วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ ( ส่วนท้าย )


รองศาสตราจารย ์ดร.พอพันธ ์อุยยานนท ์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

เรื่อง โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
29 มิถุนายน 2549
2

หมายเหตุ
อ่าน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ ( ส่วนแรก ) ได้ตามนี้
( ผู้จัดเก็บบทความ )


รายได้จากการลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สิน

แม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะได้ลงทุนไปยังกิจการต่าง ๆ มากมายทั้งในภาคอุตสาหกรรม และการบริการ การก่อสร้าง ที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ มากมาย รายได้หลักและรายได้สำคัญ นั้นมาจากเงินปันผลรายปีของธนาคารไทยพาณิชย ์และเครือซีเมนต์ไทย โดยที่รายได้จากเงินปันผล ทั้งสามธุรกิจมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของรายได้รวมของสำนักงานทรัพย์สินในช่วงปี 2503 – 2540 (สัมภาษณ ์ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ใน Corporate Thailand 2003 : 38) ตัวเลขจากตาราง ที่ 2 และ 3 แสดงถึง เงินปันผลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ทั้งธุรกิจหลัก คือ ธนาคารไทยพาณิชย ์เครือซีเมนต์ไทย และเทเวศประกันภัย ในช่วงปี 2528 – 2539 และธุรกิจ ร่วมอื่น ๆ ในปี 2533 – 2539 รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากเงินปันผลจากธนาคารไทย พาณิชย์และเครือซีเมนต์ไทยรวมกันมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 1,369.8 ต่อป .

ตารางที่ 2 เงินปันผลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากธนาคารไทยพาณิชย์และเครือซีเมนต์ไทย พ.ศ. 2527 – 2540

หน่วย : ล้านบาท

ปี (1) ธนาคารไทยพาณิชย .(2) เครือซีเมนต์ไทย รวม (3) = (1) + (2)

2527 495 478 973
2533 415 768 1,183
2534 396 768 1,164
2535 465 768 1,233
2536 499 672 1,171
2537 648 756 1,404
2538 898 798 1,696
2539 898 840 1,738

เฉลี่ย (2533-2539) 602.7 767.1 1,369.8

แหล่งที่มา : สรุปข้อสนเทศ บริษัทจดทะเบียน, ฉบับต่าง ๆ
8 มิ.ย.2549
48

ตารางที่ 3เงินปันผลของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากบริษัทในเครือและบริษัทร่วมทุน พ.ศ.2536-2537

หน่วย : ล้านบาท

บริษัท 2536 2537 เทเวศประกันภัย 20.6 25.6 ไทยเศรษฐกิจประกันภัย 1.7 1.9 นครธน 20.5 25.5 ธ. นครหลวงไทย 22.2 28.9 ธ. กสิกรไทย 73.4 122.4 ธ. กรุงไทย 19.7 22.6 บงล. สยามซันวาอินดัสเตรียมเครดิต 10.2 10.2 บงล. ธนสยาม 338.0 490.1 บงล. สินอุตสาหกรรม 17.8 10.3 บงล. บุคคลัภย์ 16.0 16.0 โรงแรมราชดำริ 1.9 1.9 โรงแรมดุสิตธานีไม่จ่ายปันผล 11.1 บ. สยามเฆมี 2.8 1.9 บ. ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส 5.2 5.6 บ. ไทยลิฟท์อินดัสตรี 5.7 5.0 บ. อ่าวขาวไทย ไม่จ่ายปันผล ไม่จ่ายปันผล บ. ทุ่งคาร์ฮาริเบอร ์ไม่จ่ายปันผล 6.2 บ. อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย 33.6 28.8 บ. โรงพิมพ์ตะวันออก 3.6 2.4 บ. ผลิตไฟฟ้า ไม่จ่ายปันผล ไม่จ่ายปันผล บ. คริสเตียนีและ นีลเส็น 33.5 18.6 บ. ยางสยาม 18.7 20.8 บ. เยื่อกระดาษสยาม 8.1 14.6 รวม 653.2 870.4

แหล่งที่มา :สรุปข้อสนเทศจดทะเบียน 2538 ฉบับต่างๆ และ Listed Company Handbook ฉบับ ต่างๆ
8 มิ.ย.2549
49

โดยมาจากธนาคารไทยพาณิชย์เท่ากับ 602.7 ล้านบาท และเครือซีเมนต์ไทยเท่ากับ 767.1 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่รายได้จากการลงทุนร่วมของธุรกิจอื่น ๆ (รวมทั้งเทเวศประกันภัยซึ่ง เป็นธุรกิจหลักของสำนักงานฯ) จำนวน 23 บริษัทนั้น ในปี 2536 เท่ากับ 653.2 ล้านบาท และในป .2537 เท่ากับ 870.4 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 55 และร้อยละ 61 ของเงินปันผลจากธนาคารไทย พาณิชย์และเครือซีเมนต์ไทยรวมกันในช่วงปี 2536 และ 2537 ตามลำดับ ตัวเลขที่แสดงในตารางที่3 นั้นตํ่ากว่าความเป็นจริงเนื่องจากยังไม่ได้รวมการลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่น บ. ศรีมหาราชา บ.ทรัพย์รวมใจ บ. หิน อ่อน บ. บีเอ็น เอช เมดิคัล เซ็นเตอร ์บ. บริการแร่และสากลกิจบริหาร บ. ฟอทิส บ. ไทยคอน เทนเนอร ์ซิสเต็มส ์บ. เอ ออน รี (ประเทศไทย) บ. เอ ออน คอนซันติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บ. สยามดีเอชวีจำกัด บ.สหศินีมา บ. ขนส่ง บ. แสนสุรัตน ์บ. พืชกสิกรรม บ. บางกอก ไมโครบัส บ. สหโรงแรมและการท่องเที่ยว เป็นต้น (สุปราณี 2535 : 206 และ Corporate Thailand 2003 : 47) อย่างไรก็ตาม รายได้ของสำนกัทรัพย์สินฯ ที่ได้จากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย ์ไม่น่าจะอยู่ในระดับสูงมากนัก เพราะหลาย ๆ บริษัทมีขนาดเล็ดและรายได้ไม่สูงมากนัก นอกจากนี้บางบริษัทก็ประสบกับปัญหาการดำเนินธุรกิจขาดทุน เช่น บริษัท ศรีมหาราชา เป็นต้น
ในฐานะที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “เจ้าที่ดิน” รายใหญ่ที่สุดของประเทศ กลับปรากฏว่า รายได้จาก “ค่าเช่า” ที่ดิน รวมทั้งรายได้จากโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร และสถานที่กลับเพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้า รายได้ส่วนนี้ยังไม่มีการบันทึกอย่างเป็นทางการ แต่จากการ สอบถามจากสำนักงานทรัพย์สินฯ พบว่า ช่วงปี 2533 – 2540 รายได้ส่วนนี้ตกอยู่ประมาณ 300 ล้าน บาทต่อปี (ญิบพัน 2547 : 68) หรือไม่เกินประมาณ 500 – 600 ล้านต่อปีเป็นอย่างมาก (สุปราณี 2535 : 204) โดยที่รายได้จากผลประโยชน์ของที่ดินมาจาก “ที่ดิน” ในเขตกรุงเทพฯ เป็นสำคัญ รายได ้ส่วนนี้จากต่างจังหวัดของสำนักงานทรัพย์สินฯ เช่น ในปี 2534 มีประมาณ 68.3 ล้านบาทเท่านั้น (สุปราณี 2535 : 218) โดยที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดนครปฐม (14.3 ล้านบาท) อยุธยา (10.1 ล้านบาท) สงขลา (8.6 ล้านบาท) เพชรบุรี (4.7 ล้านบาท) ราชบุรี (4.1 ล้านบาท) และลำปาง (1.1 ล้านบาท) เป็นต้น (สุปราณี 2535 : 218) ระดับรายได้จากค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจาก “ที่ดิน” ของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่อยู่ในระดับตํ่าอาจจะแสดงถึง (1) อาจจะเป็นนโยบายของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ที่ไม่ต้องการแสวงหารายได้จากค่าเช่าหรือค่าธรรมเนียมจาก “ที่ดิน” เพราะผู้เช่าส่วน ใหญ่เป็น “รายย่อย” และมีฐานะไม่ดีมากนัก สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงเก็บ “ค่าเช่า” ในอัตราตํ่ากว่า ท้องตาดมาก (อย่างไรก็ตามภายหลังจากวิกฤตการณ์ปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้แสวงหา รายได้จากที่ดินมากขึ้น โดยมีการปรับอัตราค่าเช่ามาใกล้เคียงกับราคาตลาดมากขึ้น จะได้กล่าว
8 มิ.ย.2549
50

ต่อไปในบทหน้า) (2) ระดับรายได้จากการลงทุนธุรกิจอื่น ๆ อยู่ในระดับสูงมาก สำนักงาน ทรัพย์สินฯ จึงไม่มีแรงจูงใจหรือความจำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากส่วนนี้ประเด็นข้อถกเถียง เกี่ยวกับ สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นองค์กรแบบใด? ต้องการแสวงหากำไรสูงสุดหรือไม่? และ สำนักงานทรัพย์สินฯ มีวิธีการที่รักษาส่วนเกินทางเศรษฐกิจหรือกำไรที่ได้รับอย่างมหาศาลในแต ่ละปีเป็นอย่างไร จะได้กล่าวในบทหน้า ในเรื่องการบริหารและการจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ


ปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของ “การสะสมทุน”
อย่างขนานใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ

อาจกล่าวได้ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสะสมทุนในป .2503 – 2540 และนับเป็นกลุ่มทุนที่ทรงพลังและมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง Robert Horn ประมาณว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะหน่วยงานดูแลทรัพย์สินของ พระมหากษัตริย์มีสินทรัพย์ประมาณ 2,000 – 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ในรูปของที่ดินและ หุ้น (www.time.com/time.asia/magazine) Suehiro และเกริกเกียรติประมาณว่า สำนักงาน ทรัพย์สินฯ มีสินทรัพย์ที่ลงทุนในบริษัทในเครือเท่ากับ 34,912 ล้านบาทในปี 2538 และเพิ่มขึ้นเป็น 474,759 ล้านบาท ในปี 2540 (Suehiro 2003, และเกริกเกียรติ 2525) หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 13 เท่า ในช่วงเวลาเพียง 18 ป ีเท่านั้นเอง และหากนับรวมมูลค่าของที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ แล้ว สินทรัพย์อาจมีสูงถึง 600,000 ล้านบาท ในปี 2540 จึงกล่าวได้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นสถาบัน การลงทุนทางธุรกิจและมีสินทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสังคมไทยนั่นเอง

ปัจจัยสำคัญต่อการสะสมทุนทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ นับแต่ปี 2503 เป็นต้น มา (ดังได้กล่าวมาแล้ว) ที่สำคัญอาทิเช่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผล ของสงครามเวียตนามและการท่องเที่ยวในทศวรรษ 2500 และหลังจากนั้นซึ่งส่งผลต่อการ เจริญเติบโตของภาคการก่อสร้างและบริการ การเติบโตของธุรกิจในเครือภายในภาวะการณ์การ ผูกขาดและนโยบายสนับสนุนและคุ้มครองอุตสาหกรรมจากรัฐในด้านแรงจูงใจและภาษีการ ขยายตัวของบริษัทในรูปแบบ holding company ของปูนซีเมนต์ไทยและธนาคารไทยพาณิชย ์เป็น ต้น ในบทนี้จะได้กล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญบางประการที่มีผลต่อความสำเร็จในการ “สะสมทุน” ของ สำนักงานทรัพย์สินฯ คือ

1. การบริหาร “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ
2. ลักษณะพิเศษขององค์กรทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .
8 มิ.ย.2549
51


การบริหาร “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ

การบริหาร “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่สำคัญคือ “การร่วมมือและเกาะกลุ่มทาง ธุรกิจ” กับกลุ่มธุรกิจชั้นนำและธุรกิจอื่น ๆ ของประเทศ (ในประเด็นนี้โปรดดูเกริกเกียรติ (2525)) โดยลักษณะของการบริหารดังกล่าวคือมีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ

(1) การถือหุ้นระหว่างบริษัทและการควบคุมการบริหาร
(2) การเกาะกลุ่มกรรมการ

(1) การถือหุ้นระหว่างบริษัทและการควบคุมการบริหาร การลงทุนในการถือหุ้นสามัญระยะยาวของสำนักงานทรัพย์สินฯ มีแนวโน้มเป็นการถือหุ้น ไขว้กันระหว่างบริษัทในเครือหรือเป็นการถือหุ้นร่วมกันของสำนักงานทรัพย์สินฯ กับบริษัทใน เครือฯ โดยเฉพาะบริษัทหรือธุรกิจหลักควบคู่กันไปด้วยเสมอ ในปี 2536 บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานทรัพย์สิน, (CPB) ถือหุ้น 35.616% ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) 7.00% ธนาคารไทยพาณิชย ์จำกัด (มหาชน) (สำนักงานทรัพย์สิน (CPB 26.25% บจม.ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) 4.94% เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) (สำนักงานทรัพย์สินฯ (CPB) ถือหุ้น 38.77%) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) 7.00% รวมทั้งบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ อาทิเช่น

เยื่อกระดาษสยาม (CPB 11.6% SCC 38.7% SCB 4.4% และสยามพาณิชย์พัฒนา 3.5%) ไทยเศรษฐกิจประกันภัย (CPB 5%, SCB 5%) อ่าวขาวไทย (CPB 15%, SCB 10%) ทุ่งคาร์ฮาเบอร์ (CPB 10.3%, SCB 9.1%) ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (CPB 15%, SCB 10.0%) เงินทุนหลักทรัพย์บุคคลัภย์ (CPB 18.2%, SCB 7.2%) เงินทุนหลักทรัพย์ธนสยาม (CPB 13.2%, SCB 8.8%) เงินทุนสินอุตสาหกรรม (CPB 11.1%, SCB 8.1%) ยางสยาม (CPB 14.4%, SCC 50.9%) อะโรเมติกส์ (CPB 5.01%, SCC 15.04%) สยามสินธร (CPB 38.0%, SCB 24.9%) วาย เค เค ซิปเปอร์ (CPB 10.0%, SCB 80%)
ฯลฯ
8 มิ.ย.2549
52

การถือหุ้นไขว้ดังกล่าวข้างต้นทำให ้สำนักงานทรัพย์สินฯ สามารถควบคุมการบริหารของ บริษัทเหล่านั้นไว้ได ้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากบริษัทเหล่านั้นเป็นบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นจำนวน มาก หรือเป็นรูปมหาชน (public company) การถือหุ้นเพื่อให้สามารถควบคุมกิจการบริษัทไม ่จำเป็นจะต้องถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วการถือหุ้นเพียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 (หรือในบางกรณีเพียง 1 ใน 10) ก็สามารถควบคุมการบริหารและการจัดการได ้เพราะยิ่ง กระจายหุ้นให้แก่บุคคลโดยจำนวนมากเท่าใดแต่ละคนจะถือหุ้นกันเพียงละเล็กละน้อย ก็จะทำให ้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่เข้ามาถือหุ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมตัวกันไม่ติดและ มักจะไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ถือหุ้น ความพยายามที่จะควบคุมการบริหารกิจการ บริษัทโดยเฉพาะบริษัทในเครือที่เป็นธุรกิจหลักของสำนักงานทรัพย์สินฯ นั้น ส่วนหนึ่งเพราะ ต้องการที่จะรักษาส่วนเกินทางเศรษฐกิจหรือผลกำไร (monopoly rent) ในระดับสูงเอาไว ้เพราะทั้ง กิจการปูนซีเมนต์หรือธนาคารไทยพาณิชย ์รวมทั้งเทเวศประกันภัย ล้วนแล้วแต่เป็นธุรกิจน้อยรายที่มีอำนาจการผูกขาดในระบบทางเศรษฐกิจสูงมาก การกีดกันผู้แข่งขัน (barrier to entry) อยู่ใน ระดับสูง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงและต้องมีการดำเนินการผลิตหรือประกอบการเพื่อก่อให้เกิด การประหยัดต่อขนาด รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลก็ไม่สนับสนุนให้มีการแข่งขันโดยเฉพาะใน ทศวรรษ 2510 แต่เหตุผลที่สำคัญคือ ต้องการที่จะควบคุมการบริหารและการจัดการโดยสำนักงาน ทรัพย์สินฯ โดยตรง แม้ว่านับแต่ต้นทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ธุรกิจในเครือของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ จะมีการบริหารงานในรูปแบบมหาชนมากขึ้น โดยมีการบริการบริหารงานในรูปแบบ บริษัทใหม่ที่มีการขายหุ้นให้แก่สาธารณชน หรือพยายามจะแบ่งแยกระหว่างความเป็นเจ้าของ (ownership) กับการควบคุมจัดการ (control) มากขึ้นทุกทีกล่าวคือ ผู้ถือหุ้นซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของไม ่มีอำนาจควบคุมจัดการบริษัทแต่ผู้จัดการซึ่งมีอำนาจควบคุมจัดการบริษัทกลับไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ แต่ในทางปฏิบัติสำนักงานทรัพย์สินฯ สามารถควบคุมการบริหารจัดการบริษัทในเครือได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะการถือหุ้นไขว้หรือการกระจายถือหุ้นให้แก่บริษัทในเครือและบริษัทที่ทำหน้าที่ถือ หุ้นในกลุ่มของตนนั้นสามารถที่จะควบคุมการบริหารไว้ได ้เพราะสามารถรวบรวมเสียงในที่ประชุมใหญ่มากกว่ารายย่อยโดยทั่วไป ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการบริหาร (board of directors) ของ บริษัทในเครือของสำนักงานฯ ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากจะควบคุมเสียงในประชุมผู้ถือ หุ้นใหญ ่รวมทั้งควบคุมการบริหารได้แล้ว การกระจายหุ้นโดยให้บริษัทในเครือยังมีประโยชน์ใน เรื่องการเสียภาษีเงินได้และการหักค่าใช้จ่าย รวมตลอดจนถึงการถ่ายเทกำไรระหว่างบริษัทในเครือ และทำให้เสียภาษีน้อยลงด้วย (เกริกเกียรติ 2536 : 155)

ด้วยลักษณะการกระจายหุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัทในเครือฯ เข้าไปถือหุ้นอย ู่ด้วยในสัดส่วนที่มากส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีบทบาทสำคัญในการเป็นคณะกรรมการของ
8 มิ.ย.2549
53

บริษัทต่าง ๆ (Board of Directors) ทั้ง ๆ ที่สัดส่วนการถือหุ้นรวมกันแล้วส่วนใหญ่มีไม่ถึง 1 ใน 4 ของการถือหุ้นรวม แต่สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็สามารถควบคุมการบริหารกิจการของบริษัทใน เครือฯ ได ้และได้ขยายกิจการของบริษัทในเครือฯ ให้กลายเป็น “ทุน” ที่โดดเด่นนับแต่ปลาย ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา โดยที่คณะกรรมการทั้งตำแหน่งประธานหรือคณะกรรมการที่มาจาก สำนักงานทรัพย์สินฯ โดยตรง ได้มีการกระจายตัวไปตามบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงปี 2535 – 2536 มีดังต่อไปนี้ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฉบับต่าง ๆ)

บจม. ปูนซีเมนต์ไทย (4 คน)
บจม. ธนาคารไทยพาณิชย์ (1 คน)
บจม. เทเวศประกันภัย (4 คน)
บจม. โรงแรมดุสิตธานี (3 คน)
บจม. ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (2 คน)
บจม. อ่าวขาวไทย (1 คน)
บจม. ทุ่งคาร์ฮาเบอร์ (2 คน)
บจม. อุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย (1 คน)
บจม. คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) (2 คน)
บจม. ยางสยาม (1 คน)
บจม. ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (1 คน)
บจม. โรงแรมราชดำริ (1 คน)
บจม. ธนาคารกสิกรไทย (2 คน)
บจม. ธนสยาม (3 คน)
บจม. เยื่อกระดาษสยาม (1 คน)
บจม. ธนาคารนครธน (1 คน)
บจม. สยามเฆมี (1 คน)
บงล. สินอุตสาหกรรม (1 คน)
บจม. ธนาคารนครหลวงไทย (1 คน)
ฯลฯ
8 มิ.ย.2549
54

