วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมบัติของใคร? : รัฐ หรือ กษัตริย์


ากการที่ฟอร์บได้จัดความอันดับร่ำรวยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เป็นที่ห้าของโลกด้วยทรัพย์สินกว่า ห้าพันล้านเหรียญหลายคนก็ได้ตั้งข้อสังเกตราวกับว่าไม่อยากให้ในหลวงรวยเช่นนั้น เช่นการบอกว่า ทรัพย์สินส่วนใหญ่ในห้าพันล้านโดยที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบทรัพย์สินของประมุขของประเทศได้เลย แต่ก็คาดเดากันไปว่าทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่กล่าวอ้างนั้นไม่น่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่น่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

แล้วทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นเป็นสมบัติของใครล่ะ บางคนพอไปเปิดวิกิพีเดีย หรือเว็บของสนง ทรัพยสินฯก็ไปยึดเอา พรบ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย มาตรา ๘ (ปี ๒๔๗๙) ที่ว่า


"
รัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากร

รัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับความยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดิน

รัพย์สินส่วนพระองค์ย่อมไม่อยู่ในข่ายแห่งความยกเว้นดังกล่าวแล้ว

"

ก็ไปทึกทักเอาว่า สนง.ทรัพย์สินฯ นั้นเป็นสมบัติของรัฐ
เพราะว่าไม่ต้องเสียภาษี

การพิจารณาว่ารัฐเป็นเจ้าของหรือไม่ ผมขอเสนอข้อพิจารณา สามประเด็น

1. ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

2. ต้องมีสิทธิในการตรวจสอบได้

3. ต้องมีส่วนในการได้รับผลประโยชน์


ถ้ามีครบทั้งสามข้อนี้ก็กล่าวได้ว่า องค์กรณ์นี้เป็นสมบัติของรัฐ แต่ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่สามารถนับว่าเป็นสมบัติของรัฐได้เช่นกัน อย่างเช่น ในองค์กรณ์เอกชน รัฐนั้นมีอำนาจตรวจสอบได้ระดับหนึ่งโดยผ่านกรมสรรพากรหรือกระทรวงพาณิชย์ แต่รัฐไม่ได้รับผลประโยชน์รับเพียงภาษี และก็ไม่มีอำนาจการบริหาร องค์กรแห่งนั้นจึงไม่ใช่ของรัฐแต่เป็นของเอกชน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำหรับ สนง.ทรัพย์สินฯ
รัฐไม่มีส่วนในทั้งสามข้อนี้เลย คือ


1. รัฐไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

ถึงแม้ว่า สนง.ทรัพย์สินฯจะมีประธานกรรมการ มาจากรมต.คลัง โดยตำแหน่ง แต่ว่าการดำเนินกิจการใดๆล้วนต้องดำเนินการในนามคณะกรรมการ ซึ่งล้วนแต่งตั้งโดยตรงจากพระมหาษัตริย์ ทั้งสิ้น และอำนาจการแต่งตั้งนี้เป็นพระราชอำนาจอย่างสัมบูรณ์ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องมีผู้เสนอและผู้สนองพระบรมราชโองการ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่มีอำนาจใดๆเลยที่จะก้าวล้ำเข้าไปบริหารจัดการใดๆได้และการจัดการใดๆก็ต้องล้วนเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยทั้งสิ้นการเป็นประธานกรรมการของ รมต.คลังจึงเป็นเพียงแต่ในนามและไม่ได้มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น


2. รัฐไม่ได้มีอำนาจในการตรวจสอบ

การตรวจสอบใดๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานนี้นี้จะต้องได้พระบรมราชานุญาติ และไม่กระทบต่อพระมหากษัตริย์ด้ว ซึ่งก็คือรัฐตรวจสอบได้ แต่ต้องได้รับอนุญาติก่อนจากสนง.ทรัพย์สินก่อน ถ้าไม่อนุญาติก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คงกล่าวได้ว่ารัฐไม่มีอำนาจตรวจสอบองค์กรณ์ นี้


3. รัฐไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน

จาก มาตรา ๘ (ปี ๒๔๗๙) ที่กล่าวว่าองค์กร แห่งนี้ไม่ต้องเสียภาษีอากร และ มาตรา ๗ (แก้ไข ปี ๒๔๙๑) ที่ว่าไว้ว่ารายได้หักค่าใช้จ่ายได้แต่โดยพระราชอัธยาศัย นั่นก็คือรายได้ทั้งหมดถวายแด่พระมหากษัตริย์ และไม่มีส่วนไหนตอบแทนกับรัฐเลย


รัฐไม่มีส่วนร่วมในสามประการนี้เลย ดังนั้นสนง.แห่งนี้จึงไม่ควรที่จะจัดไว้เป็นสมบัติของรัฐ และผู้ที่เป็นเจ้าของสำนักงานนี้ ก็ควร มีส่วนในทั้งสามข้อที่กล่าวมาแล้ว นั่นก็คือ มีสิทธิในการบริหาร อำนาจการตรวจสอบและ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน


1. การบริหารจัดการ

จากที่กล่าวข้างต้น คณะกรรมการ และ ผู้อำนวยการ ของสนง.ทรัพย์สินฯ ที่ทำหน้าที่บริหารองค์กรแห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งโดยพระพระมหากษัตริย์ และจากมาตรา ๗ (แก้ไข ปี ๒๔๙๑)


"
ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน"มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนา หรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น


"
ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การใช้จ่ายต่างๆของ สนง.ทรัพย์สินนั้นต้องได้พระบรมราชานุญาติเท่านั้นแสดงว่า พระมหากษัตริย์ สามารถมีอำนาจในการบริหารองค์กรแห่งนี้ได้


2. อำนาจในการตรวจสอบ

การประชุมเพื่อตีความสถานะสนง.ทรัพย์สินฯ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อปี 2544 ในที่ประชุม ประธานได้ซักถามผู้แทนสนง.ทรัพย์สินฯ ว่า“สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้การดูแลของใคร และเมื่อได้มีการจัดทำงบประมาณเสร็จในแต่และปี เสนอต่อใคร”

ผู้แทนสำนักงานได้ตอบว่า “เสนอโดยตรงต่อพระมหากษัตริย์”นั่นก็ย่อมหมายความว่า พระมหากษัตริย์นั้นมีสิทธิในการตรวจสอบบัญชีของสนง.ทรัพย์สินฯ


3. ผลประโยชน์ตอบแทน

จากที่กล่าวตอนต้นแล้วว่า รายได้จากสนง.ทรัพย์สินนี้
ทูลเกล้าถวายพระมหากษัตริย์


จากที่กล่าวมาทั้งสามข้อ สนง.ทรัพย์สินแห่งนี้ควรจัดเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ เพราะว่าพระมหากษัตริย์มีส่วนใน อำนาจการบริหารจัดการ อำนาจการตรวจสอบ และ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน


we love cow prince


อ้างอิงจาก

[1] พระราชบัญญัติ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479

[2] พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ .2491

[3] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร”, ฟ้าเดียวกัน ฉบับที่ 1, 2549


หมายเหตุ
ที่จริงแล้ว ตอนแรกตั้งใจเขียนเรียบเรียงให้ดีกว่านี้เพื่อเสนอต่อฟ้าเดียวกันแต่ว่าไม่ค่อยมีเวลา จึงเขียนลวกๆเป็นกระทู้แล้วกัน
( we love cow prince )


ที่มา : เว็บบอร์ด"ฟ้าเดียวกัน" : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สมบัติของใคร?, รัฐ หรือ กษัตริย์

6 ความคิดเห็น:

  1. มาตรา ๕[๕] ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง

    ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

    ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย


    *******

    ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นคือประมุขของประเทศ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นทรัพย์แห่งแผ่นดิน! เพราะเป็นทรัพย์ของประมุขของประเทศ

    และโดยหลักแล้วทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีมาก่อนทรงครองราช ถ้ามีรายได้ก็เสียภาษีอยู่แล้วครับ


    คุณราษฎร์ท่านก็จัดการอย่าถูกต้องอยู่แล้ว คุณจะมาขุดคุ้ยทำไมให้เสียกับตัวคนพูดเอง

    ประชาชนทั้งแผ่นดินก็ย่อมทราบว่าค่าเช่าที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯถูกยิ่งกว่าถูก (เว้นไม่กี่ที่ ซึ่งก็ควรเก็บแพงเพราะเจ้าของกำไรเยอะเช่นเซ็นทรัล)

    ตายายเป็นจีนธรรมดา เช่าที่สำนักงานทรัพย์สินอยู่ แค่เดือนล่ะไม่กี่ร้อย ถูกเหมือนได้เปล่า แถมปล่อยเซ้งกำไรมหาศาล! นี่คือความเป็นจริง


    ป.ล. นักการเมืองชั่วๆที่โกงที่วัด โกงที่ประชาชนโดยการใช้อำนาจแซงแซงกรมบังคับคดี ผมว่าชั่วกว่าเยอะ.......

    ตอบลบ
  2. มาตรา ๕[๕] ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง

    ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อน ให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

    ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย


    *******

    ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นคือประมุขของประเทศ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ถือเป็นทรัพย์แห่งแผ่นดิน! เพราะเป็นทรัพย์ของประมุขของประเทศ

    และโดยหลักแล้วทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่มีมาก่อนทรงครองราช ถ้ามีรายได้ก็เสียภาษีอยู่แล้วครับ


    คณะราษฎร์ท่านก็จัดการอย่าถูกต้องอยู่แล้ว คุณจะมาขุดคุ้ยทำไมให้เสียกับตัวคนพูดเอง

    ประชาชนทั้งแผ่นดินก็ย่อมทราบว่าค่าเช่าที่ดิน สนง.ทรัพย์สินฯถูกยิ่งกว่าถูก (เว้นไม่กี่ที่ ซึ่งก็ควรเก็บแพงเพราะเจ้าของกำไรเยอะเช่นเซ็นทรัล)

    ตายายผมเป็นจีนธรรมดา เช่าที่สำนักงานทรัพย์สินอยู่ใจกลางเมือง แค่เดือนล่ะไม่กี่ร้อย ถูกเหมือนได้เปล่า แถมปล่อยเซ้งกำไรมหาศาล! นี่คือความเป็นจริง


    ป.ล. นักการเมืองชั่วๆที่โกงที่วัด โกงที่ประชาชนโดยการใช้อำนาจแซงแซงกรมบังคับคดี ผมว่าชั่วกว่าเยอะ.......

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ22 เมษายน 2554 เวลา 22:50

    โห เยอะจังเลย

    เรายังไม่มีสร้างบ้านเลย

    อยู่บ้านเล็ก

    ด้วย ไม้ อยู่เลย!!

    เห้อๆๆๆ

    ไพร่ ดีดีนี่เองเรา!!

    ตอบลบ
  4. แต่ละฝ่ายพยายามจะบิดเบือน
    ความจริงอยู่ตรงนี้ครับ ย่อๆ แบ่งเป็น 2 ข้อ
    1.ทรัพย์สินส่วนมหากษัตริย์ เป็นกิจการที่ราชวงค์จักรีเดิมทำมาอยู่แล้ว แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะราชไปยึดของราขวงค์มา ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิช ปูนซีเมนต์ไทย บริษัทเทเวศประกันภัย แต่พรบ. ปี 2479 ให้เปลี่ยนเป็นรัฐมนตรีคลัง เป็นผู้บริหาร ส่วนนี้ไม่ต้องเสียภาษีครับ
    2.ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่นจากการบริจาค ขายสินค้าสวนจิตลดา โครงการหลวง ส่วนนี้ต้องเสียภาษีครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2555 เวลา 23:52

    มนุษย์เดี๋ยวนี้แปลก เอาความคิดของตัวมาตั้งเป็นธง แล้วหาเหตุต่างๆ มาสนับสนุนความคิด แค่เห็นจั่วหัว ก็รู้ไปถึงจิตใต้สำนึก เสรีภาพต้องมาพร้อมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบเสมอ เพียงแค่อ้างเหตุการณ์ 19 กย. ให้เป็นความชอบธรรมของตัวในการเลือกที่จะคิด อ้างสิทธิในการแสดงความเห็นผ่านบล็อคตัวเอง แพร่กระจายไปยังสังคม เหมือนเชื้อโรคที่ตัวเองเป็นคนเดียวไม่พอ แต่อยากให้คนอื่นเป็นไปด้วย เที่ยวไปคัดลอกบทความคนอื่นที่มีความเห็นคล้ายตัว บางบทความก็เลือกคัดลอกเฉพาะที่ตัวเองชอบ วิธีการแบบนี้ เสื้อแดงถนัด และทำได้เก่งเสมอ

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ16 กันยายน 2555 เวลา 23:52

    มนุษย์เดี๋ยวนี้แปลก เอาความคิดของตัวมาตั้งเป็นธง แล้วหาเหตุต่างๆ มาสนับสนุนความคิด แค่เห็นจั่วหัว ก็รู้ไปถึงจิตใต้สำนึก เสรีภาพต้องมาพร้อมกับหน้าที่ และความรับผิดชอบเสมอ เพียงแค่อ้างเหตุการณ์ 19 กย. ให้เป็นความชอบธรรมของตัวในการเลือกที่จะคิด อ้างสิทธิในการแสดงความเห็นผ่านบล็อคตัวเอง แพร่กระจายไปยังสังคม เหมือนเชื้อโรคที่ตัวเองเป็นคนเดียวไม่พอ แต่อยากให้คนอื่นเป็นไปด้วย เที่ยวไปคัดลอกบทความคนอื่นที่มีความเห็นคล้ายตัว บางบทความก็เลือกคัดลอกเฉพาะที่ตัวเองชอบ วิธีการแบบนี้ เสื้อแดงถนัด และทำได้เก่งเสมอ

    ตอบลบ