แปลจาก Our Correspondent
26 January 2007
But what happens when the King of Thailand dies?
Prince Vajiralongkorn, a 54-year-old former air force pilot, is more feared than respected. His reputation is that of a womanizer and a thug and he has proved a constant embarrassment to the image-obsessed palace. Naked pictures of Vajiralongkorn’s latest wife, Srirasmi Akharaphongpreecha, were so widely distributed that palace officials warned local journalists that they would be arrested if caught emailing them to friends.
http://asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=353&Itemid=31
ทรงพระเจริญ !
แต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้าพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต ?
หลายคนบอกว่า ความมั่นคงและรุ่งโรจน์ในอนาตของประเทศไทยนั้นถูกแขวนอยู่บนเส้นใยอันบอบบางของชายคนสำคัญผู้มีอายุ 79 ปีเขาได้รับความเชื่อถือจากการดูแลวิกฤติการณ์ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาได้รับการเทิดทูลจากประชาชนส่วนใหญ่ของเขา และนักการเมืองที่เป็นศัตรูกับกับบริวารผู้จงรักภักดีในตัวเขาจะต้องพบกับเคราะห์ร้าย
รัฐประหารเพื่อล้มล้างทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วทำขึ้นในนามของเขาโดยเหล่านายทหารผู้จงรักภักดี เป็นตัวอย่างล่าสุดที่แสดงถึงอำนาจของเขา แต่วันใดวันหนึ่งกษัตริย์ภูมิพลก็จะต้องตาย"สิ่งต่างๆในกรุงเทพอาจจะดูเรียบร้อยดีขณะที่พระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีชีวิตอยู่ แต่อะไรจะเกิดขึ้นหากทรงสิ้นพระชนม์?" ชายผู้มีอายุ 63 ปีกระซิบเบาๆ ในการสนทนากันเป็นส่วนตัว เช่นเดียวกับคนไทยส่วนใหญ่ ชายคนนี้พูดถึงพระมหากษัตริย์ด้วยเสียงกระซิบกระซาบเพราะกลัวสังคมจะตำหนิหรืออาจจะถึงขั้นถูกจำคุก "นี่แหละคือเหตุผลว่าทำไมที่การปฏิวัติจึงเป็นสิ่งเลวร้าย เพราะมันจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีในอนาคต เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยว"
สุขภาพของเขาเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองด้วยความห่วงใย เมื่อเดือนกรกฎาคมมีคนหลายพันคนเข้าแถวบนถนนเพื่ออวยพรให้เขามีพลานามัยภายหลังจากการผ่าตัดช่องแคบในกระดูกไขสันหลังส่วนล่าง นับแต่นั้น เขาก็มักจะไม่ปรากฏต่อสาธารณชน ในการพูดในวันครบรอบวันเกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม เขาปรารภว่า "สุขภาพร่างกาย" ไม่อำนวยให้เขายืนในโอกาสดังกล่าว แม้ว่าจิตใจของเขายังคง "ดีพอสมควร"
นานกว่า 60 ปี แห่งการอยู่บนบัลลังก์ เขาเป็นเพียงหนึ่งเดียวที่ดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลงในปรากฏการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย เทพแห่งความตายผู้มีบุคลิกภาพอันสงบเยือกเย็นลอยตัวอยู่เหนือความวุ่นวาย นับแต่ปี 1946 (พ.ศ. 2489) ภูมิพลมีชีวิตที่ผ่านรัฐธรรมนูญมา 13 ฉบับ รัฐประหารทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จรวม 16 ครั้ง และนายกรัฐมนตรี 26 คน เขาได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญของประเทศไทยจากประเทศที่แช่อยู่กับเรื่องเหนือธรรมชาติและความยากจน ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่"ประเทศนี้ไม่เคยพร้อมรับกับการตายของกษัตริย์" ข้าราชการอาวุโสผู้ทำงานภายใต้นายกรัฐมนตรีมา 8 คน กล่าว "นี่เป็นเรื่องที่กระทบจิตใจได้ง่ายสำหรับจะมาพูดกัน แต่มันก็เป็นเรื่องจริงเป็นอย่างยิ่ง" เวลาแห่งการสั่นสะเทือนครั้งใหญ่กำลังจะมา
ความรักที่คนไทยมีต่อกษัตริย์นั้นเป็นเรื่องจริง ยากที่จะไปจินตนาการถึงการเปลี่ยนแปลงในความภักดีอย่างลึกซึ้งต่อสถาบันกษัตริย์แม้ว่าภูมิพลจะหายจากภาพไปแล้ว ดังที่ Paul Handley ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ King Never Smiles ว่า พวกนิยมกษัตริย์มีความลำบากเป็นอย่างยิ่งในการเชิดชูกษัตริย์ให้เป็นดังเทพเจ้า ความพยายามที่ได้ทำกันมาเป็นเวลานานหลายสิบปี เพื่อจะทำให้ระบบกษัตริย์ซึ่งเคยอยู่ริมขอบการเมืองไปสู่ความเป็นเสาหลักทางการเมืองอย่างถูกกฎหมาย ไม่ใช่สิ่งที่จะลบล้างกันได้ง่ายเพียงชั่วข้ามคืน แม้บุคคลผู้ถือกำเนิดในสหรัฐอเมริกา เด็กชายผู้ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ จะกลายมาเป็นกษัตริย์ผู้ยึดมั่นในธรรมะของพุทธศาสนาในที่สุด แต่การปรากฎขึ้นของกษัตริย์ผู้เป็นดังเทพยดา ก็เป็นเครื่องถ่วงความเจริญทั้งทางการเมืองและทางระบบยุติธรรมของประเทศ ดังจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากความวุ่นวายที่นำมาสู่การปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน
เมื่อนักหนังสือพิมพ์อย่างสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งจริงๆแล้วถูกลากเข้าไปในความขัดแย้งระหว่างทักษิณกับทางพระราชวัง ได้เริ่มต้นวาระในการขับไล่ทักษิณของเขา เขาได้จำหน่ายจ่ายแจกเสื้อยืดสีเหลืองซึ่งมีข้อความ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" แม้ว่าถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วจะไม่เห็นสิ่งใดสักอย่างที่จะกระทบต่อราชบัลลังค์ แต่หลังจากนั้นไม่นาน นักวิชาการผู้นิยมลัทธิกษัตริย์ก็เริ่มเถียงกันว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กษัตริย์จะสามารถใช้บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญซึ่งบัญญัติไว้อย่างกำกวมเพื่อขับทักษิณออกไปแล้วตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมา ก่อนที่ทักษิณจะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2006 (พ.ศ.2549) หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ประกาศว่าทางพรรคจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งและขอให้ภูมิพลตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
แต่แล้วภูมิพลก็ได้ลอยละล่องลงมาจากสวรรค์เมื่อวันที่ 25 เมษายน เพื่อขอให้บรรดาผู้พิพากษาในประเทศ "แก้ไขปัญหา" ซึ่งเกิดขึ้นจากการคว่ำบาตรการเลือกตั้งภายในเวลา 2 สัปดาห์ ศาลผู้ภักดีก็ได้ประกาศให้การเลือกตั้งซึ่งพรรคไทยรักไทยของทักษิณได้รับชัยชนะมาอย่างง่ายดายนั้นเป็นโมฆะ ศาลทั้ง 3 ศาล ซึ่งไม่มีอำนาจใดๆตามกฎหมายนอกจากได้รับการสนับสนุนจากภูมิพลได้ออกมาเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ดูแลการเลือกตั้งลาออก เมื่อคณะกรรมการดังกล่าว
ปฏิเสธโดยอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายมาขับไล่พวกเขา ศาลซึ่งมีวังอยู่เบื้องหลังก็สามารถพบตวามผิดของคนเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและปฏิเสธที่จะให้ประกันตัว ด้วยวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว คือ ต้องการขับคนเหล่านั้นออกจากตำแหน่ง
ขณะที่สงครามวิปริตทางด้านกฎหมายได้เกิดขึ้น ก็เกิดการต่อสู้เยี่ยงคนแปลกหน้าระหว่างทักษิณกับที่ปรึกษาสูงสุดของกษัตริย์หรือประธานองคมนตรี เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเกษียณจากราชการไปแล้วและเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาก่อน
ทักษิณรู้ว่ากำลังมีการวางแผนก่อการปฏิวัติ เขาได้พยายามบอกให้โลกรู้ว่าภัยอันตรายอันอาจถึงแก่ชีวิตกำลังจะเกิดขึ้นกับเขา ในจดหมายถึงประธานาธิบดี George W Bush ของสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 23 มิถุนายน เขาเขียนไว้ว่า "หลังจากที่ได้ประสบความล้มเหลวในการยุยงให้เกิดความรุนแรงและความโกลาหล ศัตรูของผมก็พยายามใช้กลอุบายนอกเหนือรัฐธรรมนูญเพื่อทึกทักเอาว่าเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน" ในคำปราศรัยต่อบรรดาข้าราชการ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน เขาบอกว่า "ผู้มีบารมี" ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่าหมายถึงองคมนตรีหรือคนที่อยู่รอบบัลลังค์ ต้องการจะกำจัดเขา แต่สังคมกลับตอบโต้ทักษิณอย่างรุนแรงแม้ว่ามันจะจริงสักเพียงใด
เปรมใส่ชุดทหารเต็มยศและเดินสายกล่าวโอวาทตามฐานทัพหลายแห่ง เขากล่าวซ้ำๆว่าทหารไม่ควรภักดีต่อรัฐบาลแต่พึงซื่อสัตย์ต่อกษัตริย์ หลายคนเห็นว่านี่คือการให้ไฟเขียวแก่บรรดานายพลให้ทำการยึดอำนาจเปรมถูกมองว่าเป็นผู้วางแผนที่อยู่เบื้องหลังความวุ่นวาย ภูมิพลได้พบกับคณะรัฐประหารหลายชั่วโมงหลังจากพวกเขานำรถถังเข้ากรุงเทพ มอบความชอบธรรมแก่นักปฏิวัติให้ปรากฏสายตาของสาธารณชน นอกจากนั้นเขายังให้การสนับสนุนโดยไม่มีเงื่อนไขแก่รัฐบาลของสุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งตั้งโดยคณะทหาร จากข้อมูลหลายแห่ง เมื่อไม่นานมานี้ภูมิพลได้ยับยั้งการปฏิวัติครั้งที่สองโดยปฏิเสธจากนายทหารบางคนซึ่งต้องการจะขับไล่รัฐบาลของสุรยุทธ์ ในขณะที่พวกชนชั้นสูงรุ่นเก่าและพวกกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยมองทักษิณว่าเป็นตัวอันตราย (ที่มีความชอบธรรม) สิ่งที่ยังจะต้องคอยดูต่อไปก็คือการควบคุมสังคมไทยโดยระบบกษัตริย์จะถูกส่งผ่านไปยังบุตรชายเพียงคนเดียวของเขาคือมกุฎราชกุมารมหาวชิราลงกรณ์หรือไม่ แม้คนไทยจะรักและเชื่อถือกษัตริย์สักเพียงใด แต่กับเจ้าฟ้าชายแล้วกลับเป็นคนละเรื่อง
เจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ผู้มีอายุ 54 ปี เป็นอดีตนักบิน เป็นที่หวาดกลัวมากกว่าจะเป็นที่เคารพ มีชื่อเสียงในเรื่องเป็นนักล่าผู้หญิงและนิสัยชอบความรุนแรง เขาได้สร้างเรื่องน่าละอายให้กับภาพลักษณ์ที่คุ้นเคยของพระราชวังอย่างอยู่เสมอ ภาพเปลือยของศรีรัศม์ อัครพรปรีชา ภริยาคนล่าสุดของเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ถูกนำออกเผยแพร่ไปทั่วจนทางสำนักพระราชวังต้องเตือนนักข่าวในประเทศว่าพวกเขาจะถูกจับหากพบว่าส่งอีเมล์ภาพเหล่านี้ไปให้เพื่อนๆ
"ฉันอยากเห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้นในโรงหนังถ้าเจ้าฟ้าชายกลายเป็นกษัตริย์" นักข่าวผู้คร่ำหวอดกล่าวถึงวิถีของคนไทยที่จะยืนขึ้นเพื่อสรรเสริญภูมิพลก่อนจะมีการฉายภาพยนตร์
ความไม่ชอบเจ้าฟ้าชายนั้นตรงกันข้ามกับความเคารพที่มีอย่างแพร่หลายต่อบุตรีคนที่ 2 ของภูมิพล เจ้าฟ้าหญิงมหาจักรีสรินธร เธอมีลักษณะแบบกษัตริย์คล้ายบิดาของเธอ ผู้สังเกตการณ์หลายคนบอกว่าเธออาจจะทำให้ประเทศเป็นปึกแผ่นได้มากกว่าเจ้าฟ้าชาย
แต่อยากให้คุณทราบว่า เรื่องนี้ไม่เคยหารือกันอย่างเปิดเผย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถือว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอาญา ดังนั้นชะตาชีวิตของราชวงศ์จักรีซึ่งภูมิพลถือเป็นกษัตริย์องค์ที่ 9 ในปัจจุบันก็ได้ถูกซ่อนอยู่หลังประตูวังที่ถูกปิดจนคล้ายกับยุคกลางมากกว่าจะเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการซุบซิบทางอินเตอร์เน็ต
เรื่องการสืบทอดราชสมบัติยังคงลอยล่องอยู่บนอากาศ แม้หลายคนจะเชื่อว่า จากการโหมประชาสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งจะตกเป็นของเจ้าฟ้าชายในฐานะที่เป็นรัชทายาทแต่เพียงผู้เดียวของภูมิพล กฎมณเฑียรบาลปี 1924 (พ.ศ. 2467) ยึดหลักการบุตรคนโต และห้ามผู้หญิงสืบทอดราชบัลลังค์ แต่หลังจากนั้นก็มีการแก้ไขเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้หญิง มาตรา 23 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 1997 (พ.ศ.2540) บัญญัติว่าหากกษัตริย์ไม่ตั้งรัชทายาทองคมนตรีจะต้องเสนอชื่อเจ้าชายหรือเจ้าหญิงให้ขึ้นครองราชย์ โดยรัฐสภาจะเป็นผู้เลือก
"แต่การปฏิวัติได้ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ปี 1997 (พ.ศ.2540) ทำให้ชัดเจนว่าการตัดสินใจเลือกกษัตริย์จะเป็นอย่างไร" บางคนบอกว่ากษัตริย์อาจเลือกบุตรหรือบุตรีของเขา ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะราบรื่นภายหลังจากที่เขาตายไป คนไทยจำนวนมากอาจจะเต็มใจยอมรับเจ้าฟ้าชาย หากกษัตริย์แต่งตั้งขณะที่มีชีวิตอยู่
สิ่งที่เข้ามาช่วยเจ้าฟ้าชายก็คือการมีบุตรชายคือ ทีปังกร รัศมีโชติ จากภริยาวัย 36 ปี ของเขา เมื่อเดือนเมษายน ปี 2005 (พ.ศ.2547) แม้ว่าเจ้าฟ้าชายจะมีบุตร 4 คน กับภริยาที่ถูกกฎหมายคนก่อน แต่ทีปังกรเป็นคนแรกที่ถือว่าเป็นรัชทายาท ซึ่งเป็นประกันว่าสายราชวงศ์จะดำรงอยู่ต่อไป เจ้าฟ้าหญิงสิรินธรวัย 51 ไม่เคยแต่งงานและไม่มีลูก แม้เธออาจจะนับว่าทีปังกรเป็นรัชทายาทหากเธอขึ้นเป็นกษัตริย์
"บางคนคิดว่าการให้สิรินธรขึ้นดำรงตำแหน่งจะทำให้มีความสงบได้ในช่วงสั้นๆ แต่นั่นไม่ใช่เรื่องดีสำหรับราชวงศ์" นักการฑูตชาวตะวันตกกล่าว "มกุฏราชกุมารเป็นรัชทายาทสายตรงที่สืบทอดจากกษัตริย์ หากสายสกุลโดยตรงขาดไป สิ่งต่างๆก็จะยุ่งเหยิงขึ้น" ทางเลือกทั้งสองทางก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆโดยส่วนใหญ่ของประเทศนี้คือจะต้องถูกเก็บไว้เป็นความลับ ยังไม่แน่ว่าบรรดานายพลจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้หรือไม่ และตัวของเจ้าฟ้าหญิงเองก็มิได้แสดงความปราถนาที่จะสืบทอดต่อจากบิดาของเธอ แม้ว่าสาธารณชนจะต้องการให้เป็นเช่นนั้น
เมื่อไม่นานมานี้เจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์พยายามจะปรับปรุงภาพลักษณ์ใหม่ด้วยการทำงานการกุศลและเยี่ยมเหยื่อจากการก่อการร้ายในพื้นที่มุสลิมทางภาคใต้ เมื่อเร็วๆนี้เขาขับเครื่องบินพาณิชย์จากกรุงเทพสู่เชียงใหม่ในเที่ยวบินการกุศลเพื่อหาทุนเพื่อผู้ปฎิบัติงานในดินแดนมุสลิมภาคใต้ เที่ยวบินนี้มีแขกระดับ VIP 112 คน จ่ายเงินค่าที่นั่ง เที่ยวบินนี้หาเงินการกุศลได้ 80 ล้านบาท
นับแต่มีการปฏิวัติ เจ้าชายก็ได้ปฏิบัติหน้าที่แทนกษัตริย์ เมื่อเดือนตุลาคมเขาได้ร่วมในพิธิเปิดสภา นับเป็นครั้งแรกที่กษัตริย์ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เอง เมื่อเดือนที่แล้วเขาได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งแรกของสมัชชาประชาชนซึ่งจะทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ งานนี้ปกติจะเป็นงานของกษัตริย์เท่านั้นแม้บรรดานักวิชาการและเหล่าบรรณาธิการจะเห็นว่าการปฏิวัติเป็นสิ่งชั่วร้ายที่จำเป็นเพื่อฟื้นฟูระบบประชาธิปไตยที่ทักษิณทำลายลง แต่บางคนกลับเห็นว่านี่เป็นเพียงแค่การขจัดอุปสรรคให้กับรัชทายาทของราชวงศ์ พวกเขากล่าวว่าทักษิณไม่ใช่เพียงแค่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทย แต่เขายังเป็นแหล่งเงินให้เจ้าฟ้าชายและราชนิกุลหลายคนได้อยู่อย่างหรูหรา การขจัดทักษิณออกจากตำแหน่งทำให้มั่นใจได้ว่าเขาจะไม่มีอิทธิพลเหนือเจ้าฟ้าชายในอนาคต
ยิ่งไปกว่านั้นการล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 1997 (พ.ศ.2540) ยังทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงกติกาเพื่อป้องกันไม่ให้มีทักษิณคนใหม่ หมายถึงพวกที่มีลักษณะนักประชานิยม บางคนเชื่อว่า ผู้วางแผนปฏิวัติจะให้ผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น เป็นการย้อนยุคไปสู่ช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ.2533-พ.ศ.2542) เมื่อรัฐบาลอ่อนแอและถูกเขย่าอยอยู่เรื่อยๆโดยผู้แทนราษฎรกลุ่มเล็กๆ ก็แน่ใจได้เลยว่าทหารหรือกษัตริย์จะเข้ามาปราบผู้แทนราษฎรที่อหังการเกินไปด้วยการแทรกแซงอยู่เบื้องหลังโดยอาศัยขุมข่ายอำนาจ
ธงชัย วินิจจะกูล ผู้นำนักศึกษาในการสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการนองเลือดเมื่อเดือนตุลาคม 1976 (พ.ศ.2519) ปัจจุบันนี้เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน อธิบายเรื่องนี้ได้ดีที่สุดในบทความของเขาซึ่งได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางภายในเวลาไม่กี่วันหลังการรัฐประหารว่า เพื่อความมั่นใจใน "บทบาทพิเศษของกษัตริย์ในชีวิตทางสังคมและการเมือง" เขากล่าวว่า บรรดาผู้นิยมกษัตริย์ต้องการอยู่ 3 อย่างคือ รัชทายาทผู้เป็นที่นิยมชมชื่น รัฐบาลที่ "เชื่อ หรือถึงขั้น "เชื่อง" และคณะองคมนตรีที่มีอำนาจจนสาธารณชนมีทัศนะคติว่า พวกเขาอยู่ในฐานะที่สามารถจะปั้นกษัตริย์ได้
"ทักษิณเป็นภัยต่อแผนการของพวกนิยมระบบกษัตริย์" เขาเขียนเอาไว้ "สำหรับบรรดาพวกนิยมระบบกษัตริย์แล้ว เขา(ทักษิณ) ดูเหมือนจะหาโอกาสทำให้ตัวเองกลายเป็นผู้แต่งตั้งกษัตริย์ ทหารสายนิยมระบบกษัตริย์ผนึกกำลังรวมกับเปรมและกลุ่มนิยมระบบกษัตริย์เพื่อนำแผนการไปสู่การปฏิบัติ ประเทศไทยจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำขององคมนตรีซึ่งไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งได้หรือ? รัฐธรรมนูญซึ่งพวกนิยมระบอบกษัตริย์จัดทำขึ้นจะทำให้เห็นถึงรัฐบาลและระบบรัฐสภาที่พวกเขามีอยู่ในใจ การรัฐประหารทำเพื่อขจัดทักษิณน้อยกว่าที่จะทำเพื่อระบบ "เปรมาธิปไตย"
ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจะเห็นบทบาทอันสำคัญของเปรมในการสร้างสมดุลระหว่างเหล่าทหารที่เขม่นกันหลายกลุ่ม ความขัดแย้งกันอย่างเปิดเผยระหว่างพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตนายกรัฐมนตรี กับ พลโทสพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ชึ่งกำลังต่อแถวเข้าคิวเป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจากพลเอกสนธิ บุณยรัตกรินทร์ ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้
หลังจากเกิดการระเบิดที่กรุงเทพก่อนวันขึ้นปีใหม่ สำนักข่าวในประเทศได้รายงานว่าสพรั่งได้เรียกชวลิตว่า "ข้ารับใช้ของทักษิณ" และตั้งข้อสงสัยว่าเขา(ชวลิต) เป็นผู้ร่วมก่อการระเบิด ชวลิตซึ่งเป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีสมัยทักษิณตอบโต้สพรั่งว่า "ไร้ความสามารถยิ่ง" ที่ไม่จับผู้วางระเบิดทั้งๆที่อ้างว่ารู้ว่าเป็นใคร เรื่องนี้ทำให้เปรมต้องโทรศัพท์เพื่อให้สพรั่งหยุดการเคลื่อนไหว และหลังจากชวลิตได้พบกับเปรมซึ่งเป็นเพื่อนเก่าเมื่อไม่นานมานี้ก็มีรายงานว่า เขาตกลงที่จะยุติการโจมตีนายทหารคนดังกล่าวในทางสาธารณะธรรมชาติของทหารทำให้ไม่อาจรู้สาเหตุที่ทหารกลุ่มหนึ่งกลายเป็นศัตรูกับอีกกลุ่มหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ รายงานเมื่อต้นเดือนนี้ว่าชวลิตโกรธสนธิเพราะเขาไม่ไปปรากฏตัวที่บ้านพลเอกชวลิตเพื่ออวยพรในวันขึ้นปีใหม่ ใครก็นึกออกว่าประเทศจะอยู่ในความยุ่งยากสักแค่ไหนถ้าหากว่าทหารแตกแยกกันเรื่องรัชทายาทของภูมิพลถึงจะดูเงียบสักแค่ไหน แต่การผสานกันระหว่างความอ่อนไหวของบรรดานายทหารกับกองกำลังของพวกเขาในความขัดแย้งเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับระบบกษัตริย์ สิ่งต่างๆก็อาจยุ่งเหยิงยิ่งขึ้น
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความตายของภูมิพลจะทำให้ฝ่ายต่อต้านพวกนิยมระบบกษัตริย์สบช่อง สบโอกาสที่จะทำให้เรื่องเกี่ยวกับวังมีขอบเขตชัดเจนมากขึ้น ในประเด็นนี้ นักวิเคราะห์หลายคนยังจดจำเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1976 (พ.ศ.2519) นักศึกษาได้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อประท้วงการกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร เผด็จการทหารซึ่งกลุ่มผู้นิยมประชาธิปไตยขับไล่ออกไปหลังจากที่มีการปะทะกับตำรวจจนถึงขั้นนองเลือดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 1973 (พ.ศ.2516)
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1976 (พ.ศ.2519) หนังสือพิมพ์แนวขวาได้ตีพิมพ์ภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลียนแบบการสังหารผู้ประท้วงซึ่งเป็นนักศึกษา 2 คน โดยตำรวจเมื่อเดือนก่อนหน้านั้น ภาพถ่ายซึ่งในภายหลังพบว่าถูกตกแต่งให้ดูเหมือนเจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ ไม่นานทหารหัวอนุรักษ์นิยมก็กระโจนเข้าจัดการผู้ประท้วงโดยอาศัยกฎหมายเจ้าปัญหาว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทหารได้ข่มขืน ทำร้าย และฆ่าคนหลายร้อยคน
"บรรดาผู้มีอิทธิพลในสังคมปล่อยให้ประชาชนโง่เขลาและได้รับข้อมูลผิดๆมาเป็นเวลานานนับสิบๆปี" สมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคไทยรักไทยของทักษิณผู้ไม่ประสงค์จะออกนามกล่าว "พวกเขาถูกสอนมาแต่ไหนแต่ไรให้พูดว่าไม่เป็นไรอยู่ตลอดเวลา เรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าพวกชนชั้นสูงทำได้สำเร็จ แต่มันไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเมล็ดพันธุ์ถูกเพาะลงไป สังคมก็จะมีสติปัญญามากขึ้น คนระดับแนวหน้าเป็นจำนวนมากทุกหัวระแหงก็รู้สึกอย่างนี้"
ว่ากันว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยเมื่อจอมพลพิบูลย์สงครามและราษฎรอย่างปรีดี พนมยงค์ ได้ทำการปฏิวัติ ทำให้การปกครองแบบสมบูรณษญาสิทธิราชสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 1932 (พ.ศ.2475) แต่ดูเหมือนว่า 75 ปีที่ผ่านมาบรรดานายพลซึ่งไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเป็นฝ่ายครองอำนาจโดยการสนับสนุนของกษัตริย์เป็นส่วนใหญ่
ความหวังที่จะให้นายทหารที่ขับไล่ทักษิณสร้างระบอบประชาธิปไตยที่ดีกว่านั้นนับวันก็ยิ่งห่างออกไปยิ่งขึ้น เพียงแค่เดือนนี้คณะปฏิวัติก็ได้เชิญสำนักข่าวเข้าประชุมเพื่อบีบไม่ให้เสนอข่าวสารจากนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นนักกฎหมายของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกขับไล่ การให้สัมภาษณ์ของทักษิณกับซีเอ็นเอ็นถูกตัดสัญญาณโดยหน่วยงานตรวจสอบของรัฐ หลายคนคาดว่าพวกทหารจะยุบพรรคไทยรักไทยในคดีทางการเมืองที่มีการฟ้องร้องต่อศาล บรรดาผู้นำทหารซึ่งคอยรับสัญญาณจากเปรมยังคงมั่นกับการเผยแพร่คำกำกวมอย่าง "สมานฉันท์" หรือ "ความเป็นไทย" อยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่กษัตริย์เป็นที่หนึ่งในใจของชาวชนบทอยู่เสมอ ทักษิณอยู่ในระยะตามมาเป็นที่ 2 นี่จะเป็นผลกระทบอย่างหนักสำหรับพวกนิยมระบอบกษัตริย์เมื่อภูมิพลตาย ดังนั้นรัฐบาลทหารจึงพยายามวาดภาพทักษิณให้เป็นอาชญากร โครงการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของทักษิณซึ่งเป็นที่นิยมหลายโครงการกำลังถูกเปลี่ยนแปลงด้วยหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของกษัตริย์
ที่ยังคลุมเครือในสายตาของนานาชาติ การกล่าวหาทักษิณอย่างเป็นทางการคาดว่าจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่กลัวว่าทักษิณจะเรืองอำนาจหลังยุคภูมิพล แต่ประเทศไทยจะย่ำแย่ลงไม่ว่าจะมองจากมุมใด
"บางคนก็คิดว่าการปกครองโดยพวกขุนนางเก่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าอยู่ภายใต้พวกกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำของทักษิณ" นักการฑูตกล่าว "แต่หลังจากกษัตริย์ตาย สิ่งต่างๆจะเป็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องที่ได้แต่คาดเดากันไป" ไม่ว่าจะเป็นทักษิณ เจ้าฟ้าชายวชิราลงกรณ์ หรือใครต่อใครก็ไม่อาจเติมสุญญากาศขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นหลังการตายของภูมิพล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่พยายาม และนั่นยิ่งจะเป็นการจำเป็นสำหรับประเทศไทยยิ่งขึ้นที่จะต้องสร้างสถาบันที่เป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะทำให้ขาดเสถียรภาพ มีแต่ข่าวลือ เรื่องเสกสรรปั้นแต่ง การจำกัดเสรีภาพของพลเมือง และถึงขั้นนองเลือดดังที่ ส.ศิวรักษ์ นักวิชาการที่มีชื่อเสียงซึ่งเคยต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ได้กล่าวที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วว่า "ระบบกษัตริย์ทุกระบบที่เป็นประชาธิปไตย จะมีอำนาจอันจำกัด มีความใคร่ครวญถึงจริยธรรมของโลกปัจจุบัน จะปกครองประชาชนในฐานะผู้ปกครองที่สามารถกระทำความผิดได้ กษัตริย์จะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หากกษัตริย์หยิ่งผยอง และก้าวร้าว ทำตัวใกล้ชิดทหาร ทำตัวอยู่เหนือประชาชน เหยียดหยามราษฎร และเกลียดชังผู้มีความรู้หัวก้าวหน้า(ซึ่งอาจจะทำผิดได้เช่นเดียวกัน) ใช้อำนาจเพื่อสะกัดกั้นการเปลี่ยนแปลง ก็จะเกิดอันตรายต่อภาวะความเป็นกษัตริย์ กษัตริย์จะเป็นผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์ขึ้นมาเพื่อมาทำลายตัวเอง"
แปลจาก : Our Correspondent 26 January 2007
ฉบับแปลโดย : Anonymous
ที่มา : http://messageboard.chatuniversity.com/pratt/default.asp?action=9&read=44924&fid=1016
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550
แต่อะไรจะเกิดขึ้นถ้าพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต?
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 8:20 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
8 ความคิดเห็น:
แวะมาอ่านค่ะ
ฮา.
ยินดีต้อนรับ ครับ..
ดีใจมากที่คุณฮา สนใจและเปิดใจกว้าง
ตามสบายเลยครับ..
สวัสดี
ตัวเล็กมาก..อ่านแทบไม่ได้ เลยต้องขออนุญาตก๊อป
ไปขยายให้อ่านง่าย..(ข้ออ้างมั้ง?)
ขอบคุณนะคะ ที่หาความรู้มาเผื่อแผ่กันมากมาย เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ
ฮา.
(งงเรื่องเวลาที่โพส?)
เรื่องขนาดของตัวหนังสือ คุณฮา ลองกด Ctrl แล้ว
หมุนล้อตรงกลางเมาส์ จะเปนการปรับขนาดตัวอักษร
น่าจะทำให้อ่านง่ายขึ้นครับ
ส่วนเรื่องเวลาผมจัดการให้แล้วครับ
ปล.สำหรับคำขอบคุณ ผมขอน้อมรับด้วยความยินดี
พร้อมทั้งหวังว่าประโยชน์ทั้งหมดนี้จะตกแก่คนไทยในอีกหลายๆคน
ควย!!!ไอ้พวกจาบจ้วง ระวังจะไม่ได้ตายดี พวกจัญไร หนักแผ่นดินไทย ถุย....
ขอบคุณที่ให้ข้อมูล
แต่จะให้ไอ้แม้วมาครองประเทศผมว่าทุเรศ
ขอบคุณมาก ๆ นะครับ สำหรับบทความดี ๆๆ
อ่านดูแล้วบางเรื่องก็คงจริง บางเรื่องก็อาจไม่จริง แต่คนเขียนรู้สึกว่าจะเชียร์ทักษิณ แต่ตอนนี้คงทราบแล้วนะคะว่าสิ่งที่ทักษิณเทำนั้นไม่ใช่เพื่อชาติ แต่เพื่อตระกูลของตนเอง ถ้าเทียบแล้วก็ไม่เห็นจะต่างจากเรื่องที่อ่านอยู่นี่เลย แต่อย่าลืมนะว่ากวาจะมาเป็นประเทศไทยได้ขนาดนี้บรรพบุรุษของกษัตริย์ได้นำหน้าผ่านการสู้รบมามากแค่ไหน แต่นายทักษิณอาศัยว่าเป็นคนหัวดีเซ็งลี้เก่งก็มีคนยกย่อง เป็นไงฟังเว็บที่นายคนนี้คุยกับรมช.กลาโหมแล้วซึ้งไหมล่ะ
แสดงความคิดเห็น