วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

หลังรัชสมัยองค์กษัตริย์ภูมิพล

After Bhumibol?

Gulf Daily News

แปลและเรียบเรียง :  แชพเตอร์ ๑๑
 
นประเทศไทย ประชาชนต้องโดนติดคุกหัวโตถ้าวิจารณ์พระราชวงศ์ สื่อไทยจึงต้องปิดปากเงียบต่อคำถามที่ว่า อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นรัชกาลกษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดช

ขณะนี้กษัตริย์พระชนมายุ ๘๑ พรรษา ได้เข้ารับรักษาพระวรกายในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้ว จึงมีข่าวลือสะพัดด้วยความหวาดกลัวว่า พระองค์ทรงสิ้นแล้ว เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเพียงวันเดียวตลาดหุ้นกรุงเทพดิ่งลงร้อยละ ๘ จากข่าวลือที่ว่า พระสุขภาพของพระองค์ทรุดลงมากกว่าที่ทางพระราชวังได้แถลงการณ์

กษัตริย์ภูมิพลทรงครองราชย์มายาวนานถึง ๖๓ ปี และทรงเป็นเคารพโดยทั่วไป ประเทศไทยตกอยู่ในวิกฤติที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เคยมีมาในทางการเมืองถึง ๓ ปี ตั้งแต่เป็นประเทศประชาธิปไตยแบบลุ่มๆดอนๆมามากกว่าสองทศวรรษ และนับได้ว่ากษัตริย์ทรงเป็นปัจจัยสำหรับการรวมศูนย์ใจและความมั่นคงที่ยังคงเหลืออยู่ การสิ้นสุดรัชกาลของพระองค์ย่อมทำให้เรื่องต่างๆยิ่งเลวร้ายลง

วิกฤติดังกล่าวมีผลเนื่องมาจากประชาธิปไตย ประเทศไทยได้เริ่มเป็นประเทศกึ่งพัฒนา นับตั้งแต่กษัตริย์ภูมิพลขี้นครองราชย์ รายได้ถัวเฉลี่ยของประชาชนได้เพิ่มขึ้นสี่สิบเท่า แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงอาศัยในชนบทและค่อนข้างยากจน คะแนนเสียงของพวกเขาได้ถูกซื้อโดยนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพล และส่งผ่านต่อไปยังพรรคการเมืองใดๆก็ตามที่มีพื้นฐานเป็นชาวกรุงที่จ่ายเงินให้มากที่สุด แต่มิได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป

นับตั้งแต่ประชาชนชาวชนบทจำนวนมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับความรู้และมีความเข้าใจมากขึ้น พวกเขาเริ่มใช้คะแนนเสียงสนับสนุนนักการเมืองต่างๆที่สัญญาว่า จะรักษาผลประโยชน์ของพวกเขา ไม่ใช่เอาแต่ไปปรนเปรอให้กับพวกศักดินาที่มีฐานะในกรุงเทพ ในปี ๒๕๔๔ พวกเขาได้เลือกนักการเมืองอันเป็นที่นิยม และมีพื้นฐานที่ถ่อมตน และเขาคนนั้นคือ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

ทักษิณสร้างฐานะขึ้นมาจากธุรกิจโทรคมนาคม และถ้าเขาไม่ร่ำรวย เขาอาจจะไม่ชนะการเลือกตั้งก็ได้ แต่เขาได้บริหารประเทศเพื่อผลประโยชน์ของคนยากจน ในปี ๒๕๔๘ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอีกครั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากที่เพิ่มขี้นกว่าครั้งแรก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราปรารถนาในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตย สำหรับคนยากจนที่มีจำนวนมากกว่าคนร่ำรวย

แต่เป็นเรื่องที่คาดหมายได้ว่า จะต้องมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงจากศักดินาอำมาตย์หัวโบราณ ซึ่งมาในแนวของพวกพันธมิตร อันเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวของเสื้อเหลืองมีเป้าหมายเพื่อจะล้มเลิกความเป็นประชาธิปไตย พวกเขาสร้างความยั่วยุเมื่อประจันหน้าบนท้องถนนกับฝ่ายสนับสนุนทักษิณ (ซึ่งแต่งสีแดง) พันธมิตรสร้างข้อแก้ตัวให้กับกองทัพเพื่อเข้ายึดอำนาจโดยการทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะวิกฤติอย่างถาวร

ผู้สนับสนุนพันธมิตรซึ่งเป็นคนกรุง และชนชั้นกลางเข้ายึดท้องถนนในเมืองเหลวง แม้กระทั่งกระทำการล้มรัฐบาลที่พวกเขาไม่ต้องการ แต่พันธมิตรไม่สามารถบังคับให้ชาวชนบทส่วนใหญ่เลิกความภักดีที่เขามีอยู่ได้ ประเทศถูกแบ่งแยกอย่างน่าอันตราย และการเมืองกลายเป็นอัมพาต และคนไทยหลายคนเชื่อว่า มีแต่กษัตริย์ภูมิพลพระองค์เดียวเท่านั้นที่จะทรงยึดเหนี่ยวประเทศไว้ได้


อาจจะใช่ แม้ว่าจะมีความสงสัยว่าพระองค์ทรงสนับสนุนให้ทำรัฐประหารในปี ๒๔๔๙ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ทรงยอมรับเท่านั้น (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล อดีตนักข่าวที่มีชื่อเสียง ได้ถูกตัดสินจำคุกถึง ๑๘ ปีหลังจากที่เธอได้ทำการปราศรัยเป็นนัยว่า กษัตริย์ทรงสนับสนุนการทำรัฐประหาร) อย่างไรก็ดี การสิ้นรัชกาลนั้นย่อมทำให้วิกฤติยิ่งตกหนักมากขึ้น เนื่องจากองค์รัชทายาทที่ดูเหมือนจะสืบสันตติวงศ์นั้นไม่ทรงเป็นที่รัก

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณทรงมีชีวิตส่วนพระองค์ที่โลดโผน รวมถึงการอภิเษกสมรสถึงสามครั้ง แทบจะไม่ได้เปลี่ยนการวางพระองค์ในระยะเวลา ๕๗ ปีที่ทรงอยู่ภายใต้เงาของพระราชบิดา ในเวลาที่ปกติ พระองค์อาจจะเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างสมบูรณ์ แต่คนไทยได้ตัดสินใจแล้ว จะยุติธรรมหรือไม่ก็ตามที่ว่า ความภักดีที่จะมอบให้พระองค์นั้นมีไม่มากนัก

เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณทรงไม่ได้รับความเคารพเยี่ยงพระราชบิดา ซึ่งทรงมีบทบาทในการสมานความร้าวฉานและสร้างความสงบ และได้มีการเสนออย่างเงียบๆว่าพระขนิษฐา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร อาจจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ดีกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากแม้ว่ากฎหมายไทยได้เปลี่ยนให้ผู้หญิงขี้นครองราชบัลลังก์ได้ และรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้สิทธิการตัดสินใจการสืบสันตติวงศ์ตกในมือขององคมนตรีทั้ง ๑๙ คน

พวกเขาคงไม่เปลี่ยนแปลงในเรื่ององค์รัชทายาท แต่จากความจริงแท้ที่ว่า อาจจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งยิ่งสร้างความไม่แน่นอนและโอกาสที่จะเกิดปฏิกิริยาต่อความขัดแย้ง

การออกแถลงการณ์พระอาการของกษัตริย์ของสำนักพระราชวังเกือบจะทุกวัน ล้วนแล้วแต่สร้างความหวัง แต่การอ้างถึงแต่เรื่อง “พระปับผาสะ (ปอด) อักเสบ” อันเป็นคำพูดที่สวยหรูสำหรับการเรียกโรคนิวมอเนีย ซึ่งเป็นโรคที่มีโอกาสจะคร่าชีวิตคนในวัยชรา จึงเป็นการสมควรแล้วที่พสกนิกรชาวไทยจะมีความวิตกกังวล ขอทรงพระเจริญ


Gwynne Dyer

October 25, 2009


ที่มา : liberalthai : หลังรัชสมัยองค์กษัตริย์ภูมิพล

10 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2554 เวลา 09:00

    กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย
    น้ำเต้าน้อยจะถอยจม
    ผู้ดีจะเดินตรอก
    ขี้ครอกจะเดินถนน

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2554 เวลา 09:02

    เรารักพระเจ้าอยู่หัว

    ตอบลบ
  3. ไม่รักในหลวงก็เหมือนไม่รักพ่อรักแม่ ขอเชิญเดินออกไปจากแผ่นดินไทยได้เลย ศรีษะนี้มอบให้พระเจ้าแผ่นดิน

    ตอบลบ
  4. เป็นบทความที่ดีมากครับ ขอบคุณครับ ปราจีนบุรี

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ5 กันยายน 2554 เวลา 20:55

    ใช่ประเทศไทยมีพ่อหลวงที่คอยคุ้มกะลาหัวอยู่ ไอ้พวกที่ไม่เคยสำเหนียก ไม่จงรักภักดี กลับไปบูชาไอ้หน้าเหลี่ยม ก็ออกไปจากประเทศนี้เสีย

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ17 กันยายน 2554 เวลา 00:24

    สมน้ำหน้าไอ้พวกเสื้อแดง เป็นไงล่ะ ตอนนี้เดือดร้อนหนักใช่มั๊ย? แล้วพวกที่ประกาศอยู่บนเวทีว่าเป็นไพร่ ตอนนี้พวกมันมาช่วยเหลือน้ำท่วมหรือเปล่า? พวกมันกำลังจะไปเสวยสุข ไปเตะฟุตบอล ที่เขมรกันอยู่ ปล่อยให้สมุนไพร่ทนทุกข์ระกำกับน้ำท่วมอยู่นี่น่ะ สะใจจริงว่ะ

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ2 ตุลาคม 2554 เวลา 21:34

    ชอบแสดงให้ชาวโลกรู้ว่าตัวดี

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2555 เวลา 14:28

    อยากรู้ว่าทำไมประเทศไทย ถึงมีคนจนมากนัก ทั้งๆที่ทรัพยากรมีมากโข ชาวนาเคยจนอย่างไรก็จนอยู่อย่างนั้น

    ตอบลบ
  9. อ่านบทความแล้ว เมื่อไหร่บ้านเราจะเป็น" ประชาธิปไตย" อย่างที่เราเข้าใจนะ ....

    ตอบลบ
  10. นศท.กานต์ชนก บุญเต็ม15 กรกฎาคม 2555 เวลา 05:28

    ชาติไทยจะยิ่งใหญ่ ถ้าคนไทย "สามัคคี"

    ตอบลบ