วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550

New look at Thai Royal riches : ราชวงศ์ไทยรวยที่สุดในโลกหรือเปล่า?


นักวิชาการชาวไทยประเมินค่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อาจมีมูลค่ามากกว่าที่เคยได้ประมาณการไว้

ราชวงศ์ไทยรวยที่สุดในโลกหรือเปล่า?

ที่ผ่านมามูลค่าสินทรัพย์ในสนง.ทรัพย์สินฯ ได้รับการประมาณการไว้ที่ 2พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นตัวเลขที่นิตยสาร Forbesใช้เมื่อปี 1997 และอีกตัวเลขหนึ่งที่ว่ากัน คือ 8พันล้านเหรียญ (หนังสือ Asian eclipse: Exposing the Dark Side of Business in Asia โดย Michael Backman) ส่วนทาง Bloomberg คำนวนมูลค่าการถือครองหลักทรัพย์ของสนง.ทรัพย์สินฯ ไว้ที่ 5พันล้านเหรียญ ซึ่งตัวเลขนี้ ทาง Forbes ได้นำไปใช้ในการจัดอันดับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าเป็นพระมหากษตริย์ที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 5 ของโลก

บทความล่าสุดในนิตยสาร Journal of Contemporary Asia อ้างว่าตัวเลขต่างๆข้างต้นนั้น เป็นการประมาณการณ์ที่ต่ำเกินไปอย่างมาก อาจารย์พอพันธ์ อุยยานนท์ นักเศรษฐศาสคร์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้คำนวนมูลค่าสินทรัพย์ของ สนง.ทรัพย์สินฯไว้ที่ 1.123 ล้านล้านบาท (32พันล้านเหรียญ คิดที่ 35บาทต่อดอลล่าร์)

โดยในการประเมินดังกล่าว อ.พอพันธ์ ได้ให้เหตุผลที่ตัวเลขกระโดดขึ้นไปอย่างมากว่าได้เกิดจากการรวมมูลค่าการถือครองทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์เข้าไปด้วย และแม้จะมีตัวเลขว่า สนง.ทรัพย์สินฯ มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนวน 8,835 ไร่ในเขตกรุงเทพฯ แต่ก็ไม่มีข้อมูล ที่ชัดเจนเรื่องที่ตั้งของที่ดินดังกล่าว

อย่างไรก็ดี หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ว่าที่ดินเหล่านี้จำนวนไม่น้อย ตั้งอยุ่ในเขตเมืองและย่านธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งอ.พอพันธ์ ได้ใช้ปัจจัยนี้ มาเป็นสมมติฐานร่วมกับราคาประเมินที่ดินในเขตต่างๆมาประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่ง อ.พอพันธ์เชื่อว่า แม้แต่ตัวเลขที่ได้จะสูงมากก็ตามการประเมินดังกล่าวยังเป็นการประเมินที่ค่อนไปในทางต่ำกว่ามูลค่าจริงอยู่ดี และย้ำว่าตัวเลขนี้ เป็นตัวเลขคร่าวๆเท่านั้น

ด้วยมูลค่าสินทรัพย์สุงกว่า 30พันล้านเหรียญ ราชวงศ์ไทย จึงกลายเป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยกษัตริย์บรูไน ที่นิตยสาร Forbes ได้บันทึกไว้ว่าร่ำรวยที่สุดในโลกนั้น มีสินทรัพยประมาณ 22 พันล้านเหรียญ

บางคนอาจเถียงว่าสินทรัพย์ทั้งหลายนั้นจริงๆแล้วเป็นของรัฐ ไม่ได้มีไว้ให้ราชวงศ์ใช้จ่าย ซึ่งกรณีนี้ทางอ.พอพันธ์ได้ชี้แจงว่า หลังปี 2475 รัฐบาลคณะราษฎร์ ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อแบ่งแยกทรัพย์สินต่างๆ ว่าส่วนใดเป็นของรัฐ และส่วนใดเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์

อย่างไรก็ดี พรบ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 ได้แก้ไขให้อำนาจการจัดการทรัพย์สิน กลับไปอยู่ กับสำนักพระราชวัง และอนุญาตให้การดำเนินการของ สนง.ทรัพย์สินฯ เป็นไปโดยอิสระจากรัฐบาล และให้การใช้ทรัพยากรของสนง.ทรัพย์สินฯ เป็นไปโดยพระราชอัธยาศัย (ผมแปลตาม article ที่ได้รับมานะครับ จริงเท็จอย่างไร ขอเวลาอ่าน พรบ.อีกที http://www.crownproperty.or.th/history.php)

