วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

การร่วมวางแผนของราชวงศ์ : Thailand’s royal sub-plot



Inside Story : Current affairs and culture

Thailand’s royal sub-plot

by Andrew Walker and Nicholas Farrelly


แปลและเรียบเรียง : chapter 11



การร่วมวางแผนของราชวงศ์

ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่กราบไหว้
ราชวงศ์ไทยกลับกลายเป็นจุดแห่งความไม่พอใจ


มื่อนายกรัฐมนตรีของไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำการการสลายผู้ประท้วงเสื้อแดงเมื่อคืนวันอาทิตย์ ปฎิบัติการเริ่มแรกโดยการวางกองกำลังไว้รอบๆพระราชวังจิตรลดา ที่ประทับของกษัตริย์ในกรุงเทพ เป็นการรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ประจำ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นการกระทำที่เต็มไปด้วยสัญญลักษณ์ ไม่มีใครจะคิดว่าเสื้อแดงจะคุกคามความมั่นคงของกษัตริย์ แต่สถาบันสูงสุดของประเทศไทยกำลังถูกลากเข้าไป ในการต่อสู้ว่าใครที่มีสิทธิบริหารประเทศอย่างแท้จริง ในขณะที่เหตุการณ์ทางการเมืองกำลังร้อนระอุ ประเทศกำลังขยับใกล้เข้าไป ใกล้ให้มีการถกเถียงกันอย่างเปิดเผยต่อหน้าสายตาประชาชน เกี่ยวกับบทบาทของราชวงศ์

แรงผลักดันครั้งล่าสุดมาจากการ “โฟนอิน” ของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกปล้นตำแหน่งโดยการทำรัฐประหารในเดือนกันยายน ๒๕๔๙ การออกมาปราศัยอย่างต่อเนื่องได้ช่วยเพิ่มกำลังใจให้กับผู้สนับสนุนเสื้อแดง ทักษิณได้ปฎิบัติการโดยการโจมตีองคมนตรีของกษัตริย์โดยตรง เขาได้พุ่งเป้าไปยังองคมนตรี ตัวแทนของอำนาจ เปรม ติณสูลานนท์ และสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวหาทั้งสองคนนี้ว่าเป้นผู้สั่งการให้กองทัพทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของเขา การเปิดโปงของเขาทำให้เกิดข่าวลือตามหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์อย่างไม่ขาดสาย เกี่ยวกับการวางแผนของผู้ภักดีต่อราชวงศ์ระดับสูง และผลักดันให้คนเสื้อแดงจำนวนนับพันเข้าล้อมบ้านของประธานองคมนตรีเปรม ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปพัทยาเพื่อขัดขวางการประชุมสุดยอดของอาเซียน

จากเหตุการณ์วุ่นวายในขณะนี้ ทำไมเปรมและสุรยุทธ์ถึงได้เป็นตัวเอกของเรื่อง ก็เพราะพวกเขาทั้งสองคนนี้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศไทย ที่ถูกนับถือว่าเป็นรัฐบุรุษและผู้คงจริยธรรม เปรมเคยเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดและเคยเป็นนายกรัฐมนตรีจากปี ๒๕๒๓ จนกระทั่งถึงปี ๒๕๓๑ และได้มีความผูกพันที่แน่นแฟ้นและเป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์ในการต่อสู้กับพรรคอมมูนิสต์แห่งประเทศไทย สุรยุทธ์ ลูกป๋า ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพบก และได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการทำรัฐประหารในเดือนกันยายน ๒๕๔๙ ทั้งเปรมและสุรยุทธ์ไม่ได้เป็นนายกที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งคู่ได้รับตำแหน่งทางทหารที่สูงสุด และขณะนี้ทั้งคู่ได้รับตำแหน่งองคมนตรีของกษัตริย์ การโจมตีของทักษิณต่อบุคคลที่มีตำแหน่งที่ทั้งสูงส่งและมีอำนาจสั่งการนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่กำลังขยายตัวอย่างกว้างขวาง แต่ เป็นลางให้เห็นว่าการโจมตีที่ปรึกษาของราชวงศ์ที่โดดเด่นทั้งสองคนนี้ ทักษิณได้ก้าวเข้าไปอีกก้าวหนึ่งในการโจมตีราชวงศ์ คำพูดให้ต่อสู้ของทักษิณเป็นการให้เสื้อแดงทำการรณรงค์เพื่อให้เป็นสาธารณรัฐกลายๆ

ฝันร้ายของเปรม สุรยุทธ์ และคนอื่นๆในบรรดาศักดินาอำมาตย์ ซึ่งนับเป็นทศวรรษแล้วที่มีการจัดการด้านสื่ออย่างระมัดระวัง และเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง แต่ขณะนี้อาจจะถูกเผยโฉมออกมา เมื่ออนาคตของราชวงศ์กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน

กษัตริย์ภูมิพลทรงพระชนมายุ ๘๑ พรรษา และสุขภาพกำลังเปราะบาง เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ ในท่ามกลางความยุ่งเหยิงของการเมืองที่กำลังประสบอยู่ขณะนี้ บุคคลที่เหมือนจะเป็นผู้สืบราชวงศ์คือเจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ์ กำลังถูกจับตามองมากกว่าปกติ เจ้าฟ้าชายไม่เป็นที่นิยมและมีบุคลิกที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ไม่สามารถสืบทอดความมีเสน่ห์ และความมีบารมีที่พระบิดาทรงสะสมมาในช่วงเวลา ๖๒ ปีที่ทรงครองราชย์ หลายๆคนได้รู้สึกว่าพระราชธิดาองค์รอง เจ้าฟ้าหญิงสิรินทรน่าจะเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่จะสืบราชวงศ์มากกว่า บรรดาองคมนตรีกำลังเป็นห่วงเรื่องราชวงศ์จะถูกลากเข้าสู่สนามการเมือง ในช่วงระยะที่ราชวงศ์กำลังอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคง และความไม่กระจ่างชัดในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์

ครั้งหลังสุดที่สถาบันกษัตริย์ได้เผชิญกับสภาวะอันตรายอย่างนี้ในปี ๒๔๗๕ เมื่อราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์ประชาธิปกได้ถูกบังคับให้ยอมรับรัฐธรรมนูญที่ลดอำนาจลง ในปีนั้น กลุ่มที่ไม่มีเชื้อสายเจ้าได้เรียกร้องให้กษัตริย์ทรงสละอำนาจเบ็ดเสร็จที่มีอยู่ ย้อนไปเวลานั้น การนำประเทศไปสู่ความทันสมัยของอดีตกษัตริย์หลายพระองค์ได้ทิ้งให้ศักดินาไทยเชื่อว่า รัฐบาลต้องมีความเป็นประชาธิปไตยมากขี้น ระเบียบศักดินาอย่างเดิมไม่เหมาะสมเสียแล้ว และจะอนุญาตให้ดำรงอยู่ได้เพียงแค่เป็นส่วนประกอบของบรรยากาศทางการเมือง การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชได้มาถึงจุดจบ

นับเป็นปีๆและหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่่ใช่เรื่องง่ายในการทำความประนีประนอมระหว่างประชาชน กองทัพ และราชวัง รัฐบาลที่มาจากกองทัพซึ่งมีอำนาจมหาศาลในศตวรรษที่ยี่สิบนี้ ได้มองเห็นผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงที่จะดำรงความเป็นหุ่นเชิดของราชวงศ์ให้เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง

กษัตริย์ภูมิพล ขี้นครองราชย์ในปี ๒๔๘๙ ในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการปลูกฝังจากตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายจากบรรดาเหล่ารัฐบุรุษและผู้แทนในอำนาจต่างๆ เช่น บุคคลเยี่ยงเปรมและสุรยุทธ์ รัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่าที่เข้ามาบริหารประเทศ มองหาหนทางรวมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และพบว่าจะได้รับประโยชน์จากการนำราชวงศ์มาเป็นสัญญลักษณ์เพื่อการเป็นศูนย์รวมไทยทั้งชาติ กษัตริย์ภูมิพลจีงเติบโตมากับหน้าที่นี้และมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ พระองค์ทรงดำรงฐานะบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยศีลธรรมอันสูงส่ง ในขณะนี้พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ทรงประเสริฐ และทุกรัฐบาลที่มาจากการรวมของพวกที่มีอำนาจได้เพลิดเพลินกับการสนับสนุนของกษัตริย์

หลายๆคนได้คาดการณ์ว่ารัฐบาลทักษิณไม่เป็นที่ชื่นชอบของราชวงศ์ ศัตรูของทักษิณได้กล่าวหาทักษิณว่าบ่อนทำลายฐานะของราชวงศ์ ลักษณะการเป็นผู้นำแบบบูรณาการ (ซีอีโอ) บวกกับการสนับสนุนจากคะแนนเลือกตั้งอย่างถล่มทะลายแบบไม่เคยมีมาก่อน แทน ความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการมีพิธีรีตรองแบบโบราณ และการอุปถัมภ์ค้ำชูของราชวัง กษัตริย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ต่อคนยากจนของประเทศไทย โดยผ่านโครงการการพัฒนาชนบทที่มีการจัดกองทุนอย่างเหมาะสมและเป็นที่รู้จักกันดีอย่างแพร่หลาย แต่นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของทักษิณ ซึ่งสูบฉีดเงินให้ทุกหมู่บ้านโดยตรง ได้ลดความมีพระมหากรุณาธิคุณของกษัตริย์ลง

สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีความขัดกันในการสนับสนุุนทั้งทักษิณและกษัตริย์ ประชาชนจำนวนมากได้พร้อมที่จะยอมรับกับการมีผู้นำทั้งสองแบบและพระมหากรุณาธิคุณควรควบคู่กันไป สุดท้ายแล้วสังคมไทยที่ขี้นหน้าขี้นตาไปด้วยความเป็นเจ้าระเบียบก็เต็มไปด้วยอำนาจและอิทธิพลทุกรูปแบบ พวกเจ้าระเบียบอาจไม่ชอบใจกับการนำเอาความเชื่อทางพุทธศาสตร์ ผสมกับลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งเป็นค่านิยมของไทย แต่คนไทยส่วนใหญ่ฉลองได้หลายวิถีทาง ที่อำนาจและผู้มีอำนาจจะแสดงได้ ในประเทศที่ยอมรับวัฒนธรรมต่างๆ ความทันสมัยของทักษิณจะผสมกลมกลืนกับประเพณีราชวงศ์ได้อย่างง่ายดาย

แต่ศักดินาของไทยค่อนข้างขาดวิสัยทัศน์ ในมุมมองของโลกรอบๆตัวของพวกนี้ สำหรับพวกเขาแล้วการได้คุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จมาเนิ่นนาน พวกเขาเห็นว่าอำนาจเป็นการแข่งขันที่ปิดประตูแพ้ การสนับสนุนจากคะแนนเลือกตั้งที่ล้นหลาม และความชื่นชมจากคนยากจนในชนบทที่ทักษิณได้รับ เป็นการคุกคามต่อพระบรมเดชานุภาพอันประเสริฐยิ่งของกษัตริย์ จะต้องมีการจัดการอะไรสักอย่าง และการทำรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จึงเป็นคำตอบของพวกนี้

ทักษิณยังไม่ได้แฉหลักฐานรายละเอียดให้หมดเปลือกว่าองคมนตรีเปรม และสุรยุทธ์ได้วางแผนทำลายเขาอย่างไร ไม่มีข้อสงสัยอีกต่อไปแล้วว่าการทำรัฐประหารปี ๒๕๔๙ นั้นได้รับการเห็นชอบอย่างเต็มที่จากราชวงศ์ ผู้บงการตัดสินใจที่จะผูกโบว์สีเหลืองรอบลำกล้องปืนติดรถถัง และเคลื่อนออกสู่ท้องถนนในกรุงเทพ และบังคับให้ทักษิณต้องออกจากตำแหน่งและลี้ภัยอยู่นอกประเทศ สีเหลืองเป็นสีของกษัตริย์ การใช้โบว์เหลืองเป็นแผนระยะสั้นที่จะดึงเสียงสนับสนุนในกรุงเทพ แต่สีที่ใช้ได้ย้อนกลับคืนเข้าสู่ตัวเองอย่างร้ายแรง

ภาพพจน์ของราชวงศ์ที่ให้การสนับสนุนต่อการทำรัฐประหาร เหนือสิ่งอื่นใด ก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างหนาหูทั้งในประเทศและนอกประเทศเกี่ยวกับ วิธีการนำพระราชอำนาจ บุญบารมี และสัญลักษณ์ของวังมาใช้ในการเอากำลังทหารออกมาเพื่อสนับสนุนอำนาจเผด็จการในการเมืองไทยในสมัยใหม่นี้ การเฉลิมฉลองอย่างล้นเหลือในวันคล้ายวันประสูติของกษัตริยืในปี ๒๕๕๐ ไม่ได้ทำให้เรื่องการทำรัฐประหารและเหตุการณ์หลังจากนั้นเงียบลงไป แต่กลับยิ่งเพิ่มการสนทนาในงานเลี้ยงเกี่ยวกับความกำกวมของราชวงศ์ที่มีต่อประชาธิปไตย

การวิพากย์วิจารณ์นี้ได้มีมานานพอควร ในปี ๒๕๔๙ พอล แฮนด์เลย์นักข่าวได้เขียนชีวประวัติที่ไม่ได้รับอนุญาตของกษัตริย์ภูมิพล “กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม” การค้นคว้าพิเศษนี้ต่อเรื่องการสร้างภาพพจน์ของราชวงศ์ และการเกี่ยวข้องทางการเมืองมาหกทศวรรษของกษัตริย์ ได้ระบายภาพอย่างตรงไปตรงมาของราชวงศ์ ซึ่งคอยหนุนกองทัพให้เข้าไปขัดขวางการเมืองมาโดยตลอด ไม่ต้องสงสัยว่า ”กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม” เป็นหนังสือเล่มสำคัญเกี่ยวกับประเทศไทยในทศวรรษที่แล้ว เป็นการเสี่ยงของนักข่าวซึ่งนักวิชาการไม่กล้าแตะ แม้ว่าหนังสือจะถูกแบนในประเทศไทย (จากทักษิณเอง) ก็ยังหาอ่านได้จากการสั่่งซื้อออนไลน์จากร้านขายหนังสือ และหาอ่านที่แสกนได้จากทางอินเตอร์เน็ต และได้มีบทแปลไทยไว้ด้วย การแฉราชวงศ์ของแฮนด์เล่ย์ได้สร้างความฮือฮาอย่างไม่เคยมีมาก่อนในแชทรูมของเว็บบอร์ดต่างๆ และยังคงคุยกันหนาหูอยู่ในทุกวันนี้

ก้าวเล็กๆที่มีความหมายอีกก้าวหนึ่ง ในการถกเถียงอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับราชวงศ์ ก็คือการสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับไทยศึกษาที่จัดขี้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพ ในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ มีผู้ร่วมการสัมมนามากกว่า ๖๐๐ คน เป็นนักวิชาการ นักข่าว และนักศึกษาจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ได้มีการเรียกร้องจากนานาชาติให้มีการคว่ำบาตรการสัมมนาในพระราชูปถัมภ์ หลังจากมีการทำรัฐประหารที่มีราชวงศ์สนับสนุน

นักวิชาการอาวุโสต่างๆได้จัดตั้งวิธีการนำเสนออย่างต่อเนื่องในการตรวจสอบบทบาทของราชวงศ์ในปัจจุบัน นักวิชาการต่างๆได้ถกเถียงอย่างเคร่งเครียดในเรื่องผลประโยชน์ของกิจการของราชวงศ์ ความมีประสิทธิภาพจากทฤษฎีการพัฒนาชนบทของกษัตริย์ และกฎหมายปกป้องอย่างเกินควรเพื่อปกป้องชื่อเสียงของราชวงศ์

ช่วงที่ดีที่สุด เมื่อผู้ร่วมสัมมนาถกเถียงเกี่ยวกับหนังสือของแฮนด์เล่ย์ อาจจะเป็นการหลงตัวเองของนักวิชาการในการแนะว่าการสัมมนาเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับชีวิตคนไทยโดยรวม ได้มีการให้ทั้งการสนับสนุนและกำลังใจสำหรับผู้ที่อยู่ในเมืองไทยซึ่งกำลังจัดการให้มีการถกเถียงกันต่อหน้าสาธารณชนอย่างมีเหตุมีผลเกี่ยวกับอำนาจของราชวงศ์ เป็นการสัมมนาที่มีความสำคัญพอควรที่จะดึงดูดความสนใจจากเจ้าหน้าที่สันติบาลให้เข้ามาร่วมสังเกตุการณ์อย่างแข็งขัน

การกระทำที่ขาดความเป็นวิชาการจะได้รับผลตอบแทนที่รุนแรงมากที่สุด และได้สร้างภาพพจน์ในทางลบให้กับกษัตริย์ของไทย ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๙ โอลิเว่อร์ จูเฟ่อ ชาวสวิสถูกจับที่เมืองทางตอนเหนือของเชียงใหม่ในข้อหาทำลายรูปภาพของราชวงศ์ เนื่องจากเขาไม่สามารถซื้อเหล้าในวันคล้ายวันประสูติของกษัตริย์ การพ่นสีเป็นการกระทำแบบเด็กๆของจูเฟ่อซึ่งได้ถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปี จากกฎหมายหมิ่นฯที่เข้มงวด เขาได้รับการพระราชทานอภัยโทษหลังจากใช้เวลาเพียงสี่เดือนในคุก แต่ในขณะเดียวกัน คดีได้สร้างกระแสความเจ็บแค้น ทำให้มีการล้อเลียนกษัตริย์ในยูทูป

รัฐบาลไทยได้ตอบโต้โดยการปิดกั้นเว็บไซต์ยูทูปทั้งหมด เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว นักเขียนชาวออสเตรเลีย แฮรี่ นิโคไลเดสถูกจับจากข้อเขียนย่อหน้าเดียวเกี่ยวกับเจ้าฟ้าชาย ในหนังสือที่ขายได้เพียงหยิบมือหนึ่งในประเทศไทย ชะตากรรมของนิโคไลเดสไม่ได้สร้างการวิจารณ์อย่างรุนแรงในออนไลน์เท่ากับคดีของจูเฟ่อ แต่ได้เพิ่มเสียงเรียกร้องจากนานาชาติเกี่ยวกับการใช้กฎหมายที่ตกยุค

เป็นความโชคร้าย อย่างเลี่ยงไม่ได้ ที่ข้อหากฎหมายหมิ่นฯต่อชาวต่างชาติ ได้สร้างความสนใจต่อสื่อต่างชาติเป็นอย่างมาก ในขณะที่ความร้อนระอุทางการเมืองก็มีแต่เพิ่มขี้น กฎหมายถูกใช้ในการกำจัดเสียงที่ไม่เห็นด้วยในประเทศไทย นักเรียกร้องทางการเมืองสองคนซึ่งได้ให้ความเห็นต่อต้านราชวงศ์ได้ถูกจำคุก คนหนึ่งโดนจำคุก ๖ ปี อีกคนหนึ่งยังรอการพิจารณาคดี ได้มีการออกประกาศจับนักวิชาการจากการที่เขียนหนังสื่อเกี่ยวกับหน้าที่ของกษัตริย์ในการทำรัฐประหารปี ๒๕๔๙

ไม่นานมานี้ มีการกระทำที่ประหลาดที่เกินกว่าเหตุ จากการตัดสินจำคุกสิบปีต่อสุวิชา ท่าค้อ ในข้อหาเผยแพร่ “ภาพตัดต่อทางดิจิตอล” ของกษัตริย์ คดีบีบคั้นแบบนี้ส่งผลให้มีการร้องเรียนจากนักวิชาการนานาชาติมากกว่า ๑๐๐ ท่าน ให้มีการปรับปรุงหรือล้มเลิกกฎหมายหมิ่นฯ รัฐบาลไทยได้ตอบโต้แค่เพียงกล่าวว่า ต่อไปจะทำให้แน่ใจว่ากฎหมายบังคับใช้อยางเหมาะสม ได้มีการร้องเรียนแม้แต่ในรัฐบาลด้วยกันเองถึงการลงโทษที่รุนแรงเช่นนี้ การแสดงความเห็นของพวกคลั่งเจ้าได้กล่าวหาตามที่เดากันได้ว่า นักวิชาการนานาชาติไม่เข้าใจว่าคนไทยมีความจงรักภักดีอย่างยิ่งยวดต่อกษัตริย์ของพวกเขาเพียงไหน

เหตุผลหนึ่งที่ทำไมรัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยอิลักอิเหลื่อที่จะเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่นฯ เพราะรัฐบาลนี้เป็นหนี้บุญคุณกับกองทัพคลั่งเจ้าที่มอบอำนาจให้เขา ปีที่แล้วเสื้อเหลืองได้ออกมาสู่ถนนในกรุงเทพอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพวกที่เรียกตัวว่าพันธมิตรได้รณรงค์ล้มรัฐบาลนิยมทักษิณที่ได้รับการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ให้เข้ามาบริหารประเทศหลังจากการทำรัฐประหาร “เสื้อเหลือง” ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และดีงดันที่จะกำจัดร่องรอยความเป็นทักษิณให้หมดสิ้นไปจากเวทีการเมือง

เสื้อเหลืองได้เข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลาถึงสามเดือน บุกเข้าสภา และจากนั้น กระทำการยั่วยุระดับขีดสุดด้วยการปิดสนามบินนานาชาติเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ แม้ว่าพวกเขาจะเรียกตัวเองว่าพันธมิตร หรือ พธม พวกเขาแย้งว่าสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ควรมาจากการแต่งตั้งไม่ใช่จากการเลือกตั้ง การรณรงค์ต่อต้านประชาธิปไตยนี้ได้ดำเนินการต่อสู้อย่างหน้าไม่อายภายใต้การอ้างอิงราชวงศ์ เสื้อเหลืองเป็นเครื่องแบบที่เลือก และพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์และราชินีได้ตั้งตระหง่านในการชุมนุมที่เพิ่มการยั่วยุ และประกาศศักดาว่า “เราจะต่อสู้เพื่อกษัตริย์” พวกเขาอ้างว่าเป็นการปกป้องราชวงศ์ต่อนักการเมืองฝ่ายนิยมทักษิณที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง

ตัวกษัตริย์เองเลือกที่จะนิ่งเฉยเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายราชวงศ์ในการรณรงค์ของเสื้อเหลือง ความเงียบของพระองค์อาจจะเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ตามความคิดคร่ำครึว่าราชวงศ์ไทยอยู่เหนือการเมือง แต่ความคิดโบราณแบบนี้ได้ถูกทำให้ป่นปี้เมื่อราชินีทรงปรากฎตัวในงานเผาศพของผู้ประท้วงพันธมิตร ที่ถูกฆ่าในการเผชิญหน้าที่มีความรุนแรงกับตำรวจในต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๑ การแสดงตัวในครั้งเดียวนี้ ราชินีสิริกิติ์ทรงนำสถาบันกษัตริย์เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองต่อหน้าสายตาคนทั่วไป ยิ่งเพิ่มข่าวลือว่าเสื้อเหลืองได้รับการหนุนหลัง และมีเส้นสายจากบุคคลระดับสูงสุด ภาพของราชินีที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับอันธพาลทางการเมืองทั้งหลายซึ่งพยายามที่จะขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ให้ออกจากอำนาจทำความไม่สบายใจอย่างยิ่งยวดให้กับคนไทยหลายๆคน

ที่สุดรัฐบาลนิยมทักษิณก็ถูกปลดจากตำแหน่ง รัฐบาลถูกทำให้ดูอ่อนแอจากการรณรงค์บนท้องถนนที่ไม่มีที่สิ้นสุด รัฐบาลขาดความน่าเชื่อถือจากการปฎิเสธของกองทัพที่จะบังคับการใช้ พรก. ฉุกเฉิน หรือการกวาดล้างการยึดครองสนามบิน และที่สำคัญที่สุด คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้มีคำสั่งยุบพรรคที่กำลังบริหารประเทศ และ ปลดรัฐบาลที่มีสมาชิก ๒๘ ท่านจากสภา ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๑ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สามารถรวมตัวได้เสียงข้างมากในสภา จากความช่วยเหลือของนักการเมืองย้ายข้างจากพรรคนิยมทักษิณเก่า

ทักษิณกำลังลี้ภัย สมาชิกของเขาได้ถูกบังคับให้ลาออกจากรัฐบาล และเสื้อแดงขณะนี้ได้เผชิญหน้ากับความเกลียดชังของระบบความมั่นคงของประเทศไทย แต่ทักษิณยังคงเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองในประเทศไทย การออกมา “โฟนอิน” ที่บ่อยขี้น กระตุ้นความรู้สึกโกรธแค้นต่ออำนาจที่อยู่เบื้องหลังที่บงการการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ จนถึงทุกวันนี้ และการเข้ามาบริหารประเทศของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป้าหมายที่ชัดเจนในการรณรงค์ของทักษิณคือการระบุชื่อองคมนตรี ๒ คน แต่นี่เป็นการบอกเป็นนัยต่อบางอย่างที่มีอำนาจมากกว่า

แม้ว่าทักษิณจะพร่ำประกาศถึงความจงรักภักดีที่มีต่อกษัตริย์ ขณะนี้เขาได้เห็นผลประโยชน์ทางการเมืองในการโจมตีระบบศักดินาอำมาตย์ ผู้กุมอำนาจหลังฉาก และวิธีการซึ่งอำนาจของราชวงศ์ ทั้งของจริงและเป็นนัยถูกนำมาใช้ทำลายระเบียบการเลือกตั้ง ยุทธการในการกระตุ้นให้เสื้อแดงทำการรณรงค์ด้วยเดิมพันสูงต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ แนวความคิดในการปะทะของทักษิณและเสื้อแดงจำนวนมหาศาล ไม่เพียงแต่กับรัฐบาลอภิสิทธิ์ แต่รวมไปถึงองคมนตรี “สถาบันกษัตริย์” เองในขณะนี้ก็คลืบคลานเข้าใกล้กับความร้อนระอุของสงครามการเมืองเข้าไปทุกที

เมื่อควันจางหาย แน่นอนย่อมจะมีความพยายามอย่างที่สุดที่จะจับจีนี่ราชวงศ์กลับเข้าไปสู่ขวดทองตามเดิม ข้อบังคับทางกฎหมายในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับราชวงศ์จะถูกนำมาบังคับใช้ ด้วยความเพลิดเพลินมากขี้น คนไทยที่กล้าเปิดปากพูดเกี่ยวกับความเป็นจริงทางการเมืองของประเทศจะต้องพบกับความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษด้วยกฎหมายอย่างรุนแรง ความคิดเห็นจากนานาชาติที่เรียกร้องให้มีเสรีภาพทางการพูด จะถูกกล่าวหาว่าเอาค่านิยมตะวันตกมาใช้กับความจงรักภักดีที่มีต่อกษัตริยืไทย และความพยายามที่จะทำให้เกิดความเงียบย่อมไม่ได้ผล เพราะการปิดกั้นการถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์จะยิ่งทำให้เกิดการรำลือมากขี้นไปอีก ทั้งเจาะลึก ถกเถียงกัน เดากัน และบางกรณี หมดสิ้นศรัทธา

การโฟนอินครั้งล่าสุดซึ่งจะมีทักษิณหรือไม่ก็ตาม และชะตากรรมในที่สุดของเสื้อแดงจะเป็นอะไรก็ตาม เหตุการณ์เหนือปกติเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา หมายถึงว่า ความเงียบของราชวงศ์ไทยใช้ไม่ได้ผลเสียแล้ว


แอนดรูว์ วอคเกอร์ และ นิโคลาส ฟาร์เรลลี่

๑๔ เมษายน ๒๕๕๒



หมายเหตุ

แอนดรูว์ วอคเกอร์ และ นิโคลาส ฟาร์เรลลี่ เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของวิทยาลัยเอเซียและแปซิฟิก มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ “นิว แมนดาลา” ในปี ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับกิจกรรมของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้


ที่มา : Liberal Thai : แอนดรูว์ วอคเกอร์ และ นิโคลาส ฟาร์เรลลี่: การร่วมวางแผนของราชวงศ์

ไม่มีความคิดเห็น: