วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

ถึงบรรดาผู้จงรักภักดี เวลาคุณพูดว่า "ในหลวงทรงทำดี" (คนไทยจึงเคารพ) ถ้าผมถามว่า "คุณรู้ได้อย่างไร?" พวกคุณตอบไม่ได้หรอก



คำชี้แจง: ข้อเขียนนี้ ผมเขียนเสร็จตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2550 แต่ไม่นำออกเผยแพร่ เพราะความกลัวการถูกเล่นงานจากอำนาจมืด หรือจากผู้ไม่มีสติปัญญา อย่างไรก็ตาม หลังจากเวลาผ่านไป และผมได้คิดทบทวนอย่างหนักแล้ว ผมยังเห็นว่า ประเด็นที่นำเสนอ มีความสำคัญ และเชื่อว่า การนำเสนอนี้ ไม่ผิดกฎหมาย และที่สำคัญ ไม่ผิดหลักประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของโลกปัจจุบัน ที่ทุกคนอ้างว่ายอมรับ ผมจึงขอนำเสนอในทีนี้ เพื่อให้พิจารณาถกเถียงกัน ผมขอยืนยันว่า ผู้ที่มั่นใจในความถูกต้องของความเชื่อของตน ต้องพร้อมที่จะโต้แย้ง หักล้าง ด้วยเหตุผล กับความเห็นที่ไม่ตรงกับความเชื่อของตน ไม่ใช่อ้าง หรือ คุกคาม ด้วยกำลัง หรือการบังคับ ซึ่งเพียงแต่แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อของตน ไม่มีความมั่นคงในความถูกต้องอย่างแท้จริงเท่านั้น



เอาคำ "ในหลวงทรงทำดี"
มาจาก กระทู้หนึ่งของบรรดาผู้จงรักภักดี
"คนไทยส่วนใหญ่เคารพในหลวงเพราะความดี ไม่ใช่เพราะเป็นเจ้า"

ถ้าผมถามว่า "คุณรู้ได้อย่างไร" ว่า "ในหลวงทรงทำดี"ผมรับรองว่า คุณตอบไม่ได้หรอกคือ อย่างมากที่สุด ที่คุณจะทำได้ คือ ยกข้อความประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับ การ "ทำความดี" ของในหลวง ที่ราชการเผยแพร่ มาพูดซ้ำ (ผมพยายามหลีกเลี่ยง คำที่จะถูกหาว่า "มีอคติ" อย่าง "ข้อความโฆษณาชวนเชื่อ")ที่ผมบอกว่า คุณตอบไม่ได้ ก็เพราะ ในการยก "ข้อความประชาสัมพันธ์" เหล่านั้นมา คุณไม่มีทาง แสดงให้เห็น ว่า ข้อความเหล่านั้น จริง ไม่จริง เพียงใด

เพราะอะไร?

เช่นเดียวกับ "ข้อความประชาสัมพันธ์" ทุกอย่าง ของหน่วยราชการ, ของบริษัทเอกชน ของบุคคล การจะรู้ว่า จริง ไม่จริง เพียงใด ต้องมีการ ตรวจสอบ ประเมิน อย่างเป็นอิสระ อย่างเสรี อย่างไม่ถูกบังคับให้สรุปล่วงหน้า ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ วิเคราะห์ ในวงกว้าง ชี้ถูกชี้ผิดได้ ฯลฯ ผ่านกระบวนการเหล่านี้ จึงจะได้ข้อสรุปออกมาว่า "ข้อความประชาสัมพันธ์" ต่างๆนั้น จริง ไม่จริง เพียงใด

แต่ในประเทศไทย ไม่อนุญาตให้ทำสิ่งนี้ ต่อเรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ดังนั้น ที่คุณทำได้ คือ ยก "ข้อความประชาสัมพันธ์" เกี่ยวกับ "ในหลวงทรงทำดี" มาพูดซ้ำ

และคนฟัง ก็ได้แต่ ต้องยอมรับ เท่านั้น

แต่จะพิสูจน์ แสดงให้เห็นจริงๆ ทำไม่ได้หรอก


ให้ผมยกตัวอย่างจริงๆ ตัวอย่างหนึ่ง

ไม่นานมานี้ ผมอ่านเจอที่เว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง มีคนหนึ่งมาแสดงความจงรักภักดี แล้วยืนยันว่า ที่เขารู้สึกเช่นนั้น เพราะเขา "เห็นมาด้วยตาตัวเอง" แล้วก็ยกตัวอย่าง "โครงการพระราชดำริ" โครงการหนึ่ง ซึ่งเขากล่าวว่า ทำให้หมู่บ้านของญาติเขาในเขตชนบท มีน้ำใช้

ขอให้ผมลอง ยอมรับ แต่ต้นว่า ประโยคที่ว่า "หมู่บ้าน ก. มีน้ำใช้ เพราะโครงการพระราชดำริ โครงการหนึ่ง" เป็นความจริง คือ ไม่ต้องตรวจสอบเรื่องนี้ ก็ได้ ข้ามเรื่องนี้ไป

แต่เพียงเท่านี้ แปลว่า "โครงการพระราชดำริ ที่ทำให้ หมู่บ้าน ก. มีน้ำใช้ เป็นโครงการที่ดี" (ดังนั้น "ในหลวงทรงทำดี" ซตพ.) ได้หรือไม่? ยังไม่ได้หรอกครับ

เพราะอะไร?


ทุกคนที่รู้จักการทำงานอะไรที่มีลักษณะของชีวิตจริง (แม้แต่ในชีวิตแคบๆส่วนตัว) และรู้จักคิดอย่างกว้างออกไปหน่อย ควรรู้ว่า ในการประเมินอะไร ไม่ใช่ดูที่จุดหนึ่ง จุดใด แคบๆ ไม่ใช่ดูที่ "ผลลัพท์" ลอยๆ แต่ต้องดูเรื่องอื่นๆประกอบด้วย

อย่างในกรณีตัวอย่างที่เพิ่งยกมา


สมมุติว่า การที่ "หมู่บ้าน ก. มีน้ำใช้ เพราะโครงการพระราชดำริ" ต่อให้เป็นจริงก็ตาม แต่ต้อง ทุ่มเงิน 100 ล้านบาท เพื่อให้ได้ผลลัพท์ "ที่ดี" นี้ (สร้างทางระบายน้ำไปให้ ปรับพื้นที่ สร้างทาง สร้างถนน ฯลฯ)

ในขณะที่ หมู่บ้าน ก. มีประชากรเพียง 10 หลังคาเรือน คือ ประมาณ 40-50 คน เท่านั้นแต่ขณะเดียวกัน มีความต้องการน้ำ หรือความต้องการอย่างอื่น (ไฟฟ้า, ถนน, โรงเรียน ฯลฯ) ในหมู่บ้านอื่น ในอำเภออื่น ในจังหวัด อื่น เป็นต้นและในหมู่บ้านเหล่านั้น ล้วนแต่มีประชากรอยู่มากกว่า หมู่บ้าน ก. หลาย 10 เท่าด้วยเงินลงทุนอย่างเดียวกัน อาจจะทำให้ ประชากร ในที่อื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเดียวกัน หรือมากกว่า หมู่บ้าน ก. ได้และมองในระดับทั่วประเทศ เงินงบประมาณ มีจำกัดในปีหนึ่งๆ ที่ไม่สามารถ ทำให้ทุกๆหมู่บ้าน ทุกๆแห่งได้คนที่รู้จักโลกที่เป็นจริง ไม่ต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มา ก็ย่อมทราบวาการประเมิน การใช้จ่ายเงิน ไม่สามารถมองที่ "ผลลัพท์" โดดๆ ได้ต้องมองปัจจัยแวดล้อม หลายอย่าง ว่า จะใช้จ่าย อะไรก่อน อะไรหลัง ที่ไหน ก่อน ที่ไหน หลังจึงจะมีประโยชน์สูงสุด มีความ "แฟร์" สูงสุด จริง


ดังนั้น การเปิดโอกาส ให้ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการ ได้ประโยชน์สูงสุด ได้ความ "แฟร์" สูงสุดนี้

แต่ทุกอย่างที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ รวมทั้ง โครงการพระราชดำริ ต่างๆ ไม่อนุญาติ ให้ทำเช่นนี้ได้ ไม่อนุญาตให้ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ ประเมิน วิเคราะห์เปรียบเทียบได้


ดังนั้น การยก "ข้อเท็จจริง" เพียงแค่ว่า "หมู่บ้าน ก. มีน้ำใช้ เพราะโครงการพระราชดำริ โครงการพระราชดำรินั้นจึงเป็นโครงการที่ดี" จึงไม่เพียงพอ


"ข้อมูลประชาสัมพันธ์"
ทั้งหมด เกี่ยวกับ สถาบันกษัตริย์ ล้วนมีลักษณะนี้ทั้งนั้น


ความจริง ยิ่งกว่านี้ด้วยซ้ำ เพราะในตัวอย่างนี้ ผมยกประโยชน์ ด้วยการสมมุติล่วงหน้าว่า "หมู่บ้าน ก. มีน้ำใช้ .." เป็นจริง คือ มี "ผลลัพท์" จริงแต่แม้แต่เรื่องนี้ ก็ไม่มีทางรู้ได้เช่นกัน เพราะไม่อนุญาติให้ประเมิน ให้ศึกษาอย่างเปิดกว้าง หรือวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างที่มีคนยกกรณี "ปากพนัง" มาแบบระมัดระวัง ก็พอจะเห็นว่า โครงการพระราชดำริ อาจจะไม่เพียง ไม่ได้ประโยชน์เท่านั้น อาจจะนำมาซึ่งผลเสียหายใหญ่โตก็ได้

อย่างที่มีคนยกกรณี "ปากพนัง" มาแบบระมัดระวัง ก็พอจะเห็นว่า โครงการพระราชดำริ อาจจะไม่เพียง ไม่ได้ประโยชน์เท่านั้น
อาจจะนำมาซึ่งผลเสียหายใหญ่โตก็ได้

ดูตัวอย่างข้อมูลบางส่วนได้จาก ที่นี่, ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่

แต่เรื่องนี้ ก็ไม่สามารถยกขึ้นมาโฆษณา แข่งกับ "ข้อมูลประชาสัมพันธ์" เรือ่ง "ในหลวงทรงทำดี" ได้สมมุติว่า เรื่องแบบ "ปากพนัง" สามารถยกขึ้นมาพูดได้ ทุกๆกรณี อย่างเปิดกว้าง อย่างเต็มที่และตรวจสอบ กับทุกๆพระราชกรณียกิจจริงๆ

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลจะออกมาอย่างไร?

พระราชกรณียกิจ ประเภท "ทรงเยี่ยมราษฎร" ฯลฯ ก็เช่นเดียวกับ กรณี "หมู่บ้าน ก." ที่ยกมา


นอกจากนั้น ในสังคมสมัยใหม่ ที่ความคิดเห็นของต่างคน ต่างกลุ่ม ต่างชุมชน มีความไม่ตรงกัน กระทั่งขัดแย้งกันอย่างมาก การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณของรัฐ ยังต้องเป็นเรื่องของการถกเถียง โต้แย้ง หาข้อสรุปว่า ควรจะให้ความสำคัญแก่เรื่องใด มากน้อยเพียงใด ในท่ามกลางความเห็นและผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกันของกลุ่มคนและชุมชนต่างๆ ซึ่งในสังคมสมัยใหม่ ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า ในที่สุดแล้ว ต้องออกมาในรูปของการนำเสนอทางเลือกที่ต่างๆกัน ในเชิงนโยบาย แล้วให้ประชาชนเลือกตั้งตัดสินเอาซึ่งก็ต้องยอมให้มีกระบวนการของการตรวจสอบข้อมูล ประเมินข้อดี ข้อเสีย กระทั่งวิพากษ์วิจารณ์โจมตีซึ่งกันและกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถชั่งน้ำหนักตัดสินใจได้ ว่าจะเลือกข้อเสนอใด หรือพรรคการเมืองที่นำเสนอข้อเสนอใด

ดังนั้น ในสังคมสมัยใหม่จึงถือกันว่า การพัฒนาหรือการใช้ทรัพยากรของรัฐที่ดีที่ถูกต้อง ก็คือการพัฒนาที่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบ ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ และในที่สุด ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เช่นนี้เท่านั้น

แต่ "โครงการพระราชดำริ" เป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนี้ได้

และด้วยเหตุนี้ โดยบรรทัดฐานของสังคมสมัยใหม่ จึงไม่อาจถือว่า เป็นโครงการที่ดีที่ถูกต้องได้อย่างแท้จริง


ลองถามตัวเองดีๆทำไมเวลาได้ยิน "ข้อมูลประชาสัมพันธ์" จาก นักการเมือง รัฐบาล เอกชน ฯลฯคนจึงไม่ค่อยยอมเชื่อ ก็เพราะในการตรวจสอบ ในการประเมิน วิเคราะห์แล้ว บ่อยครั้ง พบว่า ไม่ตรงกับ "ข้อมูลประชาสัมพันธ์" นั้น

ในกรณีสถาบันกษัตริย์ ในเมื่อ ตรวจสอบไม่ได้ วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ประเมิน วิเคราะห์ ไม่ได้จะได้ข้อสรุปได้อย่างไรว่า "ในหลวงทรงทำดี"?? ยกเว้นแต่คุณต้องบังคับให้เชื่อ แบบที่ฝรั่งเรียกว่า blind faith (ศรัทธาอย่างมืดบอด) เท่านั้น


ตามกฎหมาย บังคับว่า ทุกคน ต้อง "เคารพสักกาะ" ในหลวงในแง่นี้ ผมก็ต้อง "เคารพสักการะ" ในหลวง ตามกฎหมายเหมือนกัน แต่ถ้าคุณต้องการพูดยืนกราน ในแง่ที่จะให้เชื่อ "ข้อมูลประชาสัมพันธ์" เรื่อง "ในหลวงทรงทำดี"ว่าเป็นความจริงแน่นอน

คุณทำไม่ได้หรอกครับ


เพราะคุณเอง ก็ตอบไม่ได้หรอกว่า "คุณรู้ได้อย่างไร"


หมายเหตุ: ผมตระหนักดีว่า โดยรูปแบบทางการนั้น “โครงการพระราชดำริ” จำนวนหนี่ง สิ่งที่ “รัฐบาล” ดูแลดำเนินการ หรือ ทำในนามรัฐบาลในทางนิตินัย (จำนวนหนี่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด มีโครงการประเภทที่ไม่ใช่เลยก็มี เช่นที่เรียกว่า “โครงการหลวง”) แต่ในทางปฏิบัติเป็นอีกเรื่องหนีง คือการมีบทบาทสำคัญชี้ขาดของราชสำนัก ที่สำคัญ หากถือเป็นการกระทำหรือผลงานของรัฐบาลจริง ก็ย่อมไม่สามารถนำมา “ประชาสัมพันธ๋” ในลักษณะที่ว่า “ในหลวงทรงทำดี” โดยยกตัวอย่างโครงการเหล่านี้ในลักษณะเป็น “ผลงาน” ของพระองค์ได้ อย่างที่ทำกันอยู่ และเป็นประเด็นที่ยกมาวิจารณ์ในบทความข้างต้น


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



คำชี้แจงเพิ่มเติม (1 มกราคม 2552): บทความสั้นๆนี้ – ดังที่ได้กล่าวไว้ใน “คำชี้แจง” ข้างล่าง ตอนต้นของตัวบทความ – เขียนขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 คือประมาณปีเศษมาแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ ผมคิดจะเผยแพร่บทความนี้หลายครั้งหลายหน มีครั้งหนี่ง ได้ส่งไปให้เว็บไซต์แห่งหนี่ง แต่ยังไม่ทันข้ามวัน ผมก็ส่งอีเมล์ขอ “ถอนคืน” อีกครั้งหนึ่ง ช่วงฤดูร้อนปี 2551 ผมคิดจะเผยแพร่บทความนี้อีก จึงลองส่งให้สมาชิกบอร์ดฟ้าเดียวกัน 4-5 คนอ่านก่อน ทุกคนมีความเห็นว่า เป็นการเสี่ยงเกินไปที่จะเผยแพร่ และเมือ่ไม่กี่เดือนมานี้เอง ผมได้ส่งไปให้เว็บไซต์แห่งหนี่งพิจารณาอีก – คราวนี้ ไม่ “ถอนคืน” – แต่ทางเว็บไซต์ก็เห็นว่า เป็นการเสี่ยงเกินไป ไม่สามารถเผยแพร่ได้ (ตัว “คำชี้แจง” ที่อยู่ตอนต้นบทความ เขียนขึ้นในระหว่างการคิดจะเผยแพร่ หลายครั้งหลายหนนี้ จำไม่ได้เสียแล้วว่า เมื่อไร)

ความจริง ถ้าใช้บรรทัดฐานแบบในประเทศประชาธิปไตยทั่วไป การอภิปรายที่ทำในบทความนี้ ต้องจัดว่า “ไม่เห็นมีอะไรมากมายเลย” แต่ความยากลำบากในการแม้แต่จะคิดจะเผยแพร่บทความทำนองนี้ในประเทศไทย โดยตัวเองสะท้อนให้เห็นประเด็นสำคัญที่ตัวบทความต้องการเสนอ นั่นคือ การพูดเรื่อง “พระมหากษัตริย์ทรงทำดี” หรือ “พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทย” หรือ “ประชาชนไทยจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์” ต่างๆนั้น ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ห้ามใครโต้แย้งหรือพูดเป็นอย่างอื่น ถ้าจะทำ ก็ต้องทำด้วยความเสี่ยงต่อปัญหาที่ตามมาอย่างยิ่ง จนไม่มีใครอยากจะทำ พูดอีกอย่างคือ “ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์” ที่พูดกันราวกับว่าเป็นเรื่องที่ “มอบให้ด้วยใจรัก/ด้วยใจสมัคร” ล้วนๆนั้น แท้จริงแล้วตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบังคับ, การทำให้กลัวว่า ถ้าไม่จงรักภักดีแล้ว จะมีเรื่องยุ่งยากเดือดร้อน บวกกับความเชื่อแบบ blind faith ที่พิสูจน์-แสดง ไม่ได้ ดังที่อภิปรายในบทความ

บทความนี้ จงใจเขียนขึ้นเพื่อ โต้แย้ง หรือ dialogue กับ “ผู้จงรักภักดี” (royalists) ที่คิดว่า ตัวเองเป็นคนมีเหตุมีผล และเชี่อว่า ความจงรักภักดีของตนนั้น สามารถยืนอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้การบังคับ หรือความรุนแรงทางกฎหมายมาจัดการกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับตน เป็นการ “ท้าทาย” (challenge) ให้คนเหล่านี้ ให้เหตุผล (justify) ความจงรักภักดีของตน ที่ไม่ใช่เพียงการอ้าง “การประชาสัมพันธ์ด้านเดียว” อย่างที่ทำกันอยู่

ช่วงหนี่ง ในระหว่างปีทีผ่านมา ที่มีผู้ใช้ชื่อว่า “guaycheng” มาโพสต์กระทู้ที่เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน ผมเคยคิดว่า คนเช่นนี้แหละที่บทความนี้ต้องการจะ dialogue ด้วย และคิดจะเผยแพร่บทความนี้ ถึงกับได้เขียนเชิง “คำนำ” สั้นๆ “ถึง guaycheng” โดยเฉพาะ (นี่คือหนี่งในหลายครั้งที่คิดจะเผยแพร่บทความ แต่สุดท้าย ไม่กล้าทำ ดังกล่าวข้างต้น) แต่ขณะนี้ ดูเหมือนผมจะทำ “คำนำ” ดังกล่าวหายไปเสียแล้ว ผมเชือ่ว่านอกจากคุณ guaycheng แล้ว ยังมีอีกหลายคน ที่มีลักษณะเช่นนี้ ที่สามารถจะ dialogue ด้วยเหตุด้วยผลได้ จึงเขียนบทความเช่นนี้ขึ้น และสำหรับท่านที่ติดตามอ่านกระทู้ที่ผมโพสต์ที่บอร์ดฟ้าเดียวกัน อาจจะรู้สึก “คุ้นๆ” กับประเด็นหลัก (argument) ที่ผมใช้ในบทความนี้ ทั้งนี้ก็เพราะ เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ “ทดลอง” นำเอาประเด็นนี้ มาดัดแปลงโพสต์เป็นกระทู้เพื่อตอบโต้ผู้ใช้นามว่า Modern Monarchy (ดูกระทู้นั้น ทีนี่ และกระทู้ต่อเนื่อง ทีนี่ )


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
1 มกราคม 2552


ที่มา : เวบบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน : ถึงบรรดาผู้จงรักภักดี เวลาคุณพูดว่า "ในหลวงทรงทำดี" (คนไทยจึงเคารพ), ถ้าผมถามว่า "คุณรู้ได้อย่างไร?" พวกคุณตอบไม่ได้หรอก

23 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในหลวงทรงงานเพื่อพัฒนาประเทศมากว่า 60 ปีอาจไม่ถูกใจคนทุกคนได้ แต่นีคือตัวอย่างการทำงานเพื่อประเทศชาติที่เราควรยึดเป็นแบบอย่าง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่เสีนสละยิ่ง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าไม่มีพระองค์ท่านแล้วใครละที่จะคิดริเริ่มในการจัดทำโครงการขึ้นมา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระองค์ท่านทรงเหน็จเหนื่อเพื่อความสุขของปวงชนชาวไทยเรามาก
ทำไมยังจะมีคนที่มีความคิดเห็นอย่างนี้อยู่อีก
อยากบอกว่าเสียใจ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่ทราบว่าคุรคิดได้อย่างไร
นำเสนอบทความหรือข้อความแบบนี้มาเพื่ออะไร
ใยไม่ทำหน้าที่ของชนชาวไทยที่ดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อยากให้คุณคิดทบทวนดูดีๆ ว่าการกล่าวหรือการนำเสนอแบบนี้มันดีแล้วหรือไม่
ทำไมไม่นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดความรักสามัคคี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้าจะเทดทูลสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนื่อย ทรงเสียสละอย่างแท้จริง
ทรงทุ่มเทให้กับประชาชนของท่านมากมาย
อย่างนี้ยังบอกอีกว่าประองค์ท่านอยู่อย่างสบาย
ถ้าไมพระองค์ท่านแล้วโครงการทั้งหลายจะเกิดขึ้นไม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าไม่มีพระองค์ท่านแล้วใครละที่จะคิดริเริ่มในการจัดทำโครงการขึ้นมา
ในหลวงทรงงานเพื่อพัฒนาประเทศมากว่า 60 ปี
นีคือตัวอย่างการทำงานเพื่อประเทศชาติที่เราควรยึดเป็นแบบอย่าง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำไมมีคนคิดอย่างนี้อีกนะ
คุณไม่ให้ความเคารพสถาบันเลย
ไม่เคยที่จะมีจิตสำนึกที่จะรักบ้านเกิดของคุณเลยเหรอ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระองคืท่านทรงทำงานหนักมาตลอดเพื่อปวงประชา
ทำไมยังจะมีคนคิดแบบนี้และดูหมิ่นท่านอีก

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พูดดีได้ดีไป พูดชั่วนั้นเป็นบาปติดตัวไปตลอด
แก้ไขการพูดและความคิดใหม่ จากผู้อ่าน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โปลดใช้ความคิดในการพูดบ้าง
การดูหมิ่นสถาบันนั้น เป็นการผิดอย่างร้ายแรง
แค่การคิดก็ผิดแล้ว

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใครดูหมิ่นสถาบันองค์กษัตริย์ข้าจะสู้จนขีพวาย
จะปกป้องภูมิพลพระองค์ท่านให้พ้นภัย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ในหลวงทรงงานเพื่อพัฒนาประเทศมากว่า 60 ปีอาจไม่ถูกใจคนทุกคนได้ แต่นีคือตัวอย่างการทำงานเพื่อประเทศชาติที่เราควรยึดเป็นแบบอย่าง ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่ทราบว่าคุณคิดได้อย่างไร
นำเสนอบทความหรือข้อความแบบนี้มาเพื่ออะไร
ใยไม่ทำหน้าที่ของชนชาวไทยที่ดี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พูดดีได้ดีไป พูดชั่วนั้นเป็นบาปติดตัวไปตลอด
แก้ไขการพูดและความคิดใหม่ จากผู้อ่าน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พระองค์ท่านทรงเหน็ดเหนื่อย ทรงเสียสละอย่างแท้จริง
ทรงทุ่มเทให้กับประชาชนของท่านมากมาย
อย่างนี้ยังบอกอีกว่าประองค์ท่านอยู่อย่างสบาย
ถ้าไมพระองค์ท่านแล้วโครงการทั้งหลายจะเกิดขึ้นไม

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ใครดูหมิ่นสถาบันองค์กษัตริย์ข้าจะสู้จนขีพวาย
จะปกป้องภูมิพลพระองค์ท่านให้พ้นภัย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

บารมัในหลวงทรงปกป้องคุ้มครองประย็นเทศไทยและคนไทย ให้ได้อาศัยทำมาหากินบนแผ่นดินไทยอย่างสงบสุขร่มเย็นมาตลอดระยะเวลานับแต่ทรงครองราชย์ ผู้ที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทยทุกคนควรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ใครที่คิดไม่ดีต่อพระองค์ท่าน ถือได้ว่ามีพฤติกรรมเนรคุณ เนรคุณบุคคลที่ควรบูชา เนรคุณชาติ หาความเจริญไม่ได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เฮ้อ สงสารในหลวงท่านจริงๆ
ทำงานมาหนักเหนื่อยกว่าหกสิบปีเพื่อประชาชนยังมีคนมาคิดและพูดแบบนี้อีก ก็เห็นๆกันอยู่ว่าท่านทำเพื่อประชากรไทยและเป็นห่วงมาตลอดทำดีที่สุดในประเทศไทยแล้วยังดีกว่าคนอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องสาธยายกันให้มากความ อย่าแกล้งโง่หรือมีอคติอีกเลย เดี๋ยวนี้คนคิดจะลิ้มล้างสถาบันกันเยอะเลยหาเรื่องแต่งเรื่องมาโกหกหลอกลวงประชาชนในแง่ไม่ดี
ด้วยอำนาจสัจจะอธิษฐานขอให้ผู้ที่ดูหมิ่นและคิดร้ายต่อในหลวงจงหมดไป ผู้ที่ดูหมิ่นและคิดร้ายนั้นจงพินาศย่อยยับแพ้ภัยตัวเองไปให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินไทย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เข้ามาอ่านเพราะว่าตินนี้รู้สึกว่าประเทศไทยกำลังเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน พวกนึงคือแดง อีกพวกคือเหลือง ซึ่งวัตถุประสงค์คงไม่ต้องบอกกันว่าแต่ล่ะพวกเค้าต้องการอะไร เพียงแต่ว่าที่ต้องการแบบนั้น ต้องการด้วยใจ หรือต้องการด้วยกิเลส

ไม่ได้จะเข้ามาตำหนิ หรือชื่นชมกับความคิดเห็นนะครับ เพราะว่าความคิดเห็นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคล เหตุผลส่วนตัว แต่อยากจะแสดงความคิดเห็นให้ลองพิจารณากัน (ใช้คำนี้เพราะว่า คิด มันตื้นไป) การที่เราจะกล่าวว่าพระบาทสมเห็นพระเจ้าอยู่หัวทำดีหรือไม่ บางครั้งเราต้องยอมรับว่า ข่าวที่มีทุกวันนี้เพื่ออะไร ออกตัวนะครับว่าไม่ได้เป็นพวกคอม.แต่ก้ไม่ได้ประชาธิปไตยนักหนา ถ้ามองแบบเป็นกลลาง การที่มีข่าว คือการประชาสัมพันธ์ถูกหรือไม่ ทำไมต้องทำ? คำถามที่เราๆท่านๆอาจจมีคำตอบอยู่แล้ว ไม่ทำก็ถูกลืมซิ หรือเป็นหารบ่งบอกว่า "ชั้นยังทำประโยชน์ให้อยู่ พวกเธอต้องมีชั้น" แต่ลองพิจารณากันมั่งหรือไม่ว่า การที่ทำความดี "ความดี" ที่คนเราพูดถึงนั้นคืออะไร ผมจะไม่บอกว่าทำดีครับ เพราะว่าการทำดี อยู่ที่แต่ละคนซึ่งเป็นปัจเจกจะคิดเอาว่าอันนี้ดี หรือไม่ดี ตามแต่จริตของตยจะพึงมี พึงคิด ระลึกได้ แต่ถามว่าใครบ้างในประเทศนี้ที่ทำแบบนี้บ้าง คนรวยเป็นหมื่นล้านหรือ? คนจนค้นแค้นหรือ? คนที่อยุ่ในสังคมแบบหน้าชื่นตาบานหรือ? นักวิชาการ นักการเมือง หรือพวกที่ชอบส่งเสียงวิพากษ์คนอื่นหรือ? ผมว่าคำตอบรู้ๆกันอยู่ครับ รู้อยุ่ว่ามคร เป้นอย่างไร ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ท่านรู้ของท่าเอง ท่านพิจารณาเองได้ ซึ่งการจะแสดงความคิดเห้นอยู่บนกรอบที่สามารถดำเนินการได้ ไม่ใช่อะไรก็พยายามที่จะตะแบงว่าตนนั้นถูก พิจารณาซิครับ แล้วจะสามารถตอบคำถามที่ท่านพยายามโน้มน้าวได้ว่า "ทำดี" นั้นเป็นอย่างไร อย่าเอาแต่วิพากษ์วิจารณ์ครับ แต่ลองเอามาเป็นแบบอย่างดูว่า จะทำแบบนั้นได้หรือไม่ เป้นเรา จะทำมั๊ย? และผมก็เชื่อว่าคำตอบท่านก็มีอยู่ในใจอยู่แล้วว่าจะทำหรือไม่ทำผมไม่ใช่พวกอนุรักาเข้า แต่สามารรถบอกได้อย่างเต็มปากว่า "ชีวิตนี้สละได้เพื่อพระองค์" ครับ แล้วคุณล่ะ มีความคิดแบบนี้บ้างหรือเปล่า

tagom กล่าวว่า...

รักในหลวงร่วมกันสร้างสันติสุขสู่ประเทศไทย