วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Thailand's monarchy The king and them : สถาบันกษัตริย์ของไทย กษัตริย์กับประชาชนไทย



The Economist

Leader
(บทบรรณาธิการ )

Thailand's monarchy : The king and them
Dec 4th 2008
From The Economist print edition



แปลโดย : saraburian

หมายเหตุผู้แปล

ดิ อิโคโนมิสต์ เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ มี ยอดการพิมพ์ประมาณ 1.2 ล้านฉบับต่อสัปดาห์ แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า มีอิทธิพลเกินกว่า จำนวนผู้อ่านจริงมากนัก ผมมองว่านี่คือ Historic Event ในวงการสื่อต่อเหตุการณ์ในไทย

ฝีมือการแปลแบบมือสมัครเล่น แต่คิดว่าคงช่วยให้หลายๆคนที่ไม่ถนัดได้บ้าง

*****


สถาบันกษัตริย์ของไทย
กษัตริย์กับประชาชนไทย


เรื่องเร้นลับเกี่ยวกับบทบาทของพระราชวังต่อความความล้มเหลวของประชาธิปไตยไทย

ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย อุตสาหกรรมการส่งออก และภาพลักษณ์ของประเทศได้ถูกทำลายลงราบคาบจากเหตุการณ์ทั้งหลายที่เพิ่งเกิดขึ้น บรรดาผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ได้เข้ายึดพื้นที่ในหน่วยราชการหลายแห่งเป็นเวลาหลายเดือนและได้เข้ายึดสนามบินกรุงเทพฯทั้งสองแห่ง ตำรวจไทยปฏิเสธที่จะทำการขับไล่กลุ่มผู้ชุมนุม กองทัพก็ปฏิเสธที่จะเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือ สัปดาห์นี้เองการยึดสนามบินจบลงหลังจากที่ศาลได้ตัดสินยุบพรรคการเมืองสามพรรคที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ทั้งสามพรรคมีแผนที่จะตั้งพรรคขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อใหม่และร่วมกันบริหารประเทศต่อไปท่ามกลางความขัดแย้งที่ยังครุกรุ่น เปรียบดั่งเปลือกหุ้มแห่งความทันสมัยอันเป็นผลของการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษ1980 และต้นทศวรรษ 1990 ได้ลอกคราบบางๆของมันออกมาเสียแล้ว ทั้งที่ไม่นานมานี้ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นหัวขบวนของเอเชีย ในความเป็นสังคมอันเปิดกว้างที่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย ตอนนี้ดูเหมือนประเทศไทยกลับค่อยๆคืบคลานเข้าสู่ความเป็นอนาธิปไตย

ความขัดแย้งเริ่มปรากฎเมื่อสามปีที่แล้วจากการชุมนุมประท้วงที่สงบและเป็นระเบียบเพื่อต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการใช้อำนาจในทางที่ผิดของรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร บรรดาผู้ประท้วงซึ่งแต่งกายในชุดสีเหลืองอันเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ซึ่งกล่าวหาว่าทักษิณเป็นผู้ที่มีแนวความคิดแบบสาธารณรัฐนิยมประสบความสำเร็จเมื่อบรรดานายทหารผู้จงรักภักดีได้ทำการยึดอำนาจจากทักษิณเมื่อปีพ.ศ. 2549 แต่เมื่อประชาธิปไตยได้กลับมาเริ่มทำงานอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว คนไทยส่วนใหญ่ได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคการเมืองซึ่งเป็นมิตรกับทักษิณเข้ามาบริหารประเทศ บรรดาผู้ประท้วงสวมเสื้อเหลืองซึ่งเรียกตนเองอย่างไม่ค่อยจะตรงกับความจริงนักว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กลับมาก่อการประท้วงอีกครั้งรวมทั้งได้นำเอาวิธีการอันเป็นอันธพาลมากยิ่งๆขึ้นมาใช้ ซึ่งกระตุ้นให้บรรดาผู้ที่สนับสนุน ทักษิณรวมตัวกันสู้โดยมีสัญลักษณ์เป็นเสื้อสีแดงพูดไม่ได้

ตลอดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สิ่งที่มิอาจพูดถึงได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะโดยสื่อสารมวลชนไทย แต่รวมถึงโดยผู้สื่อข่าวต่างชาติส่วนใหญ่ด้วยนั้น ก็คือบทบาทของกษัตริย์ภูมิพล ราชวงศ์ และผู้รับใช้ใกล้ชิดทั้งหลาย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งถูกบังคับใช้อย่างรุนแรงที่สุดในบรรดาทุกประเทศทั่วโลก เป็นเกราะกำบังสำคัญที่ทำให้แม้แต่การเอ่ยถึงบทบาทของราชวงศ์แม้แต่อย่างที่สุภาพที่สุดก็ยังถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามในที่สาธารณะ กฎหมายดังกล่าวซึ่งถือว่าตกสมัยไปแล้วในประเทศอื่นๆทั่วโลกแต่ในประเทศไทยกลับได้ถูกนำมาปรับใช้อย่างแข็งขันในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นความพิลึกยิ่งที่ใครก็ได้สามารถที่จะฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งตำรวจจะต้องดำเนินคดีอย่างจริงจังแม้กับข้อหาขี้ประติ๋ว ทั้งหมดนี้ทำให้กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือย่างดีสำหรับนักการเมืองหรือใครก็ตามที่ต้องการจะทำลายศัตรูของตน และบ่อยครั้งสื่อสารมวลชนก็ไม่ได้รับอนุญาตให้อธิบายถึงรายละเอียดของข้อกล่าวหาที่มีต่อราชวงศ์ ทำให้คนไทยไม่มีทางเลยที่จะได้รับทราบว่าข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นการไม่เคารพต่อราชวงศ์จริงๆหรือไม่

กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพนับเป็นความโหดเหี้ยมในตัวเองอยู่แล้ว และไม่ควรถูกนำมาบังคับใช้ในประเทศใดก็ตามที่ประกาศตนว่าเป็นประชาธิปไตย แย่ยิ่งกว่านั้นอีกก็คือการที่กฎหมายดังกล่าวปิดบังให้คนไทยถึงเหตุผลบางประการที่เป็นต้นเหตุของปัญหาของการเมืองของประเทศตน แม้แต่สิ่งที่กษัตริย์เองตรัสเรียกว่าเป็นความ “มั่ว” ของประเทศไทยนั้น ก็มีสาเหตุในหลายๆทางมาจากการเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมืองของตัวพระองค์เองตลอด 62 ปีที่ทรงครองราชสมบัติ (โปรดดูบทความประกอบ) ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งนี้เป็นผลอันเกิดจากแก่งแย่งซึ่งอำนาจก่อนการเปลี่ยนรัชสมัยยิ่งเหตุการณ์ที่พระมหากษัตริย์เองจะทรงมีพระชมมพรรษาครบ 81 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ ยิ่งทำให้เหตุการณ์ที่นับวันยิ่งทวีความสำคัญยิ่งๆขึ้นเรื่อยๆ

รายละเอียดส่วนใหญ่ของเรื่องราวที่ว่าการกระทำของกษัตริย์ได้ทำลายระบบการเมืองของประเทศตนอย่างไรนั้นเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นหู เพราะคนไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับทราบ หลายคนจะพบว่าข้อวิพากษ์วิจารณ์ของเราทำให้พวกเขาไม่สบอารมณ์และโมโหเป็นฟืนเป็นไฟ แต่เราคิดว่าเราคงไม่ทำการการวิพากษ์วิจารณ์ครั้งนี้ หากเราไม่เห็นว่ามันไม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิจารณ์ ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างต่อการอภิปรายในเรื่องนี้เพื่อที่จะเตรียมตนเองสำหรับการที่จะมีผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือน้อยกว่าขึ้นเป็นกษัตริย์ ไม่ดีแน่ๆที่ประเทศใดจะหลอกตนเองกับประวัติศาสตร์ในแบบเทพนิยายปรัมปราซึ่งเชื่อว่ากษัตริย์ของตนนั้นไม่เคยทำสิ่งใดผิดเลย ทรงอยู่เหนือการเมืองและทรงเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาประชาธิปไตยเท่านั้น ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความจริงเลย

ประวัติศาสตร์ไทยฉบับเป็นทางการ ย้ำแล้วย้ำอีกกับเหตุการณ์เช่นในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลได้แทรกแซงให้ ทรราชมือเปื้อนเลือดลาออกและเป็นอิทธิพลสำคัญให้ประเทศกลับสู่ภาวะประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่ง แต่เหตุการณ์อื่นๆซึ่งมีการแทรกแซงจากกษัตริย์และราชวงศ์ในทางที่ส่งผลเสียกลับไม่ได้รับการกล่าวถึงหรือนำมาอภิปรายเลย ในปี พ.ศ. 2519 ในขณะที่กษัตริย์ภูมิพลมีความกลัวจนเกินกว่าเหตุกับภัยร้ายจากลัทธิคอมมิวนิสต์ กษัตริย์ได้ทรงละเลยถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนของขบวนการขวาจัดซึ่งสมาชิกได้รุมเข่นฆ่ากลุ่มผู้ประท้วงนักศึกษาที่ไร้อาวุธ ในช่วงสงครามเย็น อเมริกาเห็นว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นพันธมิตรที่สำคัญยิ่งและได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อกระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของกษัตริย์ภูมิพล ความร่วมมืออันยาวนานนี้ผนวกกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกบังคับใช้อย่างรุนแรงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้บรรดานักการฑูต นักวิชาการ และ ผู้สื่อข่าวจากโลกตะวันตก ยอมกลืนเลือดตัวเองโดยการหุบปากเงียบจากการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ

หลังจากเหตุการณ์การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นครั้งที่ 15 ในรัชสมัยของกษัตริย์ภูมิพล เจ้าหน้าที่ทางการของไทยพยายามที่จะบอกชาวต่างชาติว่า รัฐพิธีบีบบังคับให้กษัตริย์ต้องยอมรับการยึดอำนาจของนายทหารในกองทัพ ในขณะที่คนไทยถูกบอกอีกอย่างหนึ่งว่า กษัตริย์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะผู้ก่อการรัฐประหารเข้าเฝ้าฯ และหนังสือพิมพ์ต่างๆได้ตีพิมพ์ภาพดังกล่าวในหน้าหนึ่งเสมือนเป็นการบอกว่ากษัตริย์ได้ให้การยอมรับกับการยึดอำนาจดังกล่าว ในความเป็นจริงแล้วกษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะแสดงออกว่าทรงไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัยต่อการยึดอำนาจหากทรงเห็นเช่นนั้นโดยการสั่งการให้กำลังทหารภายใต้พระองค์ออกมาต่อสู้หรือแม้แต่การที่จะเลือกทรงนิ่งเฉยไม่ยอมรับผลดังกล่าวก็ได้ แต่ทรงกลับเลือกที่จะใช้พระราชอำนาจในอีกทางหนึ่งแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้ทรงมีพระราชดำรัสต่อบรรดาผู้พิพากษาให้ดำเนินการจัดการกับวิกฤตการเมืองนั้น บรรดาศาลดูเหมือนจะได้แปลพระราชประสงค์ออกมาในรูปของการเร่งดำเนินการกับคดีต่างๆต่อตัวอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเครือข่ายของเขา โดยล่าสุดมีการตัดสินยุบพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลทั้งสามพรรคลงอนาคตอันไร้ซึ่งเทพนิยาย

ในจินตนาการของคนไทยผู้นิยมเจ้า ประเทศของพวกเค้านั้นเหมือนกับภูฏาณ ประเทศซึ่งมีกษัตริย์หนุ่มที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รักของประชากรทั้งหลายซึ่งมีเพียงไม่กี่แสนคนซึ่งยินดีกับการอยู่ภายใต้การปกครองแบบกษัตริย์มากกว่าระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริง ท่ามกลางความโกรธแค้นของสาธารณะชนต่อการสนับสนุนของพระราชินีต่อวิธีการอันเป็นอันธพาลของพันธมิตรฯ รวมถึงการมองเห็นถึงความไม่เหมาะสมในตัวรัชทายาทที่นับวันยิ่งกระชั้นชิดต่อการขึ้นครองราชย์ ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่เผชิญกับเหตุการณ์เฉกเช่นที่เกิดกับประเทศเนปาล คือสงครามกลางเมืองและการที่กษัตริย์ที่ได้มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองปัจจุบันได้กลายเป็นประชาชนธรรมดาในประเทศสาธารณรัฐไปเสียแล้ว พันธมิตรฯซึ่งได้รับการอุ้มชูและให้ท้ายโดยพระราชวังแต่กลับกลายมาเป็นสิ่งที่บ่อนเซาะทำลายพระราชวังเสียเอง ภาพที่ปรากฎซ้ำแล้วซ้ำเล่าต่อสาธารณชนในหลายวันที่ผ่านมาก็คือบรรดาอันธพาลในกลุ่มผู้สนับสนุนพันธมิตรฯได้ยิงทำร้ายผู้สนับสนุนรัฐบาลในขณะที่ชูพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ากษัตริย์และราชวงศ์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่นี้ และประทับอยู่เหนือสุดในลำดับชั้นอันไม่สิ้นสุดในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อในการปกครองแบบสาธารณรัฐที่จะเห็นด้วยว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องอภิปรายได้อย่างเปิดเผยต่อเรื่องนี้แล้ว

ก่อนที่ ดิ อีโคโนมิสต์ จะตีพิมพ์บทความชิ้นนี้ ในคืนวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา มีรายงานว่ากษัตริย์ภูมิพลทรงมีพระอาการป่วยและไม่ทรงสามารถที่จะพระราชทานพระราชดำรัสได้อย่างที่ทำเป็นประจำทุกๆปี ดังนั้นกษัตริย์ภูมิพลจึงยังไม่ได้ออกมาแสดงความไม่เกี่ยวข้องของพระองค์เองกับ บรรดาบุคคลในเสื้อเหลืองที่อ้างว่าพวกเค้านั้นดำเนินการต่างๆเพื่อพระองค์ การนิ่งเฉยของกษัตริย์ได้ส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อระบบนิติรัฐของประเทศไทย กระนั้นก็ดีพระองค์ก็ยังทรงเป็นบุคคลเดียวที่จะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ โดยการออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันคร่ำครึรวมทั้งการตัดรัฐธรรมนูญส่วนที่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวทิ้งเสียทั้งหมด สิ่งนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ประชาชนไทยสามารถร่วมกันอภิปรายเพื่อหาทางออกสำหรับอนาคตของตนได้ กษัตริย์ภูมิพลได้เคยกล่าวถึงกฎหมายดังกล่าวอย่างครึ่งๆกลางๆเมื่อปีพ.ศ. 2548 ว่าตัวพระองค์เองไม่ได้ทรงอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ แต่สิ่งใดก็ตามที่น้อยกว่าการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทิ้งทั้งหมดไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาใหญ่นี้ได้ ใครก็ตามที่เป็นมิตรแท้กับประเทศและประชาชนไทยต้องช่วยกันบอกประเทศไทย


นิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์
4 ธันวาคม 2551



เพิ่มเติม

พิมพ์มาให้ดาวน์โหลด เพราะคงอดวางแผงแน่นอน
ใครอ่านภาษาอังกฤษคล่อง โหลดได้ที่นี่ เพราะมีบทความอีกอันซึ่งมีรายละเอียดมากกว่า

20081206_Economist_briefing_thailand.pdf ( 210.8k )

20081206_Economist_leader.pdf ( 108.61k )

สำหรับ Briefingsมันคือ TKNS ฉบับสรุปย่อ (สี่ร้อยหน้า เหลือสองหน้า) กับภาคต่อ ตั้งแต่ ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ดีๆนี่เองพลาดไม่ได้ครับ พลาดไม่ได้


saraburian


ที่มา :
เวบบอร์ด "ฟ้าเดียวกัน" : กษัตริย์กับประชาชนไทย, บทบรรณาธิการ "Leader" ของ ดิ อิโคโนมิสต์ 4 ธ.ค. 51

และ
เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน : Thailand's monarchy: The king and them, Article from Economist สุดยอดแห่งความตรง

ไม่มีความคิดเห็น: