วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551

งบประมาณรัฐปี2551 สูงถึง 6,032 ล้านบาทเพื่อพระมหากษัตริย์


หากยกเว้นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ absolute monarchy แล้ว ประเทศไทยปัจจุบันครองตำแหน่ง World's most expensive royal family

สะท้อนความจงรักภักดีและเสียสละของปวงชนชาวไทยที่มีต่อราชวงศ์ไทย ได้เป็นอย่างดี

งบประมาณประจำปี 2551

ที่ใช้เพื่อการอำนวยความสะดวก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500,000,000 บาท (ปี 51)

สำนักพระราชวัง 2,086,310,000 บาท (ปี 51)


รวมงบถวายการอารักขา (ปี 51 )

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย
การถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์

1. งบรายจ่ายอื่น 2,782,400 บาท


กองทัพบก
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย

1. งบรายจ่ายอื่น 185,000,000 บาท


กรมราชองครักษ์
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย
ถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์

รวมงบทั้งหมดของกรม 465,842,600 บาท


กรม : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

รวมงบเฉพาะการถวายความปลอดภัย 349,117,700 บาท


กองบัญชาการทหารสูงสุด
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย

1. งบรายจ่ายอื่น

1) งบหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
120,000,000 บาท

2) ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120,000,000 บาท ค่าราชพาหนะและโรงเก็บ (ปี 51)


สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

1. งบลงทุน

(1) เครื่องบินพระราชพาหนะขนาดกลาง และเครื่องบินรับ - ส่งบุคคลสำคัญ จำนวน 4 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น พร้อมโรงเก็บเครื่องบินมาตรฐาน จำนวน 2 โรง 381,450,000 บาท

(2) เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ จำนวน 3 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น และโรงจอดอากาศยาน 1,220,000,000 บาท

3. งบรายจ่ายอื่น

1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง
601,594,700 บาท


ดูข้อมูลได้จาก

1.The World's Most Expensive Royals, Jotman via Bangkok Pundit : sameskybooks/board

2.Expenditure : Bangkok Pundit

รวมข้างต้น ได้ประมาณ 6032 ล้านบาท (ยังตกหล่นที่แฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก เช่น ค่าใช้จ่ายการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ค่ารับรอง เป็นต้น)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบราชวงศ์อังกฤษ 74 ล้านเหรียญต่อปี (~2200 ล้านบาท) ก็มากกว่ามาก โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษมี GDP สูงกว่าไทย ถึง 4 เท่าตัว

ดูข้อมูลราชวงศ์อังกฤษเพิ่มเติมได้ที่นี่ แต่ของไืทยไม่ครบมีแค่ค่าใช้จ่าย royal household

World's most expensive royal family : jotman.blogspot.com



ที่มา : สยามปริทัศน์ : งบประมาณรัฐปี51สูง6032 ล้านบาทเพื่อพระมหากษัตริย์



เพิ่มเติม


เรื่องที่คนไทยไม่รู้เกี่ยวกับในหลวงของปวงชน


ในมหาวโรกาสมิ่งมงคล80พรรษากำลังจะผ่านพ้นไปนี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้าน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงขอถวายพระเกียรติยศให้แผ่ไพศาลไปทั่วสากลโลก ว่าพระองค์ท่านทรงเป็น
King of Kingsอย่างแท้จริง เนื่องจากการสื่อสารจากทางราชการ และภาคเอกชนไม่ค่อยได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอันเป็นการเฉลิมพระเกียรตินี้

ข้าพระพุทธเจ้าจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติ นำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้ ควรมิควร แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดฯ


1.

รัฐบาลจัดสรรงบประมาณจากภาษีประชาชนให้สำนักพระราชวัง2พันล้านบาท/ปีเท่านั้น

ข้อมูลเก่า-คนไทยอาจไม่ทราบว่าในหลวงนำเงินเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยจากที่ใด ถวายแด่พสกนิกรของพระองค์ท่าน

ข้อมูลจากสำนักงบประมาณ-รัฐบาลได้จัดงบประมาณจากภาษีของประชาชนไทยแด่ในหลวงเพื่อการนี้ 2,000ล้านบาทเศษ/ปี ในงบประมาณรายจ่ายปีล่าสุด

ที่มา:http://www.bb.go.th/budget/bu/blue51/25002.pdf


ทั้งนี้สำนักพระราชวังเริ่มได้รับการจัดสรรงบประมาณจากยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี2502และสูงขึ้นอบย่างต่อเนื่อง ดังนี้


งบประมาณของสำนักพระราชวัง

ปี 2502--------32,836,049 บาท
ปี 2522-------126,185,900 บาท
ปี 2523-------141,151,100 บาท
ปี 2524-------165,683,100 บาท
ปี 2525-------184,922,000 บาท
ปี 2526-------235,286,000 บาท
ปี 2527-------312,911,700 บาท
ปี 2528-------281,435,000 บาท
ปี 2529-------340,980,000 บาท
ปี 2530-------387,734,790 บาท
ปี 2531-------358,685,300 บาท

ปี 2533-------450,372,100 บาท
ปี 2534-------517,515,900 บาท
ปี 2535-------623,176,400 บาท
ปี 2536-------829,365,200 บาท
ปี 2537-------815,711,600 บาท
ปี 2538-------933,229,700 บาท
ปี 2539-------907,461,000 บาท
ปี 2540-------944,400,000 บาท
ปี 2541-------987,516,500 บาท
ปี 2542-------961,575,400 บาท
ปี 2543------1,028,315,500 บาท
ปี 2544------1,058,540,000 บาท
ปี 2545------1,136,536,600 บาท
ปี 2546------1,209,861,700 บาท
ปี 2547------1,275,948,400 บาท
ปี 2548------1,501,472,900 บาท
ปี 2549------1,676,888,800 บาท
ปี 2550------1,945,122,400 บาท
ปี 2551------2,086,310,000 บาท

งบประมาณรายจ่ายของสํานักพระราชวังปี2551 รวม 2,086,310,000 บาท


กรม : สํานักพระราชวัง
ผลผลิต : ความสะดวกแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์


4. งบเงินอุดหนุน 835,519,200 บาท

4.1 เงินอุดหนุนทั่วไป 835,519,200 บาท

1) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับ
308,000,000 บาท
2) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร 198,000,000 บาท
3) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระองค์ 65,625,000 บาท
4) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ 57,856,000 บาท
5) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้ายในพระราชฐานต่างจังหวัด
110,000,000 บาท
6) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินเบี้ยหวัดข้าราชการฝ่ายใน 8,908,200 บาท
7) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินพระราชกุศลตามพระราชอัธาศัย
9,900,000 บาท
8) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 19,380,000 บาท
9) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พนธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 25,350,000 บาท
10) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระราชฐานและซ่อมเครื่องตกแต่ง 11,000,000 บาท
11) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระตําหนักจิตรลดารโหฐานพร้อมจัดหาซ่อม ทําเครื่องใช้เครื่องตกแต่ง 16,500,000 บาท
12) เงินอุดหนุนโครงการบูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
5,000,000 บาท


5. งบรายจ่ายอื่น 3,500,000 บาท

1) ค่าใช้จ่ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการสํานักพระราชวังเดินทางไปต่างประเทศ2,000,000 บาท
2) ค่าใช้จ่ายในการจัดการปัญหาแมลงและสัตว์รบกวนในเขตพระราชฐาน 1,000,000 บาท
3) ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กรสํานักพระราชวัง 500,000 บาท

ที่มา:http://www.bb.go.th/budget/bu/blue51/25002.pdf


2.

ในหลวงทรงเป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยมั่งคั่งเป็นอันดับ1
ในตลาดหุ้นไทย

ข้อมูลเก่า-'อนันต์ อัศวโภคิน'แชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี2550 มูลค่า 13,230.23 ล้านบาท ทั้งนี้จากการจัดอันดับของนิตยสารการเงินการธนาคาร

ข้อมูลจริงๆ-จากตลาดหลักทรัพย์ฯในหลวงทรงเป็นแชมเปี้ยนร่ำรวยที่สุด ด้วยมูลค่าหุ้นมากกว่า150,000ล้านบาท และสำนักข่าวบลูมเบิร์กที่มีชื่อเสียงแนวหน้าในโลกการเงินการลงทุนได้ถวายพระเกียรติให้"กษัตริย์ไทยครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ1ในตลาดหุ้นไทย"

ที่มา:http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=2006...r=world_indices

เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลที่แท้จริง และเป็นการเทิดพระเกียรติในหลวงของปวงชนชาวไทย จึงขอให้ทุกท่านได้ตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริงซึ่งตลาดหลักทรัพย์รายงานไว้ดังนี้ครับ


1.
SAMCO : บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน)

-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 197,414,850 หุ้น

คลิ้กดูที่เวปไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตรงนี้
http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?ty...e=th&country=TH


2.
TIC : บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3,526,567 หุ้น
http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?ty...e=th&country=TH


3.
MINT : บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)

-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 42,583,274 หุ้น
-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 17,300,800 หุ้นhttp://www.set.or.th/set/companyinfo.do?ty...e=th&country=TH


4.
SINGER : บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

-พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 หุ้นhttp://www.set.or.th/set/companyinfo.do?ty...e=th&country=TH


5.
DVS : บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน)

-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 10,475,992 หุ้น
http://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=dvs&language=th&country=TH


6.
SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)

-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 360,000,000 หุ้นhttp://www.set.or.th/set/companyinfo.do?ty...e=th&country=TH


7.
SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100,265,685 หุ้น
-สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 50,000,000 หุ้น


ที่มา:http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SCB&language=th&country=TH


รวมมูลค่าการตลาดที่ถือหุ้นในพระนามของพระองค์ท่านและสำนักงานทรัพย์สินรวมประมาณ150,000ล้านบาท มากกว่าที่นายอนันต์มีมูลค่าเพียง13,000ล้านบาทซึ่งนับเป็นพระราชอัจริยภาพ และเป็นแบบอย่างในด้านธรรมาภิบาลในการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส สมควรที่พสกนิกรชาวไทยจะเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทอย่างยิ่งยวด



3.

ในหลวง(อาจจะ)เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดของโลก

ข้อมูลเดิม-สุลต่านบรูไนเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกด้วยทรัพย์สิน22พันล้านเหรียญฯ

ข้อมูลใหม่-ในหลวงของปวงชนชาวไทยอาจจะร่ำรวยที่สุดในโลก เพราะมีทรัพย์สินอยู่กว่า33พันล้านเหรียญฯ

เดิมนิตยสารฟอร์บส์เคยประเมินไว้ว่ามีสินทรัพย์2พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ2540
ต่อมาในปี2542ฝรั่งรายหนึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นเป็น8พันล้านเหรียญฯ

ล่าสุดรศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ นักเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเมินว่า ณ ปี2548มีเพิ่มขึ้นเป็น33พันล้านเหรียญฯ

ที่มา:http://www.siamcollective.com/story.php?id=579


ปวงข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และอยากให้หน่วยราชการ และภาคเอกชน ตลอดจนพสกนิกรผู้จงรักภักดี ได้เผยแผ่ข้อมูลดังกล่าวในวงกว้าง เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติยศให้ปรากฎไปทั่วสากลโลกว่าพสกนิกรชาวไทยโชคดีขนาดไหนที่ได้เกิดมาใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของKing of Kings ทั้งนี้เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด พระพุทธเจ้าข้า


ส่วนเรื่องภาษีที่ยกกันมานั้นเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
โปรดอ่านในเวปไซต์ของสำนักงานทรัพบ์สินฯที่ระบุไว้ดังนี้

เดิมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ ในสังกัดสำนักพระราชวัง ต่อมา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2478 โดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้แบ่งแยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีอากร
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งจะต้องเสียภาษีอากร

ส่วนว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินหรือของพระมหากษัตริย์ กฎหมายระบุไว้ว่า


มาตรา 6

รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลังตามความในมาตรา 5 วรรคสองนั้น เมื่อได้หักรายจ่ายที่จ่ายตามข้อผูกพันอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน (รวมทั้งบำเหน็จ บำนาญ ถ้ามี) เงินค่าใช้สอยเงินการจร และเงินลงทุนอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินพระราชกุศลออกแล้ว ให้นำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงใช้จ่ายในฐานที่ทรงเป็นประมุข


ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี2491ว่า

มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว
จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย
http://www.crownproperty.or.th/history.php

ดังนั้นความเข้าใจว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินจึงตกไปตามนัยกฎหมายนี้ ส่วนเรื่องการยกเว้นภาษีให้นั้น ก็เนื่องจากมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พสกนิกรจึงควรภักดีถวายด้วยความน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยทั่วกัน



โดย : อย่าว่าเราเจ้าข้าฯ..

ที่มา : http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=1d1ae0f74b97efa61af85a8fe2b04cf4&showtopic=4924

ไม่มีความคิดเห็น: