วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

กบฏ - ปฏิวัติ - รัฐประหาร ในสังคมการเมืองไทย


ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่ของไทย ผ่านความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ โครงสร้าง การเข้าถึงอำนาจ หลายครั้ง หลายรูปแบบ ที่มีสำเร็จและล้มเหลวคละเคล้ากันไป

สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลัน โดยวิธีนอกระบบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่สังคมในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ยอมรับ เกี่ยวพันโดยตรงกับผลลัพธ์ของปฏิบัติการ ถ้าสำเร็จ คณะผู้ก่อการก็สามารถบัญญัติคำหรือภาษาสวยงามลงไปอ้างอิงการกระทำของกลุ่มตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป เป็นต้น แต่หากล้มเหลวมีเพียงโทษสถานเดียวคือการเป็นศัตรูของสังคมในฐานะ “กบฏ”

หัวไม้สัปดาห์นี้จะพาย้อนไปดูการปฎิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ ในสังคมการเมืองไทยสมัยใหม่…


กบฏ ร.ศ. 130

กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน

แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์

คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ

ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ

คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์


การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ

ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม

หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ

หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่ายทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพหัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.

หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.

หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติการณ์ตามลำน้ำได้ทันที หน่วยที่ 4 เป็นฝ่าย " มันสมอง " มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จแล้ว


แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป

หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า


รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย (บางข้อมูลไม่นับเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการรัฐประหาร) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เหตุสืบเนื่องจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ฉบับที่เรียกว่า "สมุดปกเหลือง" ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ บ้างถึงกับกล่าวว่าถ้านายปรีดีไม่ลอกมาจากสตาลิน สตาลินก็ต้องลอกมาจากนายปรีดี ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎร์ด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ ซึ่งพระยาทรงสุรเดช 1 ใน 4 ทหารเสือผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้นำพระยาฤทธิ์อัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ทหารเสืออีก 2 คน สนับสนุนพระยามโนปกรณ์ ฯ แต่ในส่วนของบรรดานายทหารคณะราษฎร์ส่วนใหญ่ยังคงให้การสนับสนุนนายปรีดีอยู่

สำหรับตัวพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้น ไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ เป็นเหตุให้ต้องใช้พระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ รัฐประหารเงียบ พร้อมบีบบังคับนายปรีดีไปที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2476 ออกมาใช้ด้วย มีการกวาดล้างจับกุมชาวเวียดนามที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์สยามก็ถูกจับและถูกจำคุก ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏร์เอง อาทิ นายปรีดี พนมยงค์ พันโท หลวงพิบูลสงคราม เป็นต้น


รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย (ซึ่งบางครั้งจะไม่นับ รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นครั้งแรก) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาลคณะราษฎร อันสืบเนื่องจากการยื่น "สมุดปกเหลือง" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับ และเมื่อถึงขั้นวิกฤต "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ให้เหตุผลว่า

"ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ"

เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุน เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ


กบฏบวรเดช

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมูนิสต์" และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา

กบฏบวรเดชเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" โดยออกเป็นสมุดปกขาว ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีการลดทอนอำนาจศักดินาอย่างมาก อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็มีแนวคิดที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยม เรื่องนี้ทำให้ผู้สูญเสียอำนาจและฝ่ายนิยมเจ้าออกมาคัดค้านอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว ซึ่งทำให้คณะราษฎรหลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา จนเป็นเหตุให้เกิดรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังจากการรัฐประหารที่ให้พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรมและกรณีฟ้องร้องพระเจ้าอยู่หัว

เหตุดังกล่าวทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุดร (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงครามไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ทหารกรุงเทพหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิ์สงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของทางฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้นเป็นเพียงแค่การรัฐประหาร (coup de'tat) เท่านั้น มิใช่การปฏิวัติ (revolution) เพราะหลังจากนั้นแล้ว อำนาจที่ถูกผ่องถ่ายมาจากพระมหากษัตริย์ก็ตกอยู่ในมือของคนแค่ไม่กี่คน อีกทั้งหลัก 6 ประการที่ได้สัญญาว่าจะปฏิบัติ ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มิได้มีการกระทำจริง เหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่มิอาจยอมรับได้ จึงต้องดำเนินการดังกล่าว

การยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อ. ปากช่อง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวง

เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้นายทหารฝ่ายกบฏ ได้แก่ นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศกัมพูชา เมื่อ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ขณะที่พระอนุชาของท่าน (หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร) ถูกทหารจับกุม

ภายหลังได้มีการตั้งศาลพิเศษ มีการคุมขังทหารและพลเรือนผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนี้นับร้อยคนที่เรือนจำบางขวาง แต่ที่ไม่มีการประหารชีวิต เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้รับโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต และผู้ได้รับโทษจำคุกก็ได้รับการลดโทษตามลำดับขั้น

พ.ศ. 2482 นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชนี้ พร้อมกับนักโทษการเมืองอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏนายสิบ ถูกส่งไปกักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง นิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

พ.ศ. 2487 ได้มีการปล่อยตัวบรรดาผู้ได้รับโทษกรณีกบฏบวรเดชทั้งหมดออกจากเรือนจำ

หลังจากปราบกบฏได้สำเร็จ ต่อมาวันที่ 12 มกราคม 2476 (ตอนนั้นเมษายังเป็นปีใหม่) ร.7 กับพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีก็เสด็จราชดำเนินออกนอกประเทศเพื่อไปรักษาพระเนตร ณ อังกฤษ


กบฏนายสิบ 3 สิงหาคม 2478

ทหารชั้นประทวนในกองพันต่างๆ ซึ่งมีสิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยจะสังหารนายทหารในกองทัพบก และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงครามไว้เป็นประกัน รัฐบาลสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ หัวหน้าฝ่ายกบฏถูกประหารชีวิต โดยการตัดสินของศาลพิเศษในระยะต่อมา


กบฏพระยาทรงสุรเดช 29 มกราคม 2481

ได้มีการจับกุมบุคคลผู้คิดล้มล้างรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และได้ให้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต่อมารัฐบาลได้จัดตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณา และได้ตัดสินประหารชีวิตหลายคน ผู้มีโทษถึงประหารชีวิตบางคน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร นายพลโทพระยาเทพหัสดิน นายพันเอกหลวงชานาญยุทธศิลป์ ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิต เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นผู้ได้ทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติมาก่อน


รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490

คณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมี พลโทผิน ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าสำคัญ ได้เข้ายึดอำนาจรัฐบาล ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ แล้วมอบให้นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย


กบฏเสนาธิการ 1 ตุลาคม 2491

พลตรีสมบูรณ์ ศรานุชิต และพลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นหัวหน้าคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง วางแผนที่จะเข้ายึดอำนาจการปกครอง และปรับปรุงกองทัพจากความเสื่อมโทรม และได้ให้ทหารเข้าเล่นการเมืองต่อไป แต่รัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทราบแผนการ และจะกุมผู้คิดกบฏได้สำเร็จ


กบฏวังหลวง 26 มิถุนายน 2492

นายปรีดี พนมยงค์ กับคณะนายทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังเข้ายึดพระบรมมหาราชวัง และตั้งเป็นกองบัญชาการ ประกาศถอดถอน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผู้ใหญ่หลายนาย พลตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยกาปราบปราม มีการสู้รบกันในพระนครอย่างรุนแรง รัฐบาลสามารถปราบฝ่ายก่อการกบฏได้สำเร็จ นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนออกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง


กบฏแมนฮัตตัน 29 มิถุนายน 2494

นาวาตรีมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือรบหลวงสุโขทัยใช้ปืนจี้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไว้ในเรือรบศรีอยุธยา นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา หัวหน้าผู้ก่อการได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้งพระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เกิดการสู้รบกันระหว่างทหารเรือ กับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถหลบหนีออกมาได้ และฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนเป็นผลสำเร็จ


รัฐประหาร 16 กันยายน 2500

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารนำกำลังเข้ายึดอำนาจของรัฐบาลซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเกิดการเลือกตั้งสกปรก และรัฐบาลได้รับการคัดค้านจากประชาชนอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ต้องหลบหนีออกไปนอกประเทศ


รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2501

เป็นการปฏิวัติเงียบอีกครั้งหนึ่ง โดยจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้น ลากออกจากตำแหน่ง ในขณะเดียวกันจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการขัดแย้งในพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และมีการเรียกร้องผลประโยชน์หรือตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง เป็นเครื่องตอบแทนกันมาก คณะปฏิวัติได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และให้สภาผู้แทน และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง


รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน 2514

จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำการปฏิวัติตัวเอง ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ขึ้นทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ และให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในระยะเวลา 3 ปี


รัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ และคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจากเกิดการจลาจล และรัฐบาลพลเรือนในขณะนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยทันที คณะปฏิวัติได้ประกาศให้มีการปฏิวัติการปกครอง และมอบให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


รัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520

พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้าคณะนายทหารเข้ายึดอำนาจของรัฐบาล ซึ่งมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลได้รับความไม่พอใจจากประชาชน และสถานการณ์จะก่อให้เกิดการแตกแยกระหว่างข้าราชการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งมีระยะเวลาถึง 12 ปีนั้นนานเกินไป สมควรให้มีการเลือกตั้งขึ้นโดยเร็ว


กบฎ 26 มีนาคม 2520

พลเอกฉลาด หิรัญศิริ และนายทหารกลุ่มหนึ่ง ได้นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เข้ายึดสถานที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกสวนรื่นฤดี กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า สนามเสือป่า และกรมประชาสัมพันธ์ ฝ่ายทหารของรัฐบาลพลเรือน ภายใต้การนำของ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลอากาศเอกกมล เดชะตุงคะ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลเอกเสริม ณ นคร ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปราบปรามฝ่ายกบฏเป็นผลสำเร็จ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาศัยอำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520


กบฎ 1 เมษายน 2524

พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา ด้วยความสนับสนุนของคณะนายทหารหนุ่มโดยการนำของพันเอกมนูญ รูปขจร และพันเอกประจักษ์ สว่างจิตร ได้พยายามใช้กำลังทหารในบังคับบัญชาเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แต่การปฏิวัติล้มเหลว ฝ่ายกบฏยอมจำนนและถูกควบคุมตัว พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา สามารถหลบหนีออกไปนอกประเทศได้ ต่อมารัฐบาลได้ออกกฏหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการกบฏในครั้งนี้


กบฎ 9 กันยายน 2528

พันเอกมนูญ รูปขจร นายทหารนอกประจำการ ได้นำกำลังทหาร และรถถังจาก ม.พัน 4 ซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับบัญชา และกำลังทหารอากาศโยธินบางส่วน ภายใต้การนำของนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร เข้ายึดกองบัญชาการทหารสูงสุด และประกาศให้ พลเอกเสริม ณ นคร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองของประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก อยู่ในระหว่างการไปราชการต่างประเทศ กำลังทหารฝ่ายรัฐบาลโดยการนำของพลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองผู้บัญชากรทหารสูงสุด ได้รวมตัวกันต่อต้านและควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ในเวลาต่อมา พันเอกมนูญ รูปขจร และนาวาอากาศโทมนัส รูปขจร หลบหนีออกนอกประเทศ การก่อความไม่สงบในครั้งนี้มีอดีตนายทหารผู้ใหญ่หลายคน ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลอากาศเอกพะเนียง กานตรัตน์ พลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และพลอากาศเอกอรุณ พร้อมเทพ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด


รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534

โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ เจ้าหน้าที่-ตำรวจ และพลเรือน ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณ-จันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลตำรวจเอกสวัสดิ์ อมร-วิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และพลเอกอสิระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี


รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549

รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารในประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะและขณะเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้ข่าวการรัฐประหารโดยได้พยายามติอต่อช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อการออกโทรทัศน์ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมไว้จึงทำให้การออกโทรทัศน์ไม่ได้และมีการโฟนอินไปยังช่อง 9 ประกาศใช้ พ.ร.ก สถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อมีการยึดพื้นที่ได้ทำให้ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร

รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยประเทศ เช่น ออสเตรเลียการแสดงความความเป็นกลาง เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น

"ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"

ภายหลังรัฐประหาร คปค.ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด


เช้าวันที่ 19 กันยายน มีคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เรียกผู้นำทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนใดเข้าร่วมทำให้มีกระแสข่าวลือการปฏิวัติรัฐประหารแพร่สะพัดไปทั่วทำเนียบรัฐบาล ช่วงพลบค่ำมีข่าวว่ากำลังทหารหน่วยรบพิเศษจาก จ.ลพบุรี เคลื่อนกำลังเข้ากรุงเทพฯ

เวลา 18.00 น. นายสมชาย มีเสน ผู้จัดรายการวิทยุ F.M. 92.25 MHz นัดผู้ฟังรายการจำนวนหนึ่งเข้าพบ พล.อ.สนธิ ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) เพื่อขอให้ทหารให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จะชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ วันพรุ่งนี้

ประมาณ 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยสงครามพิเศษลพบุรี เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพบก

เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังเคลื่อนเข้าคุมเชิงที่สะพานมัฆวานรังสรรค์และ ถ.ราชดำเนินไม่กี่นาทีต่อมา ทหารจำนวนมากออกมาตรึงกำลังตามถนนต่าง ๆ ตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึง ถ.ราชสีมา บริเวณสวนรื่นฤดี สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม(สนามม้านางเลิ้ง)โดยมีทหารแต่งกายลายพรางเต็มยศเป็นผู้ควบคุมกำลัง

เวลา 22.54 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยออกอากาศทางสถานีทุกช่อง ขึ้นคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมขออภัยในความไม่สะดวก และเปิดเพลง "ความฝันอันสูงสุด" ประกอบ ด้านสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นและบีบีซีเผยแพร่ข่าวรถถังและกำลังทหารควบคุมสถานการณ์ภายใน กทม. หลังจากนั้น พล.ต.ประพาศ ศกุนตนาค อดีตโฆษก ททบ.5 ได้อ่านแถลงการณ์คณะปฏิรูปการปกครองฯ ที่แสดงไว้ในหน้าจอก่อนหน้านี้ซ้ำถึงสองครั้ง

เกือบเที่ยงคืน ผู้บัญชาทหารทุกเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ.เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว" ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับประธานองคมนตรี



ความซวย! เมื่อรัฐยัดเยียดข้อหา “กบฏ”

นอกเหนือจากกลุ่มการเมืองที่มีกำลังทหารหนุนหลัง ในการรัฐประหาร แล้วกระทำการไม่สำเร็จจนต้องได้รับข้อหาว่าเป็นกบฏแล้ว ประชาชน นักการเมือง ปัญญาชนเอง ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกยัดข้อหานี้ให้อยู่บ่อยครั้งเช่นกัน…


กบฏแบ่งแยกดินแดน 28 กุมภาพันธ์ 2491

จะมีการจับกุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายคน เช่น นายทิม ภูมิพัฒน์ นายถวิล อุดล นายเตียง ศิริขันธ์ นายฟอง สิทธิธรรม โดยกล่าวหาว่าร่วมกันดำเนินการฝึกอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนภาคอีสานออกจากประเทศไทย แต่รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการจับกุมได้ เนื่องจากสมาชิกผู้แทนราษฏรมีเอกสิทธิทางการเมือง


กบฏสันติภาพ 10 พฤศจิกายน 2495

กบฏสันติภาพ ชื่อเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 102, 104, 177, 181 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ในการจับกึมครั้งนี้ กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ได้จับกุมบุคคลต่างๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน

"ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย..."

จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2496 ก็ยังมีข่าวว่าได้จับกุมและสึกพระภิกษุที่เคยสนับสนุนและเผยแพร่สันติภาพอีก

ที่มาของคำว่า "สันติภาพ" เนื่องเพราะผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2494 โดยมี นายแพทย์เจริญ สืบแสง เป็นประธานคณะกรรมการ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ และพระมหาดิลก สุวรรณรัตน์ เป็นรองประธาน นาย ส. โชติพันธุ์ (สิบโทเริง เมฆประเสริฐ) เป็นเลขาธิการ ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ต่อต้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งสนับสนุนสงครามเกาหลี และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนตัวจากสงครามเกาหลี และกำลังเตรียมตัวเข้าร่วมประชุมกับนานาชาติในประเทศจีนเพื่อต่อต้านสงครามเกาหลี บรรดาบุคคลที่เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพฯ และถูกจับกุมในครั้งนี้ มีหลากหลายกลุ่ม ประกอบไปด้วยนักเขียนหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง อาทิ

นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นายอารีย์ ลีวีระ เจ้าของหนังสือพิมพ์สยามนิกร, นายสุภา ศิริมานนท์ เจ้าของและบรรณาธิการนิตยสารอักษรสาส์น นายอุทธรณ์ พลกุลบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ, นายแสวง ตุงคะบริหาร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามนิกร, นายบุศย์ สิมะเสถียร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทย, นายฉัตร บุณยศิริชัย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ, นายสมุทร สุรักขกะ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์, นายสมัคร บุราวาศ, นายเปลื้อง วรรณศรี, ฯลฯ

และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล อาทิ นายมารุต บุนนาคประธานกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายลิ่วละล่อง บุนนาค (ผู้นำนักศึกษา), นายสุวัฒน์ วรดิลก (นักประพันธ์), นายฟัก ณ สงขลา (ทนายความ), นายสุ่น กิจจำนงค์ เลขาธิการสมาคมสหอาชีวกรรมกร, นายสุพจน์ ด่านตระกูล ฯลฯ ต่อมาได้มีการจับกุมเพิ่มเติ่ม อาทิ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ (ภริยารัฐบุรุษอาวุโส-นายปรีดี พนมยงค์), นายปาล พนมยงค์, นายสุภัทร สุคนธาภิรมย์, พลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นต้น บรรดาผู้ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นที่ทราบกันว่าเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล บาลรายกำลังเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอย่างลับๆ รวมถึงได้ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย

คดีนี้ อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย ศาลได้พิพากษาจำคุก บางราย 13 ปี บางราย 20 ปี และได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 ในปี พ.ศ. 2500


กบฏอดข้าว 21 กุมภาพันธ์ 2499

21 กุมภาพันธ์ 2 นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ ดาวไฮปาร์คชื่อดัง ผู้ที่มีความปรารถนาให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ยกเลิก ส.ส. ประเภทที่แต่งตั้ง และยกเลิกค่านิยมการทำรัฐประหาร ถูกจับกุมพร้อมพลพรรค ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะกำลังอดข้าวประท้วงให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยโดนข้อหาเป็นกบฏภายในราชอาณาจักร ตามกฎหมายอาญามาตรา 104


กบฏทัศนาจร 21 กุมภาพันธ์ 2499

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่พลพรรคกบฏอดข้าวถูกจับกุมตัวไป คณะสมาชิกผู้แทนราษฎรและนักคิดนักเขียน นำโดย นายเทพ โชตินุชิต อดีตรัฐมนตรี และ ส.ส. ศรีสะเกษ ซึ่งได้รับเชิญไปยังประเทศจีน ได้กลับมาถึงยังประเทศไทย

โดยนอกเหนือจากญาติพี่น้องไปรอรับแล้ว ทางการไทยก็ทำให้ไม่ผิดหวังเมื่อส่งสันติบาลกลุ่มหนึ่งไปรอรับด้วย และก็ควบคุมคณะทัศนาจรที่กลับมาจากเมืองจีนทั้งหมดในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏนอกราชอาณาจักร รวมถึงข้อหาแจ้งความเท็จ เนื่องจากในยุคนั้นการขอหนังสือเดินทางไปต่างประเทศจะต้องแจ้งประเทศที่จะไป หากแจ้งว่าจะไปประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ คณะทัศนาจรนี้จึงแจ้งว่าจะเดินทางไปห้องกง และเมื่อเดินทางเข้าจีนจึงถือว่าแจ้งความเท็จ


คดีกบฏ 13 คน ชนวนก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา

6 ตุลาคม 2516 มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ หลายวงการ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น นักศึกษา 13 คน นำโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถ์เลขาของรัชกาลที่ 7ที่ส่งถึงรัฐบาลถึงสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน คือ นายธีรยุทธ บุญมี, นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร, นายนพพร สุวรรณพานิช, นายทวี หมื่นนิกร, นายมนตรี จึงศิริอารักษ์, นายปรีดี บุญซื่อ, นายชัยวัฒน์ สุระวิชัย, นายบุญส่ง ชเลธร, นายวิสา คัญทัพ, นายบัณฑิต เองนิลรัตน์, นายธัญญา ชุนชฎาธาร

และจับขังนักศึกษาทั้ง 11 คนนี้ไว้ที่โรงเรียนตำรวจนครบาลบางเขนและนำไปขังต่อที่เรือนจำกลางบางเขน พร้อมตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ์ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง และตามจับ นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จ.นครพนม ขึ้นอีก รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้นครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก

ทั้งนี้เหตุการณ์นี้เป็นชนวนสำคัญสำหรับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516


ที่มา:

- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

- ลิขิต ธีรเวคิน, "การเมืองการปกครองไทยของไทย", สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543

- โรม บุนนาค, “คู่มือรัฐประหาร”, สำนักพิมพ์สยามบันทึก, 2549

* แก้ไขข้อมูลครั้งแรกตามคำท้วงติงของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 51 เวลา 18.09 น.


โดย : หัวไม้ story


ที่มา : ประชาไท : หัวไม้ story : กบฏ - ปฏิวัติ - รัฐประหาร ในสังคมการเมืองไทย

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ควันหลงจากการอภิปรายเรื่อง "สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"


ผมฟังถ่ายทอดการเสวนาผ่านทางเว็บไซต์ http://www.newskythailand.com/

(เว็บนี้เขาจะตามไปถ่ายทอดงานเสวนา อภิปรายที่ต่างๆ แต่โดยหลักเขาจะเกาะติดเวทีสนามหลวง)

สิ่งแรกที่ผมทึ่งและอยากจะชมเชย คือ การอภิปรายของณัฐพล ใจจริง เขาทำการบ้านค้นคว้าเยอะมาก

ประเด็นที่ณัฐพลนำเสนอนั้น เกี่ยวกับ การแบ่งความคิดนักกฎหมายในช่วงอภิวัตน์ ๒๔๗๕ กับ หลังจากนั้น เป็นสองกลุ่มหลักๆ เพื่อฉายภาพการต่อสู้ทางความคิด การรณรงค์ ชวนเชื่อผ่านงานวิชาการ คำอธิบาย ตำรา ของทั้งสองฝ่าย

ผมคิดว่า นักกฎหมายน้อยคนมากที่รู้เรื่องเหล่านี้ และหากรู้ ก็เพียงแต่รู้ว่าใครเป็นใคร อธิบายว่าอะไร แต่ไม่ได้จัดกลุ่ม แบ่งพวก นำเสนอแบบที่ณัฐพลทำ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการมองภาพการต่อสู้ของกลุ่มเจ้า และกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งจะว่าไป ก็ยังต่อสู้กันอยู่ในสมัยนี้

การอภิปรายของณัฐพล จำต้องเผยแพร่ให้คนเรียนกฎหมาย และนักกฎหมายทั้งหลายได้รับรู้ในวงกว้าง เพราะปัจจุบัน เราเรียนกฎหมายแบบนิติศาสตร์โดยแท้ เรียนว่ากฎหมายปัจจุบันเป็นอย่างไร เอาไปใช้อย่างไร โดยไม่ได้ตระหนักถึงที่มา การต่อสู้ การโต้แย้ง บริบททางประวัติศาสตร์ ตลอดจนสปิริตที่อยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมหนีไม่พ้นกับบริบททางการเมืองในขณะนั้น

(อยากให้ณัฐพลเขียนเป็นบทความขนาดยาวเผยแพร่ลงวารสาร)

ข้อสังเกตประการต่อมา เนื่องจากผู้อภิปรายทั้งสามท่าน มีความคิดสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน จึงไม่มีการโต้แย้งกันมากนัก แต่ช่วงท้ายอภิปราย กิตติศักดิ์ ปกติ ได้เข้าฟังและแสดงความเห็นเพิ่มเติม ความเห็นผมเองนะ เขาน่าจะมีความเห็นต่างจากการอภิปรายของ ๓ คน แต่การพูดของเขาไม่ชัด ไม่ยอมบอกว่าเขาเห็นอย่างไร (อาจจะเวลาไม่พอ และโดนสมศักดิ์โต้เสียก่อน) แต่ไปยกความเห็นของประเวศ บวรศักดิ์ มาอ้าง

ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความเห็นของกิตติศักดิ์ ๒ เรื่อง

๑. เขาตั้งข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลง รธน ในส่วนที่เกี่ยวกับ การเข้าสู่ตำแหน่งของประมุขของรัฐ และกฎมณเฑียรบาล (ตั้งแต่ปี ๓๔ เปลี่ยนให้เป็นเรื่องของวังล้วนๆ สภาไม่เกี่ยว ทำได้แค่ตรายางรับรองเท่านั้น ลงมติไม่ได้) เป็นเพราะว่า สังคมไม่ยอมรับรัฐสภาความเชื่อถือ ความชอบธรรมไปไว้ที่สถาบันกษัตริย์ (ผมอาจสรุปไม่ตรงเป๊ะๆกับที่เขาพูดนัก แต่ไอเดียประมาณนี้ ยังไงลองดูคำอภิปรายเต็มๆที่ประชาไทคงถอดเทปมาให้)

ผมเห็นว่า การอธิบาย และการให้เหตุผลของกิตติศักดิ์ ไม่เป็นผลดีต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ "เข้าทาง" พวกอำมาตยาธิปไตย แอนตี้การเลือกตั้ง แอนตี้ระบบผู้แทน-รัฐสภา โอเค มองในแง่ดี เป็นไปได้ว่าเขาเพียงแต่ต้องการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม แต่ผมคิดว่าต้องยืนยันว่าเป็นเรื่องผิด ไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย คือ จะอธิบายปรากฎการณ์นั้นก็ได้ แต่ต้องยืนยันว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง


๒. เขาพยายามแยกว่าเรื่องรูปแบบของรัฐ
กับระบอบการปกครอง นั้นคนละเรื่อง

ผมเห็นว่ากิตติศักดิ์พูดถูก คือ มันคนละเรื่องจริงๆ แต่กิตติศักดิ์ต้องยืนยันแบบที่สมศักดิ์บอกด้วยว่า ระบอบการปกครองต้องมาก่อน (ประเด็นนี้อยากให้อาจารย์สมศักดิ์เข้ามาอภิปรายเพิ่มเติมต่อจากวันนั้นด้วยครับ) คุณจะมีกษัตรยิ์ก็มีไป เป็นราชอาณาจักรก็เป็นไป แต่ต้องสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย

หากกิตติศักดิ์จะยืนยันดังที่เขาพูด ก็ต้องสม่ำเสมอ และเอาไปบอกไอ้พวกที่ชอบใช้คำว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" แบบมีนัยแอบแฝงด้วยว่า ต้องแยกจากกันเด็ดขาด


ปิยบุตร

ที่มา : บอร์ด "ฟ้าเดียวกัน" : ควันหลงจากการอภิปรายเรื่อง "สถาบันกษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"


เพิ่มเติม :

Downloadเทปเสียงงานเสวนา "พระมหากษัตริย์กับรัฐธรรมนูญ"

อ.ณัฐพล ใจจริง :
http://www.mediafire.com/?njmy0mwvsun

อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ :
http://www.mediafire.com/?i179hmi9i7b

อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ :
http://www.mediafire.com/?0l3mowz3hi1

สรุปสุดท้าย :
http://www.mediafire.com/?wvublll33xn


จาก : newskythailand.com : ชมรมฟ้าใหม่

http://www.newskythailand.com/board/index....98.html#msg6598


หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

เรื่องของชาวบ้านกับคนทรงเจ้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ึี่ง


หมู่บ้านแห่งหนึ่ง

มีเจ้าพ่อคนทรงที่ชาวบ้านให้ความนับถือ


ทุกๆวันจะมีของที่ชาวบ้านเอามาเซ่นไหว้มาถวายให้เจ้าพ่อไม่ขาดสาย เจ้าพ่อทำหน้าที่ เข้าทรง ทำน้ำมนต์ ดูดวง ปลุกเสก สะเดาะเคราะห์ ดูฤกษ์ยาม ขึ้นบ้านใหม่ไปทำพิธี ไปเจิม ไปตัดริบบิ้น กดปุ่ม วางศิลา ยกช่อฟ้า...

เจ้าพ่อศักดิ์สิทธิ์มากในความเชื่อของชาวบ้าน เจ้าพ่อจึงมีงานพิธีมากมายล้นมือ จนต้องเลือกรับแต่งานสำคัญๆ เจ้าพ่อจึงเป็นผู้นำและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านมาตลอด ด้วยความศักด์ิสิทธิและอิทธิฤทธิ์ที่บอกเล่ากันเอง เจ้าพ่อจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมายและอยู่รอบตัวเจ้าพ่อ ด้วยความที่ลูกศิษย์เจ้าพ่อมีมากมายหนาแน่น บางทีลูกศิษย์ก็ขัดแย้งกระทบกระทั่งกันเอง เพราะขัดผลประโยชน์..

เจ้าพ่อจึงต้องจัดระเบียบอาศรมโดยแบ่งให้ลูกศิษย์กันดูแลเป็นสายตามหน้าที่ เช่น ดูแลของเซ่นไหว้ก็กลุ่มหนึ่ง ดูแสถานที่ จัดคิวคนเข้าพบ รับกิจนิมนต์ก็กลุ่มหนึ่ง ดูแลผลประโยชน์ร้านขายของและรถเข็นบริเวณหน้าอาศรมก็กลุ่มหนึ่ง ดูแลการเงินทำบัญชีก็กลุ่มหนึ่ง.... พิมพ์เอกสารทำเครื่องรางของขลังก็กลุ่มหนึ่ง แบ่งหน้าที่กันชัดเจน

ทั้งอาศรม ทั้งเจ้าพ่อและลูกศิษย์ก็อยู่กันอย่างสงบบ้างไม่สงบบ้าง บางทีลูกศิษยก็ขัดใจกัน พอขัดใจมากๆ ก็ลากปืนมายิงกันเอง สุดท้ายเจ้าพ่อก็ต้องมาเคลียร์ให้ทุกที (แต่หลังจากยิงกันเสร็จแล้ว)

แต่ถึงอย่างไรอาศรมก็ยังอยู่คู่กับความเชื่อในหมู่บ้านมาได้ด้วยดี


จนมาวันหนึ่ง

ผู้ใหญ่บ้านคนเก่าหมดวาระ ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ก็เข้ามา

ผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ที่ชาวบ้านเลือกมาเป็นที่เด่นดังและได้รับความนิยมจากชาวบ้านด้วยการเอาสิ่งใหม ่ๆ มาให้ชาวบ้านได้ตื่นเต้นกันตลอด อินเตอร์เน็ต ตู้ยา โครงการผ่อนรถไถนา ปุ๋ยราคาถูก ทุนให้ลูกไปเรียนในตัวเมือง ขุดคลองใหม่ ทำถนน ฯลฯ พอเวลานานไป ผลงานผู้ใหญ่บ้านจึงได้รับความนิยมและเป็นที่รักและชื่นชมของลูกบ้านและได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกสมัย

เพราะความฮอตของผู้ใหญ่ ทำให้เจ้าพ่อเดือดร้อน

ของไหว้น้อยลง คนก็เลยเริ่มไม่ค่อยเข้าอาศรม เพราะคนเริ่มไม่ค่อยมีความทุกข์ และไม่ค่อยเห็นความสำคัญของที่พึ่งทางใจ แถมชาวบ้านยังเลิกพิธีบางอย่าง เช่น แห่นางแมวเพราะน้ำเข้าถึงหมู่บ้านเพียงพอโดยไม่ต้องรอฝน ยิ่งนานไป จึงไม่ค่อยมีใครอัญเชิญเจ้าพ่อไปเปิดงานทำพิธีกรรมบริกรรมคาถาต่าง ๆ

อาศรมเริ่มเงียบ ร้านรวงหน้าอาศรมก็เลิกขายของเพราะไม่ค่อยมีคนมา เจ้าพ่อเริ่มเดือดร้อนเพราะไม่ค่อยมีคนเห็นความสำคัญของตัวเอง แม้แต่ลูกศิษย์ลูกหาก็เริ่มเครียด เงินทองขาดมือ ลูกศิษย์ลูกหาบางส่วนเริ่มจากลาไปทำมาหากินอย่างอื่น อิทธิฤทธิ์ของเจ้าพ่อช่วยกู้สถานการณ์อะไรไม่ได้เลย

เมื่อคนในหมู่บ้านมีความสุข จึงไม่ค่อยมีใครเห็นความสำคัญของศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านอย่างเจ้าพ่อ ลูกศิษย์ลูกหาเริ่มเครียดที่ขาดรายได้ เจ้าพ่อก็เครียดเช่นกันที่ชาวบ้านหายหน้าหายตาไม่ค่อยเข้าอาศรม

ในที่สุด ลูกศิษย์ลูกหาจึงทนไม่ไหว เพื่อกอบกู้สถานการณ์ก่อนที่อาศรมจะหมดความสำคัญ บรรดาลูกศิษย์จึงรวมหัววางแผนและออกมาป่าวประกาศใส่ร้ายผู้ใหญ่บ้านว่าเป็นคนสร้างภาพบังหน้า เบื้องหลังเป็นคนโกหก คดโกง ชอบหาผลประโยชน์จากหมู่บ้าน ไม่ยอมเสียค่าส่วนกลาง เอาที่ดินลานหน้าหมู่บ้านของส่วนรวมไปเปิดตลาดนัดให้พรรคพวกเช่า

ข้อกล่าวหาสารพัด หลานคนเริ่มเชื่อ คล้อยตาม และสงสัยในตัวผู้ใหญ่บ้าน จนเกิดการขับไล่ผู้ใหญ่บ้านภายใต้การยุแหย่ของลูกศิษย์ ชาวบ้านแตกความสามัคคีกันอย่างรุนแรง ชาวบ้านบางส่วนรักผู้ใหญ่บ้าน บางส่วนเกลียดผู้ใหญ่บ้าน บางทีก็ตีกันตามงานต่าง ๆ ที่ผู้ใหญ่บ้านไปปรากฏตัว

ชาวบ้านแตกแยก ไร้ความสามัคคี หลายบ้านมีความทุกข์ มีบางคนที่หวังดีต่อหมู่บ้าน ก็ไปตั้งวงปรึกษากันเพื่อหาทางออก ลุกศิษย์ที่อยู่เบื้องหลังได้ที ก็บอกให้ชาวบ้านไปปรึกษาเจ้าพ่อ และให้เอาเจ้าพ่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

ในระหว่างที่คนในหมู่บ้านยังขัดแย้งในเรื่องของความชอบธรรมของผู้ใหญ่บ้าน หลายคนจึงเริ่มหันหน้ากลับเข้าหาอาศรม เพื่อให้เจ้าพ่อนั่งทางในทำนายเหตุุการณ์ ทำพิธีต่อชะตาหมู่บ้าน สะเดาะเคราะห์ ฯลฯ

เมื่อหมู่บ้านเกิดอาเพท อาศรมก็คึกคัก เจ้าพ่อและลูกศิษย์ก็ยินดีปรีดา

สุดท้าย กลุ่มนักเลงหัวไม้ จิ๊กโก๋ประจำหมู่บ้าน จึงร่วมมือกับลูกศิษย์ของเจ้าพ่อและอ้างว่าผู้ใหญ่บ้านคือสาเหตุของอาเพทและความขัดแย้งทั้งหมดของหมู่บ้าน หลังจากนั้นก็พากันยกพวกไปขับไล่ผู้ใหญ่บ้านให้ออกไปนอกหมู่บ้านและล็อคบ้านไม่ให้เข้ามา

พอขับไล่ผู้ใหญ่บ้านไปแล้ว พวกนักเลงหัวไม้ จิ๊กโก๋และลูกศิษย์เจ้าพ่อ ก็แต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านชั่วคราวมาแทน โดยเลือกเอาจากลูกศิษย์ในอาศรมเจ้าพ่อ เจ้าพ่อคนทรง จึงกลับมาศักดิ์สิทธิ์และได้รับความสำคัญอีกครั้งหนึ่งจากชาวบ้าน ท่ามกลางความแคลงใจของชาวบ้านอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยและเชื่อว่าเจ้าพ่ออยู่เบื้องหลังเรื่องชั่วช้าทั้งหมด

แต่... เมื่อชาวบ้านคนใดออกมาแสดงความสงสัยหรือพาดพิง หรือตำหนิต่อว่าพฤติกรรมของเจ้าพ่อที่ไม่ค่อยเ็ป็นกลาง เมื่อนั้น คนพูดก็จะโดนข้อหาลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ บังอาจลบหลู่เจ้าพ่อจากบรรดาลูกศิษย์และชาวบ้านที่ยังคลั่งเจ้าพ่อโดยทันที จนหมดโอกาสทำมาหากิน

และแล้ว ในที่สุด

่ความงมงายก็กลับมาสู่หมู่บ้านอีกครั้งหนึ่่ง

ท่ามกลางความผาสุขของเจ้าพ่อและลูกศิษย์ทั้งอาศรมต่อไป...


ปล.
ไม่ทราบว่า
พวกท่านที่อ่านจบเคยได้ยินเรื่องราวในทำนองนี้บ้างไหมครับ ? ...


โดย : เจมส์TSCB



เพิ่มเติม :

แนะนำหนังไทยเรื่องหนึ่งครับน่าดูมาก
นำแสดง โดย ปิยะ ตระกูลราษฎร์

ชื่อ "เทพเจ้าบ้านบางปูน" (2523)
ยังมี CD ขายอยู่ตามคลองถมหรือสั่งซื้อตามอินเตอร์เนตก็ได้


เรื่องย่อๆ ก็คือว่าเจ้าพ่อบ้านบางปูนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพผ่านร่างทรงชื่อตาคล้าว แรกๆชาวบ้านก็อยู่กันอย่างมีความสุขแต่ต่อมาร่างทรงบอกว่าเจ้าพ่อบอกจะมีอาเพศ ขอให้ชาวบ้านย้ายออกไปทำกินที่อื่น และมีเหตุการณ์แปลกๆ ตามมาเช่นเป็ดตายยกเล้ามีคนบอกว่าเห็นเสือเจ้าพ่อมาแอบกิน ฯลฯต่อมามีชาวบ้านชื่อนายไม้ไม่เชื่อ ด่าท้าทายเจ้าพ่อกลางสำนักทรงต่อจากนั้นก็นัดกันกับพรรคพวกจะไปล่าเสือโดยซุ่มอยู่ทั้งคืนแต่ไม่เจอ พอใกล้รุ่งสางแยกย้ายกันกลับนายไม้ได้ให้ปืนเพื่อนไปด้วยเพื่อป้องกันตัวและเดินกลับบ้าน ทันใดนั้นเสือก็โผล่มาขย้ำนายไม้ซมซานกลับไปตายที่บ้านโดยลำดวนลูกสาวมาเห็นเข้าและนายไม้ได้เล่าความจริงก่อนตายให้ฟังว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นมันเป็นฝีมือของคนไม่ใช่เจ้าที่ไหน

ในงานวันศพนายไม้ ตาคล้าวไปร่วมงานด้วย ลำดวนลูกสาวได้ลบหลู่ ด่ากระทบกระเทียบเจ้าพ่อต่อหน้าตาคล้าวร่างทรงในงานศพ และต่อว่าตาคล้าวต่อหน้าลูกชายตาคล้าวซึ่งเป็นแฟนของตนเองว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ฝีมือเจ้าพ่อที่ไหนแต่เป็นฝีมือตาคล้าวพ่อนายกล้าเองต่างหาก นายกล้าโมโหแต่ก็เก็บความสงสัยไว้ไปถามตาคล้าวพ่อตนเอง ตาคล้าวได้แสดงพิรุธต่อคำถามลูกชายทำให้นายกล้าสงสัยพ่อตนเองมากยิ่งขึ้น

วันหนึ่งลำดวน กำลังไปตรวจตราเป็ดไก่ในเล้าตอนกลางคืน และเห็นเสือกำลังวิ่งฝ่าความมืดมาหาตนจึงหลบเข้าบ้านพร้อมกับยิงปืนใส่จนเสือตายในเวลานั้น นายกล้าสังหรณ์ใจว่าอาจเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับแฟนตนที่ไปแฉโพยเจ้าพ่อเข้า จึงไปที่บ้านและปรากฎว่าเกิดเรื่องจริงๆจึงไปอยู่เป็นเพื่อนลำดวนทั้งคืน

จนรุ่งเช้านายกล้าเดินกลับบ้าน จนถึงใต้ถุนบ้านได้ยินเสียงคนคุยกันปรากฎว่าเป็นเสียงของ เสี่ยเล็กคุยกับนายคล้าวร่างทรงพ่อของตนว่าชาวบ้านเชื่อเรื่องอาเพศ ที่จะเกิดขึ้นในหมูบ้านและมีแนวโน้มที่จะย้ายออกยกเว้นครอบครัวนายไม้ซึ่งตายไป และยังเหลือลำดวนลูกสาวที่หัวแข็งอยู่ เสี่ยเล็กบอกจะจัดการเองซะเพราะเธอได้ฆ่าเสือของตนตาย หมดเธอแผนฮุบที่ดินทำกินชาวบ้านจะได้สำเร็จ และเสี่ยเล็กจะทำกำไรได้จากการที่รัฐบาลมีโครงการจะตัดถนนผ่านหมู่บ้านบางปูน พอดีลูกสมุนเสี่ยเล็กมาเห็นนายกล้าแอบฟังจึงซ้อมจนน่วมและพ่อมาเห็นลูกชายเข้าจึงให้จับมัดไว้เพราะกลัวเอาเรื่องไปบอกลำดวนแฟนสาว แล้วบอกว่าที่พ่อทำไปทั้งหมดเพราะว่ารักนายกล้าลูกชายของตน

วันหนึ่งมีการเฉลิมฉลองทำบุญศาลเจ้าพ่อ โดยเป็นเจ้าภาพ มีมหรสพสมโภชน์ ลิเก ละครลิง ฯลฯให้ชาวบ้านได้เพลิดเพลิน แต่ลำดวนไม่สนใจไปร่วมงานเฝ้าบ้านอยู่ตามลำพังกับแม่ ทันใดนั้นก็มีลูกสมุนเสี่ยเล็กบุกเข้าบ้านมาฆ่าแม่และกำลังจะฆ่าเธอได้สู้สุดฤทธิ์แต่ไม่สามารถต้านทางด้านจึงถูกฆ่าตายตามนายกล้าซึ่งหลุดจากเชือกมัดมาได้วิ่งมาดูปรากฏว่าลำดวนสิ้นใจแล้ว จึงอุ้มศพมามากลางงานฉลองทำบุญศาลเจ้าพ่อ ซึ่งเวลานั้นเสี่ยเล็กกำลังพูดกล่าวเปิดงานบนเวทีอยู่ นายกล้าแฉให้ชาวบ้านรู้ว่าเรื่องทุกอย่างที่เกิดขึ้นเสี่ยเล็กเป็นคนอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น

ตนตาสว่างแล้ว แต่คนอื่นยังมืดบอดอยู่เสี่ยเล็กลงมาจากเวทีและได้ยิงนายกล้า ตายต่อหน้าคนทั้งหมู่บ้าน รวมทั้งต่อหน้าตาคล้าวร่างทรงด้วย ตาคล้าวได้เห็นดังนั้นก็หัวใจสลายที่เห็นลูกชายลงตายต่อหน้า

จึงสารภาพต่อหน้าชาวบ้านทั้งหมู่บ้านว่าขอโทษด้วยที่ทรงเจ้าหลอกแหกตาชาวบ้าน เพราะความโลภของตนเองแท้ๆ เทพเจ้าอะไรนั้นไม่มีอยู่จริง เทพเจ้าคือพวกเราทุกคนนั่นเองพร้อมทั้งเผาศาลเจ้าพ่อบ้านบางปูน และยิงตัวตายตามลูกชายไป

จบ

โดย : zczc


ที่มา : บอร์ด "ประชาไท" : เรื่องของชาวบ้านกับคนทรงเจ้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ึี่ง

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ต้นทุนของราชวงศ์อังกฤษในปี 2008 = 40 ล้านปอนด์ : ข่าวจาก BBC

พอดีเข้าเว็บ bbc แล้วเจอข่าวน่าสนใจ

อ่านได้ที่นี่ครับ BBC NEWS : UK : Royals 'cost the taxpayer £40m'


สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้ครับ


ควีนและสมาชิกราชวงศ์อังกฤษสร้างต้นทุนให้กับผู้เสียภาษีในปีที่แล้วไป 40 ล้านปอนด์ (2600 ล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน ที่ 65 บาท/ปอนด์)นับเป็นต้นทุนต่อหัวของผู้จ่ายภาษีที่ 66 pence (43 บาท) ต่อคน

เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมกล่าวว่า ต้นทุนราชวงศ์อังกฤษต่อปีนั้น ถูกกว่านมสองไพนท์หรือการดาวน์โหลด MP3 ซะอีก

นี่ยังไม่นับว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ใช้ในการเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ และช่วยโปรโมทเรื่องการค้า ซึ่งล้วนเป็นหน้าที่ที่ทางรัฐบาลได้ขอร้องมาให้ปฎิบัติ

แต่ทั้งนี้ที่ทัั้งนั้น ที่น่าเป็นห่วงก็คือ งบประมาณที่ได้อยู่นั้นไม่เพียงพอสำหรับการซ่อมแซมพระราชวังต่่างๆ มีหลายส่วนที่ค้างคาไม่ได้รับการซ่อมแซมเสียที เป็นดินพอกหางหมู

เกี่ยวกับเรื่องนี้กระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬา ได้บอกว่าจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อแก้ซ่อมแซมส่วนที่ตกค้างอยู่

อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มคนที่ไม่พอใจ ซึ่งเรียกตนเองว่ากลุ่ม Republic ทำแคมเปนจ์เรียกร้องให้มีการปฏิรูปค่าใช้จ่ายของราชวงศ์

โดยกลุ่มนี้เรียกร้องให้ควีนได้รับการสนับสนุนในรูปแบบเงินเดือน และเรียกร้องให้ค่าใช้จ่ายของราชวงศ์ถูกบันทึกและจัดการในรูปแบบเดียวกับหน่วยงานอื่นๆของรัฐบาล


ปล. ที่น่าสนใจคือตอนที่ข่าวนี้ออกทีวี มีการสัมภาษณ์คนอังกฤษด้วย ได้ความว่า การมีควีนกับพระราชวังน่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้พอควร ก็เลยไม่แย่เกินไปนัก แต่ส่วนนี้ไม่ลงอยู่ในเว็บ

ปล.2 ทั้งนี้ขอเรียนว่าบีบีซีน่าจะมีทัศนคติเป็นอันตรายต่อสถาบันกษัตริย์ทั่วโลก และเรียกร้องให้ทางไทยฟ้องดำเนินคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพกับผู้อำนวยการข่าวบีบีซี และดำเนินคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาลงโทษให้ได้


โดย : Thorn



เพิ่มเติม : ความเห็นต่อข่าว


ของอังกฤษใช้เงินภาษีประชาชน 2,600 ล้านต่อปี สำนักพระราชวังต้องออกมาแก้เขิน ส่วนชาวบ้านก็ทวงบุญทวงคุณกันน่าดู

ของเราจัดให้สำนักพระราชวังปีละ 2,000 ล้าน รวมกับที่ไปอยู่ในหน่วยงานกระทรวงทรวงกรม กองทัพอื่นๆรวมกันก็ 6,000 ล้านบาทเศษต่อปี

แต่ของเรานั้น ประชาชนไทยต้อง "น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ" กันน่าดูชม ออกข่าวทุกสื่อทั้งวิทยุ ทีวี ป้ายบิลบอร์ดว่าคนไทยต้องสำนึกบุญคุณพระเจ้าแผ่นดินกับพระราชวงศ์

ตกลงว่ามันต้องมีเรื่องผิดพลาดซักอย่าง คือหากไม่ทางอังกฤษผิดพลาดก็น่าจะเป็นเมืองไทยผิดพลาด....

แต่ผมสรุปว่าน่าจะเป็นทางอังกฤษแหละผิดพลาดที่ดันมีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อสถาบันฯ

คนอังกฤษนี่แม่งแย่มาก ใช้ไม่ได้

ถึงว่าเลยเป็นประเทศด้อยพัฒนา


โดย :
ขอชื่อสมชายไปหลายชาติ


ที่มา : บอร์ด "ฟ้าเดียวกัน" : ต้นทุนของราชวงศ์อังกฤษในปี 2008 = 40 ล้านปอนด์, ข่าวจาก BBC

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

ในเมื่อกฏหมายค้ำคออยู่ ท่านนึกไงถึงมาโพสท์หมิ่นเหม่


ถาม :

เพราะอะไรท่านถึงกล้าวิจารณ์จ้าว
ในขณะที่ยังมีกฏหมายคุ้มครองจ้าวอยู่
ทำไมไม่เปิดโอกาสให้จ้าวได้พัฒนาตนเอง
ท่านก็รู้ว่าเมื่อท่านมีรายชื่อในบัญชีของสันติบาล
ชีวิตท่านอยู่ไม่สงบสุขแน่
แค่บางคนหมั่นไส้ท่านแล้วรู้ว่าท่านไม่ภักดีต่อในหลวง
ท่านก็โดนหาเรื่องแล้ว

สุดท้าย ท่านคิดว่าแค่การวิจารณ์แบบนี้ มันจะมีปฎิกิริยาในวงกว้างจริงหรือ
ถ้าซักวันท่านรู้ว่า การกระทำของท่าน เป็นแค่เครื่องมือหรือคำอ้างของผู้เสียผลประโยชน์ ท่านจะรู้สึกยังไง


rikimaru_zaa


*********


ตอบ :


เพราะว่า ฉันเหลืออดเหลือทนแล้ว กับพฤติการณ์ ของพวกศักดินา
กับการมาหากิน เอาของมาขาย ปชช.

หลังจากนั้น เห็นอะไร เกี่ยวกับศักดินา ก็ขัดหูขัดตาไปหมด

แม้ว่ามีกม. ปกป้องศักดินาอยู่

แต่มันก็มีช่องทาง ที่จะเขียน ด่า อย่างไร ไม่ให้เดือดร้อน
ทั้งต่อตนเอง และท่านเว็บมาสเตอร์

ถ้า เขียนโพส คำว่า ศักดินา, สมชาย, สมหญิง, สมศรี+พี่จ่า ไม่ได้
ต่อไปคงต้องใช้คำใบ้ เช่น คุณพ่อเสื้อเหลืองใส่แว่นตาบอด,
คุณแม่พุงใหญ่ผ้าพันคอฟ้า ฯลฯ

เพราะ ถ้าเขียนแบบนี้แล้วโดนฟ้อง พวกบรรดาคอลัมน์ ซุบซิบดารา
ก็คงจะโดน ไปก่อนนานแล้วล่ะจ้า

ทำไม เขียนถึงศักดินาในฟ้าเดียวกันได้ คิดว่า
คงเส้นใหญ่ พอตัว ไม่เกรง ศักดินา ไม่ขี้หดตดหาย
เหมือนเว็บอื่น ที่แค่เฉียดนิดเฉียดหน่อย ก็ลบเกลี้ยง


ปัจจุบัน การพยายาม พัฒนาตัวเอง ของ ศักดินา ก็ยิ่งทำให้ฉันเอือมระอามากขึ้นไม่ว่าจะเป็น การเสนอหน้าเป็นนักกีฬาทีมชาติ ทั้งที่ตัวเองเล่นไม่เก่ง พอจะเป็นทีมชาติเลยยย ถ้าคัดตัวจริงๆ คนอื่นที่ไปแทน น่าจะมีลุ้นได้เหรียญมากกว่า เพราะเห็นเธอ แพ้ตลอดและนักกีฬาชาติอื่นเขา ซื้อไม่ได้ด้วยสิ เห็นคราวที่ไปแข่งกับสิงคโปร์เห็นได้ชัดเลยว่า ฝ่ายนั้นเค้ารู้ว่า หลานสมชายไม่เก่ง เลยตีใส่ คุณหลานตลอด แล้วไทยก็แพ้ กลับมามือเปล่า

โอลิมปิค คราวนี้ก็คง ตัดหน้าคนอื่น ไปแข่งอีกตามเคย

บางครั้งยังเห็นหญิงคนนี้ ไปออกแบบเสื้อผ้า ได้โชว์ ต่างประเทศ แต่ต้องจ้างพี่เลี้ยงเป็นห้องเสื้อชื่อดัง คอยให้คำแนะนำตลอด

ลูกสาวจอมเวอร์ ก็ชอบร้องเพลง ทำคอนเสิร์ต นัมเบอร์วัน ผลาญเงินตลอดล่าสุดผลาญเงินไปกับการทำหนัง เพื่อให้สรรเสริญตัวเอง ไปฉายเมืองคานส์ ต้องออกเงินเช่าโรงฉาย เอง ไม่รู้ฉายเมืองไทย จะเกณฑ์เด็กๆ ดู ฟรีหรือเปล่า หรือว่าต้องปั้ม DVD แจกฟรีอีก

และอื่นๆ อีกมากมาย


ผักกาดดอง


ที่มา : บอร์ด "ฟ้าเดียวกัน" : ในเมื่อกฏหมายค้ำคออยู่ ท่านนึกไงถึงมาโพสท์หมิ่นเหม่

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บทวิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ: พันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย?


อันที่จริง กรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการทางการเมืองที่เรียกตัวเองว่า “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ทั้งในระยะก่อนหน้ารัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงสมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนี้ ควรจะถือเป็นโอกาสหนึ่งที่หลายฝ่ายน่าจะได้พิจารณาอย่างจริงจังว่า ถึงที่สุดแล้ว “ระบบคิด” ที่กำกับอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวหรือที่กลุ่มพันธมิตรฯ นำมาใช้เคลื่อนไหวปลุกระดมมวลชนนั้นแท้จริงแล้วมีคุณูปการอย่างไรต่อสังคมไทยกันแน่? ในเมื่อประเด็นหลักสำคัญที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล และคณะนำมาใช้เคลื่อนไหวปลุกกระแสความเกลียดชังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างได้ผลนั้น ล้วนแต่เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ “ความกลัว” ต่าง ๆ เกี่ยวกับ “ชาติ” และ “สถาบัน” (ทั้งในด้านการผลิตซ้ำและขยายใหม่) ฉะนั้น เราจึงได้เห็นการโยงประเด็นปัญหาต่าง ๆ เข้ากับกรอบความขลาดกลัวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องของการไม่จงรักภักดี หมิ่นสถาบัน ขายชาติ จนถึงการเสียดินแดนเขาพระวิหาร

ส่วนประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันที่จริงสิ่งที่รัฐบาลสมัครเสนอขึ้นมานี้ยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มากนัก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่มีความชอบธรรมที่จะนำมาใช้ตั้งแต่แรก แม้ฝ่ายสนับสนุนและกลุ่มพันธมิตรฯ จะอ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติกันมา แต่ทุกคนต่างก็รู้ดีว่ารัฐประหาร 19 กันยา’ ต่างหากที่เป็นปัจจัยกำหนดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หลายกรณีเห็นได้ชัดว่าประเด็นจริง ๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ที่การล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตั้งแต่แรก และเป็นการปกป้องเจตนารมณ์ของการรัฐประหาร โดยหวังให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลอีกครั้งด้วยวิถีทางดังกล่าว

ก็ตาม ในเมื่อปัญหาอยู่ที่ “ระบบคิด” ไม่ใช่ตัวบุคคลหรือกลุ่มขบวนการ การโต้กลับการเคลื่อนไหวลักษณะนี้จึงไม่ควรใช้กลไกการปราบปรามของรัฐเอง เช่น ตำรวจ หรือทหาร เพราะจะยิ่งสร้างเงื่อนไขให้การเคลื่อนไหวตาม “ระบบคิด” ดังกล่าวมีความชอบธรรมยิ่งขึ้น ความอดทนอดกลั้นไม่ใช่แต่เพียงความจำเป็นเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่นี่จะเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งของสิทธิความเป็นประชาธิปไตยของรัฐเองในระยะยาวด้วย แต่ดูเหมือนความวิตกกังวลของหลายฝ่ายจะเป็นในลักษณะว่า การประท้วงของกลุ่มพันธมิตรฯ จะนำมาซึ่งข้ออ้างในการก่อรัฐประหารขึ้นมาอีก

รัฐประหารเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงต่อความเป็นประชาธิปไตย ความคิดที่สนับสนุนหรือนำไปสู่การรัฐประหารก็ควรถูกพิจารณาในลักษณะเดียวกัน!

ถ้าไม่เปลี่ยนแนวคิดหรือไม่มีการต่อสู้ทางความคิดที่ได้ผลเพียงพอ โอกาสจะเกิดรัฐประหารรวมทั้งการเคลื่อนไหวแบบกลุ่มพันธมิตรนี้ก็ยังจะมีอยู่ต่อไป!

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กับการสร้างเงื่อนไขจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก การตีความ “ชาติ” และ “สถาบัน” ของ คมช. และกลุ่มพันธมิตรฯ มีความสอดคล้องลงรอยกันเป็นอย่างดี นอกเหนือจากสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เชื่อมต่อกันระหว่าง พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร และแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งหมดนี้เราถึงจำเป็นต้องพิจารณาดูที่มาที่ไปของการตีความ “ชาติ” และ “สถาบัน” ที่ทั้งคมช. และกลุ่มพันธมิตรฯ นำมาใช้อย่างได้ผล

ทั้งหมดนี้เราสามารถย้อนกลับไปพิจารณาดูจากประวัติศาสตร์ได้มากน้อยเพียงไหน?

อะไรคือเงื่อนไขให้เกิดการเคลื่อนไหวตามแนวคิดการตีความดังกล่าว?

ที่ผ่านมาความพยายามในการตีความ “ชาติ” ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับ “สถาบัน” ในการเมืองไทยนั้นสามารถจำแนกอย่างหยาบ ๆ ได้เป็น 4 ยุคด้วยกันดังนี้


(1).
2475 :
ภายหลังจากเปลี่ยนระบอบการปกครองได้มีความพยายามของกลุ่มเจ้าที่ต้องการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เอื้อต่อผลประโยชน์ของกลุ่มตน กลุ่มนี้ได้ขัดแย้งและช่วงชิงอำนาจนำกับคณะราษฎร จนนำไปสู่การปิดสภาโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา รัฐประหาร พ.ศ. 2476 สงครามกลางเมืองระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชในปีเดียวกัน โดยในการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านคณะราษฎรครั้งนั้นได้ชูประเด็นสำคัญเรารู้จักกันดีในปัจจุบันคือ “พระราชอำนาจ” แต่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายต่อต้านเอง

เป็นที่ทราบกันดีในภายหลังว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มกบฏบวรเดชนั้น ไม่ใช่จะรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาใหม่ แต่กลุ่มนี้ต้องการปรับปรุงโครงสร้างบางอย่างเพื่อให้ “สถาบัน” ได้มีพื้นที่ทางอำนาจในการปกครองระบอบใหม่ “ความเป็นชาติ” ระหว่างกลุ่มบวรเดชและคณะราษฎรแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงด้วยเหตุประการนี้ เพราะการเคลื่อนไหวของคณะราษฎรนั้นยืนยันชัดเจนว่า “ประเทศเป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ดังที่เขาหลอกลวง” แต่ขณะเดียวกันคณะราษฎรก็ใช่จะต้องการเปลี่ยนสู่ระบอบสาธารณรัฐ ดังที่ฝ่ายตรงข้ามมักใช้โจมตี เพียงแต่ประเด็นข้อแตกต่างสำคัญนั้นอยู่ที่ “พระราชอำนาจ” คณะราษฎรไม่เห็นควรจะให้สถาบันมีอำนาจครอบงำเหนือ “การเมือง” อีกต่อไป อำนาจบริหารควรตกเป็นของผู้นำสามัญชนที่มาจากการเลือกตั้ง ตรงจุดนี้เองถูกขยายความโดยนักคิดนักเขียนและนักปาฐกถาจำนวนมาก เกี่ยวกับข้อเสนอเรื่องความจำเป็นที่จะต้องแยกระหว่าง “ชาติ” กับ “สถาบัน” ออกจากกัน ยกพระองค์ไว้เป็นที่เคารพสักการะ ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง


(2).
2490-2500 : สถานการณ์ได้ผันเปลี่ยนทำให้อำนาจนำทางการเมืองได้เปลี่ยนมือจากคณะราษฎรเป็นฝ่ายตรงข้าม กลุ่มการเมืองที่เคยเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับเหตุการณ์กบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้กลับฟื้นมามีบทบาทอีกครั้งในการเมืองไทยระยะปี พ.ศ. 2490 ถึงทศวรรษ 2500 “รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จากเดิมที่เคยเป็นจริงแต่เพียงในนามเท่านั้น กลายเป็น “ความเป็นจริงทางสังคม” ในแง่ที่รัฐบาลเริ่มแสดงการกระทำเชิงสัญลักษณ์ว่าตนเป็นรัฐบาลที่มีสิทธิธรรมจากการเป็นตัวแทนของสถาบันในการบริหาร เนื่องจากกลุ่มผู้นำระยะ 2490 ถึง 2500 ล้วนแต่มีปัญหาสิทธิธรรมตามระบบที่มีมาแต่ครั้ง 2475 พวกเขาไม่ได้รับเลือกจากราษฎรส่วนข้างมากตามจารีตที่มีขึ้นหลัง 2475 แต่คงอยู่ในอำนาจได้ก็ด้วยการรัฐประหาร ซึ่งแกนนำรัฐประหารต่างรู้ดีว่าขณะนั้นกำลังเกิดเงื่อนไขใหม่ขึ้นในการเมืองไทยคือ การเสด็จนิวัติกลับพระนครเป็นการถาวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในปี พ.ศ. 2494

ต่อมาเราจึงเห็นได้ว่าผู้นำเผด็จการทหารต่างอ้างความชอบธรรมจากสถาบัน กระทำการเชิงสัญลักษณ์ว่าตนเป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ความเป็นชาติ” ที่เคยเป็นเพียงจินตนาการความฝันที่ไม่เคยถูกยอมรับมาปฏิบัติจริงของกลุ่มกบฏบวรเดชถูกผลิตซ้ำและสร้างใหม่อย่างมากมายในยุคเผด็จการ ดูเหมือนสิ่งนี้เองจะเป็นประสบการณ์
“ความจัดเจน” อย่างแท้จริงของสถาบันในยุคต่อมาว่า ผู้นำเผด็จการที่ขึ้นสู่อำนาจจากการรัฐประหารนั้นไว้ใจได้ในเรื่องความจงรักภักดี แม้พวกนี้จะคอรัปชั่น คดโกงอย่างไร ก็ไม่ถูกนำมาเป็นประเด็น (อย่างน้อยก็ในระยะที่ยังอยู่ในอำนาจ) อย่างไรก็ตามระยะเผด็จการครองอำนาจนี้เอง ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกรัฐ (และความเป็นชาติ) ได้มีการเชื่อมต่อกับ “สถาบัน” ไว้หลายมิติด้วยกัน กระทั่งกล่าวได้ว่ารูปแบบรัฐที่นิยามความเป็น “ชาติ” หมายถึงอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร ที่คณะราษฎรได้สร้างทำไว้นั้นถูกยกเลิกเป็นอำนาจสูงสุดเป็นของสถาบันไปโดยปริยาย


(3)
14 ตุลา’ ถึงสงครามประชาชน :
แม้ว่าการเคลื่อนไหวระยะแรกของขบวนการ 14 ตุลา’ นั้น จะยังคงอ้างอิง “พระราชอำนาจ” มาใช้ในการเคลื่อนไหว แต่ปรากฏว่าขบวนการได้ขยายในเชิงคุณภาพ แนวคิดสังคมนิยมจาก พคท. (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย) ได้เข้ามาชิงการนำของขบวนการ มีการรื้อฟื้นแนวคิดและบทบาทความสำคัญของขบวนการฝ่ายซ้ายไทยในอดีต การวิพากษ์สังคมไทยว่า เป็น “กึ่งเมืองขึ้นกึ่งศักดินา” นำมาซึ่งการตั้งคำถามต่อบทบาทของรัฐบาลและสถาบันอย่างรุนแรง “ศักดินา” กลายเป็นตัวการสำคัญในทางประวัติศาสตร์ที่เป็นอุปสรรคหยุดยั้งพัฒนาการความก้าวหน้าของสังคมไทย จากจุดนี้สงครามประชาชนได้เริ่มขึ้น นอกเหนือจากรัฐบาลได้ดำเนินการปราบปรามกำลังนักรบทปท. (กองทหารปลดแอกแห่งประเทศไทย) ในชนบทอย่างรุนแรง ตั้งแต่ยุทธการภูหลวงกลางปี พ.ศ. 2515 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลจอมพลถนอมที่เคยมองกันว่าอ่อนแอนั้นกลับทุ่มเทกำลังคนและงบประมาณในการปราบปรามกำลัง ทปท. มากกว่ารัฐบาลเผด็จการก่อนหน้านั้น

ฝ่ายสถาบันก็ยังทำการเคลื่อนไหวต่อต้านอย่างต่อเนื่อง พระองค์ทรงวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในการปราบปราม พคท. ที่เน้นเฉพาะแต่กำลังอาวุธยุทโธปกรณ์เพียงอย่างเดียว ต่อมาทรงเสนอการปราบด้วยวิธีการเมืองมวลชนหรือที่รู้จักกันในศัพท์ “การเมืองนำการทหาร” ก่อนที่ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร จะนำเสนอแนวคิดนี้มาเคลื่อนไหวในหมู่นายทหารเสียอีก การยุติบทบาทลงไปของพคท. จึงถือเป็นชัยชนะของฝ่ายสถาบันที่เชื่อมโยงกับการต่อสู้ของรัฐบาลในสถานการณ์สงครามประชาชน ความสำคัญของเหตุการณ์ “ป่าแตก” ที่ยังไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกันมากนัก ก็คือเหตุการณ์นี้นำมาซึ่งการล่มสลายของ “คู่ตรงข้าม” หรือศัตรูสำคัญของสถาบันมากกว่าอื่นใด จากนั้นนับแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา เราจึงได้เห็นการแพร่ระบาดของกระแสความนิยมในตัวองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากกว่ายุคใด ปราศจากซึ่งคู่ตรงข้ามที่สามารถท้าทายหรือมีพื้นที่ในการต่อต้านไปแล้วนั่งเอง

แต่ทว่ามรรคผลของการพยายามครอบงำเหนือรัฐเพื่อใช้ในการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามมาหลายปี ก็ทำให้ฝ่ายสถาบันเห็นความจำเป็นที่ต้องกระทำการเยี่ยงนั้นต่อไป เพราะเห็นชัดแล้วว่ารัฐ (ที่ต่อเนื่องกับชาติ) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้ช่วงชิงการนำจากประชาชน “ข้าราชการ” จึงเป็น “ข้า ‘ราช ’ การ” ต่อไป ไม่ยินยอมให้คนเหล่านี้มีสำนึกว่าตนเป็น “ข้าราษฎร” ตามเจตนารมย์ของ ๒๔๗๕ อีกต่อไป และระยะนี้เองนายทหารระดับคุมกำลังต่างถือตัวว่าเป็นทหารของในหลวง และถือว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น “จอมทัพ” อย่างแท้จริง ไม่ใช่แต่เพียงการยกย่องโดยนามเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐ/ชาติ(เช่น นายกรัฐมนตรี) กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะระยะดังกล่าวนี้นายกรัฐมนตรีคนสำคัญที่ครองอำนาจยาวกว่าใคร ได้แก่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งทำให้ประชาชนและนายทหารมีนายกเป็น “ป๋า” (ป๋าเปรม?) นับจากเคยมีนายกเป็น “พ่อ” ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ (พ่อขุน?) ระบอบป๋ารับใช้สถาบันอย่างเต็มที่ “ในหลวงมาก่อนประชาชน” และ “ในหลวงก็คือชาติ”


(4)
พฤษภาคม 2535 : การนำ พล.อ. สุจินดา คราประยูร กับ พล. ต. จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยพลอ. เปรม ติณสูลานนท์ ทั้งที่ปกติต้องเป็นหน้าที่ของราชเลขาธิการ สร้างภาพเป็นบวกแก่สถาบันอย่างสูง กลายเป็นว่าปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ของประชาชนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 นั้นจบลงก็ด้วยพระบารมี ดูประหนึ่งว่าสังคมไทยมีสิ่งซึ่งเป็นกลางที่สำคัญสูงสุด ท่ามกลางความขัดแย้งที่ยากแก่การประนีประนอม แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า บทบาทของพระองค์ในเหตุการณ์ครั้งนั้นปรากฏออกมาในระยะที่สถานการณ์ต่อสู้กำลังเป็นไปโดยที่ฝ่ายประชาชนค่อนข้างจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ สุจินดาและระบอบ รสช. กำลังพบจุดจบอยู่รอมร่อ การแสดงบทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกลับทำให้ฝ่ายเผด็จการได้รับผลกรรมจากการเข่นฆ่าประชาชนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น


จากที่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 จบลงเช่นนั้น ฝ่ายรัฐและการเมืองถูกมองถูกรับรู้ด้วยภาพของความขัดแย้ง ความรุนแรง ฯลฯ ขณะที่ภาพลักษณ์และความทรงจำเกี่ยวกับบทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองเป็นตรงกันข้าม ทรงถูกทำให้เป็นศูนย์รวมของความรู้สึกในชาติ ชาตินิยมจากเดิมที่เคยเป็นพลังอำนาจอย่างหนึ่งของรัฐประชาชาติ รัฐซึ่งมีนิยามอย่างกว้างว่าอำนาจสูงสุดในทางการเมืองการปกครองเป็นของประชาชน ลุถึงทศวรรษ 2540 ชาตินิยมได้ผูกติดแนบแน่นกับผลประโยชน์ของสถาบัน ซึ่งก็เป็นอันสรุปได้ว่าความพยายามในช่วงที่ผ่านมาของเหล่าบรรดานักกษัตริย์นิยมประสบผลสำเร็จในการชี้นำให้สังคมเห็นว่าผลประโยชน์ของสถาบันนั้นเป็นอย่างเดียวกับผลประโยชน์ของชาติ หรือกล่าวอีกนัยคือ ผลประโยชน์ของคนบางหมู่เหล่าถูกเกลื่อนกลบด้วยข้ออ้างว่าเป็นผลประโยชน์ของชาตินั่นเอง เป็นเช่นนั้นมาตั้งแต่ก่อนปฏิรูปการเมืองประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2540 จนถึงการมาของนายกรัฐมนตรี เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ในการประท้วงขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นับว่านายสนธิ ลิ้มทองกุล และกลุ่มพันธมิตรฯ มีความแหลมคมอยู่มากที่ใช้เงื่อนไขบางประการจากความเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มาใช้เคลื่อนไหว แต่การฉวยโอกาสเยี่ยงนี้สมควรแก่การประณามมากกว่ายกย่อง ความคิดที่นำมาใช้เคลื่อนไหวของนายสนธิและกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นอุปสรรคที่แท้จริงของประชาธิปไตยไทยตลอด 76 ปีที่ผ่านมา ความคิดนี้เป็นความคิดเผด็จการแบบไทย ๆ ที่หาดูได้ไม่ยากจากประวัติศาสตร์ โดยพื้นฐานความคิดนี้เทียบได้กับกลุ่มกษัตริย์นิยมที่ต่อต้านคณะราษฎรและ พคท. รวมถึงการต่อสู้ของประชาชนในช่วงระยะที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ เป็นการขยายความคิด “ราชาธิปไตย” ลงสู่การเคลื่อนไหวมวลชนระดับล่างเท่านั้น ยังห่างไกลอย่างยิ่งจากสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองใหม่” ดังที่บางคนในแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ อวดอ้างอย่างไร้สติ!

และก็ด้วยการขาดการยั้งคิดเช่นนี้ ทำให้ไทยขัดแย้งกับเพื่อนบ้านด้วยการปลุกกระแสเรื่องการเสียดินแดนที่จบสิ้นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ตลอดระยะเวลากว่า 46 ปีที่ผ่านมา มีพวกคลั่งชาติไม่น้อยที่ไม่ยอมรับว่าเขาพระวิหารโดยเฉพาะตัวปราสาทนั้นเป็นของเขมร ครั้งหนึ่งพวกนี้เคยสร้างทฤษฎีหลอกลวงด้วยซ้ำว่า “ขอม” ไม่ใช่ “เขมร” (ฉะนั้น เขมรจึงไม่มีสิทธิครอบครองเขาพระวิหาร เหมือนอย่างที่เคยบอกว่าไม่มีสิทธิครอบครองนครวัดมาก่อน) กรณีการเสนอเป็นมรดกโลกแทนที่จะเป็นโอกาสในการยอมรับจริง ๆ เสียทีว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมรด้วย ไม่ใช่แต่ของไทยฝ่ายเดียว กลับถูกใช้เป็นประเด็นการเมืองอย่างฉาบฉวย ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หากจะกล่าวว่ากลุ่มพันธมิตรฯ มีความเป็นชาตินิยม ก็เป็นชาตินิยมที่เป็นสุดยอดของการเอาแต่ตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เห็นหัวคนอื่น ไม่คิดว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร และไม่คิดว่าเขาอาจตอบโต้เราดังที่เราทำกับเขาก็ได้ เขมรก็มีชาตินิยมของตนเอง ทางออกจึงควรเป็นการสงบและสันติมากกว่าจะยั่วยุหรือเปิดช่องให้อีกฝ่ายแสดงอิทธิฤทธิ์ของตนออกมา แล้วผลลัพธ์จะได้แก่ การสูญเสียทั้งสองฝ่าย กระนั้นหรือ?

ที่จริงตลอดระยะเวลากว่า 46 ปีที่ผ่านมา ก็พิสูจน์แล้วว่ารัฐไทยยังคงอยู่รอดปลอดภัยมาได้ กรณีเขาพระวิหารไม่ได้ทำให้รัฐไทยถึงแก่กาลอวสานแต่อย่างใดเลย อธิปไตยมีองค์ประกอบที่ซับซ้อนและหลากหลายเกินจะสูญสลายด้วยเหตุปัจจัยเพียงเท่านั้น เช่นเดียวกัน ปัจจุบันกล่าวได้ว่า “สถาบัน” มีฐานรากที่มั่นคงแข็งแกร่งเกินจะสั่นคลอนด้วยเหตุเพียงเพราะใครบางคนไม่จงรักภักดีหรือมีแนวคิดเป็นปฏิปักษ์ แท้จริงแล้วพวกนี้ออกจะดูหมิ่น... มากกว่าคนที่เขากล่าวหาว่าดูหมิ่นเสียอีก หากจะถือว่าการเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยของสถาบันเป็นความจริงโดยแท้อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีขบวนการทางการเมืองสำหรับปกปักรักษาหรืออวดอ้างว่า “เราจะสู้เพื่อ...” นายสนธิและกลุ่มพันธมิตรกำลังหลอกลวงประชาชนอย่างมโหฬาร

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่า การเคลื่อนไหวด้วยแนวคิดและการชูธง “ราชาธิปไตย” เช่นนี้ ผลลัพธ์คือความบอบช้ำอย่างยาวนานของสังคมและประชาธิปไตยไทย การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าถูกยับยั้งด้วยพวกปฏิกริยาล้าหลัง ขบวนการนี้กำลังนำพาประชาชนให้ต่อสู้ในประเด็นซึ่งไม่ใช่ปัญหาปากท้องของพวกเขาอย่างแท้จริง

การต่อสู้เช่นนี้มีค่าเท่ากับไม่ได้ต่อสู้!

ขบวนการนี้ไม่ใช่ขบวนการประชาธิปไตย
แต่เป็นราชาธิปไตยสำหรับยุคสมัยนี้อย่างแท้จริง

พันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย (ไม่ใช่ประชาธิปไตย?)

พอเสียทีเถอะ..

สำหรับการเคลื่อนไหวที่ปฏิกริยาเช่นนี้!

การเคลื่อนไหวมวลชนควรเป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นไปเพื่อต่อสู้ในประเด็นปัญหาของพวกเขาเอง ไม่ใช่ “ชาติ” หรือ “สถาบัน” ถึงตรงนี้เราควรแยก “ชาติ” กับ “สถาบัน” ออกจากกัน “ชาติ” ไม่ใช่พื้นที่ที่ “สถาบัน” ควรยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด!



กำพล จำปาพันธ์

นิสิตปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ที่มา : ข่าวประชาไท : บทวิจารณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ: พันธมิตรประชาชนเพื่อราชาธิปไตย?

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ

L’Internationale : ความเป็นมาของเพลง


เมื่อไม่กี่ปีก่อน ผมลองทำเว็ปไซต์ของตัวเองเล่นๆ โดยในหน้าแรกสุด (homepage) ผมใส่เพลงบรรเลง The International เป็นแบ็คกราวน์ ผู้รู้จักผมท่านหนึ่งแวะมาดู แล้วเอ่ยปากว่าชอบเพลงนี้ ผมจึงเล่าเรื่องแปลกๆที่เกิดขึ้นกับผมก่อนหน้านั้นให้ฟังว่า วันหนึ่งขณะอยู่ที่บ้าน ผมก็ได้รับโทรศัพท์ทางไกลจากสหรัฐอเมริกา จากนักเรียนไทยท่านหนึ่งซึ่งผมไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย เธอบอกว่า กำลังจะทำรายงานชิ้นย่อยส่งอาจารย์ อยากจะถามว่า มีเพลง The International ที่เป็น anthem ของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ในฉบับภาษาไทยหรือไม่ เธอเองเป็นคนรุ่นหลัง และแทบจะไม่รู้เรื่องการเมืองไทยสมัย 14 ตุลา - 6 ตุลา เลย ผมก็ตอบไปว่ามีเพลงนี้ในภาษาไทยอยู่ และได้ร้อง ‘ฮัม’ เนื้อเพลงนี้สดๆไปทางโทรศัพท์ แต่ก็จำได้ไม่หมด จึงให้เธอโทรกลับมาใหม่ ผมจะไปค้นหนังสือเก่าๆ หาเนื้อเพลงนี้ให้ ตอนหลังเธอก็โทรกลับมา และผมก็ให้เนื้อเพลงไป (บอกจดทางโทรศัพท์)

เมื่อผมเล่าเรื่องแปลกๆนี้เสร็จ ผู้รู้จักผมท่านนี้ก็เอ่ยปากว่า ขอเนื้อเพลงนี้ในภาษาไทยบ้างได้ไหม ผมก็ว่าได้ และได้เขียนเป็นจดหมายฉบับหนึ่ง ให้เนื้อเพลง International ฉบับภาษาไทยทั้ง 2 สำนวน และยังได้อธิบายความเป็นมาของเพลงนี้ในภาษาไทยที่ผมจำได้ไปคร่าวๆ จดหมายฉบับดังกล่าว มีข้อความดังนี้

ครับ ข้างล่างนี้คือเนื้อเพลง The International
ฉบับภาษาไทยที่คุณขอมา:


แองเตอร์นาซิอองนาล (สามัคคีนานาชาติ)

ตื่นเถิดพี่น้องผองทาสผู้ทุกข์ระทม
ลุกขึ้นเถิดปวงชนผู้ยากไร้ทั่วหล้า
เลือดรินปรี่ล้นทุกข์ทนเรื่อยมา
สองมือคว้าไขว่หายุติธรรม
โลกเก่าฟาดมันให้แหลกยับไป
ผองทาสทั้งหลายลุกขึ้นสามัคคี
อย่าคิดว่าเรานั้นยากไร้ซึ่งทุกสิ่ง
ด้วยความเป็นจริงโลกนี้เป็นของเรา

นี้เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย
สามัคคีให้ถึงวันพรุ่ง
แองเตอร์นาซิอองนาล
จะต้องปรากฏเป็นจริง
นี้เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย
สามัคคีให้ถึงวันพรุ่ง
แองเตอร์นาซิอองนาล
จะต้องปรากฏเป็นจริง

เคยมีหรือพระเจ้าที่มาโปรดช่วย
หวังอำนวยจากใครไม่ได้
หยัดยืนพึ่งลำแขนของเราไซร้
สังคมใหม่จึงจะได้มา
ขอพวกเราจงช่วงชิงชีพของเราคืน
จงหยัดจงยืนความคิดใหม่ไว้ให้ได้
โหมเพลิงในเตาให้พุ่งโชนขึ้นไป
ตีเหล็กตีได้เมื่อยังร้อนแดง

ผู้ใดคือชนชั้นผู้สร้างโลก
คือเราชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
ผลทั้งสิ้นจะต้องเป็นของพวกเรา
ไม่เหลือให้พวกทากสูบกิน
แค้นเจ้าพวกสัตว์ร้ายเลวทรามนั่น
แค้นที่มันสูบกินเลือดเรา
มีแต่กำจัดการขูดรีดให้สิ้น
ตะวันสีแดงสาดแสงทั่วหล้า


ดังที่ผมได้บอกไปว่าเพลงนี้ในภาษาไทย
มีอีกเวอร์ชั่นหนึ่งของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้:


อินเตอร์เนชั่นแนล

ตื่นเถิดพี่น้องคนจนผู้ทุกข์ระทม
โค่นล้มสังคมแห่งการกดขี่
ตื่นเถิดพี่น้องผู้ไร้สิทธิ์เสรี
ครั้งนี้เราสู้เป็นครั้งสุดท้าย
ล้างโลกเก่าให้ดับย่อยยับสิ้นไป
สร้างโลกใหม่ที่สดใสเปรมปรีย์
ทั้งนี้จงอย่าดูหมิ่นตนเอง
อันพวกเรานี้คือผู้สร้างโลกใหม่
พร้อมใจกันจงอย่ารั้งรอรา
สามัคคีกันตราบชั่วกัลป์
อินเตอร์เนชั่นแนลนั้น
คือแสงทองส่องบนท้องฟ้า
พร้อมใจกันจงอย่ารั้งรอรา
สามัคคีกันให้แน่นแฟ้น
อินเตอร์เนชั่นแนลรุ่งเรืองเฟื่องฟ้า
เริงใจ ทั่วหล้า ไชโย


เมือง บ่อยาง (ในหนังสือ จิตร ภูมิศักดิ์ ความใฝ่ฝันแสนงาม: รวมงานกวีนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ 2489-2509 ที่เขาเป็นบรรณาธิการ) กล่าวว่าเพลงนี้จิตรแต่งขึ้นระหว่างอยู่ในคุก ก่อน พ.ศ.2505 ผมเองมีเหตุผลที่ทำให้คิดว่าน่าจะเป็นก่อนถูกจับในพ.ศ. 2501 มากกว่า (ขอไม่อธิบายเหตุผลในที่นี้เพราะจะยืดยาวมาก) เมือง บ่อยาง ยังกล่าวด้วยว่าเวอร์ชั่นข้างบนนั้นแปลมาจากภาษาจีนหลัง 14 ตุลา ‘อันที่จริงก็ไม่รู้ว่ามีอะไรขัดข้องหรือเปล่า เช่น คนพิสูจน์อักษรอาจพิสูจน์ผิด เพราะสำเนียงฝรั่งเศสไม่น่าจะออกเสียงเป็น “แองเตอร์นาซิอองนาล” ไปได้ ควรจะเป็น “แองแตร์นาซิอองนาล” ต่างหาก’ ในประเด็นที่ว่าเวอร์ชั่นยาวนั้นแปลมาจากภาษาจีนผมเห็นด้วยว่าคงจริง แต่ประเด็นที่ว่าภาษาฝรั่งเศสควรออกเสียงอย่างไรนั้นผมไม่ทราบ สงสัยต้องถามให้อ.เกษียรยืนยัน

ผมเห็นเวอร์ชั่นยาวตีพิมพ์ครั้งแรกราวต้นปี 2517 บนปกหลังวารสาร ปช.ปช. ของกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ใช้ชื่อย่อกลุ่มเป็นชื่อวารสารด้วย) นี่เป็นกลุ่มที่ธีรยุทธ บุญมีตั้งขึ้นหลัง 14 ตุลา เดิมทีเดียวเป็นความต่อเนื่องจากกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญของเขา เพราะฉะนั้นแรกๆจึงไม่ซ้าย (ตัวธีรยุทธเองยังไม่ซ้าย) เช่นมีคนอย่างอนันต์ เสนาขันธ์ (ซึ่งร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ) เป็นสมาชิกกลุ่มและร่วมทำวารสารด้วย แต่ถึงเกือบๆจะกลางปี 2517 ทั้งกลุ่มและวารสารก็เปลี่ยนเป็นซ้าย (ตัวธีรยุทธด้วย ว่ากันว่าเพราะกรณีหมู่บ้านนาทราย) คนอย่างอนันต์ก็ออกไปทำกลุ่มและหนังสือของตัวเอง วารสารปช.ปช. ฉบับที่พิมพ์เนื้อเพลงนี้บนหลังปกนั้น มีปกเป็นรูปลายเส้นแบบที่ฝรั่งเรียกว่า silhouette เป็นรูปชาวนากลุ่มหนึ่งเดินกันมาจูงควายถือคันไถ และชูปืนด้วย ผมมีอยู่เหมือนกัน แต่กระทันหันหาไม่เจอ วันหลังถ้าเจอจะเอาให้ดู เพลงนี้ถูกตีพิมพ์บนหลังปกอย่างที่ผมพิมพ์มาให้ดูข้างบน คือไม่มีคำอธิบายใดๆ ผมเข้าใจว่า เมือง บ่อยางคงพูดถูกที่ว่าแปลมาจากภาษาจีน ซึ่งทำให้สันนิษฐานต่อไปได้ว่า คนแปล (อาจจะมีมากกว่าหนึ่งคน) น่าจะเป็นพวก ‘สายจีน’ คือสมาชิกหรือแนวร่วมของพรรคที่ทำงานใต้ดิน พวกที่เป็นลูกหลานจีน และผมจึงเข้าใจว่าน่าจะมีการเผยแพร่กันในแวดวงกลุ่มฝ่ายซ้ายก่อนที่ปช.ปช.จะมาพิมพ์

ตามความเข้าใจของผม คนที่นำเวอร์ชั่นนี้มาร้องคือวงดนตรีชื่อ กงล้อ ซึ่งเป็นวงของพรรคพลังธรรม ธรรมศาสตร์ (พวกเพื่อนๆอ.สินิทธ์ สิทธิรักษ์ มีอยู่คนหนึ่งคืออรรถการ ติดคุกเป็นหนึ่งในผู้ต้องหา 6 ตุลาร่วมกับผมด้วย) ถ้าจำไม่ผิดเริ่มร้องในราวปลายปี 17 ต่อต้นปี 18 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสพคท.กำลังจะครอบงำขบวนการนักศึกษาอย่างเด็ดขาด พวกเขาเอาเพลงนี้มาร้องปิดการแสดงของตนคู่กับเพลงภูพานปฏิวัติที่เขาบรรเลงเปิดการแสดงของตน เรียกว่าเป็น signature tunes (เพลงเอกลักษณ์ของวง) ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นกระบวนการที่ความคิดแบบพคท.ครอบงำขบวนการที่ว่า ที่น่าสังเกตุคือ เพลงนี้แม้ว่าน่าจะมีกำเนิดมาจาก ‘สายจีน’ แต่น่าจะเป็นพวกในเมืองเท่านั้น เพราะไม่เคยปรากฏว่าวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (วิทยุ สปท.) ของพรรคในป่า (ความจริงตั้งอยู่ในคุนมิง) เคยเอาไปร้องออกอากาศเลย ตรงข้ามกับเวอร์ชั่นของจิตร ที่ผมจำได้ว่ามีการนำไปร้องทางวิทยุสปท.เพียงแต่ไม่บ่อยมาก นานๆจะเปิดออกอากาศทีหนึ่ง ผมเองเคยฟังเพียงไม่กี่ครั้ง

พูดถึงวงกงล้อที่เอาแองเตอร์นาซิอองนาลไปร้อง เขาได้เปลี่ยนท่วงทำนองเล็กน้อย จากท่วงทำนองที่เป็นสากล คือเขาร้องช่วงแรกจนถึงจบสร้อยครั้งแรกแบบช้าๆ แล้วจึงเข้าทำนองเร็วขึ้นตามแบบสากล (จาก ‘เคยมีหรือพระเจ้าที่มาโปรดช่วย…’) เช่นเดียวกับกรณีเพลงภูพานปฏิวัติ ซึ่งเขาเริ่มร้องอย่างช้าๆสามวรรคแรก (‘ยืนตระหง่านฟ้า แผ่ไพศาลทิวยาวยอดสูงสง่า ภูพานมิ่งขวัญคู่หล้าแหล่งไทย’) แล้วจึงร้องเร็วตามแบบฉบับของพรรค โดยส่วนตัวผมว่าทำให้ไพเราะกว่าแบบฉบับ โดยเฉพาะเพลงภูพานปฏิวัตินั้น ผมชอบวิธีร้องของกงล้อมากกว่าวิธีแบบฉบับ

ผมได้กล่าวข้างต้นว่า กงล้อบรรเลงภูพานปฏิวัติเปิดการแสดงของตน คือรู้สึกกันว่าการร้องเนื้อจะแรงเกินไป (นี่เป็นเพลงประจำพรรค และยังมีเนื้อหาสดุดีการต่อสู้ด้วยอาวุธของพรรค) ครั้งแรกที่เขาลองร้องเนื้อจริงๆคือ งานชุมนุมประท้วงการจับผู้นำชาวนานักศึกษาภาคเหนือในเดือนสิงหาคม 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสของพคท.ในขบวนการขึ้นถึงขีดสุด (มีความพยายามเอาไอเดียพรรคเรื่องสงครามยืดเยื้อมาประยุกต์ใช้กับการชุมนุมในเมืองเป็นต้น) จำได้ว่าทันทีที่เขาร้องเนื้อกลางเวทีชุมนุม ตอนดึก เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ ซึ่งเป็นเลขาศูนย์นิสิตตอนนั้นได้ยินเข้าโกรธมาก รีบไปต่อว่าที่เวที ช่วงหลังจากนั้น กงล้อก็ยังใช้การบรรเลงทำนองเพลงนี้เปิดการแสดงของเขา แต่ก็เริ่มร้องเนื้อเป็นประจำ แม้จะไม่ทุกครั้งที่แสดง เพราะถึงปี 2519 เพลงของพรรคก็ถูกนำมาร้องบ้างแล้ว เช่น บ้านเกิดเมืองนอน และเพลงเพื่อชีวิตทั่วไปก็มีเนื้อหาที่แรงมากแล้ว โดยเฉพาะเพลงโคมฉาย (‘ข้ามเขาลำธารฟันฝ่าศัตรู กระชับปืนชูสู้เพื่อโลกใหม่ กองทัพประชาแกร่งกล้าเกรียงไกร…’) ซึ่งมักจะถูกร้องคู่กับบ้านเกิดเมืองนอน และวีรชนปฏิวัติ (เขียนถึงตอนนี้ผมเพิ่งรู้ตัวว่าจำเนื้อร้องโคมฉายซึ่งเป็นเพลงโปรดของผมตอนนั้นไม่ได้หมดเสียแล้ว!!)

สำหรับเรื่องการแต่งเพลง The International ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากคอมมูนปารีสนั้น หนังสือรวมเพลงเพื่อชีวิตพิราบขาว ที่อมธ.พิมพ์ในปี 2519 (เข้าใจว่าเป็นฝีมือของสุพจน์ แจ้งเร็ว กับอรรถการ และอาจจะประชาด้วย) เล่าว่า . . . . .


จดหมายฉบับนี้ ผมเขียนได้เพียงเท่านี้ ก็ไม่มีเวลาเขียนต่อ แต่ก็ส่งไป โดยบอกผู้รู้จักท่านนั้นว่า ถ้ามีเวลาจะเขียนเล่าประวัติของเพลง L’Internationale ต่อ อันที่จริง ตอนนั้น เฉพาะเรื่องเพลง ผมก็ไม่ได้รู้มากไปกว่าที่ พิราบขาว เล่าไว้ เฉพาะในส่วนเรื่องคอมมูนปารีสเท่านั้น ที่อาจจะรู้มากกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนั้นเล็กน้อย

เวลาก็ล่วงเลยมาหลายปี และผมก็ไม่ได้เห็นหน้าค่าตาหรือได้ข่าวคราวผู้รู้จักท่านนั้นอีก และสำเนาจดหมายฉบับที่เขียนไม่จบนี้ ก็ถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์รวมๆกับจดหมายและบทความที่เขียนไม่จบอีกหลายชิ้น แต่ก็ยังจำได้รางๆอยู่ จนเมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมแวะไปที่ร้าน PB Foreign Books Center ซึ่งเป็น supplier หนังสือภาษาอังกฤษรายใหญ่ของห้องสมุดธรรมศาสตร์ (และมหาวิทยาลัยอื่นๆ) เพราะเขามีเทศกาลลดราคาหนังสือประจำปี บังเอิญได้เจอหนังสือเกี่ยวกับคอมมูนปารีสเล่มใหม่ เพิ่งพิมพ์เมื่อปี 1999 ชื่อ The Paris Commune 1871 ของ Robert Tombs จึงรีบซื้อไว้ เพราะ ‘สะสม’ หนังสือเกี่ยวกับคอมมูนปารีสอยู่ เฉพาะเล่มนี้ ที่ชอบเป็นพิเศษคือนอกจากจะเล็กกระทัดรัดแล้ว ยังมีบทกวี L’Internationale และคำแปลภาษาอังกฤษในภาคผนวกด้วย ทำให้ผมหวนนึกไปถึงจดหมายที่เขียนค้างไว้ข้างต้น และนึกถึงสัญญาที่ให้ไว้กับผู้รู้จักท่านนั้น สัญญาย่อมเป็นสัญญา แม้จะผ่านมาหลายปี ประกอบกับพอจะมีเวลา ‘ว่าง’ อยู่เล็กน้อย จึงลงมือค้นเรื่องเพลง International ทางอินเตอร์เน็ตดู ปรากฏว่าได้ข้อมูลที่น่าสนใจบางอย่าง เช่น ในภาษาอังกฤษ เพลงนี้มีอยู่ถึง 4-5 เวอร์ชั่น (อังกฤษ, อเมริกัน, อัฟริกาใต้ และยังมีเวอร์ชันใหม่ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ คือยุคหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายด้วย) และทำให้เกิดปัญหาว่า เวอร์ชั่นภาษาไทยของจิตร ภูมิศักดิ์ นั้นแปลมาจากไหน เพราะดูแล้วไม่ใกล้เคียงกับเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษไหนเลย ในส่วนเวอร์ชั่นไทยอีกอันหนึ่ง (‘แองเตอร์นาซิอองนาล’) นั้น คิดว่าคงแปลมาจากภาษาจีนจริงๆ สำหรับเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่สำคัญที่สุด 2 อัน คือของอังกฤษและอเมริกัน มีดังนี้


The Internationale
British version

Arise ye workers from your slumbers
Arise ye prisoners of want;
For reason in revolt now thunders
And at last ends the age of cant.
Away with all your superstitions
Servile masses arise, arise!
We'll change henceforth the old tradition
And spurn the dust to win the prize.

So comrades, come rally
And the last fight let us face
The Internationale
unites the human race!

No more deluded by reaction
On tyrants only we'll make war
The soldiers too will take strike action
They'll break ranks and fight no more
And if those cannibals keep trying
To sacrifice us to their pride
They soon shall hear the bullets flying
We'll shoot the generals on our own side.

So comrades, come rally
And the last fight let us face
The Internationale
unites the human race!

No saviour from on high delivers
No faith have we in prince or peer
Our own right hand the chains must shiver
Chains of hatred, greed and fear
E'er the thieves will out with their booty
And give to all a happier lot.
Each at the forge must do their duty
And we'll strike while the iron is hot!

So comrades, come rally
And the last fight let us face
The Internationale
unites the human race!



The Internationale
USA-version

Arise, you prisoners of starvation!
Arise, you wretched of the earth!
For justice thunders condemnation:
A better world's in birth!
No more tradition's chains shall bind us,
Arise, you slaves, no more in thrall!
The earth shall rise on new foundations:
We have been naught, we shall be all!

'Tis the final conflict;
Let each stand in their place!
The international working class
Shall be the human race.

We want no condescending saviors
To rule us from their judgment hall,
We workers ask not for their favors
Let us consult for all:
To make the thief disgorge his booty,
To free the spirit from its cell,
We must ourselves decide our duty,
We must decide and do it well.

'Tis the final conflict;
Let each stand in their place!
The international working class
Shall be the human race.

The law oppresses us and tricks us,
the wage slave system drains our blood;
The rich are free from obligation,
The laws the poor delude.
Too long we've languished in subjection,
Equality has other laws;
"No rights," says she "without their duties,
No claims on equals without cause."

Behold them seated in their glory
The kings of mine and rail and soil!
What have you read in all their story,
But how they plundered toil?
Fruits of the workers' toil are buried
In strongholds of the idle few
In working for their restitution
the men will only claim their due.

We toilers from all fields united
Join hand in hand with all who work;
The earth belongs to us, the workers,
No room here for the shirk.
How many on our flesh have fattened!
But if the noisome birds of prey
Shall vanish from the sky some morning
The blessed sunlight then will stay.


สำหรับยูเชเน่ ปอตติเย่ (Eugène Pottier) นั้น เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 1816 ในครอบครัวยากจนในกรุงปารีส เขาเคยทำงานเป็นกรรมกรบรรจุหีบห่อในโรงงานและในระยะหลังทำงานออกแบบบล็อกลายผ้า เมื่ออายุ 14 ปี ก็แต่งเพลงแรกในชีวิต ชื่อ เสรีภาพจงเจริญ! (Long Live Liberty!) เขาเข้าร่วมการปฏิวัติปี 1848 ต่อมาได้เป็นสมาชิกสมาคมกรรมกรสากล (International Working Men’s Association) ที่ภายหลังรู้จักกันในนาม ‘สากลที่หนึ่ง’ (First International) ซึ่งเป็นองค์กรที่มาร์กซเข้าไปมีบทบาทนำทางความคิด ในระหว่างเหตุการณ์คอมมูนปารีส (มีนาคม-พฤษภาคม 1871) ปอตติเย่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาของคอมมูน เมื่อคอมมูนพ่ายแพ้ในเดือนพฤษภาคม 1871 เขาลี้ภัยไปอังกฤษและสหรัฐอเมริกา (ซึ่งในระหว่างนั้นเขาถูกฟ้องศาลและตัดสินประหารชีวิต) เขาสามารถเดินทางกลับฝรั่งเศสได้ในปี 1887 แล้วเข้าร่วมกับพรรคกรรมกรฝรั่งเศส แต่มีชีวิตอยู่ไม่นาน ก็ถึงแก่กรรมในสภาพที่ยากจนในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น หนังสือรวมบทกวี 2 เล่มของเขาได้รับการตีพิมพ์ในปี 1884 และ 1887

ปอตติเย่เขียนบทกวี L’Internationale เพื่อสดุดีคอมมูนปารีส ในเดือนมิถุนายน 1871 โดยอุทิศให้กับ Gustave Le Francais เพื่อนสมาชิกสภาคอมมูน (อย่างไรก็ตาม ผมพบข้อมูลบางแห่งที่กล่าวว่า ร่างแรกของบทกวีนี้ เขียนตั้งแต่ปี 1870) บทกวีนี้ ไม่ได้กลายเป็นเพลง จนกระทั่งหลังจากปอตติเย่ถึงแก่กรรมแล้ว โดยในปี 1888 สาขาพรรคกรรมกรฝรั่งเศสในเขตเมือง Lille ได้จัดตั้งคณะนักร้องประสานเสียงชื่อ ‘พิณของคนงาน’ (La Lyre des Travailleurs) และได้ขอร้องให้ Pierre Degeyter สมาชิกคนหนึ่งของคณะ ซึ่งเริ่มชีวิตการเป็นคนงานตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ แต่เคยผ่านโรงเรียนฝึกฝนดนตรี (Lille Conservatorium of Music) ทำให้มีความสามารถทั้งเล่นเครื่องดนตรีและแต่งเพลง ให้เอาบทกวีของปอตติเย่นี้ไปใส่ทำนอง เพลง L’Internationale ที่มีคำร้องของปอตติเย่และทำนองดนตรีของ Degeyter ได้รับการแสดงต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 1888 โดยคณะพิณของคนงาน เพลงนี้ได้รับความนิยมในหมู่คนงานฝรั่งเศสอย่างรวดเร็ว แต่ครั้งแรกที่เพลงเริ่มเป็นที่รู้จักของขบวนการสังคมนิยมนอกฝรั่งเศสคงจะเป็นในการประชุมสมัชชาพรรคกรรมกรฝรั่งเศสในปี 1896 ทีจัดขึ้นที่เมือง Lille เมื่อพวก ‘ชาตินิยม’ ฝ่ายขวาของฝรั่งเศสเดินขบวนประท้วงการที่มีตัวแทนพรรคสังคมนิยมเยอรมันเข้าร่วมประชุมด้วย และถูกคนงานตอบโต้ด้วยการร้องเพลง L’Internationale ต่อมาในปี 1910 บรรดาพรรคสังคมนิยมที่เข้าร่วมประชุมสมัชชาพรรคสังคมนิยมสากลในโคเปนเฮเกน ได้ตกลงรับเอาเพลงนี้เป็นเพลงประจำคณะ (anthem)

ในบทความรำลึกการถึงแก่กรรมครบ 25 ปีของ ปอตติเย่ ที่ตีพิมพ์ใน
ปราฟด้า ฉบับวันที่ 3 มกราคม 1913 เลนิน กล่าวว่า:


In whatever country a class-conscious worker finds himself, wherever fate may cast him, however much he may feel himself a stranger, without language, without friends, far from his native country—he can find himself comrades and friends by the familiar refrain of the Internationale. . . . . When he was composing his first song, the number of worker socialists ran to tens, at most. Eugene Pottier’s historic song is now known to tens of millions of proletarians.


แทบทุกครั้งที่ผมนึกถึงเพลง L’Internationale ก็มักจะนึกถึงคอมมูนปารีส และความเรียงของมาร์ซเรื่อง The Civil War in France ผู้ที่ศึกษามาร์กซมาบ้างคงทราบความสำคัญของความเรียงชิ้นนี้ในระบบความคิดของมาร์กซและในประวัติศาสตร์ของมาร์กซิสม์ ในระยะหลัง งานวิชาการหลายชิ้น ได้ชี้ให้เห็นว่า ในความเรียงนี้ มาร์กซได้สร้างมายาภาพให้กับคอมมูน (mythification) แต่สำหรับผม เมื่อนึกถึงความเรียงนี้ของมาร์กซ ผมกลับนึกไปถึงอีกเหตุการณ์หนึ่ง เหตุการณ์ในเช้าวันพุธที่ 6 ตุลาคม 1976 (2519) ในประเทศไทย และประโยคสุดท้ายใน Civil War in France ซึ่งแม้ว่าอาจจะไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงของเหตุการณ์คอมมูนปารีสได้ตามที่มาร์กซตั้งใจ กลับสามารถ - ในใจของผม - พูดแทนความรู้สึกของผมต่อเหตุการณ์หลังได้เป็นอย่างดี:


Working men’s Paris, with its Commune, will be forever celebrated as the glorious harbinger of a new society. Its martyres are enshrined in the great heart of the working class. Its exterminators history has already nailed to that eternal pilory from which all the prayers of their priests will not avail to redeem them.



สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

22 มิ.ย. 2545


ที่มา : วิกิพีเดีย : พูดคุย:แองเตอร์นาซิอองนาล

หมายเหตุ
การเน้นข้อความทำโดยความเห็นของผู้จัดเก็บบทความ