วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ขอถามว่าการเสนอของสื่อต่างประเทศ จะไม่ส่งผลกระทบอะไรเลยหรือ?



ขอถามแบบไร้เดียงสาหน่อยนะครับว่า

การที่สื่อต่างชาติกระแสหลัก ที่ทรงอิทธิพล (อย่างเช่น นิตยสารหัวแดงจากเกาะอังกฤษเล่มนั้น เป็นต้น ) ออกมาเล่น ฝ่ายศักดินา เต็มๆ จังๆ นี่ จะไม่ส่งผลกระทบอะไรเลยหรือ กับการเล่นนอกเกมแบบโจ่งแจ้งขนาดนี้

อยากขอความเห็นโดยเฉพาะจาก อ.สมศักดิ์ครับ


saraburian

******


มคิดว่า ในที่สุด แม้ชนช้นสูงจำนวนหนึ่งจะแคร์เรื่อง image ในสื่อต่างประเทศ แต่ผลสะเทือนเรื่องการเสนอของสื่อต่างประเทศ ยังไงก็ยังจำกัด ในแง่ทีมีผลต่อการตัดสินใจต่างๆ

อีกอย่าง (อันนี้เป็นความรู้สึกของผม) ที่ผ่านมา มีประเด็นนึงที่ สือต่างประเทศเอง ยังไม่ถึงกับเล่นมาก คือเรื่อง "ตุลาการ" และเรื่อง ปชป. เองและยังไม่ได้เชื่อมโยง 2 เรื่องนี้ กับเรื่อง xxx มากนัก (เท่าทีผมเห็นนะ)

แต่งานนี้ หมายถึงวิกฤตินี้ มันทั้งชุด ทั้งกระบวน (จริงอยู่ มีสื่อบางแห่งก็พูดหมด ทั้งตุลากร ทั้ง ปชป. - อย่างบทความ ใจ ที่ออกเป็นภาษาอังกฤษหลังๆ ก็พูดครบหมด อันนี้ ต้องนับถือ) แต่ระดับที่จะเชื่อมโยงหมด ในแง่สื่อโดยทั่วไป มันยังจำกัดนะ

อย่างเช่น (เท่าทีผมจำได้) ไม่ค่อยมี หรือ ไม่มี สื่อไหน ระบุ ความสัมพันธ์ ระหว่าง xxx กับการยุบ ทรท. โดยตรงเป็นต้น นั่นคือ ระดับที่ xxx สามารถส่งผลสะเทือนต่อ ตุลาการ หรือ (มองในทางกลับกัน) ตุลาการ ทำตามทิศทางของ xxx

คือ โดยรวมแล้ว ที่เพิ่งพูดนี้ ไม่ใช่จะเป็นการวิจารณ์สื่อต่างประเทศนะคับ จะว่าไป สื่อต่างประเทศ ดังเช่นที่ New Mandala พูดถึงการ "ก้าวข้าม" royal taboo เมื่อวันก่อน ได้มาไกลกว่าเดิมมาก

แต่ประเด็นใหญ่ ผมคิดว่า ยังไงก็ยังอยู่ที่เรื่องที่พูดในบรรทัดต้นๆ คือ ผลสะเทือน มันยังจำกัด ในแง่การตัดสินใจ ตราบเท่าที ภายในประเทศเอง สื่อไทย ไม่สามารถจะพูดแบบเดียวกันได้เต็มที่

การอภิปรายสาธารณะของไทย ทาง ทีวี ทางหน้า นสพ. แทบจะเรียกได้ว่า ไม่มีเลยเรื่องนี้ (ยกเว้น แต่ที่เราเห็นๆกันทางเว็บบอร์ด ซึ่งผมว่าต้องยอมรับว่า ยังไงก็ยังจำกัด)

ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ แม้แต่ "สามเกลอ" เอง ทีว่า "แรง"ที่สุดในกลุ่ม รบ. ("ความจริงวันนี้") ต่อ "ตุลาการ" นี่ก็ เรียกได้ว่า "ก้าวอย่างระมัดระวัง" และ ค่อนข้างช้า (เพิ่งมาโจมตีในระยะหลังๆ)

ยิ่งไม่ต้องพูดถึง discourse โดยทั่วไป แม้แต่ กลุ่ม (เช่น) สันติประชาธรรม เป็นต้น (นักวิชาการอื่นยิ่งไม่ต้องพูดถึง)

อันนี้ เป็นเหตุผลนึงที่ผมยืนยันมาโดยตลอดว่า การเน้นเรื่อง "กระบวนการยุติธรรม" ก็ดี หรือ "การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม" ก็ดี ที่นักวิชาการจำนวนมาก แม้จะด่าพันธมิตร ก็ยังเน้น มันมีลักษณะ "เสียเปรียบ" ตัวเองอยู่

คือ เราก็กลับมาที่เรื่องเดิมที่ผมเสนอ (แน่นอน ผมย่อมเน้น สิ่งทีตัวเองเสนอ) คือ ด้านที่สำคัญจริงๆ คือกลไกทั้งหลายที่ "แตะต้องไม่ได้" นั่นแหละ ที่ในแง่ public discourse ของไทยแล้ว เราสามารถ "เขย่า" ได้น้อยมากๆ

(ในแง่นี้ แต่ไหนแต่ไร ผมเห็นว่า "พันธมิตร" นี่เป็น relatively easy target นะ ไอ้ที่ hard target คือ พวกที่อยู่ข้างหลังนั่นแหละ)


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

******


อบคุณครับสำหรับคำตอบ อ.สมศักดิ์

ผมไม่แน่ใจว่าอ.ได้อ่านบทความทั้งสองชิ้นจาก วารสาร เศรษฐกร หรือยังครับ? ผมว่ามันแตะทุกประเด็นที่อ.ระบุมาทั้งหมด และ เท่าที่ผมตามอ่านทุกสื่อผมคิดว่าอันนี้ แรง และ ตรงที่สุด เท่าที่เคยมีมา และหลายคนเห็นตรงกัน

ลองดูความเห็นจาก http://thailandjumpedtheshark.blogspot.com/
ประกอบดูนะครับ


saraburian

******


รับขอบคุณสำหรับ link

คือผมก็เห็นด้วยนะครับว่าหลังๆสื่อต่างประเทศแรงและตรงขึ้นมากแต่ผมก็ยังรู้สึกโดยรวมว่า ผลสะเทือนอะไรถ้าจะมี ยังต้องอยู่ที่ public discourse (การถกเถียงสาธารณะ) ในเมืองไทย ในสื่อไทย เอง

(ปล. อีกอยาง - อันนี้ ไม่ได้บอกว่า ทีเขียนไป เขียนแบบไม่จริง หรืออะไรนะครับ - แต่แม้แต่ผมเอง จะให้ comment ในบทความต่างๆที่คุณ saraburian ยกมา คุณ saraburian ก็คงเข้าใจว่า ผมไม่สามารถทำได้อย่างไม่จำกัดเหมือนกัน ด้วยความที่ผมใช้ชื่อผมตรงๆแบบนี้ มันผูกมัดตัวเองเกินไป อันนี้เพียงแต่บอกเฉยๆ ในแง่ภาพรวมของการวิเคราะห์ข้างต้น ก็ยังคิดอย่างนี้แหละครับ)


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

******

ที่มา : คำถามนอกรอบ comment ที่ 45,48,50,51,52ในกระทู้ :ในที่สุด เราอาจจะได้ รบ.แบล็กเมล์.... : เวบบอร์ด "ฟ้าเดียวกัน"

ไม่มีความคิดเห็น: