วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551

คำถามว่าด้วยการเศร้าโศก ในการสูญเสีย สมาชิกของราชวงศ์ (และ ปล. ว่าด้วย "จดหมายจากไมอามี่" ที่ถามถึง)


เวลาที่ราชวงศ์สูญเสียสมาชิก ญาติ แล้วเรียกร้องให้ทั่วทั้งประเทศแสดงความเศร้าโศกเสียใจ และสื่อมวลชนทุกแขนงก็ถูกบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้เสนอข่าวแสดงความเศร้าโศกเสียใจ และประชาชนทั้งหลาย ก็ถูกประโคมโหม ให้เศร้าโศกเสียใจ

ขอถามว่า

เวลาที่ประเทศสุญเสียประชาธิปไตย ราชวงศ์สมควร ถูกเรียกร้องให้แสดงความเศร้าโศกเสียใจหรือไม่?

เพราะนี่เป็นการสูญเสียของทั้งประเทศ เป็นการสูญเสียในลักษณะสาธารณะ ไม่ใช่การสูญเสียลักษณะส่วนตัวด้วยซ้ำ

เมื่อ 30 ปีก่อน ตอนที่มีการฆาตรกรรมหมู่อย่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ กลางเมือง ห่างจากพระบรมมหาราชวังเพียงไม่กี่เมตร

สมควรหรือไม่ที่ราชวงศ์จะแสดงความเสียใจ กับเหตุการณ์เช่นนั้น?

มีการแสดงความเสียใจจากราชสำนักหรือไม่กับเหตุการณ์เช่นนั้น?

ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะถึงวาระครบรอบการสูญเสียชีวิตของ นายชิต นายบุศย์ นายเฉลียว ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ที่ถูกกล่าวหาและลงโทษด้วยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุด (โดยทีไม่ได้รับการอภัยโทษ เมื่อยื่นฎีกาถวาย)

สมควรหรือไม่ ที่สื่อมวลชน จะแสดงความเสียใจ รำลึกถึงความไม่ยุติธรรมอย่างใหญ่หลวงทางประวัติศาสตร์นี้ ต่อครอบครัวของทั้ง 3 ท่าน?

(ความบริสุทธิ์ของทั้ง 3 ท่าน เป็นสิ่งที่เถียงไม่ได้เลย ยกเว้นแต่จะบอกว่า ปรีดีเป็นผู้วางแผนในการปลงพระชนม์ ร.8 เพราะรูปคดีทั้งหมดที่ใช้เล่นงาน 3 ท่านนั้น ขึ้นต่อข้อกล่าวหาปรีดี ในเมื่อรัฐเองออกมายอมรับแล้วว่า ปรีดี ไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ ทั้งยังยกย่องให้เสนอชื่อต่อยูเนสโกแล้ว แสดงว่า ทั้ง 3 ท่านนั้น ต้องบริสุทธิ์ด้วย)

บรรดาผู้ที่ออกมาเขียนในกระทู้ต่างๆทำนอง "เห็นอกเห็นใจ" "ร่วมแสดงความเสียใจ" หรือ "เป็นเรื่องทีต้องเห็นใจ" ฯลฯ

ขอให้อ่านที่ผมเขียนข้างบน และใช้สติ คิดให้ดีๆ

บรรดาพวก royalists ที่มาเขียนอ้างว่า ทุกคนต้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจด้วย อย่างน้อยต้อง "มีมารยาท" ฯลฯ ขอท้าให้ลองตอบคำตอบข้างบนดู

ศีลธรรมของพวกคุณ เป็นศีลธรรมแบบมือถือสากปากถือศีล ทีน่าสะอิดสะเอียน ขยะแขยง แต่กลับมาอ้างเรื่องศีลธรรม เรื่องมารยาทกับคนอื่น


ปล. สำหรับเรื่อง "จดหมายจากไมอามี่" ที่มีผู้ถามผมมาทั้ง "หน้าไมค์" และ "หลังไมค์" นั้น

ก่อนอื่น ขอย้ำว่า ผมได้พูดถึงเรื่องนี้ ในบริบทของการเสนอว่า อันที่จริง เรื่องที่มีลักษณะ "ส่วนตัว" เป็นเรื่องที่ไม่สมควรอภิปรายในทางสาธารณะ แต่ขณะเดียวกันก็เสนอว่า การทำให้เรื่องที่มีลักษณะส่วนตัว เป็นเรื่องลักษณะสาธารณะไป เป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของอำนาจแบบชนชั้นศักดินาเอง - ไม่ต้องดูกรณีอื่นไกล เรื่องที่พูดถึงข้างบน เรื่องการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวนี่แหละ ความจริงคือ อำนาจกดขี่ครอบงำของชนชั้นศักดินา มีลักษณะ "เบ็ดเสร็จ" คือต้องบังคับให้เคารพทั้งในแง่ "ผู้ถือครองตำแหน่ง" (holders of office) หรือ "สถาบัน" และในแง่ความเป็นตัวบุคคล (personal) ของสมาชิกในชนชั้นนั้นเองด้วย ซึ่งต่างจากอำนาจแบบทุนนิยม (ผมตั้งใจว่า หากมีเวลาจะมาเขียนถึงเรื่องนี้ทางทฤษฎี โดยเชื่อมโยงต่อกับเรื่องที่คุณ Homo erectus ได้กรุณาเอางานของจิตร มาสรุป จิตรทำงานมาร์กซิสม์ขณะที่ระดับการศึกษาทฤษฎีมาร์กซิสม์ไม่เพียงของไทย แต่ของสากล ยังต่ำอยู่มาก ที่สำคัญคือ จิตร เกิดและตายก่อนที่จะได้เห็นการอภิปรายเรื่องลักษณะเฉพาะ หรือ นิยาม ของ "ศักดินานิยม" ที่เน้นเรื่อง extra-economic coercion ที่มี unity ระหว่างด้านต่างๆ การเมือง-เศรษฐกิจ-กฎหมาย-ความเชื่อ ... นี่คือไอเดียที่สำนัก Althusser กระตุ้นให้เห็นความสำคัญ โดยวางบนพื้นฐานของ passage สำคัญใน Capital Volume Three)

กลับมาที่กรณี "จดหมายจากไมอามี่"

ความจริง ถ้าเขียนให้เข้มงวด ผมควรใช้คำว่า "จดหมายจาก ฟลอริด้า" เพราะตัวจดหมายที่พูดถึง ลงที่อยู่ว่า Florida, USA แต่ผมเขียนแบบเร็วๆ เลยเขียนเป็น ไมอามี่ (เมืองหลวงของฟลอริด้า) ไป ซึ่งความจริง ก็ไม่ผิดอะไร

ผมหมายถึง จดหมายที่ [ผมเรียกคำนำหน้าชื่อ ตามที่ปรากฎใน passport ที่ถ่ายมาแนบกับจดหมายด้วย] "นาย" จุฑาวัชระ, "นาย" วัชเรศร, จักรีวัชระ และ วัชระวีร์ (ทั้งหมดใช้นามสกุล "วิวัชรวงศ์") เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ลงวันที่ 18 มิถุนายน 1998 (คือเกือบ 10 ปีที่แล้ว) และเผยแพร่ในหมู่คนไทยในต่างประเทศ จดหมายมีความยาว 6 หน้ากระดาษ เอ4 (พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดเล็ก แน่นทุกหน้า) ตัวจดหมายเล่าเหตุการณ์ความขัดแย้ง กับ "our father" ซึ่งผมไม่ขอเล่าซ้ำในทีนี้ แต่มีความตอนหนึ่ง ซึ่งพาดพิงถึง พระเทพฯ ที่ผมพูดเป็นนัยถึง (อันที่จริง มีพาดพิงถึง "พระพี่นาง" ด้วย) ข้อความตอนนั้น มีดังต่อไปนี้ (ผมขออภัย ต้องตัดคำบางคำออก และขอไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม)


"We tried many times to contact HM the King, through his secretary, for help. None of our letters were ever answered and we never received any help. We hear that the King receives our letters and is sympathetic, but His Majesty then tell .... to help us and sort everything out, which, of course, means that nothing would get done. We even tried to contact our aunt Princess Sirinthorn for help, but, as expected, our pleas were not answered. Once, we even took a chance and tried to contact our great aunt, HM King's sister for help. We were even hurt by the response we received. This lessens our confidence even more, and over time, we grew to realise that the Royal Family would never help us."


(กรุณา อย่าถามหาฉบับเต็มจากผม เพราะผมไม่มีให้)


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

ที่มา : เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน

หมายเหตุ
การเน้นข้อความเปนไปตามความสนใจของผู้จัดเก็บข้อความเอง มิได้มีในต้นฉบับ...

ไม่มีความคิดเห็น: