วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบอบประธานาธิบดี


จากวิวาทะระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลกับนักการเมืองฝ่ายค้านที่คุณสุเทพไปกล่าวหาว่าคุณทักษิณอยากเป็นประธานาธิบดี จนเกิดการฟ้องร้องและโต้เถียงกันในสภาผู้แทนราษฎรอย่างรุนแรง ทำให้หลายๆ คนที่ไม่ได้ร่ำเรียนมาทางการเมืองการปกครองเกิดความสงสัยกันว่าไอ้ระบอบประธานาธิบดีนั้นมันคืออะไรกันแน่ ทำไมข้อกล่าวหานี้ถึงทำให้เกิดข้อพิพาทกันอย่างรุนแรงทั้งๆ ที่หลายประเทศก็มีประธานาธิบดี

รูปแบบของการปกครองในระบอบประธานาธิบดีเกิดขึ้นแห่งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีหลักการดังนี้


๑)

มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power) ได้แก่การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ฝ่ายบริหารกับนิติบัญญัติอย่างชัดเจน โดยฝ่ายบริหารเป็นอิสระต่อการควบคุมของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจประธานาธิบดีหรือรัฐบาล ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนจะเป็นผู้สรรหาและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีรับผิดชอบโดยตรงต่อประธานาธิบดีเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องไปร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อตอบกระทู้ถามจากรัฐสภาแต่อย่างใด และรัฐมนตรีจะไม่สามารถเป็นสมาชิกรัฐสภาได้ (ยกเว้นรองประธานาธิบดีที่จะเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง)


๒)

ใช้หลักการคานอำนาจ (Balance of Power) เนื่องจากทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาต่างได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน ดังนั้น จึงมีการแบ่งแยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยใช้วิธีตรวจสอบและคานอำนาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance) ทั้งนี้ เพื่อมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีมีอำนาจในการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto)โดยการไม่ลงนามในกฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ในขณะที่รัฐสภามีอำนาจลบล้างสิทธิยับยั้งดังกล่าวของประธานาธิบดีได้ด้วยการลงคะแนนรอบสอง ซึ่งหากคะแนนเสียงของสมาชิกสภาทั้งสองยืนยันด้วยคะแนน ๒ ใน ๓ ก็จะถือว่ากฎหมายนั้นมีผลบังคับใช้ได้


๓)

รัฐสภามีอำนาจในการกล่าวโทษประธานาธิบดี เรียกว่าการอิมพีชเมนท์ (Impeachment) โดยการที่จะมีการอิมพีชเมนท์นั้นต้องมีคะแนน ๒ ใน ๓ ของรัฐสภา และขั้นตอนสุดท้ายวุฒิสภาจะเป็นผู้ปลด (Removal) ประธานาธิบดีด้วยเสียง ๒ ใน ๓ ของวุฒิสภา


๔)

วุฒิสภามีอำนาจในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (เป็นรายบุคคล) เช่นรัฐมนตรี หรือเอกอัครราชทูตตามที่ประธานาธิบดีเสนอมา หากวุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบก็จะดำรงตำแหน่งไม่ได้


๕)

การเข้าสู่ตำแหน่งของตุลาการ สำหรับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลสูงที่อยู่ได้จนตลอดชีวิตนั้น อำนาจในการแต่งตั้งเป็นของประธานาธิบดี โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน ส่วนผู้พิพากษาอื่นล้วนมาจากการเลือกตั้ง (ยกเว้นตำแหน่ง Associate Judge) ซึ่งศาลสูง (Supreme Court) ในระบอบประธานาธิบดีนี้มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายฉบับใดที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกมานั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งหากกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัตินั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับนั้นเป็นอันตกไป


๖)

ประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นคนๆ เดียวกัน เพราะประธานาธิบดีเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการบริหารประเทศอย่างมากมายและได้รับการยอมรับจากประชาชนในฐานะประมุขของประเทศอีกด้วยซึ่งแตกต่างจากระบอบรัฐสภาที่ประมุขของประเทศกับหัวหน้าฝ่ายบริหารจะเป็นคนละคนกัน


ในการปกครองระบอบรัฐสภา เช่น อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ นั้น ประมุขของประเทศอาจเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี (ในกรณีที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ เช่น อินเดีย เป็นต้น) ก็ได้ แต่กษัตริย์หรือประธานาธิบดีในระบอบนี้เป็นเพียงประมุขของประเทศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศแต่อย่างใด หัวหน้าฝ่ายบริหารในการปกครองระบอบรัฐสภาคือนายกรัฐมนตรีเท่านั้น โดยประชาชนจะเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรแล้วผู้แทนฯ นั้นไปตั้งรัฐบาลอีกทีหนึ่ง พูดง่ายๆ ก็คือหัวหน้ารัฐบาลในระบอบรัฐสภานี้มาจากสภา แต่หัวหน้ารัฐบาลในระบอบประธานาธิบดีซึ่งก็คือตัวประธานาธิบดีนั้นมาจากการเลือกตั้งต่างหากจากการเลือกตั้งผู้แทนในระบอบรัฐสภานั่นเอง

ฉะนั้น ประเด็นของการวิวาทะดังที่ได้กล่าวมาตอนต้นที่เป็นประเด็นร้อนแรง ก็คือประเด็นของประมุขของประเทศนั่นเอง เพราะในระบอบประธานาธิบดีประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นคนๆ เดียวกันคือประธานาธิบดีเท่านั้น เมื่อมีการกล่าวหากันว่า คุณทักษิณฝักใฝ่ในระบอบประธานาธิบดีหรืออยากเป็นประธานาธิบดีไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีในระบอบประธานาธิบดีหรือประธานาธิบดีในระบอบรัฐสภาก็ตาม จึงเป็นการกล่าวหาที่รุนแรงว่าคุณทักษิณต้องการล้มสถาบันกษัตริย์นั่นเอง

ส่วนจะเป็นความจริงหรือไม่จริงนั้นไม่มีใครสามารถรู้ได้นอกจากตัวคุณทักษิณเอง แต่การที่คุณสุเทพไปกล่าวหาคุณทักษิณนั้นก็คงเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในศาลว่าจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทหรือไม่ แต่ก็คงเป็นเรื่องยุ่งยากเพราะคุณทักษิณยังเป็นสัมภเวสีล่องลอยอยู่ในต่างประเทศในฐานะนักโทษหนีคดีซึ่งหลายปีกว่าจะหมดอายุความ แต่ก็เป็นที่ประหลาดใจว่าคุณสุเทพไปรู้ใจคุณทักษิณได้อย่างไร

การที่กล่าวอ้างว่าสังเกตจากคำพูดของคุณทักษิณที่พูดถึงผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญบ้างหรืออ้างว่าพฤติการณ์ของคุณทักษิณส่อไปในทางนั้นบ้าง ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่คุณสุเทพจะได้เที่ยวไปโพนทะนา ซึ่งจะจริงหรือไม่จริงก็ไม่อาจรู้ได้ และก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะเที่ยวพูดไปเรื่อยเปื่อย เพราะข้อหาการล้มล้างสถาบันกษัตริย์นั้นตามกฎหมายอาญาเป็นข้อหาที่รุนแรงมีโทษถึงประหารชีวิต

คำกล่าวที่ว่า “คำพูดก่อนที่เราจะพูดออกไปนั้นเราเป็นนายมัน แต่เมื่อเราพูดออกไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา” ยังคงเป็นความจริงอันอมตะอยู่เสมอ ฉะนั้น ความเดือดร้อนของไม่ว่าจะเป็นคุณทักษิณหรือคุณสุเทพที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากคำพูดของทั้งสองคนในต่างกรรมต่างวาระ

เห็นทีละครการเมือง (Political Drama) เรื่องนี้คงจะกลายเป็น หนังชีวิตเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่งของวงการการเมืองไทยเสียเป็นแน่



ชำนาญ จันทร์เรือง

(เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒)


ที่มา : หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท : ระบอบประธานาธิบดี

5 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไอ้สาดนรกชิงหมามาเกิด มึงบอกประชาชนเป็นใหญ่ที่สุดแล้วมึงไปก้มกราบเลียไขพ่อทักษิณบิดาแห่งควายแดงสยามทำไมวะ มึงกล้าที่จะสั่งทักษิณที่เป็นโคตพ่อมึงให้ทำนั้นทำนี่รึป่าวละ มึงกล้าเรียกเอ้ยโอบามาโครตพ่อแห่งประชาธิปไตยมึงมานี่มาขัดรองเท้าสิ มึงกล้ามั้ยไอ้ใจ และเขาจะมารับใช้อย่างที่มึงต้องการหรือไม่ กูกลัวแต่มึงจะต้องยืนตัวตรงมือกุมไข่หำตัวโค้งแล้วก็ขานรับ ได้ครับท่านได้ครับนาย นี้เหรอประชาธิปไตยที่บิดามึงสั่งสอนมา ไหนว่ามึงหรือประชาชนเป็นใหญ่ ก็ไม่เคยเห็นคนขอทาน แม่ค้าหาบเร่ กรรมกร คนงาน คนพิการ สามารถกวักมือส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งมาใช้งานได้สักคน กูเห็นแต่มันมากราบไหว้ตอนมันจะมาเลือกตั้งพ่อมันได้ตำแหน่งมันก็ลืมประชาชน ไหนไอ้ใจสัตว์มึงอธิบายมาสิ มึงสอนกูหน่อยเถอะไอ้ลูกจีนใจสัตว์ประชาธิปไตยประชาชนเป็นใหญ่ใหญ่แค่ไปกากบาทเลือกตั้ง2นาทีแค่นั้นเหรอ ไอ้ใจประชาธิไตยมึงเป็นแบบนี้ใช่มั้ย พวกส.สมึงนั้นแหละอำมาตย์ตัวจริง หรือมึงจะเถียงกู มึงเคยเห็นส.สถูกดำเนินคดีมั้ย ต้องมีรถตำรวจนำ ไหนว่าเท่าเทียมกัน แล้วทักษิณพ่อมึงไปกราบอำมาตย์เขมรทำไมไอ้เหี้ยมึงเข้ามาไทยมึงโดนตีนแน่

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สักวันคนไทยจะต้องออกจากถ้ำ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชนประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน ประชาชน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

คนหลายคนถูกกักขังอยู่ภายในถ้ำแห่งหนึ่งมาตั้งแต่วัยเด็ก พวกเขาถูกบังคับให้นั่งหันหน้าเข้าหาผนังถ้ำด้านในสุด ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับปากถ้ำ คนเหล่านั้นนั่งหันหลังให้กับปากถ้าตลอดเวลา พวกเขาต้องนั่งเป็นรูปปั้นเพราะถูกล่ามโซ่ที่ขาและใส่ขื่อคาที่คอ จึงไม่สามารถแม้จะเหลียวมองเพื่อนนักโทษที่นั่งอยู่ข้าง ๆ พวกเขานั่งประจันหน้าเข้าหาผนังถ้ำ บริเวณด้านหลังนักโทษเหล่านั้น มียกพื้นลาดสูงขึ้นไปจนถึงปากถ้ำที่มีแสงสว่างจากโลกภายนอกสาดเข้ามารำไร ใกล้กับปากถ้ำมีกองไฟลุกโชนอยู่ แสงไฟแผ่ออกไปจับที่ผนังถ้าด้านหน้านักโทษ และในบริเวณระหว่างด้านหลังนักโทษกับกองไฟ มีคนอีกกลุ่มหนึ่งเดินไปมาขวักไขว่ ในมือคนเหล่านั้นมีภาชนะรูปปั้นและหุ่นจำลองของสัตว์ต่าง ๆ เงาของคนที่เดินและสิ่งของในมือที่ไปทาบอยู่ที่ผนังถ้ำด้านหน้านักโทษทั้งหลาย พวกนักโทษเห็นเพียงเงาที่ผนังถ้ำ แต่ไม่อาจเหลียวมองดูที่มาของเงา เนื่องจากนักโทษเห็นเงาเหล่านั้นมาตั้งแต่วัยเด็ก พวกเขาจึงไม่ได้คิดว่าภาพที่เห็นเป็นแค่เงา พวกเขาถือว่าสิ่งที่เห็นเป็นจริงในตัวเอง และเมื่อคนที่เดินอยู่ด้านหลังพูดคุยกัน นักโทษก็คิดว่าเป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากภาพที่ผนังถ้ำ
นักโทษคนหนึ่งถูกปลดปล่อยจากพันธนาการ เขาสามารถหันกลับไปด้านหลัง และมองเห็นกลุ่มคนอันเป็นที่มาของเงาบนผนังถ้ำ เขาประหลาดใจมากที่พบว่า คนเหล่านั้นกับเงาที่ผนังถ้ำเคลื่อนไหวไปมาพร้อมกัน
เขาจะสรุปตามความเคยชินว่า สิ่งที่เขาค้นพบใหม่เป็นภาพลวงตา สิ่งที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำต่างหากที่เป็นของจริง
ต่อเมื่อคนอื่นมาอธิบายชี้แจงจึงเข้าใจว่า ตัวเองได้หลงผิดอยู่นานที่เคยเชื่อว่าเงาบนผนังถ้าคือของจริง
เขาเดินออกจากถ้ำไปสู่โลกภายนอก ได้เห็นคน สัตว์ สิ่งของ และพระอาทิตย์ เขาได้รู้จักโลกดีกว่าแต่ก่อน แล้วหวนนึกถึงเพื่อนนักโทษผู้ยังติดอยู่ในถ้ำ เขาจึงกลับเข้าถ้ำไปหาคนเหล่านั้น แล้วพยายามชี้แจงแก่พวกชาวถ้ำว่าภาพที่พวกเขากำลังเห็นอยู่บนผนังถ้ำเป็นเพียงเงา จึงไม่ใช่ของจริงอย่างที่เขาเชื่อกันในสังคมชาวถ้ำ
แต่เพื่อนนักโทษจะไม่ฟังคำพูดของเขา แล้วเพื่อนนักโทษกลับชี้ไปยังผนังถ้ำและบอกว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นบนผนังถ้ำทั้งหมดเป็นความจริง ทั้งยังคิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว ท้ายที่สุดนักโทษเหล่านั้นก็ฆ่าเขา.......

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น