วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ปิดฉากสถาบันกษัตริย์ ฯ



ปิดฉากสถาบันกษัตริย์เนปาล
รัฐบาลเตรียมประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐปีหน้า

บีบีซีรายงานเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ว่า รัฐบาลเนปาลเตรียมยกเลิกระบบกษัตริย์แล้ว ตามข้อตกลงกับกบฏลัทธิเหมาซึ่งต่อสู้กับรัฐบาลมายาวนาน โดยในปีหน้า รัฐบาลจะจัดการเลือกตั่งทั่วไป จากนั้นจะประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ และตั้งรัฐสภาตามระบอบรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มพันธมิตรรัฐบาลเนปาล 6 พรรค และกบฎลัทธิเหมาได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า เนปาลจะกลายเป็นประเทศสาธารณรัฐ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการเปิดรัฐสภาเนปาลเป็นครั้งแรก

รายงานระบุว่า แผนยกเลิกระบอบสถาบันกษัตริย์ของเนปาลเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลประสบปัญหาในการเจรจาหยุดยิงกับกบฎเนปาล เพื่อนำประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยกลุ่มกบฎเนปาลประกาศว่ากลุ่มพร้อมที่เล่นการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ขณะที่ชาวเนปาลก็สนับสนุนที่จะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ ทั้งนี้ ราชวงศ์เนปาลได้เสื่อมความนิยมนับตั้งแต่เกิดเหตุสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาลเมื่อปี 2544 และการใช้ความรุนแรงของกษัตริย์คเยนทราเพื่อปราบปรามกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย

เป็นที่รับรู้ว่า เนปาลจะพลิกโฉมหน้ากลายเป็นประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ชนิดไม่เหลือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ให้ไว้ประดับในรัฐธรรมนูญ ทว่านี่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พูดได้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว ผ่านการยินยอมพร้อมใจของประชาชนชาวเนปาลเอง

แล้วประเทศชื่อเนปาลก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าใจหายสำหรับบางประเทศ โดยเฉพาะการล้มสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน เมื่อข้อตกลงทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฎ ที่เป็นปรปักษ์คู่อริกับสถาบันกษัตริย์เนปาลมาแต่ไหนแต่ไรได้บรรลุขึ้น ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์ของเนปาลซึ่งครั้งหนี่งเคยเป็นที่ชื่นชอบของชาวเนปาลต้องถึงกาล 'ล่มสลาย' กลายเป็นอดีตอย่างถาวร จากอิทธิพลแห่งการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกต่อประเทศเล็ก ๆ ที่ถวิลหาระบอบปกครองใหม่ และน้ำมือของกษัตริย์เจ้าแผ่นดินนาม 'คเยนทรา' ผู้ซึ่งถูกหลายฝ่ายโจมตีเป็นฝ่ายทำลายราชวงศ์กษัตริย์ด้วยพระองค์เอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มพันธมิตรรัฐบาลเนปาล 6 พรรค ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลลัทธิเหมา เพื่อแผ่วทางไปสู่การเมืองระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มรูป ด้วยการจัดการเลือกตั้งทั่วไป และประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณะ ก่อนจะจัดตั้งรัฐสภาขึ้นมาเพื่อร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่ จากนั้น สถาบันกษัตริย์ก็จะถูกยุบอย่างเป็นทางการ โดยเนปาลจะพลิกโฉมหน้ากลายเป็นประเทศประชาธิปไตยหน้าใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ชนิดไม่เหลือแม้แต่สถาบันกษัตริย์ให้ไว้ประดับในรัฐธรรมนูญ ทว่านี่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พูดได้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว ผ่านการยินยอมพร้อมใจของประชาชนชาวเนปาลเอง

ว่าไปแล้ว การถึงกาลอวสานของราชวงศ์เนปาล ได้ถูกปูทางก่อนถึงบทสรุปเด็ดขาด ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วโดยรัฐบาลพลเรือนของเนปาลต้องการบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มกบฎเนปาล ซึ่งดำเนินสงครามต่อสู้กับรัฐบาลเพื่อต้องการเปลี่ยนประเทศให้เป็นรัฐคอมมิวนิสต์ตามความศรัทธาลัทธิเหมาของกลุ่ม หลังจากที่รัฐบาลเนปาลต้องทนกับสภาพบ้านเมืองวุ่นวายไม่สงบ เพราะปฎิบัติการก่อกวนของกลุ่มกบฎเหมา ที่มีศักยภาพคายพิษแสบกระทบเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการปิดกั้นการจราจรตามเมืองต่างๆ ของประเทศ การจัดการ

ชุมนุมขนาดใหญ่ป่วนรัฐบาล นอกเหนือจากการควบคุมพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ของประเทศ โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพคร่าวกับกบฎลัทธิเหมา ด้วยการยอมประเด็นสำคัญเรื่องการพิจารณาเรื่องยุบราชวงศ์เนปาล ภายใต้การเมืองใต้ระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ โดยรัฐสภาชุดใหม่จะมีการร่าง'แก้ไขรัฐธรรมนูญ'เปลี่ยนเนปาลให้เป็นประเทศสาธารณรัฐ และรัฐบาลพลเรือนเนปาลต้องยอมกลุ่มกบฎที่ประกาศถอนตัวจากข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว หลังจากกลุ่มโวยวายต้องการให้มีการยุบสถาบันกษัตริย์เนปาลอย่างจริงจัง

อย่างไรก็ตาม กระแสต่อต้านราชวงศ์กษัตริย์เนปาลเกิดขึ้นจาก 'ประชาชนชาวเนปาล' เองที่ไม่พอใจการปกครองประเทศของกษัตริย์เนปาล เป็นปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นชนิดเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ แตกต่างจากกษัตริย์พิเรนทราซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ชื่นชอบและศรัทธาของชาวเนปาลทั่วประเทศ โดยแผ่นดินเนปาลต้องพานพบฝันร้าย เมื่อพระองค์และพระราชินีไอชวายา และสมาชิกราชวงศ์อื่น ๆ 7 พระองค์ ต้องถูกสังหารสิ้นชีพขณะที่ร่วมกระยาหารมื้อค่ำ จากน้ำมือของเจ้าชายดิเพนทรา ผู้ผิดหวังเรื่องความรักที่ถูกกีดกั้น ก่อนปลิดชีพตัวเอง กลายเป็นเหตุการณ์ช๊อกเนปาลและทั่วโลก

ต่อมา กษัตริย์คเยนทรา ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบศรัทธาจากชาวเนปาลเท่ากับได้ผงาดขึ้นมาเป็น 'จ้าวแผ่นดิน'บริหารประเทศ โดยพระองค์ได้ใช้ 'กฎเหล็ก' ด้วยสถานภาพประมุขของประเทศ ประกาศยุบรัฐบาลพลเรือนของนายเชอร์ บาฮาดูร์ ดิวบา ฐานไม่สามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับกบฎลัทธิเหมา เพื่อปูทางไปสู่การเลือกตั้งในปี 2548 ท่ามกลางกระแสโจมตีพระองค์ว่าต้องการจะยึดอำนาจเพื่อบริหารประเทศ และสร้างระบอบกษัตริย์ที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จก่อนเหตุการณ์ดังกล่าวบานปลายเป็นความรุนแรง จากการประท้วงของประชาชนที่เบื้องแรกเริ่มต้นจากการจลาจลบนท้องถนน และนำไปการประกาศใช้กำลังทหาร
ปราบปรามประชาชนและสมาชิกพรรรคฝ่ายค้าน และนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด

ขณะที่กษัตริย์คเยนทราต้องเผชิญกับ 'พลังประชาชน' ที่รวมตัวชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และทำให้พระองค์ต้องยอมถอยหลัง เพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะอนาธิปไตยไร้ขื่อแป ท่ามกลางกระแสกดดันของนานาชาติซึ่งเพิ่มขึ้นต่อกษัตริย์เนปาลพระองค์ โดยต่างชาติต่างไม่พอใจกับการใช้กฎเหล็กรุนแรงของพระองค์ในการกุมบังเหียนบริหารประเทศ ในสภาพยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน ก่อนที่พรรคการเมืองต่าง ๆ จะขี้นมาจัดตั้งรัฐบาล และประกาศจะทำข้อตกลงสันติภาพกับกบฎลัทธิเหมา และ

กษัตริย์คเยนทราถูกบังคับให้สละอำนาจบริหารประเทศโดยตรงหลังจากนั้น เป็นเส้นทางที่นำไปสู่อวสานของสถาบันกษัตริย์ประเทศนี้ โดยเนปาลจะไม่ได้เห็นพระ 'โอรสพระองค์ต่อไป' ได้มีโอกาสสืบทอดราชบัลลังก์กษัตริย์ต่อไปอีกแล้ว โดยเฉพาะเจ้าชายเปราส มกุฎราชกุมาร ถือเป็นการสิ้นสุดยุคของกษัตริย์พระองค์ของเนปาล ด้วยชื่อสุดท้ายของพระเจ้าแผ่นดินชื่อ 'คเยนทรา'


เรียงเรียงจาก http://www.matichon.co.th/

โดย. ประชาไท

เพิ่มเติมท้ายข่าว

ขออภัย ข่าวนี้ปิดการแสดงความเห็นชั่วคราว

ที่มา : ข่าวประชาไท

ไม่มีความคิดเห็น: