วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

ความประหลาดในบทวิจารณ์ KNS ของนิธิ


สั้นๆ เกี่ยวกับ นิธิ วิจารณ์
The King Never Smiles

ความจริง ผมอยากเขียนอะไรสักหน่อยเกี่ยวกับที่นิธิวิจารณ์ KNS แต่เนื่องจากผมยังไม่มีเวลา

นิธิ เอียวศรีวงศ์ วิจารณ์ The King Never Smiles

อีกส่วนหนึี่ง เพราะผมกำลังรอฟังเทปการอภิปรายของคนอื่นและกำลังอ่าน paper เรือง monarchy ในอีก 2 sessions อยู่ด้วย

(สำหรับผู้ที่ต้องการ papers อื่น เช่น ของ Paul Handley เรื่อง องคมนตรี ของคุณประวิทย์ โรจนพฤกษ์ เรื่อง นสพ.กับ กม.หมิ่น ของ สมชาย กับ Streckfuss เรื่องกฎหมายหมิ่น

เชิญดาวน์โหลด ได้ที่นี่
http://www.fringer.org/?p=310

รวม papers ที่คุณ mona (จำชื่อผิดขออภัย) เคยเอามาให้โหลดก่อนหน้านี ไม่มี papers พวกนี้)


อย่างไรก็ตาม ผมขออนุญาต พูดถึงประเด็น "เล็กๆ" ประเด็นหนึ่ง คือ ข้อความที่นิธิพูดต่อไปนี้


" การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงสามารถยุติการนองเลือดในเหตุการณ์ 14 ตุลา สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ผู้คนนอกประเทศไทยอย่างมาก รวมทั้งนักวิชาการไทยคดีศึกษาหลายท่าน แต่รัฐศาสตร์ไทยก็ไม่มีคำอธิบายอันใดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพระราชอำนาจที่ทรงยุติการนองเลือดนั้น ยังสามารถใช้กรอบคำอธิบายเดิมได้อยู่ กล่าวคือโดยอาศัยฐานะที่ทรงเป็นศูนย์รวมของชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับความเคารพสักการะมาแต่อดีต เป็นเงื่อนไขที่เปิดให้ทรงสามารถยุติการนองเลือดได้ เป็นบทบาทเดิมที่มีอยู่แล้ว คือรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ ท่ามกลางความแตกแยกขัดแย้งซึ่งทำให้เกิดความรุนแรงและวิกฤตทางการเมือง "


ให้ผมพูดแบบไม่เกรงใจว่า ระดับนิธิ ไม่น่าโง่พอจะพูดข้อความที่ผมทำ bold ไว้ออกมา เพราะ ไม่เป็นความจริง เป็นเรื่องโกหก เป็นการ พูดซ้ำ (หรือ "ผลิตซ้ำวาทกรรม" ถ้าจะใช้ภาษาสมัยนี้) สิ่งที่พวกนิยมเจ้าสมัยนี้ชอบพูดกัน

อันที่จริง ไอเดียเรื่อง "ในหลวงทำให้การนองเลือด 14 ตุลา ยุติ" เป็น myth หรือ "วาทกรรม" ที่มีอายุใหม่มากๆ แม้ในหมู่พวกนิยมเจ้าเอง

ที่นิธิพูดถึง "รัฐศาสตร์ไทย" ไม่มีคำอธิบาย เรื่องนี้ ความจริง ก็ผิด ถ้าจะนับเรื่องการวิเคราะห์เกี่ยวกับ 14 ่ตุลาทั้งหมด เพราะในวงการปัญญาชนฝ่ายซ้าย ซึ่งครอบงำการอภิปรายเรื่อง 14 ่ตุลาอยู่หลายปี (ประมาณ 10 ปี) ได้มีการอภิปรายถกเถียง เรื่องนี้่จนหน้ากระดาษปรุไปไม่รู้เท่าไร (ที่เถียงกันเรื่อง "ความขัดแย้งอะไรชี้ขาดชัยชนะ 14 ตุลา" นี่คืออะไร?)

(ขอผมทำเชิงอรรถ ไว้นิดว่า ผมมักจะพบว่า เวลานิธิพูดเรื่องสมัย 14 ตุลา หรือใกล้เคียงนั้น นิธิมักจะแสดงความรู้น้อยอย่างเหลือเชื่อ ที่น่าอนาถคือ คนอย่างเกษียร - ที่แม้จะไม่ได้มีบทบาทมากในช่วงนั้น แต่อย่างน้อยก็ใช้ชีวิตอยู่ในขบวนนศ.ขณะนั้นบ้าง - ดัน ไปหลงกับการวิเคราะห์ที่มีฐานข้อมูลอ่่อนมากของนิธิ อย่างบทความเรื่อง "ชาตินิยมในขบวนการ 14 ่ตุลา" (ชื่อทำนองนี้) ของนิธิ ถึงกับเอาไปขยายเป็นตุเป็นตะเรื่อง "สองชาตินิยมชนกัน" อะไรนั้่น... ให้ผมถามเกษียรง่าย (ผมรู้อยู่ว่าเขาได้อ่าน) ถ้าตอนนั้นคุณหรือผม หรือ เรา เป็น "ชาตินิยม" จริงๆ
" ชาิติ "อะไรครับที่เรา "นิยม"? ไม่ใช่ "ชาติ" ไทย แน่ๆ เพราะตอนนั้น เรา "โคตรจะเหมาอิสต์" เลย ขนาดฟังเพลง "บูรพาสีแดง" แล้วน้ำตาซึมกันน่ะการพูดว่า เราเป็น "ชาตินิยม" ในขณะนั้น ไม่ว่าจะพยายามอธิบายว่า เรามี "นิยามชาติ" ต่างจากฝ่ายขวา เป็นการ abuse of language (abuse คำว่า "ชาติ" และ "ชาตินิยม")

ผมขออนุญาต ไม่เ่ขียนเรือง 14 ตุลามากมายในทีนี้ว่า myth เรื่องที่นิธิเอามา repeat นั้น มีรายละเอียดของการเกิดมาอย่างไรบ้าง ขอย้ำสั้นๆว่า แม้แต่พวกฝ่ายขวาเอง ก็ไม่ได้โฆษณาประเด็นนี้ เป็นเวลาหลายปีหลัง 14 ่ตุลา อันที่จริง คือ ฝ่ายขวา แทบไม่อยากแตะเรื่อง 14 ตุลาเลย ไม่อยาก associate บทบาทกษัตริย์เข้าำกับ 14 ่ตุลาเลย

ผมขออนุญาติ ใช้วิธีคัดลอก บางส่วนของบทความที่ผมยังเขียนไม่เสร็จดี (แต่เคยโพสต์ไปแล้ว) ซึี่งพูดเรื่องนี้โดยตรง มาให้ดูอีกครั้ง

(ส่วนที่เกี่ยวกับ 14 ตุลา เป็นประเด็นหนึี่ง มีประเด็นอื่นด้วย)

...........................


ผมเห็นว่า ในระยะใกล้ๆนี้ แม้แต่นักวิชาการใหญ่ๆ เมื่อเขียนถึงสถาบันกษัตริย์ ก็มักจะลืมประวัติศาสตร์ คือลืมไปว่า สิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่รอบข้างทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่ใหม่มาก การพูดถึง “พระราชสมภารบารมีที่ทรงสั่งสมไว้ในสังคมมาเป็นเวลานาน” (นิธิ, “ระหว่างสถาบันและองค์พระมหากษัตริย์”, ศิลปวัฒนธรรม, พฤษภาคม 2544) หรือ “พระราชอำนาจนำ” ที่นิยมพูดกันในระยะหลังๆ หรือกระทั่งเรื่อง “โครงการในพระราชดำริ” เป็นต้น ความจริง “วาทกรรม” เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอายุไม่เกินประมาณ 20 ปี แต่ฉายภาพ (projection) ย้อนหลังกลับไปก่อนหน้านั้น แม้แต่บทบาทและสถานะของสถาบันในเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลา ทุกวันนี้ก็ถูกมองผ่านเลนส์ของเหตุการณ์พฤษภา ทั้งๆที่มีความแตกต่างอย่างมาก ในลักษณะการเข้าแทรกแซง และผลลัพท์ของการแทรกแซงนั้น การเรียกผู้นำรัฐบาล-ทหารเข้าพบ ต่อหน้าทีวีสด และสั่งให้ยุติเหตุการณ์ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน คนที่เกิดไม่ทัน 14 ตุลา ก็วาดภาพย้อนหลังกลับไปว่าเหตุการณ์ทำนองเดียวกันเกิดขึ้นในปี 2516 ด้วย - ดูอีเมล์ “ในหลวงทรงร้องไห้” ที่เผยแพร่เร็วๆนี้ เรื่องในหลวงทรงรับสั่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่า “คนไทยจะฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ได้ ทุกอย่างต้องสงบโดยฉับพลัน” (ไม่เคยมีรับสั่งเช่นนั้นเลย) หรือขอให้ลองอ่าน หนังสือ เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์ ของ วสิษฐ เดชกุญชร อย่างใกล้ชิด วสิษฐ์เป็นรอยัลลิสต์อย่างไร ย่อมทราบกันดี แต่สิ่งที่ควรสะดุดใจอย่างยิ่ง เมื่อมองจากปัจจุบันที่พูดกันเรื่อง “สถาบันกษัตริย์แก้วิกฤติ ทำให้เหตุการณ์สงบ หลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อ” ฯลฯ คือ ในหนังสือเล่มนั้น วสิษฐ์ไม่ได้เขียนอ้างว่า เหตุการณ์ยุติได้เพราะสถาบันกษัตริย์ (มีข้อความตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ยุติได้ “เพราะพระบารมี” แต่นั่นเป็นเพียงวสิษฐ์เล่าคำพูดของสมบัติ) มิหนำซ้ำ ยังมีบางตอน ที่ถ้าอ่านอย่างเปรียบเทียบกับ “วาทกรรม” เรื่องนี้ในปัจจุบัน นับว่าน่าสนใจยิ่ง คือ วสิษฐ์พูดถึงว่า “พระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดูเหมือนจะละลายไปในเหตุการณ์โดยไร้ผล” คือยังมีการปะทะบนท้องถนนอยู่ แน่นอน เขาไม่ถึงขั้นเขียนว่า “พระราชดำรัสของในหลวง ดูเหมือนจะละลายไปในเหตุการณ์โดยไร้ผล” แต่พระราชดำรัสพระราชชนนีมีหลังพระราชดำรัสในหลวงด้วยซ้ำ (หลัง 2 ชั่วโมงกว่า) การที่เขาเขียนเช่นนี้ เท่ากับเป็นการยอมรับความ “ไร้ผล” ไม่เพียงพระราชดำรัสของพระราชชนนีเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น ในท่ามกลางเหตุการณ์ไม่สงบ วสิษฐ์เขียนว่า “เป็นครั้งแรกในชีวิตอีกที่ผมระลึกถึงพระสยามเทวาธิราช พระนามนั้นผ่านแวบเข้ามาในใจผมอย่างไรก็ไม่ทราบ...พอระลึกถึงพระสยามเทวาธิราช ผมก็นึกในใจต่อไปว่า หากทรงมีอานุภาพอย่างไร ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทรงช่วยเมืองไทยอีกครั้งหนี่ง” นั่นคือ วสิษฐ์ภาวนาในใจขอให้พระสยามเทวาธิราช ช่วยทำให้เหตุการณ์สงบ ไม่ใช่ในหลวง (การภาวนาในใจนี้เกิดหลังพระราชดำรัสเช่นกัน)

“วาทกรรม” เรื่อง “ในหลวงทรงทำให้ 14 ตุลาสงบ” ด้วยการทรงเข้าระงับเหตุการณ์รุนแรง “พระราชทานนายกฯ” ฯลฯ เป็นสิ่งที่ใหม่มาก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์นั้นเอง มายาคติเรื่องนี้มีผลสำคัญอย่างไร ผู้อ่าน พ.ศ.นี้ คงไม่ต้องให้บอก? การรณรงค์ขอ “นายกพระราชทาน” ของ พันธมิตร, พรรคประชาธิปัตย์ และพวกนักวิชาการอย่างสุรพล (ซึ่งเป็นเด็กเกิดไมทัน 14 ตุลาเหมือนอภิสิทธิ์) มาจากอะไร ถ้าไม่ใช่จากมายาคติเรื่อง 14 ตุลานี้?

คนที่ทุกวันนี้พูดเรื่อง “พระราชอำนาจนำ” อย่างแพร่หลาย ต้องลองนึกย้อนไปถึงสถานการณ์ในปี 2520 ช่วงปลายรัฐบาลธานินทร์ ซึ่งถูกถือว่า เป็นรัฐบาลที่ไร้สมรรถภาพและโง่เขลาที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์วางระเบิดหน้าพระที่นั่ง และรถจักรยานยนต์ชนรถพระที่นั่ง ที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ท้ายๆของรัฐบาลธานินทร์ ไม่ว่าความจริงจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นฝีมือใคร ก็เหมือนกับเป็นการ “เตือน” บางคนที่สนับสนุนรัฐบาลธานินทร์พร้อมกันไปด้วย แม้แต่วาทกรรมการเมือง อย่างคำว่า “ขวาจัด” ที่ใช้กันในสมัยนั้น ในหมู่นักหนังสือพิมพ์และผู้สังเกตการณ์การเมือง ก็มีความหมายที่เข้าใจกันแพร่หลายถึงบางกลุ่มบางคนด้วย ช่วง 8 ปีของรัฐบาลเปรม ที่ตัวเปรมเองถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และเป็นที่ “เบื่อหน่าย” อย่างยิ่งในวงการเมือง แต่สามารถรักษาบัลลังก์ไว้ได้ท่ามกลางการท้าทายต่างๆ ไม่ใช่เพราะความสามารถ แต่เพราะการสนับสนุนแบบ “ฟ้าประทาน” ก็ไม่ได้ช่วยทำให้ผู้ใดก็ตามทีสนับสนุนเปรมเช่นนั้น จะได้รับเครดิตอย่างสูงส่งไปด้วยแน่นอน โดยสรุป "พระราชอำนาจนำ” ที่นักวิชาการบางคนชอบพูดถึง ราวกับเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างสากลมาช้านาน จึงเป็นเพียงภาพที่นักวิชาการที่หลงลืมประวัติศาสตร์ยุคใกล้เหล่านั้น สร้างขึ้นมาเอง (ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง!)

กิจกรรมสรรเสริญพระบารมีที่ทำกันทุกวันนี้ อย่างมีลักษณะแพร่กระจายไปทั่วทุกขุมขนของสังคม ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลังทศวรรษ 2530 แล้วทั้งสิ้น การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้เสนอความคิดเชิงนโยบายยุทธศาสตร์ชี้นำ อย่างกรณี “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นเรื่องไม่ปรากฏมาก่อนในอดีต พระราชดำรัส 4 ธันวา เพิ่งมาได้รับการให้ความสำคัญในทศวรรษ 2530 (“รู้รักสามัคคี”, “ทฤษฎีใหม่” และ “เศรษฐกิจพอเพียง”) น่าสังเกตว่า ในบรรดา “พระอัฉริยภาพ” ที่พูดกันเกี่ยวกับในหลวงนั้น ด้านที่ทรงเป็น “นักเขียน” เป็นด้านที่ปรากฏขึ้นหลังสุด หลังด้านอื่นๆ (กีฬา, ดนตรี, ฯลฯ) นานมาก หนังสือ นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ที่แปลเสร็จตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2520 เพิ่งตีพิมพ์ในปี 2536 ตีโต้ ในปี 2537 สองเรื่องนี้ยังเป็นเพียงงานแปล ในหลวงในฐานะ “นักเขียน” เริ่มเต็มที่จริงๆด้วย พระมหาชนก ในปี 2540 ฉบับการ์ตูน 2542 และ ทองแดง ในปี 2545 ฉบับการ์ตูน 2547 (อาจกล่าวได้ว่า การปรากฏตัวของพระเทพในฐานะนักเขียน เป็นการ “ปูพื้น” ให้กับปรากฏการณ์ Mass Monarchy ในด้านการเป็น “นักเขียน” นี้ – งานเขียนของพระเทพ เริ่มเผยแพร่สู่ “ตลาดหนังสือ” อย่างจริงจัง ในปลายทศวรรษ 2520) สิ่งที่ควบคู่กับด้านความเป็น “นักเขียน” ก็คือด้านความเป็น “นักคิด” หรือ “นักปรัชญา” (“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”) การที่นักวิชาการอย่างรังสรรค์ ธนพรพันธ์ สามารถเขียนถึง “ฉันทามติกรุงเทพ” ในฐานะแนวทางต่อต้านทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ภายใต้การชี้นำทางความคิดของในหลวง ก็เป็นอะไรบางอย่างที่เป็นไปได้หลังทศวรรษ 2530 – อันที่จริง หลัง 2540 – เท่านั้น การเชื่อมโยงพระมหากษัตริย์เข้ากับสังคม ในระดับชีวิตจริงประจำวัน ตั้งแต่ชีวิตทางการเมือง (คำขวัญประเภท “เราจะสู้เพื่อในหลวง” เป็นคำขวัญที่ไม่มีใครชูมาก่อน) ไปถึงชีวิตประจำวันทั่วไป ในรูป สติ๊กเกอร์, ริสแบนด์ และ, แน่นอน, เสื้อเหลือง (ความแตกต่างระหว่าง “ผ้าพันคอลูกเสือชาวบ้าน” ที่ใส่เฉพาะงานพิเศษเป็นครั้งๆ กับ เสื้อเหลือง หรือ ริสแบนด์ ที่ใส่ได้ทุกวัน) นี่คือการมีลักษณะ “มวลชน” เป็นครั้งแรกของสถาบันกษัตริย์


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา : บอร์ดฟ้าเดียวกัน : สั้นๆ เกี่ยวกับ นิธิ วิจารณ์ The King Never Smiles


เพิ่มเติม

ความประหลาดในบทวิจารณ์ KNS ของนิธิ


ขออภัย ตั้งเป็นกระทู้ใหม่ คิดว่า มีประเด็น"ใหม่"เล็กน้อย ชวนให้สนใจอยู่ดังที่ผมได้บอกไว้ในกระทู้ก่อนในเรื่องนี้

สั้นๆ เกี่ยวกับ นิธิ วิจารณ์ The King Never Smiles

ผมยังไมมีเวลาพูดถึงบทวิจารณ์ KNS ของนิธิจริงๆ และ papers อื่นๆ ในการสัมมนาเดียวกัน(ผมไม่ได้อยากแก้ตัวหรอกครับ แต่ผมมีงานเขียนค้างๆหลายชิ้น ไม่นับงานสอนหนังสือประจำ แม้แต่เรื่อง comments ประเภทรายวัน-รายสะดวกแบบนี้ ผมก็ยังมี "คิว" เรื่องอื่น เช่น papers ในงานสัมมนารัฐศาสตร์ประจำปี ซึ่งผมได้โหลดมาอ่านเร็วๆนี้ (เรื่อง Gramsci, paper ของชลิดาพร, เกษียร, ไชรัตน์ ฯลฯ)

แต่บังเอิญ มีคนใช้ชื่อว่า an observer ไปเขียน defend งานสัมมนาไทยศึกษา โดยเฉพาะ defend สัมมนาชุด monarchy นี้

Thai studies conference open forum

ความจริง ผมเชื่อว่าผมรู้จักคนเขียนสำนวนนี้อยู่ และแปลกใจที่ทำไมเขาไม่ใช้ชื่อจริง เพราะไม่เห็นว่าเป็นเรื่องน่าเสียหายอะไรที่จะใช้ชื่อจริง ในกรณีนี้

โดยสรุปคือ เขา defend การสัมมนา โดยโต้แย้งต่อท่าทีในเชิง"ลบ" หรือเชิง"ผิวหวัง"การสัมมนาของหลายคน รวมทั้งในบอร์ดแห่งนี้(เขาไม่ได้ระบุชื่อบอร์ด แต่ก็รู้ว่า หมายถึงบอร์ดนี้ และบางกระทู้ ผมสามารถระบุได้เลยว่า เขาหมายถึงกระทู้ไหน แต่เจ้าตัวเองไม่ระบุ)

หลายอย่างที่เขาพูด ผมอภิปรายด้วยไม่ได้ เพราะไม่ได้ร่วมสัมมนา

แต่กรณีบทวิจารณ์ KNS ของนิธิ ผมเห็นว่า การ defend ของเขาเอง คลาดเคลื่อนมาก ถ้าผมมีเวลา ผมจะชี้ให้เห็นว่า บทวิจารณ์ของนิธิดังกล่าว มีปัญหาอย่างไร (และไม่ใชอย่างที่ observer พูดอย่างไร เช่น กรณีท่าทีต่อหนังสือ นครินทร์)

ต้องขอผลัดไว้ก่อนครับ

แต่ที่ผมโพสต์นี่ อยากเชิญชวน ให้ลองไปอ่านที่ observer เขียนก็แล้วกัน โดยเฉพาะคนที่ไปฟังสัมมนาเอง

และอยากชวนให้ลองคิดอะไร ที่ผมว่า ชวน "สนุก" อยู่

คือยังงี้ครับ ในบทวิจารณ์นั้น นิธิ ได้พูดหลายครั้ง ถึง "กรอบคำอธิบาย" ที่ Handley เสนอสำหรับมอง สถาบันกษัตริย์ใน KNS ซึ่งเป็น "กรอบคำอธิบายใหม่" ฯลฯ ที่นิธิเห็นว่าสำคัญ (อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้ว เขาไม่ได้เห็นด้วยกับกรอบนี้ แต่เห็นด้วยกับ "กรอบ" ที่นครินทร์ หรือแม้แต่ Macargo เสนอมากกว่า (อันนี้เป็นประเด็นที observer อ่านหรือฟังไม่ดีเอง) แต่เรื่องนี้ มี "ความเป็นมา" ที่ซับซ้อนกว่านี้อีก เพราะความจริง ไอเดียที่นิธิพยายามเสนอ แต่เสนอได้อย่าง badly ในบทวิจารณ์นั้น มีนัยยะกว้างกว่าบทวิจารณ์ของเขาอยู่ ซึ่งผมหวังจะหาโอกาสอธิบายในอนาคต)

แต่ประเด็นที่อยากเชิญชวนให้ฝึกสมองกันสนุกๆคือยังงี้ครับ

สังเกตเห็นเรื่อง "ประหลาด" อย่างหนึ่งไหม?

คือขณะที่นิธิพูดถึง "กรอบคำอธิบายใหม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์" ของ Handley ซ้ำแล้วซ้ำอีกนั้น

ไม่มีตรงไหนในบทวิจารณ์เลย ที่นิธิอธิบายว่า "กรอบคำอธิบายใหม่" ของ Handley ที่ว่าคืออะไร

ตอนแรกผมนึกว่า ผมอ่านตกหล่น แต่อ่านซ้ำหลายเที่ยว ก็ยังไม่เห็นว่า "กรอบ" ของ Handley ที่นิธิพูด คืออะไร (ในทัศนะของนิธิ)

ผมว่าประหลาดมากๆเลย

ผมพอมีทฤษฎี หรือ สมมุติฐาน อธิบาย ความประหลาด นี้อยู่

แต่อยากให้พวกเราลองไปอ่านนิธิดูเองอีกที แล้วช่วยกันหาว่า ที่นิธิพูดถึง "กรอบ" ของ Handley นั้น นิธิได้พูดไว้ตรงไหน ว่าหมายถึงอะไร? และถ้าไม่มีตรงไหนที่พูดเลย แต่ย้ำแล้วย้ำอีกเรื่อง "กรอบ" ดังกล่าว พวกเราคิดว่า เพราะอะไร?


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา : เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน : ความประหลาดในบทวิจารณ์ KNS ของนิธิ

ไม่มีความคิดเห็น: