ทุนนิยม (Capitalism) สนับสนุนตลาดเสรี การจัดสรรทรัพยากรโดยกลไกตลาด
สังคมนิยม (Socialism) สนับสนุนความเท่าเทียมในเชิงรายได้ สนับสนุนสวัสดิการชนชั้นแรงงานโดยรัฐ
...ในประวัติศาสตร์ไทยจะพบว่าชนชั้นศักดินา (ซึ่งรักษาความเป็นชนชั้นปกครองในสังคมไทยมาได้ตลอด) ได้พบกับทางเลือก 2 ทาง ที่เลวร้ายพอๆ กัน
...หนึ่งคือ ชนชั้นศักดินาไม่ต้องการสนับสนุน "ทุนนิยม"เพราะในระบอบทุนนิยม รายได้จะถูกจัดสรรให้กับคนที่สามารถ "ตอบสนองความต้องการ (demand) ได้มากที่สุด"แต่ชนชั้นศักดินา ไม่เคย contribute ให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยการผลิตค่านิยมของศักดินาไทยตั้งแต่สมัยโบราณก็คือ อาชีพพ่อค้าถือเป็นอาชีพชั้นล่าง (คนจีน)ซึ่งไม่คู่ควรกับเกียรติของพวกเขา ศักดินาจึงพยายามที่จะได้ดิบได้ดีกับการเป็นข้าราชการ และนักกฎหมาย
...เมื่อความเคลื่อนไหวของโลกได้ทำให้ทุนนิยมเข้ามาแทนที่ศักดินานิยมมากขึ้นทุกทีกลุ่มศักดินาจึงสูญเสียอำนาจในสังคมให้กับกลุ่มพ่อค้ามากขึ้นเรื่อยๆพ่อค้ามีอำนาจมากขึ้นทั้งในการเศรษฐกิจและในทางสังคม ในขณะที่ศักดินาถดถอยลงการกำเนิดขึ้นมาของพวก "Nuveau Riche (เศรษฐีใหม่)" สร้างความเจ็บช้ำให้ศักดินาเสมอมา
...ดังนั้น ทุนนิยมสมัยใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ศักดินาเกลียดชัง และพยายามจะสร้างวาทกรรมขึ้นมาต่อต้านทุนนิยมอยู่เสมอๆ
...ในขณะเดียวกัน ชนชั้นศักดินาก็เกลียดชัง "สังคมนิยม" ไม่แพ้กันเพราะสังคมนิยมสนับสนุนความเท่าเทียมทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสุดท้ายที่ศักดินาต้องการ
...จะเห็นได้ว่า ความเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ มีบทบาทสำคัญมากต่อประวัติศาสตร์สังคมไทยสมัยใหม่แต่ "แนวคิด" ของสังคมนิยม แทบไม่เคยถูกกล่าวถึงในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทยพวกศักดินาพยายามทุกวิถีทางที่จะป้องกันไม่ให้แนวคิดของความเท่าเทียมทางสังคมได้เผยแพร่พวกศักดินาจึงสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับ จารีต ความเคารพในทางชนชั้น และการใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน ขึ้นมา
...การเคลื่อนไหวของกลุ่มสังคมนิยมในสมับสงครามโลก ถูกนำเสนอโดยพวกศักดินา ว่าเป็น "ความแตกแยกของคนไทย" "ความหลงผิด" และ "การเข่นฆ่าคนไทยด้วยกัน"เนื้อหาสาระของอุดมการสังคมนิยม ในฐานะแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคมถูกบิดเบือนหมดสิ้น และถูกครอบด้วยวาทกรรม "ความแตกสามัคคี" แทน
...รัฐบาล พล.อ.เปรม ประสบความสำเร็จในการชักจูงให้ผู้ที่หลบหนีเข้าป่า กลับออกมาในฐานะ "ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย"รัฐบาลสร้างวาทกรรมว่าความสำเร็จดังกล่าวเป็นการ "ทำให้ชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง"และความสำเร็จดังกล่าว ก็เป็นที่มาของตำแหน่ง "รัฐบุรุษ" ของ พล.อ.เปรม
...แต่ในความเป็นจริง ความสำเร็จครั้งนั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า ความสำเร็จของชนชั้นศักดินา
...จุดเปลี่ยนของสำคัญของดุลอำนาจครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี และนี่คือหายนะของศักดินา เพราะทักษิณเขย่าชนชั้นศักดินาด้วยทุนนิยม และสังคมนิยมพร้อมๆ กันทักษิณทำให้กลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ (ยอดหญ้า) ได้ประโยชน์ ด้วยทุนนิยม ในขณะเดียวกันก็สร้าง campaign สวัสดิการชนชั้นแรงงาน (รากหญ้า) อย่างมโหฬาร(นี่คือเหตุผลว่านักเศรษฐศาสตร์หลายคน เรียก Thaksinomics ว่าเป็น Dualism - สองขั้วขนาน)
...ทักษิณจึงทำให้ position ของชนชั้นศักดินา (ซึ่งก็กำลังค่อยๆ ถดถอยอยู่ก่อนแล้ว) ยิ่งสั่นคลอนอย่างหนัก
...การเคลื่อนไหวขับไล่ทักษิณ ชินวัตร มาจนถึงการทำรัฐประหาร เป็นการเดิมพันครั้งสุดท้ายของกลุ่มศักดินาดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะได้เห็น "ตัวละครเก่าๆ" ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นศักดินาในอดีต กลับเข้ามามีบทบาทในปี 2547-2550 กันครบถ้วน ทั้งที่เปิดเผยตัว และที่ยังหลบซ่อนอยู่เบื้องหลัง
...ในระยะสั้น กลุ่มศักดินาเป็นฝ่ายชนะ
...และผู้ชนะก็กำลังจะสร้างฐานเพื่อการกลับมาของกลุ่มศักดินาไทยรธน. 2550 ซึ่งเปิดทางให้ อำนาจตุลาการ เข้ามากำหนดการเมืองและทำให้กลุ่มข้าราชการมีอำนาจมากขึ้น ก็เป็นก้าวหนึ่งของการพยายามกลับมาเป็นชนชั้นปกครอง
...แต่ในระยะยาว กลุ่มศักดินาเหล่านี้ กลับทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศรู้ถึงความสำคัญของตัวเองในการกำหนดการเมืองพ.ศ.2548-50 เป็นครั้งแรกที่กลุ่มรากหญ้าเข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยตรง(ในอดีต ความเคลื่อนไหวทางการเมืองล้วนถูกผูกขาดโดยปัญญาชน และชนชั้นกลางในเมือง)ดังนั้น ความพยายามในการกลับสู่อำนาจของศักดินา ในระยะยาวจะทำให้การเมืองกลับมาเป็นการเมืองของประชาชน
...ยิ่งกว่านั้นคือ มนต์สะกดของชนชั้นศักดินาผ่านวาทกรรมและการโฆษณาชวนเชื่อก็ล้วนเสื่อมลงจนประชาชนสามารถมองทะลุผ่านกรอบความเชื่อที่ถูกปลูกฝังให้เชื่อสิ่งเหล่านี้กลับเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ให้ประชาชนกลับมาเป็นเจ้าของอำนาจได้เร็วขึ้น และ
ทำให้ชนชั้นศักดินาไทยล่มสลายเร็วขึ้น
โดย : Prach.
ที่มา : ประชาไทเว็บบอร์ด : ทักษิณ พล.อ.เปรม และการดิ้นรนครั้งสุดท้ายของศักดินา
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551
การดิ้นรนครั้งสุดท้ายของศักดินา !
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 1:55 ก่อนเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น