วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ทำไมประเทศประชาธิปไตยจึงไม่อนุญาตให้ประมุขที่ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง พูดปัญหาการเมือง-กฎหมาย-สังคม ต่อสาธารณะด้วยตัวเอง


ประมุขที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในทีนี้ อาจจะได้แก่ประธานาธิบดีพิธีการ(ceremonial president) ที่แต่งตั้งโดยรัฐบาล, ตัวแทนควีน (เช่นในออสเตรเลีย) และแน่นอน ควีน คิง หรือจักรพรรดิ (อังกฤษ, ญี่ป่น เป็นต้น) ตวามจริง เป็นเวลาหลายปีหลัง 2475 ประเทศสยามก็ทำตามหลักการนี้เช่นกัน

แต่นี่เป็นปัญหาหลักการที่คนไทยปัจจุบัน แม้ระดับปัญญาชน นักวิชาการ ไม่เข้าใจ อย่าว่าแต่ระดับชาวบ้านทั่วๆไป หรือแม้แต่ผู้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา เหตุผลที่ไม่เข้าใจ ก็ไม่ยากเย็นลึกลับอะไร เพราะเราโตขึ้นมาจากสภาพตรงกันข้ามกับหลักการนี้

(ผมเคยเล่าเป็นเกร็ดในบอร์ดเก่าแล้วว่า เมื่อนครินทร์นำเสนอ draft ของงานที่ต่อมากลายเป็นหนังสือ "กรณี ร.7 ทรงสลาราชย์" นั้น นครินทร์ ยังไม่รู้หรือเข้าใจประเด็นนี้เลยว่า กรณีอย่างกษัตริย์-ควีน-อังกฤษ ไม่สามารถพูดอะไรต่อสาธารณะด้วยพระองค์เองอย่างเด็ดขาด ทุกอย่างต้องให้รัฐบาลร่างให้ ผมกับ อ.กุลลดา ต้องช่วยกันยืนยันในเรื่องนี้)

ในกระทู้ที่คุณ "อ้า..." ดีเบตกับผมไม่กี่วันที่ผ่านมาในบอร์ดฟ้าเดียวกัน สิ่งที่เป็นฐานของความไม่เข้าใจของคุณ "อ้า.." ที่สำคัญ เกี่ยวกับ นัยยะ ของ "25 เมษา" ก็มาจากเรืองนี้ดูกระทู้ (ความเห็น 12 เป็นต้นไป)http://www.sameskybooks.org/board/index.php?s=&showtopic=4512&view=findpost&p=22280และกระทู้http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=4527 )

ผมเขียนกระทู้นี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากเห็นว่านี่เป็นหลักการสำคัญที่ควรรู้ และเป็นการต่อเนื่องจากดีเบตดังกล่าว และหลังจากเพิ่งดูทีวีเมื่อครู่นี้ (คงเข้าใจว่าหมายถึงอะไร)



ทำไมประเทศประชาธิปไตยจึงไม่อนุญาตให้ unelected head of state (ประมุขรัฐที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง) พูดอะไรด้วยตัวเองต่อสาธารณะได้?

ก็เพราะ ถ้าอนุญาต ก็จะเป็นการละเมิดสิทธิการเมืองขั้นพื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่งของพลเมืองนับสิบๆล้านของประเทศนั้น

พูดแบบใช้อุปลักษณ์ (metaphor) จะเท่ากับเป็นการ "ตบหน้า" "ความเป็นพลเมือง" (citizenship) ของพลเมืองนับสิบล้านนั้นเลยทีเดียว

หลักการหรือสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตยทีว่านี้ ก็คือ สิทธิที่พลเมืองจะวิพากษ์ ตรวจสอบ กระทั่ง เสนอ รณรงค์ และ โหวดให้ออก ผู้มีตำแหน่งสาธารณะ ที่ทำอะไรไม่เป็นที่พอใจได้

ดังนั้น ถ้าอนุญาตให้ unelected head of state พูดอะไรด้วยตัวเองได้ แต่ไม่อนุญาตให้ โหวตให้ออก (เพราะเป็น unelected position) ก็เท่ากับเป็นการละเมิดหลักการหรือสิทธิพื้นฐานนี้

จึงมีการบังคับเป็นกฎเกณฑ์ว่า unelected head of state ที่โหวดให้ออกจากตำแหน่งไม่ได้ ต้องไม่พูดอะไรต่อสาธารณะ เพราะถ้าพูดอะไร ก็ย่อมมีคนที่ไม่ชอบในสิ่งที่พูดได้ ซึ่งตามหลักการและสิทธิพื้นฐาน เขาย่อมควรมีสิทธิจะเสนอ รณรงค์ หรือ โหวต ให้ head of state นั้น ออกได้

ด้วยเหตุผลหลากหลายของแต่ละประเทศ ไม่ว่าในเชิงพิธีการ (ceremonial) หรือในเชิงจารีตประเพณีสืบต่อกันมา (traditional), หลายประเทศได้คงรูปแบบของการมีประมุขที่ไม่ได้มาจากการเลือกต้งไว้ และไม่อนุญาตให้มีการโหวดบุคคลนั้นออกจากตำแหน่ง (หรือเข้ารับตำแหน่ง) ได้

แต่ในเมื่อไม่ต้องการให้โหวตออกได้ ก็ต้องไม่อนุญาตให้พูดอะไรเกี่ยวกับการเมือง-กฎหมาย-สังคม ต่อสาธารณะด้วยตัวเองเลยถ้าจะอนุญาตให้พูดอะไรแบบนั้นต่อสาธารณะด้วยตัวเอง ก็ต้องอนุญาตให้โหวต ออกได้


นี่เป็นปัญหาสิทธิการเมืองขั้นพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ที่ละเมิดไม่ได้


อันทีจริง ในหลายประเทศ เขียนเป็นกฎหมายไว้ด้วยซ้ำ

ขออนุญาต ยกตัวอย่างกรณีประเทศสยามเอง เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ที่ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน 2475 และมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 กำหนดเหมือนๆกันว่า "การกระทำใดๆของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้น เป็นโมฆะ" และ "บทกฎหมาย พระราชหัถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ท่านว่ารัฐมนตรีนายหนึ่งต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผุ้รับผิดชอบ"

เป็นที่เข้าใจร่วมกันของทั้งรัฐบาลกับ รัชกาลที่ 7(อย่างน้อยในตอนแรกๆ) ว่าไม่ได้หมายถึงเฉพาะเอกสาร ประกาศ คำสั่ง หรือ กฎหมายที่เป็นทางการเท่านั้น แต่รวมถึงการแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วย (ดูการใช้คำว่า "การกระทำใดๆ" ใน รัฐธรรมนูญฉบับแรก และคำว่า "พระราชหัตถเลขา" ในรัฐธรรมนุญฉบับที่สอง พระราชดำรัส ย่อมเข้าอยู่ในข่ายนี้ด้วย เพราะเมื่อบันทึกลงไว้ ก็เท่ากับเป็นพระราชหัตถเลขาอย่างหนึ่ง) อันที่จริง ในช่วงหนึ่ง ถึงกับมีการนำประเด็นเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ว่า พระราชหัตถเลขาจดหมายส่วนพระองค์ จะต้องผ่านการตรวจของครม.ด้วยหรือไม่ เพราะพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่บุคคลธรรมดา แต่เป็น head of state ของระบอบประชาธิปไตย (ดูหลักการข้างต้น) ในที่สุด ก็ตกลงว่า ถ้าเป็นจดหมายส่วนพระองค์ ไม่ต้องผ่านการตรวจ แต่นอกนั้น ต้องผ่านการตรวจ

การทีในปี 2499 หยุด แสงอุทัย กล่าวปาฐกถาทางวิทยุเรื่อง "อำนาจ และ ความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย" (power and accountibility in a democracy) ตอนหนึ่งว่า

" องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดอันเป็นปัญหาหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองหรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ"

ก็๋เพื่ออธิบายหลักการดังกล่าวข้างต้นที่ถือเป็นกฎเกฎฑ์และหลักปฏิบัติของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกนั่นเอง (อ้างจาก คึกฤทธิ์ ปราโมช "เก็บเล็กผสมน้อย", สยามรัฐ, 12 กุมภาพันธ์ 2499)


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ที่มา : จากกระทู้ใน เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2007 ชื่อกระทู้

" ทำไมประเทศประชาธิปไตยจึงไม่อนุญาตให้ประมุขที่ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง พูดปัญหาการเมือง-กฎหมาย-สังคม ต่อสาธารณะด้วยตัวเอง, "กระทู้วิชาการ" ห้ามดึงเข้าสู่เรื่องการเมืองปัจจุบัน "

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประเทศไทยประมุขออกมาพูดจาแบบกำกวมเคลือบคลุม ส่งสัญญาณให้ทหารบ้าง หรือไม่ก็ให้ชาวบ้านตีความกันไปเองแบบพระเทศน์ เพราะท่านเป็นธรรมราชา เลยเวลาพูดต้องพูดแบบสังฆราช โมเมเอาความดีเข้าข้างตัวเอง แต่คนไทยส่วนมากก็ถูกหลอกจนโงหัวไม่ขึ้น มึนเมากับการเทศนาของยมฑูตหมายเลข9นี้ เหมือนคนติดยาฝิ่น กระดานหมากรุกแบบเดิม คนเล่นคนเดิม จนกลายเป็นเซียนไปแล้ว ถ้ามันรู้ว่ามันจะแพ้ก็ส่งสัญญาณบอกกำลังพลให้ออกมาล้มกระดาน เล่นกันใหม่ จนกระทั่งถึงวันตายของมัน

เจ้าน้อย ณ สยาม กล่าวว่า...

สวัสดีครับคุณทองพูน

ยินดีที่ได้รู้จักและต้อนรับเสมอครับ...

ปล.ตามนั้นเลยครับ ตรงใจจริงๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ตรงใจครับ คิดอย่างคุณทองพูน เหมือนกัน