UPI Asia.com
Is Thailand headed for civil war?
By Frank G. Anderson
แปลและเรียบเรียง : chapter 11
หรือประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมือง
นครราชสีมา ประเทศไทย - หรือประเทศไทยจะกำลังเข้าสู่สงครามกลางเมือง เป็นประเด็นที่อาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ซึ่งได้หนึออกจากประเทศไทยได้เคยกล่าวไว้ และขณะนี้เขาอาศัยอย่างสุขสบายอยู่ในบ้านของเขาที่อังกฤษ ซึ่งล้อมรอบไปด้วยเพื่อนบ้านที่เป็นนักคิดอย่างมีอิสระ ซึ่งได้มีคนที่เป็นกังวลทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการกล่าวของเขา
อาจารย์ที่มีความคิดแนวสังคมนิยมได้หนีออกจากประเทศไทยเมื่อเดือนที่แล้ว เพียงก่อนหน้าที่เขาจะต้องไปแสดงตัวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อรับแจ้งข้อกล่าวหา ว่าได้กระทำการละเมิดในคดีหมิ่นฯซึ่งถูกมองว่าเป็นการคุกคามความมั่นคงของชาติ แถลงการณ์ของใจเมื่อไม่นานมานี้ได้เรียกร้องให้กษัตริย์ “ควรให้เกียรติกับบทบาทในรัฐธรรมนูญ และควรหยุดก้าวก่ายกับการเมือง”
ขณะนี้ในประเทศ ได้มีการโหมโรงรณรงค์ต่อต้านการถกเถียง ในการที่จะโยงเอาเรื่องราชวงศ์อันเป็นที่รักไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายถึงคำว่าสงครามกลางเมือง อาจารย์เจมส์ เฟียรอนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และได้รับการยอมรับจากฮาร์เวิร์ด และคอร์เนล ซึ่งได้ให้นิยามของคำว่าสงครามกลางเมืองไว้ว่า
“เป็นการขัดแย้งกันอย่างรุนแรงภายในชาติเดียวกัน การจัดตั้งกลุ่มต่างๆที่มีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจในส่วนกลาง หรือในส่วนภูมิภาค หรือเพื่อให้มีการเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาล”
เฟียรอนได้เป็นผู้ร่วมเขียนกับนักวิชาการ เดวิด ดี ลาติน ในหนังสือปี ๒๕๔๖ ที่ชื่อว่า “เชื้อชาติ การจราจล และสงครามกลางเมือง” ประเด็นสำคัญในหนังสือบอกเอาไว้ว่า การที่จะเข้าใจถึงสงครามกลางเมืองก็คือ ต้องให้นิยามของการก่อความไม่สงบก่อน
ผู้เขียนทั้งสองอาจกล่าวได้ถูกต้อง โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันนี้มีการก่อความไม่สงบ ๒ แบบ
- แบบหนึ่งเป็นพวกแนวร่วมรบแบบเปิดตัว พบในทางภาคใต้ซึ่งเป็นที่ ที่มีชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่
- อีกแบบหนึ่งเป็นการก่อความไม่สงบที่หนักไปในทางการเมืองและยากที่จะอธิบาย เป็นการคุกคามต่อโครงสร้างอำนาจแบบเก่าและระบบค่านิยมแบบเดิมๆ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจากคนรุ่นใหม่ๆก็ยิ่งมีพลังมากขี้น แต่คนเหล่านี้ก็ได้มีการขัดแย้งกันเองในระหว่างกลุ่ม ซึ่งมีเชื่อชาติ สัญชาติและฐานะทางการเมืองต่างกัน
เมื่ออาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์พูดเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในประเทศไทย ใจเหมือนจะพูดถึงแบบที่ใช้กำลังอาวุธที่มีความรุนแรงมากกว่า
มุมมองของการก่อความไม่สงบได้รวมถึงความขัดแย้งในด้านอื่นด้วย เช่น การขัดขืน การจราจล และภาวะที่คล้ายสงคราม ความขัดแย้งทั้งหมดนี้อาจจะเพิ่มมากขี้นหรือไม่ก็มาจากการร่วมมือกับภายนอก การเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจะเริ่มมาจากความไม่พอใจและการได้รับความอยุติธรรมจากทางการเมือง ทางศาสนา ทางเศรษฐกิจ และทางเชื้อชาติ หรือเป็นการผสมของปัจจัยเหล่านี้ รวมถึงความยุ่งยากในการอยู่รวมกันทางสังคม
ดังนั้นการก่อความไม่สงบในประเทศไทยในทุกวันนี้ อาจจะมีลักษณะคล้ายกับความครุกรุ่นจากหลายชนชั้นทั่วประเทศ อาจรวมถึงคำถามที่ถูกถามจากพวกจารีตนิยม (Traditionists) นักปฎิรูป (Reformists) จากนักวิชาการ จากคนไทย และจากชาวต่างชาติ ซึ่งจะทำเป็นละเลยเสียไม่ได้ ไม่ว่าพวกเขาจะพยายามตั้งคำถามอย่างไร ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขี้นอย่างเห็นได้ชัดแล้วในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงรวมถึง
การพร้อมที่จะก่อกวนเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้ๆ ทั้งคำพูดและความรุนแรงที่มีขอบเขต เช่นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขี้นไม่กี่มาวันนี้ ที่รถของรัฐมนตรีถูกโยนระเบิดใส่(ไข่,รองเท้า,ขวดน้ำ เป็นต้น)
การรายงานข่าว และการวิเคราะห์ข่าวของสื่ออย่างน่าละอาย ขาดความซื่อตรง ขาดเนื้อหาในการวิเคราะห์ที่เป็นประโยชน์ และเต็มไปด้วยความเห็นและคำถามเพืยงแค่ “คำถามที่ปลอดภัย”
สังคมที่ขาดความสุขอย่างเห็นได้ชัด สังคมที่ถูกจำกัดอย่างต่อเนื่องจากธรรมเนียมปฎิบัติ และสังคมที่พยายามจะอดทนต่อผู้ที่มีสิทธิอย่างชอบธรรมในการพูดอะไรก็ได้ คำถามได้ถูกตั้งขี้นมาว่า อะไรคือคำว่าไทย ตัวอย่างเช่น คนไทยยังเป็นไทยไหมถ้าไม่เห็นด้วยกับการมีสถาบันกษัตริย์ คนไทยยังเป็นไทยไหมถ้ามีความเห็นด้วยกับชาวต่างชาติที่ส่งเสียงโต้แย้งต่อความคิดของฝ่ายขวาในประเทศไทย
มีความอิลักอิเหลื่อที่จะปรับปรุงหน่วยงานและกฎระเบียบต่างๆ ที่จะเป็นการนำไปสู่ความมีเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในหมู่คนไทยด้วยกัน พวกกษัตริย์นิยม (Royalists) พวกกษัตริย์นิยมจอมปลอม (Pseudo-royalists) และผู้ที่สนับสนุนธรรมเนียมโบราณของไทย คนเหล่านี้ได้เป็นผู้ที่คอยขัดขวางต่อผู้ที่ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะพวกเขาได้มองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า เป็นความผิดในการทำลายสถาบันที่ถูกต้องตามกฎหมายและทรงคุณค่า จากการที่พวกกษัตริย์นิยมและพวกนักเคลื่อนไหวหัวรุนแรงต่อต้านเสรีภาพในการพูดเหล่านี้ ได้ใช้วิธีการของกองทัพในการสอดแนมประชาชน เป็นเรื่องหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ต้องการให้เปลี่ยนคงไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ
อาการโรคกลัวคนต่างชาติขี้นสมองได้แสดงให้เห็นได้ชัดอย่างต่อเนื่อง จากการออกข่าวอย่างเป็นทางการในการปกป้องและรักษาคุณค่าแห่งไทยและสถาบันต่างๆของไทย การกล่าวอ้างจากพวกต่อต้านการปฎิรูปรวมถึงความคิดที่ว่าคนไทยใดๆที่ฟังความคิดเห็นของต่างชาติ เป็นพวกที่โดนวางยาหรือพวกหลงผิด หรือพวกชาวต่างชาติเองนี่แหละที่จะเป็นพวกที่โจมตีสถาบันต่างๆของไทย โดยไม่ยอมทำความเข้าใจในความเป็นสถาบันต่างๆ และความสำคัญในการป้องกันสถาบันนั้น
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย น่าประหลาดมากที่ในบางเรื่องไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากเหมือนกับที่ได้ประกาศไว้ สิ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์ทางการเมืองต้องช็อคมากสุด คือความจริงที่ว่าประเทศไทยได้มีการนำเอากำลังของกองทัพ เช่นเดียวกับ “ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรต่อกัน” คือ ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชากระทำกัน เพื่อสอดแนมประชาชน เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนจะไม่เป็นตัวอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ
นี่ไม่เพียงแต่เป็นการปฎิบัติการในทางที่ผิด แต่เป็นการก้าวเข้าไปสู่สงครามกลางเมือง ที่ประชาชนได้ถึงที่สุดแล้วกับการถูกยัดเยียด
ประเด็นหลักของความพยายามของรัฐบาลไทยในการกำจัดเสรีภาพในการพูด ก็เนื่องมาจากความหวาดกลัวของความคิดเห็นที่แตกต่างกับตัวเองอาจจะได้ผล และถ้าเป็นแบบนั้น วิธีการเก่าๆที่ตัวเองใช้อยู่ก็ต้องหลีกทางออกไป
Frank G. Anderson
(แฟรงค์ จี แอนเดอร์สัน เป็นตัวแทนของชาวอเมริกาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แอนเดอร์สันเคยทำงานอาสาสมัครพีซคอของอเมริกาในด้านการพัฒนาชุมชุมในประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๔๙๙-๒๕๑๐ เป็นนักเขียนอิสระและเป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นคนแรกคือ “โคราชโพสต์ http://www.thekoratpost.com/” เขาได้ใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยถึง ๗ ปี คลุกคลีกับสื่อท้องถิ่น เขาได้ปริญญาโทในสาขาการจัดการเรื่องข่าวสาร และได้อนุปริญญาในสาขาเทคโนโลยี่การก่อสร้าง)
ที่มา : Liberal Thai : หรือประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมือง
วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552
หรือประเทศไทยจะเกิดสงครามกลางเมือง : Is Thailand headed for civil war?
ผู้จัดเก็บบทความ
เจ้าน้อย ณ สยาม
ที่
10:13 หลังเที่ยง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น