ประเทศเนปาลหรือที่รู้จักกันดีว่า เป็นดินแดนแห่งมรดกของโลกโดยเฉพาะ ป่าจิตตวัน หรืออุทยานแห่งชาติแห่งแรกของเนปาลที่องค์การยูเนสโก ได้รวมเข้าเป็นมรดกของโลก เมื่อปี 2527 และเป็นดินแดนที่ มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนเนื่องจาก ลุมพินี เป็นสถานที่ประสูติ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถาน 1 ใน 4 แห่ง ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างเดินทางมาเพื่อสักการบูชา นอกจากนี้ยังมียอดเขาที่สวยที่สุดและสูงที่สุดในโลก นั่นก็คือเทือกเขาหิมาลัย และยอดเขาเอเวอร์เรส ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตนักผจญภัยต่างมุ่งหวังที่จะพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกนี้
ประเทศ เนปาล มีจำนวนประชากร 23 ล้านคน ประชากรเนปาลกว่า 90% นับถือศาสนาฮินดู 8% นับถือศาสนาพุทธ และ 2% นับถือศาสนาอื่นๆ อาทิ คริสต์ และ อิสลาม
ประชากรของเนปาลแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งกลุ่มที่ได้รับการยกย่อง และมีอำนาจมากที่สุด ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพทย์ กลุ่มที่สำคัญรองลงมา คือ ชาวเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศ เนปาล ทั้งนี้การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของเนปาล อันได้แก่ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณะ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
เนปาล เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษํตริย์เป็นประมุข กษํตริย์คยาเนนทรา ราชวงศ์ชาห์ (Shah dynasty) ของกษัตริย์คเยนทราสืบราชสมบัติยาวนานกว่า 238 ปีในประวัติศาสตร์ของเนปาล กษํตริย์คยาเนนทรา ขึ้นครองราชย์ หลังจากเกิดเหตุการณ์ ฆ่าหมู่ยกครัวขึ้นมาในพระราชวังเมื่อ 1 มิถุนายน 2001 - กษัตริย์ Birendra พระราชินี Aishwarya และสมาชิกราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์จากการยิงด้วยพระโทสะของเจ้าชาย Dipendra และสังหารพระองค์เองด้วยอาวุธปืน
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2545 กษัตริย์คยาเนนทรา ได้ทำการยุบสภา ยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด และประกาศตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การปกครองของกษัตริย์ขึ้น ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พรรคการเมืองเนปาล ทั้ง 5 พรรคจึงได้เสนอชื่อผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายกรัฐมนตรีหุ่นที่กษัตริย์ตั้งขึ้น แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลและกษัตริย์ จนกระทั่งวันที่ 9 เมษายน 2547 ทั้ง 5 พรรคการเมืองได้จัดชุมนุมใหญ่เพื่อเรียกร้องให้กษัตริย์คืนอำนาจให้ประชาชน เป็นผลให้มีประชาชนถูกจับกุมมากถึง 20,000 คน รวมทั้งผู้นำพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค แต่ประชาชนยังออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทำให้กษัตริย์ได้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมในเวลาต่อมา แต่การต่อต้านยังคงขยายตัวลุกลามไปทั่วประเทศ ไม่มีกลุ่มใดสนับสนุนรัฐบาลที่ตั้งขึ้นจากการยึดอำนาจ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ สหภาพแรงงาน นักศึกษา ทุกกลุ่มต่างสามัคคีกันเพื่อที่จะล้มรัฐบาลชุดนี้
ต่อมาพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคได้ถูกกษัตริย์แบ่งแยก โดยยื่นข้อเสนอให้เข้าพบเป็นรายพรรค และเสนอผลประโยชน์ให้ในระดับต่างๆ จนทำให้พรรคการเมืองทั้ง 5 แตกแยกกันในที่สุด จากการกดดันอย่างหนักหน่วงประชาชน ทำให้กษัตริย์แต่งตั้งนายดีฟบรา จากพรรคคองเกรสใหม่ เป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว แต่ต่อมาได้เข้ายึดอำนาจอีกครั้งเมื่อ ปกครองได้เพียง 6 เดือน โดยกษัตริย์คยาเนนทรา ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 โดยอ้างว่าได้ทำตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ที่ให้อำนาจกษัตริย์ล้มรัฐบาลได้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ และไม่สามารถเจรจากับกลุ่มเหมาอิส (Maoist) ในการรักษาความสงบเรียบร้อยได้ ซึ่งกลุ่มเหมาอิสนี้เป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกับรัฐบาล และเดิมเป็นกลุ่มหัวรุนแรงในพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้แยกตัวออกไป ความขัดแย้งนี้มีสาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมทางสังคม ระบบชนชั้น ความด้อยโอกาส และความยากจน ทำให้เหมาอิสได้รับการยอมรับในหัวเมืองชนบทต่างๆ เนื่องมาจากการต่อต้านความอยุติธรรมต่างๆ แต่การยึดอำนาจของกษัตริย์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ส่งผลให้วิกฤติการณ์ทางการเมืองของเนปาลยิ่งขยายวงกว้างและลึกมากขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ประชาชนเนปาลได้ทนทุกข์กับความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่เกิดจากการปกครองของกษํตริย์
และในทันทีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศขึ้น ส่งผลให้เกิดการจับกุม คุมขัง นักการเมือง นักศึกษา เยาวชน รวมทั้งการใช้กำลังกดดัน ขบวนการเพื่อสันติภาพทางการเมือง และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งต่างเชื่อว่าการก้าวเข้ามาแก้ปัญหาโดยการเข้ามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจผ่านกองกำลังทหาร จะผลักดันให้ประเทศเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจำกัดสิทธิของแรงงาน สหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน
ความเกี่ยวข้องกับขบวนการแรงงาน
จากการจับกุมประชาชนจำนวนมากอย่างไม่มีเหตุผล ปราศจากหลักฐาน และการตักเตือน พวกเขาถูกจับกุมด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงของประเทศ ตามกฎหมายความมั่นคง ปี 1990 ซึ่งอนุญาตให้จับกุมคุมขังสูงสุดได้ 90 วัน ผู้นำแรงงานของสหพันธ์แรงงานเนปาล (GEFONT) ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2548 คือ Mr. Dharmanan da Pant ซึ่งเป็นประธาน ของ สหพันธ์แรงงานเนปาล (GEFONT) ถูกจับกุมภายในบ้านโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ซึ่งสาเหตุมาจากการที่เขาได้กล่าวคำขวัญว่าต้องการสันติภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ในการประชุมระดับชาติของสหพันธ์แรงงานเนปาล (GEFONT Zonal) ที่ผ่านมา
กษัตริย์จะจับกุมทุกคนที่สามารถจัดเดินขบวนชุมนุม ทั้งประเด็นทางการเมือง หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยใช้กำลังตำรวจเข้าปราบปราม การประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นกฎและข้อบังคับ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานสหภาพฯ และเป็นการต่อต้านสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพแรงงาน ในการดำเนินกิจกรรมอย่างอิสระ เนื่องจากมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการชุมนุม เกินกว่า 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล รวมทั้งการเข้ายึดครองที่ทำการสหภาพแรงงานและมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด
การเมืองเนปาลเข้าสู่ภาวะวุ่นวาย ไร้เสถียรภาพ เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างกองทัพของกษัตริย์ กับพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) หรือกบฏลัทธิเหมานำโดยสหายประจันดา (Prachanda) ที่จับอาวุธสู้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 จนฝ่ายกบฏมีฐานที่มั่นอยู่ใน 50 จังหวัดจาก 75 จังหวัดของเนปาล และสงครามกลางเมืองก็ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 12,500 ราย
การเคลื่อนไหวต่อสู้ของพรรคการเมืองและกลุ่มกบถลัทธิเหมานับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ทำให้ประชาชนเนปาลเกิดความตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และมีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่า การปกครองของกษํตริย์ คือ ตัวการฉุดรั้งให้ประเทศเนปาลตกอยู่ในสภาพล้าหลัง ชีวิตของชาวเนปาลอดอยาก ยากจน ด้วยเพราะเหตุที่กษัตริย์คือพวกอภิสิทธิชน ครอบครองทรัพย์สินจำนวนมาก หากินบนสันหลังของชาวเนปาล อุดมการจารีตนิยมที่เชื่อว่ากษัตริย์คือสมมุติเทพ มากด้วยบารมีและคุณความดีนั้นกลายเป็นเรื่องเหลวไหลไปแล้ว คนเนปาลไม่ยอมรับกษัตริย์กระทั่งขนานนามกันว่า นี่เป็นไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเนปาล
ต่อมามีการเรียกร้องให้กษัตริย์คเยนทราสละอำนาจการปกครอง และการประท้วงได้ขยายตัวเป็นวงกว้างทั้งในเนปาลและในต่างประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2005 ซึ่งพรรคการเมือง 7 พรรคในเขตเมืองร่วมกับกบฏลัทธิเหมาในชนบทร่วมกันต่อต้านกษัตริย์กษัตริย์คยาเนนทรา ทำให้เกิดการประท้วงของมวลชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยจำนวนมหาศาล และในการปราบปรามการชุมนุมครั้งนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้มวลชนในท้องถนนเผาหุ่นของกษัตริย์และประณามกษัตริย์กษัตริย์คยาเนนทรา ว่าเป็นฆาตกรและบีบให้พระองค์คืนระบอบรัฐสภาในปลายเดือนเมษายน 2549ที่ผ่านมา
ข้อตกลงสันติภาพ กับอนาคตกษัตริย์เนปาล
หลังจากเนปาลคืนสู่ระบอบรัฐสภาในเดือนเมษายน 2549 ได้มีการหยุดยิงระหว่างรัฐบาลและกบฏลัทธิเหมาและเมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมากบฏลัทธิเหมา โดยพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) และรัฐบาลประสบความสำเร็จในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ฝ่ายกบฏเข้าร่วมเป็นรัฐบาล และภายหลังจากกระบวนการเจรจาสันติภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลเห็นชอบที่จะให้กบฏลัทธิเหมามีที่นั่งในสภาชั่วคราว 73 ที่นั่งจากทั้งหมด 330 ที่นั่ง แลกกับฝ่ายกบฏยอมส่งมอบอาวุธและกองทัพให้อยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ
ข้อตกลงสันติภาพระบุให้เริ่มมีการตัดสินทิศทางของสถาบันกษัตริย์ ในการประชุมครั้งแรกหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลในปี 2550
ดร.ราม ซารัน มหัต รัฐมนตรีคลังเนปาล เปิดเผย ว่า รัฐบาลชุดใหม่มีแผนจะออกกฎหมายเพื่อยุติการใช้พระราชอำนาจ และความเป็นอภิสิทธิ์ชนขององค์พระมหากษัตริย์ และดึงกองทัพมาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการยุติธรรมชุดใหม่ที่นายกรัฐมนตรีกิริยา ปราสาท คอยราลา จัดตั้งขึ้นก็ดำเนินการสอบสวนกษัตริย์กษัตริย์คยาเนนทรา เรื่องการปราบปรามกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อเดือนที่แล้วด้วยความรุนแรง ผลการสอบสวนในราวกลางเดือนพฤศจิกายน 49 ปรากฏเป็นความผิดในฐานะที่สั่งให้ใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากมาย
ด้านสื่อมวลชนในเนปาล มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยมีมาก่อน เกือบทุกฉบับได้รายงานเรียกร้องให้ กลุ่มพรรคการเมืองพันธมิตร ตระเตรียมที่จะยุติบทบาททางการเมืองของกษัตริย์และราชวงศ์ และมอบสิทธิในการเลือกประมุขใหม่ ตลอดจนถอดพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ในการเลือกผู้นำกองทัพ เปลี่ยนชื่อกองทัพจากกองทัพหลวงแห่งเนปาล เป็น กองทัพเนปาล ยกเลิกองคมนตรี ตลอดจนเรื่องที่จะให้กษัตริย์จ่ายภาษีเงินได้ และภาษีอสังหาริมทรัพย์เป็นครั้งแรก และเลิกงบประมาณรายจ่ายของทางสำนักพระราชวัง ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่า เพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านรูปี (ประมาณ 70 ล้านบาท) ไปเป็น 600 ล้านรูปี (ประมาณ 350 ล้านบาท) ในระหว่างที่กษัตริย์คยาเนนทรายึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี2548
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดใหม่ของนายกณคอยราลาได้เริ่มตามล้างตามเช็ดคนของกษัตริย์คยาเนนทราแล้ว มีการควบคุมตัวอดีตรัฐมนตรี 5 คน และสั่งพักงานเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงหลายคน รวมทั้งเตรียมการยึดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่งอกเงยขึ้นมาจากความเป็นอภิสิทธิ์ชนในเนปาลมาหลายปีแล้ว
นอกจากนี้ นายปราบู นารายัน ชอดารี รมต.ปฏิรูปที่ดินและการจัดการของเนปาล เปิดเผย ว่า เจ้าหน้าที่กำลังเก็บรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินและทรัพย์สินภายใต้การครอบครองของกษัตริย์คยาเนนทรา และสมาชิกราชวงศ์องค์อื่นๆ ซึ่งคาดว่าถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 1,700 เฮกเตอร์ทั่วประเทศ และหากพบว่ามีการถือครองเกินกว่าเพดานที่กำหนดเอาไว้หรือครอบครองไว้โดยไม่มีการใช้สอย ก็จะยึดมาเพื่อมอบให้กับเกษตรกรที่ยากจนไว้ทำกินต่อไป
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ร่างโดยสองฝ่ายคือรัฐบาลและกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2549 นั้น ระบุให้โอนอำนาจกษัตริย์คเยนทราในฐานะประมุขของรัฐมายัง นายกรัฐมนตรีกิริยา ปราสาท กัวราลา (Girija Prasad Koirala) ด้วยซึ่งหมายถึงประเทศเนปาลที่มีประมุขของประเทศเป็นสามัญชนจะอยู่ในอำนาจภายใต้รัฐบาลเฉพาะกาลไปจนถึงกลางปี 2550
นายมัดฮับ คูมา เนปาล , เลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อรวมมาร์กซิสต์เลนินนิสต์เข้าด้วยกัน (the Communist Party of Nepal-Unified Marxist Leninist - CPN-UML) พรรคการเมืองอันดับสองของเนปาลกล่าวยืนยันอีกครั้งว่า กษัตริย์ คือไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายแห่งเทือกเขาหิมาลัย หากกษัตริย์หวนคืนสู่อำนาจการเมืองอีกครั้ง ทางพรรคของเขาก็จะจัดตั้งชาวเนปาลและลุกขึ้นสู้ทุกรูปแบบเพื่อทำการกำจัดระบบกษัตริย์ ให้สิ้นซากไปจากเนปาล
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเนปาลครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของขบวนการประชาชนที่จัดตั้งกันขึ้นมาเป็นกลุ่มเป็นองค์กร ขยายตัวเติบใหญ่ จากขนาดเล็ก ไม่กี่คนกลายมาเป็น ขบวนการขนาดใหญ่ อาทิเช่น ขบวนการสหภาพแรงงาน ขบวนการนักศึกษาปัญญาชน ขบวนการชาวนา โดยเชื่อมโยงประสานกันเป็นพลังทางการเมือง มีพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลและขบวนการฝ่ายซ้ายที่จับมือกัน สร้างพันธมิตรกับพรรคการเมืองส่วนใหญ่ทำการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ ที่เป็นระบอบการเมืองที่ล้าหลังในเนปาลเป็นผลสำเร็จ
ผู้นำกบฏเหมาอิสต์แห่งเนปาล นาย ประจันดา ประกาศจะยกเลิกสถาบันกษัตริย์และสร้าง "เนปาลใหม่" เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2550 ที่ผ่านมา เป็นการเดินขบวนใจกลางของเมืองหลวงกาฐมาณฑุเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปีเพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 11 ปีแห่งการเริ่มต้นทำสงครามต่อสู้กับรัฐบาลของกลุ่มกบฏเหมาอิสต์ ซึ่งสงครามได้สิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
"หากไม่มีการกำจัดสถาบันกษัตริย์ให้สิ้นไป เนปาลใหม่จะไม่เกิดขึ้น" ประจันดา กล่าว ในขณะที่ฝูงชนต่างโบกธงและโห่ร้องแสดงความยินดี
สามวันต่อมา เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2550 ที่ผ่านมา กษัตริย์คเยนทราแห่งเนปาลเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระวิษณุนารถ กลางกรุงกาฐมาณฑุเพื่อร่วมในเทศกาลศิวะราตรี ซึ่งนี่เป็นครั้งที่สองที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินในที่สาธารณะนับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล หรืออดีตกบฏลัทธิเหมา (Maoist) เข้าร่วมในรัฐบาลเฉพาะกาลไม่มีรัฐมนตรีในรัฐบาลเข้าร่วมงานเทศกาลดังกล่าว
กษัตริย์คเยนทราประทับในรถยนต์พระที่นั่งยี่ห้อเมอเซเดสสีดำ เข้ามายังวัดพระวิษณุนารถ พร้อมกับรถนำขบวน มีฝูงชนห้อมล้อมตลอดสองข้างทางส่วนหนึ่งตะโกนสนับสนุนพระองค์ ขณะที่อีกกลุ่มตะโกนคำขวัญต่อต้านกษัตริย์ หลังจากเสด็จออกจากวัด ภายหลังจากที่พระองค์ใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมงในวัด ได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งขว้างก้อนหินเข้าใส่รถยนต์พระที่นั่ง
บทความโดย : สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ลำดับเหตุการณ์ ประว้ติศาสตร์การเมืองเนปาล
(ถอดความโดยประชา แม่จัน)
Reuters, AlertNet, 8 กุมภาพันธ์ 2548
กัฑมาณธุ - เมื่อวันอังคาร (1 ก.พ. 2548) กษัตริย์ กิเนนทรา ยึดอำนาจรัฐบาลเนื่องจากความล้มเหลวในการฟื้นฟูสันติภาพหรือจัดการเลือกตั้ง อำนาจของตัวเขาเองเป็นศูนย์กลางตอบโต้สงครามกลางเมืองกับกบฎลัทธิเหมา
ต่อไปเป็นลำดับเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของราชอาณาจักรหิมาลัย
* 1948 - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญเนปาลฉบับแรก จากการหยุดยั้งการเผชิญหน้ากับฝ่ายค้าน นายกรัฐมนตรี Padma Shamsher Rana ลาออก
* 1955 - กษัตริย์ Tribhuvan สวรรณคต กษัตริย์ Mahendra ขึ้นครองราชย์
* 1959 - ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก พรรค centrist Nepali Congress ชนะเสียงข้างมากอย่างสัมบูรณ์
* 1960 - B.P. Koirala ผู้นำพรรค Nepali Congress หัวหน้ารัฐบาลประชาชนแรก นโยบายของเขาถูกต้านจากกษัตริย์ Mahendra ผู้ไล่นายกรัฐมนตรีออกไป และห้ามพรรคการเมืองและยึดอำนาจควบคุมรัฐบาลโดยตรง
* 1972 - กษัตริย์ Mahendra สวรรณคต กษัตริย์ Birendra พระโอรสขึ้นครองราชย์
* 1990 - กษัตริย์ Birendra ยกเลิกการห้ามพรรคการเมืองที่ยาวนาน 30 ปี และนำไปสู่ระบบราชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ
* พฤษภาคม 1991 - Girija Prasad Koirala ของพรรค Nepali Congress รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากประชาชนคนแรกในรอบ 30 ปี
* มิถุนายน 1994 - Koirala ลาออก หลังจากแพ้การลงมติในรัฐสภา นำไปสู่การไร้เสถียรภาพที่ยาวนาน
* กุมภาพันธ์ 1996 - กบฎลัทธิเหมาเปิดการต่อสู้ด้วยอาวุธโดยมีเป้าหมายแทนที่ระบบราชาธิไตยรัฐธรรมนูญด้วยสาธารณรัฐพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเดียว
* มกราคม 1999 - กษัตริย์ Birendra ยุบสภา
* 1 มิถุนายน 2001 - กษัตริย์ Birendra พระราชินีAishwarya และสมาชิกราชวงศ์ถูกปลงพระชนม์จากการยิงด้วยพระโทสะของเจ้าชาย Dipendra และสังหารพระองค์เองด้วยอาวุธปืน
* 4 มิถุนายน 2001 - เจ้าชาย กิเนนทรา ขึ้นครองราชย์
* กรกฎาคม กลุ่มลัทธิเหมาเพิ่มความรุนแรง Sher Bahadur Deuba ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลชุที่ 11 ในรอบ 11 ปี หลังจาก Koirala ลาออก
* 23 กรกฎาคม 2001 - Deuba ประกาศสงบศึกกับฝ่ายกบฎ และเริ่มต้นพักรบชั่วคราว
* 21 พฤศจิกายน 2001 - กลุ่มลัทธิเหมากล่าวการเจรจาล้มเหลว ไม่มีการพักรบต่อไป
* 23 พฤศจิกายน 2001 - กษัตริย์ กิเนนทรา ประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลประกาศ กลุ่มลัทธิเหมา เป็น "องค์กรก่อการร้าย"
* 4 ตุลาคม 2002 - กษัตริย์ กิเนนทรา ปลดนายกรัฐมนตรี Deuba และควบคุมอำนาจบริหาร แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ Lokendra Bahadur Chand เป็นนายกรัฐมนตรี
* 30 พฤษภาคม 2003 - Chand ลาออกหลัง 1 เดือนของการประท้วงนำโดยพรรคการเมืองที่เรียกร้องให้กษัตริย์แต่งตั้งผู้ท่พวกเขาเสนอชื่อหรือฟื้นฟูรัฐสภา
* 4 มิถุนายน 2003 - กษัตริย์ กิเนนทรา แต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ Surya Bahadur Thapa เป็นนายกรัฐมนตรี
* 7 พฤษภาคม 2004 - Surya Bahadur Thapa ลาออกเนื่องจากการประท้วงนานหลายสัปดาห์
* 2 มิถุนายน 2004 - กษัตริย์ กิเนนทรา แต่งตั้ง Deuba เป็นนายกรัฐมนตรี
* 1 กุมภาพันธ์ 2005 - กษัตริย์ กิเนนทรา ล้มรัฐบาลและยึดอำนาจเป็นของพระองค์
ที่มาของบทความ : http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=381
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550
พระมหากษัตริย์เนปาล ไดโนเสาร์ตัวสุดท้ายแห่งเทือกเขาหิมาลัย
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 6:53 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น