วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Thailand's king and its crisis: A right royal mess : พระเจ้าแผ่นดินของไทยกับวิกฤตของประเทศ



The Economist

Thailand's king and its crisis
A right royal mess

Dec 4th 2008

BANGKOK From
The Economist print edition


แปลโดย : freethai



พระเจ้าแผ่นดินของไทยกับวิกฤตของประเทศ
ความวุ่นวายที่เกิดจากการพระเจ้าแผ่นดินอย่างแท้จริง


ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่มีทางออกของไทยเป็นผลมาจากคำสั่งต้องห้ามบางประการของราชวงศ์ และนี่คือเหตุผลที่ว่าข้อห้ามเหล่านั้นจะต้องถุกยกเลิกแม้แต่พระเจ้าแผ่นดินที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด ได้รับการบูชาจากประชาชนเสมือนว่าเป็นสมมติเทพ ก็ยังไม่มีชีวิตที่เป้นอมตะ คนไทยถูกเตือนถึงความจริงข้อนี้ จากงานพระราชพิธีศพที่กินเวลานานถึงหกวัน ที่จัดขึ้นตามโบราณราชพิธี สำหรับงานศพของเจ้าฟ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา พี่สาวของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล มีการพูดกันในกรุงเทพว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นเสมือน “การซ้อมใหญ่” สำหรับวันสุดท้ายของยุคสมัยของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพยที่ครองราชย์ยาวนานถึง ๖๒ ปี ก่อนหน้าวันเกิดครบรอบ ๘๑ปีของพระองค์ ในปีนี้ พระองค์ได้ปรากฏกายในที่สาธารณะน้อยมาก และเมื่อทรงปรากฏพระองค์ ก็ทรงดูชราภาพสมตามอายุจริง

งานพระราชพิธีดังกล่าวช่วยชะลอความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นและมีอยู่อย่างรุนแรงตลอดเวลาสามปีได้เพียงเล็กน้อย ความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าวเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ที่สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกขับให้พ้นจากตำแหน่งโดยนายพลทหารที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์เมื่อปี ๒๐๐๖ และกลุ่มที่คัดค้านทักษิณวึ่งประกอบด้วยชนชั้นนำในกรุงเทพและปรากกชัดเจนว่าหนึ่งในผู้สนับสนุนพันธมิตรนั้นก้คือ พระราชินีสิริกิต แต่เพียงหนึ่งวันหลังจากพระราชพิธีศพ ก็มีการขว้างระเบิดใส่กลุ่มผู้ที่ประท้วงทักษิณจนมีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย หลังจากนั้น กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหรือ PAD ซึ่งได้ยึดครองทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมก้ได้บุกเข้ายึดสนามบินหลักของกรุงเทพ สร้างความโกลาหลวุ่นวาย การยึดสนามบินสิ้นสุดในอีกแปดวันต่อมาเมื่อศาลได้มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองหลักที่เป็นแกนนำของรัฐบาลและเป้นฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณขระนี้ ทักษิณ อยู่ระหว่างการลี้ภัย เขาถูกศาลพิพากษาคดีลับหลังและศาลตัดสินว่าเขามีความผิดฐานคอร์รัปชั่น แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยเป้นกลุ่มพรรคการเมืองที่สนับสนุนเขา และกลุ่มผู้สนับสนุนเขาก็มุ่งมั่นที่จะตั้งพรรคการเมืองใหม่แม้พรรคเดิมจะถูกยุบตามคำสั่งศาล เมื่อเดือนที่แล้ว ได้มีการจัดการรวมตัวของกลุ่ม “เสื้อสีแดง” ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเขาจำนวนมาก เพื่อเป็นการเตือนกลุ่มศัตรูสวมเสื้อเหลืองในฝั่งพันธมิตร ซึ่งชอบอ้างว่าพันธมิตรทำเพื่อในหลวงในขณะที่กล่าวหาว่าทักษิณต้องการสถาปนาสาธารณรัฐว่า ทักษิณยังคงเป็นนักการเมืองที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในประเทศไทย

นอกเหนือจากข้ออ้างในการจำกัดทักษิณที่พอจะมีมูลว่า ทักษิณใช้อำนาจอย่างไม่ถุกต้อง สิ่งหนึ่งที่พวกขวาจัดและสนับสนุนราชวงศ์วิตกก็คือ การที่ทักษิณได้สร้างความยอมรับ ความชื่นชมในหมู่ประชาชนผ่านทางนโยบายประชานิยมอย่าง สามสิบบาทรักษาทุกโรค หรือกองทุนหมู่บ้าน จะเป็นการสร้างสถานะและเครือข่ายของทักษิณที่เป็นการท้าทายอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินไปในตัว สิ่งที่วิตกกันอีกประการหนึ่งก็คือ ตามที่มีการกล่าวหาว่าทักษิณได้แสดงถึงความใจกว้างต่อเจ้าฟ้าชายเป็นการกระทำเพื่อสร้างบารมีและอิทธิพลเหนือเจ้าฟ้าชายเมื่อต่อไปได้ขึ้นครองราชย์ ด้วยเหตุนี้และเหตุผลอื่นๆ การเข้าใจถึงเรื่องราวในเบื้องหลังที่ไม่มีการเปิดเผยของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะเข้าใจปัญหาที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออกของประเทศที่มีประชากรหกสิบสามล้านคนนี้

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้จะทำให้คนไทยจำนวนมากทุรนทุราย และต้องการได้ยินเรื่องราวที่เป็นดังเทพนิยายเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดินของพวกเขามากกว่า แต่การกระทำที่ผ่านมาในอดีตของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นตัวปัญหาหลักของความขัดแย้งที่กำลังแบ่งแยกประเทศนี้ให้ร้าวฉาน ด้วยเหตุผลนี้เองที่เราจะตรวจสอบเรื่องราวต่างๆเหล่านั้น

เรื่องราวของพระเจ้าแผ่นดินภูมิพล แม้จะตัดเรื่องต่างๆที่สร้างเสริมในประเทศไทยให้เป็นดังตำนานเทพนิยาย ก็ยังเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากอยู่ดี เขาเกิดในสหรัฐ มีมารดาเป็นสามัญชนที่เป็นลูกครึ่งจีน และโดยอุบัติเหตุ ก้ได้รับการแต่งตั้งให้สืบทอดราชบัลลังก์ที่เวลานั้นใกล้จะสูญสิ้น และพระองค์เป็นผู้พลิกฟื้นชะตากรรมของราชวงศ์ให้กลายเป็นราชวงศ์ ที่ร่ำรวยและมีอำนาจมากที่สุดในโลก และแน่นอนที่สุด เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวในโลกสมัยใหม่ที่มีอำนาจทางการเมืองสูงที่สุด บุคคลิกภาพ สติปัญญาและความสามารถของพระองค์ (จากการเล่นแซกโซโฟนไปจนถึงการทำฝนเทียมที่พระองค์จดสิทธิบัตรไว้ในยุโรป) และความห่วงใยที่มีต่อประชาชนทำให้พระองค์เป็นที่เคารพรักในประเทศ และชื่นชมไปทั่วโลก ภาพลักษณ์ของพระองค์ อาจจะขึ้นถึงจุดสุดยอดเมื่อปี ๑๙๙๒ หลังจากที่กองทัพใช้อาวุธฆ่าประชาชนที่ประท้วงต้องการประชาธิปไตยหลายสิบคน และโทรทัศน์ ได้ถ่ายทอดภาพที่ผู้นำกองทัพ (และนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น) สุจินดา คราประยูร และผู้นำการประท้วงอย่างจำลอง ศรีเมือง (ุ้เเกนนำของพันธมิตร) ได้คุกเข่าแทบเท้าพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน สุจินดาก็ลาออก และพระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำประชาธิปไตยกลับคืนสู่ประเทศ

อย่างไรก้ดี ยังมีเรื่องราวที่ไม่เปิดเผยว่าพระองค์ได้สูญสิ้นความเชื่อถือในระบอบประชาธิปไตยไปแล้ว (ถ้าพระองค์จะเคยเชื่อมั่นในการปกครองภายใต้ระบอบนี้จริง) พระองค์ได้คอยเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเบื้องหลังอยู่ตลอดเวลา และด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงท้ายที่ไม่มีความชัดเจนของยุคสมัยของพระองค์ จึงมีความเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่พร้อมจะมีชีวิตโดยปราศจาก “พ่อหลวง” ดังที่คนไทยของเรียกพระองค์เช่นนั้น การที่จะเข้าใจปัญหาของประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประทีปของเสีนิยมในเอเชียแต่กลับกลายเป็น ประเทศที่ยุ่งเหยิงจนน่าสิ้นหวังไปได้นั้น จะไม่สามารถทำได้ ถ้าเราไม่เข้าไปตรวจสอบเบื้องหลังฉากหนาๆที่สร้างไว้รอบๆพระองค์ท่านการกระทำครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสิ่งที่ดูจะขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ระหว่างพระเจ้าแผ่นดินที่อ้างกันว่าได้รับความรัก ความเคารพบูชาจากประชาชนอย่างสูงที่สุดนั้น กลับมีการบังคับใช้กฏหมายหมิ่นหระบรมเดชานุภาพที่รุนแรงมาก ในขณะที่ราชวงศ์ต่างๆทั่วโลกได้พากันยกเลิกกฏหมายนี้ หรือมิฉนั้นก้ไม่มีการบังคับใช้กฏหมายนี้แล้ว แต่ในประเทสไทยกลับมีการเพิ่มโทษวำหรับการกระทำความให้รุนแรงยิ่งขึ้นไปจนถึงขั้นจำคุกสิบห้าปี แม้แต่การวิพากษณ์ วิจารณ์อย่างเบาบางก็ทำไม่ได้ และผลของกฏหมายตัวนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะคนไทยเท่านั้น บรรดานักการทูต นักวิชาการ สื่อมวลชนจากค่ายตะวันตกก็พากันยอมรับผลของกฏหมายฉบับนี้ด้วยความขลาดกลัว


ทุกคนเป็นคนของพระราชา

ต้นตอส่วนหนึ่งของปัญหานี้เริ่มสมัยสงครามเวียดนาม เมื่อสหรัฐค้นพบว่าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้เป็นพันธมิตรในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเมื่อตระหนักถึงคุณค่าของพระองค์ที่จะเป็นเสมอนไอคอนในการต่อต้านกองทัพแดง อเมริกาก็ให้เงินสนับสนุนกองทุนในการโฆษณาชวนเชื่อให้ทุกครัวเรือนของไทยมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ และแม้แต่ทุกวันนี้ ในขณะที่สหรัฐไม่รอช้าที่จะโวยวายกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในประเทศต่างๆในเอเชีย แต่น้อยครั้งนักที่อเมรกาจะประท้วงไทยเวลาที่มีการจับกุมทั้งคนไทยและต่างชาติเพราะการวิพากษณ์ วิจารณ์ราชวงศ์ ทั้งสือมวลชนและนักวิชากการจากโลกตะวันตกต้องการวีซ่าในการเดินทางเข้าไทยเพื่อมาทำงาน ดังนั้นจึงทำให้กระแสการวิพากษณ์ วิจารณ์ราชวงศ์ไทยลดลงไปโดยปริยาย และด้วยการสมรู้ร่วมคิดในการปิดบังข้อมูลนี้เอง ทำให้เราได้เห็นหนังสืออัตชีวประวัติที่เขียนอย่างจริงจังเกี่ยวกับผู้นำคนสำคัญของเอเชียเพียงเล่มเดียว นั้นก็คือหนังสือ “เดอะคิงเนเวอร์สไมล์” โดยพอล แฮนด์ลีย์ สื่อมวลชนชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งได้เขียนบันทึกไว้ว่าเรื่องราวการฟื้นฟูราชวงศ์ไทยเป็น “หนึ่งในเรื่องราวที่ไม่มีการเปิดเผยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ ๒๐”

แฮนด์ลีย์บอกว่าเป็นเวลาถึงสองปีที่ไม่มีใครจะโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ระบุในหนังสือของเขา แม้แต่ส่วนที่ถือได้ว่ารุนแรงที่สุด นั่นก็คือการเปิดเผยว่า ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่แทรกแซงการเมืองและจะทรงเข้าข้างแต่ฝ่ายที่ถูกต้องหรือดีงามนั้นไม่เป็นความจริง ข้อกล่าวหาของพอลในหนังสือเล่มนี้ที่ดูจะรุนแรงมาก (แต่ไม่มีคนโต้แย้งในเรื่องข้อเท็จจริง) ก็คือว่า สำหรับเหตุนองเลือดในปี ๒๕๑๙ นั้น ดูเหมือนพระองค์จะเป็นผู้ ไม่เอาผิดกับกองกำลังฝ่ายขวาที่ร่วมมือกับกองทัพในการสังหารหมู่และทำร้ายนักศึกษาที่ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสงบ และก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอๆในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (และก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง)ที่การก่อความไม่สงบในปี ๒๕๑๙ จะกลายเป็นข้ออ้างที่จะล้มล้างรัฐบาลและตั้งรัฐบาลใหม่ที่พระเจ้าแผ่นดินเห็นชอบให้มาทำหน้าที่แทน

พระเจ้าแผ่นดินภูมิพลขึ้นครองราชย์เมื่อมีอายุ ๑๘ ปี หลังจากที่พี่ชายของพระองค์ ในหลวงอานันมหิดลตายอย่างปริศนาในปี ๑๙๔๖ พระองค์อยู่ใต้การดูแลของลุงของพระองค์ซึ่งเป็นเจ้าชายที่มีความเคียดแค้นและมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนอำนาจของราชวงศ์ รวมทั้งทรัพย์สินและความมั่งคั่งของราชวงศื ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปในปี ๑๙๓๒ หรือ พศ ๒๔๗๕ เมื่อพระองคืเจริญพระชนมายุขึ้น ก็พัฒนาเครือข่างระบบอุปถัมภ์ มีการพระราชทานเกียรติยศต่างๆเพื่อแลกกับการบริจาคเงินเพื่อการดำเนินการต่างๆของราชวงศ์ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ราชวงศ์กลายเป็นศูนย์กลางของการทำการกุศล และอย่างที่ศาสตราจารย์ ดันแคน แมคคาร์โก เรียกว่าเป็น “เครือข่ายราชสำนัก” network monarchy ทำให้พระเจ้าแผ่นดินกลายมาเป็นศูนย์กลางของสังคมไทยอีกครั้ง และสามารถฟื้นคืนพระราชอำนาจมาได้อย่างมากมาย

และสิ่งนี้ได้กลายมาเป็นแนวคิดหลักของพันธมิตร สืบเนื่องมาจากพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่า ประชาธิปไตยและการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่สกปรกชั่วร้าย และประเทศชาติจะเจริญกว่าถ้ามีการบริหารโดยคนที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดแล้วว่าเป็นคนดี ตัวอย่างที่สำคัญก็คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นนากรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในช่วงทศวรรษที่ ๘๐ เปรมมีบทบาทสำคัญมากในการสร้างเสริมความคิดที่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเป็นเสมือนสมมติเทพ ปัจจุบันนี้ เปรมเป็นประธานองคมนตรี และโดยหลักการ เขาต้องอยู่เหนือการเมือง แต่สิ่งนี้ก็เป็นแค่เทพนิยายเช่นกัน คนส่วนใหญ่ในสังคมรับรู้ว่าเปรมเป็นผู้วางแผนการรัฐประหารในปี ๒๐๐๖ และก่อนหน้าการทำรัฐประหารไม่นาน เปรมออกมาพูดกับทหารมนที่สาธารณะว่า พระราชาเป็นเจ้าของ”ม้าแข่ง” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ กองทัพ ในขณะที่ ทักษิณเป็นเพียง “จ็อคกี้” ที่สามารถเปลี่ยนเมื่อไหร่ก้ได้เท่านั้น

กลุ่มพันธมิต่เป็นการรวมตัวของแกนนำที่แตกต่างกันอย่างมาก อยู่รวมกันเพียงเพราะเกลียดทักษิณเหมือนกัน มีทั้ง นักธุรกิจที่ไม่พอใจทักษิณ หญิงชั้นสูงที่เป็นข้าราชการ กลุ่มคลั่งศาสนาหัวรุนแรง ปัญญาชนที่เคยต่อต้านราชวงศ์ และกองกำลังทหาร และ “การเมืองใหม่” ของกลุ่มพันธมิตร ก็คือต้องการให้รัฐสภามาจากการเลือกตั้งบางส่วน และแทนที่ด้วยการแทรกแซงจากกองทัพ และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากราชวงศ์ ที่เรียกว่าเป็นการเลียนแบบพลเอกเปรมปัญหาของประเทศเกิดมาจากกองทัพเป็นส่วนใหญ่ บรรดานายพลเหล่านี้เชื่อว่าพวกเขามีสิทธิที่จะเปลี่ยนรัฐบาลที่ทำให้พวกเขาหรือราชวงศ์ไม่พอใจ และพวกเขาจะรับคำสั่งจากราชวงศ์ ซึ่งให้การเห็นชอบในการทำรัฐประหารมานับครั้งไม่ถ้วน สองอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวโยงกันชนิดแยกไม่ออก

แฮนด์ลีย ยังวิจารณ์ถึงการที่พระเจ้าแผ่นดินเข้าไปแทรกแซงกระบวนการนิติรัฐ เมื่อพระองค์แทรกแซงด้วยการแจ้งความปรารถนาของพระองค์ให้เหล่าผู้พิพากษาทราบ อิทธิพลของพระองค์ ทำให้ผู้พิพากษารับฟังประดุจเป็นคำสั่ง ในตัวอย่างที่เขาบอก แต่เหตุเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่เขาจะนำมาอ้างอิงในหนังสือเล่มดังกล่าวได้ ไม่กี่เดือนก่อนการรัฐประหาร พระองคืได้มีรับสั่งกับผู้พิพากษาให้แก้ไขปัญหาทางการเมือง หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการอัดเสียงบทสนทนาของผู้พิพากษาศาลฎีกาสองคน ที่ได้มีการนำมาเปิดเผยในอินเตอร์เนท ดดยผู้พิพากาาคนหนึ่งบอกว่า ต้องหลีกเลี่ยงการทำให้คนเข้าใจว่ารับคำสั่งของในวังเพราะ “พวกคนต่างชาติไม่มีวันยอมรับ”ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การตีความพระประสงค์ของพระเจ้าแผ่นดินก็ชัดเจนขึ้นทุกที เพราะศาลได้เร่งรีบพิจารณาพิพากาาคดีความที่มีการกล่าวหาทักษิณและพวกพ้อง ในขณะที่ลดหย่อนและให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณ ในบางกรณี เช่นการดำเนินคดีในข้อกล่าวหาเรื่องคอร์รัปชั่นที่มีต่อทักษิณก้อาจจะควรได้รับความสนใจจากศาล แต่ในบางเรื่องราวที่เหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่นการที่ศาลสั่งปลดอดีตนายกรัฐมนตรีที่สนับสนุนทักษิณอย่าง นายสมัคร สุนทรเวชเพราะการทำอาหารออกรายการโทรทัศน์ แต่ในทางกลับกัน ข้อหากบฏที่มีต่อกลุ่มพันธมิตรเพราะบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล กลับได้รับการลดหย่น และศาลยังปล่อยตัวพวกเขาให้เป็นอิสระ เพื่อให้กลับมายึดครองทำเนียบรัฐบาลต่อไปได้อีก

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้ต้องการจะปฏิเสธความผิดของทักษิณและพวกพ้อง แต่แม้แต่ข้อกล่าวหาต่อทักษิณที่รุนแรงที่สุดอย่างเรื่อง “สงครามยาเสพติด” ที่มีการกล่าวหาว่าตำรวจได้ทำวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยหลายร้อยคนนั้น จริงๆแล้ว ก้ไม่ใช่ความผิดของทักษิณทั้งหมด สงครามสกปรกที่ทำต่อพ่อค้ายาเสพติดได้รับการสนับสนุนจากคนไทยทุกระดับในสังคม แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวเอง ก็เคยมีพระดำรัสในปี ๒๐๐๓ ที่ฟังดูเหมือนกับว่าพระองค์ให้การสนับสนุนการกระทำดังกล่าว


พ่อรู้ดีที่สุด

ในประเทศอื่นๆเช่น สเปนมาจนถึง บราซิล ได้มีการก้าวพ้นจากระบอบเผด็จการมาสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งที่การต่อสู้ทางการเมืองจะทำในรัฐสภา ไม่ใช่ตามท้องถนน การที่ประเทศไทยล้มเหลวในด้านนี้ บางทีอาจเป็นเพราะการที่มี “พ่อ” ที่พร้อมจะเข้ามาแก้ปัญหาแทน ดังนั้น บรรดาลูกๆของพ่อ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเติบโตมารับกับปัญหานั้นๆเอง พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านในรัฐสภาก็เป็นนีกฉวยโอกาส คอยสนับสนุนกลุ่มพันธมิตร โดยมีความหวังว่า การทำรัฐประหารที่ได้รับความเห็นชอบจากในวังอีกครั้งหนึ่งจะช่วยให้พรรคของตนได้เป็นรัฐบาล

ความโกรธแค้นของชนชั้นนำในกรุงเทพที่มีต่อทักษิณอาจมาจากความเจ็บใจที่เคยให้การสนับสนุนทักษิณ เมื่อทักษิณเข้าสู่ตำแหน่งในปี ๒๐๐๑ ความรู้สึกในประเทศไทยเวลานั้นก็คือ ประเทศต้องการนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำแบบซีอีโอ แบบที่อดีตนักธุรกิจผู้นี้เคยนำเสนอตนเองไว้ พรรคการเมืองของเขา พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง ได้เสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย และก็เป็นรัฐบาลที่อยู่ในตำแหน่งจนครบวาระเป็นครั้งแรกอีกเช่นกัน และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคการเมืองของเขาก็ชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากอีก นโยบายของทักษิณที่ต้องการปรับปรุงบริการสาธารณะ และให้เงินทุนแก่คนยากจน แม้จะทำให้เขาได้ผลประโยชนืส่วนตัว แต่คำสัญญาที่เขาจะยกระดับความเป้นอยู่ของคนจน และสร้างความเสมอภาคในสังคม เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้กลุ่มชนนำที่ใกล้ชิดกับราลวงศ์ต้องการกำจัดเขาออกไป

รัฐบาลที่ประกอบด้วยนายพลและอดีตข้าราชการที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารในปี ๒๐๐๖ นั้นปฏิบัติหน้าที่ด้วยความล้มเหลว แม้ว่าพรรคไทยรักไทยจะถูกยุบ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม พรรคการเมืองใหม่ของทักษิณ คือพรรคพลังประชาชนก็ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุด ซึ่งทำให้กลุ่มพันธมิตรกลับเข้ามาประท้วงใหม่ เมื่อมีการปะทะกันในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พันธมิตรต่อสู้กับตำรวจด้วยปืน ระเบิดและเหล็กปลายแหลม โดยหวังว่าความไม่สงบจะทำให้ทหารฉวยเป็นสาเหตุในการปฏิวัติ ถึงกระนั้น กลุ่มพันธมิตรก็กล่าวหาว่าความรุนแรงทั้งหมดเกิดมาจากตำรวจ และสื่อมวลชนในกรุงเทพซึ่งเป็นพวกต่อต้านทักษิณก็ให้การสนับสนุนโดยปล่อยให้พันธมิตรรอดตัวไปได้ ทั้งๆที่สมาชิกคนหนึ่งของพันธมิตรตายด้วยระเบิดในรถของตัวเองในระหว่างที่ผู้ตายกำลังขนระเบิด สื่อมวลชนไทยกลับกลบเกลื่อนข่าวนี้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การตายของผู้หญิงคนหนึ่งที่รายงานว่าตายเพราะกระสุนแกสน้ำตาของตำรวจระเบิดใส่ กลับได้รับการเชิดชูยกย่องจากสื่อมวลชนเหล่านี้

มาจนถึงจุดนี้ ก็มีแต่เพียงการกระวิบถามกันเท่านั้น ว่าอะไรทำให้กลุ่มพันธมิตรได้รับการปฏิบัติที่ยืดหยุ่นขนาดนี้ แม้แต่กองทัพเอง ก็ปฏิเสธที่จะช่วยตำรวจในการจัดการเคลื่อนย้ายผู้ที่ชุมนุมประม้วง อย่างไรก้ดี ข่าวลือต่างๆก้ได้รับการยืนยันเมื่อพระราชินีได้เสด็จไปงานศพของหญิงสาวในกลุ่มพันธมิตร ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวยังคงเงียบเฉยแน่นอนที่สุด ไม่มีใครสามารถแสดงความคิดเห็นว่าการที่รพราชินีสนับสนุนพันธมิตรจะมีผลอย่างไรต่อคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศที่ปรากฏชัดว่ายังคงสนับสนุนทักษิณอยู่ ท่ามกลางการกล่าวหาว่ามีการทำผิดกฏหมายเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทั้งต่อฝ่ายที่วนับสนุนและต่อต้านทักษิณ แต่การกระทำของกลุ่มพันธมิตรดูจะยิ่งเลวร้ายกว่า การที่ราชวงศ์ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพวกพันธมิตร และการที่กลุ่มพันธมิตรย้ำและยืนหยัดให้คนไทยต้องตัดสินใจเลือกว่า จะลงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว หรือจะเลือกทักษิณต่อไป การกระทำดังกล่าวอาจจะส่งผลร้ายที่ไม่มีใครกล้าพูดถึงต่อสถาบันพระมหากษัติรย์ของไทย

ผู้ที่สนับสนุนทักษิณจำนวนมากอาจจะพิจารณาถึงข้อโต้เถียงของพันธมิตร ถ้าราชวงศ์ต่อต้านผู้นำที่พวกเขาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเข้ามา บางที อาาจเป็นกากรกระทำที่ต่อต้านประชาชนอย่างพสกเขาด้วยก็ได้ และความรู้สึกของคนยากจนในชนบทยิ่งถูกซ้ำเติมจากการกล่าวอ้างของกลุ่มพันธมิตรว่าคนจนในชนบทซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของทักษิณนั้น “ด้อยการศึกษาเกินว่าจะใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง” ดังนั้น จึงไม่ควรให้คนจนมีสิทธิลงคะแนน

ในการรณรงค์สนับสนุนทักษิณ เมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา มีนักรณรงค์คนหนึ่งกล่าวโจมตีสถาบันโดยระบุว่า พระเจ้าอยู่หัวเป็น “เสี้ยนหนามในระบอบประชาธิปไตย” เพราะการที่ทรงสนับสนุนรัฐประหารหลายครั้ง และเตือนราชวงศ์ว่ามีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับเครื่องตัดศรีษะแบบกิโยติน ไม่นานนัก เธอก็ถูกจับกุม สิ่งที่ทำให้พวกที่สนับสนุนราชวงศ์ตกใจไม่ใช่แค่การวิพากษณ์ วิจารณ์สถาบันอย่างรุนแรง แต่เพราะการที่ฝูงชนพากันตะโกนโห่ร้องสนับสนุนเมื่อเธอพูดต่างหาก “เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับพวกเขาที่จะยังพยายามรักษาภาพลวงตาว่าพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่ชื่นชมไปทั่วโลก” นักวิชาการชาวไทยคนหนึ่งบอกภาพลวงตากำลังถดถอยท่ามกลางความวิตกกังวลว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ ความกลัวว่าทักษิณจะมีอิทธิพลเหนือเจ้าฟ้าชายดูจะถูกลบไปด้วยความวิตกถึงความเหมาะสมของรัชทายาทของราชบัลลังค์ เจ้าฟ้าชายแสดงออกถึงบุคคลิกภาพของพระบิดา หรือความทุ่มเทต่อประชาชนน้อยมาก และยังมีชื่อเสียงที่ไม่ดีในเรื่องตั้งแต่สมัยยังเยาว์วัย ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เจ้าฟ้าชายปฏิเสธว่าไม่เคยทำตัวเป็นหัวหน้ามาเฟัย แต่แม้แต่พระราชินีเอง ก็เคยให้สัมภาษณ์ ในเรื่องนี้ในสหรัฐตั้งแต่ปี ๑๙๘๑ ว่าเจ้าฟ้าชาย “ค่อนข้างจะเป็นดอน ฮวน” “ถ้าประชาชนคนไทยไม่ยอมรับพฤติกรรมของลูกชายของเรา เขาก็ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ก็ลาออกจากราชวงศ์ไป”

สื่อมวลชนของไทยทำการเซนเซอร์ข่าวๆต่างด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด และก้จะไม่ยอมเสนอข่าวการวิพากษณ์ วิจารณ์ใดๆที่มี แต่ถึงกระนั้น คนส่วนใหญ่ของประเทศก็พากันเกลียดชังเจ้าฟ้าชายอย่างลึกซึ้ง มีข่าวลือตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่า พระเจ้าอยู่หัวจะยกราชบัลลังก์ให้พระเทพฯ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของประชาชนมากกว่า และทำหน้าที่ต่างๆแทนพระเจ้าอยู่หัวในเวลานี้ ในข่าวภาคค่ำตอนสองทุ่ม จะเห็นพระเทพฯ พร้อมรอยยิ้มที่แจ่มใส เดินทางไปประกอบพระกรณียกิจทั่วประเทศ ไปทำบุญที่วัดต่างๆ ในขณะที่น้อยครั้งมากที่เจ้าฟ้าชายจะออกงาน และยิ่งน้อยมากที่จะพบปะกับสามัญชนแต่ธรรมเนียมการสืบเชื้อสายทางลูกชายของราชวงศ์จักรีจะไม่มีการยกเลิก บทบาทที่สำคัญของเจ้าฟ้าชายในงานพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาได้แก้ข้อสงสัยว่าใครคือองค์รัชทายาทที่ได้รับการเลือกแล้ว แต่กระนั้นก็ตาม คนไทยจำนวนมากต่างพากันนึกถึงคำทำนายโบราณที่ว่า ราชวงศ์นี้จะมีเพียงเก้ารัชกาล และพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันก็เป็นองค์ที่เก้า และองค์ที่สิบจะเป็นภัยพิบัติ


สักวัน เจ้าชายของเรา

ด้วยเหตุผลเหล่านี้ อดีตข้าราชการชั้นสูงที่มีความใกล้ชิดกับราชวงศ์บอกเราว่า มีความหวาดวิตกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังรัชกาลปัจจุบัน “เมื่อเราพูดว่า “ทรงพระเจริญ” เราหมายความอย่างนั้นจริงๆ เพราะเราไม่กล้าคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น” คนไทยส่วนใหญ่จะเด้กเกินกว่าที่จะจำได้ว่าประเทศไทยก่อนที่จะมีพระเจ้าอยู่หัวปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร การสวรรคตของพระองค์จะเป็นการก้าวกระโดดเข้าไปสู่ดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก จึงดูจะเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดที่สำนักพระราชวังจะวางแผนการสืบทอดราชวงศ์ไว้ แต่ดูเหมือนจะไม่มีการดำเนินการไปในทิศทางนั้น และคำแนะนำใดๆก้ไม่น่าจะได้รับการตอบสนอง “พระองค์ทรงเชื่อมั่นในตนเองมาก ไม่มีใครจะแนะนำอะไรพระองค์ได้” ข้าราชการผู้นั้นบอกเรา

ในระยะอันใกล้ อาจมีการเผชิญหน้ากันอีก ถ้ารัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณเอาตัวรอดได้ พวกเขาพยายามแก้รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นสมัยรัฐประหาร การแก้ไขบางหลักการเช่นให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ดูเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล แต่พวกพันธมิตรสันนิษฐานว่าเป็นการแก้ไขเพื่อช่วยทักษิณและพวกพ้องจากคดีความต่างๆ ทั้งสองฝ่ายดูเหมือนไม่มีใครยอมที่จะประนีประนอม และต่างฝ่ายต่างพร้อมที่จะนำฝูงชนที่สนับสนุนตนมาเดินขบวนประท้วงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ยังมีความหวังว่า “การประนีประนอมแบบไทยๆ” ที่เลอะเทอะ แต่อาจจะได้ผลจะช่วยดึงประเทศให้พ้นจากวิกฤต ยังมีความฝันว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นกลุ่มเสื้อเหลือง เสื้อแดงได้แปลงสภาพให้กลายเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง และมีมารยาท โดยเรียกร้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ก็อาจจะช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากพวกสนับสนุนราชาธิปไตยและนายพลที่พยายามจะลากประเทศไทยให้ถอยหลังกลับเข้าสู่อดีต แต่ดูเหมือนโอกาสที่เป็นไปได้จะไม่มี

ถ้ารัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลสิ้นสุดลงด้วยสงครามหรือทำให้ประเทศไทยกลายเป็นอัมพาตเพราะความวุ่นวายที่ไม่รู้จบ โดยที่ไม่มีใครที่มีสถานะเท่าพระองค์ที่จะมายุติข้อขัดแย้งครั้งนี้ จะเป็นภัยพิบัติที่น่าเศร้า แต่พระองค์ได้มีบทบาทสำคัญในอดีตที่หาข้อยุติของปัญหา แต่ก็มีเสียงโต้แย้งว่า พระองค์จะสร้างเสถียรภาพในยามที่วุ่นวาย และการที่ทรงทุ่มเทต่อภารกิจต่างๆเป็นสิ่งที่น่ายึดถือเป็นตัวอย่าง และจะทรงแต่สิ่งที่พระองค์เห็นว่าดีที่สุดสำหรับประเทส และสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ได้มีการบอกเล่าให้คนไทยฟังทุกเช้าทุกเย็น ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา คนไทยไม่ได้รับอนุญาตให้วิพากษณ์ วิจารณ์ถึงอีกด้านหนึ่งของเหรียญในที่สาธารณะ


บทความจาก :

นิตยสาร ดิอิคอนอมิสต์
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๐๐๘


ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : คำแปลอิคอนอมิสต์ส่วนที่หนึ่ง

เพิ่มเติม

ดาวน์โหลด ของคุณsaraburian
20081206_Economist_briefing_thailand.pdf ( 210.8k )

ไม่มีความคิดเห็น: