วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2551

การโต้แย้งแห่งการก่อตั้งอนุสาวรีย์(ย่าโม) ในปี คศ.1934


ข้อขัดแย้งระหว่างความคิดในแนวเก่าและแนวใหม่ ได้ถูกสะท้อนออกมาให้เห็นในการโต้แย้งแห่งการก่อตั้งอนุสาวรีย์(ย่าโม) ในปี คศ.1934

"เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์" ได้มีพระราชเลขาถึง "กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" เมื่อวันที่ 1 มกราคม คศ.1934 ซึ่งมีใจความว่า

"เรื่องของท่านผู้หญิงโมนั้นดูแล้วแปลกๆ วีรกรรมนั้นไม่ได้มีการกล่าวถึง บันทึกในสมัย ร.3 เพียงกล่าวว่า ท่านเป็นผู้นำ กลุ่มสตรี ข้าพเจ้า(กรมพระยานริศฯ) อยากทราบว่า ท่านจะได้รับการยกย่อง ในเวลานั้นเทียบเท่าปัจจุบันหรือไม่"(คศ.1934)

เสด็จในกรม บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงตอบกลับไปว่า

"ความมุ่งหมายในการสร้างอนุสาวรีย์ท่านผู้หญิงโมนั้น ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในแนวการคิดแบบเก่ากับแบบใหม่ได้อย่างแจ่มชัด"

กรมพระยาดำรงฯ ทรงมีพระอนุญาตให้ตีพิมพ์เรื่องของท้าวสุรนารีในหนังสือ รัตนโกสินทร์ โครนิคัล และในเวลาต่อมา ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่องราวของนครราชสีมาว่า

"คุณหญิงโม ภรรยาของพระยาปลัดถูกต้อนไปพร้อมกับครอบครัวอื่น คุณหญิงโมเป็นหญิงผู้กล้าหาญ ท่านได้วางแผนร่วมกับผู้นำคนอื่น โดยแกล้งทำเป็นกลัวกองทัพลาว และในขณะเดียวกัน ทำเป็นชื่นชมกองทัพลาว เพื่อให้ทหารลาวตายใจ ซึ่งต่อมา ชาวบ้านและหญิงไทยเหล่านั้นก็โจมตีและทำลายกองทัพลาวที่ทุ่งสำริด เมื่อเจ้าอนุวงศ์ ได้รับรายงาน ก็สั่งให้ เจ้าสุธิสาร นำกองทัพลาวจากเวียนเทียน มาปราบชาวบ้านไทย ที่ทุ่งสำริด ในขณะที่ผู้นำชายไทย นำชาวบ้านชายเข้าต่อสู้ คุณหญิงโมได้นำชาวบ้านหญิงไทย เข้าร่วมต่อสู้ทำให้กองทัพลาวแตกไป ร.3 ได้ทรงตั้งคุณหญิงโมเป็น "ท้าวสุรนารี" แบบเดียวกับ ร.1 ทรงตั้ง คุณหญิงจัน ภรรยาพระยาถลาง เป็น "ท้าวเทพกษัตรีย์"

หลวงวิจิตรวาทการ มิตรของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม กล่าวว่า

"สยามต้องการให้โลกรู้ว่าเรา เจริญแล้ว การยินยอม ยกย่องสถานะสตรีเป็นความคิดที่ฉลาด เป็นการดีที่จะได้แสดงว่า เราเป็นประเทศที่เจริญทางวัฒนธรรมแล้วต่อชาวโลก"

ในวิทยานิพนธ์ "การเมืองของอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี" นั้น สายพิน แก้วงามประเสริฐ์ พบว่า วีรกรรมของท้าวสุรนารี ไม่เพียงแต่ช่วยสนองนโยบายของรัฐฯ ในการส่งเสริมสถานะของหญิงไทยเท่านั้น แต่เป็นการเสริมส่งชาวโคราชและชาวไทยทั้งปวง โดยให้ความเห็นว่า "ย่าโม" ไม่มีเชื้อพระวงศ์ เป็นตัวแทนประชาธิปไตยได้ดี ซึ่งอำนาจก็ตกอยู่ในมือประชาชนแล้ว


โดย : OLD THAI

ที่มา : เรืองท้าวสุรนารี ตกลงจริงหรือเท็จ

ไม่มีความคิดเห็น: