เกือบ 150 ปีที่มาแล้ว ลอร์ด แอคตัน นักประวัติศาสตร์ชื่อดังแห่งสหราชอาณาจักร ได้แสดงความวิตกกังวลต่ออนาคตว่า จะมีอำนาจที่ทรงพลังอย่างยิ่งเข้ามาคุกคามความชอบธรรมทางกฎหมาย สิ่งนั้นคือ ‘ลัทธิชาตินิยม’
สำหรับ คำว่า ‘ความชอบธรรมทางกฎหมาย’ เขาหมายถึง ระเบียบทางสังคมที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยถูกเข้าใจว่าเป็นดั่งมรดกอันยิ่งใหญ่จากอดีต การที่จะเข้าใจแนวคิดนี้ได้อย่างกระจ่างชัด สิ่งหนึ่งที่ต้องจดจำต้องย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1870 ครั้งที่ประเทศฝรั่งเศสได้กระทำการโค่นล้มราชวงศ์ ประเทศมหาอำนาจทั้งในยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ต่างถูกปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างกว้างขวาง การผสมกันของความแตกต่างของประชาชนที่มีภาษาต่างกัน รวมทั้งศาสนาและวัฒนธรรม และครึ่งซีกโลกตะวันตกก็ได้ตกอยู่ในกรณีเหล่านี้เช่นกัน ท่านลอร์ดแอคตันไม่ใช่ผู้ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ท่านปรารถนาถึงเสรีนิยมด้วยความเชื่อที่ตั้งมั่นแห่งหลักเหตุผลนิยม และท่านได้พบว่าลัทธิชาตินิยมโดยแท้จริงแล้วเป็นสิ่งไร้ซึ่งเหตุผลและดูเหมือนว่าเป็นสิ่งซึ่งทำลาย
ความหวาดกลัวของท่านลอร์ดแอคตันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ตัวท่านให้เป็นนักพยากรณ์ล่วงรู้การณ์ภายหน้า การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีความยุ่งเหยิงอันใหญ่หลวงต่อลัทธิชาตินิยม เหตุเพราะเป็นการสร้างแนวคิดของความไม่เท่าเทียมกันทางประเพณีและความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของการจัดระบบทางชนชั้น ขณะที่ลัทธิชาตินิยมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเท่าเทียมในด้านต่างๆกันอย่างสมบูรณ์ และก่อให้เกิดสำนึกของชุมชนความเป็นพี่น้องในแต่ละรัฐชาติต่างๆ
การยินยอมที่จะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองต่อการตื่นตระหนกของลัทธิชาตินิยม หลายราชวงศ์ต้องสิ้นสุดลงในศตรวรรษที่ 19 ต่อการพยายามดิ้นรนที่จะเป็นรัฐชาติ ซึ่งมีความสำคัญเพื่อปกป้องนโยบาย มากไปกว่านั้นคือความพยายามของราชวงศ์ต่างๆที่ต้องการจะเป็นชาติ เช่น เยอรมัน อังกฤษ ตุรกี รัสเซีย เป็นต้น
ความยุ่งยากไปกว่านั้นคือการที่ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญหน้าจากชนกลุ่มน้อยจากหลายเผ่าพันธุ์ในดินแดนของตน (ชาวไอริช, ชาวโปลิส,ชาวอาหรับ,ชาวกรีก,ชาวยูเครน,ชาวฟินแลนด์ และอื่นๆอีกมากมาย) นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆที่เพิ่มเข้ามาอีก คือการที่ราชวงศ์ต่างๆมีที่มาจากที่อื่น เช่น อังกฤษและกรีซถูกปกครองโดยราชวงศ์เยอรมัน ขณะที่สวีเดนถูกปกครองโดยราชวงศ์จากฝรั่งเศส มันต้องใช้เวลานานถึงสองร้อยปีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผ่านไปเพื่อทำให้พระเจ้าจอร์จที่หก (พระอัยกาของควีนอลิซาเบธแห่งอังกฤษ) ยอมเรียกชื่อราชวงศ์โดยใช้ภาษาอังกฤษ
ในห้วงระยะเวลาอันสั้นนี้ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในสยาม ในช่วงท้ายที่สงครามสิ้นสุดลงนั้น ราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งจากยุโรป ตะวันออกกลาง เฉกเช่นเดียวกับการปกครองของราชวงศ์แมนจูในปักกิ่งต่างถูกโค่นล้ม เหลือเพียงสหราชอาณาจักรเท่านั้นที่พ้นจากภัยคุกคามนี้
ในสมาคมรัฐชาติสมัยใหม่นั้น ราชวงศ์ต่างๆกลับกลายเปลี่ยนสภาพเป็นชนกลุ่มน้อย ในขณะที่สมาชิกรัฐชาติต่างๆกลายเป็นสาธารณรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงหลังสงครามเกิดการแพร่กระจายต่อต้านลัทธิเจ้าอาณานิคม ซึ่งเป็นลัทธิชาตินิยมในเอเชียและแอฟริกา เป็นหายนะต่อราชวงศ์เป็นอย่างมาก ทุกวันนี้ มีเพียง 15% ของชาติที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติที่ยังคงมีสถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่ และทั้งหมดนั้นเมื่อประชากรรวมกันก็ยังคงน้อยกว่าประชากรของประเทศอินเดียครึ่งประเทศ
ราชวงศ์ต่างๆในยุโรปเหนือ สเปนและญี่ปุ่น ต่างดำรงความเป็นสถาบันอยู่ได้ด้วยการทรงสละพระราชอำนาจทางการเมืองและทรงยินยอมที่จะดำรงอยู่โดยบทบาทเชิงสัญลักษณ์ เว้นแต่ในกลุ่มของรัฐอาหรับโดยมีซาอุดิอารเบีย และในเอเชีย ซึ่งก็คือสยาม ที่เราสามารถพูดได้ว่ามีน้อยกว่า 10 % ของชาติสมาชิกของสหประชาชาติที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่มีผลบังคับใช้ ในกลุ่มชาติเล็กน้อยเหล่านี้สยามเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุด
อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้สยามเป็นที่น่าสนใจศึกษาในเรื่องนี้ ซึ่ง Seton – Watson เรียกมันว่า เป็นลัทธิชาตินิยมอย่างเป็นทางการ เกิดจากการปลุกระดมปฏิกริยาเพื่อนำไปสู่ความคลั่งไคล้ในลัทธิชาตินิยม ซึ่งได้ถูกจัดการเพื่อความอยู่รอด อาจมีเพียงที่สยามประเทศเดียวที่สามารถทำได้แบบนี้ ดังเช่นที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริในการสร้างความเป็นชาตินิยม โดยทรงใช้คำว่า ‘ชาติ ศาสน์ กษัตริย์’ ซึ่งยังคงเห็นได้จนถึงปัจจุบัน
เหล่านี้ล้วนเป็นรากฐานต่อการสอดแทรกแนวคิด ความเป็นลัทธิชาตินิยมอย่างเป็นทางการดังเช่นในยุโรป เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ใน รัสเซีย ออสเตรีย สหราชอาณาจักร คือคำว่า พระเจ้า กษัตริย์และประเทศ (God , Queen/King and Country) ทุกวันนี้ในยุโรปได้ยกเลิกคำเหล่านี้ไปแล้ว ในทางตรงข้ามกลับนำมาใช้ในความหมายเชิงเย้ยหยันประชดประชันในรายการตลกโทรทัศน์
สิ่งที่ข้าพเจ้าสนใจ คือสิ่งที่นักวิชาการชาวเยอรมันเรียกว่า NACHTRAEGLICHKEIT (ความไม่พอใจ) ซึ่งเป็นเรื่องของทรัพยากรด้านการเมือง ราชวงศ์ในตะวันออกกลางต่างยังคงดำรงความเป็นสถาบันด้วยการสร้างให้เป็นภาพตัวแทนของผู้นำความเป็นโลกมุสลิมผ่านขอบเขตพรมแดนแห่งความเป็นรัฐชาติเดียวกันโดยใช้หลักศาสนาของความเป็นมุสลิมเป็นตัวเชื่อม แต่ในพุทธศาสนาแบบไทยนั้น นับเป็นการปรากฏที่แสดงถึงข้อบ่งชี้อย่างเป็นทางการในตัวเองในทุกๆที่ของการเปลี่ยนผ่านของรัฐชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นหนทางที่จะสามารถหนีไปสู่กับดักของเวลาได้หรือไม่นั้น การกลืนกินของระบบสถาบันกษัตริย์ทำได้อย่างไรในสยาม ในช่วง 150 ปี ซึ่งทั่วโลกกำลังพูดถึงในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 ที่ลัทธิชาตินิยมอย่างเป็นทางการเป็นแบบทดสอบของการข้ามพ้นความล้าสมัยและต้องปราศจากอำนาจจากกองทัพในการข่มเหงด้วยเช่นกัน
ในยุโรปแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์ของการเปรียบเทียบที่น่าสนใจ ดังที่ข้าพเจ้าจะเสนอตัวอย่างดังต่อไปนี้
ประการแรก กระบวนการวัฏจักรที่สมบูรณ์ของระบบสถาบันกษัตริย์และของการสืบราชสันตติวงศ์กว่าหลายพันปีที่แล้วที่ประชาชนส่วนใหญ่ของโลกยังคงคุ้นเคยกับแนวคิดของระบบสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ยังไม่หมดไปและยังไม่ล่มสลายนั้นต่างเต็มไปด้วยพระราชอำนาจ ในจีนมีราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ้ง(ซ้อง) ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์แมนจู และในประเทศอังกฤษมี นอร์แมน เวลช์ สก๊อต ดัตช์ และเยอรมัน แต่หลัง ค.ศ.1918 เป็นที่กระจ่างชัดว่าไม่มีราชวงศ์ใหม่ใดเกิดขึ้นได้
หากราชวงศ์ใดล่มสลายลงก็ไม่สามารถมีราชวงศ์ใหม่ๆเกิดขึ้นมาทดแทนได้อีกต่อไปเว้นแต่การมีประนาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีเฉกเช่น จอมพล ป. ซึ่งมีกองกำลังทหารเป็นของตนเองให้เฉกเช่นพระมหากษัตริย์ ทุกคนก็ต่างเย้ยหยันเป็นอันแน่ถ้าจอมพล.ป.กระทำการเช่นนั้น ผู้นำจีน Yuan Shih-kai พยายามกระทำการเช่นนี้มาแล้วเมื่อ ค.ศ. 1910 แต่มีอำนาจปกครองเพียงแค่หนึ่งถึงสองปี จากนั้นจึงถูกสำเร็จโทษประหารชีวิต ความสำเร็จครั้งล่าสุดของราชวงศ์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ในนอรเวย์ กว่าร้อยปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงมิสามารถถูกแทนที่ด้วยราชวงศ์ใหม่ๆได้
วิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของราชวงศ์ที่มีรูปแบบความแตกต่าง คือ การที่ราชวงศ์ในยุโรปพระมหากษัตริย์มีคู่สมรสเพียงพระองค์เดียว แต่ในเอเชียพระมหากษัตริย์กลับมีคู่สมรสได้จำนวนมาก ในยุโรปมีหลักธรรมเนียมพระราชประเพณีปฏิบัติอย่างหลักๆในการสืบราชสมบัติอยู่สองประการ คือจากคู่สมรสและจากพระราชโอรสองค์โตซึ่งจะสืบราชสมบัติโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน (โดยแบ่งจากการสืบสันตติวงศ์จากกฎมณเฑียรบาลโดยฐานนันดรศักดิ์) และเป็นที่น่าทึ่งที่ราชวงศ์ในยุโรปจำนวนหนึ่งถูกปลงพระชนม์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1790 และนั่นก็หมายความว่าผู้ที่มีจะสืบสันตติวงศ์ที่มีความสามารถก็จะมีจำนวนลดน้อยลงเช่นกัน
ในสหราชอาณาจักร ราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจ๊อตซึ่งเป็นสองราชวงศ์สุดท้าย และยังมีราชวงศ์ของเนเธอแลนด์อีกราชวงศ์หนึ่งด้วยเช่นกัน ราชวงศ์ฮันโนเวอร์มีเพียง 8 รัชสมัย และได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสถาบันเป็นเพียงเชิงสัญลักษณ์
ความเสื่อมถอยของการมีคู่สมรสจำนวนมากในเอเชีย ในสยามเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีจำนวนของลำดับสันตติวงศ์จำนวนมาก จากการให้กำเนิดองค์รัชทายาทจากพระมหากษัตริย์ หากพระมหากษัตริย์มีผู้สืบสันตติวงศ์ 80 พระองค์ ก็จะทำให้มกุฎราชกุมารดำรงพระชนม์ชีพด้วยความยากลำบาก จากการที่มีผู้สืบสันตติวงศ์จำนวนมากขึ้นซึ่งอาจทำให้มีการลอบปลงพระชนม์ระหว่างพี่น้องด้วยกันเอง นี่คือถ้อยคำถากถางของความแตกต่างระหว่างราชวงศ์ยุโรปและเอเชีย
ส่วนพระนางเจ้าที่มีชื่อเสียงที่สุดของอังกฤษ 3 พระองค์ คือ พระนางเจ้าอลิซาเบธที่ 1 พระนางเจ้าวิกตอเรีย และพระเจ้าอลิซาเบธที่ 2 แต่ละพระองค์ทรงล้วนครองราชสมบัติร่วมกว่าครึ่งศตวรรษและไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของรัสเซียและออสโตรฮังการีที่ได้รับความนับถืออย่างมากเท่ากับพระบรมราชินีนาถแคทเธอรีนซึ่งเป็นชาวเยอรมัน และพระนางมาเรีย เทเรซ่า
การที่สามารถสมรสได้หลายคู่ของชาติเอเชีย ทำให้มีผู้สืบราชสันติวงศ์จำนวนมาก (ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกประเพณีกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ โดยให้พระราชโอรสเป็นมกุฎราชกุมารสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ และในปัจจุบันนี้ได้เปิดโอกาสให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสันตติวงศ์ได้แล้วเช่นกัน) ชีวิตสมัยใหม่ของยุโรปได้แสดงให้เห็นว่าการมีพระราชินีนาถเป็นผู้ปกครองพสกนิกรจะรักพระองค์มากกว่าการที่มีพระราชาเป็นผู้ปกครอง ดังเช่นที่พระราชินีอลิซาเบธได้รับความชื่นชอบเป็นจำนวนมาก แต่นี่ไม่รวมถึงพระราชโอรสของพระองค์ที่ทรงเอาแน่เอานอนไม่ได้ และพระราชนัดดาที่ไม่กระทำตามสัญญาทั้งสองพระองค์ นับเป็นสิ่งยอดเยี่ยมเมื่อพระราชินีทรงอยู่ในบัลลังก์ ในขณะเกิดเรื่องเสียๆหายๆบ่อยกับพระราชา
ประการที่สอง การปรับตัว เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งคู่ระหว่างราชวงศ์และความเป็นชาติ อย่างใดอย่างหนึ่งสองคำนี้ซึ่งสามารถปรับตัวได้ อย่างน้อยที่สุดในยุโรป อย่างแรกสามารถเรียกได้ว่าเป็นการเสาะแสวงหาความนับถือจากชนชั้นกลาง คริสตศาสนิกชนถูกห้ามไม่ให้สมรสได้หลายครั้ง แต่ในศตวรรษนั้นก็มีพระสนมของกษัตริย์ในยุโรปได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง เช่นในรัชสมัยของพระนางเจ้าวิกตอเรียมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่ 7 มกุฎราชกุมารซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ทรงแอบมีพระสนมอย่างลับๆและในช่วง 3 รัชสมัยสั้นๆนี้เองที่ราชวงศ์พยายามกระทำตนเฉกเช่นชนชั้นกลางทั่วไป พระชายามิได้ทรงปรากฏพระองค์และพระโอรส พระธิดาต่างก็ถูกส่งเข้าโรงเรียนเฉกเช่นเด็กทั่วไป ไม่ได้กักขังเลี้ยงดูภายในราชวังอีกต่อไป
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภาพตัวแทนที่ยิ่งใหญ่ของการยอมให้ลัทธิชาตินิยมตอกย้ำความเสมอภาคซึ่งพระนางราชินินาถอลิซาเบธเป็นผลผลิตของคำแรกรูปแบบการปรับตัวนี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1980 แต่ความสำเร็จที่แท้จริงในอังกฤษ ฮอลแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น สเปน ได้แสดงภาพลักษณ์ตัวตนเฉกเช่นสามัญชนธรรมดา ทรงเป็นผู้นำทางคุณธรรม ทรงดำรงชีพเฉกเช่นครอบครัวชนชั้นกลาง มีพระโอรสพระธิดาเพียง 2-3 พระองค์ (ใกล้เคียงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระองค์ก็ทรงเสียภาษีเงินได้ประจำพระองค์ให้แก่รัฐ และเป็นช่วงที่งดเว้นการมีพระราชพิธีที่ใหญ่โต และจารีตประเพณีอันโบราณคร่ำครึ และทำให้มีภาพลักษณ์ที่น่าตื่นตาทางโทรทัศน์และจุดดึงดูดการท่องเที่ยวกว่าบางสิ่งบางอย่างที่มีความหมายเชิงลึกสำหรับคนอังกฤษ
แต่สมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระยะที่สองสามารถเทียบได้กับการปรับตัวสู่อำนาจของวัฒนธรรมประชานิยมซึ่งคนรุ่นใหม่ยิ่งมีเสียงมากยิ่งขึ้น
โทรทัศน์เป็นจุดเปลี่ยนทางเทคโนโลยีที่สำคัญ แต่ผลกระทบทางการเมืองล้วนมากจากการเป็นพันธมิตรกับวัฒนธรรมประชานิยมทั้งละครน้ำเน่า รายการทอร์คโชว์ ภาพยนตร์ การแข่งขันกีฬา การ์ตูน และอื่นๆ การปรับตัวของราชาธิปไตยต่อวัฒนธรรมแห่งชาตินี้นั้นยากมากขึ้นเพื่อที่จะรวมกับเกียรติยศ สังคมและศีลธรรมกับราชวงศ์
ปัจจัยหลักนั้นคือการปรากฏขึ้นของกลุ่มผู้มีชื่อเสียง อย่างที่นักเล่นสำนวนคนหนึ่งกล่าวสรุปสั้นๆว่า “เป็นผู้มีชื่อเสียงเพื่อมีชื่อเสียง” วีรบุรุษของวัฒนธรรมประชานิยมในประเทศอังกฤษ รวมทั้งทุกๆที่คือ นักกีฬา นักแสดงภาพยนตร์ นักดนตรีร็อค ผู้คนในรายการทอร์คโชว์ นักการเมืองโทรทัศน์และผู้คนมีฐานะทางเศรษฐกิจ
วีรบุรุษและวีรสตรีกลุ่มนี้ถูกคาดหมายให้มีรูปร่างหน้าตาดี ร่ำรวย และมีคู่รักจำนวนมากแต่งตัวเก่ง เป็นผู้ที่ท้าทายความเสี่ยง เป็นผู้ทีใช้ยาเสพติด โดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องอื้อฉาว และค่อนข้างเป็นเรื่องที่น่าสลดใจ ยกตัวอย่างเช่น มาลิลีน มอนโรว,เจมส์ ดีน เจ้าหญิงไดอานา เช่น เดียวกับไมเคิล แจ็คสัน มาดอนน่า จอห์น เลนนอนฯลฯ ความเชื่อมโยงที่มีผู้ชมมักดูเหมือนให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และผู้คนนั้นเริ่มที่จะคิดว่าตนเองเป็นเช่นนั้น ถ้าฉันเป็นคนที่สวยกว่านี้ รวยกว่านี้ และแปลกประหลาดกว่านี้ฉันคงสามารถเป็นหนึ่งในพวกเขาได้ ผู้คนเริ่มที่จะคาดหวังที่จะเปิดเผยชีวิตส่วนตัวของพวกเขาต่อพื้นที่สาธารณะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่นคือวิธีการที่พวกเขาจะยังคงมีชื่อเสียงอยู่ต่อไปได้
สามารถเห็นได้ทันทีว่าเหตุใดการปรับตัวราชวงศ์ต่อวัฒนธรรมประชานิยมในลักษณะนี้นั้นเป็นทั้งสิ่งที่มีเสน่ห์และน่ากลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งราชวงศ์รุ่นเยาว์สามารถเข้าถึงตัวฮีโร่นักกีฬาได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งนักร้องเพลงร็อค นักแสดง และบรรดาพ่อค้านักธุรกิจ ดังนั้นจึงมักเกิดกรณีขึ้นในใจของพวกเขาที่มีความสับสนระหว่างผู้มีชื่อเสียงและราชวงศ์ แต่ในพื้นที่สาธารณะนั้นน้อยมากที่จะเกิดความผิดพลาดเช่นนั้น ในใจของประชาชน พวกเขาคาดหมายว่าราชวงศ์นั้นจะมีเกียรติ เสียสละเพื่อส่วนรวม
ความยากเย็นประการที่สอง คือ น้อยมากที่จะมีหน้าตาดีเหมือนนักแสดงภาพยนตร์ หรือมีความสามารถเท่านักดนตรีร็อค และมีความฉลาดเท่าพ่อค้าคนรวย จริงๆแล้วพวกเขาไม่มีอะไรเลย เว้นแต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของพวกเขา ซึ่งไม่ได้มีนัยยะสำคัญที่เกี่ยวกับสถานะของผู้มีชื่อเสียงเลย เรื่องอื้อฉาวของราชวงศ์นั้นเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องน่ากลัวผิดปกติแต่อย่างใด เป็นเรื่องที่ทำให้ฉุกคิดของความคาดหวังที่มีอยู่สูงต่อราชวงศ์เท่านั้นเอง
กรณีเจ้าหญฺงไดอาน่านั้น เป็นกรณีตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบในการอธิบายปัญหาในโลกสมัยใหม่นี้ พระองค์ไม่ได้เป็นคนที่มีความสามารถพิเศษ และไม่ได้รูปร่างหน้าตาดีกว่าราชวงศ์อังกฤษส่วนใหญ่ พระองค์ไม่สามารถที่จะแข่งขันเสน่ห์ของพระองค์กับดาราภาพยนตร์โดยปราศจากสถานะจากในราชวงศ์ของพระองค์
ประชาชนชอบพระองค์ในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพระองค์มีพระสวามีที่แปลกไม่ค่อยเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน และส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะราชินีไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนและดูไม่ค่อยมีเกียรติ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการของพระองค์ที่จะให้กำลังใจผู้ป่วยเอดส์ อาจเป็นเพราะพระองค์นั้นยังทรงพระเยาว์ผู้คนจึงนิยมชมชอบพระองค์
แต่ด้วยความสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายของพระองค์กับลูกชายเพลย์บอยของพ่อค้าคนรวยชาวมุสลิมในอังกฤษ แน่นอนถ้าพระองค์เป็นนิโคลคิดแมน นั่นอาจเป็นเรื่องปกติที่สามรถเกิดขึ้นได้ นิตยสารไทม์ได้ออกมาต่อต้านพระองค์เช่นกันในกรณีนี้ เพราะวันหนึ่งพระองค์อาจจะต้องเป็นราชินีที่อื้อฉาวพอๆกับพระสาวมีที่อื้อฉาวเช่นกัน เป็นเหมือนฝันร้ายที่ชาวอังกฤษหลายพันคนร้องไห้ให้พระองค์ เมื่อพระองค์จากไปด้วยการสิ้นพระชนม์ที่น่าหดหู่ แต่มันอาจจะเป็นชะตากรรมของผู้มีชื่อเสียงที่จะถูกลืมและถูกแทนที่ด้วยคนรุ่นใหม่ และนี่คือเรื่องที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่โชคร้ายคนนั้น เท่านั้นเอง
Professor Emeritus
Dr.Bennedict O’Gorman Anderson
อดีตอธิการ ม.คอร์แนล USA.
ที่มา : หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท : ปาฐกถาเบเนดิค แอนเดอร์สัน : ลัทธิชาตินิยมเก่าและใหม่
หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552
ปาฐกถาเบเนดิค แอนเดอร์สัน : ลัทธิชาตินิยมเก่าและใหม่
ผู้จัดเก็บบทความ เจ้าน้อย ณ สยาม ที่ 8:26 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ขอบคุณค่ะ สำหรับบทความดี ๆ
แสดงความคิดเห็น