วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความอับจนของ “ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง”


ทุกวันนี้คนไทยถูกเป่าหูด้วยเศรษฐกิจพอเพียงทุกวัน เหมือนกับว่าเป็นทางออกสำหรับประเทศไทย มันคืออะไร? นำมาใช้อย่างไร? ต่างจากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณอย่างไร? ทำไมทหารเผด็จการ คมช. นำมาบรรจุในรัฐธรรมนูญปี ๕๐? ทำไมรัฐบาลไทยอ้างว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่จะนำไปสอนชาวโลกได้??? แล้วทำไมมีคนโจมตีแนวคิดนี้อย่างรุนแรงในวารสารเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศ?

ผมขออ้างอิงคำพูดของคนขับรถแทคซี่คนหนึ่งในกรุงเทพฯ เพราะคนขับคนนี้สะท้อนความคิดของคนส่วนใหญ่ เขาบอกผมว่า "สำหรับคนข้างบนเขาพูดง่าย เรื่องพอเพียง ไปไหนก็มีคนโยนเงินให้เป็นกระสอบ แต่พวกเราต้องเลี้ยงครอบครัว จ่ายค่าเทอม เราไม่เคยพอ” ในแง่นี้จะเห็นว่าคนจนไม่น้อยมองว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคำพูดของคนชั้นบน เพื่อให้เรารู้จัก “พอ” (ไม่ขอเพิ่ม) ท่ามกลางความยากจน และเป็นคำพูดของคนที่ไม่เคยพอเพียงแบบคนจนเลยอีกด้วย ...

บทความของอาจารย์ พอพันธ์ อุยยานนท์ (๒๕๔๙ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กับบทบาทการลงทุนทางธุรกิจ ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร (บรรณาธิการ) “การต่อสู้ของทุนไทย” สำนักพิมพ์มติชน) แสดงให้เห็นว่าธุรกิจสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีการลงทุนกว่า 45 พันล้านบาท ไม่น่าจะเรียบง่ายอะไร ...แล้วพอเรามาดูค่าใช้จ่ายของวังต่างๆ ยิ่งเห็นชัด

ดังนั้น เศรษฐกิจพอเพียง เป็นลัทธิล้าหลังของคนชั้นสูงเพื่อสกัดกั้นการกระจายรายได้และสกัดกั้นการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เป็นลัทธิเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนที่รวยที่สุด และที่น่าปลื้มคือคนจนทั่วประเทศเข้าใจประเด็นนี้ ในขณะที่นักวิชาการและคนชั้นกลางยังหลงใหลกับลัทธิพอเพียงอยู่สำหรับพระราชวัง ความพอเพียงหมายถึงการมีหลายๆ วัง และบริษัททุนนิยมขนาดใหญ่เช่นธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับทหารเผด็จการความพอเพียงหมายถึงเงินเดือนสูงจากหลายแหล่ง

และสำหรับเกษตรกรยากจนหมายถึงการเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบากโดยไม่มีการลงทุนในระบบเกษตรสมัยใหม่ขบวนการเอ็นจีโอ โดยเฉพาะสาย “ชุมชน” (ดูงาน อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา) จะคิดกันว่าแนว “พอเพียง” สอดคล้องกับสิ่งที่เขาเสนอมานานเรื่องการปกป้องรักษาชุมชนให้อยู่รอดได้ท่ามกลางพายุของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ แนวคิดชุมชนแบบนี้มองว่าเราควรหันหลังให้รัฐ ไม่สนใจตลาดทุนนิยมมากเกินไป พยายามสร้างความมั่นคงของชุมชนผ่านการพึ่งตนเอง ผ่านการแลกเปลี่ยนแบบมีน้ำใจและความเป็นธรรม หรือปฏิเสธบริโภคนิยม มันเพ้อฝัน หมดยุค(ถ้าเคยมียุค) แต่เขาหวังดี ไม่เหมือนพวกที่เสนอลัทธิพอเพียง

หลังรัฐประหาร 19 กันยา มีการนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระราชวัง มาเป็นนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีคลังคนแรกของ คมช. ในวันที่ 2 พ.ย. 49 อธิบายว่า... “เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอย่าขยายเกินกำลังทุนที่มี.... ให้พอดี... ไม่เกินตัว... เป็นแนวเศรษฐศาสตร์พุทธ.... ต้องมีการออม... การลดหนี้ครอบครัว..เป็นแนวสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน” แต่พอเราอ่านรายละเอียดแล้วพยายามสรุป มันมีสาระเพียงว่า “อย่าทำให้พัง ล้มละลาย” แค่นั้น หรือ “ใครรวยจ่ายมากได้ ใครจนต้องจ่ายน้อย” เด็กอายุ4 ขวบคงคิดแบบนี้ได้ ไม่ต้องมีสมองใหญ่โต

ปรีดิยาธร เทวกุล เสนออีกว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญแก่เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพ.....การรักษาวินัยการเงินการคลังของภาครัฐ” “การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีทำได้” และเราก็เห็นว่ารัฐบาล คมช. ผลักดันนโยบายเสรีนิยมสุดขั้วของกลุ่มทุนมากกว่าไทยรักไทยเสียอีก เช่นการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ การตัดงบประมาณสาธารณสุข การเพิ่มงบประมาณทหาร การผลักดัน FTA (สัญญาค้าเสรี) กับญี่ปุ่น หรือการเดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจรถไฟและไฟฟ้าเป็นต้น ในกรณีไทยรักไทย เขาทำนโยบายเสรีนิยมทั้งหมดดังกล่าวด้วย แต่คานมันโดยใช้นโยบายการเพิ่มค่าใช้จ่ายรัฐ (แบบเคนส์) ในเรื่องกองทุนหมู่บ้าน หรือสาธารณูปโภค หรือ30บาทรักษาทุกโรค พูดง่ายๆ ไทยรักไทย ใช้นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนาน ทั้งตลาดเสรีและรัฐนิยมพร้อมกัน

เราต้องฟันธงว่าลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงไม่มีเจตนาที่จะลดอำนาจกลุ่มทุนและอิทธิพลคนรวยแต่อย่างใด ตรงกันข้ามมันเป็นคำพูดที่พยายามหล่อลื้นการหันไปสนับสนุนตลาดเสรีของนายทุนใหญ่อย่างสุดขั้ว และรัฐธรรมนูญ คมช. ปี ๕๐ ก็ยืนยันสิ่งนี้

แล้วสาระของเศรษฐกิจพอเพียงมีมากกว่านี้ไหม? เราถือว่าเป็นทฤษฏีเศรษฐกิจได้ไหม? วารสาร The Economist เขียนไว้ว่ามันเป็นความคิดเศรษฐศาสตร์ที่เหลวไหลเพ้อฝัน เพียงแต่ “ประทับตราราชวัง” เท่านั้น

เศรษฐกิจพอเพียงไม่เอ่ยอะไรที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ เช่นการใช้รัฐหรือการเน้นตลาดในการบริหารเศรษฐกิจ หรือวิธีกระจายรายได้ของประเทศ และไม่พูดถึงสวัสดิการหรือรัฐสวัสดิการเลย ในเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจมีแต่จะเสนอให้คนจนไป “ยากจนแต่ยิ้ม” กับญาติในชนบท

ในที่สุดสิ่งที่จะสร้างความยั่งยืนและความพอเพียงแท้กับคนส่วนใหญ่คือการสร้างระบบรัฐสวัสดิการ และต่อจากนั้นต้องเดินหน้าสู่ “สังคมนิยม” ที่ยกเลิกการใช้กลไกตลาดในการแจกจ่ายผลผลิต หันมาใช้การวางแผนโดยชุมชนและประชาชนในลักษณะประชาธิปไตย และนำระบบการผลิตมาเป็นของกลาง บริหารโดยประชาชนเอง ซึ่งหมายความว่าต้องยกเลิกระบบชนชั้นที่บางคนรวยและควบคุมทุกอย่าง ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจนและเป็นเพียงลูกจ้างหรือเกษตรกรยากจน

สรุปแล้วเศรษฐกิจพอเพียง เป็นลัทธิของคนชั้นบนที่รวยที่สุดในสังคม เพื่อกล่อมเกลาให้คนส่วนใหญ่ก้มหัวยอมรับสภาพความยากจน มันเป็นลัทธิของพวกที่ยังเชื่อว่าไทยเป็นทาส ไทยเป็นไพร่ และที่สำคัญ พวกนี้พยายามใช้กฎหมายหมิ่นฯและการปกปิดเสรีภาพ เพื่อไม่ให้เราวิจารณ์ลัทธิที่อับจนอันนี้

แต่ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่โง่ หูตาสว่างแล้ว เข้าใจเรื่องนี้ได้ดี...

และนั้นคือสิ่งที่พวกข้างบนกลัวที่สุด!


ใจ อึ๊งภากรณ์


หมายเหตุ : ในบทความนี้ยังมีส่วนที่สองซึ่งว่าด้วยเรื่อง "ถ้าเราไม่สามารถใช้ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียงได้ ในวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน เราจะมีข้อเสนออะไร?" ผู้จัดเก็บบทความมิได้นำส่วนที่สองมาลงไว้ด้วย ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ "ที่มาของบทความ"ด้านล่างได้ครับ และต้องขออภัยต่อผู้เขียนบทความที่ ไม่ได้ลงบทความเต็มมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

ที่มา : siamrd.blog : ความอับจนของ “ลัทธิเศรษฐกิจพอเพียง”

ปล.
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

9 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากเลยนะครับ สำหรับบทความ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระพุทธเจ้าสอนไว้ หากต้องารให้คนยกย่องเชิดชู ต้องรู้เป็นผู้เสียสละ ละแล้วซึ่งทรัพสินเงินทอง ลาภยศ อย่าอยู่ในความสุข บนความทุกข์ของประชาชน อย่าเป็นคนแสวงหาผลประโยชน์
หากมีใจบริสุท ด้วยจิตใจอันแรงกล้า เห็นแก่ประชาชนส่วนใหญ่ จะมีใครๆกล่าวขานนานนับ 10,000 ปี สละได้ไหม ลาภยส ทรัพย์สินเงินทอง หากละกิเลศได้ โลกนี้จะมีพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 และจะยิ่งใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า
โลกปัจจุบัน ไม่สามารถปิดบังอะไรได้อีกแล้ว ยิ่งทำยิ่งแย่ ยิ่งแก้ยิ่งเสื่อม ยี่งเหี้ยมยิ่งดับ ยิ่งบังคับยิ่งแตก
ในโลกแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกคนย่อมเท่าเทียมกัน นี้คือหลักการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่เจริญแล้ว สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย โลกวันนี้ 205 ประเทศ มีเพียง 20 กว่าประเทศ ที่ยังปกครองโดยมีกษัตย์ รวมทั้งไทย
ปรัชญาในการปกครองมีเพียง 2 ระบบเท่านั้น
1.ราชานิยม "ปกป้องกษัตย์ รักษาราชบัลลัง กษัตย์มีอำนาจสูงสุด กษัตย์เป็นสมมุติเทพ"
2.ประชานิยม "ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน"
-เสรีนิยม
-สังคมนิยม
ชาติในยุโรป ได้ต่อสู้กับแนวคิดนี้มานับพันปี แม้แต่ จีน ซี่งเป็นชนชาติที่ยิ่งใหญ่ ก็ต่อสู้มายาวนาน มีผู้กล้าล้มตายต้องแลกมาด้วยชีวิตมากมาย กว่าประชาชนจะได้เป็นเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริง
วันนี้ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นเท่านั้นเอง ชาวไทยยังต้องต่อสู้อีกยาวนาน อาจ 10 ปี 50ปี 100ปี 1000ปี อยูที่ความกล้าหาญของประชาชน หากทุกคนรักประชาธิปไตย ยิ่งชีพ สละได้แม้ชีวิต เพียง 1วัน 10วัน 100วัน อำนาจอธิปไตยก็จะเป็นของประชาชนโดยบริสุทธิ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อ่านมานานและ ไม่รู้จะด่าว่าอะไรดี
ไอ้พวกความคิดอิจฉาริษยา เห็นคนอื่นใหญ่กว่าตัวไม่ได้ อ้างประชาชนบ้างหละ อ้างความเท่าเทียมบ้างหละ
ควายเอ้ย ยิ่งเขียนก็ยิ่งแสดงถึงความโง่ ที่ไม่รู้เลยว่า หลักการของเศรฐกิจพอเพียงคืออะไร โครตเง่ามึงทำอะไรให้ชาติบ้างวะ กูอยากรู้
และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลแต่ละรัชการ รักษแผ่นดินใส่สงบร่มเย็นให้คนเหี้ยๆๆอย่างมึงอยู่อย่างสบาย ทำไมแค่นี้ทั้งเกียรติและความเคารพรวมทั้งทรัพสินเงินทองท่านจะมีไม่ได้

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นกำลังใจให้ ^^

และจะเข้ามาอ่านทุกเรื่องค่ะ ^^

ขอบพระคุณ ที่ช่วยเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง FACT ให้ได้เข้าใจอะไรมากขึ้น ^_^

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เรารักในหลวงที่สุด

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริงๆแล้วก็ไม่ต่องไปเจาะจงด่าใครหรอกครับ

แต่ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของคุณเรื่องการถ่ายทอดและปลูกฝัง "แนวคิด" ของระบบการศึกษาไทยที่ผลิตทรัพยากรณ์บุคคลขเปเป็นฟันเฟืองของระบบ

มันดีต่อผู้ปกครองและประเทศ แต่น่าสงสารคนจนที่หมดโอกาสพลิกชีวิต หรือ ก้าวสู่การเป็นคนรวยสักครั้งในชีวิต

คนรวยก็รวยยิ่งๆขึ้นไป ส่วนคนจนที่ยอมรับแนวคิดเหล่านี้ ก็ยังคงจนต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน น่าสงสาร

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ที่สุดของชีวิต คือ มีปัจจัยสี่ อย่างเพียงพอ
1. มหาเศรษฐีหรือยาจก กินข้าวแล้วก็อิ่ม 1 มื้อ เท่ากัน
2. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีเสื้อผ้ากี่ชุด ก็ใส่ได้ทีละชุด เท่ากัน
3. มหาเศรษฐีหรือยาจก มีบ้านหลังใหญ่แค่ไหน พื้นที่ที่ใช้จริงๆ ก็เหมือนกันคือ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว เหมือนกัน
4. มหาเศรษฐีหรือยาจก จะมียารักษาโรคดีแค่ไหน ยื้อชีวิตไปได้นานเพียงไร สุดท้ายก็ต้องตาย เหมือนกัน
-มองทะลุวัตถุนิยม และเห็นความหมายที่แท้จริงของชีวิต
-เงินเป็นมายา ข้าวปลาสิของจริง
- เงินเป็นเพียงสิ่งสมมติที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเท่านั้น
-เงินมีใช้เท่าจำเป็นที่เหลือก็แบ่งปันคนอื่น
-เมื่อเห็นดังนี้ ก็ไม่ต้องเป็นทาสทุนนิยม(เงิน)

นศท กล่าวว่า...

ชาติของเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
ก็เพราะบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ เราต้องบำรุงศาสนา
เราต้องรักษาพระมหากษัตร์

Unknown กล่าวว่า...

มึงอะโง่อีควย