วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พวกไม่เห็นด้วยคืออาชญากร : Thailand: criminalising dissent



Index
on Censorship

Thailand: criminalising dissent
26 มกราคม 2552

แปลและเรียบเรียงโดย : chapter 11



พวกไม่เห็นด้วยคืออาชญากร


สินฟ้า ตันศราวุธได้กล่าวว่า การติดตามจับกุมในเรื่องคดีหมิ่นฯได้เข้มงวดมากขึ้น เมื่อนักการเมืองจับขั้วเดียวกับฝ่ายราชวงศ์

หลายปีก่อนเมื่อนักเขียนคนนี้ยังเป็นนักศึกษาภาควิชานิเทศน์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ บรรณาธิการอาวุโสของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ฉบับภาษาอังกฤษได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการบริหารกองบรรณาธิการของหน้งสือพิมพ์

บรรณาธิการได้กล่าวว่าครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชโดยมีคำบรรยายใต้รูปว่ากษัตริย์กำลังลาพักร้อน วันรุ่งขี้นเขาได้รับโทรศัพท์ซึ่งผู้โทรเข้ามาได้บอกว่าคำบรรยายไม่ถูกต้อง กษัตริย์ไม่เคยลาพักร้อน

บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ไม่ถูกคดีในการทำให้กษัตริย์เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขี้นได้แสดงให้เห็นชัดว่าหัวข้อเกี่ยวกับราชวงศ์สำหรับคนไทยนั้นเป็นเรื่องอ่อนไหวอย่างไร

รัฐธรรมนูญกล่าวว่า: “กษัตริย์ควรอยู่ในตำแหน่งอันเป็นที่เคารพสักการะจะถูกล่วงละเมิดมิได้ ไม่มีบุคคลใดสามารถกล่าวหาหรือกระทำการหมิ่นกษัตริย์ได้” ตามกฎหมายแล้วกษัตริย์อยู่เหนือคำครหาวิจารณ์ทั้งปวง

การทำให้กษัตริย์หรือราชวงศ์เสื่อมเสียชื่อเสียงไม่ได้ปรากฎสู่สายตาสาธารณะมาเป็นเวลานานแล้ว คนไทยส่วนใหญ่เช่นเดียวกับคนต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย ทราบดีถึงการจะไม่เข้าไปสร้างปัญหานั้น แต่เมื่อปีที่แล้วเป็นต้นมา หัวข้อเรื่องกฎหมายหมิ่นฯได้ปรากฎในสื่ออย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยสมัยปัจจุบัน

เฉพาะสองอาทิตย์ที่ผ่านมา นักเขียนชาวออสเตรเลียแฮรี่ นิโคไลเดสได้ถูกตัดสินว่าผิดถูกจำคุกในเรือนจำกรุงเทพเป็นเวลา 3 ปีจากคดีหมิ่นฯ นักรัฐศาสตร์ชาวไทย ใจ อี้งภากรณ์ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาเดียวกัน และวิศวกรขุดเจาะน้ำมันสุวิชา ท่าค้อ ถูกจองจำโดยไม่ได้รับการประกันตัวในข้อหาเดียวกัน

เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของไทยได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจจับคนที่ทำให้ราชวงศ์เสื่อมเสียชื่อเสียง เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ และขณะนี้ยังได้จับตามองบล็อก 2 บล็อกที่มีเนื้อหาต่อต้าน

นัฐพงศ์ หลวงนฤดม บล็อกเกอร์ได้กล่าวกับอินเดกซ์ออนเซ็นเซ่อร์ชิปว่า “จริงๆแล้วมีเวปไซต์ที่มีเนื้อหาที่อาจจะดูเหมือนหมิ่นราชวงศ์ แต่ส่วนใหญ่ได้ใช้ภาษาเลี่ยงๆ เพื่อป้องกันการถูกจับ”

นัฐพงศ์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้อภิปรายในหัวข้อ “การเมืองและโลกออนไลน์”ที่จัดขี้นที่กรุงเทพเมื่อวานนี้ (25 มกราคม) นัฐพงศ์ประกาศตัวว่าเขาเป็นพันธมิตร (PAD) ซึ่งผู้สนันสนุนจะใส่เสื้อเหลือง สีที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ในประเทศไทยสีเหลืองเป็นประจำวันเกิดวันจันทร์ อันเป็นวันประสูติของกษัตริย์

กลุ่มสนับสนุนพันธมิตร ได้ถูกมองว่าเป็นฝ่ายสนับสนุนราชวงศ์และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ได้ต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ นักวิจารณ์ได้มองทักษิณซึ่งได้หลบหนีอยู่นอกประเทศนับตั้งแต่ถูกรัฐประหารเมื่อกันยายน 2549 ว่าเป็นฝ่ายต่อต้านราชวงศ์

ผู้สนับสนุนทักษิณได้ตั้งกลุ่มเสื้อแดง (DAAD) ซึ่งขณะนี้ได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลประชาธิปัตย์

นอกเหนือจาก 3 คดีข้างต้น ได้มีคนไทยอีกหลายคนที่กำลังถูกตั้งข้อกล่าวหา หรือถูกดำเนินคดีในการหมิ่นราชวงศ์

รมว.ไอซีทีได้กล่าวว่าได้ปิดเวปไซต์มากกว่า 2,000 เวปไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นฯ และตั้งนโยบายปราบเวปหมิ่นเป็นโยบายหลัก

เมื่อศุกร์ที่ 23 มกราคม วุฒิสภาได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องนี้ ได้เตือนว่า 10,000 เวปไซต์จะเป็นเป้าหมายของการรณรงค์ในครั้งนี้

กฎหมิ่นฯได้ถูกจัดเข้าหมวดหมู่ “การกระทำผิดอันเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของราชอาณาจักร” ในประมวลกฎหมายอาญา เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายและแทบจะไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ประกาศใช้ปี 2500 เจ้าหน้าที่ไทยได้ถือว่ากฎหมายหมิ่นฯเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ

ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎจะถูกจำคุกอันมีโทษสูงสุด 15 ปี

พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมได้จัดตั้งรัฐบาลเมื่อเดือนธันวาคม 2551 ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพบก และได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายในสภา เพื่อเพิ่มโทษจำคุกสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนคดีหมิ่นฯให้สูงถึง 25 ปี การแก้ไขกฎหมายนี้จะเพิ่มบทปรับ 1 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้กฎหมายหมิ่นฯไม่มีโทษปรับ

บทลงโทษและการปราบปรามอย่างหนักในขณะนี้ของเจ้าหน้าที่ไทย ได้ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความกลัว บริษัทหลายๆบริษัทได้สร้างโปรแกรมไฟร์วอลล์เพื่อบล้อกเวปไซต์ที่ต้องสงสัย หรือข้อความที่อาจจะหลุดเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วจะสร้างปัญหาให้กับบริษัทดังกล่าวรวมถึงพนักงาน

วิธีการซึ่งตำรวจไทยได้ใช้ในการจับกุมผู้ต้องสงสัยในคดีหมิ่นฯได้เพิ่มความกลัวให้แกประชาชนมากขี้น โดยตำรวจได้บุกรุกเข้าไปในบ้านของผู้ต้องหาในตอนกลางคืน ยึดคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินอย่างอื่น ผู้ต้องหาหลายคนได้ถูกกักกันโดยไม่ให้ประกันตัว

คดีล่าสุดคือวิศวกรขุดเจาะน้ำมัน สุวิชา ท่าค้อ ที่ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ ถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 14 มกราคม เมื่อสุวิชาและภรรยากำลังช้อปปิ้งแถวๆบ้านเกิดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดนครพนม และตำรวจได้บุกรุกเข้าไปในบ้านของสุวิชาที่กรุงเทพเช่นกัน ซึ่งเขาได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าใช้บ้านที่กรุงเทพเป็นฐานในการเผยแพร่ข้อความทำให้ราชวงศ์เสื่อมเสียชื่อเสียง

สุวิชาได้ถูกตำรวจสอบสวนโดยปราศจากทนาย และเขายังได้ถูกชักจูงว่าถ้าให้ความร่วมมือจะได้รับการปล่อยตัว อย่างไรก็ตามเขายังคงถูกตำรวจกักขังไว้ตั้งแต่ถูกจับกุม

สุวิชา มีลูก 3 คน ขณะนี้ได้ถูกหยุดจ้างงานและไม่ได้รับเงินชดเชย นี่คือผลที่ได้รับโดยตรงจากการถูกกล่าวหาในคดีร้ายแรง

เขากล่าวว่า “สิ่งที่ผมต้องการทราบคือ ผมได้ฆ่าใครหรือ” เขากล่าวต่อว่า “ผมได้เจอผู้ต้องสงสัยว่าเป็นฆาตกรหรือข่มขืนเด็กซึ่งได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวไป บางคนที่มีชื่อเสียงและโดนข้อหาเดียวกับผมได้รับการประกันและปล่อยตัวเช่นเดียวกัน แต่ผมไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัว เอาอะไรมาเป็นมาตราฐานในเรืองนี้”

ในการสัมภาษณ์ สุวิชาบอกเวปไซต์ในไทยว่า อีเมล์ของผมทุกอันถูกอ่านหมด พวกเขาได้จัดตั้งหน่วยงานตามล่าสำหรับรายชื่อบุคคลที่ต้องการตัวมากที่สุด ซึ่งพวกเขาได้พยายามที่จะโยงรายชื่่อเข้ามาในเครื่อข่าย ผมไม่คิดว่าประเทศไทยจะเป็นแบบนี้ไปได้


ที่มา : Liberal Thai : พวกไม่เห็นด้วยคืออาชญากร

หมายเหตุ
การเน้นข้อความ(บางส่วน)ทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

ไม่มีความคิดเห็น: