ผมมีข้อสังเกต จากความรู้สึกเป็นปริศนา เรื่องนี้เล็กน้อย
ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือไม่ เป็น speculation
คือ เริ่มแต่จดหมายจากสันติบาลถึง สุลักษณ์ ที่ฟ้าเดียวกัน เอามาตีพิมพ์
ผมแปลกใจจดหมายนั้นมาก เพราะ
(ก) อ.สุลักษณ์ ลดการพูดถึงสถาบันลงอย่างมาก (นี่ไม่เชิงการวิจารณ์ ใครที่โดนข้อหา ม.112 ค้ำอยู่ ย่อมมีความลำบาก)
(ข) มิหนำซ้ำ อันที่จริง ครั้งหลังๆ ที่ อ.สุลักษณ์ พูดถึงสถาบันฯ คือ การพูดในแง่เล่นงานทักษิณ (ทักษิณ "ไม่จงรักภักดี" "เลวกว่าสฤษดิ์ ที่ยังจงรักภักดี")
ผมจึงประหลาดใจว่า ทำไมจึงมีจดหมายในลักษณะนั้น
แล้วผมได้ความคิด หรือ "สมมุติฐาน" ขึ้นมาอันหนึี่ง คือ อ.สุลักษณ์ เป็นผู้ที่มีแนวโน้มว่า ถ้าฝรั่งจะมาถามเรื่องสถาบัน จากคนไทย จะไปถาม อ.สุลักษณ์ มากกว่าใคร
พูดอีกอย่างคือ สันติบาล เตือนสุลักษณ์ ไม่ใช่ในแง่ สิ่งที่สุลักษณ์พูดเร็วๆนี้ แต่เป็นการเตือน เพื่อ กัน เรื่องการพูดกับฝรั้่ง
ถ้า "สมมุติฐาน" นี้มีความเป็นไปได้
ผมสงสัยว่า กรณีหนังสือใจ อาจจะเป็นเหตุเดียวกัน คือ นีเป็นหนังสือที่เขียนเป็ฯภาษาอังกฤษ โอกาสที่จะฝรั่งจะอ่าน จะมีมากกว่า
(อันทีจริง ฝรั่งหลายคน อ่านได้เฉพาะหนังสือนี้ เมื่อต้องการข้อมูลที่มีลักษณะวิพากษ์ รปห. เพราะอ่านงานไทยอื่นๆไม่ได้ ดูฝรั่งหลายคนที่มาโพสต์ใน ฺBangkok Pundit หนังสือเล่มนี้ "ดัง" พอสมควร ในหมู่ฝรั่ง พวก expat และอื่นๆ (ที่อ่านไทยไม่ได้) )
พูดกันตรงๆ (คล้ายกรณีสุลักษณ์) ผมไม่คิดว่า หนังสือ ใจ เป็นงานทีดีนัก ใจ ยังคงลักษณะ dogmatism อย่างคงเส้นคงวา แม้แต่ central concept ผมว่า ผิด มากๆ ถ้า coup นี้ เราเรียกว่า coup for the rich ก็ไม่มีประโยชน์อะไรในแง่การทำความเข้าใจ coup นี้ คือ ไม่เข้าใจ differentia specifica ของ coup นี้
ไม่ต้องอะไรมาก ไม่รู้สึกเป็นการตลก ที่พูดว่า coup for the rich กับ coup ที่โค่น one of the richest man หรือ?แน่นอน ใจ อธิบาย แบบ dogmatic ตามแบบฉบับของเขา ว่า rich อย่างทักษิณ กับ "ทหาร" ก็ "ไม่ต่างกัน" เป็น "นายทุน" เหมือนกัน (ดูบทความเรื่องสถาบันฯของเขาในประชาไท)
วิธีการมองอะไรแบบ "ชนชั้นปกครอง ก็คือ ชนชั้นปกครอง ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย" พร้อมๆกับที่วา คนอื่นเป็น maoist (ทั้งๆที่ คนที่เขาระบุนี่ แม้แต่เกษียร!! ไม่เชื่อเรื่อง maoism ไปเป็นชาติแล้ว) อันทีจริง ชวนให้ผมนึกถึงอะไรรู้ไหม? .. ผมกำลังสอน ประวัติศาสตร์การปฏิวัติรัสเซีย และ ปรัชญา ปวศ.มาร์กซิสม์ .. คือ นึกถึง ช่วงที่เรียกว่า Third Period ของสตาลิน (1928-1935) ที่มองว่า พวก Social Democracy คือส่วนหนึี่งของ Fascism อะไรทำนองนั้น วิธีมองว่า "ชนช้นนำ" ที่ใช้รัฐสภา กับ ชนช้นนำ ที่ใช้ ทหาร ใช้ระบอบกษัตริย์ ไม่มีความแตกต่างอะไร เป็นชนช้นนายทุนเหมือนกัน ช่างไร้เดียงสาอะไรประมาณนั้น(ความไม่รู้ในทางทฤษฎีอื่นๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการถกเถียงเรื่อง Bourgeois Revolution แม้แต่ในกรณีอังกฤษเอง ก็นับว่าน่าละเหี่ยใจ .. )
ขออภัยที่พูดอ้อมเสียยาว ประเด็นเพื่อจะบอกว่า หนังสือ ใจ ในความเห็นผม ไม่ใช่หนังสือที่ดีนัก และแม้แต่ประเด็นเรื่องสถาบันเอง ก็ไม่ใช่งานที่มีลักษณะแหลมคมเป็นพิเศษในเรื่องนี้?
ถ้างั้น ทำไมจึง "แบน" ...?
ผมสงสัยว่า อาจจะเหมือนกับกรณีสุลักษณ์?
เรื่องนี้ ความจริง โยงกับประเด็นหนึี่งที่ "สร้างความกังขา" ผมมาระยะหนึี่ง คือ...
พูดแบบง่ายๆนะ "ทำไม เว็บนี้ ถึงเปิดอยู่ได้วะ?"
[ เว็บฟ้าเดียวกับ : เจ้าน้อย ]
(ไม่ต้องพูดถึง กรณี "พระยาพิชัย" ที่เข้าใจว่า เลิกดำเนินการไปแล้ว)
ผมมมีสมบุติฐานคร่าวๆว่า ฝ่ายรัฐกำลังใช้นโยบาย ที่พุ่งเป้าเฉพาะกรณีที่กระทบถึง "ฝรั่ง" หรือถึง "เมืองนอก"แต่ใช้นโยบายอีกอย่างในกรณีในประเทศ??
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา : เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน : ตำรวจนครบาลสั่งห้ามขายหนังสือ A Coup for the Rich
วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551
ข้อสังเกต เรื่องการสั่งห้ามขายหนังสือ A Coup for the Rich
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 6:26 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น