(2) การเกาะกลุ่มกรรมการ นอกจากจะมีการกระจายการถือหุ้นไปยังบริษัทในเครือและถือหุ้นโดยสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อรักษาอำนาจการควบคุมการบริหารแล้ว การเกาะกลุ่มกรรมการก ็เป็นลักษณะเด่นของการบริหารและการจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาอำนาจ ทางเศรษฐกิจและการเติบโตของธุรกิจของตนเอง แม้ในระยะกว่าทศวรรษที่ผ่านมาแรงกดดันจาก สังคมเพื่อให้ธุรกิจขนาดใหญ่กระจายหุ้นไปสู่มหาชนมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์และ ธุรกิจการเงินต่าง ๆ โดยมีการดำเนินงานในรูปบริษัทมหาชน (public company) ต่าง ๆ แต่ก็มิได ้ช่วยลดแรงกดดันในอันที่จะขยายตัวของ “ทุน” ของสำนักงานฯ ลงได ้การเกาะกลุ่มกรรมการซึ่งจะ ได้ในบทนี้ก็คือ การร่วมมือกันทางธุรกิจในรูปของการเป็นกรรมการบริษัทร่วมกัน (Interlocking Directorate) ระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ และธุรกิจของบริษัทในเครือกับกลุ่มธุรกิจร่วมอื่น ๆ ทั้ง ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปถือหุ้นโดยตรงหรือให้บริษัทในเครือเข้าไปถือหุ้น และ/หรือ รวมทั้ง ในบางกรณีเป็นบริษัทที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ได้ถือหุ้นโดยตรง แต่มีผู้บริหารจากสำนักงาน ทรัพย์สินฯ หรือบริษัทในเครือเข้าไปเป็นกรรมการ ความสัมพันธ์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และ บริษัทในเครือฯ กับกลุ่มธุรกิจตระกูลต่าง ๆ ในรูปของบริษัทที่มีกรรมการร่วมกันค่อนข้างจะมีหลากหลายและครอบคลุมไปหลาย ๆ ภาคการผลิตทางเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2535-2540 ความสัมพันธ์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ (โดยผู้บริหารจากสำนักงานทรัพย์สินฯ) และธุรกิจในเครือ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่าง ๆ ของตระกูลต่าง ๆ ที่สำคัญในรูปของการเป็น กรรมการร่วมกันดังต่อไปนี้ (ตารางที่ 4)
8 มิ.ย.2549
55

ตารางที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานทรัพย์สินฯ บริษัทในเครือของสำนักงานฯ กับกลุ่ม ธุรกิจต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นการเป็นกรรมการร่วมกันในบริษัทต่าง ๆ ปี 2535 - 2539

ธุรกิจ/บริษัท ตระกูล ธนาคารกสิกรไทยและบริษัทในเครือ ลํ่าซำ ธนาคารไทยทนุและบริษัทในเครือ ทวีสิน ธนาคารนครธนและบริษัทในเครือ หวั่งหลีธนาคารเอเซียและบริษัทในเครือ เอื้อชูเกียรติ/ภัทรประสิทธ ์ิธนาคารนครหลวงไทย มหาดำรงกุล/กาญจนพาสน ์อิตัลไทย กรรณสูต บุญรอดบริวเวอรีภิรมย์ภักดีดุสิตธานีและบริษัทในเครือ ปิยะอุย สยามเฆมี/ฟินิกซ์ปิโตรเลียม รัตนรัตน ์อ่าวขามไทย ชาญวีรกุล ทุ่งคาร์ฮาเบอร ์กาญจนะวนิชย ์คริสเตียนีและนีลเส็น อัศวโภคิน/เอื้อชูเกียรติแลนด์แอนด์เฮ้าส ์อัศวโภคิน ศุภาลัย ตั้งมติธรรม สยามซินเทคคอนสตรัคชัน ลีสวัสด์ิตระกูล ชินวัตรแซทเทลไลท์และชินวัตรคอมพิวเตอร ์ชินวัตร ทางด่วนกรุงเทพฯ วิศวเวทย ์สามัคคีประกันภัย สารสิน ฯลฯ ฯลฯ
ที่มา : The Thai Business Group 2001

ความสัมพันธ์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ กับธุรกิจอื่น ๆ ในแง่ของการเป็นกรรมการร่วมกัน โดยเฉพาะการกระจุกตัวของการเป็นกรรมการร่วมกันของบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ กับธุรกิจการเงินและธนาคาร (ธนาคารกสิกรไทย ไทยทนุหวั่งหลีนครหลวงไทย นครธน) ย่อม แสดงถึงความสำคัญของภาคการเงินซึ่งมิเพียงแต่เป็นฐานทางเศรษฐกิจในการขับเคลื่อนธุรกิจ
8 มิ.ย.2549
56

การค้าและอุตสาหกรรมของบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ หากแต่เป็นฐานทางเศรษฐกิจ ให้แต่ละธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมของบริษัทร่วมทุนอื่น ๆ ด้วย เพราะจากข้อเท็จจริงที่ว่า ธนาคารพาณิชย์ (รวมทั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์) มิได้แต่ประกอบหน้าที่เป็นนายธนาคารหรือนัก การเงินเท่านั้น หากแต่ยังเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าและนักอุตสาหกรรมด้วย อาณาจักรของ ธนาคารพาณิชย์จึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่สินทรัพย์และรายได้นับแสนล้านบาท รวมทั้ง สถาบันที่ควบคุมเงินทุนในระบบเศรษฐกิจสูง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จำนวนของการเป็น กรรมการร่วมกันในกลุ่มของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์จะมีจำนวนมาก เพราะสามารถที่จะควบคุมการบริหารการประกอบการของธุรกิจของธนาคารและธุรกิจในเครือของ ตนเองได ้โดยเฉพาะธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีอยู่มากมาย การเกาะกลุ่มทางธุรกิจ ในแง่ของการเป็นกรรมการร่วมกันของบริษัทต่าง ๆ จึงทำให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทใน เครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ (และของธุรกิจร่วมอื่น ๆ) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การเกาะ กลุ่มกันทางธุรกิจข้างต้นโดยการเป็นกรรมการร่วมกันทำให้การแข่งขันกันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ อาจจะมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะแต่ละฝ่ายย่อมพยายามที่จะรักษาส่วนแบ่งหรือผลประโยชน ์ทางธุรกิจให้มากที่สุดโดยร่วมมือกัน เพราะการแข่งขันกันทางธุรกิจโดยเฉพาะการใช้ราคา อาจจะ ทำธุรกิจต่าง ๆ ประสบกับความเสียหายได้ (ในประเด็นนี้โปรดดูในเกริกเกียรติ 2525)

หากพิจารณาถึงภูมิหลังหรือตระกูลของกลุ่มธุรกิจที่เป็นบริษัทในเครือฯ หรือบริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้องนั้น กลุ่ม “ทุน” เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มทุนที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ไทยทั้งสิ้น รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับสำนักงานทรัพย์สินฯ มานับหลายทศวรรษโดยเฉพาะหลังป .2503 เป็นต้นมา ที่สำคัญคือกลุ่มธุรกิจตระกูลลํ่าซำ ตระกูลหวั่งหลีตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง ตระกูลปิยะ อุย ตระกูลสารสิน ฯลฯ กลุ่ม “ทุน” ทางธุรกิจเหล่านี้เติบโตมาภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยที่ให้สิทธิประโยชน ์และความคุ้มครองทางกฎหมายจากนโยบายรัฐบาลนับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ซึ่งสามารถสร้างอำนาจผูกขาดให้แก่กลุ่มธุรกิจของตนเองได ้นอกจาก กลุ่ม “ทุน” ทางธุรกิจเหล่านี้แล้วความสัมพันธ์ทางธุรกิจในแง่การเป็นกรรมการบริษัทร่วมกัน ระหว่างธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ กับกลุ่มทุนใหม ่ๆ ที่เกิดขึ้นนับแต่ทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ก็มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันที่สำคัญ อาทิเช่น ตระกูลอัศวโภคิน ชาญวีรกูล และชินวัตร เป็นต้น ซึ่งธุรกิจของกลุ่มทุนเหล่านี้ก็ได้สิทธิประโยชน์จากการคุ้มครองของรัฐเช่น ดียวกัน นัยสำคัญของการเป็นกรรมการบริษัทร่วมกัน มิเพียงแต่เพื่อการเกาะกลุ่มกันทางธุรกิจเพื่อ รักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เกิดจากการขยายตัวของธุรกิจผูกขาดขนาดใหญ่แล้ว ยังแสดงถึงกลุ่ม ทุนทางธุรกิจได้พยายามอาศัยความร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะเป็น “ทุน” ที่มีอำนาจ ทางเศรษฐกิจมาเนิ่นนานให้ความคุ้มครองแก่ธุรกิจเหล่านี้เพราะการที่มีบุคคลจากสำนักงาน
8 มิ.ย.2549
57

ทรัพย์สินฯ หรือธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งเป็นผู้ที่มีภาพพจน์ดีเป็นนักบริหาร อาชีพเข้าไปเป็นกรรมการของบริษัทเหล่านี้เพราะจะทำให้ภาพพจน์ของบริษัทดีขึ้น เพราะได้รับ ความเชื่อถือจากคนทั่วไปเนื่องจากภูมิหลังของผู้บริหารจากสำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัทใน เครือของสำนักงานมักจะเป็นผู้บริหารมืออาชีพหรือประสบความสามารถในหน้าที่ทางการงานใน ภาคธุรกิจและเอกชน

แม้ว่าจะเป็นที่เชื่อกันว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ อันเป็นตัวแทนการจัดการทรัพย์สินของ สถาบันพระมหากษัตริย์และการเติบโตของ “ทุน” ของสำนักงานฯ จะปราศจากการแทรกแซงทาง การเมืองและจากนักการเมือง แต่ทว่าการเจริญเติบโตของกลุ่มทุนพันธมิตรของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ก็สามารถมีอำนาจในทางการเมืองและการบริหารประเทศ เช่น กรณีของนายพงษ ์สาร สิน ตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจบริษัทไทยนํ้าทิพย์เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายอานันท ์ปันยารชุน ผู้บริหารจากกลุ่มสหยูเนียนก็ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีในช่วงปี 2534 และ 2535 รวมทั้งนายเภา สารสิน และพล.ต.อ.เภา สารสิน ตัวแทน จากกลุ่มไทยนํ้าทิพย์ก็ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลอานันท ์ปันยารชุน นอกจากนี้นายอานันท ์ปันยารชุน ก็ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารของธนาคารไทยพาณิชย์ภายหลัง จากพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย นอกจากนี้ภายหลังปี 2540 พ.ต.ท. ทักษิณ ชิณวัตร จากกลุ่มชิน คอร์ป ก็ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย ดังนั้นในแง่นี้ความสัมพันธ์ของการดำเนินธุรกิจของ สำนักงานทรัพย์สินฯ โดยผ่านเครือข่ายทางธุรกิจและการเมืองอาจจะเกี่ยวข้องกันก็ได ้ซึ่งควรจะมีการศึกษาต่อไป


ลักษณะพิเศษของการบริหารงานของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือลักษณะของการ บริหารงานที่แตกต่างจากกลุ่มทุนชั้นนำอื่น ๆ พ.ร.บ. บัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2479 และต่อมาได้กลายเป็น พ.ร.บ. จัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2491 นอกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีแล้ว แต่ทว่า ผลต่อการเป็นองค์กรเหนือการตรวจสอบจากสาธารณะด้วย ลักษณะพิเศษของ พ.ร.บ.ฉบับนี้คือให ้อำนาจพระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ บริหารทรัพย์สินของสถาบัน พระมหากษัตริย์ได้ตามอัธยาศัย โดยไม่มีผู้ใดสามารถถอดถอนได ้นอกจากนี้ผู้อำนวยการของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังดำรงตำแหน่งรับใช้พระมหากษัตริย์ในตำแหน่งรองราชเลขาธิการอีกด้วย ในขณะเดียวกันบทบัญญัติของกฎหมายของไทยก็ให้ความคุ้มครองพระมหากษัตริย์เป็นพิเศษใน ฐานะประมุขของรัฐ ในข้อหาหมิ่นประบรมเดชานุภาพและมีคติแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย ์เช่น
8 มิ.ย.2549
58

เห็นว่าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่ควรเข้าไปตรวจสอบบทบัญชีของสำนักงานทรัพย์สินฯ (เกษียร มติชน 27 พ.ค. 49) นอกจากนี้แม้ในทางกฎหมายก็มีปัญหาการตีความสถานภาพของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ว่าคืออะไร (โปรดดูสมศักด์ิ 2549 : 64-93) เป็นองค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรของรัฐ ซึ่งนัยสำคัญของการมีอำนาจเหนือการตรวจสอบการได้รับการยกเว้นภาษีรวมทั้งการคลุมเครือของสถานภาพและบทบาท เช่น หน่วยงานเพื่อการพัฒนา ธุรกิจเอกชน ย่อม ปัจจัยสำคัญต่อการสะสมทุนทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ (ดังจะได้กล่าวต่อไปในบท หน้าเรื่อง การบริหารและจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ)
8 มิ.ย.2549
59


บทที่ 4 สถานภาพพิเศษ การบริหาร และการจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ

ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อการอธิบายการเติบโตของ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สิน ที่เติบโตขึ้นเป็นกลุ่ม “ทุน” ชั้นนำทั้งก่อน (และหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 ดังจะได้กล่าวในบทหน้า) คือ ลักษณะพิเศษขององค์กรของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งในแง่เป็นองค์กรพิเศษโดยกฎหมายเพื่อ ทำงานรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย ์รวมทั้งมีลักษณะของการบริหารและจัดการองค์กรที่แตกต่าง จากองค์กรธุรกิจอื่น ๆ จวบจนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ความคลุมเครือของสถานภาพของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ คือ องค์กรแบบใด ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเป็นองค์กรแบบใดเป็น “หน่วยราชการ” “รัฐวิสาหกิจ” “เอกชน” “องค์กรมหาชน” “หน่วยงานของรัฐ” “องค์กรอิสระ” (ในประเด็น เกี่ยวกับข้อถกเถียงเรื่องสถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือองค์กรแบบใด โปรดดูใน สมศักด ์ิ2549 : 67-93 สกุณา 2543)

ในงานศึกษาของศาสตราจารย ์ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ (2541) ได้บรรยายสถานภาพของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ว่า “รัฐและหน่วยงานของรัฐเองก็ไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของ [สำนักงาน ทรัพย์สินฯ] คืออะไร อาจกล่าวได้ว่า [สำนักงานทรัพย์สินฯ] ได้หลุดพ้นออกไปจากโครงสร้าง องค์กรในภาครัฐอย่างสมบูรณ์…..รัฐไม่ทราบและไม่อาจระบุตำแหน่งที่ในโครงสร้างองค์กร ภาครัฐได้” (สุรพล อ้างในสมศักด์ิ 2549 : 88) และในงานวิทยานิพนธ์ของสกุณา เทวะรักษ์มณีกุล เรื่อง “การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหกษัตริย์” (สกุณา 2543) ซึ่งศาสตราจารย ์ดร.สุรพล นิติไกร พจน ์เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ด้วย ได้ข้อสรุปที่คล้ายกันและมีข้อเสนอต่อไปว่า ควรจัดสำนักงาน ทรัพย์สินฯ เข้าอยู่ในองค์กรมหาชนหรือองค์กรของรัฐประเภทที่สาม (หรือองค์กรมหาชนอิสระ – ผู้เขียน) (สกุณา 2543 : 51)

นอกจากนี้ก่อนปี 2544 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีการตีความสถานภาพของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ถึง 4 ครั้ง คือในป .2518, 2533, 2536 และ 2543 ซึ่งการวินิจฉัยแต่ละครั้งก็แตกต่างกันไป เช่น ไม่ใช่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเป็น หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีเหตุผลสนับสนุนแตกต่างกันออกไป และไม่เคยมีมติเป็นเอก ฉันท์ (รายละเอียดโปรดดูใน สมศักด ์ิ2549 : 67 – 93) แต่ในการตีความและวินิจฉัยของ คณะกรรมการกฤษฎีกาในปี 2544 ได้ตีความว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ใช่ “หน่วยราชการ” ไม่ใช .“รัฐวิสาหกิจ” แต่เป็น “หน่วยงานของรัฐ” ด้วยเหตุนี้ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่พนักงาน และลูกจ้าง ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่พนักงาน ลูกจ้าง ของ “หน่วยงานของรัฐ” ยกเว้น คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่เข้าข่ายเพราะปฏิบัติหน้าที่ในรูปคณะกรรมการ (สมศักด์ิ 2549 : 68) ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า หากพิจารณาจริง ๆ ตามพฤตินัยของการลงทุนทาง
8 มิ.ย.2549
60

ธุรกิจและการแสวงหาผลประโยชน์ด้านอื่น ๆ สำนักงานทรัพย์สินฯ น่าจะมีฐานะเป็น “หน่วยงาน” หรือ “กองทุน” เพื่อการลงทุนของสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่า เพราะคำว่า “หน่วยงานของรัฐ”หรือ
“องค์กรมหาชน” นั้น มักจะเป็นหน่วยงานหรือองค์กรที่มีเป้าหมายที่ไม่ใช่แสวงหากำไรสูงสุด หากแต่ทำเพื่อประโยชน์ของการพัฒนาสังคมเพื่อส่วนรวมเป็นสำคัญ เพราะพฤติกรรมการลงทุน ของ “เครือซีเมนต์ไทย” “ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทในเครือ” รวมทั้ง “เทเวศประกันภัย” แสดงถึง เป้าหมายทางธุรกิจที่มุ่งเน้นผลตอบแทนสูงสุด เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจโดยทั่วไป

นัยสำคัญของสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นองค์กรแบบใด (รวมทั้งความคลุมเครือในการ วินิจฉัยสถานภาพสำนักงานฯ เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากการออก พ.ร.บ.2491) ที่ได้ให้อำนาจของ สถาบันพระมหากษัตริย์เพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลนิยมเจ้า (royalist) ของ นายควง อภัยวงศ์) ดังที่สมศักด ์ิเจียมธีรสกุล เรียกว่า การปฏิบัติซ้อนหรือปฏิปักษ์ปฏิวัติ (counter-revolution) (สมศักด์ิ 2549 : 91) นั้น มีผลต่อการ “สะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ อย่างขนานใหญ่ในระยะต่อมา (ดังจะกล่าว ต่อไป)

พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ.2491 มิเพียงแต่เพิ่มอำนาจการบริหาร และการจัดการทรัพย์สินฯ ส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น หากแต่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางด้าน ธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ รวมทั้งความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจของสถาบันพระมหากษัตริย ์ด้วย โดยในบทนี้จะพิจารณาถึง 2 หัวข้อคือ

1. พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สิน พ.ศ. 2491 กับการบริหารและจัดการของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ
2. พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สิน พ.ศ. 2491 กับความคุ้มครองทรัพย์สินฯ ส่วน พระมหากษัตริย .


พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สิน พ.ศ. 2491
กับการบริหารและจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ

สำนักงานทรัพย์สินฯ ตาม พ.ร.บ. 2491 มีฐานะเป็น “นิติบุคคล” หรือองค์กรอิสระตาม กฎหมายพิเศษ ซึ่งบริหารงานในรูป “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่น้อยกว่า 4 คน และใน จำนวนนี้ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่งจาก พ.ร.บ. 2491 “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่ดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยที่ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจ
8 มิ.ย.2549
61

หน้าที่ตามที่คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย และให้มีอำนาจลงชื่อเป็น สำคัญผูกพันกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”

แม้ในอดีตในช่วงป .2479 -2491 สำนักงานทรัพย์สินฯ จะมีการบริหารงานภายใต ้พระราชบัญญัติทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พ.ศ. 2479 ซึ่งบริหารโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาจัด ระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน รวมทั้ง คณะกรรมการอีก 4 นาย ซึ่งแต่งตั้งโดยพระบรมราชนุมัติจากพระมหากษัตริย ์แต่สำนักงาน ทรัพย์สินฯ ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากองก็อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาล (โดยผ่าน กระทรวงการคลังและนายกรัฐมนตรี) ซึ่งขาดความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ นอกจากนี้ช่วง ระยะเวลาดังกล่าวพระมหากษัตริย์ทั้งรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ยังทรงพระเยาว์ไม่ได้มีอำนาจอย่าง แท้จริง สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตกอยู่ภายใต้การเผชิญหน้าและควบคุมเข้มงวดจากคณะราษฎร ดังนั้นการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในระยะเวลาดังกล่าวจึง เป็นการพยายามลดอำนาจและบทบาททางเศรษฐกิจของสถาบันพระมหากษัตริย ์รวมทั้งการ พยายามแสวงหาฐานทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนฐานทางเศรษฐกิจของ “คณะราษฎร” อันมีรัฐวิสาหกิจเป็นฐานสำคัญของผลประโยชน ์รายนามของผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ จึงเป็นบุคคลที่คณะราษฎรหรือรัฐบาลในขณะนั้นจึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับคณะราษฎร สำหรับผู้ที่ได้รับ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงป .2481 – 2490 หรือในช่วงที่สำนักงานยัง ไม่เป็นนิติบุคคลมีรายนามดังต่อไปนี้ (ประวัติสังเขปสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม ่ระบุวัน เดือน ปี)

1. พระยาอัชราชทรงศิริ 31 พฤษภาคม 2481
2. นายชุณห ์บิณฑานนท์ 1 พฤศจิกายน 2482
3. นาวาเอก หลวงกาจสงคราม 31 มกราคม (รักษาการในตำแหน่ง) 2485
4. พันตรีเผ่า ศรียานนท์ 25 กุมภาพันธ์ 2485
5. พันตรีสันต ์สุริยสัตย์ 15 มีนาคม 2486
6. นาวาเอก สุวรรณ เพ็ญจันทร .1 กรกฎาคม 2487
7. นายปราโมทย ์พึ่งสุนทร 10 สิงหาคม 2489
8. หม่อมทวีวงศ ์ถวัลยศักด ์ิ18 ธันวาคม 2490 (รักษาการในตำแหน่ง)

รายนามของผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ อาทิเช่น นายชุณห ์บิณฑานนท ์ได้เป็น บุคคลระดับนำของคณะราษฎร และได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการของ รัฐวิสาหกิจอีกหลายแห่ง และบรรดารัฐวิสาหกิจเหล่านี้ก็เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของคณะราษฎร
8 มิ.ย.2549
62

ที่สำคัญคือในกรณีของบริษัทไทยนิยมพาณิชย ์ซึ่งก่อตั้งในป ีพ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นบริษัทผูกขาดการค้า ข้าวภายในประเทศ รวมทั้งการผูกขาดการจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ โดยมีทุนจดทะเบียน เท่ากับ 1 ล้านบาท โดยที่ร้อยละ 70 ของทุนจดทะเบียนมาจากรัฐบาล (โดยนายวิลาศ โอสถานนท ์เป็นตัวแทน) และอีกร้อยละ 30 มาจากสำนักงานทรัพย์สินฯ (โดย นายชุณห ์บิณฑานนท ์เป็น ตัวแทน) (Suehiro 1989 : 125 – 126 และสังศิต 2526) นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังมีส่วนใน การถือหุ้นกับรัฐวิสาหกิจผูกขาดอีกหลายแห่ง โดยที่นายชุณห ์บิณฑานนท ์ก็เข้าไปดำรงตำแหน่ง กรรมการด้วย (สังศิต 2526) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าบทบาทของผู้อำนวยการ ทรัพยสินฯ จึงมิเพียงแต่เป็นผู้ที่ควบคุมและดูแลทรัพย์สินเพื่อเป็นการลดอำนาจทางเศรษฐกิจของ ราชสำนัก แต่ทว่ายังมีบทบาทในการเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้แก่คณะราษฎรโดยนำทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ไปใช้ประโยชน์ในฐานะเป็นแหล่งเงินทุนของรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งโดยคณะราษฎร นั่เอง นอกจากนายชุณห ์บิณฑานนท ์แล้ว นาวาเอก หลวงกาจสงคราม และพันตรีเผ่า ศรียานนท ์ก ็เป็นคนใกล้ชิดของหลวงพิบูลสงคราม และหลวงพิบูลสงครามก็เป็นบุคคลสำคัญในการสถาปนา ระบอบ “รัฐนิยม” ซึ่งพยายามที่จะลดบทบาทของราชสำนักนั่นเอง (ทักษ์ 2526)

ภายหลังจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 การบริหารจัดการได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะสำนักงานทรัพย์สินฯ มีฐานะเป็น นิติบุคคลหรือมีลักษณะเป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งจัดตั้งโดยกฎหมายพิเศษไม่ขึ้นกับกระทรวง ทบวง กรมใด และไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ ประกอบการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นับแต่ทศวรรษ 2490 ที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมสถาบันพระมหากษัตริย์เริ่มเข้มแข็งขึ้นซึ่งมีแกนนำคือ พรรคประชาธิปัตย ์การเข้ามายึดอำนาจการปกครองของจอมพลสฤษด ์ิธนะรัชต ์ในปี 2500 และ กลุ่มผู้นำซึ่งเข้ามามีอำนาจเพราะการรัฐประหารได้พร้อมใจถวายพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย ์สถาบันพระมหากษัตริย์ (หลังจากที่พระราชอำนาจลดน้อยถอยลงนับแต่การเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในปี 2475) ได้มีพระราชอำนาจเพิ่มขึ้นตามลำดับ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สถาบัน พระมหากษัตริย์ได้มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริงนับแต่ปี 2500 เป็นต้นมา ในงานของทักษ ์เฉลิมเต รียรณ ได้สรุปว่า

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชภารกิจที่สำคัญเพิ่มขึ้นในทางการเมือง เป็นไปโดยชอบธรรม ทรงเป็นผู้ส่งเสริมและเป็นผู้ทำนโยบายกว้าง ๆ ของรัฐบาลเป็นไปชอบโดย กฎหมาย ทรงเป็นองค์ผ้ส่งเสริมให้เกิดความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ชนชั้นสูง ทรงเป็น สัญลักษณ์ของการรวมความสามัคคีในชาติและทรงเป็น “ตัวแทน” ในการจัดสรรทุนจาก ภาคเอกชนให้มาเป็นทุนหลวง การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก นโยบายของจอมพลสฤษด์ิ….. และอาจเป็นไปได้โดยมิได้ตั้งใจจอมพลสฤษด์ิก็ได้ทำให .
8 มิ.ย.2549
63

พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจมากพอที่จะทรงมีบทบาทเป็นอิสระหลังจากที่จอมพลสฤษด ์ิถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ความบกพร่องในทางการเมืองของผู้สืบอำนาจต่อมา เมื่อเปรียบเทียบกับจอม พลสฤษด์ิได้ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งกลายเป็นศูนย์รวมของเวทีการเมืองขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ทักษ์ 2526 : 443 – 444)

พระราชอำนาจของราชสำนักที่เพิ่มขึ้น ความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์เหนือกว่า สถาบันอื่น ๆ รวมทั้ง พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สิน พ.ศ. 2491 ที่ให้อำนาจพระมหากษัตริย์โดย ปราศจากการแทรกแซงจากการเมืองนั้น มีผลให้บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ “สำนักงาน ทรัพย์สินฯ” ในฐานะเป็นหน่วยงานที่แสวงหารายได้เพื่อราชสำนักได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะนับแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเพราะพระมหากษัตริย์สามารถเลือกสรรและแต่งตั้ง บุคคลให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (รวมทั้งคณะกรรมการไม่ตํ่า กว่า 4 คน) ที่มีความสามารถและเป็นที่ไว้พระราชหฤทัยเพื่อดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย ์รวมทั้งแสวงหารายได้ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสำนักพระราชวัง ในการถวายรับใช้แก ่สถาบันพระมหากษัตริย์ในโครงการพระราชดำริและพระราชภารกิจต่าง ๆ

หลังป ีพ.ศ. 2491 เป็นต้นมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ ภายใต ้พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ 2491 ที่สำนักงานทรัพย์สินมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังต่อไปนี้

1. พลตรีหม่อมทวีวงศ ์ถวัลย์ศักด ์ิ18 กุมภาพันธ์ 2491 – 27 ตุลาคม 2513 (ถึงแก่อนิจกรรม)
2. นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ 8 ธันวาคม 2513 – 27 กรกฎาคม 2530
3. นายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา 28 กรกฎาคม 2530 -ปัจจุบัน

รายนามของผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ ข้างต้นได้สะท้อนภาพของการบริหารและจัดการของ สำนักงานทรัพย์สินฯ อย่างน้อย 2 ประการ

ประการแรก ในช่วงระยะเวลาเกือบ 60 ป ีนับแต ่พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ 2491 ประกาศใช ้ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ มีเพียง 3 ท่านเท่านั้น และแต่ละท่านก็มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งค่อนข้างยาวนานหรือไม่น้อยกว่า 14 ปี (ในกรณีของ พล ตรีหม่อมทวีวงศ ์ถวัลย์ศักด ์ิผู้อำนวยการคนแรกมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งถึงกว่า 20 ปี) ซึ่ง สะท้อนภาพของความเป็นข้าราชบริพารที่รับใช้ราชสำนักที่ยาวนานและต่อเนื่อง โดยที่ผู้อำนวยการ คนแรกได้เกษียณอายุการทำงานจนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม ส่วนผู้อำนวยการคนที่สองคือนายพูน เพิ่ม ไกรฤกษ ์ได้เกษียณอายุการทำงานเมื่ออายุ 65 ป ีเนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ ส่วน ผู้อำนวยการคนปัจจุบันคือ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ก็ดำรงตำแหน่งมาแล้วมากกว่า 15 ป .
8 มิ.ย.2549
64

วัฒนธรรมการทำงานที่ยาวนานของผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีอิทธิพลต่อการดำรง ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทหรือธุรกิจดั้งเดิมของสำนักงานทรัพย์สิน คือ ธนาคาร ไทยพาณิชย ์บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และบริษัทในเครือ และบริษัทเทเวศประกันภัย ซึ่งผู้บริหาร ระดับสูงดังกล่าวจะดำรงตำแหน่งในระยะเวลาที่ยาวนานจนกระทั่งเกษียณเมื่อไม่สามารถทำงาน ต่อไปได้หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
ประการที่สอง หากพิจารณาถึงภูมิหลังของผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ บุคคลทั้งสามท่านล้วนแล้วแต่เป็นผู้ใกล้ชิดกันกับราชสำนักทั้งสิ้น ในกรณีของนายพูน เพิ่ม ไกรฤกษ ์สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนอพยพในสมัยกรุงธนบุรีและได้รับพระราชทานบรรดาศักด ์ิเป็นพระยาโกษา (ต้นตระกูลไกรฤกษ์) และในสมัยรัชกาลที่ 3 คุณของเขามีฐานะเป็นพระยาโชดึก ราชเศรษฐีส่วนบิดาของเขาคือ พระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) ซึ่งเคยรับราชการเป็น มหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 และก่อนเกษียณอายุราชการในปี 2469 เคยดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรม มหาดเล็ก (วิรัตน์ 2530 : 146)

ในด้านชีวิตการทำงานของพูนเพิ่ม หลังจากที่จบการศึกษาจาก Standford University เขาก็เข้าทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย ์และเข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรง ภาพยนตร์เฉลิมเขตร์ของพระองค์เจ้าภานุพันธ ์ยุคล ในที่สุดก็เข้ารับราชการในสำนักพระราชวัง ตำแหน่งหัวหน้ากองมหาดเล็ก นอกจากเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สิน และทำหน้าที่ดังกล่าวเป็นเวลาถึง 17 ป ีเขายังดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักพระราชวังเป็นเวลาถึง 9 ปีด้วย ส่วนกรณีของ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา แม้ว่าตัวเขาเองจะไม่ได้ทำงานรับใช้ราชสำนัก ก่อนที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ แต่ทว่าบิดาของเขาก็เป็นองคมนตรีทำงาน ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด

เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากจะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ แล้ว พระมหากษัตริย ์มักจะทรงแต่งตั้งให้ผู้อำนวยการทรัพย์สินฯ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญเพื่อรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่าง ใกล้ชิด ดังได้กล่าวมาแล้ว เช่น ในกรณีของ นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ ์ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ส่วน ดร.จิรายุอิศรางกูร ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองราชเลขาธิการสำนักพระราชวัง ซึ่งทั้งตำแหน่งเลขาธิการและราชเลขาธิการล้วนแต่เป็นตำแหน่งที่ทำงานใก้ชิดกับราชสำนัก รวมทั้ง เป็นตำแหน่งข้าราชการระดับสูงด้วย ซึ่งเป็นนโยบายที่ชาญฉลาดของสถาบันพระมหากษัตริย์เพราะ การควบการปฏิบัติงานทั้ง 2 ตำแหน่ง มีผลให้ตำแหน่งหน้าที่การงานของผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ถือว่าเป็น “ข้าราชบริพาร” และ “ข้าราชการ” รับใช้ราชสำนักอย่างแท้จริง

สำหรับตำแหน่งคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ได้แต่งตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน โดย คณะกรรมการชุดแรกประกอบไปด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พระเจ้าวรวงศ์เธอ
8 มิ.ย.2549
65

พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล พลโท พระยาศรีสรราชภัคดีพระยาบูรณะศิริพงษ ์และหม่อมทวีวงศ .
ถวัลย์ศักด ์ิปัจจุบันคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ประกอบไปด้วย

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ (นายทนง พิทยะ)
2. นายเชาวน ์ณ ศีลวันต ์กรรมการ
3. เรืออากาศโท ศุลีมหาสันทนะ กรรมการ
4. นายสุธีสิงห์เสน่ห ์กรรมการ
5. นายเสนาะ อุนากูล กรรมการ
6. ม.ล. ทวีสันต ์ลดาวัลย ์กรรมการ (ถึงแก่กรรม)
7. นายพนัส สิมะเสถียร กรรมการ
8. นายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา

กรรมการและผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินฯ

รายนามของคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ข้างต้นมักจะมาจากผู้ที่ประสพความสำเร็จใน ตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับสูง โดยเฉพาะในตำแหน่งของข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงของ ประเทศ รวมทั้งในบางกรณีเป็น้าราชการการเมืองในช่วงที่มีนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งใน สมัยรัฐบาลอานันท ์ปันยารชุน อาทิเช่น นายพนัส สิมะเสถียร อดีตปลัดกระทรวงการคลังและ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายสุธีสิงห์เสน่ห ์อดีตผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเสนาะ อุนากูล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเรืออากาศโท ศุลีมหาสันทนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท ์ส่วนนายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ก็เคย ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร ์รวมทั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท ์ส่วนกรรมการท่านอื่นก็ล้วนแต่บุคคลที่ทำงานใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย ์มาแล้วทั้งสิ้น นายเชาว ์ณ ศีลวันต ์และ ม.ล.ทวีสันต ์ลดาวัลย ์ก็ดำรงตำแหน่งองคมนตรี

ด้วยคุณลักษณะของคณะกรรมการทรัพย์สินฯ ที่ประกอบไปด้วย ผู้ที่มีความสำเร็จระดับสูง ในหน้าที่การงานทั้งภาคราชการและเอกชนและการบริหารภาครัฐ รวมทั้งผู้มีชื่อเสียงทั้งในระดับ ภายในและต่างประเทศ และทำงานใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย ์ทำให้การบริหารงานของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากภาคธุรกิจเอกชนทั้งภายในและ
8 มิ.ย.2549
66

ต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักธุรกิจจำนวนมากมีความสนใจจะร่วมลงทุนร่วมกับ สำนักงานทรัพย์สินฯ ในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ทั้งในแง่ร่วมลงทุนกับธุรกิจหลักและธุรกิจย่อย รวมทั้งธุรกิจในเครือ หรือในบางธุรกิจพยายามที่จะดึงกรรมการของสำนักงานทรัพย์สินฯ บางท่าน โดยเฉพาะผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร เป็นต้น ด้วยลักษณะที่เป็นองค์กรที่มีเครดิตดีซึ่งระดมไปด้วยกรรมการที่มีภูมิหลังและเกียรติประวัติที่ดีงาม หากกลุ่มธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ประสบกับปัญหาการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น ภาวะวิกฤต เศรษฐกิจในปี 2540 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวก็มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเพราะสามารถความช่วยเหลือใน รูปการออกพันธบัตรหรือเพิ่มทุนจากสาธารณะชนได้เป็นอย่างดี

ข้อเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการบริหารงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ นับแต ่พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประกาศใช้นับแต่ปี 2491 เป็นต้นมา คือ การพยายามที่จะ แต่งตั้งคณะกรรมการผู้มีภูมิหลังไม่สังกัดกับพรรคการเมือง หรือหลีกเลี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับ นักการเมือง หากจะแต่งตั้งจากผู้เป็นนักบริหารอาชีพจากแวดวงราชการ รวมทั้งธุรกิจต่าง ๆ นับแต ่ปี 2491 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการทรัพย์สินฯ ล้วนแต่มีภูมิหลังที่ไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง หรือเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ๆ ซึ่งสะท้อนภาพความเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย์อย ู่เหนือกลุ่มการเมืองอื่น ๆ จากคุณสมบัติดังกล่าวของคณะกรรมการฯ ที่ปราศจากการดำเนินการทาง การเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่สังกัดพรรคการเมือง ทำให้ภาพพจน์ขององค์กรในการบริหาร จัดการแตกต่างจากองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ก่อนปี 2516 ที่ได ้พึ่งพากลุ่มนักการเมือง รวมทั้งเผด็จการทหารและธุรกิจการเมืองมาเป็นคณะกรรมการบริหาร (Board of committee) เพื่อสร้างฐานอำนาจทางเศรษฐกิจให้แก่ธุรกิจของตนเอง ปัจจัยดังกล่าว ข้างต้นก็ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีความเชื่อถือและไว้ใจจาก สาธารณชนมากยิ่งขึ้น


พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491
กับการคุ้มครองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .

แม้สถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ จะเป็นหน่วยงานที่ทำงานรับใช้สถาบัน พระมหากษัตริย ์โดยมีผู้อำนวยการและคณะกรรมการทรัพย์สินฯ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน ทรัพย์สินฯ เป็นผู้ถวายการรับใช ้แต่พระราชอำนาจสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์นั่นเอง เช่น การให ้เช่าที่ทรัพย์สินฯ เป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการ แต่การขายที่ทรัพย์สินฯ ก็ต้องขอพระราชทานพระ บรมราชานุญาต (สัมภาษณ ์ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ใน Corporate Thailand, December 2003 : 33) และพร้อม ๆ กับการเข้มแข็งของสถาบันพระมหากษัตริย ์กฎหมายโดยได้ให้ความุค้มครอง พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐเหนือบุคคลทั่วไป โดยที่ประมวลกฎหมายอาญา 1 มาตรา
8 มิ.ย.2549
67

112 ได้มีบทบัญญัติเรื่องการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย ์เช่น ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย ์พระราชินีรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค ์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี (อ้างใน เกษียร, มติชน 27/พ.ค./49)

พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 ก็มีบทบัญญัติสำคัญที่คุ้มครองทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์เพื่อไม่ให้ตกไปสู่บุคคลอื่น ยกเว้นแต่ได้รับพระบรมราชานุญาตเท่านั้น ดังนั้น หาก สำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกฟ้องหรือดำเนินคดีและสำนักงานทรัพย์สินฯ แพ้คดีเช่น ในกรณีที่ดินอัน เป็นอสังหาริมทรัพย ์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไม่สามารถบังคับคดีโดยยึดที่ดินอันเป็น อสังหาริมทรัพย ์เพราะตาม พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 (มาตรา 7) และคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการกฤษฎีกาความเรื่องที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่า ผู้ใดจะอ้างการครอบครอง ปรปักษ์ไม่ได ้หรือจะตกเป็นทางสาธารณะโดยการอุทิศสาธารณะไม่ได ้และหากไม่มีกฎหมายให ้โอนเป็นทางสาธารณะ ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็จะตกเป็นทางสาธารณะไม่ได ้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นการบังคับคดียึดทรัพย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อขายทอดตลาด เป็นการโอน กรรมสิทธ์ิทรัพย์สินในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โอนก็ไม่เป็นการโอนโดยชอบ ด้วยกฎหมาย (สกุณา 2543 : 80 – 82) นอกจากนี้คำวินิจฉัยและ พ.ร.บ. ข้างต้นได้ครอบคลุม ทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ด้วย คือกรณีแม้เป็นประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย ์หากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต หรือไม่มีบทบัญญัติให้โอนหรือจำหน่าย การ โอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวก็ไม่มีผลเป็นการโอนโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังจะเห็นได้จาก พ.ร.บ. 2491 (ฉบับที่ 3) มาตรา 7 ซึ่งบทบัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 6 ทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และ โดยได้รับพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน ์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือ จำหน่ายได้เท่านั้น”

ด้วยลักษณะสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยเฉพาะกฎหมายให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ให้ความคุ้มครองสถานะของ พระมหากษัตริย์) ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะและประมุขของชาติการดำเนินการเกี่ยวกับการ ตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯ จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตและไม่พึงดำเนินการสอบสวนให ้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา “เรื่องเสร็จที่118/2544 เรื่อง ฐานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญวาด้วยผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542” อ้างใน สมศักด ์ิ2549 : 89)) มีผล ต่อรักษาฐานอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยเฉพาะการดำรงฐานะเป็น “เจ้าที่ดิน” รายใหญ ่โดยเฉพะในย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ และ “ที่ดิน” ให้กลายเป็น “สินทรัพย์” ที่
8 มิ.ย.2549
68

ใช้ในการลงทุนและที่มาของความมั่งคั่งของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในช่วงภาวะวิกฤตสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สำนักงานทรัพย์สินฯ ในปี 2544 ได้ใช้ที่ดินของ ทรัพย์สินฯ บริเวณสวนมิสกวัน และบริเวณคุรุสภา จำนวน 14,100 ตารางวา ซึ่งมีมูลค่า 1,198.5 ล้านบาท ไปแลกกับหุ้นของกระทรวงการคลังเพื่อไปเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งกระทรวงการคลังได้จัดสรรหุ้นให้แก่สำนักงานทรัพย์สินฯ จำนวน 34,242,857 หุ้น (ราคาหุ้นละ 35 บาท) โดยต้นปี 2547 ราคาหุ้นของ ปตท. มีราคาเพิ่มขึ้นมาถึง 5 เท่าตัว โดยมายืนอย ู่ณ ระดับ 140 – 170 บาท ส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีกำไรจากการเพิ่ม มูลค่าหุ้น ปตท. ไปเป็นจำนวนถึงกว่า 35,000 ล้านบาท (ทรงเกียรติ2547 : 39) ในเดือนกันยายน 2547 สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นใน ปตท. เท่ากับ 16.4 ล้านหุ้น (http://www.settrade.com/) นอกจากนี้ใน ปี 2546 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้นำที่ดินบริเวณทุ่งพญาไท จำนวน 484.5 ไร่ (มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท) ไปแลกกับหุ้นของกระทรวงการคลังในธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อพยายามเพิ่ม สัดส่วนการถือหุ้นจากร้อยละ 11.8 ในปี 2546 ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 24.0 ในปี 2549 ในที่สุดก็สามารถ ทำได้สำเร็จทั้ง ๆ ที่การกระทำดังกล่าวคือ การแลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นเป็นการกระทำที่กฎหมายไม ่อนุญาตให้กระทรวงการคลังทำได้ “ที่ดิน” เป็น “สินทรัพย์” และเป็นแหล่งที่มาของรายได้ของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ใหญ่ที่สุดของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งในแง ่การลงทุนในหุ้นเพื่อได้เงินปัน ผลและผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้น การลงทุนทางธุรกิจ เช่น การพัฒนาอสังหาริมทรัพย ์รวมทั้งเป็นที่มาของผลประโยชน์จากค่าเช่าและค่าธรรมเนียม

สถานภาพของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีฐานะเป็น “หน่วยงานของรัฐ” ก็มีผลต่อ “การ สะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ดังจะเห็นได้จากธนาคารแห่งประเทศไทยมีกฎหมายบังคับให ้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งให้มีการกระจายหุ้น (พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 เพื่อลดแรงกดดันจากสาธารณะเรื่องการเป็นธุรกิจของครอบครัว หรือผูกขาดทางธุรกิจโดยกลุ่มทุน ขนาดใหญ ่โดยกฎหมายบังคับให้กระจายหุ้นเสร็จภายในวันที่ 7 มีนาคม 2527 ซึ่งวันดังกล่าว สำนักงานทรัพย์สินฯ มีหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์เท่ากับร้อยละ 36 (โดยลดลงจากร้อยละ 48.5 ใน ปี 2522) ซึ่งยังเกินอยู่ร้อยละ 5 ตามกฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตามได้มีการตีความตามกฎหมายว่า “การถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในข้อยกเว้นของกฎหมายเช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐ อื่น ๆ” (เกริกเกียรติ 2536 : 163) ดังนั้นกฎหมายการกระจายหุ้นแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง บทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะกลุ่ม “ทุน” ที่ควบคุมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย ์อย่างมีนัยสำคัญ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในภาคธนาคารและบริษัท ในเครือของธนาคารอย่างรวดเร็ว
8 มิ.ย.2549
69


บทที่ 5 วิกฤตการณ์ปี 1997 และการปรับตัวของสำนักงานทรัพย์สินฯ

วิกฤตการณ์ปี 1997 และผลกระทบ

การปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 และหลังจากนั้นมิเพียงแต่ส่งผลต่อความเสียหายต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได ้กำไร รวมทั้งการขยายตัวของการลงทุนของธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ทั้งธุรกิจหลักและธุรกิจร่วม แต่ยังส่งผลต่อการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ทั้งในด้านยุทธศาสตร ์นโยบาย การบริหารและการ จัดการ และการลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อรองรับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้ง ภายในและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

รายได้หลักของธุรกิจหลักและธุรกิจในเครือได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประสพกับ ปัญหาการขาดทุนอย่างขนานใหญ ่รายได้ของธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2540 เท่ากับ 31,808 ล้าน บาท และลดลงเท่ากับ 20,534, 18,050, 25,750, 24,278, 28,056 และ 30,335 ล้านบาท ในปี 2541 – 2546 ส่งผลให้ธนาคารประสพกับการขาดทุนสูงถึง 15,555, 35,550 และ 12,487 ล้านบาท ในป .2541, 2542 และ 2545 ตามลำดับ (รายงานประจำป ีธนาคารไทยพาณิชย ์ฉบับต่าง ๆ) หนี้ที่ไม ่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก (NPL) หนี้สงสัยจะสูญเท่ากับ 18,153 ล้านบาท ใน ปี 2540 และเพิ่มขึ้นเป็น 25,938, 82,579 และ 74,794 ล้านบาท ในปี 2544 – 2546 หนี้ที่ไม่มีคุณภาพเหล่านี้ส่วนสำคัญเกิดจากการปล่อยให้กู้กับบริษัทในเครือและบริษัทที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นอยู่ด้วยที่สำคัญคือ บงล. สยามสินธร (8,780 ล้านบาท) บ. ไอทีวี (2,835 ล้านบาท) คริสเตียนีแอนด ์นีลเส็น (ไม่มีข้อมูล) และเครือซีเมนต์ไทย (ไม่มีข้อมูล) (ญิบพัน 2547 : 186) เงินกู้เหล่านี้ธนาคารปล่อยให้กู้ก่อนปี 2540 ในป ีค.ศ. 2541 ยอดเงินกู้เหล่านี้มีมูลค่าสูงถึง 45,027.87 ล้านบาท (รายงานประจำปี 2541 ธนาคารไทยพาณิชย์) นอกจากนี้ธนาคารยังประสบกับปัญหาการขาดทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก เพราะธนาคารพึ่งพาแหล่งเงินกู้จาก ต่างประเทศในระดับสูงประมาณร้อยละ 20 – 22 ของเงินทุนทั้งหมด การพึ่งพาเงินกู้จาก ต่างประเทศของธนาคารเพิ่มจาก 79, 797.3 ล้านบาท ในปี 2537 เป็น 134,554 ล้านบาทในปี 2540 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ในช่วง 2537 – 2540 (แบบ 56-1) ดังนั้นยิ่งธนาคารพึ่งพิงแหล่งเงินกู้จาก ต่างประเทศมากขึ้นเท่าใดย่อมมีผลต่อการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้นเท่านั้น การขาดทุน อย่างมหาศาลส่งผลให้ธนาคารงดจ่ายเงินปันผลเป็นเวลาติดต่อกัน 5 ป ีในช่วง 2541 – 2545 หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ขาดรายได้จากเงินปันผลในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย ์ประมาณ 800 – 900 ล้านบาทต่อป ีในช่วง 2541 – 2545 นั่นเอง 8 มิ.ย.2549
70

ในกรณีของเครือซีเมนต์ไทย รายได้จากการขายได้ลดตํ่าลง โดยเฉพาะ 3 ป ีหลังจากเกิด วิกฤตการณ์ในปี 2540 คือ จากยอดขายเท่ากับ 119,059 ล้านบาท ในปี 2540 เหลือเพียง 100,004, 99,987 และ 116,337 ล้านบาท ในปี 2541 – 2543

ยอดกำไรก่อนเสียภาษีเงินได้ (Total Ebitda) แสดงว่า บริษัทประสบกับการขาดทุนอย่าง ต่อเนื่องจาก 2,741 ล้านบาท ในปี 2541 และเท่ากับ 3,872 ล้านบาท และ 465 ล้านบาท ในปี 2542 และ 2543 ส่งผลให้ยอดขาดทุนสุทธิในบางปีอยู่ในระดับสูงมาก เช่น ในปี 2540 ยอดขาดทุนสูงถึง 52,551 และในปี 2542 ยอดขาดทุนเท่ากับ 4,785 ล้านบาท ภาวะหนี้สินโดยเฉพาะหนี้ต่างประเทศ ของบริษัทฯ ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย เพราะบริษัทฯ ได้กู้เงินจากต่างประเทศอย่างมากมายใน ทศวรรษ 2530 การปล่อยค่าเงินบาทลอยตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ส่งผลให้หนี้สินรวมของ บริษัทฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 273,620 ล้านบาทในปี 2540 และเท่ากับ 214,124 ล้านบาท และ 202,000 ล้านบาท ในปี 2541 และ 2542 ตามลำดับ (Thailand Company Handbook 2003 : 81) ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ให้สัมภาษณ์กับ Corporate Thailand ว่า “ตอนเกิดวิกฤต ลดค่าเงิน บาท ทุก ๆ วันที่เราตื่นขึ้นมาตอนเช้า ลด 1 บาท เท่ากับหนี้ปูนซีเมนต์ไทยเพิ่มขึ้น 2,500 ล้านบาท” (Corporate Thailand 2003 : 41) ในช่วงปี 2540 – 2544 เครือปูนซีเมนต์ได้งดจ่ายเงินปันผลให้แก่ผ ู้ถือหุ้น ซึ่งหมายความว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้สูญเสียรายได้เงินปันผลจากเครือซีเมนต์ไทย ประมาณ 800 – 900 ล้านต่อป .

ภาวะวิกฤตที่เกิดกับ บจม. ปูนซีเมนต์ไทยและธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะที่เป็นเส้นเลือด ใหญ่ที่หล่อเลี้ยงธุรกิจของกลุ่มทรัพย์สินฯ ซึ่งมีบริษัทลงทุนจำนวนมากจึงมีผลกระทบต่อ “รายได้” และ “ผลกำไร” ของธุรกิจเหล่านี้ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายนับหลายพันล้านบาททีเดียว และหากนับ รวมความเสียหายของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการลงทุนในธนาคารพาณิชย์สาม แห่งที่ถูกลดมูลค่าหุ้นเหลือสตางค์เดียว คือ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารนครธน (ปัจจุบันคือ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์นครธน) ธนาคารมหานคร รวมทั้งเงินลงทุนที่สูญไปในไฟแนนซ์ที่ถูกปิด กิจการ เช่น บงล. สินทรัพย์อุตสาหกรรม บงล. ธนสยาม มูลค่าความเสียหายอยู่ราว 1,800 ล้านบาท (ญิบพัน : 2547) นอกจากนี้ธุรกิจในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ เช่น บ.คริสเตียนีแอนด ์นีลเส็น บ. อ่าวขาวไทย บ.ทุ่งคาฮาเบอร์เข้าสู่โครงการบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ประมาณการว่าก่อนเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีทรัพย์สินและยอดเงินลงทุนในกิจการต่าง ๆ มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 20 พันล้าน US ดอลลาร ์โดยที่วิกฤตการณ์ปี 1997 ส่งผลให้ยอดขายหรือรายได้ของธุรกิจต่าง ๆ ลดลงถึงร้อยละ 75 และการ ลดลงอย่างมหาศาลของรายได้ดังกล่าวทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารไทย
8 มิ.ย.2549
71

พาณิชย์และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ สูงถึง 200 ล้าน US ดอลลาร ์เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายของกิจการ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ (Ellis 10 July 2003)


สำนักงานทรัพย์สินฯ และธุรกิจในเครือ
และการปรับตัวทางธุรกิจภายหลังป ีพ.ศ. 2540

วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักมิเพียงแต่ธุรกิจหลักของ สำนักงานทรัพย์สินฯ หากแต่ยังส่งผลต่อธุรกิจอื่น ๆ ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ร่วมลงทุนด้วย ภายหลังภาวะวิกฤตการณ์ประมาณ 2 – 3 ป ีได้มีการปรับตัวอย่างขนานใหญ่ของโครงสร้างการ บริหารและการจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัทในเครือในด้านต่าง ๆ ทั้งการเปลี่ยน นโยบาย การลงทุน การปรับโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างธุรกิจ ลดขนาดขององค์กร การปรับ โครงสร้างหนี้การปรับลดพนักงาน การถอนตัวจากธุรกิจที่ร่วมทุน ยกเลิกแผนการลงทุน ลด สัดส่วนการถือหุ้น ขายหุ้นบางส่วนให้แก่กลุ่มธุรกิจภายในประเทศและต่างประเทศเปลี่ยนแปลง กรรมการ ขายกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนแก่กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ปิดกิจการ หรือถอนการลงทุนจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเข้าโครงการฟื้นฟูในตลาดหลักทรัพย์แตกแขนงผลิตภัณฑ ์ขยาย กิจการโดยการเพิ่มทุน ฯลฯ

ในบทนี้จะได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางธุรกิจในด้านการลงทุนของ สำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัทในเครือ โดยจะพิจารณาใน 2 หัวข้อ

1. การปรับบทบาทด้านการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ
2. การปรับตัวด้านการลงทุนของบริษัทในเครือ การปรับบทบาทด้านการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ

ภายหลังวิกฤตการณ์ในปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีการปรับตัวหลายประการที่สำคัญคือ

ประการแรก การเปลี่ยนบทบาทจากผู้ลงทุน “ระยะยาว” ในธุรกิจต่าง ๆ (ยกเว้น ผู้ถือหุ้น ระยะยาวในธุรกิจหลักคือ บจม. ปูนซีเมนต์ไทย บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์และ บจม. เทเวศ ประกันภัย) มาเป็นผู้จัดการการลงทุน “ระยะสั้น” ที่อาศัยการหารายได้จากการลงทุนหลักทรัพย ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ

ในอดีตที่ยาวนานก่อนปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และสามารถเข้าไปมีส่วนสำคัญในการบริหารทั้งในรูปของส่ง บุคคลจากสำนักงานทรัพย์สินฯ หรือบุคคลจากบริษัทในเครือของสำนักงานฯ เข้าไปมีส่วนร่วมใน การบริหารบริษัทต่าง ๆ ในรูปของคณะกรรมการบริหารของบริษัท หากบริษัทในเครือหรือบริษัท
8 มิ.ย.2549
72

ร่วมลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ มีการขยายตัวทางธุรกิจหรือมีกำไรในระดับสูง สำนักงาน ทรัพย์สินฯ ก็จะมีรายได้ในรูปของเงินปันผลรายปีจากการเป็นผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ รายได้จากเงินปันผลดังกล่าวถือว่าเป็นรายได้หลักของสำนักงานทรัพย์สินฯ มาโดยตลอด ภายหลัง ปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ทบทวนถึงบทบาทที่ควรจะเป็นในการลงทุนทางธุรกิจโดยเห็นว่า ควรจะลงทุนระยะยาวทางธุรกิจในกิจการที่เป็นธุรกิจหลักและธุรกิจดั้งเดิม คือ บจม. ปูนซีเมนต ์ไทย บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์และ บจม. เทเวศประกันภัย เท่านั้น (สัมภาษณ ์ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา) เหตุผลสำคัญคือว่าในอดีตนั้น (โดยเฉพาะในทศวรรษ 2510 และ 2520) พัฒนาการทาง เศรษฐกิจของไทยที่ต้องอาศัยภาคเอกชนโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการ พัฒนาประเทศย่อมต้องอาศัยระดมเงินทุน (capital) เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการขยายกิจการ ของธุรกิจ ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในขณะนั้นยังมีสภาพล้าหลังและมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ในปี 2524 บริษัทจดทะเบียน และบริษัทรับอนุญาตทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ยังมีเป็นจำนวนน้อย คือ มีเพียง 75 บริษัท และในบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่มีผู้ถือหุ้นจำนวนไม่มากนัก คือ บริษัทจดทะเบียนและบริษัทรับ อนุญาตทั้งหมดประมาณร้อยละ 70 มีผู้ถือหุ้นบริษัทละไม่ถึง 500 ราย และประมาณร้อยละ 85 มีผ ู้ถือหุ้นบริษัทละไม่ถึง 1,000 ราย ในแง่ของการกระจายหุ้นไปสู่ผู้ถือหุ้นรายย่อยนั้นเกือบทั้งหมด (เกินกว่าร้อยละ 90) มีผู้ถือหุ้นรายย่อย (ไม่เกิน 5 ใน 1,000 ของทุนจดทะเบียน) ไม่ถึงร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน ดังนั้น การเจริญเติบโตของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงเป็นการขยาย ทุนของกลุ่มทุนทางธุรกิจไม่กี่ครอบครัวนั่นเอง (ชัยอนันต์ 2531) สภาพความล้าหลังของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงสะท้อนภาพของความล้าหลังของตลาดทุนในประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะกลุ่ม “ทุน” ทางธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการสะสมทุนทาง เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องจึงเป็นแหล่ง “เงินทุน” และกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มีความประสงค์เพื่อร่วมลงทุน ทางธุรกิจด้วย นอกจากนี้ด้วยฐานะที่เป็นกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็น ผู้บริหารจัดการและปราศจากการควบคุมและแทรกแซงในทางการเมือง ตลอดจนธุรกิจในเครือของ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีภาพลักษณ์การบริหารงานธุรกิจโดยนัก บริหารอาชีพ กลุ่ม “ทุน” ธุรกิจต่าง ๆ จึงได้เข้าร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินฯ ในการร่วมทุนทาง ธุรกิจ โดยมีการเกาะกลุ่มทางธุรกิจอย่างหนาแน่นในรูปแบบการถือหุ้นร่วมกัน การควบคุมอำนาจ การบริหารในรูปแบบการเกาะกลุ่มกันในรูปคณะกรรมการต่าง ๆ อย่างไรก็ตามนับแต่ต้นทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยและกลุ่มทุนทา.ธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในด้านหนึ่งตลาด ทุนหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะส่วนหนึ่งเกิดจากการไหล บ่าของทุนต่างประเทศเนื่องจากการเปิดเสรีทางการเงิน มูลค่าตลาด (marker capitalization) ในการ
8 มิ.ย.2549
73

ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2523 มูลค่าตลาดคิดเป็นเพียง ร้อยละ 3.9 ของ GDP และเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 31.4, 87.8 และ 95.6 ของ GDP ในปี 2533, 2538 และ 2546 ตามลำดับ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) และจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ เพิ่มจาก 75 บริษัท ในปี 2523 และเพิ่มเป็น 416 บริษัท และ 409 บริษัท ในปี 2535 และ 2546 (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) การเติบโตอย่างรวดเร็วของมูลค่าตลาดและบริษัทจด ทะเบียน แสดงถึงธุรกิจต่าง ๆ สามารถระดมทุนขนาดใหญ่ทั้งภายในและต่างประเทศโดยผ่านตลาด หลักทรัพย ์ดังนั้น ในแง่นี้บทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะเป็นผู้ร่วม “ทุน” กับธุรกิจ ต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นน้อยลง นอกจากนี้พัฒนาการของธุรกิจในโลกยุคใหม่ได้นำมาสู่การเป็น บริษัทมหาชน (public company) และนำไปสู่การแบ่งแยกระหว่างหลักการบริหาร (management) และความเป็นเจ้าของ (ownership) โดยที่ผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ ก็มีบทบาทสำคัญในทางธุรกิจมากขึ้น ในทัศนะของ ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ มีความเห็นว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ ควรจะถอนตัวจากการร่วมลงทุนกับกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในแง่ของผู้ถือหุ้นราย ใหญ ่และหันมาทุ่มเทความสนใจในการพัฒนาธุรกิจหลักและดั้งเดิม และธุรกิจที่ดินและ อสังหาริมทรัพย์อันเป็นบทบาทโดยตรงของสำนักงานทรัพย์สินฯ (สัมภาษณ ์ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา 2 กุมภาพันธ์ 2548) ดังนั้น ภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าไปถือหุ้น ระยะยาวเพียง 3 บริษัทเท่านั้น คือ บจม. ปูนซีเมนต์ไทย บจม. เทเวศประกันภัย เท่านั้น (ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงตั้งบริษัทลูกคือ บริษัททุนลดาวัลย ์จำกัด (CPB Equity Co., Ltd.) ซึ่งสำนักงานฯ ถือหุ้น 100% ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 7,510 ล้านบาท เพื่อทำหน้าที่จัดการบริหารการลงทุนของสำนักงานฯ ทั้งหมด ประมาณว่ามียอดเงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท (ยกเว้น บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์บจม. ปูนซีเมนต์ไทย และ บจม. เทเวศ ประกันภัย ที่ยังขึ้นตรงต่อสำนักงานทรัพย์สินฯ) บริษัททุนลดาวัลย์จะบริหารในเชิงธุรกิจเต็มที่โดยเฉพาะ การลงทุนในระยะสั้น คือ ถ้าหุ้นในบริษัทไหนได้ราคาดีก็จะขายออกไป หรือกล่าวอีก นัยหนึ่งจะไม่ถือหุ้นระยะยาวเพื่อรอรับเงินปันผลแต่เพียงอย่างเดียว (การเงินการธนาคาร 2545 : 54)

ประการที่สอง การปรับบทบาทการลงทุนด้านที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในอดีตรายได้จาก การเก็บค่าเช่าและรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับที่ตํ่ามาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับค่า เสียโอกาสของที่ดินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ การปรับ บทบาทสำคัญในการลงทุนด้านที่ดินคือ การเพิ่มมูลค่าที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินเพื่อการพาณิชย์หรือผ ู้เช่ารายใหญ ่รวมถึงหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยการเพิ่มค่าเช่าให้ใกล้ “ราคาตลาด” ให้มาก ที่สุด สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ตั้งบริษัทลูกคือ บริษัทวังสินทรัพย ์จำกัด (CPB Property Co., Ltd.) โดยสำนักงานฯ ได้ถือหุ้น 100% บริษัทวังสินทรัพย์จะคอยดูแลเรื่องการลงทุนทางด้าน
8 มิ.ย.2549
74

อสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ (รวมทั้งที่เป็นรายที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้) เช่น การต้องเปลี่ยนสัญญา หรือหาผู้ลงทุนรายใหม ่ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้คนเป็นจำนวนมาก (การเงินการธนาคาร 2545 : 54) ผลงานชิ้นสำคัญของบริษัทวังสินทรัพย์คือ การตัดสินใจฟ้องขับไล่บริษัทวังเพชรบูรณ ์จำกัด ผู้พัฒนาโครงการเวิล์ด เทรด เซนเตอร ์บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ บริเวณสี่แยกปทุมวัน เมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม 2544 โดยระบุว่าคู่สัญญาผิดสัญญาในหลายกรณีพร้อมกับเรียกค่าเสียหายถึง 6,701 ล้านบาท และต่อมาได้ยกเลิกสัญญากับบริษัทวังเพชรบูรณ์และเซ็นสัญญาใหม่กับ บจม. เซ็นทรัลพัฒนา ของตระกูลจิราธิวัฒน์ (ญิบพัน 2547 : 69) หรือในกรณีการต่อสัญญาและอัตราค่า เช่าที่ดินของโรงแรมดุสิตธานีโดยบริษัทวังสินทรัพย์ได้เจรจาตกลงเพื่อให้มีการต่ออายุสัญญาค่า เช่าที่ดิน โดยใช้วิธีปรับค่าเช่าให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดมากขึ้น หรือใช้วิธี discounted cash flow เพื่อหามูลค่าปัจจุบันนั่นเอง (การเงินการธนาคาร 2545 : 55) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เจรจาการตกลง สัญญาเช่าที่ดินต่อไปของโรงแรมดุสิตธานีและการเปิดประมูลโครงการสวนลุมพินีไนท์บาร์ซา (การเงินการธนาคาร 2545 : 55) ในแง่นี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็จะได้รับประโยชน์ในรูป ผลตอบแทนจากค่าเช่าที่ดินเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานที่เน้นความ คล่องตัวและจัดการเชิงธุรกิจเพื่อมุ่งผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น แต่นโยบายหนึ่งที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยคือ นโยบายการเก็บค่าเช่าที่ดินสำหรับผู้มีรายได้น้อย สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่เพิ่มค่าเช่าในส่วนของผู้เช่าเพื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย (หรือรายได ้น้อย) ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นถึงร้อยละ 90 ของผู้เช่าทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้รายได้จากค่าเช่าในส่วนนี้มีประมาณ เพียงร้อยกว่าล้านบาทต่อป ีในช่วงปี 2544 – 2545 เท่านั้น (การเงินการธนาคาร 2545 : 55) อย่างไรก ็ตาม สำหรับผู้เช่าในเชิงธุรกิจหรือผู้เช่ารายใหญ ่รวมถึงหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ สำนักงาน ทรัพย์สินฯ มีแนวโน้มที่จะปรับอัตราค่าเช่าตามราคาตลาดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้รายได้จากค่าเช่า อสังหาริมทรัพย์ในส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเพียง 300 ล้านบาท ในปี 2542 และเพิ่มเป็น เกือบ 1,000 ล้านบาท ในปี 2548 (ญิบพัน 2547 : 69)
กล่าวโดยสรุปการปรับบทบาททางด้านการลงทุนต่าง ๆ ข้างต้น แสดงถึง สำนักงาน ทรัพย์สินฯ ได้มีการปรับตัวไปสู่องค์กรที่มุ่งเน้นผลตอบแทนทางธุรกิจมากยิ่งขึ้นมากกว่าในอดีต โดยเฉพาะการตั้งบริษัททุนลดาวัลย ์และบริษัทวังสินทรัพย ์เพื่อบริหารการลงทุนของสำนักงานฯ ซึ่งก็เป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจของการบริหารการจัดการจากสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อ ความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจเชิงรุก ในแง่การจัดโครงสร้างการบริหารในบริษัททุนลาดวัลย ์กับ บริษัทวังสินทรัพย ์นั้น สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ดึงนักบริหารอาชีพจากภาคธุรกิจเอกชนเข้ามา ทำงานในรูปคณะกรรมการและทำงานเต็มเวลา โดยคณะกรรมการจะประกอบไปด้วย ยศ เอื้อชูเกียรติเป็นประธาน และมีกรรมการอีก 6 คน ไมเคิล เซลชีม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล ศิรินทร .
8 มิ.ย.2549
75

นิมมาเหมินทร ์สานติกระจ่างเนตร ์บดินทร ์อัศวาณิชย ์และเดวิท เจมส ์มัลลิแกน และ ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล (ภายหลังได้ลาออกไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) จาก รายชื่อคณะกรรมการของคณะกรรมการเบื้องต้นแสดงถึง ความพยายามที่จะเปลี่ยนองค์กรในรูป ของการบริหารแบบธุรกิจสมัยใหม่และมีการจัดรูปองค์กรที่เน้นผลตอบแทนมากขึ้น ในขณะที่งาน หลักของสำนักงานทรัพย์สินฯ เองได้ลดบทบาทการลงทุนโดยตรงในทางธุรกิจซึ่งมีเพียงการเก็บค่า เช่าของธุรกิจหัก อันประกอบไปด้วย บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์บจม. ปูนซีเมนต์ไทย และ บจม. เทเวศประกันภัย (การเงินธนาคาร มีนาคม 2545 : 54)


การปรับตัวด้านการลงทุนของบริษัทในเครือ

ภายหลังจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วง 2540 – 2545 นั้น ได้มีการปรับตัวของ ธุรกิจในเครือฯ ในหลาย ๆ ด้านที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

ในกรณีของธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีความพยายามจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่จะรักษา ธุรกิจนี้อย่างเต็มที่เพราะมิเพียงแต่เป็น “ฐานทางเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของธุรกิจในเครือของ สำนักงานเท่านั้น แต่ทว่าต้องการจะสืบทอด เจตนารมณ์มรดกที่เก่าแก่ของ “สถาบัน พระมหากษัตริย์” และสังคมไทย ดังนั้นสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงมีความตั้งใจที่จะเพิ่มสัดส่วนการ ถือหุ้นขึ้นไปอีกเพื่อกลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เช่นเดิม รวมทั้งจะต้องเข้าไปดูแลให้ธนาคาร เจริญเติบโตและมั่นคงในระยะยาว (สัมภาษณ ์นายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา, การเงินการธนาคาร 2545 : 56)

ดังนั้น ได้มีการขายหุ้นเพิ่มทุน 3 ครั้ง มีการขายหุ้นเพิ่มทุน 3 ครั้งในวันที่ 31 ธันวาคม 1997 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 และ 6 พฤษภาคม 2541 ให้แก่ธนาคารซันวาของประเทศญี่ปุ่น (The Sanwa Bank Ltd.) และธนาคารลองเทอม เครดิต แห่งประเทศญี่ปุ่น (Long Term Credit Bank of Japan) จนกระทั่งธนาคารซันวาของญี่ปุ่นมีสัดส่วนของการถือหุ้นเพิ่มจากร้อยละ 7.42 วันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นร้อยละ 13.12 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 และเหลือร้อยละ 8.64 ในวันที่ 14 มีนาคม 2543 โดยที่ก่อนที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในวันที่ 31 ธันวาคม 2539 ธนาคารซันวาถือหุ้นไทยพาณิชย ์อยู่เพียงร้อยละ .58 เท่านั้น (อุกฤษณ์ 2546 : 109 – 110) นอกจากเพิ่มทุนโดยให้สัดส่วนของบริษัท ต่างชาติเข้าถือหุ้นเพิ่มขึ้นได ้นายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพย์สินฯ และประธานกรรมการธนาคารไทยพาณิชย ์ได้นำธนาคารไทยพาณิชย์เข้าโครงการ “14 สิงหาคม” ของกระทรวงการคลังที่เปิดทางให้ธนาคารพาณิชย์ที่ไม่สามารถจะเพิ่มทุนได้ตามเกณฑ ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดขอรับความช่วยเหลือจากภาคเอกชนให้ได้ 32,500 ล้านบาท และรัฐบาล ก็เพิ่มเงินเข้าไปอีก 32,500 ล้านบาท แต่ธนาคารฯ หาเงินได้ไม่พอเพียงและสามารถนำเงินลงทุนเข้า
8 มิ.ย.2549
76

ไปในครั้งนั้นเพียง 7,000 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจากช่วงเวลานั้นตลาดหลักทรัพย์อยู่ในภาวะซบเซา และไม่สามารถรองรับการเพิ่มทุนเป็นจำนวนมากตามที่ธนาคารตั้งเป้าเอาไว ้ธนาคารฯ ได้ขายหุ้นบุริมสิทธ์ิเพิ่มทุนให้แก่กระทรวงการคลัง จำนวน 1,250 ล้านหุ้น ซึ่งส่งผลให้ในปี 2543 สำนักงาน ทรัพย์สินฯ จึงมีสัดส่วนการถือหุ้นเพียงประมาณร้อยละ 12.6 ของปริมาณหุ้นทั้งหมดของธนาคาร ส่วนกระทรวงการคลังมีสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 38.8 ส่วนทีเหลืออีกประมาณร้อยละ 45.4 เป็นของชาวต่างชาติเช่น UFJ Bank (12.6%), Thailand Securities Depository Co., Ltd. (5.94%) เป็นต้น แม้ว่าสัดส่วนการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ จะมีอยู่เพียงร้อยละ 12.5 แต่การบริหาร จัดการยังคงเป็นคณะผู้บริหารและกรรมการที่มาจากกลุ่ม “ทุน” ของทรัพย์สินฯ เช่นเดิม โดยมีการ เปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีนายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา เข้าไปดำรงตำแหน่งนายก กรรมการของธนาคาร และแต่งตั้ง ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย เข้าไปเป็นประธานกรรมการผู้จัดการใหญ ่แทน ดร.โอฬาร ไชยประวัติโดยที่ตำแหน่งบริหารระดับสูง เช่น รองผู้จัดการใหญ่ยังคงเป็นคน ภายในธนาคารพาณิชย์เช่นเดิม (ยกเว้นในปี 2545 ที่มีการแต่งตั้งนาย Mahito Kageyama เป็น คณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์) เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีผลต่อการ เพิ่มอำนาจในการบริหารให้แก่ผู้ถือหุ้นต่างชาติซึ่งถือหุ้นรวมกันมีถึงร้อยละ 45.4 ทั้งนี้อาจจะเป็น เพราะว่าผู้ถือหุ้นต่างชาติเหล่านี้เป็นพันธมิตรเก่าของธนาคารไทยพาณิชย์มาเนิ่นนาน (ในประเด็นนี้ดูที่อุกฤษณ์ 2546 : 110) หรืออาจเป็นภาพสะท้อนว่าในช่วงการบริหารงานของรัฐบาลชวน หลีกภัย อันมีนายธารินทร ์นิมมานเหมินทร ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นต้น ซึ่งเป็น “ลูกหม้อ” เก่าของธนาคารพาณิชย ์มีอำนาจเจรจาและประสานผลประโยชน ์เพื่อให้ธนาคารไทยพาณิชย ์อัน เป็นฐานทางเศรษฐกิจที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของ “ทุน” กษัตริย์ได้ดำเนินการบริหารโดย “คนไทย” เป็นสำคัญ โดยมีสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “เสาหลัก” ต่อไป

หลังจากได้มีการปรับโครงสร้างหนี้และปรับโครงสร้างสัดส่วนผู้ถือหุ้น รวมทั้งมีการปรับ องค์กรใหม ่เช่น กลุ่มงานธุรกิจขนาดใหญ ่กลุ่มงานธุรกิจต่างประเทศ และตลาดเงิน ตลาดทุน กลุ่ม งานลูกค้าบุคคลและธุรกิจขนาดย่อม กลุ่มงานบริหารความเสี่ยงและสนับสนุนองค์กร กลุ่มงาน บริหารทรัพย์สิน และกลุ่มงานเทคโนโลยีและปฏิบัติการ รวมทั้งมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ ส่งผลให้กิจการของธนาคารเริ่มมีการฟื้นตัวตามลำดับ ธนาคารไทยพาณิชย์ได ้กลับมามีกำไรอีกครั้งคือ เท่ากับ 3,560.17 ล้านบาท 404.66 ล้านบาท และ 1,045 ล้านบาท ในป .2543, 2544 และ 2546 ตามลำดับ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) นอกจากนี้มีความพยายาม ของนายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ที่จะนำสำนักงานทรัพย์สินฯ เข้าซื้อหุ้นจากกระทรวงการคลังคืน เพื่อดำรงความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่คืนมา โดยการนำที่ดิน “ของสำนักงานทรัพย์สินฯ” เพื่อเข้าซื้อ หุ้นคืนจากกระทรวงการคลัง เพราะส่วนหนึ่งกระทรวงการคลังไม่ต้องการที่จะเป็นผู้ถือหุ้นราย
8 มิ.ย.2549
77

ใหญ ่และถือหุ้นระยะยาว จึงได้มีการออก Warrant เพื่อให้ภาคเอกชนที่สามารถลงทุนสามารถซื้อ หุ้นของกระทรวงการคลังได้ภายใน 3 ป ีด้วยราคาเงินต้นบวกด้วยดอกเบี้ย (ดอกเบี้ย ปีที่ 3 ฉบับที่275 2547 : 35 – 42) และถ้าหากทำสำเร็จ สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เหมือน เมื่อก่อนเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 (สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นในธนาคารไทย พาณิชย ์เท่ากับ 26.2%) ในปี 2539 และเท่ากับ 21.7%, 12.6% และ 7.17% ในปี 2541, 2542, 2544 และ 2546 ตามลำดับ) นอกจากจะเพิ่มทุนในกรณีของ บจม. ธนาคารไทยพาณิชย์แล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เพิ่มทุนของบริษัทในเครือด้วยที่สำคัญคือ ธนาคารไทยพาณิชย์เพิ่มทุน Siam Sanwa Industrial Credit PLC (จาก 8.18% ปี 2539 เป็น 49.51% ในปี 2543) Siam General Factoring PLC (จาก 10.41% ในปี 2539 เป็น 7.9% ในปี 2543) บจม. เทเวศประกันภัย (จาก 7% ในปี 2536 เป็น 15.8% ในปี 2543) Siam Commercial Life Assurance จาก 5.0% ในปี 2539 เป็น 31.31% ในปี 2543) บจม. สามัคคีประกันภัย (เพิ่มทุนจาก 10.1% ในปี 12539 เป็น 53.27% ในป .2543) (เนตรนภา 2547 บทที่ 3) กล่าวโดยสรุปการปรับตัวของการดำเนินธุรกิจของธนาคารเองและ บริษัทในเครือคือ ลดขนาดของการลงทุนในบริษัทย่อยและในเครือที่ไม่ใช่ธุรกิจหัก ดังจะเห็นได ้จากแนวนโยบายในการลงทุนของธนาคารในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

“ธนาคารกำหนดแนวนโยบายในการลงทุนโดยเน้นการลงทุนระยะยาวในธุรกิจการเงินที่สอดคล้องกับนโยบายการเป็น Universal Bank ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโต หรือมีผลตอบแทน ในรูปของเงินปันผลขณะที่ลดการลงทุนในธุรกิจอื่น รวมถึงธุรกิจที่ได้จากการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางการเงิน และ/หรือธุรกิจที่สนับสนุนงานของธนาคาร สำหรับการ บริหารงานในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมนั้น หลักการคือการที่บริษัทต่าง ๆ ต้องสามารถดำเนิน ธุรกิจได้ด้วยตนเอง และมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต ต้องมีกำไรสุทธิจากการ บริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและสามารถจ่ายผลตอบแทนคือให้กับธนาคารได้ในอัตราที่เหมาะสม ทั้งนี้ในแง่ของการควบคุมการดูแลการบริหารงานในบริษัทย่อยและร่วมนั้น ธนาคารมีกรรมการตัวแทนเพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของธนาคารและผู้ถือหุ้น” (แบบ 56-1)
ข้อความดังกล่าวข้างต้นน่าจะสะท้อนภาพของนโยบายการลงทุนของธนาคารที่เน้นการ เจริญเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินของธนาคาร และลดธุรกิจย่อยและธุรกิจร่วมอื่น ๆ ในขณะเดียวกันธนาคารก็จะพยายามควบคุมดูแลการบริหารด้วย

ส่วน บจม. ปูนซีเมนต์ไทย และบริษัทในเครือภายหลังวิกฤตการณ์ในปี 2540 ก็มีการ ปรับตัวอย่างขนานใหญ่ที่สำคัญคือ การพยายามปรับตัวให้องค์กรมีขนาดเล็กลงโดยการลดขนาด ของการลงทุน (หรือในบางกรณีหยุดการลงทุน) และหันมาปรับปรุงโครงสร้างของเครือซีเมนต .
8 มิ.ย.2549
78

ไทยให้มุ่งเน้นในธุรกิจหลัก คือ ซีเมนต์ไทย ปิโตรเคมีและกระดาษ ลดบทบาทในธุรกิจที่ไม่ใช ่ธุรกิจหลัก เน้นผลการตอบแทนการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ในภารกิจเฉพาะหน้าก็คือ การ ยืดหนี้ระยะสั้นให้เป็นระยะยาว โดยการออกหุ้นกู้ระยะยาว เป็นต้น รวมทั้งมีการขายหุ้นในบาง ธุรกิจหรือขายกิจการบางส่วน เพื่อให้ได้มาเพื่อจำนวนเงินเพื่อลดภาระหนี้ต่างประเทศ ตาราที่ 5 ดัง มีรายการขายกิจการหรือขายหุ้นในตารางข้างล่างนี้

ตารางที่ 5 บริษัทที่เครือซีเมนต์ไทยขายกิจการและเงินลงทุนทิ้ง

บริษัท สถานะ กลุ่มปิโตรเคมี-บ.นวพลาสติกอุตสากรรม (สระบุรี) จำกัด -บ.เทียนจินซีเมนต์ไทยพลาสติกโปรดักส ์จำกัด ขายกิจการให ้บ.ไทยพลาสติกเคมีภัณฑ ์จำกัด ลดสัดส่วนการลงทุนเหลือ 25% โดยขายหุ้น ให้กับ บ.เทียนจิน บิลดิ้ง แมทีเรียลเจเนอรัล กรุ๊ป กลุ่มกระดาษ บ.สยามการพิมพ์และบรรจุภัณฑ ์บมจ. เยื่อกระดาษสยาม ลดการลงทุนจาก 88% เหลือ 49% โดยขายหุ้นให้กับ บริษัทท็อปปัน พริ้นติ้ง (ญี่ปุ่น) กลุ่มเซรามิก Title Cera Inc (สหรัฐอเมริกา) และ Lammo Sa Revestimientos S.A. (เม็กซิโก) ถอนการลงทุนในธุรกิจเซรามิกจากอเมริกา เหนือ โดยขายกิจการ Tile Cera ทั้งหมดให .Florim (อิตาลี) และขายหุ้น Lamosa Revestimientos S.A. (เม็กซิโก) ให้กับผู้ถือหุ้น ใหญ ่กลุ่มยิปซัม บ. เทียนจิน ซีเมนต์ไทย ยิบซัมโปรดักส์ (จีน) ขายกิจการยิปซัมในจีนทั้งหมดให้ Knauf (เยอรมันนี)
8 มิ.ย.2549
79

ตารางที่ 5 (ต่อ)
บริษัท สถานะ กลุ่มยานยนต .MSF Tire & Rubber, Inc. (ฟิลิปปินส์) บ. สยามเลมเมอร์ช บ. สยามฟูรูกาวา บ. สยามเลมเมอร์ช บมจ. ยางสยามเรือธงหลักในอุตสาหกรรมยาง ยนต์ลดสัดส่วนการลงทุนเหลือ 25.7% ลด สัดส่วนการถือหุ้นจาก 75% เหลือ 30% บมจ. ยางสยามเปิดทางให ้บ. ฟูรูกาวาแบตเตอรี(ญี่ปุ่น) เข้าถือหุ้นทั้งหมดหลังปรับโครงสร้าง หนี้แล้วเสร็จ ลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 49% เหลือ 19% กลุ่มจักรกล บ. สยาม-ฮิตาชิคอนสตรัคชันแมชีเนอรีบ. ซิฉวน ซีเมนต์ไทย แมขีนเนอรี (จีน) ลดสัดส่วนการลงทุนจาก 45% เหลือ 10% ขาย หุ้นทั้งหมดให ้บ. สยามคูโบต้าอุตสาหกรรม กลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า บ. สยามเอ็นอีซีปิดกิจการหลังเอ็นอีซีถอนการลงทุน กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ บ. นวโลหะอุตสาหกรรม ลดสัดส่วนการถือหุ้นทั้ง 3 บริษัท เหลือ 29.9% บ. สยามเอทีอุตสาหกรรม และ โดยกลุ่มโตโยต้าถือหุ้น 60% และ บ. ตรีเพชร บ. ผลิตภัณฑ์วิศวกรไทย อีซูซุเซลส์ถือหุ้น 10% ลดสัดส่วนการลงทุน บ. สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม เหลือ 20% ขายหุ้นทั้งหมดให้กับ บ. มากอตโต บ. สยามมากอตโต อินเตอร์เนชั่นแนล เอส. เอ (เบลเยี่ยม) กลุ่มเหล็ก บ. เหล็กสยามยามาโตะ ลดสัดส่วนการถือหุ้นจาก 51% เหลือ 46% กิจการอื่น ๆ บ. กระจกสยามการ์เดียน ขายหุ้นทั้งหมดให ้บ. การ์เดียนอินดัสตรีส .(สหรัฐฯ) ลดสัดส่วนการลงทุนจาก 66% เหลือ บ. สยามเอ็นจีเค เทคโนเซรา 29%
8 มิ.ย.2549
80

ที่มา : รายงานประจำปี 2542 บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย

แม้ว่าจะมีการลดขนาดขององค์กร โดยการขายหุ้นหรือกิจการธุรกิจที่มิใช่ธุรกิจหลัก แต ่หลังป ีพ.ศ. 2543 เป็นต้นมา บจม. ปูนซีเมนต์ก็เริ่มขยายธุรกิจใหม่โดยจุดเน้นอยู่ที่การซื้อหุ้น เพิ่มเติมในธุรกิจหลัก เช่น การเพิ่มทุนใน บจม. เยื่อกระดาษสยาม รวมทั้งเข้าไปซื้อหุ้น บจม. พินิคพลับ แอนด ์เพเพอร ์และ บจม. ไทยเคนเปเปอร ์รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนและถือหุ้นรายใหญ่ใน บจม. ปิโตรเคมีแห่งชาติบ. อะโรเมติกซ ์ฯลฯ ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่า บจม. ปูนซีเมนต์ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูงรวมทั้งหุ้นส่วนใหญ่เป็นของคนไทย รวมทั้งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ ที่สุดของเครือซีเมนต์ไทย และมีศักยภาพสูงในการขยายตัวในอนาคต

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ บจม. ปูนซีเมนต์ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบางคน อาทิเช่น การแต่งตั้ง นายศิววงศ ์จังคะศิริอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แทนนายจริส ชูโต เมื่อวันที่30 กรกฎาคม 2540 หรือการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัทฯ ของนายจิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา แทน นายสัญญา ธรรมศักด ์ิที่ป่วย แล้วมีการตั้งนายสุเมธ ตันติเวชกุล อดีต เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินายยศ เอื้อชูเกียรติอดีตนักการธนาคารจากธนาคารเอเชีย ม.ร.ว. ปรีดียาธร เทวกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่จาก EXIM Bank (ภายหลังลาออกไปรับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2544) และนายพนัส สิมะเสถียร อดีตปลัดกระทรวงการคลัง (ญิบพัน 2547 : 59) การแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม ในช่วงปี 2541 – 2543 นั้น แสดงถึงความพยายามในการปรับตัวขององค์กรครั้งสำคัญ เพราะการตั้ง นายพนัส สิมะเสถียร (นอกจากดำรงตำแหน่งกรรมการใน บจม. ปูนซีเมนต์ไทยแล้ว ยังดำรงต แหน่งคณะกรรมการสำนักงานทรัพย์สินฯ ด้วย) และนายศิววงศ ์จังคศิริและนายยศ เอื้อชูเกียรติ(นอกจากดำรงตำแหน่งกรรมการใน บมจ. ปูนซีเมนต์ไทยแล้วยังเป็นประธานกรรมการบริษัททุน ลดาวัลย์และบริษัทวังสินทรัพย ์บริษัทลูกของสำนักงานทรัพย์สินฯ ด้วย) แสดงถึงความพยายามที่จะหันเหแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บจม. ปูนซีเมนต์ไทยมาสู่ธุรกิจปิโตรเคมีมากยิ่งขึ้น เพราะ บุคคลทั้งสามข้างต้นล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้กล่าวคือ นายศิววงศ ์จังคศิริเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนายพนัส สิมะเสถียร อดีตปลัด กระทรวงการคลัง ทั้งสองคนเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งในส่วนของรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนมากมาย เนื่องจากเป็นผู้ดูแล หน่วยงานของรัฐที่ดูแลนโยบายและควบคุมการผลิตพลังงานของประเทศ (ในกรณีของกระทรวง อุตสาหกรรม) และเป็นหน่วยงานที่ถือหุ้นรายใหญ่ในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของ
8 มิ.ย.2549
81

ประเทศ (ในกรณีของกระทรวงการคลัง) ส่วนนายยศ เอื้อชูเกียรตินั้น มิเพียงแต่เคยดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารระดับสูงในธนาคารเอเชีย และ บจม. ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ ์หากแต่กลุ่มธุรกิจใน ตระกูลเอื้อชูเกียรติได้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมีคัลและอื่น ๆ อาทิเช่น เหมืองแร ่อสังหาริมทรัพย ์บริการ เป็นต้น ในปี 2543 บริษัทที่สำคัญที่ตระกูลของเขามีบทบาทสำคัญในการ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้บริหารคือ บจม. ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ ์และบริษัทในเครือ อาทิเช่น Mitsui – Vinaplastie and Chemical Corporation (Vietnam), Phumthai Industry Co., Ltd., Siam Stabilizers and Chemicals Co., Ltd., Siam TPC (Singapore) Pte Ltd. (Singapore) Siam TPC (Thai) Co., Ltd. เป็นต้น ธุรกิจในเครือธุรกิจย่อยและธุรกิจร่วมทุนของตระกูลมีประมาณ 66 บริษัท (Thai Business Group 2001 : 171 – 172) ในปี 2541 ธุรกิจในเครือของตระกูลเอื้อชูเกียรติมีรายได ้จากการขายเท่ากับ 9,630.1 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 9,943.1 ล้านบาท และ 13,400.2 ล้านบาท ใน ปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ (Thai Business Group 2001 : 172)

การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 รวมทั้งการปรับขนาดของ องค์กรและปรับบทบาทของอุตสาหกรรมของ บจม. ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งมีผลซึ่งกันและกันได้มีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนที่สำคัญของเครือซีเมนต์ไทย ดังจะเห็นจากข้อแถลงของ หนังสือชี้ชวน บจม. ปูนซีเมนต์ไทย ได้กล่าวถึงนโยบายการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ดังต่อไปนี้

“การลงทุนของเครือซเมนต์ไทยจะเน้นหนักไปในธุรกิจที่เครือฯ มีความสามารถในการ ดำเนินงานได้เอง และมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนและการเติบโตในระยะยาว ในการ บริหารงานและการลงทุนนั้นจะต้องทำให้เครือฯ สามารถแข่งขันในธุรกิจนั้น ๆ ทั้งในประเทศและ ในภูมิภาคอาเซียนได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจซีเมนต ์ธุรกิจปิโตรเคมีธุรกิจกระดาษ จะถือเป็น ธุรกิจหลัก ส่วนธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักของเครือฯ ต้องอาศัยเทคโนโลยีจากผู้ร่วมลงทุน หรือ เป็นเทคโนโลยีที่หาได้ทั่วไปในตลาด เครือฯ จะไม่ลงทุนหรือลดขนาดการลงทุนที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อจะได้รวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้ในธุรกิจหลักของเครือฯ ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เครือฯ มีการลดบทบาทหรือขายบางกิจการที่เครือฯ ไม่มีความถนัดหรือไม่มีศักยภาพออกไปจำนวนมาก แม้ว่าบางกิจการจะยังมีผลประกอบการที่ดีอยู่ก็ตาม กิจการเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มซีเมนต์ไทย โฮลดิ้ง” (หนังสือชี้ชวน บจม. ปูนซีเมนต์ไทย 2547)

การลงทุนของเครือซีเมนต์ไทยในช่วงหลัก ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ทิศทางการลงทุนจะเน้นไปธุรกิจปิโตรเคมีเป็นสำคัญ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 บริษัทมีเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่น ๆ ในธุรกิจต่าง ๆ เป็น จำนวนถึง 128,883 ล้านบาท โดยที่เงินลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีสูงถึง 46,586 ล้านบาท (หรือเงิน เป็นร้อยละ 38.5 ของเงินลงทุนทั้งหมด) รองลงมาได้แก ่ธุรกิจซีเมนต์ 33,9987 ล้านบาท (ร้อยละ
8 มิ.ย.2549
82

26.4) ธุรกิจกระดาษ 23,985 ล้านบาท (ร้อยละ 18.6) และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง 14,006 ล้านบาท (ร้อย ละ 10.9) (หนังสือชี้ชวน บจม. ปูนซีเมนต์ไทย 2547)

การเน้นการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีทั้งบริษัทเป็นผู้ลงทุนเองในบริษัทในเครือ รวมทั้งร่วม ลงทุนกับธุรกิจร่วมอื่น ๆ ส่งผลให้ทรัพย์สินและรายได้จากการประกอบการในธุรกิจปิโตรเคมีได ้ขยายตัวอย่างรวเร็วและก้าวลํ้าหน้าธุรกิจซีเมนต์ไทยอันเป็นธุรกิจดั้งเดิมของเครือซีเมตร์ไทย นับแต ่ปีพ.ศ. 2543 เป็นต้นมา และนับวันการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง รวมทั้งการจะผลิตเพื่อที่จะ สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ให้ได ้ต้องสร้างโรงงานและขยายการผลิตเพื่ออยู่ในระดับประหยัด ต่อขนาด (Economy of Scale) การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเงินลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีถ้า ได้กล่าวมาแล้วมิเพียงแต่ส่งผลให้รายได้จากยอดขายรวมถึงทรัพย์สินฯ ของธุรกิจนี้ในเครือซีเมนต ์ไทยได้ก้าวลํ้าธุรกิจหลักอื่น ๆ (ยกเว้นธุรกิจจัดจำหน่าย) คือ ซีเมนต ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แต ่ทว่ามีผลต่อการเปลี่ยนพันธมิตรทางธุรกิจใหม ่ๆ ทั้งกลุ่มธุรกิจภายในและต่างประเทศที่มีความ ร่วมมือกันในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและที่สำคัญคือ พันธมิตรที่มาจากกลุ่มทุนรัฐวิสาหกิจที่มีรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และครอบครองธุรกิจมีมูลค่านับแสนล้าน บาท
8 มิ.ย.2549
83


บทที่ 6
การเจริญเติบโตทางธุรกิจและรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ
ภายหลังวิกฤตการณ ์พ.ศ.2540

การปรับตัวทางธุรกิจอย่างขนานใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และบริษัทในเครือ การฟื้น ตัวของภาวะเศรษฐกิจไทยนับแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ส่งผลให้ธุรกิจในเครือของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ เริ่มฟื้นตัวและขยายตัวในระดับสูง

ในกรณีของธนาคารไทยพาณิชย์ภายหลังจากอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ของธนาคารได ้ถดถอยลงส่งผลให้ในปี 2544 อัตราการขยายตัวมีค่าติดลบถึงร้อยละ 5.7 การขยายตัวของรายได ้หลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นตามลำดับจาก 24,278 ล้านบาท ในปี 2544 เป็น 28,065 ล้านบาท 30,335 ล้าน บาท 45,795 ล้านบาท และ 49,485 ล้านบาท ในป .2545, 2546 2547 และ 2548 ตามลำดับ การ ขยายตัวในระดับสูงส่งผลให้กำไรสุทธิของธนาคารได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ หลังจากประสบกับ ปัญหาการขาดทุนในปี 2545 เป็นจำนวนเท่ากับ 12,487 ล้านบาท ก็ได้มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 12,459 ล้านบาท ในปี 2546 และ 2547 ธนาคารมีกำไรสูงถึง 18,489 ล้านบาท (รายงานประจำป ีฉบับต่าง ๆ) โดยที่เป็นผลกำไรสุทธิที่สูงสุดในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในปี 2547 (ในป .2547 กำไรสุทธิของธนาคารกรุงเทพฯ เท่ากับ 17,620 ล้านบาท (อันดับ 2) ธนาคารกสิกรไทย 15,340 ล้านบาท (อันดับ 3) และธนาคารกรุงไทย (อันดับ 4) และในปี 2005 ผลกำไรเท่ากับ 18,883 ล้านบาท (ตารางที่ 6)

ตารางที่ 6 รายได้และกำไรของเครือซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์และเทเวศประกันภัย

หน่วย : ล้านบาท

ป ีเครือซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์เทเวศประกันภัย ขายสุทธิกำไรสุทธิขายสุทธิกำไรสุทธิขายสุทธิกำไรสุทธิ

2544 120,353 7,634 24,278 404.7 2,603 168.0
2545 128,201 14,604 28,065 -12,487 3,327 124.7
2546 148,865 19,954 30,335 12,459 3,123 167.7
2547 192,395 36,483 45,795 18,489 3,631 172.1
2548 218,265 32,236 49,485 18,883 3,795 157.2

แหล่งที่มา : รายงานประจำป ีเครือซีเมนต์ไทย บจม. ธนาคารไทยพาณิชย ์และ บจม. เทเวศ ประกันภัย ฉบับต่าง ๆ
8 มิ.ย.2549
84

ส่วน บจม. ปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือก็มีการขยายตัวของรายได้และกำไรอยู่ใน ระดับสูง ดังจะเห็นว่ารายได้จากยอดขายสินค้าและบริการเท่ากับ 128,201 ล้านบาท ในปี 2545 และ เพิ่มขึ้นเป็น 148,865 ล้านบาท 192,395 ล้านบาท และ 218,265 ล้านบาท ในป .2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ (รายงานประจำป ีบจม. ปูนซีเมนต์ไทย) ในขณะที่ผลกำไรสุทธิของบริษัทก็เพิ่มขึ้น จาก 14,604 ล้านบาท ในปี 2545 เพิ่มเป็น 19,954 ล้านบาท 36,483 ล้านบาท และ 32,236 ล้านบาท ในปี 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ
หากเปรียบเทียบการเติบโตของกำไรกับกลุ่มทุนอื่น ๆ แล้ว ธุรกิจทั้งสองข้างต้นมีการ เติบโตของกำไรอยู่ในระดับสูงมาก บจม. ปูนซีเมนต์ไทยซึ่งในปี 2546 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 19,954 ล้านบาท ซึ่งมียอดกำไรที่สูงเป็นอันดับที่ 3 โดยในปี 2545 ก็อยู่ในอันดับ 3 เช่นเดียวกับของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย ์ในขณะที่บจม. ธนาคารไทยพาณิชย์ในปี 2546 มีกำไรสุทธิเท่ากับ 12,459 ล้านบาท มียอดกำไรสูงเป็นอันดับที่ 6 (โดยที่ในปี 2545 อยู่ในอันดับที่ 388 เนื่องจาก ขาดทุนมหาศาลเป็นจำนวนถึง 12,487 ล้านบาท) (ผู้จัดการ 2547 : 147) โดยที่บริษัทที่ทำกำไรใน ระดับสูงในปี 2546 จากการจัดลำดับข้างต้นของนิตยสารผู้จัดการคือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย (มียอดกำไรสูงเป็นอันดับ 1 ด้วยยอดกำไรเท่ากับ 39,400 ล้านบาท นครไทยสคริปมิล อันดับ 2 กำไร 23,227 ล้านบาท แอดวานซ ์อินโฟร ์เซอร์วิส อันดับ 4 กำไร 18,529 ล้านบาท และธนาคาร กสิกรไทย อันดับ 5 กำไร 14,813 ล้านบาท (ผู้จัดการ มิถุนายน 2547 : 146)) การขยายตัวใน ระดับสูงของ บจม. ปูนซีเมนต์ไทย และ บจม. ธนาคารไทยพาณิชย์จึงเป็นการเติบโตอยู่ในระดับ แนวหน้าของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย และนับเป็นกลุ่มทุนที่ฟื้นตัวเร็วและมีการ ขยายตัวในระดับสูงจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 เมื่อเทียบกับกลุ่ม “ทุน” อื่น ๆ ที่ถูก ผลกระทบจากภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนั่นเอง


รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของรายได้ของธุรกิจในเครือของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ อย่างก้าวกระโดดส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ในรูปเงินปันผล (รวมทั้งกำไร จากการลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์โดยผ่านบริษัททุนลดาวัลย์ที่ได้ลงทุนในหุ้นต่าง ๆ อาทิเช่น คริส เตียนีและนีลเส็น ไทยเศรษฐกิจประกันภัย ไทยพลาสติก และเคมีภัณฑ ์ไทยลิฟท์อินดัสตรี) อยู่ใน ระดับสูง เงินปันผลของเครือปูนซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์และเทเวศประกันภัยรวมกันแล้ว สูงถึง 17,533 ล้านบาท ในช่วงปี 2546 – 2548 (ตารางที่ 7)
8 มิ.ย.2549
85

ตารางที่ 7 เงินปันผลและผลประโยชน์จากที่ดินและค่าเช่าของสำนักงานทรัพย์สินฯ ปี 2546-2548

หน่วย : ล้านบาท

รายการ 2546 2547 2548 รวม

ธนาคารไทยพาณิชย์ 436.9 1,641 2,421 4,498.9
เครือซีเมนต์ไทย 2,160.0 5,400 5,400 12,960
เทเวศประกันภัย 26.9 26.9 20.3 74.1
ทุนลดาวัลย์ 3,800 5,000 5,500 14,300
ผลประโยชน์จากค่าเช่าที่ดิน 1,200* 1,400 1,600* 4,200
รวม 7,623.8 13,467.9 14,941.3 36,033

แหล่งที่มา : รายงานประจำป ีเครือซีเมนต์ไทย บจม. เทเวศประกันภัย และ บจม. ธนาคารไทย
พาณิชย์ (ฉบับต่าง ๆ), กรุงเทพธุรกิจ 19 เม.ย.47, มติชน 24 มีนาคม 2548


*ประมาณการโดยผู้เขียน

นอกจากนี้หากพิจารณาถึงรายได้อื่น ๆ ที่บริหารโดยบริษัททุนลดาวัลย์ซึ่งเป็นบริษัทใน เครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้นและธุรกิจที่บริษัทไปลงทุนด้วยได้กำไรทำให้มูลค่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่โอนไปให้บริษัทดูแล จัดการตั้งแต่ปี 2543 เป็นผู้บริหารมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2547 ทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้รายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในส่วนที่เป็นการ บริหารโดยบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท ในขณะที่ในปี 2546 มีรายได้เท่ากับ 3,800 ล้านบาท (มติชน 4 มีนาคม 2548 และตารางที่ 6) ผลประโยชน์จากค่าเช่าที่ดินก็อยู่ในระดับสูง ในช่วงปี 2003 – 2005 อาจจะสูงถึง 4,200 ล้านบาท (ตารางที่ 7) กล่าวโดยสรุปในปี 2546 – 2548 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ต่าง ๆ ทั้งจากเงินปันผล กำไรจากเงินลงทุนในระยะสั้น รายได้จากค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากที่ดินและอสังหาริมทรัพย ์รวมทั้งสิ้นถึง 36,033 ล้านบาทรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่สูงมากข้างต้นเพียงแต่แสดงถึง การขยายตัวในระดับสูงของธุรกิจหลักในเครือฯ และธุรกิจร่วมและเกี่ยวข้องอื่น ๆ (ซึ่งลงทุนโดย ผ่านบริษัททุนลดาวัลย์) เท่านั้น หากแต่แสดงถึงความสามารถของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในการ บริหารรายได้จากที่ดินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย
8 มิ.ย.2549
86


ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือการขยายตัวของผลประโยชน์จากการ ลงทุนของบริษัททุนลดาวัลย ์รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของรายได้จากค่าเช่าที่ดินและรายได้จาก อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งนำมาซึ่งรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือ

(1) บทบาทและพลังเหนือรัฐของ “สำนักงานทรัพย์สินฯ”
(2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายหลังปี 2540
(3) นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย .


บทบาทและพลังเหนือรัฐของ “สำนักงานทรัพย์สินฯ”

อาจกล่าวได้ว่า การปรับบทบาทของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยจำกัดอยู่การลงทุนระยะยาว โดยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ในธุรกิจหลัก (Core Business) อันประกอบด้วย เครือซีเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย ์และเทเวศประกันภัย รวมทั้งการนำ “ที่ดิน” และอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ เพื่อ แสวงหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์เป็นนโยบายและการบริหารงานที่ถูกทิศทาง นอกจากนี้การโอน สินทรัพย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ไปให้บริษัททุนลดาวัลย์จัดการดูแลในการบริหารการลงทุนใน การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย ์รวมทั้งให้บริษัทวังสินทรัพย์บริหาร ที่ดินและอสังหาริมทรัพย ์สามารถสร้างรายได้แก่สำนักงานทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ นโยบายด้านที่ดินและอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้มีการปรับปรุงสัญญาเช่าที่ดินกับผู้เช่าที่จะหมดอายุลง โดยจะให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมินมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เช่ารายเก่าและราย ใหม่มาเช่าพื้นที่โดยยึดหลักการส่วนลดกับผู้เช่าเก่า ส่วนผู้เช่าใหม่จะต้องใกล้เคียงกับราคาตลาด หรือมีความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย (มติชน 4 มีนาคม 2548) ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วเมื่อเทียบกับก่อนปี 2540

พลังของ “สำนักงานทรัพย์สินฯ” ในฐานะองค์กรที่เหนือรัฐได้แสดงออกมาภายหลัง วิกฤตการณ์ปี 2540 กล่าวคือ ในช่วงป .2540 – 2545 ธนาคารไทยพาณิชย์และสถาบันการเงินทุก แห่งประสบกับความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องเพิ่มทุนเพื่อรักษา สถานภาพการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ ่และกอบกู้สถานการณ์วิกฤตของธนาคารไทยพาณิชย ์ตาม “โครงการ 14 สิงหา” ความพยายามที่จะเพิ่มทุนของสำนักงานฯ ในเบื้องต้นประสบความล้มเหลว และมีทุนน้อยประมาณ 7,000 ล้านบาทเท่านั้น โดยที่การเพิ่มทุนตามโครงการ “14 สิงหา” นั้น ต้องการทั้งสิ้นเท่ากับ 32,500 ล้านบาท มีผลให้สำนักงานฯ ถูกลดสัดส่วนในการถือหุ้นเท่ากับร้อย ละ 11.8 ในช่วงป .2547 – 2546 โดยที่กระทรวงการคลังได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ร้อยละ 38.8)
8 มิ.ย.2549
87

รวมทั้งการเข้ามาของถือครองหุ้นรายใหญ่ของชาวต่างชาติอาทิเช่น UFJ Bank Limited, State Street Bank and Trust Company, HSBC (Singapore), Norminces Pt Limited เป็นต้น (รายงาน ประจำปีธนาคารไทยพาณิชย์ 2546)

สำนักงานทรัพย์สินฯ โดย ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ได้นำ “ที่ดิน” ของสำนักงาน ทรัพย์สินฯ ย่าน ทุ่งพญาไทหรือบริเวณถนนราชวิถีตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ยกเว้น มูลนิธิคนตา บอด) ซึ่งเป็นที่ดินในหน่วยงานราชการเช่า จำนวน 484.5 ไร ่มูลค่าประมาณ 16,500 ล้านบาท แลก กับหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถืออยู่ภายหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 และ ในที่สุดสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็กลับมาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกครั้งคือมีสัดส่วนการถือหุ้นใน ธนาคารไทยพาณิชย์เท่ากับร้อยละ 25 ในปี 2544 การกระทำดังกล่าวได้สะท้อนภาพของการมีอำนาจของสำนักงานทรัพย์สินฯ เหนือกระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะ “การ แลกเปลี่ยนที่ดินกับหุ้นนั้น เป็นการกระทำที่กฎหมายไม่อนุญาตให้กระทรวงการคลังกระทำได้ด้วย โดยที่กฎหมายระบุชัดเจนว่า การแลกเปลี่ยนที่ดินต้องเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินของฝ่ายหนึ่งกับอีก ฝ่ายหนึ่งในราคาที่ต้องเท่าเทียมกันด้วย” (ทรงเกียรติ, 2547 : 41) ประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดความสงสัย ว่าทั้ง ๆ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนเป็นสำคัญและไม่ใช ่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 ทำไมกระทรวงการคลังถึงอนุญาตทำ ได ้และหากกรณีนี้เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินอื่น ๆ เช่น ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกสิกรไทย กระทรวงการคลังจะอนุญาตให้ทำได้หรือไม ่และใช้มาตรฐานอะไร? นอกจากนี้เงินทุนที่กระทรวงการคลังนำมาเพิ่มทุนในธนาคารพาณิชย์ในปี 2542 ก็มาจากการระดมทุนจากประชาชน ด้วยการออกพันธบัตรต้องมีภาระจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4.25 ต่อป ีจนถึงปี 2552 (จ่ายค่า ดอกเบี้ยทุก 6 เดือน) และหาก “ที่ดิน” ที่ได้จากสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่สามารถนำไปหา ผลประโยชน์ได ้กระทรวงการคลังจะนำเงินจากแหล่งใดมาไถ่ถอนพันธบัตรดังกล่าว (ทรงเกียรติ2547 : 40) ในที่สุดก็คงจะต้องมาจากภาษีของประชาชนนั่นเอง


สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 โดยเฉพาะหลังปี 2543 มีผลต่อการ เจริญเติบโตทางธุรกิจของบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่ตํ่า ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่มีส่วน ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ขยายตัว เช่น สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ใช้ลดหย่อนภาษีเงินได ้เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและ กัน และมีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ
8 มิ.ย.2549
88

อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับตํ่ามาก คือ ไม่เกินร้อยละ 3 – 4 ต่อป ีมีผลต่อการก่อสร้าง โดยเฉพาะขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย ์เช่น การก่อสร้างบ้าน ภาคการก่อสร้างมีการขยายตัว อย่างรวดเร็วประมาณมากกว่าร้อยละ 10 ในช่วงป .2544 – 2548 พื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่ว ประเทศเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็น 18,571,000 ตารางเมตร ในปี 2546 เป็น 22,698,000 ตารางเมตร ในป .2547 โดยจำแนกเป็นพื้นที่ก่อสร้างของที่อยู่อาศัย 13,205,000 ตารางเมตร และเพิ่มเป็น 16,111,000 ตารางเมตร ในช่วงเดียวกันพื้นที่ก่อสร้างสำหรับการพาณิชย์เท่ากับ 3,363,000 ตารางเมตร และ 3,640,000 ตารางเมตร ในช่วงเดียวกับ และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการอุตสาหกรรมเท่ากับ 2,002,200 ตารางเมตร และ 2,946,200 ตารางเมตร ในช่วงเดียวกัน (Bangkok Post, Economic Review, Year End 2005) การเติบโตของภาคก่อสร้างส่งผลให้ธุรกิจซีเมนต์รวมทั้งธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เช่น กระเบื้องหลังคา กระเบื้องเซรามิกปูพื้นบุผนัง บล็อกปูพื้นสุขภัณฑ ์และก๊อกนํ้า ขยายตัวอย่าง รวดเร็ว ยอดขายสุทธิของธุรกิจซีเมนต์ในปี 2545 เท่ากับ 27,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 41,630 ล้าน บาท ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 34 ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนผลิตภัณฑ์ก่อสร้างในปี 2545 มียอดขายสุทธิเท่ากับ 16,129 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 22,227 ล้านบาท ในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 27 ในช่วงเวลาเดียวกันซึ่งนับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงมาก (รายงานประจำปี 2548 เครือ ซีเมนต์ไทย) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและส่วนบุคคลของธนาคารไทยพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นตามการขยายตัว ของภาคก่อสร้างนั่นเอง อัตราดอกเบี้ยที่ตํ่า ประกอบกับการขยายตัวของภาคก่อสร้าง โดยเฉพาะ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 156,391 ล้านบาทในปี 2547 และเป็น 184,743 ล้านบาท ในปี 2548 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดของการให้สินเชื่อคือร้อยละ 16 ในช่วงเวลา เดียวกัน การขยายตัวดังกล่าวส่งผลให้หนี้ที่ก่อไม่เกิดรายได้ (NPL) อันเกิดจากภาคอสังหาริมทรัพย ์เป็นสำคัญได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง

อัตราดอกเบี้ยที่ตํ่ามีผลสำคัญต่อการเคลื่อนบ้ายเงินทุนของระบบเศรษฐกิจจากภาคธนาคาร พาณิชย ์เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อลงทุนในตลาดทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทนจาก การลงทุนที่สูงกว่า มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ (market capitalization) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ราคา ของหุ้นโดยทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์กลายเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนทั้ง ประเภทสถาบันและส่วนบุคคลทั้งภายในและต่างประเทศ บริษัททุนลดาวัลย์ในฐานะเป็น หน่วยงานในพอร์ตลงทุนในตลาดหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็สามารถบริหารจัดการการลงทุน และนำมาซึ่งผลกำไรในระดับสูง นอกจากนี้บริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็มีรายได้จาก การขายหลักทรัพย ์เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรจากการขายหลักทรัพย์สูงถึง 8,257 ล้านบาทใน ปี 2547 ซึ่งคิดเป็นรายได้ร้อยละ 18.8 ของรายได้ทั้งหมด (แบบ 56-1)
8 มิ.ย.2549
89

ค่าเงินบาทไทยที่ลดลงเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่น ๆ ภายหลังวิกฤตการณ์ปี 2540 ก็มีผล สำคัญต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือคือ เครือซีเมนต์ไทย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศสูงขึ้น ทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์ของ เครือซีเมนต์ไทยอันประกอบไปด้วย ธุรกิจปิโตรเคมี (ซีเมนต ์และกระดาษก็ขยายตัวในระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจปิโตรเคมีมีการขยายตัวที่สูงมาก รายได้จากธุรกิจปิโตรเคมีเมื่อคิดเป็น รายได้ทั้งหมดของเครือซีเมนต์ไทยเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 25.5 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 34.1, 39.0 และ 39.0 ในปี 2546, 2547 และ 2548 (รายงานประจำป ีบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (มหาชน) ฉบับต่าง ๆ) การเติบโตของรายได้อย่างรวดเร็วส่งผลต่อการขยายตัวทางธุรกิจอย่างขนานใหญ ่โดยการขยาย การลงทุนไปต่างประเทศและต้องการสร้างความป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ที่สำคัญอาทิเช่น ตั้ง โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่กัมพูชา (มูลค่าลงทุน 3,200 ล้านบาท) โรงงานกระเบื้องหลังคาคอนกรีตที่เวียตนาม (160 ล้านบาท) ลงทุนเพิ่มในธุรกิจเมีภัณฑ์เพื่อผลิตพีวีซีที่อินโดนีเซีย (300 ล้านบาท) ร่วม ลงทุนตั้งโรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ที่อิหร่าน (1,000 ล้านบาท) และได้ขยายการลงทุนภายในประเทศ โดยร่วมกับ Dow Chemical ตั้งโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 (44,000 ล้านบาท) และโครงการ Downstream (16,000 ล้านบาท) (รายงานประจำปี 2548, บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้งการเติบโตอย่างรวดเร็วของธนาคารไทยพาณิชย์และเครือซีเมนต์ไทยส่งผลให้ธุรกิจใน เครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ คือ บจม. เทเวศประกันภัย ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วด้วย เพราะ บจม. เทเวศประกันภัยได้รายได้จากเบี้ยประกันภัย เช่น การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและ ขนส่ง เป็นต้น โดยรายได้ของเบี้ยประกันส่วนสำคัญมาจาก ธุรกิจของเครือซีเมนต์ไทย ธุรกิจของ ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทในเครือส่งผลให้รายได้ของ บจม. เทเวศประกันภัยเพิ่มขึ้น การ เติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เพิ่มการถือหุ้นจาก 2,999,940 หุ้น (หรือคิด เป็นร้อยละ 24.99 ของการถือหุ้นทั้งหมด) ในปี 2548 เป็น 10,401,846 หุ้น ในปี 2549 ซึ่งทำให ้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 86.6 ของการถือหุ้นทั้งหมด (http://www.deves.co.th/)


นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย .

นโยบายค่าเช่าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย ์สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับนโยบายค่าเช่า รวมทั้งการนำที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ในอดีตก่อน ปี 2546 รายได้จากผลประโยชน์จากที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อยู่ในระดับตํ่าและขยายตัวอย่าง เชื่องช้า มาตรการหลายอย่างที่มีผลต่อการเพิ่มพูนผลประโยชน์จากที่ดินและอสังหาริมทรัพย ์เช่น
(1) มีการปรับปรุงเพิ่มค่าเช่าที่ดิน (ในย่านที่มีการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่) ให้ใกล้เคียงกับราคา ตลาดมากขึ้น โดยเริ่มจากปี 2544 เป็นต้นไป ส่งผลให้บริษัท วังเพชรบูรณ ์ผู้พัฒนาโครงการเวิล์ด 8 มิ.ย.2549
90

เทรดเซ็นเตอร์บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งมีปัญหาทางการเงินก่อนหน้าปี 2540 แล้ว ถูก ถอดถอนสิทธิผู้เช่าและทำประโยชน ์โดยสำนักงานฯ ได้เรียกร้องค่าเสียหายถึงกว่า 6 พันล้านบาท เพราะคู่กรณีได้ทำผิดสัญญา ในที่สุดสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ได้เซ็นสัญญาใหม่กับ บจม. เซ็นทรัล พัฒนา (Central Pattana Plc) ของตรกูลจิราธิวัฒน ์ซึ่งสัญญามีอายุ 30 ป ีสำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้จากค่าเช่าระยะยาวในโครงการนี้เท่ากับ 2,000 ล้านบาท รวมทั้งภาษีอื่น ๆ (Nation, December 24, 2002) ซึ่งบริษัทเซ็นทรัลพัฒนามีโครงการพัฒนา World Trade Centre ให้เป็น ชอบปิง คอมเพล็ก สำนักงานให้เข่า 45 ชั้น ศูนย์การค้า โรงแรมระดับ 5 ดาว และโรงหนัง รวมทั้งที่จอดรถขนาดใหญ .(Nation, December 24, 2002) (2) นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังมีรายได ้จากค่าเช่าจากการต่อสัญญาเช่าที่ดินแก่โรงแรมดุสิตธานีอีก 15 ปี (หลังจากหมดสัญญาเช่า 30 ปี) โดยมีมูลค่าถึง 1.1 พันล้านบาท ซึ่งได้รับการชำระงวดแรกแล้วประมาณ 300 ล้านบาท (Nation March 24, 2003) ในส่วนของส่วนราชการได้มีการปรับอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามลำดับจากอัตรา 0.2% จากราคาประเมินในปี 2548 ซึ่งผลจากการเพิ่มอัตราค่าเช่าดังกล่าวส่งผลให้รายได้จากค่าเช่า อสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานรัฐของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพิ่มขึ้นจาก 84.52 ล้านบาท ในปี 2544 และเพิ่มเป็น 211.31 ล้านบาท 422.62 ล้านบาท 633.93 ล้านบาท และ 845.25 ล้านบาท ในปี 2545, 2546, 2547 และ 2548 ตามลำดับ (ญิบพัน 2547 : 68 – 69) อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เช่ารายย่อย เช่น ผ ู้ที่อยู่อาศัยทั่วไปหรือผลประโยชน์พอยังชีพจะได้รับค่าเช่าในอัตราตํ่า (โพสต์ทูเดย์ 13 เมษายน 2547)

นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีแผนงานและโครงการที่จะนำ “ที่ดิน” มาเพิ่ม ผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย ์โดยมีโครงการที่สำคัญคือ (1) ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม จำนวน 120 ไร่ (ขณะนี้ให้เช่าชั่วคราวเป็นสวนลุมไนท์บาร์ซาร์) มาพัฒนาเป็นคอมเพล็กขนาดใหญ ่ในขณะนี้กำลังเปิดรับประมูลจากผู้ประกอบการ (2) โครงการพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินกลาง เพื่อพัฒนาเป็นกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวข้างต้น จะนำมาซึ่งรายได้เป็นจำนวนมากแก่สำนักงานทรัพย์สินฯ ในอนาคต


กลุ่ม “ทุน” พันธมิตร ของสำนักงานทรัพย์สินฯ

แรงกดดันจากการเปิดเขตการค้าและการเงินเสรีการแข่งขันของกลุ่มทุนต่าง ๆ ทั้งภายใน และต่างประเทศ การเติบโตของการลงทุน โดยผ่านตลาดทุน (โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย) โดยเริ่มมีความสำคัญแทนที่สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ในการระดมทุน รวมทั้งความอิ่มตัวของตลาดภายในประเทศ อาทิเช่น ความต้องการซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้ส่งผลต่อการปรับตัวของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในการขยายโอกาสในการลงทุนและหากลุ่ม
8 มิ.ย.2549
91

พันธมิตรใหม ่ๆ นอกจากมีความสัมพันธ์กับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีเช่น ตระกูลเอื้อชูเกียรติและกลุ่ม พลังงานอื่น ๆ เช่น กับ ปตท. และบริษัทในเครือแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีความสัมพันธ์กับ กลุ่ม “ทุน” ชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต ้ซึ่งก็คือ กลุ่มทุนเทมาเซค (Temasek Holding) ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่นั่นเอง นายชุมพล ณ ลำเลียง อดีตกรรมการ ผู้จัดการใหญ่เครือซีเมนต์ไทยได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริษัทสิงคโปร์เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือที่เรียกว่า Singtel (ตั้งแต่ปี 2547) ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของ ภูมิภาคนี้นอกจากนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปล่อย เงินกู้ร่วมกับธนาคารกรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท (โดยแบ่งกันในสัดส่วนร้อยละ 50) เพื่อ ปล่อยเงินกู้ให้กับ ซีอาร ์โฮสดิงส ์ที่มาธนาคารจากสิงคโปร์คํ้าประกันอย ู่ทั้งนี้เพื่อซื้อหุ้นของชิน คอร์ป ซึ่งมีผลให้กลุ่มทุนเทมาเซคถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของชินคอร์ปในต้นปี 2549 (โปรดดูรายละเอียดใน 25 คำถาม Shin เบื้องหลังดีลเทคโอเวอร์ชินคอร์ป 2549) นอกจากนี้ใน คณะกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีตัวแทนจากกลุ่มเทมาเซคอยู่ด้วย คือ ปีเตอร ์เซียะ ลิม ฮวด (ซึ่งในปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่ง Temasek Advisory Paned Capital Land Limited, และ Government of Singapore Investment Corporation และเคยดำรงตำแหน่ง Singapore Technology etc ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทในเครือของกลุ่มเทมาเซคทั้งหมด (รายงานประจำป ีธนาคารไทย พาณิชย์ 2548) นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินฯ โดยธนาคารไทยพาณิชย์และทุนลดาวัลย์ได้ร่วมทุน กับบริษัทในเครือของ Capital Land (อันเป็นบริษัทของกลุ่มทุนเทมาเซค) กลุ่มอิตัลไทย และอิสระ ว่องกุศลกิจ (กลุ่มนํ้าตาลมิตรผล) ตั้งบริษัทพรีมัส (ประเทศไทย) เข้ามาจัดการธุรกิจอสังหาริมทรัพย ์ในเครือทรัพย์สินด้วย (วิรัตน์ 2546 : 212) ซึ่งแสดงถึงการขยายอาณาจักรทางธุรกิจทางด้าน อสังหาริมทรัพย์และอาจจะรวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ด้วย
8 มิ.ย.2549
92


บรรณานุกรม
ภาษาไทย


กจช. ร.5 กระทรวงเกษตรฯ 6/6153 (2546)
กจช. ร.5 กระทรวงคลัง 9.4 ค/65 2450)
Corporate Thailand – December 2003. “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์คงไว้แก่นแท้” หน้า 32 – 42
Corporate Thailand – December 2003.’ ทวิกรของทรัพย์สินฯ ทุนลดาวัลย์ – วังสินทรัพย์” หน้า 46
– 48 http://www.deves.co.th/
http://www.settrade.com/
Tasaka Toshio, Nishizawa Kikuo 2003. ประวัติการถือครองที่ดินกรุงเทพฯ (แปลจากภาษาญี่ปุ่น โดย นิภาพร รัชตพัฒนากุล) Tokyo : Nihon – Hyoronnsha.
การเงินธนาคาร 2545. “ดร.จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา เปิดยุทธศาสตร์ใหม ่สนง.ทรัพย์สินฯ” มีนาคม หน้า 54 – 57
เกริกเกียรติพิพัฒน์เสรีธรรม 2525. วิเคราะห์ลักษณะการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
เกริกเกียรติพิพัฒน์เสรีธรรม 2536. วิวัฒนาการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
เกษียร เตชะพีระ 2547. “เอกอัครปัญญาชนสาธารณะแห่งความเป็นไทย (ตอนต้น)” มติชนรายวัน 25 ส.ค.
เกษียร เตชะพีระ 2549. “พินิจข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ตอนจบ)” มติชนรายวัน 27 พ.ค. ข้อมูลสถิติการซื้อขายหลักทรัพย ์ปี 2546
คู่มือหุ้นไทย 2547 : สรุปข้อมูลจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย 2548.
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ 2547 “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
ชลลดา วัฒนศิริ 2529. “พระคลังข้างที่กับการลงทุนธุรกิจในประเทศ พ.ศ. 2433 – 2475” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
ญิบพัน 2547. โคตรธุรกิจ. กรุงเทพฯ : เพรซ พับบลิชชิ่ง
ณัฐวิทย ์ณ นคร 2547. “สำนักทรัพย์สินฯ Mission Possible!!!” กรุงเทพธุรกิจ, 19 เมษายน
8 มิ.ย.2549
93
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำป ีธนาคารไทยพาณิชย ์จำกัด (มหาชน) (แบบ 56-1) ฉบับต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แบบแสดงรายการข้อมูลประจำป ีปูนซีเมนต์ไทย จำกัด
(มหาชน) (แบบ 56-1) ฉบับต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สรุปข้อสนเทศ บริษัทจดทะเบียน ฉบับต่าง ๆ ทรงเกียรติชาติวัฒนานนท .2547. “โคตรเก่ง จิรายุอิศรางกูร ณ อยุธยา ยึด SCB คืนจากคลัง” ดอกเบี้ย ปีที่ 23, ฉบับที่ 275, พฤษภาคม, หน้า 34-45 ทวีศิลป ์สืบวัฒนะ 2528. “บทบาทของกรมพระคลังขางที่ต่อการลงทุนทางเศรษฐกิจในอดีต (พ.ศ.
2433-2475)” วารสารธรรมศาสตร .
ทักษ ์เฉลิมเตียรณ 2548. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ ผู้แปล พรรณีฉัตรพลรักษ์, ม.ร.ว. ประกายทอง สิริสุข, ธำรงศักด ์ิเพชรเลิศอนันต์, กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร .
ธนาคารไทยพาณิชย ์รายงานประจำปี. ฉบับต่าง ๆ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (มหาชน) รายงานประจำปี. ฉบับต่าง ๆ ประชุมกำหมายประชุมศก พ.ศ. 2491, เล่ม 61 หน้า 137-141 ประวัติสังเขปสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์ม.ป.ด. ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริสเบเคอร์ 2542. เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ เชียงใหม่ :
ซิลค์เวอร์มบุคส ์ผู้จัดการ, ปีที่ 21 ฉบับที่ 249 มิถุนายน 2547 พจนา เหลืองอรุณ 2523. “การเดินเรือนพาณิชย์กับเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2398 – 2468” วิทยานิพนธ .
มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติจัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พุทธศักราช
โพสต์ทูเดย์ 13 เมษายน 2547 โพสต์ทูเดย์ 28 ก.ย. 2546 โพสต์ทูเดย์ 4 มี.ค. 2548 ภาวิดา ปานะนนท์ 2548 “พลวัตบริษัทข้ามชาติหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : กรณีศึกษาเครือเจริญ
8 มิ.ย.2549
94
โภคภัณฑ์และเครือซีเมนต์ไทย” (ร่าง) บทความเสนอต่อการประชุมเพื่อรายงาน ความก้าวหน้าครั้งที่ 2 โครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรื่อง โครงสร้างและพลวัตทุนไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 25 พฤษภาคม, คณะเศรษฐศาสตร ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มติชนรายวัน 30 ต.ค. 2547
มติชนรายวัน 4 มี.ค. 2548
รายงานประจำป ีบริษัทเทเวศประกันภัย (มหาชน) ฉบับต่าง ๆ
วิรัตน ์แสงทองคำ 2530. “ธุรกิจสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อพัฒนาคน ที่ดิน และประเทศชาติ” ผู้จัดการ หน้า 131 – 136
วิรัตน ์แสงทองคำ 2543. ยุทธศาสตร์ความใหญ่เครือซีเมนต์ไทย. กรุงเทพฯ พี.เพรส
วิรัตน ์แสงทองคำ 2546. ผู้จัดการ กันยายน.
วิรัตน ์แสงทองคำ 2549. ชุมพล ณ ลำเลียง “ผมเป็นเพียงลูกจ้าง” สุปราณีคงนิรันดรสุข (บ.ก.) กรุงเทพฯ : อักษรการพิมพ .
วิรัตนืแสงทองคำ 2546. “ปูนใหญ่เล็กไปแล้ว” ผู้จัดการ, กันยายน
สกุณา เทวะรัตน์มณีกุล 2543. “การจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” วิทยานิพนธ ์นิติศาสตร ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
สมศักด ์ิเจียมธีรสกุล 2549. “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม หน้า 67-93
สยมพร ทองสาริ 2528. “ผลกระทบจากการตัดถนนในกรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 – 2453) : ศึกษาเฉพาะกรณีการตัดถนนในกำแพง
พระนครด้านเหนือและด้านใต้พระนคร” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร ์มหาวิทยาลัยศิลปากร
สังศิต พิริยะรังสรรค์ 2527. ทุนนิยมขุนนางไทย พ.ศ. 2475 – 2503. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค .
สิริพร สุโกศล 2539. “การจัดโครงสร้างองค์การ : กรณีศึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์” ภาคนิพนธ ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
สุนทรีอาสะไวย์ 2533. วิกฤตการณ์เศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร .
สุปราณีคงนิรันดรสุข 2535. “เปิดแดนสนธยา สนง.ทรัพย์สินฯ” ผู้จัดการรายเดือน. ปีที่ 10 ฉบับที่ 110, พฤศจิกายน หน้า 192 – 212
สุพจน ์แจ้งเร็ว 2545. “คดียึดทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ” ศิลปวัฒนธรรม, มิถุนายน หน้า
8 มิ.ย.2549
95
63-80
หนังสือชี้ชวน บจม. ปูนซีเมนต์ไทย 2546, และ 2547 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อุกฤษณ ์ปัทมานันท์ 2546. วิกฤตการณ์เศรษฐกิจกับการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา 2546
ภาษาอังกฤษ
Askew, M. 1993. “The Making of Modern Bangkok : State Market and People in the Shaping of the Thai Metropolis” the 1993 Year – End Conference, who Gets what and How? Challenges for the Future December 10-11, Ambassador City Jomtien, Chonburi
Bangkok Post. Economic Review Year End 2005
Chaiyan Rajchagool 1994. The Rise and Fall of the Thai Absolute Monarchy Bangkok : White Lotus
Companies Handbook. Various Years
Ellis, Eric 2003. Thailand’s Crown Property Bureau Gets a Corporate Make Over.
Greene, S.L.W. 1999. Absoulte Dreams Thai Government Under Rama VI, 1910 – 1925. Bangkok : White Lotus
Hewison, K. 1989. Bankers and Bureaucrats Capital and the Role of the State in Thailand. New Haven : Yale University Southeast Asia Studies
International Gas Report 1996
Investor, 1971. February
Listed Company Handbook. Various Years
The Nation 24, December 2002
The Nation 24, March, 2003
Pavida Panaond 2001. “The Making of Thai Multinationals : A Comparative Study of Thailand’s CP and Siam Cement Groups. Journal of Asian Business. Vol.17, no.3 pp.41-70
Porphant Ouyyanont 1997. “Bangkok’s Population and the Ministry of the Capital in Early 20th Century Thai Hisotry” Southeast Asian Studies, Vol.35 no.2, pp.240-260
Porphant Ouyyanont 1999. “Physical and Economic Change in Bangkok, 1851 – 1925” Southeast Asian Studies, Vol.36, no.4 March pp.437 – 474
Porphant Ouyyanont 2001. “The Vietnam War and Tourism in Bangkok’s Development, 1960-
8 มิ.ย.2549
96
1970” Southeast Asian Studies. Vol. 39, no.2 pp.157 – 187. Skinner G. W. 1957. Chinese Society in Thailand : An Analytical History. Ithaca : Cornell
University Press Sternstein, L. 1982. Portrait of Bangkok. Bangkok : Metropolitan Administration Suehiro Akira 1989. Capital Accumulation in Thailand 1855 – 1985. Tokyo : The Centre for
East Asian Cultural Studies Thailand Company Handbook. Various Year Thailand Company Information, 1990-91. The Thai Business Group, 2001 The Thai Business Group, 2003
www.time.com/time/asia/magazine
8 มิ.ย.2549
97
ตารางภาคผนวก 2 A ธุรกิจที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นในปี 1979 1991 และ 1996
บริษัท ทุนจดทะเบียนป .1991 (ล้านบาท) ร้อยละการถือหุ้น ลักษณะธุรกิจ 1979 1991 1996/97 การผลิตในภาค อุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ไทย (1913) ศรีมหาราชา (1947) อุตสาหกรรมทำเครื่องแก้ว (1953) หินอ่อน (1956) สยามเคมี (1959) ไทยออยส์ (1961) ยางสยาม (1962) ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส (1970) ทุ่งคาฮาเบอร์ (1976) ไทยเทโรกราฟฟิคซิสเต็ม (1978) อ่าวขามไทย (1976) ไทยลิฟท ์อินดัสตรี (1977) การแร่และสากลกิจบริหาร (1979) เยื่อกระดาษสยาม (1979) ผาแดงอิสดัสตรี (1981) ก๊าซธรรมชาติไทย (1982) ปุ๋ยแห่งชาติ (1982) ฮอนดาร์คาร์ (ประเทศไทย) (1983) 1200 n.a. 195 200 20 45 180 300 40 130 300 1 1,000 800 100 185 40 50 98.8 --11 -14.4 n.a 30 -26 n.a ------35.6 98.0 9.3 49.9 9.6 2.2 14.4 15.0 10.3 10 15 n.a 35 11.6 n.a 10 10 10 35.6 15.2 49.9 9.6 14.4 15.0 10.3 -15 8.0 5.9 ---ผู้ผลิตและขายวัสดุก่อสร้าง ผู้ค้าไม ้โรงงานแก้ว ผู้ขายหินอ่อน ผู้ผลิตและนำเข้าเคมีภัณฑ ์ผู้ผลิตและขายยางรถยนต ์ผู้ผลิตแก๊ส เหมืองแร ่ผู้ขายเครื่องถ่ายเอกสาร เหมืองแร ่ผลิตเครื่องมือและอุปกรณ ์ลิฟท ์รบจาง บริหาร ผู้ผลิตและขายเยื่อกระดาษ เหมืองแร่และสังกะสีวิจัยและพัฒนาแก๊ส ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีผู้ประกอบและขายรถยนต .
8 มิ.ย.2549
98
บริษัท ทุนจดทะเบียนป .1991 (ล้านบาท) ร้อยละการถือหุ้น ลักษณะธุรกิจ 1979 1991 1996/97 ชลสิน (1984) ปิโตรเคมีแห่งชาติ (1984) ไทยวรภัณฑ์ (1984) สยามโคนา (1985) ไทยซีอาร์ที (1986) อโรเมติกส์ (1989) เหล็กสยามผลิตไฟฟ้า (1992) ค้าสากลซีเมนต์ไทย (1978) นวโลหะไทยไทยโฮยาเล็นซ์ (ร่วมทุนกับ ญี่ปุ่น) สยามคูโบต้าดีเซล (ร่วมทุน กับญี่ปุ่น) ฮิทแลงเวลโรลินส์ (ประเทศ ไทย) วาย เค เค ซิปเปอร์ (ประเทศ ไทย) (ร่วมทุนญี่ปุ่น) ไว เค เค เทรดดิ้ง (ร่วมทุน ญี่ปุ่น) ปิโตรเซนไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิวส .(1973) ไทยฟูจิซีรอกซ์15 200 85 124 600 3,990 n.a 4,400 n.a n.a n.a n.a n.a 600 40 ------99 -70 99 20 41 20 36 36 30 n.a 1.6 2 20 10 5 --------10 --10 ---5.01 -2.00 -----10 -20 -10 สำรวจและพัฒนาแหล่ง ทอง อุตสาหกรรมปิโตรเคมีผลิตไม้อัดสลับชั้น ผู้ผลิตหลอดภาพโทรทัศน ์ผู้ผลิตหลอดภาพโทรทัศน ์ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ ์ผลิตและจำหน่ายเหล็กเส้น ผลิตกระแสไฟฟ้า ค้าขายซีเมนต ์เหล็กหล่อรูปพรรณ ผลิตเล็นซ์ต่าง ๆ เครื่องจักรกลทาง การเกษตร ผลิตซิป อุตสาหกรรมสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม เคมภณฑ ชิ้นส่วนอะไหล ่ผลิตและจำหน่ายเครื่อง เอกสาร
8 มิ.ย.2549
99
บริษัท ทุนจดทะเบียนป .1991 (ล้านบาท) ร้อยละการถือหุ้น ลักษณะธุรกิจ 1979 1991 1996/97 สถาบันการเงิน ธ.ไทยพาณิชย์ (1904) 3,800 50 26.2 26.2 ธนาคารพาณิชย ์ธ.นครธน (1933) 600 11.8* 7.8 7.8 ธนาคาร (*สัดส่วนผู้ถือหุ้น ปี 1988) ธ.นครหลวงไทย (1941) 4,545 10.1 4.9 3.8 ธนาคารพาณิชย ์ธ.กสิกรไทย (1945) 7,000 -2.5 2.5 ธนาคารพาณิชย ์ธ.ไทยทนุ (1949) 600 2.3* 1.7 -ธนาคาร (*สัดส่วนผู้ถือหุ้น ปี 1988) บงล.สินอุตสาหกรรม (1966) 300 49 11.3 11.1 บริษัทไฟแนนซ์และลงทุน ธ.กรุงไทย (1971) 10,000 -1.08 .97 ธนาคารพาณิชย ์บงล.บุคคลัภย์ (1971) 160 45 25 18.8 บริษัทไฟแนนซ์และลงทุน เครดิตฟองซิเอร์สินธนากร (1972) 20 98 60 -สถาบันการเงินเพื่อพัฒนา ที่ดิน เครดิตฟองซิเอร์สินเคหการ (1973) 50 29 13.3 -สถาบันการเงินเพื่อพัฒนา ที่ดิน บงล.ธนสยาม (1974) ประกันภัย/คลังสินค้า 600 16.6 14.4 13.2 บริษัทไฟแนนซ์และลงทุน ไทยเศรษฐกิจประกันภัย (1947) 120 90 38.7 2.5 บริษัทประกัน เอช แอล วี (1961) 1.5 25 22 -บริษัทประกัน ฮิท ฮิว ดิท แลงเลว (ไทย) (1968) 1.5 -20 -บริษัทประกัน HHL employee Benefit (1968) 25 -25 บรษทประกันภัย ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (1976) 300 -5 5 บริษัทประกันชีวิต ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า (1976) 110 40 --คลังสินค้า
8 มิ.ย.2549
100
บริษัท ทุนจดทะเบียนป .1991 (ล้านบาท) ร้อยละการถือหุ้น ลักษณะธุรกิจ 1979 1991 1996/97 ไทยพับบลิคพอร์ตโรงแรม สหโรงแรมการท่องเที่ยว (1953)40 ดุสิตธานี (1966) ราชดำริ (1973) บางกอกอินเตอร์คอน ติเนนตัล (1977) รอยัลออคิด (1978) ดอนเมืองอินเตอร์เนชันแนล (1981) แสนสุรัตน์ (1961) นราธิวาสธานีธุรกิจพัฒนาที่ดิน/ก่อสร้าง คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) (1930) นันทวัน (1974) วังลดาวัลย์ (1983) ธนันดร (1992) สยามสินธร (n.a) อเมริกันแอพเพรซัลธุรกิจบริการ/สื่อมวลชน สหศินีมา (1932) ขนส่ง (1930) พืชกสิกรรม (1943) บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพฯ (1983) ฟอร์ทิส (1984) 1,250 40 405 450 174 937.5 120 41.1 180 450 20 20 1 1,000 1 6 n.a 6 80 40 -12 18 12 --48 ------91 ----24.4 12.4 14.7 4.9 10.4 6 17 41.1 12.5 10 29 90 24.9 -92 .03 6.8 10.9 29 24.4 -14.6 -10 6 -55 20.7 24.9 10 -25 คลังสินค้า โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรมและพัฒนาที่ดิน โรงแรม รับเหมาก่อสร้าง พัฒนาอสังหาริมทรัพย ์บริษัทลงทุน บริษัทพัฒนาที่ดิน พัฒนาอสังหาริมทรัพย ์ข่าวสารและบันเทิง ขนส่ง บขส ผู้ขายสินค้าเกษตรกรรม กจการบริการ ผู้ขายผลิตภัณฑ์บาจา
8 มิ.ย.2549
101
บริษัท ทุนจดทะเบียนป .1991 (ล้านบาท) ร้อยละการถือหุ้น ลักษณะธุรกิจ 1979 1991 1996/97 ทางด่วนกรุงเทพฯ (1987) 5,500 -2.6 กิจการทางด่วนพิเศษ สยาม ดีเอช วี (1990) 5 -2 วิจัยสภาวะแวดล้อม โรงพิมพ์ตะวันออก (1990) 300 -10 10 โรงพิมพ ์บางกอกไมโครบัส (1992) 200 -10 เดินรถเมล .
แหล่งที่มา : เกริกเกียรติ (2525 : 391 – 393) สุปราณี (2535 : 202 – 206) แบบ 56-1, และ สรุปข้อสนเทศบริษัทจด ทะเบียน, ฉบับต่าง ๆ หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีที่ก่อตั้ง
ภาคผนวก ก
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย .(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คณะอภิรัฐมนตรีในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค ์รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร อลงกฎ ธานีนิวัติมานวราชเสวีตราไว ้ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ ์พ.ศ. 2491 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ดังต่อไปนี้มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
8 มิ.ย.2549
102
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
“ทรัพย์สินส่วนพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จ ขึ้นครองราชสมบัติหรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย ์ทั้งนี้รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้น ด้วย
“ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย ์ซึ่ง ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย ์นอกจาก ทรัพย์สินส่วนพระองค ์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าวแล้ว” มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อท้ายมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2491 เป็นมาตรา 4 ทวิและมาตรา 4 ตรีตามลำดับ “มาตรา 4 ทวิให้ตั้งสำนักงานขึ้นสำนักงานหนึ่งเรียกว่า “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มีหน้าที่ปฏิบัติการตามความในมาตรา 5 วรรคสอง ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา 4 ตรีให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อย กว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้งและในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน
ให้คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่หน้าที่ดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย .
ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย และมีอำนาจลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์”
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2479 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2484 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 5 ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็น เครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและ จัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราช อัธยาศัย”
8 มิ.ย.2549
103
มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อท้ายมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่าย พระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2479 เป็นมาตรา 5 ทวิ
“มาตรา 5 ทวิเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามพระราชอัธยาศัย แต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผูดูแลและ จัดหาผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค ์ให้นายกรัฐมนตรีประกาศแต่งตั้งในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อได้มีประกาศตามความในวรรคก่อนแล้ว ในกรณีทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระองค ์ห้ามมิให้ระบุพระปรมาภิไธยหรือข้อความใด ๆ อันแสดงหรืออนุมานได้ว่าพระมหากษัตริย์เป็นคู่กรณีหรือคู่ความ ให้ระบุเพียงชื่อบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้งดังกล่าว แล้วต่อท้ายด้วยคำว่า “ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์” เท่านั้น”
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้น จะจ่าย ได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมรา ชานุญาตแล้วเท่านั้น
รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดย พระมหากษัตริย ์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะใน กรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะ หรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราช กรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น”
มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย ์พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 7 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 6 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก ็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อ สาธารณประโยชน ์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น”
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ควง อภัยวงศ .
นายกรัฐมนตรี
8 มิ.ย.2549

ที่มา : เสวนา: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับการลงทุนทางธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น: