จากการที่ฟอร์บได้จัดความอันดับร่ำรวยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เป็นที่ห้าของโลกด้วยทรัพย์สินกว่า ห้าพันล้านเหรียญหลายคนก็ได้ตั้งข้อสังเกตราวกับว่าไม่อยากให้ในหลวงรวยเช่นนั้น เช่นการบอกว่า ทรัพย์สินส่วนใหญ่ในห้าพันล้านโดยที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบทรัพย์สินของประมุขของประเทศได้เลย แต่ก็คาดเดากันไปว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่กล่าวอ้างนั้นไม่น่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่น่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
แล้วทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นเป็นสมบัติของใครล่ะ บางคนพอไปเปิดวิกิพีเดีย หรือเว็บของสนง ทรัพยสินฯก็ไปยึดเอา พรบ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย มาตรา ๘ (ปี ๒๔๗๙) ที่ว่า
"
ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้นดังกล่าวแล้ว
"
ก็ไปทึกทักเอาว่า สนง.ทรัพย์สินฯ นั้นเป็นสมบัติของรัฐ
เพราะว่าไม่ต้องเสียภาษี
การพิจารณาว่ารัฐเป็นเจ้าของหรือไม่ ผมขอเสนอข้อพิจารณา สามประเด็น
1. ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
2. ต้องมีสิทธิในการตรวจสอบได้
3. ต้องมีส่วนในการได้รับผลประโยชน์
ถ้ามีครบทั้งสามข้อนี้ก็กล่าวได้ว่า องค์กรณ์นี้เป็นสมบัติของรัฐ แต่ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่สามารถนับว่าเป็นสมบัติของรัฐได้เช่นกัน อย่างเช่น ในองค์กรณ์เอกชน รัฐนั้นมีอำนาจตรวจสอบได้ระดับหนึ่งโดยผ่านกรมสรรพากรหรือกระทรวงพาณิชย์ แต่รัฐไม่ได้รับผลประโยชน์รับเพียงภาษี และก็ไม่มีอำนาจการบริหาร องค์กรแห่งนั้นจึงไม่ใช่ของรัฐแต่เป็นของเอกชน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับ สนง.ทรัพย์สินฯ
รัฐไม่มีส่วนในทั้งสามข้อนี้เลย คือ
1. รัฐไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
ถึงแม้ว่า สนง.ทรัพย์สินฯจะมีประธานกรรมการ มาจากรมต.คลัง โดยตำแหน่ง แต่ว่าการดำเนินกิจการใดๆล้วนต้องดำเนินการในนามคณะกรรมการ ซึ่งล้วนแต่งตั้งโดยตรงจากพระมหาษัตริย์ ทั้งสิ้น และอำนาจการแต่งตั้งนี้เป็นพระราชอำนาจอย่างสัมบูรณ์ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องมีผู้เสนอและผู้สนองพระบรมราชโองการ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่มีอำนาจใดๆเลยที่จะก้าวล้ำเข้าไปบริหารจัดการใดๆได้และการจัดการใดๆก็ต้องล้วนเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยทั้งสิ้นการเป็นประธานกรรมการของ รมต.คลังจึงเป็นเพียงแต่ในนามและไม่ได้มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น
2. รัฐไม่ได้มีอำนาจในการตรวจสอบ
การตรวจสอบใดๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานนี้นี้จะต้องได้พระบรมราชานุญาติ และไม่กระทบต่อพระมหากษัตริย์ด้ว ซึ่งก็คือรัฐตรวจสอบได้ แต่ต้องได้รับอนุญาติก่อนจากสนง.ทรัพย์สินก่อน ถ้าไม่อนุญาติก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คงกล่าวได้ว่ารัฐไม่มีอำนาจตรวจสอบองค์กรณ์ นี้
3. รัฐไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
จาก มาตรา ๘ (ปี ๒๔๗๙) ที่กล่าวว่าองค์กร แห่งนี้ไม่ต้องเสียภาษีอากร และ มาตรา ๗ (แก้ไข ปี ๒๔๙๑) ที่ว่าไว้ว่ารายได้หักค่าใช้จ่ายได้แต่โดยพระราชอัธยาศัย นั่นก็คือรายได้ทั้งหมดถวายแด่พระมหากษัตริย์ และไม่มีส่วนไหนตอบแทนกับรัฐเลย
รัฐไม่มีส่วนร่วมในสามประการนี้เลย ดังนั้นสนง.แห่งนี้จึงไม่ควรที่จะจัดไว้เป็นสมบัติของรัฐ และผู้ที่เป็นเจ้าของสำนักงานนี้ ก็ควร มีส่วนในทั้งสามข้อที่กล่าวมาแล้ว นั่นก็คือ มีสิทธิในการบริหาร อำนาจการตรวจสอบและ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
1. การบริหารจัดการ
จากที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการ และ ผู้อำนวยการ ของสนง.ทรัพย์สินฯ ที่ทำหน้าที่บริหารองค์กรแห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระพระมหากษัตริย์ และจากมาตรา ๗ (แก้ไข ปี ๒๔๙๑)
"
ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น
รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น
"
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การใช้จ่ายต่างๆของ สนง.ทรัพย์สินนั้นต้องได้พระบรมราชานุญาติเท่านั้นแสดงว่า พระมหากษัตริย์ สามารถมีอำนาจในการบริหารองค์กรแห่งนี้ได้
2. อำนาจในการตรวจสอบ
การประชุมเพื่อตีความสถานะสนง.ทรัพย์สินฯ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อปี 2544 ในที่ประชุม ประธานได้ซักถามผู้แทนสนง.ทรัพย์สินฯ ว่า“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การดูแลของใคร และเมื่อได้มีการจัดทำงบประมาณเสร็จในแต่และปี เสนอต่อใคร”
ผู้แทนสำนักงานได้ตอบว่า “เสนอโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์”นั่นก็ย่อมหมายความว่า พระมหากษัตริย์นั้นมีสิทธิในการตรวจสอบบัญชีของสนง.ทรัพย์สินฯ
3. ผลประโยชน์ตอบแทน
จากที่กล่าวตอนต้นแล้วว่า รายได้จากสนง.ทรัพย์สินนี้
ทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์
จากที่กล่าวมาทั้งสามข้อ สนง.ทรัพย์สินแห่งนี้ควรจัดเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ เพราะว่าพระมหากษัตริย์มีส่วนใน อำนาจการบริหารจัดการ อำนาจการตรวจสอบ และ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
we love cow prince
อ้างอิงจาก
[1] พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
[2] พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ .2491
[3] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร”, ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่ 1, 2549
หมายเหตุ
ที่จริงแล้ว ตอนแรกตั้งใจเขียนเรียบเรียงให้ดีกว่านี้เพื่อเสนอต่อฟ้าเดียวกันแต่ว่าไม่ค่อยมีเวลา จึงเขียนลวกๆเป็นกระทู้แล้วกัน
( we love cow prince )
ที่มา : เว็บบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมบัติของใคร?, รัฐ หรือ กษัตริย์
วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมบัติของใคร? : รัฐ หรือ กษัตริย์
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 10:29 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
6 ความคิดเห็น:
มาตรา ๕[๕] ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
*******
ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นคือประมุขของประเทศ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นทรัพย์แห่งแผ่นดิน! เพราะเป็นทรัพย์ของประมุขของประเทศ
และโดยหลักแล้วทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีมาก่อนทรงครองราช ถ้ามีรายได้ก็เสียภาษีอยู่แล้วครับ
คุณราษฎร์ท่านก็จัดการอย่าถูกต้องอยู่แล้ว คุณจะมาขุดคุ้ยทำไมให้เสียกับตัวคนพูดเอง
ประชาชนทั้งแผ่นดินก็ย่อมทราบว่าค่าเช่าที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯถูกยิ่งกว่าถูก (เว้นไม่กี่ที่ ซึ่งก็ควรเก็บแพงเพราะเจ้าของกำไรเยอะเช่นเซ็นทรัล)
ตายายเป็นจีนธรรมดา เช่าที่สำนักงานทรัพย์สินอยู่ แค่เดือนล่ะไม่กี่ร้อย ถูกเหมือนได้เปล่า แถมปล่อยเซ้งกำไรมหาศาล! นี่คือความเป็นจริง
ป.ล. นักการเมืองชั่วๆที่โกงที่วัด โกงที่ประชาชนโดยการใช้อำนาจแซงแซงกรมบังคับคดี ผมว่าชั่วกว่าเยอะ.......
มาตรา ๕[๕] ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
*******
ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นคือประมุขของประเทศ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นทรัพย์แห่งแผ่นดิน! เพราะเป็นทรัพย์ของประมุขของประเทศ
และโดยหลักแล้วทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีมาก่อนทรงครองราช ถ้ามีรายได้ก็เสียภาษีอยู่แล้วครับ
คณะราษฎร์ท่านก็จัดการอย่าถูกต้องอยู่แล้ว คุณจะมาขุดคุ้ยทำไมให้เสียกับตัวคนพูดเอง
ประชาชนทั้งแผ่นดินก็ย่อมทราบว่าค่าเช่าที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯถูกยิ่งกว่าถูก (เว้นไม่กี่ที่ ซึ่งก็ควรเก็บแพงเพราะเจ้าของกำไรเยอะเช่นเซ็นทรัล)
ตายายผมเป็นจีนธรรมดา เช่าที่สำนักงานทรัพย์สินอยู่ใจกลางเมือง แค่เดือนล่ะไม่กี่ร้อย ถูกเหมือนได้เปล่า แถมปล่อยเซ้งกำไรมหาศาล! นี่คือความเป็นจริง
ป.ล. นักการเมืองชั่วๆที่โกงที่วัด โกงที่ประชาชนโดยการใช้อำนาจแซงแซงกรมบังคับคดี ผมว่าชั่วกว่าเยอะ.......
โห เยอะจังเลย
เรายังไม่มีสร้างบ้านเลย
อยู่บ้านเล็ก
ด้วย ไม้ อยู่เลย!!
เห้อๆๆๆ
ไพร่ ดีดีนี่เองเรา!!
แต่ละฝ่ายพยายามจะบิดเบือน
ความจริงอยู่ตรงนี้ครับ ย่อๆ แบ่งเป็น 2 ข้อ
1.ทรัพย์สินส่วนมหากษัตริย์ เป็นกิจการที่ราชวงค์จักรีเดิมทำมาอยู่แล้ว แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราชไปยึดของราขวงค์มา ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิช ปูนซีเมนต์ไทย บริษัทเทเวศประกันภัย แต่พรบ. ปี 2479 ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีคลัง เป็นผู้บริหาร ส่วนนี้ไม่ต้องเสียภาษีครับ
2.ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่นจากการบริจาค ขายสินค้าสวนจิตลดา โครงการหลวง ส่วนนี้ต้องเสียภาษีครับ
มนุษย์เดี๋ยวนี้แปลก เอาความคิดของตัวมาตั้งเป็นธง แล้วหาเหตุต่างๆ มาสนับสนุนความคิด แค่เห็นจั่วหัว ก็รู้ไปถึงจิตใต้สำนึก เสรีภาพต้องมาพร้อมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบเสมอ เพียงแค่อ้างเหตุการณ์ 19 กย. ให้เป็นความชอบธรรมของตัวในการเลือกที่จะคิด อ้างสิทธิในการแสดงความเห็นผ่านบล็อคตัวเอง แพร่กระจายไปยังสังคม เหมือนเชื้อโรคที่ตัวเองเป็นคนเดียวไม่พอ แต่อยากให้คนอื่นเป็นไปด้วย เที่ยวไปคัดลอกบทความคนอื่นที่มีความเห็นคล้ายตัว บางบทความก็เลือกคัดลอกเฉพาะที่ตัวเองชอบ วิธีการแบบนี้ เสื้อแดงถนัด และทำได้เก่งเสมอ
มนุษย์เดี๋ยวนี้แปลก เอาความคิดของตัวมาตั้งเป็นธง แล้วหาเหตุต่างๆ มาสนับสนุนความคิด แค่เห็นจั่วหัว ก็รู้ไปถึงจิตใต้สำนึก เสรีภาพต้องมาพร้อมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบเสมอ เพียงแค่อ้างเหตุการณ์ 19 กย. ให้เป็นความชอบธรรมของตัวในการเลือกที่จะคิด อ้างสิทธิในการแสดงความเห็นผ่านบล็อคตัวเอง แพร่กระจายไปยังสังคม เหมือนเชื้อโรคที่ตัวเองเป็นคนเดียวไม่พอ แต่อยากให้คนอื่นเป็นไปด้วย เที่ยวไปคัดลอกบทความคนอื่นที่มีความเห็นคล้ายตัว บางบทความก็เลือกคัดลอกเฉพาะที่ตัวเองชอบ วิธีการแบบนี้ เสื้อแดงถนัด และทำได้เก่งเสมอ
แสดงความคิดเห็น