"การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือการปกครองแบบกษัตริย์ทรงใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง ใครจะออกเสียงหรือความเห็นคัดค้านอย่างใดมิได้ทั้งสิ้น การปกครองแบบนี้ได้ปล่อยให้อาณาประชาราษฎร์ เผชิญโชคชะตาทางเศรษฐกิจและภารภาษีต่างๆ ไปตามลำพัง ไม่ได้คิดหาทางบูรณะบ้านเมืองให้ดีขึ้น จะปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายและเป็นไปตามยถากรรมนั้นเป็นการไม่พึงบังควรยิ่ง เราจึงต้องทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พระมหากษัตริย์ทรงทรงสถิตอยู่ใต้กฎหมาย"
พระยาพหล...กล่าวต่อเหล่าทหารที่ลานพระบรมรูปทรงม้าการปฎิวัติสยามได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว อย่างเป็นทางการในอรุณรุ่งของ วันที่ 24 มิถุนายน 2475 หลังจากพระพิรุณโปรยกระหน่ำลงมาไม่นาน......
.....17.45 น. นายทหารคนหนึ่งประกาศว่า
"พระที่นั่งอนันต์..แต่ก่อนมามีแต่ธงตราครุฑ
บัดนี้จะได้เปลี่ยนเป็นธงชาติแต่วาระนี้ไป"
พอธงไตรรงค์ถูกชักขึ้นไปแทนบนยอดโดมพระที่นั่งอนันตสมาคม เสมือนสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของคณะราษฎร เสียงไชโยโห่ร้องจากทหารและประชาชนนับหมื่นคนที่ไปชุมนุมกันอยู่ ก็ดังกึงก้องขึ้นทั้วบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าคืนนั้นสถานีวิทยุกระจายเสียงประกาศการยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครองให้คนไทยและชาวโลกรับทราบอย่างเป็นทางการว่า
"บัดนี้ประเทศสยามได้เกิดการปฎิวัติแล้ว ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ได้อวสานลงแล้วสยามตื่นตัวและกำลังจะก้าวไปข้างหน้า"
วิทยุคืนนั้นปิดกระจายเสียงด้วยเพลง "มหาชัย" แทนที่จะเป็นเพลง "สรรเสริญพระบารมี" อย่างที่เคยทำกันมาเป็นปรกติ
...เจ้าฟ้าประชาธิปกได้ทรงบันทึกถึงสถานการณ์ช่วงสุดท้ายของรัชกาลที่ 6 ไว้เมื่อปี 1926 ว่า.......
" เมื่อใกล้ๆสิ้นรัชกาล ประชาชนเริ่มหมดความเชื่อถือกษัตริย์พระองค์ก่อน และปัญหาการสืบราชบัลลังก์เป็นเรื่องที่หลายคนวิตกกันอย่างมาก เจ้านายชั้นสูงพระองค์เดียวที่ทรงมีพระกียรติยศอยู่บ้างก็คือเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ หลายๆคนอยากเห็นราชบัลลังก์ตกแก่พระองค์ แต่ก็เป็นที่รู้กันดีว่าพระเจ้าแผ่นดินทรงรอคอยพระประสูติกาลของพระอัครชายา และถ้าทารกพระองค์นั้นไม่ใช่พระโอรส ราชบัลลังก์ก็จะตกแก่พระอนุชาของพระองค์ ซึ่งข้าพเจ้าเสียใจจะบอกว่า คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดถึง เพราะข้าพเจ้า เองนั้นเหมือนม้าดำ ไม่มีประสบการณ์ด้านบริหารประเทศ "
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อ พ.ศ 2453ทรงใช้จ่ายรายได้ของรัฐที่ทรงได้รับมรดกมาอย่างเต็มที่ ทรงปันอย่างน้อยร้อยละ10 ของงบประมาณรัฐบาล เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของพระราชวงศ์ อีกร้อยละ20 ทรงใช้จ่ายด้านการทหาร พ.ศ 2454 โปรดเกล้า..ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเเษกเป็นครั้งที่ 2 และทรงใช้จ่ายเพื่อการนี้เกินงบประมาณถึง 10 เท่า ทรงใช้จ่ายในพระราชพิธีดังกล่าวคิดเป็นเกือบร้ยละ 8 ของรายได้รัฐ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายของราชวงศ์ส่วนอื่นๆ ซึ่งรวมอยู่ในรายการเงินกู้และเงินเบิกล่วงหน้า
เมื่อถึง พ.ศ 2468 แม้กระทั่งเจ้าฟ้าพระองค์อื่นๆ ทรงกล่าวถึงการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเหล่านั้น ที่ปรึกษาทางการคลังซึ่งเป็นข้าราชของรัฐบาลอังกฤษที่อินเดีย หลังจากวิเคราะห์สภาพการคลังแล้วประกาศว่า
"ประเทศอยู่ในภาวะล้มละลาย" ???
...เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก ที่ปรึกษาการเงิน ได้ยื่นบันทึกช่วยจำยาวเหยียด เรื่อง "ข้อสังเกตเกี่ยวกับฐานะการคลังของสยาม" เสนอต่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังสาเหตุของวิกฤติการณ์เกิดจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว โดย เฉพาะค่าใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ในตารางแสดงงบประมาณด้านการทหารและราชสำนัก เขาเปรียบเทียบระหว่างค่าใช้จ่ายของสยามกับญี่ปุ่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน และนอร์เวย์ งบประมาณด้านกองทัพของประเทศเหล่านี้เรียงจากต่ำสุดดังนี้
(ร้อยละ) 8.45 ของงบรายจ่ายของประเทศไปจนถึงสูงสุดคือ 20.62 ขณะที่ตัวเลขของสยามอยู่ที่ 23.3 ส่วนรายจ่ายของราชสำนักเรียงจาก 0.13 -0.33 ตัวเลขของสยาม 10.7 แม้จะออกตัวว่าเป็นเรื่องยากที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับรายจ่ายของกษัตริย์ กระนั้น เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก ก็ยังตั้งข้อสังเกตว่า
รายจ่ายส่วนนี้มากกว่างบประมาณด้านการศึกษา 4 เท่า
และมากกว่างบประมาณ สร้างถนนถึง 5 เท่า
..."การที่จะรบกับการเงินนั้นย่อมมืดแปดด้าน แม้แต่ผู่เอกซปอตก็เถียงกันคอแตก มีความเห็นกันต่างๆนาๆ ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องการเงินเลย ก็ได้แต่ฟังความเห็นเขาไป เห็นอย่างไรดีก็เอาอย่างนั้น ไม่เคยประสพการยากลำบากเช่นนี้เลย เพราะฉะนั้นถึงแม้จะพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าจะได้รับอภัยจากข้าราชการและประชาชนชาวสยาม"
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
กุมภาพันธ์ 2475
ในวันที่ 19 เมษายน 2475 บทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ เสนอว่า การเก็บภาษีเงินเดือนไม่ยุติธรรม(ข้าราชระดับกลาง ลูกจ้างในบริษัทต่างชาติต้องรับภาระอย่างหนัก แต่เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้าชาวจีนแทบไม่ได้รับผลกระทบ) ในขณะที่เงินปันผลและรายได้จากที่ดินและธุรกิจ ไม่ต้องเสียภาษี
...นักเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันนั้นได้ขอให้ผู้เสียภาษีได้มีตัวแทนของพวกเขาเข้าไปนั่งในที่ประชุมเวลาพิจารณา ค่าใช้จ่ายบ้างแม้ว่าจะไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการทางการเมืองอื่นๆก็ตาม ในวันรุ่งขึ้นได้มีนักเขียนคนหนึ่งกล่าวหาว่า กรมสรรพากร
"ไม่กล้าแตะเจ้านายไทย" ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรกติอยู่แล้ว และนักเขียนอีกท่านหนึ่งเรียกภาษีเงินเดือนว่า
"ไม่ยุติธรรมอย่างไร้ศีลธรรม"
และยกปัญหา"การเก็บภาษีโดยไม่มีตัวแทนในสภา"ขึ้นมา
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ภาษีเงินเดือนที่รุนแรงที่สุด ของนักข่าวผู้หนึ่งซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าภาษีนี้มีผลกระทบชนชั้นกลางอย่างแรกที่สุด ซึ่งตอนนี้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยากเข็ญอยู่แล้ว และวิจารณ์ต่อไปว่าที่รวมอยู่ในชนชั้นกลางนั้นมีกลุ่มปัญญาชนรวมอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อชนกลุ่มนี้ถูกรุกไล่จนจนตรอก ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพวกเขาจะทำเช่นไรต่อไป แต่ที่รู้ๆมาเกี่ยวกับพวกเขาก็คือ พวกเขาทนไม่ได้และจะไม่อยู่เฉยๆแน่และเราก็รู้ๆกันอยู่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและประเทศจีน
... กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) นักหนังสือพิมพ์ เขียนบทความที่มีความก้าวหน้า ไว้ว่า
"....ทำอย่างไรหนอการบริหารราชการแผ่นดินจึงไม่ผูกขาดไว้ในกำมือของพวกเจ้านายและเสนาบดีผู้ใหญ่เพียงไม่กี่คน เพราะว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้อยู่เรื่อยๆ ไปแล้ว และผู้ใหญ่เกิดดำริอะไรโง่ๆ ขึ้นมาไม่หยุดหย่อน และพวกผู้น้อยซึ่งมีปัญญา ซึ่งในบางคราวก็อาจมีความคิดดีๆได้นั้น จะทัดทานไว้ก็มิฟังแล้ว ก็อาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองเกิดความล่มจมได้ หรืออย่างน้อยก็ไม่มีวันเจริญก้าวหน้าเทียมทันประเทศเพื่อนบ้านเขาได้แน่......"
ในงานเขียนนวนิยายและบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ม.ล. บุปผา กุญชร (ดอกไม้สด) และ ม.จ. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ มีลักษณะร่วมกันบางประการคือ ชี้ให้เห็นสภาพสังคมชั้นสูงที่กำลังเสื่อมสลายในขณะนั้น ต่อต้านธรรมเนียมคลุมถุงชน การมีภรรยาหลายคน บางคนวิจารณ์สังคมขุนนางว่า เป็นชนชั้น และวาดภาพสังคมชั้นสูงว่า ขาดศีลธรรม ไร้คุณค่า สภาพการดังกล่าวต่างจากการวาดภาพคนธรรมกลุ่มใหม่ ซึ่งมองโลกในแง่ดี มีพลังสร้างสรรค์ ผู้ซึ่งให้ความสำคัญกับการศึกษา ประสบความสำเร็จได้ด้วยความสามารถของตนเอง การมีอิสรภาพ การมีเสรีภาพส่วนบุคคลและการให้คุณค่ากับลัทธิมนุษยธรรม ผิดกับกลุ่มอภิสิทธิ์ที่ให้คุณค่ากับชาติกำเนิดและสายเลือด กลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นต้นตอของปัญหาสังคมของสยาม
...หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวไว้ใน พ.ศ 2471
"เห็นว่า เจ้าเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญ"
กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนในบทความฉบับหนึ่งว่า
"พระราชวงศ์อาจมีทั้งที่ฉลาดและที่โง่ บางพระองค์อาจเปนโง่และทั้งหยิ่ง นี่แหละเป็นสาเหตุที่ทำให้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดำเนินไปในทางผิดหวัง ทำให้ประชาชนตระหนักยิ่งขึ้นทุกขณะว่า ชาติกำเนิดของบุคคลไม่ใช่เครื่องบ่งบอกถึงความดีของมนุษย์...."
ม.จ. วรรณไวทยากร วรวรรณ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) ตรัส ไว้ว่า อำนาจของเจ้านายถึงกาลวอดวายมาก่อนการยึดอำนาจ
ในคำประกาศของคณะราษฎรฉบับที่ 1 นายปรีดี พนมยงค์ มีจินตภาพว่า การโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเปิดประตูให้ประชาชนมมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง นายปรีดีมีข้อเสนอซึ่งถูกใช้โดยกลุ่มที่คัดค้านระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์มาตังแต่ปลายทศวรรษ 2460 นั่นคือ การเน้นความสำคัญของอุดมการณ์เสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมโดยเทียบกับอภิสิทธิ์ของพระราชวงศ์ นอกจากนี้ ชี้ให้เห็นพัฒนาการเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์กับคนจำนวนมากเปรียบเทียบกับการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ
นายปรีดีมีความเห็นว่า กษัตริย์เอาเปรียบประชาชนด้วยการเก็บภาษีอย่างมากมาย ปฎิเสธที่จะให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนคงอยู่ในปรีดีชี้ให้เห็นว่า
การทำลาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ต้องการมากกว่าเพียงการเขียนรัฐธรรมนูญและการมีสภา
ครึ่งหนึ่งของแผนเศรษฐกิจเกี่ยวกับหัวข้อการทำให้ที่ดินเพื่อการเกษตรเป็นของสังคม นายปรีดีเข้าใจถึงขอบข่ายอำนาจของพระราชวงศ์และขุนนางว่า จะคงอยู่ค่กับที่ดินขนาดใหญ่และเขตคลองที่พวกเขาถือครองอยู่(ปัจจุบันที่ดิน 1 ใน 3 ของกรุงเทพ ยังอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตรืย์)
...นายปรีดีเชื่อว่า นอกเหนือไปจากที่ดิน ฐานอำนาจของขุนนางคือการควบคุมระบบกาศึกษาซึ่งมีผลกับการรับคนเข้าในระบบราชการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งโดยพระมหากษัตริย์และอยู่ในความควบคุมของกลุ่มขุนนางเน้นการศึกษาให้คนเตรียมเข้ารับราชการโดยมุ่งรับใช้พระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477-2478 นายปรีดีก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นทางเลือกกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยมีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อ "ธรรมศาสตร์และการเมือง" เพี่อให้เป็นสถาบันสอนวิชาสมัยใหม่ เช่น เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์พร้อมๆกับวิชาเช่น กฎหมายและการบริหาร เตรียมเข้าสู่การเมืองใหม่หลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
.... เมื่อนายปรีดีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เขาได้นำมาตรการหลายอย่างที่กลุ่มนักธุรกิจชาตินิยมต้องการมาเป็นนโยบาย นายปรีดีเจราจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคกับมหาอำนาจตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับอธิปไตยเหนือระบบภาษีของประเทศอีกครั้ง นอกจากนั้น ยังเพิ่มภาษีขาเข้าเพื่อให้การคุ้มครองหัตถอุตสาหกรรมภายใน ประเทศปรับเปลี่ยนระบบภาษีอากร สร้างรากฐานระบบการเงิน และใช้งบประมาณของกระทรวงการคลังสนับสนุนร่วมเอกชนรัฐบาล ในช่วงซึ่งฝ่ายกองทัพขยายอำนาจควบคุมกลไกของรัฐ นายปรีดีพยายามที่จะดึงฝ่ายธุรกิจให้เข้าในเวทีการเมือง กลุ่มของเขาหันมาพึ่งธุรกิจเอกชนเป็นแหล่งทุนเพื่อกิจกรรมทางการเมือง.......
พลังอำนาจเก่า..
นับจากวันปฎิวัติเป็นต้นมา คณะราษฎรใช้ความพยายามที่จะคงรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์เอาไว้ ภายในเวลา 2 วันหลังการปฎิวัติ คณะราษฎรกราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์เสด็จกลับกรุงเทพ..เพื่อที่ว่าคณะราษฎรจะได้ถวายความเคารพและแสดงให้เห็นว่า แถลงการณ์ที่มีลักษณะเป็นปฎิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์ในวันปฎิวัติ เป็นเพียงแถลงการณ์เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง มิได้เป็นปฎิปักษ์ต่อพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง........
นอกจากนี้คณะราษฎรพยายามให้พระมหากษัตริย์มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ ยอมให้พระองค์เปลี่ยนแปลงร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก รัฐธรรมนูญฉบับถาวรซึ่งเรียบเรียงขึ้นใน พ.ศ. 2475ดูเหมือนว่า ให้พระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์เป็นอย่างมากจนผู้เรียบเรียงอธิบายกับสภา ที่ตั้งข้อสังเกตบทเฉพาะกาลซึ่งให้พระราชอำนาจเป็นอย่างมากนั้นว่าเพื่อถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ คณะราษฎรเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มิได้เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ในรัฐบาลเก่า ดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลใหม่ สมาชิกแต่งตั้งของสภาผู้แทนราษฎร 25 จาก 70 คนล้วนแต่เป็นข้าราชการพลเรือนหรือนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ประธานสภาคือเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อดีตเสนาบดีว่าการกระทรวงศึกษาธิการภายใต้รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หัวหน้ารัฐบาลคือพระยามโนปกรณ์นิติธาดา หนึ่งในบรรดาสมาชิกขององคมนตรีสภาไม่กี่รายที่มิได้เป็นราชตระกูล ภรรยาของพระยามโน..เคยเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระราชินี พระยาศรีวิศาลวาจาผู้ได้รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เคยเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์
รัฐมนตรี8 คนเป็นข้าราชการชั้นสูง การที่คณะราษฎรพยายามประนีประนอมกับพระมหากษัตริย์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่ากับเปิดโอกาสให้กลุ่มนิยมเจ้า และข้าราชสายอนุรักษ์นิยมสามารถหาทางทวงกระแสการปฎิวัติหรืออย่างน้อยก็พยายามไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในสังคมและระบบการบริหาร หลังจากการที่รัฐบาลใหม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นไม่นาน พระยามโน..และข้าราชชั้นผู้ใหญ่ได้เป็นพันธมิตรกับนายพลชั้นผู้ใหญ่ที่สนับสนุนการปฎิวัติเพราะมีความไม่พอใจในระบบอย่างชั่วคราวมากกว่าเหตุผลทางอุมการณ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และนายพลเหล่านี้รับราชการและประสบความสำเร็จจากการงานเป็นอย่างมากในระบอบเดิม...พวกเขาไม่ไว้วางใจสมาชิกรุ่นหนุ่มของคณะราษฎร ผู้ซึ่งถือว่า การปฎิวัติเป็นหนทางเปลี่ยนแปลงสังคมและการบริหารราชการแผ่นดิน
เดือนมีนาคม กลุ่มของพระยามโน..สร้างวิกฤตการณ์ทางการเมืองเพื่อรวบรวมผู้สนับสนุนทางฝ่ายอนุรักษ์นิยม กลุ่มของพระยามโน..กล่าวว่าแผนของนายปรีดีเป็นคอมมิวนิสต์ ห้ามมิให้พิมพ์เผยแพร่ และส่งกองทหารไปขู่และยกเลิกการประชุมสภาก่อนจะมีการลงคะแนนเสียงยอมรับแผน นายปรีดีและพรรคพวกฝ่ายข้าราชการพลเรือนถูกขับออกจากคณะรัฐมนตรี และนายปรีดีถูกเนรเทศ......
มีการตีพิมพ์บทวิจารณ์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเปรียบเทียบแผนของนายปรีดีกับสตาลิน รัฐบาลของพระยามโน..ออกกฎหมายต่อต้านการกะทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ กฎหมายนี้ให้คำจำกัดความลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กว้างพอจะครอบคลุมโครงการทั้งหลายที่มีจุดมุ่งหมายจะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยเฉพาะโครงที่ปฎิเสธหรือเลิกล้มกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล
....นอกจากนี้ยังให้คำจัดความลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าหมายถึง ความเชื่อใดๆที่สนับสนุนการทำให้ที่ดิน ธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือการลงทุน หรือแรงงานเป็นของรัฐ เดือนพฤษภาคม 2476 พระยามโน..ตั้งนายพลซึ่งเป็นพระราชวงศ์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงกลาโหม และออกคำสั่งให้ย้ายหน่วยทหารภายใต้การควบคุมของนายทหารที่เป็นสมาชิกของคณะราษฎออกไปจากกรุงเทพ.
เดือนมิถุนายน 2476 พระยาพหล.และ พลโทแปลก กระทำการรัฐประหารเป็นครั้งที่สอง เพื่อป้องการต่อต้านการปฎิวัติและเพื่อให้คณะปฎิวัติยังคงอำนาจไว้ ขับพระยามโน..และพรรคพวกออกไป หลังจากนั้นเรียกนายปรีดีกลับจากต่างประเทศ(ฝรั่งเศส)คณะรัฐประหารพยายามสร้างความนิยมในบรรดาข้าราชการ โดยนำข้าราชชั้นผู้ใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งบริหารและให้ดูแลกระทรวงสำคัญ แต่ได้ทำการเลือกอย่างระมัดระวังและกันผู้ที่สนับสนุนพระมหากษัตริย์ออกไป ......
เดือนตุลาคม พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกลาโหมในรัฐบาลเก่าก่อนการปฎิวัติ 2475 ก่อกบฎขึ้น ก่อนหน้านี้หนึ่งเดือน คนสนิทของพระองค์แสวงหาแรงสนับสนุนจากกองทหารนอกกรุงเทพ..พระองค์เจ้าบวรเดชทรงนำกองทหารจากโคราชเข้ายึดกรุงเทพ..กองทหารอีก 6 หน่วยให้การสนับสนุนแต่อีก 3 หน่วยรอคอยเพื่อที่จะดูสถานการณ์ก่อนจะสนับสนุนเต็มตัว กองทหารที่กรุงเทพ..เป็นฝ่ายคณะราษฎรเต็มที หลังจากการปะทะกัน กองกำลังฝ่ายกบฎพ่ายแตกหนีไปอีสาน พระองค์เจ้าบวรเดชและนายทหารชั้นผู้ใหญ่หนีไปอินโดจีนได้ ผู้ที่เข้าร่วมถูกจับตกเป็นจำเลยกว่า 300 คน นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางนายถูกฟ้องและต้องโทษประหารชีวิต
แต่ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต หม่อมเจ้าองค์หนึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต หลังจากเหตุการณ์นี้ รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินรักษาพระองค์ที่ยุโรป ขณะที่ประทับอยู่ต่างประเทศ ทรงปฎิเสธที่จะลงพระนามในกฎหมายที่รัฐบาลเสนอ รวมทั้งร่างกฎหมายที่จะเก็บภาษีมรดกกับภาษีที่ดิน และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งจะลดพระราชอำนาจ เมื่อรัฐบาลขอให้เสด็จกลับ ทรงเรียกร้องให้เปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจของพระมหากษัตริย์ เดือนมีนาคม 2478 ทรงสละราชสมบัติระหว่างที่ยังประทับ ณ ยุโรป รัฐบาลเลือกพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นยังทรงศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิตเฃอร์แลนด์ เพื่อสืบราชย์สมบัติต่อไป หลังจากนั้นเป็นเวลา 15 ปี
ความกลัวที่ปรากฎในหมู่พระราชวงศ์คือ กลัวคณะราษฎร "จะกระทำการรุนแรง และมีการทำร้ายแก่พระราชวงศ์หรือขู่เข็ญบีบคั้นต่างๆ นานา ความกลัวนี้เป็นสิ่งที่มีเหตุผลยิ่งขึ้นเมื่อสมเด็จเจ้าฟ้า..กรมพระนครสวรรค์วรพินิตก่อนเสด็จไปลี้ภัยในต่างประเทศได้มีลายพระหัตถเลขามอบวังบางขุนพรมให้แก่รัฐบาลเพื่อ "เป็นชาติพลี" ความกลัวการริบทรัพย์นี้ขยายตัวไปสู่"ข้าราชการบางคน"ที่เคยได้รับพระราชทานที่ดินและบ้านช่องเป็นบำเหน็จความชอบมาแต่ครั้งปู่ยาตาทวดก็หวั่นเกรงกันไปว่า จะถูกคณะราษฎรริบกลับไปเป็นของแผ่นดินเสีย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในระยะถัดมาจะไม่ปรากฎว่ามีการริบทัพย์ของเจ้านายหรือผู้มั่งคั่งคนใด
แต่กลับได้มีการผลัดดันให้มีการออกพระราชบัญญัติจัดเก็บภาษีจากมรดกและเก็บภาษีที่ดิน ซึ่งเป้าหมายนี้ก็คือ เจ้านายและคนมั่งมีที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าที่ดินเป็นจำนวนมาก เฉพาะภาษีมรดกนั้น ประเด็นที่
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงพยายามต่อสู้มากที่สุด คือ
ให้มีการระบุให้ชัดเจนว่ามรดกของพระมหากษัตริย์ได้รับการยกเว้น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงมีบทบาทมากที่สุดในการเป็นตัวแทนระบอบเก่า "ต่อรอง" กับรัฐบาลระบอบใหม่ บนความมุ่งหวังเรื่องพระเกียรติยศ พระราชทรัพย์และพระราชอำนาจของพระมหกษัตริย์
สำหรับเรื่องพระราชทรัพย์ของพระมหากษัตริย์ตลอดจนพระทรัพย์ของเจ้านายอื่นๆ นั้นเป็นความกลัวที่มีอยู่ทั่วไปว่าจะมีการ "ริบทรัพย์" ของหมู่เจ้านายเอามาเป็นของรัฐเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศตามที่ปรากฎใน "คำขู่" หรือ"ประกาศคณะราษฎร" เมื่อวันยึดอำนาจ และในระยะถัดมาก็มีหนังสือพิมพ์ได้พยายาม "สืบสวนนำจำนวนทรัพย์สมบัติ" ของเจ้านายมาเปิดเผยตอบสนอง
"เสียงเล่าลือกันขึ้นว่าเจ้านายพระองค์นั้นมีเงินเท่านั้นล้าน เท่านี้ล้าน สุดแล้วแต่ใครจะตั้งหน้าตั้งตาสะสมไว้เป็นเวลานานเพียงไร"
เช่น สมเด็จพระพันวสามาตุจฉาเจ้า "เท่าที่ตรวจสอบแล้วมีเงินอยู่ในราว 400 ล้านบาทเศษ" สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต"มีเงินอยู่ 300 ล้านบาทเศษ ยอมให้รัฐบาลใหม่กู้เป็นจำนวนเงิน 30 ล้านบาท" กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน "มีเงิน 167 ล้านบาทเศษ เงินที่ฝากต่างประเทศเฉพาะประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นจำนวน 100 ล้านบาท"
บทสรุปของการประเมินนี้คือ
"ทรัพย์สินของเจ้าเมืภาษีทรัพย์สิของพระราชวงศ์
ของไทยเรานี้มีแต่ละองค์มากกว่าเงินทุนของสยาม"
ไม่ว่าการประเมินทรัพย์ของเจ้านี้จะถูกต้องมากน้อยเพียงใรก็ตาม แต่โดยนัยความรู้สึกในสังคมก็คือ เจ้าเป็นกลุ่มที่มั่งคั่ง ดังนั้นสิ่งที่มีผู้สนับสนุนตามมาก็คือ
"ถ้าจะแบ่งเอาเงินเหล่านั้นมาจุนเจือราชการแผ่นดินแล้ว ก็ไม่เป็นที่เดือดร้อนแก่ไพร่บ้านพลเมืองดังที่กำลังเป็นอยู่ ทั้งจะทำให้ประเทศพ้นความหายะฝืดเคืองในการเงินอีกด้วย"
ตลอดเสนอให้งดจ่าย
"เงินสำหรับบำรุงราชวงศ์จักรี ที่เป็นเงินปี เงินเดือน
เงินจร และอะไรต่ออะไรร้อยแปด..
เอาเงินไปบำรุงแผ่นดินให้บ้านเมืองเจริญดีกว่า"
อาทิตย์ (อาทิตย์75)
23 มิ.ย. 45
หมายเหตุ
กระทู้นี้เป็นกระทู้เก่าจากพันทิพ ที่ ผู้ลงเห็นว่าเป็นกระทู้ที่ยอดเยี่ยมกระทู้หนึ่ง จึงอยากนำมาลงซ้ำในที่นี้
รายชื่อเอกสารและหนังสือ
อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม : The end of the Absolute Monarchy in Siam / เบนจามิน เอ. บัทสัน ; บรรณาธิการแปล: กาญจนี ละอองศรี ; คณะผู้แปล: พรรณงาม เง่าธรรมสาร, สดใส ขันติวรพงศ์, ศศิธร รัชนี ณ อยุธยา พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543
2475 และ 1 ปี หลังการปฏิวัติ / ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2543
ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในการปฏิวัติสยาม 2475 / นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : สถาบันสยามศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2533
กบฏ ร.ศ. 130 : ศึกษากรณีการปฏิรูปทางการปกครอง และกลุ่ม "ทหารใหม่" / อัจฉราพร กมุทพิสมัย = The 1911 incident in Siam : a study of administrative reformation and the new army / Acharaporn Kamutpisamai
เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ / ผาสุก พงษ์ไพจิตร, และ คริส เบเคอร์ พิมพลักษณ์ เชียงใหม่ : ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์บุคส์), 2542 ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุง)
พระปกเกล้ากับคณะราษฎร : สุพจน์ ด่านตระกูล ครั้งที่/ปีพิมพ์ : 2/2544
ละครการเมือง 24 มิถุนายน 2475 : แถมสุข นุ่มนนท์ ครั้งที่/ปีพิมพ์ : 2/2545
ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดาร ผู้เขียน: นิธิ เอียวศรีวงศ์ ครั้งที่/ปีพิมพ์ : 3/2543
ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก / นิธิ เอียวศรีวงศ์ กรุงเทพฯ : มติชน, 2538
ปาฐกถาของนายสุพจน์ ด่านตระกูล เนื่องในวันชาติ 24 มิถุนายน 2540 ในวาระ ครบรอบ 65 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย ณ หลักหมุดประชาธิปไตย ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อเวลา 06.30 น.
ปัจฉิมกถา ณ วาระร้อยปี ปรีดี พนมยงค์ : สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ที่มา : ThaiNGO : ย้ อ น ร อ ย 2 4 มิ ถุ น ย น 2 4 7 5 / อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์
หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ
วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ : ย้ อ น ร อ ย 2 4 มิ ถุ น ย น 2 4 7 5
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 3:05 ก่อนเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณบทความนี้มากค่ะ
ได้ความรู้จริงๆ ขอยืมไปรายงานหน่อยนะคะ
แสดงความคิดเห็น