วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

The crowd and the crown : ม็อบและราชบัลลังก์ "สถาบันกษัตริย์ไทยจะเดินไปทางเดียวกับเนปาล?"



International Herald Tribune

The crowd and the crown By Philip Bowring

แปลโดย Thai E-News



ม็อบและราชบัลลังก์


ป็นไปได้ไหมว่าสถาบันกษัตริย์ของเมืองไทยจะเดินไปทางเดียวกับประเทศเนปาล ที่ราชบัลลังก์ล่าสุดได้ถูกโค่นล้มและถูกเปลี่ยนไปเป็นระบอบสาธารณรัฐ?

ความคิดนี้อาจฟังดูไร้สาระเมื่อพิจารณาถึงว่ากษัตริย์ของเมืองไทย ภูมิพลอดุลยเดช ถูกกล่าวขานโดยมีคำนำหน้าว่า "ที่เคารพรัก" มาโดยตลอดโดยสื่อต่างชาติและถูกยกย่องเชิดชูโดยสื่อในประเทศมาโดยตลอด

แต่อย่างที่เนปาลได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สถาบันกษัตริย์สามารถทำลายตนเอง เมื่อราชวงศ์เองมีการทะลาะเบาะแว้งกันหรือเมื่อราชวงศ์ที่ไร้ความสามารถทำเลยเถิดจนก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับสาธาณรัฐ

มันเป็นการควรที่คำนึงถึงกษัตริย์ Birendra ของเนปาลที่ได้รับการสักการะและเคารพในช่วงเวลา 30 ปีที่ครองราชย์ แต่หลังจากที่ถูกสังหารโดยลูกชายที่มีสติฟั่นเฟือน ในปี 2001 เขาก็ได้ถูกสืบทอดราชบัลลังก์โดย King Gyeandendra ซึ่งก็ได้ทำการยุบสภาในปี 2005 และพยายามจะบังคับให้ใช้ระบอบสมบูรณาฯหรือกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองโดยตรง แต่มันก็เป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ระบอบสาธารณรัฐ และการประท้วงของขบวนการนิยมลัทธิเหมา ปูทางให้เกิดการเลือกตั้งและสถาบันกษัตริย์ก็ถูกล้มล้างไปในเดือนมีนาคม

เป็นไปได้ไหมว่ากลุ่มผู้ประท้วงที่อ้างว่าสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ที่ทำให้สนามบินของไทยเป็นอัมพาต กำลังหว่านเมล็ดของความไม่ไว้วางใจสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่เลือกรัฐบาลปัจจุบัน เข้ามาบริหารประเทศเมื่อ 11 เดือนที่แล้ว เป็นไปได้ไหมว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่แข็งกร้าวมันกลบความขุ่นเคืองใจที่กำลังทวีคูณขึ้นทุกวัน

กษัตริย์ภูมิพลโดยปกติ จะถูกนำเสนอให้เห็นว่าทรงอยู่เหนือการเมือง จะเข้ามาแทรกแซงก็ต่อเมื่อต้องการจะยุติความขัดแย้งหรือทำให้อำนาจทหารและการเมืองกลับสู่สภาวะสมดุลย์

แต่โดยแท้จริงแล้ว ประวัติศาสตร์ไม่ใช่จะง่ายอย่างที่คิด โดยรวมแล้วก็ได้เห็นด้วยเป็นนัยๆต่อการรัฐประหารที่อ้างเสถียรภาพและความสะอาดของรัฐบาล

แต่ในเหตุการณ์นี้การนิ่งเงียบของกษัตริย์ในช่วงโกลาหลที่เกิดจากกลุ่มพันธมิตรนั้น มันดูเหมือนจะเป็นการบอกอะไรบางอย่าง มันอาจเป็นการสัญญาณเป็นนัยๆว่าเป็นการสนับสนุนการชุมนุม หรือไม่ก็ได้ ด้วยพระชนมมายุ 81 พรรษา และพระพลานัยที่ไม่แข็งแรงนักและกำลังไว้ทุกข์ให้แก่สมเด็จพระพี่นาง พระองค์จึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดราชบัลลังก์

อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องสงสัยเลยว่า กลุ่มพันธมิตรได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางโดยสถาบันที่เกี่ยวกับข้าราชการ ระบบความยุติธรรม และกองทัพที่เกี่ยวข้องกับองคมนตรี ซึ่งนำโดยอดีตนายกฯเปรม ติณสูลานนท์ซึ่งอายุ 88 ปี การสนับสนุนโดยราชวงศ์ซึ่งสามารถเห็นได้จากการที่พระราชินีได้เสด็จไปร่วมงานศพของฝ่ายพันธมิตรที่อ้างว่าเสียชีวิตจากระเบิดแก๊สน้ำตาซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

กองทัพไม่สามารถที่จะนำความสงบกลับคืนมา หรือหยุดปัญหาโดยทำรัฐประหารอีกครั้ง เพราะครั้งก่อนก็ล้มเหลวและไม่มีแผนรองรับที่ดีหลังรัฐประหารด้วย

"พันธมิตรประชาชนประชาธิปไตย"ก็เป็นการตั้งชื่อที่ผิดด้วย เพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มาจากชนชั้นสูง หรือการสนับสนุนทางการเงินโดยชนชั้นสูงที่เกลียดและกลัวอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกขับไล่จากตำแหน่งโดยการรัฐประหารปี 2006 พวกเขาไม่ไว้ใจระบอบประชาธิปไตย และอ้างว่าเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่สุจริต

ทักษิณแน่นอนได้ใช้อำนาจในทางที่ผิดโดยต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองและการเงิน และเขาก็สมควรที่จะถูกลดอำนาจลง แต่สิ่งที่ศัตรูของเขาไม่พอใจคือการกุมอำนาจ และการที่เขาพึ่งคะแนนเสียงจากกลุ่มคนในชนบท กลุ่มที่ไม่พอใจกับข่องว่างของรายได้ที่กว้างระหว่างพวกเขากับชนชั้นกลาง

กลุ่มคนที่สนับสนุนระบอบการปกครองแบบกษัตริย์มีความต้องการอย่างมากที่จะให้ทักษิณหมดอำนาจระหว่างที่จะมีการสืบทอดพระราชบัลลังก์ มกุฎราชกุมารได้รับความนิยมน้อยกว่าพระราชบิดา และบทบาทไนอนาคตของราชวงศ์รวมทั้งราชินีก็ไม่มีความแน่นอน

ทักษิณไม่ใช่นักนิยมสาธารณรัฐ แต่เหมือนกับผู้นำที่แข็งแกร่งในทศวรรษที่ 50 และ 60 อย่างจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่พึงพอใจจะให้สถาบันกษัตริย์เป็นแต่เพียงการรักษาสัญลักษณ์ของธรรมเนียมปฎิบัติมากกว่า และไม่ต้องการที่จะให้สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางของอำนาจ ชนชั้นสูงต้องการเพียงที่จะใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อเกื้อหนุนสถานะภาพของตนเอง เหมือนที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ผ่านทางพันธมิตร

แต่นี่อาจจะลงเอยด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์มากกว่าไม่ใช่การช่วยเหลือเลย และถ้ากลุ่มคนที่สนับสนุนทักษิณได้เปรียบในการต่อสู้ชิงอำนาจครั้งนี้ พวกเขาจะสร้างความไม่พอใจให้กับราชวงศ์ที่ไม่สามารถดึงดูดความเคารพรักที่ให้แก่กษัตริย์ภูมิพล และความสำเร็จของชนชั้นสูงนั้นก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากทางกองทัพด้วย ซึ่งบุคคลที่มีอำนาจในกองทัพอาจปรากฏออกมา และลดบทบาทของกษัตริย์องค์ใหม่

ดังนั้นคนไทยที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ควรศึกษาประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และอันตรายของการใช้ฝูงชนประท้วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


Philip Bowring


สำเนาโดย : สมเสร็จเปรม

ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : International Herald Tribune: ม็อบและราชบัลลังก์, "สถาบันกษัตริย์ไทยจะเดินไปทางเดียวกับเนปาล?"


หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

ไม่มีความคิดเห็น: