรับจำนอง พระราชโอรสผู้มั่งคั่งมักจะเกี่ยวข้อง
กับการค้าระหว่างประเทศ ภายหลังจากการลงนามสนธิสัญญา
เบาริงและสนธิสัญญาทางการค้าฉบับอื่น ๆ พระราชโอรสเหล่านี้
มักจะร่วมลงทุนกับพ่อค้าชาวจีนในการดำเนินการค้าอย่างขนานใหญ่”
(Leckie 1894 : 652)
ในฐานะเป็นกลุ่มทุนของคนไทยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กรมพระคลังข้างที่มีบทบาทที่สำคัญใน การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงินและการธนาคาร รวมทั้งกิจการการผลิตทางเศรษฐกิจ
8 มิ.ย.2549
12
อื่น ๆ กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งธนาคารสยามกัมมาจลหรือธนาคารไทยพาณิชย ์ในป ีพ.ศ.2449 ซึ่งถือว่าเป็นธนาคารของคนไทยแห่งแรก โดยกรมพระคลังข้างที่ได้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ธนาคารไทย พาณิชย์มิเพียงแต่มีบทบาทที่สำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับกรมพระคลังข้างที่เพื่อใช้ในการ ลงทุนทางธุรกิจ แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินก ู้และหรือร่วมลงทุนกับธุรกิจอื่น ๆ ทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตกอื่น ๆ ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า กรมพระคลังข้างที่มีบทบาท สำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจและมีผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจ เพราะบทบาทที่สำคัญของธนาคารซึ่งก่อตั้งโดยกรมพระคลังข้างที่คือ นำมาซึ่งเงินทุนเพื่อการประกอบการทาง ธุรกิจนั่นเอง
บทบาทของพระคลังข้างที่ยังเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตใน ภาคอุตสาหกรรมคือ ปูนซีเมนต ์เมื่อการขยายตัวการก่อสร้างในกรุงเทพฯ กำลังขยายตัว เพราะการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ กรมพระคลังข้างที่นอกจากจะได้ลงทุนสร้างห้องแถวและตลาด ขึ้นในย่านที่มีเศรษฐกิจใหม่และกำลังเจริญแล้วซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของความต้องการปูนซีเมนต ์สูงขึ้น กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ในป ีพ.ศ. 2456 โดยลงทุนเป็นจำนวนเงิน ห้าแสนบาทจากจำนวนเงิน 1 ล้านที่ต้องการใช้ในการก่อตั้ง (ผาสุก 2542 : 178) อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ไทยซึ่งดำเนินการโดยกรมพระคลังข้างที่เป็นอุตสาหกรรมที่ผูกขาดรายเดียวมาเนิ่นนาน จนกระทั่งทศวรรษ 2490 และมีบทบาทต่อการก่อสร้างและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยจนถึง ปัจจุบัน
ด้วยลักษณะพิเศษที่กรมพระคลังข้างที่ที่เป็นทุนของราชสำนัก รวมทั้งเป็นหน่วยราชการที่เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสนาบดีโดยตรง หากแต่ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย ์รวมทั้งการได้รับเงิน รายได้ของแผ่นดินในสัดส่วนค่อนข้างสูง การลงทุนของกรมพระคลังข้างที่จึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนัก ในช่วงปี 2430 - 2466 กรมพระคลังข้างที่ได้ใช้เงิน 11.5 ล้าน บาท จากเงินลงทุนทั้งหมด 33.6 ล้านบาท ลงทุนในโครงการเอกชนถึง 13 โครงการ โดยเป็นการ ร่วมทุนกับชาวยุโรปและชาวจีน ในกิจการรถไฟ 13 โครงการ โดยเป็นการร่วมทุนกับชาวยุโรปและ ชาวจีน ในกิจการรถไฟ รถราง ธนาคาร ปูนซีเมนต ์การค้าสินค้านำเข้า การทำเหมืองแร ่และธุรกิจ เรือกลไฟ (Suehiro อ้างใน ผาสุก 2542 : 178)
บทบาทของการลงทุนของกรมพระคลังข้างที่มิเพียงจำกัดอยู่ในกรุงเทพฯ ดังได้กล่าว มาแล้ว แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญในการลงทุนในภูมิภาคต่างจังหวัดด้วย โดยเฉพาะกิจการทางด้าน อสังหาริมทรัพย ์คือ การตึกแถว ตลาด รวมทั้งที่ดินให้เช่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร ์พระคลัง ข้างที่ได้จัดหาผลประโยชน์ดังกล่าวจากท้องที่ต่าง ๆ คือ ภูเก็ต สระบุรีนครศรีธรรมราช ราชบุรี
8 มิ.ย.2549
13
ปัตตานีกาญจนบุรีอุบลราชธานีนครปฐม เพชรบุรีพิษณุโลก นครสวรรค ์สงขลา (ชลลดา 2529 : 135 – 137)
อำนาจและความเข้มแข็งของกรมพระคลังข้างที่เริ่มถูกท้าทายโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 6 การใช้จ่ายอย่างเกินตัวโดยเฉพาะของราชสำนักตลอดรัชกาล ภาวะฟ้าฝนแล้งส่งผลต่อวิกฤติการณ ์การผลิตและส่งออกในปี 2458 (และก่อนหน้านั้น) วิกฤติการณ์ด้านการเงินและการคลัง (ในปี 2463 -2468) ปัญหาวิกฤติเงินคงคลัง การขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 (2457 – 2461) รวมทั้งการขาดทุนของธนาคารจีนสยาม (ในปี 2454-2455) และการขาดทุนของบริษัทเดินเรือสยาม (Siam Steamship Company) ในปี 2462 – 2467 ปัญหา ดังกล่าวส่งผลซึ่งกันและกัน ภาวะวิกฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้และ การลงทุนของกรมพระคลังข้างที่เป็นอันมาก (โปรดดูใน สุนทรี 2533 ; Greene 1999 ; Porphant 1999) ไม่ปรากฏว่ามีการขยายตัวในกิจการการลงทุนในอสังหาริมทรัพย ์คือ ที่ดิน ตลาด และ ตึกแถว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถือว่าบั่นทอนอำนาจและความเข้มแข็งของพระคลังข้างที่มาก ที่สุด คือ การล้มละลายของธนาคารจีนสยาม (Chino – Bank) ซึ่งเป็นพันธมิตรของธนาคารสยามกัม มาจล และการขาดทุนของบริษัทพาณิชย์นาวีสยามเกิดจากการยักยอกเงินของ นายฉลอง ไนยนารถ หรือ นาย ซ. ยุเสง (ซึ่งเป็นผู้บริหารของธนาคารสยามกัมมาจลและธนาคารจีนสยาม) รวมทั้งปัญหา นี้เสียและตั๋วปลอมของธนาคารดังกล่าวได้ส่งผลต่อความเสียหายของธนาคารสยามกัมมาจล โดย คิดเป็นมูลค่าถึง 5,747,000 บาท ในปี 2454/55 (นพพร เรืองสกุล อ้างใน ญิบพัน 2547 : 178) ความ เสียหายดังกล่าวมากจนรัชกาลที่ 6 มีพระราชดำริจะยุบธนาคารสยามกัมมาจลเป็นธนาคารชาติอย่างไรก็ตามในที่สุดรัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชานุญาตให้พระคลังข้างที่ขอยืมเงินจำนวน 1,634,000 บาท จากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพื่อคํ้าจุนธนาคารสยามกัมมาจล ทำให้ธนาคาร สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (ญิบพัน 2547 : 179) ในกรณีของบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม กรมพระ คลังข้าวที่ได้ถือหุ้นร้อยละ 50 จากทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท (Suehiro 1989 : 56) ภายหลังจากการเปิดดำเนินการในปี 2461 บริษัทมีกำไรทั้งสิ้น 435,700 บาท แต่ในช่วงปี 2462 – 2467 ได้ประสบกับปัญหาขาดทุนมาโดยตลอดซึ่งมียอดรวมของการขาดทุนทั้งสิ้นถึง 2.6 ล้านบาท (พจนา 2523 : 1930)
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เผชิญโดยธนาคารสยามกัมมาจล การขาดทุนของบริษัทพาณิชย ์นาวีสยาม ดังได้กล่าวมาแล้ว ประกอบกับความอ่อนแอของสถานะการเงินการคลังของประเทศ การใช้จ่ายอย่างเกินตัวของราชสำนักมีผลให้กรมพระคลังข้างที่ประสบกับปัญหาหนี้สินอย่าง รุนแรง หนี้สินของกรมพระคลังข้างที่ในป ีพ.ศ. 2468 ประมาณ 15 ล้านบาท (กจช.
8 มิ.ย.2549
14
ร.7 การคลัง 19/6 2468/69) เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตในเดือนพฤศจิกายน 2468 หนี้สินส่วน พระองค์เท่ากับ 5.5 ล้านบาท นอกเหนือจาก 4.6 ล้านบาทจากที่เคยกู้จากพระคลังมหาสมบัติ (Green 1999 : 169) ความอ่อนแอฐานะทางการเศรษฐกิจและการเงินของพระคลังข้างที่ยังคงดำรงอยู่แม้จะ ล่วงเข้าสู่รัชสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากภาวการณ์เศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก ได้ส่งผลต่อการขยายตัวของ รายได้จากงบประมาณแผ่นดินและการลงทุนของพระคลังข้างที่ดังจะเห็นว่า รายได้ของพระคลัง ข้างที่ที่ได้รับจากการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินประมาณ 7 ล้านบาท ในช่วงปี 2468 – 2473 (ในขณะที่ในปี 2467 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรสูงถึง 11 ล้านบาท) และลดลงประมาณ 4 ล้านบาท ในปี 2474 (Batson 1984 : 92) ภายหลังการเปลี่ยนการปกครองในปี 2475 จนถึงปี 2480 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรเฉลี่ยเพียงปีละ 440,000 บาทเท่านั้น (ชลลดา 2529 : 38)
สำนักงานทรัพย์สินฯ : พ.ศ. 2476 – 2491
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเดือนมิถุนายน 2475 ภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าในทศวรรษ 2470 ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะราษฎรกับราชสำนักได้มีผลต่อการลดบทบาทของกรมพระ คลังข้างที่เป็นอันมาก ในปี 2476 รัฐบาลได้เข้าไปจัดการทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่โดยใน เบื้องต้นการแบ่งทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค ์และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์โดยที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษีส่วนทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์นั้นให้มีการยกเว้นภาษีอากร คณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งโดยมีพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์เป็นประธานกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องทรัพย์สินอะไรบ้างที่เป็นของ พระมหากษัตริย์ (สกุณา 2543 : 84)
รัฐบาลในขณะนั้นพยายามที่จะลดบทบาทและอำนาจของกรมพระคลังข้างที่โดยที่สำคัญ คือ ในปี 2476 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม โดยมีจุดมุ่งหมาย ประการสำคัญเพื่อการยุบรวมกรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถาบันพระมหากษัตริย ์หรือราชสำนักเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อใหม่ว่า “ศาลาว่าการพระราชวัง” ซึ่งกรมที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารราชสำนักมีทั้งสิ้น 10 กรม คือ (1) กรมพระคลังข้างที่ (2) กรมราชเลขานุการในพระองค . (3) กรมปลัด (4) กรมวัง (5) กรมพระราชพิธี (6) กรมโขลน (7) กรมวังนอก (8) กรมมหาดเล็ก หลวง (9) กรมราชพาหนะ และ (10) กรมทหารรักษาวัง อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน นั้นได้มีการตั้งกระทรวงวังขึ้นมาใหม่ (หลังจากยุบเลิกไปเดือนมิถุนายน 2475) กรมพระคลังข้างที่จึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง และในปี 2478 ภายใต้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง 8 มิ.ย.2549
15
กรม (แก้ไขเพิ่มเติม เดือนสิงหาคม 2478) กระทรวงวังได้ถูกลดสถานภาพลงเป็น “สำนักงานพระ คลังข้างที่” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดสำนักพระราชวังซึ่งเป็นทบวงการเมือง ภายใต้การดูแลของ นายกรัฐมนตรีดังนั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เคยถูกจัดการและอยู่ในมือของราชสำนักจึง ถูกโอนย้ายถ่ายเทมาสู่การกำกับของนายกรัฐมนตรีในที่สุด (Tasaka 2003)
ในป ีพ.ศ. 2480 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ตาม พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2479) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ลดบทบาทของกรมพระคลังข้างที่ในทางเศรษฐกิจในฐานะเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของ ราชสำนัก และเชื้อพระวงศ์ต่อไปอีก เพราะทรัพย์สินของราชสำนักซึ่งเคยขึ้นอยู่กับกรมพระคลัง ข้างที่ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองในป ีพ.ศ. 2475 บางส่วนได้ถูกโอนและถ่ายเทมาส ู่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และในหลาย ๆ กรณีมีความพยายามจะยึดพระราชทรัพย ์และอสังหาริมทรัพย์จากราชสำนักมาเป็นของรัฐบาล นอกจากนี้อำนาจการดูแลทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย์ก็ถูกโอนไปจากสำนักนายกรัฐมนตรีไปอยู่ในการควบคุมดูแลของ กระทรวงการคลัง โดยปรึกษาคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเป็นประธานและกรรมการอีก 4 นาย ซึ่งจะได้จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมราชานุมัติ(ประวัติสังเขปสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์ม.ป.ด.) ในขณะที่อำนาจของกรมพระคลัง ข้างที่หรือที่เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสำนักงานพระคลังข้างที่ในป ีพ.ศ. 2478 มีเพียงหน้าที่จัดการดูแล ทรัพย์สินของบรรดาวัดในพระบรมราชานุเคราะห์และเจ้านายบางพระองค ์และหลังจากนั้นในรัช สมัยรัชกาลที่ 8 ได้ยุบตัวเอง จากฐานะเทียบเท่ากรมเป็นฐานะกองหนึ่งในสังกัดสำนักพระราชวัง และดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยที่บัญชีทรัพย์สินที่อยู่ในการปกครองของพระคลังข้างที่มีอยู่ 10 บัญชีคือ (1) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (2) วัดราชประดิษฐ์ (3) วัดราชบพิตร (4) วัดเบญจมบพิตร (5) วัดราชาธิวาส (6) วัดเทพสิรินทร์ (7) มูลนิธิวัดมหาธาตุ (8) สมเด็จพระนางเจ้าสุวัฒนาฯ (ทรง โปรดเกล้าฯ มอบหมายให้จัดการ) (9) เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา (ทรงโปรดเกล้าฯ มอบหมายให ้จัดการ) (10) โรงเรียนวัดชิราวุธ (มหาดเล็กหลวง) (สกุณา 2543 : 85) สำนักงานพระคลังข้างที่เป็น หน่วยงานที่ได้รับเงินจากงบประมาณจากรัฐบาลซึ่งเป็นงบสำหรับ “หน่วยงานอุดหนุน พระมหากษัตริย์” นอกจากจะมีการแบ่งและนิยามที่มาของทรัพย์สินของราชสำนักหรือสถาบัน พระมหากษัตริย์คือ (1) ทรัพย์สินส่วนพระองค ์และ (2) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว อำนาจ ของราชสำนักยังได้ถูกลดทอนต่อไปอีก ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้แยกทรัพย์สินของราชสำนัก เพิ่มเติมไปอีก คือเป็น “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ” ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ที่ใช้เพื่อผลประโยชน ์ส่วนของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวังต่าง ๆ (นิยามของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .
8 มิ.ย.2549
16
ทรัพย์สินส่วนพระองค ์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติจะได้กล่าวต่อไปในบทหน้า) การแบ่ง ทรัพย์สมบัติของราชสำนักดังได้กล่าวมาแล้ว ได้แสดงถึงอำนาจการจัดการทรัพย์สินของได้มีอำนาจน้อยลง รวมทั้งทรัพย์สินบางส่วนได้โอนไปแก่รัฐบาลและกลุ่มคนบางส่วนของรัฐบาลใน สมัยนั้นในหลาย ๆ กรณีเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว และส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เช่น ในปี 2480/81 นายเลียง ไชยกาล สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีได้ยื่นกระทู้ถามรัฐบาลเมื่อปรากฏว่ามีการขายที่ดินอันเป็นทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับผู้ก่อการบางคนกับพรรคพวก ด้วยราคาที่ถูกอย่างผิดปรกติบุคคลที่ซื้อ ที่ดินเหล่านี้มีหลวงพิบูลสงคราม หลวงยุทธศาสตร์โกศล นายวิลาส โอสถานนท ์พระดุลยธารณ ์ปรีชาไวท ์เป็นต้น ซึ่งบรรดาพวกที่ซื้อที่ดินเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่กลุ่มหลวงพิบูลสงคราม ผลของการ ตั้งกระทู้และการเปิดอภิปรายทั่วไปก็คือ รัฐบาลพระยาพหลฯ ต้องลาออกในวันที่ 9 สิงหาคม 2480 และคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งรู้เห็นยินยอมในการซื้อขายที่ดินส่วนนี้ต้องถูกประฌามอ ย่างหนักจนต้องลาออกในที่สุด (สุพจน์ 2545 : 42)
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะรัฐบาลกับราชสำนักได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจาก จะพยายามริดรอนอำนาจทางการเมืองและการบริหารประเทศจากพระมหากษัตริย ์รัฐบาลใน ขณะนั้นได้ตั้งคนเข้าไปควบคุมการเงินและการใช้จ่ายของสำนักงานทรัพย์สินอีกด้วย อาทิเช่น การ แต่งตั้งนายชุณห ์บินณทานนท ์นาวาเอก หลวงกาจสงคราม พันตรีเผ่า ศรียานนท ์ไปเป็น ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งในบางกรณีได้นำสำนักงานทรัพย์สินฯ ไปร่วมลงทุนใน กิจการรัฐวิสาหกิจของคณะราษฎร์และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานทางเศรษฐกิจแก ่คณะราษฎรด้วย อำนาจทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ลดลงต่อไปอีกเมื่อรัฐบาลได้ตรวจสอบ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และพบว่าเงินจำนวนถึง 4.19 ล้านบาทในบัญชีของกรมพระคลังข้าง ที่ได้ถูกสั่งจ่ายไปโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนที่จะสละราชสมบัติในป ีพ.ศ. 2475 – 2477 และเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นลงในป ีพ.ศ. 2482 กระทรวงการคลังก็ได้มอบเรื่องราวให ้อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าได้ทรงโอนทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย์ไปเป็นของส่วนพระองค ์โดย “ไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและ โดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” (สุพจน .2545 : 72) คดีนี้ใช้เวลา 2 ปีเศษ และใน วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 ศาลก็ได้ตัดสินให้พระองค์ทรงแพ้คดีพระองค์จะต้องคืนเงิน 4.19 ล้านบาท รวมทั้งดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินทั้งสิ้นเท่ากับ 6.2 ล้านบาท ให้กับรัฐบาล (สุพจน์ 2545 : 75) หากพิจารณาถึงบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในแง่ของกลุ่มทุนหลักกลุ่มหนึ่งของ เศรษฐกิจไทย ในช่วงปี 2475 จนถึงปี 2491 กลุ่มทุนศักดินาได้เริ่มมีความสำคัญน้อยลงในฐานะ
8 มิ.ย.2549
17
เป็นกลุ่มทุนหลัก เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ทุนที่สำคัญได้เริ่มก่อตั้งขึ้นคือ ทุนนิยมแห่งรัฐ ภายใต้แนวนโยบายรัฐนิยม (โดยเฉพาะหลังปี 2481) ส่งผลให้กลุ่มทุนใหม ่โดยเฉพาะทุนคนจีนเริ่มขยายตัวและมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และเข้าแทนที่บทบาทของทุนศักดินาหรือ “ทุน” จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั่นเอง
สำนักงานทรัพย์สินฯ : พ.ศ. 2491 -ปัจจุบัน
นับแต่ป ีพ.ศ. 2491 เป็นต้นมา บทบาทและอำนาจทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินใน ฐานะเป็นหน่วยงานการลงทุนและหารายได้ของราชสำนักตลอดจนเป็นกลุ่มทุนที่ทรงอิทธิพลของ ไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสำคัญอย่างน้อยสองประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้ส่งผลต่อการ เจริญเติบโตในทุก ๆ ด้านของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งในแง่รายได้และทรัพย์สิน ตลอดจน กลายเป็นกลุ่มทุนชั้นนำทางธุรกิจของเศรษฐกิจไทย คือ
(1) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (2) ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์ (3) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (จะได้กล่าว ต่อไปในบทหน้า) การเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สิน
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2490 – เมษายน 2491 เป็นระยะเวลาที่ฝ่ายอนุรักษ์ – กษัตริย ์ซึ่งมีแกนกลางอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งได้มีการเสนอแก้ไข “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2479” และต่อมาได้กลายเป็น พระราชบัญญัติจัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 ซึ่งได้มีการแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับเก่าหลายมาตราซึ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขให้สำนักงานทรัพย์สินมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่เป็นอิสระจากรัฐบาล เพราะการที่องค์กรเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองได ้และ อำนาจในการกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์กระทำได้โดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบอำนาจสมบูรณ์ผูกพัน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ (สกุณา 2543 : 70) นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ยังสามารถเป็นโจทย์ฟ้องคดีเอง หรือถูกฟ้องในคดีต่าง ๆ ได ้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
8 มิ.ย.2549
18
กรณีที่ดิน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีทั้งเป็นโจทย์และเป็นจำเลยได ้ในขณะเดียวกันการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายย่อมมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลงทุนในกิจการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อนำมาซึ่งการแสวงหารายได้และผลประโยชน์อื่น ๆ อาทิเช่น โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย .(ที่ดิน และ/หรืออาคาร) และการลงทุนซื้อหุ้นต่าง ๆ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และธนาคารไทย พาณิชย ์เป็นต้น (สกุณา 2543 : 17)
ลักษณะของความเป็นนิติบุคคลและความคล่องตัว ตลอดจนเป็นการคืนอำนาจให้กับ กษัตริย ์ดังจะเห็นได้จากในมาตราที่ 4 ที่ให้ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นนิติบุคคล และเป็นอิสระจากรัฐบาล โดยตั้ง “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ทำหน้าที่บริหาร กิจการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการคลังเป็นประธาน โดยตำแหน่ง และกรรมการอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่ง ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์” นอกจากนั้นผู้อำนวยการสำนักงานฯ ยังมีหน้าที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการของสำนักงานฯ ก็ได้รับการแต่งตั้งจาก พระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน ในขณะที่พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ฉบับ พ.ศ. 2479 ในสมัยคณะราษฎร์เรืองอำนาจนั้นได้ใช้คำว่า “พระบรมราชานุมัติ” คณะกรรมการที่ปรึกษาจัด ระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479)
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2491 ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของสถาบันพระมหากษัตริย ์คือ การโอนทรัพย์สินต่าง ๆ จากกระทรวงการคลังมาอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากสำนักงานพระคลังข้างที่มา เป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (สกุณา 2543 : 87) ในขณะเดียวกันในมาตราที่ 3 ของ พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2491 ได้มีการแก้ไขและเปลี่ยนคำจำกัดความ ของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” โดยให้มีความหมายและขอบเขตกว้างขวางขึ้น เมื่อเทียบกับใน พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2491 ดังจะเป็นว่า “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” นั้นหมายรวมถึง “ทรัพย์สินที่รัฐบาลทูลเกล้าถวาย” ด้วย นอกจากนั้นทรัพย์สินที่ได้มานอกจากที่ได้มาในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็น “ทรัพย์สินนั้นเป็นส่วนของ พระองค์” ซึ่งทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากนั้นตามมาตราที่ 6 และที่ 7 ของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกล่าวว่าการดูแลผลประโยชน์ของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ให้เป็นไป ตามเห็นชอบโดยอิสระของพระมหากษัตริย์ (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491) และ เพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนนี้ยังได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์” ขึ้นมาเพื่อควบคุมทรัพย์สินส่วนนี้อีกด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานนี้แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย ์ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ พลตรีหม่อมหลวงอัสนีปราโมช
8 มิ.ย.2549
19
การเพิ่มขึ้นของอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มิเพียงแต่กระทำโดยผ่านการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการและคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจในอันที่จะ สนองนโยบายการลงทุนและเพิ่มรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะนิติบุคคลแล้ว ในทางกฎหมายพระมหากษัตริย์สามารถจะใช้พระราชอำนาจในการใช้รายได้หรือ ทรัพยากรอื่น ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย เพราะจากการแก้ไข พ.ร.บ. จัด ระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2479 นั้น ในมาตราที่ 6 ของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2491 (ฉบับที่ 3) ระบุว่า “รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรค 2 นั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายการในพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะ จำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่เฉพาะพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใด ๆ หรือโดยคณะ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีเกี่ยวกับพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทาง ศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น (ประชุม กฎหมายประจำศก พ.ศ. 2491, เล่ม 61 หน้า 137 – 141)
การเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ. ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมิเพียงแต่ได้ส่งผลต่อการคล่องตัวและ การบริหารจัดการสินทรัพย์และการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก แต่ทว่ายัง เป็นการได้มีการถ่ายเทการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งในอดีตทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของสถาบัน พระมหากษัตริย์อยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ (ทั้งทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และ ส่วนพระองค์) ไปสู่การบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระองค ์ตามลำดับ ซึ่งมีฐานะเป็นอิสระและคล่องตัวมากกว่าการดูแลรักษา และจัด ผลประโยชน์ของกรมพระคลังข้างที่ (และต่อมาคือ สำนักงานพระคลังข้างที่) ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วย ราชการและมีข้อจำกัดในการดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ของทรัพย์สินที่เป็นของสถาบัน พระมหากษัตริย์และส่วนพระองค ์อันเทียบเท่ากับทรัพย์สินของเอกชนนั่นเอง กล่าวโดยสรุปนับแต ่ปีพ.ศ. 2491 เป็นต้นมาจึงถือว่าเป็นการเติบโตอย่างแท้จริงของการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางเศรษฐกิจ ของพระมหากษัตริย์เพราะมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสร้างอำนาจและผลประโยชน์ให้แก่สถาบัน พระมหากษัตริย ์โดยผ่านการบริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์) โดยผ่านการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย ์รวมทั้งการโอนทรัพย์สินของสถาบัน พระมหากษัตริย ์ซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ (โดยเฉพาะในช่วงที่พระราช อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ลดลงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในป ีพ.ศ. 2475 ถึงป ีพ.ศ. 2490) สำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์) จึงสามารถใช้ประโยชน .
8 มิ.ย.2549
20
จากกฎหมายในการเพิ่มความมั่งคั่งในรูปแบบการลงทุนและสะสมทุนจากสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นโดย ปราศจากการแทรกแซงของคณะราษฎร ซึ่งในหลาย ๆ กรณีได้พยายามบั่นทอนอำนาจของ พระมหากษัตริย ์การเจริญเติบโตของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการมีอำนาจของ พระมหากษัตริย ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการรัฐประหารของจอมพลสฤษด ์ิธนะรัชต ์ในป .2500 ที่อำนาจทางการเมืองภายใต้รัฐบาลเผด็จการและประชาธิปไตยหลังปี 2516 ส่งเสริมและ สนับสนุนให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีอำนาจเข้มแข็ง ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของการลงทุนของ สำนักงานทรัพย์สินฯ และต่อมาได้กลายเป็นกลุ่มทุนที่ทรงอิทธิพลที่สุดกลุ่มทุนหนึ่งของเศรษฐกิจ ไทยนับแต่นั้นเป็นต้นมา
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ดังได้กล่าวมาแล้ว ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสถานภาพจากกรมพระคลังข้างที่ (ต่อมาสำนักงานพระคลังข้างที่) ที่มีสถานภาพเป็นหน่วยงานราชการ และเปลี่ยนสภาพเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใน ฐานะนิติบุคคล ในป ีพ.ศ. 2491 ย่อมมีผลต่อการระดมทุนของกษัตริย ์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ จากกลุ่มทุนที่มีขอบเขตการลงทุนจำกัดในเฉพาะข้าราชบริพาร ผู้ประกอบการชาวจีน ฯลฯ มาสู่การประกอบการที่เป็นมหาชน และใช้การจัดการบริหารแบบเอกชนและสากลทั่วไป รวมทั้งมีทิศทางการบริหารที่เน้นผลกำไรจากการลงทุนมากขึ้น และในฐานะที่สำนักงาน ทรัพย์สินฯ มีการสะสมทุนและสะสมความมั่งคั่งนับแต่ทศวรรษ 2430 เป็นต้นมา จึงได้เปรียบกว่า กลุ่มทุนอื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลัง สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงจึงเปิดโอกาสให้ “ทุน” ของพระมหากษัตริย์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้น ตามลำดับ
ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย .
นับแต่ต้นทศวรรษ 2490 เป็นต้นมา สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีอำนาจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ ภายหลังปี 2500 แม้ว่าภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 บทบาทและพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์จะมีข้อจำกัดภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ทว่าในทางปฏิบัติพระราชอำนาจ ที่ดำรงอยู่จริงมิได้ถูกทำลาย ในงานของ ธงทอง จันทรางศุชี้ให้เห็นว่า “แม้ว่าพระราชอำนาจ ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม แต่ธรรมเนียมปฏิบัติที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าเป็นพระราชอำนาจที่มีอยู่จริง และอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระราช อำนาจส่วนที่สำคัญที่สุดในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน” (อ้างใน ชนิดา 2547 : 373) ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัติประเทศไทยในปี 2493 ณ ขณะนั้นยังทรงพระเยาว์และมีพระราชอำนาจจำกัด (limited monarchy) นอกจากนี้พระองค์มิได .
8 มิ.ย.2549
21
ควบคุมกองทัพรวมทั้งมิได้มีอำนาจอธิปไตยในทางการเมืองและการปกครอง แต่เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์ทางการเมืองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทของกลุ่มพลังทางการเมืองที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย ์ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย ์และ ม.ร.ว. คึกฤทธ ์ิปราโมช เริ่มมีความเข้มแข็ง มีการผลักดันอุดมการณ ์เชิดชูพระมหากษัตริย ์เพื่อชี้ให้เห็นว่า บทบาทความสำคัญ ของพระมหากษัตริย์ใน “การปกครองแบบไทย” (ทั้งระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย) คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นแบบอย่างในอุดมคติของคุณธรรมและความเป็นไทยในด้านต่าง ๆ และ พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมกีดขวางการใช้อำนาจของ “ผู้นำแบบไทย” หรือรัฐบาลมิให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมและความผิดพลาดบกพร่องต่าง ๆ ขึ้นแทนประชาชนและรัฐสภา (สายชล สัตยานุรักษ ์อ้างใน เกษียร มติชน 17 ส.ค. 2548) พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะภายหลังปี 1957 เมื่อรัฐบาลจอมพล สฤษด ์ิธนะรัชต ์ได้เข้ามีอำนาจ เพราะด้วยแนวทาง การพัฒนาประเทศที่เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเข้มแข็ง รวมทั้งสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของกษัตริย์ในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก (ในประเด็นนี้โปรดดูใน ทักษ์ (2548)) นอกจากนี้ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบัน คือ การสถาปนาอำนาจนำ (Royal Hegemony) โดยผ่านการใช้ “พระราชอำนาจโดยทั่วไป” ในด้านต่าง ๆ ทั้งในทางการเมือง การปกครอง และการพัฒนาประเทศ พระราชอำนาจที่ทรงพัฒนาด้วยความอุตสาหะและวิริยะและ สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์มากที่สุดประการหนึ่ง “โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ”
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะนับแต่ต้น ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา (ในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาพัฒนาการประเภทโครงการและ กิจกรรม ตลอดจนกระบวนการสถาปนาพระราชอำนาจนำของพระมหากษัตริย ์โดยผ่าน “โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริโปรดอ่าน ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ (ชนิดา 2547)) ในปัจจุบันโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดำริอันหมายถึงโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ นางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงมีพระราชดำริจัดทำขึ้น มีจำนวน มากกว่า 3,000 โครงการ มีงบประมาณใช้จ่ายเท่ากับ 11,400 ล้านบาท ซึ่งราษฎรที่ได้รับประโยชน ์จากการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวมากกว่า 7 ล้านคน (ชนิดา 2547 : 1) โดยมีรูปแบบต่าง ๆ 4 ลักษณะ ได้แก่ (1) โครงการตามพระราชประสงค์ (2) โครงการหลวง (3) โครงการตาม พระราชดำริและ (4) โครงการในพระบรมราชานุเคราะห ์หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง งบประมาณ รายจ่ายของโครงการพระราชดำริมีรายจ่ายเฉลี่ยปีละ 570 ล้านบาท และในรอบ 20 ป ีในช่วงปี 2525
– 2544 งบประมาณรายจ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้น 6 เท่าในระยะเวลา 20 ปี (ชนิดา 2547 : 271) โดยที่งบประมาณมาจากงบประมาณแผ่นดิน และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระราชดำริ8 มิ.ย.2549
22
การสถาปนาพระราชอำนาจนำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นส่งผลให ้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นสถาบันหลักของรัฐบาลไทย ตลอดจนเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนในชาติรวมทั้งอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง และที่สำคัญคือ สามารถสร้าง อุดมการณ์การพัฒนาประเทศ (เช่น เศรษฐกิจพอเพียง) ได้กลายเป็นเศรษฐกิจทางเลือกแก่ประเทศ ในระยะเวลาต่อมา
ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย ์ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจ ซึ่งผ่านการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์เพราะในด้านหนึ่งพระมหากษัตริย์สามารถเลือกใช้บุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการของ สำนักงานทรัพย์สินฯ หรือคณะกรรมการทรัพย์สินฯ เพื่อบริหารกิจการของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเลือกจากองคมนตรีข้าราชการหรือผู้บริหารระดับสูงทั้งในภาครัฐบาล และเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ด้วยลักษณะของความเป็นองค์กรของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ที่มีภาพพจน์ในเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง และมีความมั่นคงทางการเงินสูง ภาค ธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศต่างให้ความสนใจในการร่วมลงทุนด้วย สำนักงาน ทรัพย์สินฯ จึงมีเครือข่ายที่กว้างขวางในทางธุรกิจ อำนาจทางเศรษฐกิจของ “สถาบัน พระมหากษัตริย์” โดยผ่านการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงเพิ่มขึ้นมาโดยลำดับและกลายเป็น กลุ่ม “ทุน” ที่ทรงอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยนับแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา
8 มิ.ย.2549
23
บทที่ 3 การลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 – 2540
ในช่วง พ.ศ. 2491 – 2540 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรมและบริการ การเติบโตของเมืองกรุง เทพฯ การหันเหแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางเสรีนิยมของจอมพลสฤษด ์ิธนะรัชต .(ภายหลังปี 2502) บทบาทของสังคมเวียตนามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (ป .2503 - 2515) การ เพิ่มขึ้นของพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย ์ตลอดจนลักษณะพิเศษของการบริหาร จัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดระเบียบของสำนักงานทรัพย์สินฯ (พ.ศ. 2491) เป็นปัจจัยสำคัญต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และ “ทุน” ของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กลายเป็น “ทุน” ที่ทรงอิทธิพลและชั้นแนวหน้าต่อการเศรษฐกิจและ สังคมไทย นิตยสารฟอร์บส ์ได้ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 มีทรัพย์สินมาก ถึง 2,000 ล้านดอลลาร ์โดยประเมินจากที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อีกทั้งหลักทรัพย์ใน บริษัทต่าง ๆ (Corporate Thailand, December 2003 : 30)
ทศวรรษ 2500 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยเฉพาะการเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ ที่เป็นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญยิ่งของการสะสมทุน
ประชากรของกรุงเทพฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ในปี 2493 ประชากรของกรุงเทพฯ มีไม่ถึง 1 ล้านคน (ในป ีพ.ศ. 2490 ประชากรของกรุงเทพฯ เท่ากับ 781,662 คน) แต่ในป ีพ.ศ. 2510 มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 ล้านคน ในป ีพ.ศ. 2523 ประชากรของ กรุงเทพฯ มีเท่ากับ 5.3 ล้านคน และในป ีพ.ศ. 2531 ประชากรของกรุงเทพฯ มีมากกว่า 6 ล้านคน และปลายทศวรรษ 2530 ประชากรของกรุงเทพฯ มีมากกว่า 9 ล้านคน เมื่อเทียบกับประชากรของ กรุงเทพฯ กับเมืองอันดับสองรองลงมาพบว่าในป ีพ.ศ. 2490 กรุงเทพฯ ใหญ่กว่าเชียงใหม่ 20 เท่า เพิ่มขึ้นเป็น 32 เท่าในป ีพ.ศ. 2510 เป็น 52 เท่าในป ีพ.ศ. 2524 และลดลงเป็น 30 เท่าในป ีพ.ศ. 2531
กรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมของทุกสิ่งทุกอย่างทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และเป็นที่ตั้งของรัฐบาล และศูนย์กลางธุรกิจ เป็นที่ประทับของประมุขของชาติเมืองท่าการค้าระหว่างประเทศ ในทศวรรษ 2520 กรุงเทพฯ มีสัดส่วนของประชากรเท่ากับร้อยละ 60 ของประชากรในเขตเมือง ร้อยละ 32 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ร้อยละ 55 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด ร้อยละ 75 ของ เครื่องโทรศัพท์ทั้งประเทศ ร้อยละ 95 ของการค้าระหว่างประเทศของไทย
การเจริญเติบโตของภาคเศรษฐกิจ “กรุงเทพฯ” อันเป็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาค “เกษตรกรรม” มาสู่ภาค “อุตสาหกรรมและบริการ” การเติบโต
8 มิ.ย.2549
24
ของเมืองย่อมแสดงถึง การเติบโตของกิจกรรมและขนาดทางเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย การ บริโภค การก่อสร้าง และการลงทุน เป็นต้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการผลิตใน ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างและภาคบริการ เช่น โรงแรม มักจะกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ปัจจัย สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าวโดยเฉพาะนับแต่ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา คือ นโยบาย ของรัฐบาลจนถึงปี 2515 ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า หลังจากนั้นสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก ซึ่งมีผลต่อการกระจุกตัวของ โรงงานอุตสาหกรรมไทยในกรุงเทพฯ ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพฯ ที่มีความ พร้อมกว่าที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือและถนนเชื่อมภูมิภาค ต่างจังหวัดมีผลให้ต้นทุนทางการ ดำเนินการทางธุรกิจในกรุงเทพฯ ถูกกว่าที่อื่น ประโยชน์จากการกระจุกตัวของภาคการค้าและ อุตสาหกรรมก่อให้เกิดการประหยัดในการผลิตและการซื้อขายแลกเปลี่ยน ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวอยู่ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 10 ต่อปีในช่วง พ.ศ. 2503 – 2523 นอกจากนี้ผลของสงคราม เวียตนามก็มีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ ค่าใช้จ่าย “สุทธิ” ของทหารอเมริกันและ โครงการอื่น ๆ ในประเทศไทยในระยะสงครามระหว่างป ีพ.ศ. 2508 – 2515 โดยเฉลี่ยแล้วสูงถึง ร้อยละ 4 ของมวลรวมผลิตภัณฑ์ประชาชาติภายในประเทศ หรือประมาณร้อยละ 26 ของมูลค่า สินค้าส่งออกในระยะเดียวกัน (บุญคง 2518 : 11) และเงินทุนจำนวนมหาศาลได้เข้ามาอัดฉีดใน ระบบเศรษฐกิจ จึงมีผลต่อการขยายตัวต่อความหลากหลายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ ทศวรรษ 2500 – 2530 จึงเป็นทศวรรษแห่งการขยายตัวของกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง ในแง่การ ก่อสร้างมีการสร้างถนนอย่างขนานใหญ่ในทศวรรษ 2500 โดยการถมคลองเป็นจำนวนมาก (ใน ตอนต้นทศวรรษ 2490 คลองในกรุงเทพฯ มีประมาณ 100 คลอง ในขณะที่ในปี 2513 จำนวนคลอง ได้ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3 และเหลือเพียงคลองขนาดเล็ก) เท่านั้น มีการสรางโรงแรมชั้นนำเป็น จำนวนมากเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวและทหารสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียตนามโรงแรมเหล่านี้อาทิเช่น Rama (1961), Park (1964), Res (1965), Amarin (1965), Federal (1965), Crown (1965), Century (1966), Majestic (1966), Manora (1966), Siam – Inter (1966), Rich (1966), Penisular (1966), Reno (1966), R.S. (19660), Montien (19660, President (1966), Manhattan (19660, Asia (1966), Manora (1966), Chavalit (1966), Rajah (1966), Chaophraya (1966), Continental (1966), Bangkok Town (1966), First (1967), Grace (1967), Siam (1967), Narai (1967) และ Dusit Thani (1970) เป็นต้น (Porphant 2001 : 176) ในทศวรรษ 2520 การท่องเที่ยวนำ รายได้อันดับหนึ่งเข้าสู่ประเทศ เพราะการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยว ในปี 2527 โรงแรมใน กรุงเทพฯ ขนาดใหญ่มีจำนวนห้องพักประมาณเกือบ 19,000 ห้อง หรือมีห้องพักมากกว่าโรงแรมที่เชียงใหม่ถึง 3 เท่า การขยายตัวของผลกำไรของกิจการของโรงแรมส่งผลให้มีผู้ประกอบการสร้าง
8 มิ.ย.2549
25
โรงแรมที่เชียงใหม่ถึง 3 เท่า การขยายตัวของผลกำไรของกิจการของโรงแรมส่งผลให้มีผู้ประกอบการสร้างโรงแรมเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ระหว่างปี 2529 – 2533 โรงแรมขนาดใหญ่เพิ่มจาก 97 แห่ง เป็น 131 แห่ง (Askew 1993 : 10) การเติบโตของหมู่บ้านจัดสรรก็เป็นไปอย่างรวดเร็วใน 2513 – 2523 มีจำนวนบ้านที่สร้างโดยหมู่บ้านจัดสรรเท่ากับ 275 หลัง และเพิ่มขึ้นเป็นเท่ากับ 6,655 หลัง ในปี 2515 และเท่ากับ 25,606 หลัง ในปี 2520 และเพิ่มรวดเร็วมากในทศวรรษ 2520 และ 2530 นอกจากนี้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด คอนโดมีเนียม ซึ่ง เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 2.2 เป็นร้อยละ 6.2 ในช่วง 2513 – 2522 และในปี 2533 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.7 ส่วนบ้านทาวเฮาส์เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 7.3 ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น การขยายตัวอย่างรวดเร็ว ของภาคการก่อสร้างส่งผลให้การสะสมทุนเบื้องต้นในเศรษฐกิจกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 4,056.5 ล้านบาท ในปี 2503 เพิ่มขึ้นเป็น 16,244.8 ล้านบาท ในปี 2513 และมากกว่า 70,000 ล้าน บาท ในปี 2533 (NESDB, Various Issues) พื้นที่ก่อสร้างในกรุงเทพฯ เพิ่ม (built – up area) ขึ้น อย่างรวดเร็วจาก 96 ตารางกิโลเมตร ในปี 2501 เป็น 184 ตารางกิโลเมตร ในปี 2514 และเท่ากับ 330 กิโลเมตร ในปี 2524 (Sternstein 1982 : 90 – 91) การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมก็เป็นไปอย่าง รวดเร็วเพราะกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นศูนย์กลางของการผลิตและการลงทุนใน ภาคอุตสาหกรรมในทศวรรษ 2510 โรงงานอุตสาหกรรมที่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ถึงร้อยละ 50 – 60 ของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และในช่วงที่เศรษฐกิจ “บูม” ในช่วงป .2529 - 2533 ซึ่งเป็นผลมาจากการย้ายฐานการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่นและกลุ่ม ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชีย กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้เป็นฐานผลิตอะไหล่และประกอบ ชิ้นส่วนยานยนต ์และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพราะประมาณร้อยละ 60 ของโรงงานที่เกิดขึ้นใหม ่ในประเทศไทยในช่วงดังกล่าวกระจุกตัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
การลงทุนทางธุรกิจและรายได้ของสำนักงานทรัพย์สิน
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมทั้งการ เจริญเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ มีผลต่อการขยายตัวของตลาดและโอกาสในการลงทุนของ สำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อแสวงหารายได ้โดยที่รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินมาจาก 2 แหล่ง ใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ (1) รายได้จากการจัดประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์อันประกอบไป ด้วย ตึกแถว อาคาร และที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยได้รายได ้หรือผลตอบแทนเป็นค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากการเช่า และ (2) รายได้จากเงินปันผลรายปีจาก การเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญจำนวนหนึ่งของบริษัทต่าง ๆ (3) รายได้จากดอกเบี้ย จากการบริหาร
8 มิ.ย.2549
26
การเงินโดยนำเงินคงคลังซึ่งเป็นเงินหมุนเวียนที่เคยฝากบัญชีกระแสรายวันไปซื้อตั๋วลงทุน (พันธบัตร หุ้นก ู้ตราสารหนี้ระยะปานกลางและระยะยาวของสถาบันการเงิน)
ที่ดินกับการลงทุนทางธุรกิจ
ในฐานะที่ที่ดินเป็น “สินทรัพย์” ที่สำคัญที่สุดของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งในแง่ของ “ขนาด” และศักยภาพในการสะสมความมั่งคั่ง ในบทนี้จะพิจารณาถึงการขยายตัวของการลงทุน ของ “ที่ดิน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก่อน
ภายหลัง พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ ป ีพ.ศ. 2491 ประกาศใช้และพร้อม ๆ กับการที่สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถสถาปนาพระราชอำนาจนำ (Royal Hegemony) ในระบอบ พระมหากษัตริย์ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีความเข้มแข็งทั้ง ในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะนับแต่ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา ในขณะที่การ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างขนานใหญ่นับแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา เป็นโอกาสสำคัญของ การลงทุนทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ นิตยสาร Investor พรรณนาการ “ลงทุน” ทางด้านที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ในช่วง 2503 – 2512 ได้ดังต่อไปนี้ :
“ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งประมาณว่า 1 ใน 3 ของที่ดินในกรุงเทพฯ เป็นของสำนักงานทรัพย์สินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงาน ทรัพย์สินมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อ ระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น ในปลายทศวรรษ 1960 ในพื้นที่ย่านสะพานขาวได้มีการทุบทิ้งและทำลาย ตึกห้องแถวที่เก่าแก่และผุพัง เพื่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเชิงพาณิชย ์และที่พักอาศัยที่หนาแน่นต่อ พื้นที่เป็นจำนวนมากด้วยการสร้างตึกสำนักงานสูง 20 ชั้น ห้องแถว 356 คูหา แฟลตจำนวน 1,156 หน่วย รวมทั้ง 2 โรงภาพยนตร์....ในย่านเฉลิมโลกซึ่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าราชประสงค์ก็มีการ สร้างตึกอีกมากมาย และได้กลายเป็นศูนย์การค้าชั้นนำด้วย” (Investor, February 1971 : 124)
ในทศวรรษ 2500 และ 2520 ได้มีการนำเอาที่ดินของทรัพย์สินฯ ในย่านไพร์มโลเคชันมา ให้โรงแรมชั้นนำต่าง ๆ เช่าเพื่อประกอบการธุรกิจ ทั้งโรงแรมที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปถือหุ้น เช่น ดุสิตธานีราชดำริรอยัลออคิด บางกอกอินเตอร ์คอนติเนนตัล รีเจนส ์ดอนเมืองอินเตอร ์เนชันแนล โอเรียลเต็ล รวมทั้งในกลางทศวรรษ 2520 ได้มีการพัฒนาที่ดินและที่อยู่อาศัยและ อาคารพาณิชย์ที่ตั้งบนที่ของทรัพย์สินฯ ซึ่งมีพื้นที่ที่สำคัญคือ บริเวณถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร ป้อมปราบ แขวงจักรวรรดิ (925 ตรม.) ถนนพระราม 4 แขวงสีลม (1,415 ตรม.) ถนนจักรพรรดิพงษ ์แขวงบ้านบาตร ป้อมปราบ (748.7 ตรม.) ถนนเจริญกรุง แขวงป้อมปราบ (432.5 ตรม.) ถนน
8 มิ.ย.2549
27
สีลม แขวงสีลม (836.4 ตรม.) ซอยหลังสวน ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี (774 ตรม.) ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา (4,969.9 ตรม.) ซอยต้นสน ถนนเพลินจิต (4,484.6 ตรม.) ซอยพิพัฒน ์ถนนสีลม (4,022 ตรม.) ถนนวิสุทธ์ิกษัตริย ์บางขุนพรหม (197 ตรม.) ซอยสนามคลีถนนวิทยุ (6,135 ตรม.) ถนนสามเสน แขวงวชิระพยาบาล (12,876 ตรม.) (วิรัตน์ 2530 : 132) นอกจากนี้ในต้น ทศวรรษที่ 2530 ที่เศรษฐกิจกำลัง “บูม” อย่างขนานใหญ ่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีโครงการพัฒนา ที่ดินที่มีศักยภาพสูงเพื่อเพิ่มรายได้เป็นจำนวนมากทั้งในรูปของธุรกิจอาคารเช่า ศูนย์กลางการค้า และการเงินโดยการร่วมทุนกับบริษัทอื่น ๆ หรือการให้สัมปทานที่สำคัญ อาทิเช่น โครงการอาคาร ซิกโก้ (สินอุตสาหกรรม) โครงการสร้างตึงเสริมมิตรเทาเวอร ์โครงการสามยอด โครงการเทพ ประทาน โครงการตลาดเจริญผล โครงการพัฒนาที่จอดรถบริเวณบางกอกบาซาร์ (ดูรายละเอียด ใน สุปราณี (2535 : 211 – 212)) นอกจากนี้ในต้นทศวรรษ 2530 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ลงทุน สร้างอาคารสินธร ถนนวิทยุเพื่อให้เอกชนได้เช่าทำธุรกิจ รวมทั้งการนำเอาที่ดินบริเวณราช ประสงค์นำมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจโดยการให้กลุ่มธุรกิจของตระกูลเตชะไพบูลย ์ให้เช่าเพื่อทำโครงการเวิร์ล เทรด เซนเตอร ์นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ให้เช่าที่ดินแก ่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชนทั่วไป ในย่านที่สำคัญ คือ พญาไท เจริญผล เยาวราช แพร่ง สรรพศาสตร ์ถนนพระอาทิตย ์เป็นต้น
ลักษณะการร่วมทุนที่สำคัญของสำนักงานทรัพย์สินฯ
ในกิจการการลงทุนและ อสังหาริมทรัพย์ (รวมทั้งธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและงานบริหารการก่อสร้าง และการลงทุนในธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม) คือ การร่วมทุนกับบริษัท คริสเตียนีแอนด ์นีลเส็น (ประเทศไทย) ซึ่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อปี 2473 โดยร่วมทุนของบริษัท คริสเตียนีแอนด ์นีลเส็น เอ เอส ประเทศเดนมาร์ค บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด พร้อมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่อื่น ๆ อีก 7 ราย โดย มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเท่ากับ 600,000 บาท ในปี 2473 โดยที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่มาโดยตลอด ในปี 2534 บริษัทฯ ได้นำหุ้นของบริษัทฯ จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาด หลักทรัพย ์ต่อมาในปี 2535 บริษัทฯ ได้ทำการซื้อกิจการทั้งหมดจากบริษัทแม่ในประเทศเดนมาร์ค สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดมาโดยตลอด โดยมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 24.3, 20.7, 20.5, 20.6 และ 20.7 ในปี 2535, 2536, 2537, 2538 และ 2539 ตามลำดับ ในป ีพ.ศ. 2539 ผ ู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สำคัญคือ สำนักงานทรัพย์สินฯ (20.7%) บริษัท สยามพาณิชย์พัฒนา (16.6%) Indochina Investments Limited (9.9%) บริษัท แลนด ์แอนด ์เฮ้าส ์จำกัด (มหาชน) (9.96%) (แบบ 56-1) ในทศวรรษ 2530 บริษัทได้ขยายการลงทุนโดยการเปิดบริษัทย่อยเพื่อดำเนินธุรกิจก่อสร้าง และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกหลายบริษัทในหลายภูมิภาค เช่น ในเยอรมัน เวียตนาม มาเลเซีย เป็นต้น บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 8,104.9, 9,436.5 และ 7,549.8
8 มิ.ย.2549
28
ล้านบาท และมีรายได้รวมเท่ากับ 10,070.8, 13,100.9 และ 12,104.6 ล้านบาท ในปี 2537, 2538 และ 2539 ตามลำดับ (แบบ 56-1) อย่างไรก็ตามเมื่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศไทยและเศรษฐกิจ ในภูมิภาคต่าง ๆ ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปร่วมลงทุนอยู่ในภาวะชะลอตัวลง บริษัทจึงประสบกับปัญหา การดำเนินงานทางธุรกิจ โดยมีผลกำไรเพียง 227.7 ล้านบาท ในปี 2537 และประสบกับปัญหาการ ขาดทุนเท่ากับ 954.5 ล้านบาท และ 2,636.4 ล้านบาท ในปี 2539 ภาวะเศรษฐกิจซบเซา (ประกอบ กับผลกำไรที่ลดตํ่าลง) ส่งผลให้บริษัทย่อยและบริษัทร่วมหลายแห่งไม่สามารถหางานและขยาย งานได ้และไม่มีความสามารถเพียงพอในการดำเนินธุรกิจต่อไปได ้บริษัทฯ จึงได้ทยอยขาย เลิก กิจการ หรือขายโครงการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมออกไป (แบบ 56-1)
ทั้ง ๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีที่ดินอยู่ในครอบครองนับหมื่นไร่ทั่วราชอาณาจักร สำนักงานทรัพย์สินฯ มีเนื้อที่ทั่วราชอาณาจักรเท่ากับ 40,105 ไร ่ประมาณ 8,835 ไร ่เป็นที่ดินใน กรุงเทพมหานคร และ 31,270 ไร ่เป็นที่ดินในส่วนภูมิภาค (โพสต์ทูเดย์ 13 เมษายน 2547) และ หลายพันไร่กระจุกตัวอยู่ในย่านธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯ โดยที่จำนวนสัญญาเช่าที่สำนักงาน ทรัพย์สินฯ ทำกับผู้เช่ามีประมาณ 35,000 สัญญา (Eric Ellis 10 July 2003) เป็นผู้เช่าอยู่ในกรุงเทพฯ 22,000 ราย และผู้เช่าในเขตต่างจังหวัด 13,000 ราย ซึ่งกระจายอยู่ 9 จังหวัด คือ อยุธยา สุพรรณบุรีนครสวรรค ์พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรีเพชรบุรีและสงขลา หากพิจารณาถึงรายได้จาก การให้เช่าที่ดินรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากอดีตถึงปัจจุบันต้องถือ ว่ารายได้ส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับรายได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการลงทุนจาก กิจการทางธุรกิจอื่น ๆ รายได้จากการให้เช่าที่ดินรวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ประมาณน่าจะไม่เกิน 400 ล้านต่อป ีในช่วงทศวรรษ 2530 หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมดของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ (ในทศวรรษ 2530 เงินปันผลจาก บจม. ปูนซีเมนต์ไทย กับ บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์รวมกันเท่ากับร้อยละ 60) เหตุผลที่สำคัญบางประการที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จากค่าเช่า ที่ดินและผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ อยู่ในระดับตํ่า เนื่องจาก :
ประการแรก เป็นนโยบายของสำนักงานทรัพย์สินฯ เองที่ต้องการจัดเก็บค่าเช่าในอัตราตํ่า กว่าท้องตลาดหรือไม่ต้องการให้ผู้เช่าที่ดินและอาคารอยู่เดิมเดือดร้อน เนื่องจากผู้เช่าส่วนใหญ่เป็น ผู้เช่ารายเล็ก รายย่อย ที่ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีนัก รวมทั้งไม่ต้องการจะเกิดกรณีพิพาทในเรื่อง การไล่ที่กับราษฎร อัตราค่าเช่าจึงอยู่ในระดับตํ่ามาก ๆ เช่น ในปี 2535 – 2538 ที่ดินบริเวณบางบอน (ห่างจากถนนเอกชัยประมาณ 50 เมตร) สำนักงานทรัพย์สินฯ คิดอัตราค่าเช่าเมื่อคิดเป็นมูลค่า ปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) เท่ากับ .60 บาท ต่อตารางวาต่อเดือน ในขณะที่อัตราค่าเช่า โดยทั่วไปตามราคาตลาดหรืออัตราที่เช่ากันอยู่โดยทั่วไปโดยเอกชนซื้อขายกันประมาณ 16 บาทต่อ ตารางวาต่อเดือน (สิริพร 2539 : 3) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อัตราค่าเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ
8 มิ.ย.2549
29
ตํ่ากว่ามูลค่าตลาด 266.6 เท่า ของอัตราค่าเช่าในระดับตํ่ามีอยู่โดยทั่วไป แม้แต่พื้นที่ที่ตั้งอยู่ในเขต ย่านกลางเมืองกรุงเทพฯ แม้ว่าจะครบสัญญาเช่าแล้ว โดยทั่วไปผู้เช่าสามารถเช่าต่อไปโดยไม่มีการ บอกเลิกการเช่า (สิริพร 2539 : 3) ระดับอัตราค่าเช่าที่ตํ่ามากไม่ได้สะท้อนภาพของค่าเสียโอกาส ของที่ดินหรือมูลค่าตลาดนั่นเอง นอกจากอัตราค่าเช่าที่ดินจะตํ่ามากแล้ว อัตราค่าเช่าอาคารพาณิชย ์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เก็บจากผู้เช่าเอกชนโดยทั่วไปก็ยังอยู่ในระดับตํ่ามาก อาทิเช่น อัตราค่า เช่าอาคารพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ (ตึกแถว 4 ชั้น ดาดฟ้า ริมถนนพาหุรัด) ในทะเลการค้า คือ แขวงวังบูรพาภิรมย ์เขตพระนคร ซึ่งจัดให้เอกชนเช่าเพื่อประโยชน์ในการพาณิชย ์และที่อย ู่อาศัยเท่ากับ 1,150 บาทต่อเดือน (กำหนดอายุเช่า 3 ปีม.ค. 2537 – ม.ค. 2540) ส่วนอัตราค่าเช่าตาม ราคาตลาดโดยทั่วไป (หรืออัตราค่าเช่าของอาคารเอกชนข้างเคียง) เท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน หรือ แสดงว่า อัตราค่าเช่าที่สำนักงานทรัพย์สินจัดเก็บตํ่ากว่าเอกชนหรือราคาตลาดเท่ากับ 26 เท่า (สิริพร 2539 : 4)
การจัดเก็บอัตราค่าเช่าในระดับตํ่ามากทั้งที่ดินและอาคารพาณิชย์มิเพียงแต่ส่งผลให้รายได ้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในระดับตํ่ามาก แต่ทว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการใช ้ที่ดินและเกิดปัญหาทางสังคมตามมา เพราะลักษณะของชุมชนผู้เช่าได้เปลี่ยนเป็นชุมชนแออัด เนื่องจากอัตราค่าเช่าที่ตํ่าได้ดึงดูดให้ผู้คนพยายามจะใช้ที่ดินให้มากที่สุด ชุมชนจึงขยายตัวอย่าง รวดเร็ว โดยเฉพาะในทศวรรษ 2520 – 2530 ในปัจจุบันชุมชนแออัดที่อยู่ในที่ดินของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ สูงถึง 73 ชุมชน (สิริพร 2539 : 4) นอกจากนี้ผู้เช่าบางส่วนได้นำที่ของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ เข้าไปเก็บกำไรโดยการให้มีผู้เช่าต่อทำให้สร้างปัญหาทางด้านรายได้แก่สำนักงาน ทรัพย์สินฯ เป็นอันมาก เพราะไม่สามารถจัดเก็บได้อย่างเต็มที่
ประการที่สอง รายได้จากการเก็บค่าเช่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับตํ่าเนื่องจาก ที่ดินของทรัพย์สินฯ ถึงร้อยละ 30 ในกรุงเทพฯ ให้เช่ากับสถานที่ราชการซึ่งคิดอัตราค่าเช่าตํ่ามาก (โพสต์ทูเดย์ 13 เมษายน 2547) ซึ่งสถานที่ราชการเหล่านี้มักจะอยู่ในทำเลที่ตั้งในย่านธุรกิจแทบ ทั้งสิ้น อาทิเช่น ถนนพระราม 6 (บริเวณองค์การเภสัชกรรม) ถนนราชวิถี (บริเวณทุ่งพญาไท) ถนน พระราม 1 (ที่ตั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ฯลฯ งานศึกษาของ สิริพร สุโกศล พบว่า อัตราค่า เช่าที่องค์การเภสัชกรรมต้องจ่ายให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงปี 2535 – 2538 เมื่อคิดเป็น มูลค่าปัจจุบันเท่ากับ .02 บาทต่อตารางวาต่อเดือน ในขณะที่อัตราค่าเช่าที่เอกชนในทำเลใกล้เคียง กันหรือราคาค่าเช่าตามท้องตลาดทั่วไปเท่ากับ 156 บาทต่อตารางวาต่อเดือน (สิริพร 2539 : 3) หรือ แสดงว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เก็บค่าเช่าตํ่ากว่าท้องตลาดถึง 7,800 เท่า (สิริพร 2539 : 3)
ในฐานะที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ อัตราค่าเช่า ที่ตํ่ามาก ๆ ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพฯ เป็นอันมาก ตลอดจนการเติบโต
8 มิ.ย.2549
30
ของกรุงเทพฯ อย่างไร้ทิศทาง เพราะผู้เช่าจะใช้พื้นที่ดินอย่างขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากค่าเช่าที่ถูก เมื่อเปรียบเทียบกับที่ดินแหล่งอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ ส่งผลให้ผู้เช่าจะอยู่อย่างแออัดเนื่องจากได ้ประโยชน์จากค่าเช่าราคาถูก นอกจากนี้เมื่อเมืองขยายตัวขึ้นและสำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องการนำ ที่ดินเพื่อนำมาใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจนั้น ต้องประสบกับปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับ ที่ดินกับผู้เช่า เช่น การไล่ที่ชุมชนแออัด การเวนคืน ตลอดจนการยกเลิกสัญญาเช่า เมื่อราคาที่ดิน สูงขึ้นมาก ๆ ในต้นทศวรรษ 2530 ได้เกิดข้อพิพาทในเขตต่าง ๆ มากมาย เช่น บริเวณราชวิถีใกล ้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเขตเทพประทานคลองเตย และชุมชนแออัดตรงข้ามกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ (Tasaka 2003) ในขณะเดียวกันปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะใน แง่ของการใช้ที่ดินก็ประสบกับปัญหาในการนำมาปฏิบัติอย่างแท้จริง (กฎหมายการจัดระเบียบที่ดิน และกฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองเพิ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อกลางทศวรรษ 2530 นี้เอง) นอกจากนี้ระบบภาษีที่ดินเองก็ไม่มีการเก็บภาษีมรดก ภาษีที่ต้องเสียให้กับทรัพย์สินที่ได้รับมา (donation tax) รวมทั้ง ภาษีบำรุงท้องที่ที่ได้จากการเก็บภาษีครอบครองที่ดินก็ยังอยู่ในอัตราตํ่า ไม่มีการบังคับใช้ระเบียบ ในเรื่องสัดส่วนของพื้นที่ใช้สอย ฯลฯ ผลที่ตามมาก็คือ การพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ จึงถูกปล่อยไปตามยถากรรม ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ใน ฐานะเป็นผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ก็มีส่วนรับผิดชอบในกระบวนการนี้ด้วย
แม้ว่ารายได้ประเภทค่าเช่าและธรรมเนียมจากที่ดินจะอยู่ในระดับตํ่ามากแต่ไม่ได ้หมายความว่า ที่ดินไม่มีความสำคัญต่อการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ เพราะภายหลังจากวิกฤตการณ์ป .2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ใช้ “ที่ดิน” ในการเพิ่มสภาพคล่องและแปลงเป็นมูลค่าสินทรัพย์เพื่อ มีบทบาทในการควบคุมการบริหารงานธุรกิจในเครือคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (ดังจะได้กล่าวต่อไป ในบทหน้า)
การลงทุนทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและบริการอื่น ๆ
การลงทุนทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ มิเพียงแต่จำกัดอยู่ในเรื่อง ของ “ที่ดิน” แต่ทว่าได้กระจายไปในการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะ ภายหลังทศวรรษ 2500 “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ มีการกระจุกตัวอยู่สูงมากและมีอิทธิพลต่อ เศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างสูงยิ่ง ในปี 2522 สำนักงานฯ มีทรัพย์สินรวมกันเท่ากับ 288,095 ล้าน บาท และมีระดับการกระจุกตัวของทรัพย์สินสูงถึงร้อยละ 8.2 ของทรัพย์สินรวมของธุรกิจขนาด ใหญ่ที่สุด 100 บริษัทแรก และมียอดขายรวมถึงร้อยละ 9.6 ของยอดขายรวมของธุรกิจขนาดใหญ ่ที่สุด 100 บริษัทแรก แม้จะประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 “ทุน” ของสำนักงานฯ ก ็ยังคงเป็นทุนที่มีการกระจุกตัวสูงมาก กล่าวคือ ในปี 2540 การกระจุกตัวทางด้านสินทรัพย์เท่ากับ
8 มิ.ย.2549
31
ร้อยละ 6.1 (ซึ่งลดลงจากร้อยละ 8.2 ในปี 2522) และการกระจุกตัวทางด้านยอดขายเท่ากับร้อยละ 10.1) (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.6 ในปี 2522) (Suehiro 2003, Table 3 based on เกริกเกียรติ 2525)
ในช่วงทศวรรษ 2490 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปในกิจกรรมที่หลากหลายทางเศรษฐกิจมากขึ้นที่สำคัญคือ กิจการประกันภัย ได้มีการเข้าไปก่อตั้งบริษัท ประกันภัยได้ก่อตั้งบริษัทเทเวศประกันภัย ในป ีพ.ศ. 2490 ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีทุน จดทะเบียนเท่ากับ 40 ล้านบาท นอกจากการประกันอัคคีภัยทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์ในระยะแรก ๆ แล้ว ในระยะต่อมาบริษัทยังได้ขยายกิจการรับประกันอัคคีภัยทั่วไป รับประกันภัยทางทะเลและ ขนส่ง ประกันภัยรถยนต ์และรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ ่มาอย่างต่อเนื่องและกิจการเทเวศประกันภัยก็ได้ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจประกันภัย เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อยราย สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาโดยตลอด จนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากบริษัทเทเวศประกันภัยแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้เป็นผู้ถือหุ้นราย ใหญ่ของบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย ซึ่งก่อตั้งในปี 2485 อีกด้วย สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีบทบาทสำคัญเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในภาคธุรกิจการผลิตอื่น ๆ ที่สำคัญคือ อุตสาหกรรม การผลิตและการค้า ได้แก ่บริษัทศรีมหาราชา (ก่อตั้งในปี 2490) ซึ่งเป็นธุรกิจควบคุมการผลิตและ ค้าไม้รายใหญ่ของไทย บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้ว (2456) ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับ โรงงานผลิตแก้ว บริษัทหินอ่อน (2499) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ขายหินอ่อน เป็นต้น
แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะได้เข้าไปเพิ่มทุนและขยายกิจการการลงทุนของธุรกิจดั้งเดิม อาทิเช่น ปูนซีเมนต์ไทย และไทยพาณิชย ์และได้ก่อตั้งรวมทั้งเข้าไปลงทุนถือหุ้นในกิจการต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ทว่าการขยายตัวในกิจการดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เพราะว่าเศรษฐกิจ ไทยก่อนทศวรรษ 2500 ยังคงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการเกษตร ทั้งการผลิตและการ ส่งออกและตลาดคับแคบ
นับแต่ปี 2503 การลงทุนของธุรกิจของสำนักงานฯ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในแง ่การลงทุนโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมการบริหารและ จัดการ และผู้ถือหุ้นรายย่อยในฐานะเป็นผู้ลงทุนรายย่อยและบริษัทในเครือหรืออื่น ๆ มูลค่าของการ ลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลให้รายได้จากการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงโดยเฉพาะช่วงปี 2503 – 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการ ลงทุนไปอย่างกว้างขวางตามสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ในปี 2540 ประมาณว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ได ้เข้าไปถือหุ้นโดยตรงของบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 70 บริษัท ซึ่งครอบคลุมในกิจการต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ปูนซีเมนต ์ธนาคารพาณิชย ์โรงแรม พลังงาน เหมืองแร ่อสังหาริมทรัพย ์ประกันภัย/ประกัน ชีวิต ชิ้นส่วนรถยนต ์เป็นต้น นอกจากการลงทุนโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ แล้ว
8 มิ.ย.2549
32
สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนโดยอ้อมในรูปของบริษัทในเครือบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมทุน ด้วย ในป ีพ.ศ. 2539/40 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท และในจำนวนนี้ 43 บริษัท ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย
ตารางภาคผนวกที่ 2A แสดงถึงธุรกิจที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เข้าไปลงทุนในฐานะผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ในช่วงปี 2522 – 2539/40 ซึ่งตัวเลขที่แสดงในตารางเป็นตัวเลขอาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก เนื่องจากการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในหลายกรณีไม่ได้ลงทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย จึงเป็นการยากลำบากที่จะค้นหาข้อมูลที่สมบูรณ์โดยเฉพาะจากกระทรวงพาณิชย ์นอกจากนี้แม้ว่าจะมีการลงทุนโดยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ในบางกรณีสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ไม่ได ้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เช่น 10 อันดับแรก) เราก็ไม่สามารถค้นหาการลงทุนของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ได ้ตัวเลขจากตารางที่ 2A มีข้อสรุปอย่างน้อย 5 ประการ
ประการแรก หากจำแนกประเภทธุรกิจที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปลงทุนในปี 2539/40 มีดังนี้
การผลิตอุตสาหกรรม เท่ากับ 37 แหง
สถาบันการเงิน เท่ากับ 11 แหง
ประกันภัย/คลังสินค้า เท่ากับ 8 แห่ง
โรงแรม เท่ากับ 8 แห่ง
พัฒนาที่ดิน/ก่อสร้าง เท่ากับ 6 แห่ง
ธุรกิจบริการ/สื่อสารมวลชน เท่ากับ 9 แห่ง
รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 79 แหง
การขยายตัวของการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนใหญ่ในกิจการต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะ กระจุกตัวอยู่ในทศวรรษ 2530 เป็นสำคัญ หากมินับรวมการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ปูนซีเมนต ์ธนาคารไทยพาณิชย ์และเทเวศประกันภัยแล้ว สัดส่วนของหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ลงทุนไปในกิจการเหล่านั้นส่วนใหญ่มีสัดส่วนค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับการลงทุนทั้งหมด แม้ว่าจะมีการลงทุนในสัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่ค่อนข้างมากในบางบริษัท เช่น บริษัทศรีมหาราชา (ร้อยละ 98.3) บริษัทหินอ่อน (ร้อยละ 49.9) บริษัทการแร่และสากลกิจบริหาร (ร้อยละ 20) แต่ทว่าธุรกิจ เหล่านี้ยังคงเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่มีทุนทะเบียนไม่มากนัก ในบางกรณีก็ประสบกับการขาดทุนและ ถูกเข้าควบคุมกิจการหรือเทคโอเวอร ์เช่น กรณีของบริษัท ศรีมหาราชา เป็นต้น
ดังนั้นแม้ว่าจะมีการขยายตัวของการลงทุนในกิจกรรมต่าง ๆ เป็นจำนวนมากนับแต ่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา แต่ขนาดของการลงทุนรวมทั้งรายได้และผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ
8 มิ.ย.2549
33
ยังคงอยู่ห่างไกลจากธุรกิจดั้งเดิมและธุรกิจหลักของสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นอันมาก คือ บริษัท ปูนซีเมนต ์และธนาคารไทยพาณิชย ์สัดส่วนของเงินปันผลของสองบริษัทรวมกันเท่ากับร้อยละ 60 ของรายได้รวมของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงก่อนปี 2540 ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ใน ระดับสูง ทศวรรษ 2530 รายได้และผลกำไรจากบริษัทปูนซีเมนต์อยู่ในระดับที่สูงมาก ในปี 2538 รายได้ของบริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงขึ้นถึง 114,144 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่แตะหลัก แสนล้านบาทเป็นครั้งแรก นับแต่ต้นทศวรรษ 2520 (โดยที่บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือใช ้เงินลงทุนปีหนึ่ง ๆ ราว 20,000 ล้านบาท และทะลุขึ้นไป 30,000 ล้านบาท ในบางป ีโดยเงินทุนที่ใช ้ส่วนใหญ่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ และประมาณว่าในระหว่างป ีพ.ศ. 2538 – 2539 เครือซีเมนต์มีหนี้ต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 ของยอดหนี้รวม) ส่งผลให้กำไรจากการประกอบการอยู่ใน ระดับสูงมากประมาณ 5,000 – 6,000 ล้านต่อป ีในช่วงป ีพ.ศ. 2533 – 2539 ระดับกำไรอยู่ใน ระดับสูงส่งผลให้รายได้จากเงินปันผลของบริษัทปูนซีเมนต์อู่ในระดับสูงประมาณ 600 – 700 ล้าน ต่อป ีช่วง พ.ศ. 2533 – 2539
ประการที่สอง การกระจายตัวของการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในตารางที่ 2A ยัง ได้แสดงถึงการสนองตอบการกระจายตัวทางด้านการผลิตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางด้านภาค บริการ โรงแรม การท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ธุรกิจโรงแรมซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ไปถือหุ้นใน กิจการโรงแรมหลายแห่งในช่วงทศวรรษ 2520 และ 2530 เช่น รีเจนท ์สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล ฮิลตัล ปริสเซส ดุสิตธานีและแอร์พอร์ต เป็นต้น ในบรรดาโรงแรมเหล่านี้โรงแรมที่ประสบ ความสำเร็จมากที่สุด คือ โรงแรมดุสิตธานีซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 16.24 (Thailand Company Information, 1990 – 91) โรงแรมดุสิตธานีได้เปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 2513 โดยมีผู้จัดการใหญ่คือ คุณหญิง ชนัตต ์ปิยะอุย การดำเนินกิจการธุรกิจโรงแรมฯ ประสบ ความสำเร็จดีมากนับแต่ก่อตั้ง ดังจะเห็นจากรายได้หรือยอดขายเท่ากับ 157 ล้านบาท ในปี 2520 เพิ่มขึ้นเป็น 182 ล้านบาท ในปี 2521 และ 196 ล้านบาท ในปี 2522 หรือมีผลกำไรเท่ากับ 34, 60 และ 45 ล้านบาท หรือมีอัตรากำไรสูงถึงร้อยละ 31.33, 32.87 และ 34.65 ในช่วงเวลาเดียวกัน
การเจริญเติบโตของรายได้และกำไรของโรงแรมดุสิตธานีย่อมสะท้อนถึงการขยายตัวของ ภาคบริการและท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วนั่นเอง ส่วนหนึ่งมาจากผลของ สงครามเวียตนามในทศวรรษ 2500 ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ด้วย
สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโรงแรมดุสิตธานีจนกระทั่งป ีพ.ศ. 2543 (รวมทั้งให้ดุสิตธานีเช่าที่ดินในราคาที่ตํ่ากว่าท้องตลาดมากจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ด้วย) และ ดุสิตธานีได้กลายเป็นโรงแรมชั้นแนวหน้าของเมืองไทยนับแต่ก่อตั้งในปี 2513 กิจการของ
8 มิ.ย.2549
34
โรงแรมฯ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในป ีพ.ศ. 2536 โรงแรมดุสิตธานีได้ขยายอาณาจักรของโรงแรมทั้ง ในรูปของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมส่งผลให้เครือข่ายของโรงแรมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังต่อไปนี้กลุ่มดุสิตธานีและรีสอร์ท, กลุ่มโรงแรมธานีและรีสอร์ท รวมทั้งมีกลุ่ม Franchise คอย ช่วยดำเนินการด้วย นอกจากนี้โรงแรมดุสิตธานีได้ร่วมมือกับโรงแรมต่างประเทศและในประเทศ ในฐานะบริษัทร่วม (affiliate company) คือโรงแรม Best Western (U.S. chain) เพื่อที่จะสนองตอบ ทางด้านการตลาดของโรงแรมดุสิตธานีด้วย ในปี 2538 บริษัทกลุ่มดุสิตธานีและบริษัทในเครือ ทั้งหมดได้ขยายเครือข่ายโดยการเทคโอเวอร์ (take over) โรงแรม Kempinski จำนวน 23 แห่ง ใน ประเทศต่าง ๆ (Who’s who 1996 : 27) นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้ลงทุนบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพิ่มอีกที่สำคัญคือ Phillipine Hotelier Inc. ซึ่งประกอบธุรกิจโรงแรมโดยมีโรงแรมที่ฟิลลิปปินส ์บริษัทดุสิตธานีเดลาแวร ์จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท Holding Company ถือหุ้นใน Dusit pacific NV. บริษัทดุสิตธานีอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท Holding Company ถือหุ้นบริษัทโรงแรม Melrose USA และได้ลงทุนในบริษัทร่วมคือ บริษัท ดีพีเอ็มเอ็น อินดัสตรีจำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจ รับซักรีดอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร และบริษัทดุสิต สินธร จำกัด ซึ่งลงทุนใน Kempinski AG 83.3% โดยที่ Kempinski AG ประกอบธุรกิจการโรงแรมและรับบริหารโรงแรม และบริษัท เวิลด ์คลาส เรนท ์อะคาร ์จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่า (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) การขยายธุรกิจ อย่างรวดเร็วส่งผลให้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างรวดเร็วจาก 360 ล้านบาท ในปี 2534 เป็น 445.5 ล้านบาท ในปี 2535 และ 600 ล้านบาท ในปี 2540 (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) แม้จะมีการ ขยายการเพิ่มทุนอยางรวดเร็วเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของโรงแรมฯ และบริษัทในเครือแต ่ทว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เท่ากับร้อยละ 14.7 ในปี 2538 และเท่ากับ
11.2 ในปี 2540 ในช่วงปี 2513 จนถึงปี 2537 สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ประมาณร้อยละ 14 – 15 ของหุ้นทั้งหมด รายได้และผลกำไรของโรงแรมดุสิตธานีและบริษัทใน เครือได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รายได้ของเครือดุสิตธานีในปี 2536 เท่ากับ 851.9 ล้านบาท และเท่ากับ 994.7 ล้านบาท 1,806 ล้านบาท และ 1,753 ล้านบาท ในปี 2537, 2538 และ 2539 ตามลำดับ (Companies Handbook Various Years) ประการที่สาม การลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ได้จำกัดอยู่กับการร่วมทุนอยู่กับ “ทุนภายในประเทศ” เท่านั้น หากแต่ได้ขยายไปร่วมลงทุนกับทุนต่างประเทศที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น เช่น ในปี 2517 ได้ร่วมทุนกับกลุ่มโอบายาชิซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น โดยตั้งกิจการร่วม ทุนในนามบริษัท นันทวัน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไทยโอบายาชิ) ในปี 2534 สำนักงาน ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 10 ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังคงเป็นบริษัทไทยโอบายาชินอกจากนี้ในปี 2522 สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ถือหุ้นร่วมกับ บริษัทเซโรกราฟฟิค ซิลเต็ม
8 มิ.ย.2549
35
(ปัจจุบันคือ ไทยฟูจิซีรอค) ซึ่งมีหุ้นส่วนเท่ากับร้อยละ 10 และยังได้ร่วมลงทุนกับบริษัทไทยโอยา เล็นซ์ (ถือหุ้นร้อยละ 20) สยามคูโบตาดีเซล (ถือหุ้นร้อยละ 41) วาย เค เค ซิปเปอร์ (ร้อยละ 36) ไว เค เค เทรดดิ้ง (ร้อยละ 36) อย่างไรก็ตาม ในทศวรรษ 2520 ในช่วงที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทยในฐานะ ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นรายใหญ่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยการควบกิจการหรือเทคโอเวอร ์และร่วมทุนกับบริษัทต่าง ๆ นั้น บริษัทปูนซีเมนต์ไทยได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท เหล่านี้และในบางกรณีได้เข้าควบกิจการ และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทในเครือของ ปูนซีเมนต์ไทย เช่น ไทยอินดัสเตรียบฟอร์จจิว (ซึ่งเป็นของบริษัทเบอร์ลียุคเกอร ์ถูกควบรวม กิจการในปี 2528) และบริษัท สยามคูโบต้าดีเซล ถูกเข้ารวมกิจการในปี 2529)
ประการที่สี่แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะกระจายการถือหุ้นไปลงทุนในกิจการต่าง ๆ ใน หลายกรณีเป็นสัดส่วนที่น้อย เช่น ในกิจการธนาคาร (ในทศวรรษ 2530 ร่วมทุนกับกสิกรไทย เท่ากับร้อยละ 2.5 ไทยทนุร้อยละ 1.7 กรุงไทย ร้อยละ.97 – 1.08 นครหลวงไทย ร้อยละ 3.8 – 4.9 นครธน ร้อยละ 7.8) แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการดังกล่าวจะไม่มีความสำคัญต่อรายได้ของ สำนักงานทรัพย์สินฯ รวมทั้งบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยผ่านการ ร่วมลงทุนของกิจการธนาคารเหล่านี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มีผลต่อการกระจุกตัวของ ทุนในภาคการเงินและการธนาคารอย่างสูงยิ่ง เพราะในยุคการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการส่งเสริม การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการเป็นสำคัญ จึงได้มีส่วนสำคัญต่อการขยายบทบาทของธนาคาร พาณิชย์ทั้งในแง่ของการผูกขาดทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าและการลงทุนขยายตัว นั่นเอง รวมทั้งการดึงเอาส่วนเกินจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคการค้าและอุตสาหกรรม ประกอบ กับบรรดานายธนาคารทั้งหลายก็ได้ติดต่อกับทั้งพ่อค้าและนักธุรกิจอุตสาหกรรมอยู่อย่างใกล้ชิด ใน กรณีของธนาคารกสิกรไทยในทศวรรษ 2520 และ 2530 จัดได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่เป็น อันดับสามในระบบธนาคารของไทย โดยพิจารณาจากทรัพย์สินและเงินฝาก ในปี 2526 ธนาคาร กสิกรไทยมีสินทรัพย์เท่ากับ 75,331 ล้านบาท และเงินฝากเท่ากับ 58,560 ล้านบาท (Hewison 1989 : 176) ในปี 2523 1980 ธนาคารกสิกรไทยได้มีกิจการบริษัทเงินทุน 13 แห่ง และบริษัทประกันภัย 1 แห่ง (Hewison 1989 : 1981) และธนาคารยังได้มีผลประโยชน์นอกธนาคารมหาศาลโดยร่วมทุนกับ กลุ่มต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น บริษัทสุรามหาคุณ บริษัทล็อกซ์เลย์ (กรุงเทพฯ) บริษัทเสริมสุข บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทยางไพร์สโตน (ประเทศไทย จำกัด) บริษัทสุรามหาคุณ บริษัทยิบอิน ซอย จำกัด บริษัทสมบัติลํ่าซำ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด บริษัทเงินทุนภัทรธนกิจ จำกัด บริษัทค้าสากลซีเมนต์ไทย บริษัทคลังสินค้าและแม่นํ้าประกันภัย (เกริกเกียรติ 2525, และโปรดดูSuehiro 1989) ดังนั้น แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะมีสัดส่วนการถือหุ้นเพียงร้อยละ 2.5 แต ่ผลประโยชน์และรายได้อื่น ๆ จึงอยู่ในระดับที่สูง นอกจากถือหุ้นในธนาคารกสิกรไทยแล้ว
8 มิ.ย.2549
36
สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ถือหุ้นในธนาคารของเอกชนอีก 2 แห่ง คือ ธนาคารนครหลวงไทย (เท่ากับร้อยละ 10.1, 4.9 และ 3.8 ในปี 2522, 2534 และ 2539) และธนาคารนครธน (เท่ากับร้อย ละ 11.8, 7.8 และ 7.8 ในช่วงเวลาเดียวกัน) ซึ่งผลประโยชน์ของธนาคารทั้งสองทั้งในและนอก ธนาคารมีอยู่มากมาย ธนาคารนครหลวงไทยมีสินทรัพย์เท่ากับ 17,346 ล้านบาท และเงินฝากเท่ากับ 11,481 ล้านบาท ในปี 2526 และธนาคารไทยทนุมีสินทรัพย์เท่ากับ 5,720 ล้านบาท และยอดเงินฝาก เท่ากับ 4,201 ล้านบาท ในปี 2526 (Hewison 1989 : 176) ในกรณีของธนาคารกรุงไทยซึ่งสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นเท่ากับ 1.08 ในทศวรรษ 2530 มีฐานะเป็นธนาคารของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก็มีการ ขยายตัวทางด้านสินทรัพย ์เงินฝากอย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นธนาคารที่ใหญ่อันดับ 2 รองจาก ธนาคารกรุงเทพมาเนิ่นนาน สินทรัพย์รวมและเงินฝากของธนาคารได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจาก 336,734 ล้านบาท ในปี 2534 และเพิ่มเป็น 640,942 ล้านบาท ในปี 2538 ในขณะที่เงินฝากเพิ่มขึ้นจาก 289,109 ล้านบาท เป็น 500,280 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน และ ส่งผลให้กำไรของธนาคารเพิ่มเป็นเท่ากับ 1,190 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 10,178.4 ล้านบาท ในช่วง เวลาเดียวกัน (หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าตัว ในระยะเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น) (Listed Company Handbook, 1996)
ประการที่ห้า นอกจากจะลงทุนในกิจการธุรกิจร่วมกับเอกชนแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ร่วมลงทุนกับกิจการการผลิตขนาดใหญ่ของภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ ่นอกจาก ธนาคารกรุงไทยดังได้กล่าวมาแล้วที่สำคัญคือ ปิโตรเคมีแห่งชาติปุ๋ยแห่งชาติไทยออยส ์ซึ่งธุรกิจ เหล่านี้มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ ่ธุรกิจการผลิตเหล่านี้ได้ควบคุมการผลิตที่เป็น ปัจจัยการผลิตสำคัญของประเทศ มูลค่าการผลิตนับหลายหมื่นล้านบาทและมีการขยายตัวอย่าง รวดเร็วมากเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของประเทศ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายก๊าซเอทิลีนและก๊าซโพรพิลีน ซึ่งรวมเรียกว่า สารโอเลพินส์ (Olefins) ซึ่งใช ้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเม็ดพลาสติก ประเภทโพลิเอทิลีน โพลิโฟรพิลีน และโพลิไวนิลคลอไรด ์ในปี 2538 บริษัทฯ มีสินทรัพย์ทั้งสิ้น 14,290 ล้านบาท และรายได้จากการขายเท่ากับ 5,895 ล้าน บาท กำไรสุทธิเท่ากับ 419 ล้านบาท ส่วนผู้ถือหุ้นเท่ากับ 5,810 ล้านบาท (Listed Company Handbook 1996) ในกรณีของบริษัทไทยออยส์จัดว่าเป็นบริษัทกลั่นนํ้ามันและผู้ผลิตผลิตภัณฑ ์ปิโตรเลียมผูกขาดรายเดียวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ในปี 2546 บริษัทมียอดขายสูงถึง 145,949 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิหลังจากหักภาษีสูงถึง 6,750 ล้านบาท (Thailand Company Handbook)
ประการที่หก การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการลงทุนทางธุรกิจดังกล่าวข้างต้นโดยเฉพาะ ในทศวรรษ 2530 แสดงถึงสำนักงานทรัพย์สินฯ รวมทั้งธุรกิจในเครือและธุรกิจร่วมทุนได้ปรับตัว ทางธุรกิจเพื่อรองรับการแข่งขันการไหลบ่าของทุนจากต่างประเทศซึ่งนับวันจะมีการแข่งขันที่
8 มิ.ย.2549
37
รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะภายหลังการเปิดเสรีทางการเงินในปี 2535 ดังจะเป็นว่ามูลค่าตลาด (market capitalization) ในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว มูลค่าตลาดคิดเป็นเพียงร้อยละ 31.4 ของ GDP ในปี 2533 และเพิ่มเป็นร้อยละ 87.8 ของ GDP ในปี 2538 (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ธุรกิจหลายอย่างของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ และธุรกิจในเครืออื่น ๆ ซึ่งในอดีตที่ยาวนานสามารถเติบโตและขยายตัวได้รวดเร็ว ส่วนหนึ่งเพราะโครงการทางการตลาดที่มีการผูกขาดและการได้รับความคุ้มครองระดับสูงจาก รัฐบาล แต่ในทศวรรษ 2530 นั้น การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้ธุรกิจดังกล่าวต้องเผชิญกับการต้อง ปรับตัวและแสวงหาการลงทุนใหม ่ๆ เพื่อรักษารายได้และผลกำไรมากยิ่งขึ้น นอกจากจะมีการ กระจายการลงทุนหรือร่วมทุนกับกลุ่มทุนใหม ่ๆ เพิ่มขึ้น แม้แต่การลงทุนในธุรกิจหลักของ สำนักงานทรัพย์สินฯ เอง คือ บจม. ปูนซีเมนต์ไทย และ บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์ก็มีการขยาย การลงทุนอย่างขนาดใหญ่ทั้งในรูปของบริษัทลงทุนหลัก (holding company) และขยายลงทุนในรูป ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน
การเติบโตทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่ช่วงทศวรรษ 2530
ทศวรรษ 2530 เป็นช่วงระยะเวลาของจุดเริ่มต้นของเติบโตทางธุรกิจของบริษัทปูนซีเมนต ์ไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ชนะได้ผลักดันนโยบายการค้า ระหว่างประเทศแบบเสรีเดิมและพร้อม ๆ กับการมีอำนาจของจอมพล สฤษด ์ิธนะรัชต ์ได ้สนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว รวมทั้งต้อนรับการเข้ามาของการลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศอย่างขนานใหญ ่บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจไทยในฐานะที่นำ “เงินทุน” “เทคโนโลยี” และการบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่เข้ามาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลภาคทาง การเงินของสหรัฐอเมริกาที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยนั้นกว้างขวาง โดยมีการก่อตั้งสถาบันการเงิน เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจของไทยที่สำคัญ เช่น การเข้ามาของ Exim Bank (เพื่อสนับสนุนโครงการ อุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์) ในปี 2508 International Finance Corporation (ให้เงินกู้แก ่ปูนซีเมนต์ไทยและเข้าถือหุ้น) ในปี 2512 Banker Trust (มีส่วนสำคัญในการก่อตั้ง Tisco) ในป .2512 บริษัทปูนซีเมนต์ไทยก็ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะในแง่ของ การจัดการธุรกิจสมัยใหม่และเงินกู้จากต่างประเทศ ธุรกิจปูนซีเมนต์ไทยอาจจะเป็นธุรกิจของไทย ธุรกิจแรก ๆ ที่ได้มีการจัดโครงสร้างทางองค์กรในรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่มีการบริหารสมัยใหม ่หรือมีมาตรฐานสากล มีการบริหารงานที่มีการแยกอำนาจการเป็นเจ้าของกับอำนาจการบริหารโดย เด็ดขาด รวมทั้งได้มีการกู้เงินต่างประเทศเพื่อขยายการลงทุน ในปี 2512 บริษัทปูนซีเมนต์ไทยได้ก ู้เงินจาก International Finance Corporation หรือ IRC ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นบริษัทของไทยที่สามารถ
8 มิ.ย.2549
38
เข้าถึงตลาดการเงินระดับโลกได ้ซึ่งมีผลต่อการขยายกิจการการลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างการ บริหารและการจัดการนั่นเอง (วิรัตน์ 2543 : 13, วิรัตน์ 2548 : 19) นอกจากนี้ในปี 2516 ได้มีการก ู้เงินต่างประเทศเพื่อขยายการลงทุนในแหล่งอื่น ๆ นอกจากสหรัฐอเมริกาไปสู่แหล่งอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น หรือกู้เงินในลักษณะหลากหลายไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือยาว (วิรัตน .2548 : 19)
สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 2500 มีส่วนสนับสนุน การเจริญเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยอย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงสงครามเวียตนาม (2503 – 2518) นอกจากจะมีการขยายตัวในการก่อสร้างอย่างขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการ สร้างถนนทางหลวงเชื่อมกรุงเทพฯ กับภูมิภาคอื่น ๆ อย่างขนานใหญ ่และเงินก่อสร้างเกือบทั้งหมด มาจากเงินกู้และความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ถนนทาง หลวงแผ่นดินที่ลาดยางแล้วเพิ่มขึ้นจาก 8,466 กิโลเมตร ในปี 2503 เพิ่มเป็น 12,658 กิโลเมตร ในป .2513 (กรมทางหลวง 1915) และการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของทางหลวงแผ่นดินรวมทั้งการ ก่อสร้าง เช่น ท่าเรือและการลงทุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในช่วงการเร่งรัดการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจในแผนพัฒนาที่ 1 และที่ 2 ได้มีผลต่อ “การสะสมทุน” และการขยายการผลิตของการผลิต ปูนซีเมนต์อย่างขนานใหญ ่สินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 444 ล้านบาท ในปี 2503 และเพิ่มเป็น 3,018 ล้านบาท ในปี 2513 และ 5,813 ล้านบาท ในปี 2518 โดยยอดขายเพิ่มจาก 1,421 ล้านบาท ใน ปี 2513 เป็น 4,620 ล้านบาท ในปี 2518 (Suehiro 1989 : 240) โดยที่บริษัทได้มีการขยายการผลิต ไปสู่กิจการการผลิตแนวดิ่ง (Metrical Integration) มากขึ้น โดยมีการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาและ เหล็ก รวมทั้งมีการขยายไปสู่กิจการเหล็กหล่อ รูปพรรณ และคอนกรีต ทั้งในรูปคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็ก และคอนกรีตอัดแรง (Concrete Products and Aggregate Company : CPAC) เป็นต้น (ภาวิดา 2548 : 5-3)
ภายหลังปี 2513 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ขยายการผลิตไปยังธุรกิจหลายประเภท (Diversification) ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ไม่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง (ท่อ PVC) หลังคาใยแก้ว แผ่นปูกระเบื้องเซรามิก และแผ่นยิบซั่ม ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อาทิเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และเยื่อยานยนต ์บริษัทการค้าระหว่างประเทศ ผลิตภัณฑ ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และปิโตรเคมีตามลำดับ (ภาวิดา 2548 : 5-3)
การขยายอาณาจักรทางธุรกิจของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยถือว่าเป็นแบบฉบับ “ตำนาน” ทาง ธุรกิจของไทยในการครอบงำธุรกิจอื่น ๆ โดยแท ้หรือที่เรียกว่า การเทคโอเวอร ์โดยเฉพาะกิจการที่ไม่ใช่ Core Business นั่นเอง ด้วยการเป็นธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ทรงพลังทั้งทางด้าน
8 มิ.ย.2549
39
เงินทุนและธุรกิจขนาดใหญ ่รวมทั้งมีทุนขนาดใหญ่จากธนาคารไทยพาณิชย ์และเครือข่ายสัมพันธ ์ทางธุรกิจที่แน่นหนา (ดังจะได้กล่าวต่อไป) บริษัทปูนซีเมนต์จึงสามารถขยายอาณาจักรของธุรกิจ ได้อย่างต่อเนื่องโดยการเทคโอเวอร์ (Takeover) หรือการเข้าซื้อหุ้นบริษัทอื่น ๆ ในสัดส่วนข้างมาก โดยควบคุมการบริหารงานด้วย ในระหว่างปี 2519 – 2518 ซึ่งอยู่ในช่วงที่นายสมหมาย ฮุนตระกูล และนายจรัส ชูโต เป็นผู้จัดการใหญ ่ได้มีการเข้าเทคโอเวอร์เป็นจำนวนมาก ดังมีกิจการ ดังต่อไปนี้ (วิรัตน์ 2543 :57)
2519 เขาครอบกิจการบริษัทสยามคราฟท ์ผู้ผลิตกระดาษ คราฟท ์รายแรกของเมืองไทย 2522 ตั้งบริษัทเซรามิค อุตสาหกรรมไทย และเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิตกระเบื้องโมเสค ของบริษัทโรยัล โมเสค เอ็กซ์สปอร์ต 2523 เข้าครอบกิจการบริษัท สยามบรรจุภัณฑ ์ซึ่งผลิตกระดาษลูกฟูก 2525 เข้าครอบกิจการบริษัท ยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย) 2526 เข้าครอบกิจการบริษัท แพนซัพพลาย ตัวแทนขาย รถขุด และรถเครน 2527 เข้าครอบกิจการบริษัทอามิเกจแซงค์ (กรุงเทพฯ) ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อ
เป็น สยาม ซานิตารีแวร์) เข้าครอบกิจการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนลแอนยิเนียริ่ง (ไอ อีซี) ตัวแทนจำหน่าย เครื่องจักรกล สื่อสาร และโทรคมนาคม ตั้งบริษัท ธารา เข้าซื้อกิจการผลิตซีเมนต์ใยหินจากบริษัทท่อซีเมนต์ใยหิน ตั้งบริษัทไทยวนภัณฑ์โดยซื้อกิจการไม้อัดจากบริษัทศรีมหาราชา และบริษัท ไทยทักษิณป่าไม ้ตั้งบริษัทกระเบื้องทิพย ์ซื้อกิจการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาของบริษัทกระเบื้อง ซูเปอร .
2528 เข้าครอบกิจการบริษัท กระดาษสหไทย โรงงานผลิตกระดาษพิมพ์เขียน เข้าครอบกิจการบริษัท เอส พีแบตเตอรีผู้ผลิตแบตเตอรีรถยนต ์เดิมชื่อ บริษัท แอซโซซิเอเต็ค แบตเตอรีแมนแฟคเจอริง (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้ง เป็น สยามฟูรูกาวา เข้าครอบกิจการบริษัทไทยอินดัสเตรียล ฟอร์จจิงส ์ผลิตอะไหล่มอเตอร์ไซต .
ฯลฯ
8 มิ.ย.2549
40
ในปลายทศวรรษ 2520 บริษัทปูนซีเมนต์ไทยและบริษัทในเครือหรือที่เราเรียกว่า “เครือ ซีเมนต์ไทย” มิเพียงแต่เป็นธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แต่ทว่ายังเป็น ธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนทางธุรกิจไปยังธุรกิจต่าง ๆ (รวมทั้งการ ขยายตัวทางธุรกิจของธุรกิจหลัก อันประกอบไปด้วย ธุรกิจปูนซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์และเทเวศประกันภัย) นับแต่ทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา แต่ทว่าการเติบโตอย่างขนานใหญ่ทาง ธุรกิจจะอยู่ในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษของทศวรรษที่ 2530 เป็นสำคัญ
ในกรณีของเครือปูนซีเมนต์ไทยในช่วงปี 2535 - 2539 มียอดขายเฉลี่ยประมาณกว่า 100,000 ล้านบาทต่อป ีโดยในปี 2539 มียอดขายสูงถึง 182,725 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าใน ปี 2535 เท่ากับกว่า 2 เท่า ส่วนผลกำไรในปี 2536 เท่ากับ 18,609 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขเกือบ 2 เท่า ในปี 2535 (รายงานประจำปีเครือซีเมนต์ไทย 2539) การขยายตัวอย่างรวดเร็วในแง่ของยอดขาย และกำไรส่งผลให้สินทรัพย์ของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นสูงถึง 350,831 ล้านบาท ในปี 2540 ในช่วง 2535 2540 บจม.ปูนซีเมนต์ไทยหรือเครือปูนซีเมนต์มีบริษัทร่วมลงทุนต่าง ๆ มากกว่า 130 บริษัท โดยมีการจ้างงานสูงกว่า 35,000 คน โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเครือปูนซีเมนต์ก็มีการกระจายการผลิต ไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ (diversification) อย่างมากมาย มีการแบ่งการดำเนินธุรกิจออกเป็น 9 กลุ่ม อัน ประกอบไปด้วย ปูนซีเมนต ์การค้า วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเหล็กและเหล็กกล้า เซรามิก ผลิตภัณฑ ์ไฟฟ้า และโลหะ ชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ปิโตรเคมีกระดาษและบรรจุภัณฑ์ (รายงาน ประจำป ีเครือซีเมนต์ไทยฉบับต่าง ๆ)
แม้ว่าจะมีการขยายตัวในธุรกิจหลากหลายประเภท (diversification) นับแต่ปี 2513 เป็นต้น มา แต่การเจริญเติบโตทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่กลับกระจุกตัวอยู่ในช่วงทศวรรษ 2530 นอกจากนี้ทศวรรษ 2530 ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งออกสินค้าปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างไปยังประเทศ เพื่อนบ้านในกลุ่ม ASEAN และประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และยุโรป (ในประเด็นเกี่ยวกับ พัฒนาการของเครือซีเมนต์ไทย และการลงทุนทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โปรดดูใน Suehiro (1989), ภาวิดา (2548) Pavida (2001) ในช่วงปี 2536 – 2540 เครือซีเมนต์ไทยได้ประกาศการ ลงทุนในต่างประเทศ 27 โครงการ ซึ่งครอบคลุมหลาย ๆ อุตสาหกรรม ประกอบด้วย เซรามิก ซีเมนต์และการค้า วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมีและกระดาษเยื่อ และเครื่องจักรกลต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้ประสบกับปัญหาและข้อจำกัดทางด้านการลงทุนเหลือเพียง 12 โครงการ และเมื่อประสบ กับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เครือซีเมนต์ไทยได้ลดโครงการเหลือ 3 โครงการเท่านั้นที่มีการดำเนินการส่วนที่เหลือนั้นได้มีการชะลอโครงการหรือหยุดดำเนินการ (ภาวิดา 2548, 5-5)
8 มิ.ย.2549
41
ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือซีเมนต์นับแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ ธุรกิจใน เครือซีเมนต์เกือบทุกธุรกิจได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมาเนิ่นนานทั้งจากนโยบายคุ้มครอง อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าและการส่งเสริมการลงทุนด้านอื่น ๆ หากไม่มีมาตรการคุ้มครอง การนำเข้า เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีเครื่องจักร อุปกรณ ์และวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต จะเป็นอย่างไร หากใช้ระดับราคาที่เป็นจริงในการคำนวณหามูลค่าเพิ่ม งาน ศึกษาเกี่ยวกับอัตราการคุ้มครองที่แท้จริงในประเทศ (effective protective rates) ในระยะเวลาต่าง ๆ กัน หลายชิ้นได้ให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าในอัตราที่สูง (ในขณะที่สินค้า ส่งออกหลายประเภทมีอัตราคุ้มครองที่แท้จริงติดลบ) อัตราการคุ้มครองสูงย่อมส่งผลให ้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองไม่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตเท่าที่ควร รวมทั้งไม่กระตือรือร้นที่จะส่งออกเพราะขายในประเทศได้กำไรดีกว่า โดยที่คุณภาพของสินค้าก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก การผลิตปูนซีเมนต์จึงเป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศเป็น สำคัญ การส่งออกของบริษัทปูนซีเมนต์ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า
ในงานศึกษาของ ภาวิดา (ภาวิดา 2548 และ Pavida 2001) ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่มีผล ต่อการขยายตัวทางธุรกิจของเครือปูนซีเมนต์ไทยคือ “ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสำนักงาน ทรัพย์สินฯ (ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย – ผู้เขียน) ทำให้บริษัทได้รับการสนองตอบที่ดีจาก ข้าราชการระดับสูงและรัฐบาลเสมอมา ในปี 2523 เป็นช่วงที่กลุ่มสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทางหรือกลุ่มนักวิชาการต่าง ๆ มีบทบาทต่อการจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศเป็นอย่าง มาก มีการจัดตั้งสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเครือซีเมนต์ไทยล้วนเข้าไป มีบทบาทสำคัญในกลุ่มสถาบันเหล่านี้” นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจใน เครือซีเมนต์คือ ความได้เปรียบจากการเป็นผู้มาก่อน (First Mover Advantage) ในอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง ทักษะทางเทคโนโลยีจุดแข็งด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย ความสัมพันธ์กับ สถาบันการเงินทั้งภายในและต่างประเทศ (ภาวิดา 2548 : 5 – 10)
การเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยนอกจากจะมาจากการคุ้มครองของภาครัฐในรูปการ คุ้มครองด้านภาษีอากรและโครงสร้างการผลิตที่เป็นผู้ผูกขาดน้อยรายแล้ว และครองสัดส่วนของ ตลาดรายใหญ่ประมาณร้อยละ 60 – 65 ในทศวรรษ 2520 และลดลงเท่ากับร้อยละ 40 – 50 ใน ทศวรรษ 2530 บริษัทฯ ยังได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ได้รับแหล่งเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์และ แหล่งเงินทุนจากสำนักงานทรัพย์สินฯ และด้วยการเป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงิน ประวัติความ น่าเชื่อถือมีสูง จึงสามารถกู้เงินทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อขยายกิจการการลงทุนของตนเองได ้อย่างต่อเนื่อง กิจการของบริษัทปูนซีเมนต์จึงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้ง ในแง่สินทรัพย ์ยอดขาย ปริมาณสินค้าที่ขาย การเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีทุนขนาดใหญ่จึงสามารถ
8 มิ.ย.2549
42
เข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ ตลอดจนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมใหม ่ๆ และมีการกระจายมาก ขึ้น (diversification) อาทิเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ เซรามิค ปิโตรเคมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการ ก่อสร้าง อีเลคโทรนิคส ์และยานยนต ์เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวขนานใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทย คือ การกู้หนี้ยืมสินจาก ต่างประเทศ เช่นในปี 2539 บริษัทมีหนี้สินทั้งสิ้น 137,517 ล้านบาท โดยเป็นหนี้สินระยะยาวทั้งสิ้น 63,312.8 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นหนี้สินกู้ยืมจากต่างประเทศถึง 61,523.3 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 97.2 ของหนี้สินระยะยาวทั้งหมด (รายงานประจำปี 2539 เครือซีเมนต์ไทย) ซึ่งอาจจะนับได ้ว่าเป็นธุรกิจไทยที่มีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อขยายกิจการอย่างขนานใหญ ่รวมทั้งแสดงถึงการ เป็นธุรกิจที่มีความเชื่อถือในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากรายงานฉบับหนึ่งแสดงว่า “ธนาคาร พาณิชย์กลุ่มหนึ่งในประเทศและสถาบันการเงินหลายแห่งในต่างประเทศได้คํ้าประกันการชำระคืน หนี้สินซึ่งเกิดจากการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์และกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนวงเงินประมาณ 6,980 ล้านบาท (รายงานประจำปี 2539, เครือซีเมนต์ไทย)
อย่างไรก็ตามการขยายตัวทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทยในทศวรรษ 2530 กลับไม่ทำให้บริษัทไม่สามารถรักษาผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจในทุก ๆ กิจการ เช่น เหล็ก กระดาษ และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากนี้ยอดขายหรือผลกำไรจากธุรกิจซีเมนต์กลับขยายตัวได ้อย่างเชื่องช้าเนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจไทยเผชิญกับวิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจในปี 2540 เครือปูนซีเมนต์ต้องเผชิญกับขาดทุนอย่างขนานใหญ ่ในปี 2540 ผลของการ ขาดทุนของเครือซีเมนต์ไทยสูงถึง 52,551 ล้านบาท และการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่าง มโหฬารส่งผลให้หนี้สินรวมของเครือซีเมนต์เพิ่มจาก 53,953 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น 72,897 ล้าน บาท ในปี 2539 และเพิ่มเป็น 155,175 ล้านบาท ในปี 2540 ตามลำดับ (แบบ 56-1)
ธนาคารไทยพาณิชย .
แม้ว่าธนาคารไทยพาณิชย์จะเป็นธนาคารแห่งแรกของคนไทยและมีประวัติศาสตร์มา ยาวนาน ก่อนปี 2528 การเจริญเติบโตของธุรกิจธนาคารทั้งในแง่ของสินทรัพย ์ยอดเงินฝาก สินเชื่อ รวมทั้งการเจริญเติบโตของบริษัทในเครือ ในปี 2515 ธนาคารฯ มีสินทรัพย์รวมเท่ากับ 3,314 ล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.82 ของสินทรัพย์รวมของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย และเป็นธนาคาร พาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 โดยที่อันดับหนึ่งคือธนาคารกรุงเทพฯ (มีสินทรัพย์คิดเป็นร้อย ละ 30.86) (เกริกเกียรติ 2525 : 62) แม้ในทศวรรษ 2513 จะมีสัดส่วนสินทรัพย์ต่อสินทรัพย์ทั้งหมด ของธนาคารพาณิชย์ของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.82 ในปี 2515 เป็นร้อยละ 5.59 ในปี 2522 และ เป็นธนาคารที่มีทรัพย์สินใหญ่เป็นอันดับที่ 4 แต่สัดส่วนของสินทรัพย์ยังห่างไกลจากธนาคารใหญ .
8 มิ.ย.2549
43
อันดับที่ 1 – 3 เป็นอันมาก ธนาคารกรุงเทพฯ มีสัดส่วนเพิ่มจากร้อยละ 30.86 เป็นร้อยละ 35.32 ธนาคารกรุงไทยมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 14.42 และลดลงเล็กน้อยเป็น 12.69 ธนาคารกสิกรไทย เพิ่มจากร้อยละ 7.17 เป็นร้อยละ 10.26 ในช่วงเวลาเดียวกัน (เกริกเกียรติ 2525 : 58)
ธนาคารไทยพาณิชย์เริ่มเติบโตอย่างรวดเร็วนับแต่ปี 2527 เมื่อนายธารินทร ์นิมมาเหมินทร ์เข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในช่วงปี 2527 – 2535 โดยธนาคารไทยพาณิชย์ได ้ขยายตัวขึ้นมาเป็นธนาคารชั้นแนวหน้าเทียบเท่าได้เท่ากับธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย และศรีอยุธยา ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 5 ในทศวรรษ 2510 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2532 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของระบบธนาคารพาณิชย์ของไทย (ญิบพัน 2547 : 180) รวมทั้งมีเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 529.1 ล้านบาท ในปี 1984 เป็น 1,200 ล้านบาท 1,700 ล้านบาท และ 2,900 ล้านบาท ในปี 2530, 2532 และ 2533 ตามลำดับ (เกริกเกียรติ 2536 : 81) รวมทั้งการ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางด้านอีเล็คทรอนิกส์แบงกิ้งแห่งหนึ่งและได้นำเครื่อง ATM เข้ามาใช้ในการ เบิกถอนเงิน ในปี 2517 ธนาคารไทยพาณิชย์มีบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ 3 แห่ง และมีบริษัท ประกันภัยเท่ากับ 3 แห่ง เครดิตฟองซิเอร์ 2 แห่ง ภายหลังจากที่นายธารินทร ์นิมมาเหมินทร ์ได ้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เพื่อไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใน สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2535 นายโอฬาร ไชยประวัติก็เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน (2535 – 2542) ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ได้มีการขยายบทบาทของธนาคารไปอย่างมากมาย โดยได้ไปทำธุรกิจ ต่าง ๆ มากมายทั้งเกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม โดยเฉพาะรูปแบบของการตั้งบริษัทลงทุนหลัก และการขยายการลงทุนขนาดใหญ .
กิจการของธนาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงและที่มีการขยายการลงทุนที่สำคัญในช่วงปี 2535 – 2540 คือ ธนาคารได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) เป็นแห่งแรกของไทย ขยาย การเปิดสาขาของธนาคารในต่างประเทศ ใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมโยงในการพัฒนาระบบการ ให้บริการและสารสนเทศของธนาคารเปลี่ยนฐานะของธนาคารจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชน มีการขยายการลงทุนอย่างขนานใหญ่ในรูปของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เช่น ขยายเข้าสู่ธุรกิจมีเดีย (บจม. ไอทีวี) ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ (บจม. คริสเตียนีแอนด ์นีลเส็น) เป็นต้น ในป .2540 ธนาคารไทยพาณิชย์และธุรกิจในเครือได้ครอบคลุมของธุรกิจที่สำคัญ คือ (1) ธุรกิจธนาคาร พาณิชย์ (2) ธุรกิจวิเทศธนกิจ (3) ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินและธุรกิจหลักทรัพย .(เช่น ธุรกิจการจัดหาเงินทุน ธุรกิจบริการด้านการลงทุน ธุรกิจเสริมด้านหลักทรัพย ์ธุรกิจบริหาร กองทุน) (4) ธุรกิจเกษตร (เช่น บริษัทนํ้าตาลสิงห์บุรี) (5) อสังหาริมทรัพย์ (เช่น บริษัท สยามสิน ธร) (6) เช่าซื้อ (7) ธุรกิจการให้บริการ (เช่น บริษัท สยามนิธิวัฒน ์สยามแอพเพรซัลแอนด ์เซอร์วิส สยามวานิชธุรกิจ) (8) Holding Company (บริษัท ธนสถาปนา) เป็นต้น ในปี 2540
8 มิ.ย.2549
44
ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการกระจายการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัทในเครือทั้งในรูปของ บริษัทย่อย บริษัทที่เกี่ยวข้อง และบริษัทอื่น ๆ จำนวน 87 บริษัท โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น เท่ากับ 8,303.3 ล้านบาท (แบบ 56-1)
การขยายตัวอย่างขนานใหญ่ในทศวรรษ 2530 มิเพียงแต่แสดงถึงการปรับตัวและช่วงชิง โอกาสของการลงทุนใหม ่ๆ ของกลุ่มทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อสนองตอบกระแสโลกา ภิวัตน์ที่มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเข้มข้น ยังแสดงถึงความพยายามสร้างและผลักดันแนวคิดยูนิเวอร์แซล แบงกิ้ง (Universal Banking) หรือธนาคารที่ให้บริการอย่างครบวงจรอีกด้วย ดังจะเห็น ว่ารายได้และกิจกรรมต่าง ๆ ของธนาคารไทยพาณิชย์ได้นอกจากพึ่งพาการหารายได้และกำไรจาก ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากมาเป็นการกระจายไปสู่แหล่งอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น กำไรการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมและบริการ เป็นต้น รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 2,254 ล้านบาทในปี 2535 และเพิ่มขึ้นเป็น 3,806 ล้านบาท 4,914 ล้านบาท 5,122 ล้านบาท และ 6,408 ล้านบาท ในปี 2536, 2537, 2538 และ 2539 ตามลำดับ หรือ คิดเป็นร้อยละ 7, 11.3, 13.0, 10.0 และ 9.0 ของรายได้ทั้งหมด (รายงานประจำปี 2539 ธนาคารไทย พาณิชย ์จำกัด (มหาชน)) กิจการวิเทศธนกิจโดยเฉพาะการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (Out - Out) และ เพื่อการกู้ยืมในต่างประเทศ (Out – In) ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ยอดปล่อยสินเชื่อรวมของทั้งสอง รายการข้างต้นเพิ่มขึ้นจาก 1,123 ล้านเหรียญ US ในปี 2537 เพิ่มขึ้นเป็น 1,290 ล้านเหรียญ US, 1,821 ล้านเหรียญ US และ 1597 ล้านเหรียญ ในปี 2537 ตามลำดับ (แบบ 56-1) นอกจากนี้ในแง ่แหล่งที่มาของเงินทุนเพื่อการดำเนินงานทางธุรกิจ ธนาคารได้พึ่งพิงแหล่งเงินทุนจากเงินตรา ต่างประเทศค่อนข้างสูงคือประมาณเฉลี่ยร้อยละ 20 ในช่วงปี 2537 – 2540 ในปี 2539 เงินทุนจาก ต่างประเทศเท่ากับ 94,858 ล้านบาท หรือเท่ากับร้อยละ 20 ของเงินทุนทั้งหมด (แบบ 56-1)
การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระดับที่สูงมาก การขยายตัวของการลงทุนในกิจการต่าง ๆ การพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศในระดับที่สูง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธนาคารไทย พาณิชย์ในช่วงปี 2535 – 2539 ในปี 2539 สินทรัพย์ของธนาคารเท่ากับ 541,231 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 1.96 เท่า เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ในปี 2535 (ในปี 2535 ธนาคารมีสินทรัพย์เท่ากับ 275,084 ล้านบาท) ในปี 2539 เงินฝากของธนาคารเท่ากับ 399,291 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.84 เท่า เมื่อเทียบกับเงินฝากในปี 2535 (ในปี 2535 เงินฝากของธนาคารเท่ากับ 216,079 ล้านบาท) ในป .2539 เงินกู้ยืมของธนาคารเท่ากับ 67,021 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3.74 เท่า เมื่อเทียบกับเงินกู้ยืมของ ธนาคารในปี 2535 (ในปี 2535 เงินกู้ยืมของธนาคารเท่ากับ 17,878 ล้านบาท) ในปี 2539 รายได ้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลเท่ากับ 53,358 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2.04 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2535 (ในปี 2535 รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลเท่ากับ 26,091 ล้านบาท) ในปี 2539 รายได้ที่ไม่ใช .
8 มิ.ย.2549
45
ดอกเบี้ย (กำไรจากการปริวรรต ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และรายได้อื่น) เท่ากับ 6,408 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.8 เท่า เมื่อเทียบกับรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยในปี 2535 (ในปี 2535 รายได้ที่ไม่ใช ่ดอกเบี้ยเท่ากับ 2,254 ล้านบาท) การเจริญเติบโตดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่งผลให้ในปี 2539 กำไร สุทธิของธนาคารเท่ากับ 9,014 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิในปี 2535 ประมาณ 2.16 เท่า (ใน ปี 2535 กำไรสุทธิของธนาคารเท่ากับ 4,180 ล้านบาท) หรือธนาคารมีกำไรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6,399 ล้านบาท ในช่วงปี 2535 – 2539 (คำนวณจากรายงานประจำปี 2539 ธนาคารไทยพาณิชย ์จำกัด (มหาชน))
การปล่อยสินเชื่อจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทในเครือและบริษัทที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการก ู้เงินจากต่างประเทศอย่างขนานใหญ่ในช่วงปี 2535 – 2540 แม้ในด้านหนึ่งจะทำให้ธุรกิจของ ธนาคารและบริษัทในเครือได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่การปล่อยค่าเงินลอยตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจหลังจากนั้นทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ไปประสบกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans : NPL) การขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ภาระ หนี้ระหว่างประเทศสูงเป็นจำนวนมาก เพราะหลายบริษัทที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารประสบกับ ปัญหาการขาดทุนและการสภาพคล่อง
บางบริษัทได้ปิดกิจการลง เช่น บจล. สยามสินธร ได้ปิด กิจการลงเพื่อเฉลี่ยหลักทรัพย์คืน บจม. สยามมีเดีย แอนด ์คอมมูนิเคชั่น ได้ขายกิจการให้กับกลุ่ม ชินคอร์ป และ บจม. คริสเตียนีแอนด ์นิลเส็น ก็ปรับโครงสร้างหนี้และเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลที่ตามมาก็คือ ธนาคารประสพกับปัญหาขาดทุน อย่างขนานใหญ่คือเท่ากับ 23,233 ล้านบาท ในปี 2541 และเพิ่มขึ้นเป็น 35,550 ล้านบาทในปี 2542 (Thailand Company Handbook 2003)
การขยายธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ
ในธุรกิจปิโตรเคมีในทศวรรษ 2530
ทศวรรษ 2530 นอกจากจะเป็นการขยายตัวของธุรกิจหลัก อันประกอบไปด้วย ธนาคาร ไทยพาณิชย ์และเครือซีเมนต์ไทยแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปในภาคการ ผลิตที่สำคัญของประเทศ คือ ปิโตรเคมีและพลังงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจหลักคือ ปูนซีเมนต์นั้นอาจจะประสบกับปัญหาสภาพ ตลาดอิ่มตัวหรือผลิตเกินความต้องการภายในประเทศ ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 เครือซีเมนต์ไทย เพิ่มทุนสูงถึง 12,900 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความสามารถการผลิตซีเมนต์จาก 9.4 ล้านตันในปี 2533 เป็น 16.4 ล้านบาท ในปี 2536 เพื่อสนองตอบความต้องการซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง ดังกล่าว ในขณะเดียวกันคู่แข่งที่สำคัญของเครือซีเมนต์คือ ซีเมนต์นครหลวงไทยและ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (Thai Petrochemical Industry : TPI) ก็เพิ่มยอดการผลิตปูนด้วย รวมทั้ง
8 มิ.ย.2549
46
นโยบายของรัฐยกเลิกการจำกัดการนำเข้าปูนซีเมนต์ชั่วคราว (FAER 1990 : 66) ดังนั้น ผู้บริหารขง สำนักงานทรัพย์สินฯ และเครือปูนซีเมนต์ไทยเห็นว่า เครือซีเมนต์ไทยควรจะขยายไปสู่ธุรกิจใหม ่ปิโตรเคมีเพราะเป็นธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพและความพร้อม รวมทั้งสามารถสร้างผลกำไรได้เร็ว ภายใต้การนำของ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ คนปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในปี 2530 ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสา กรรมในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท ์ได้ผลักดันให้มีการเข้าไปลงทุนในธุรกิจ ปิโตรเคมีมากขึ้น ทั้งในรูปที่เครือปูนซีเมนต์เข้าไปร่วมลงทุนโดยตรง ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือราย ย่อย หรือสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปลงทุนด้วย ในทศวรรษ 2530 สำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปถือ หุ้น ร้อยละ 10 ของบริษัทบางจากปิโตรเลียม ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย รวมทั้งร่วมลงทุนกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยอีกหลายแห่ง อาทิเช่น ร่วมลงทุนในการ ขนส่งก๊าซธรรมชาติโดยการขนส่งทางท่อเพื่อสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรม 2,114 แห่ง ทั้งใน และนอกกรุงเทพฯ เงินลงทุนทั้งสิ้นเท่ากับ 4.4 พันล้านบาท ซึ่งลงทุนรวมกับ Tractebel of Belgium และ British Gas (International Gas Report 1996) นอกจากนี้ยังได้ร่วมทุนบริษัท สยามเคมิคัล ใน โครงการปิโตรเซนไทยแลนด ์หรือ Petro Chain (Thailand) เพื่อนำแนฟทา (Naphtha) มาใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิตโอเลฟินส์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นต้น การขยายตัวของการลงทุนทาง ธุรกิจของปิโตรเคมีของเครือซีเมนต์ได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เครือซีเมนต์ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท ไทยพลาสติก และเคมีภัณฑ์ (ทีพีซี) ของตระกูลเอื้อชูเกียรติผู้ผลิต PVC รายแรกและใหญ่ที่สุด ของไทย ในปลายทศวรรษ 2530 ธุรกิจปิโตรเคมีที่เกี่ยวข้องกับเครือซีเมนต์ไทยมีทั้งหมด 27 บริษัท ทั้งเป็นบริษัทในเครือและเป็นการร่วมทุนกับต่างประเทศ (เช่น ร่วมทุนกับ Mitsui Chemical แห่ง ญี่ปุ่น กับ Dow Chemical แห่งสหรัฐ (วิรัตน์ 2543 : 77)
ธุรกิจปิโตรเคมีได้กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ยอดขายรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเพียง 3,867 ล้านบาท ในปี 2535 และขยายตัวในอัตราปีละ 10,250 ล้านบาทในช่วงปี 2535 – 2539 ส่งผลให้ในปี 2539 ยอดขายรวมเพิ่มขึ้นเป็น 18,200 ล้านบาท หรือขยายตัวเป็น 4.7 เท่า เมื่อ เทียบกับปี 2535 โดยที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 83 ล้านบาท ในปี 2535 เป็น 727 ล้านบาท ในปี 2539 (รายงานประจำปี 2539 เครือซีเมนต์ไทย) รายได้จากธุรกิจปิโตรเคมีได้กลายเป็นรายได้หลักและ สำคัญของเครือซีเมนต์โดยเฉพาะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและหลังจากนั้นทางเศรษฐกิจในปี 2544 เป็น ต้นมา และได้กลายเป็นธุรกิจหลัก Core Business ภายใต้ระยะเวลาอันรวดเร็วและได้ก้าวลํ้าหน้า ธุรกิจซีเมนต์ในทศวรรษ 2540
8 มิ.ย.2549
47
วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ ( ส่วนแรก )
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 9:02 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น