นอกจากนี้ พรบ.ยังกล่าวว่า สินทรัพย์ดังกล่าวไม่มีการประเมินมูลค่า ไม่มีการเรียกเก็บภาษี และการดำเนินการของสนง.ทรัพย์สินฯ ไม่สามารถระบุวิธีการได้แน่ชัดตามกฏหมาย

ในกาลต่อมา รัฐสภามีความจำเป็นต้องให้คำจำกัดความเรื่องสถานะของ สนง.ทรัพย์สินฯ ว่ามีสถานะเป็นองค์กรประเภทใดถึง 4 คราว ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นการให้คำจำกัดความที่สับสน และไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยเอกฉันท์ กล่าวคือสภาได้มีความเห็นว่า สนง.ทรัพย์สินฯ ไม่ใช่บริษัทเอกชน ไม่ใช่กระทรวง ทบวง กรม ใดๆ ของรัฐ และไม่ใช่รัฐวิสาหกิจอีกด้วยโดยในปี 2544 ได้กำหนดให้ สนง.ทรัพย์สินฯ เป็น "หน่วยงานหนึ่งของรัฐ" ไม่ว่าคำจำกัดความนี้จะมีความหมายว่าอะไรก็ตาม

สถานะพิเศษนี้ อ.พอพันธ์ อธิบายว่าได้ทำให้ สนง.ทรัพย์สินฯ ซึ่งได้ลงทุนเป็นจำนวนมากใน ธนาคาร ประกัน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และปิโตรเคมี เกิดความมั่งคั่งเป็นอย่างมากหลังช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เขากล่าวว่า "ปัจจัยสำคัญของความมั่งคั่งของ สนง.ทรัพย์สินฯ คือสายป่านที่ยาวมาก ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจนั้น สนง.ทรัพย์สินฯ สามารถกู้เงินจำนวนประมาณ 6-8 พันล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2-3 เท่าของรายได้สูงสุดต่อปีของสนง.ทรัพย์สินฯ ในช่วงก่อนหน้านั้น และเราไม่รู้เลยว่าเงินกู้ดังกล่าว มีที่มาอย่างไร"

อ.พอพันธ์ ยังได้เขียนถึงการดำเนินการของสนง.ทรัพย์สินฯ ที่ได้รับการเอื้อประโยชน์จากนโยบายรัฐที่มุ่งกอบกู้ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และธนาคาร หลังวิกฤติเศรษกิจในคราวนั้น เขาอ้างถึงธนาคารไทยพานิชย์ ซึ่ง สนง.ทรัพย์สินฯเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ว่าในช่วงวิกฤติ ธนาคารต่างๆจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อรักษากิจการนั้น กระทรวงการคลังได้เสนอให้เงินลงทุน เพื่อการเพิ่มทุนดังกล่าว

ธนาคารบางแห่ง ตัดสินใจไม่รับข้อเสนอของกระทรวงการคลัง และวิ่งหาทางเพิ่มทุนจากแหล่งทุนอื่นๆ เนื่องจากเกรงว่าต้องตกเป็นธนาคารของรัฐในอนาคต

แต่สนง.ทรัพย์สินฯ ได้ตกลงรับเงินเพิ่มทุนดังกล่าวจากนั้น ได้ทำการซื้อหุ้นเพิ่มทุนคืนจากกระทรวงการคลัง ที่ราคาขายครั้งแรกบวกดอกเบี้ย เป็นมูลค่ารวม 13พันล้านบาทารซื้อหุ้นคืนนี้ ทำโดยการโอนที่ดินจำนวน 485 ไร่ของสนง.ทรัพย์สินฯ ซึ่งได้ใช้เป็นที่สร้างอาคารสำนักงานต่างๆอยู่แล้วไปเป็นของรัฐ

ธนาคารไทยพานิชย์ เป็นธนาคารเดียวที่ได้ทำการซื้อขายลักษณะนี ้ในบทความ อ.พอพันธ์หลีกเลี่ยงการพูดถึงผลกระทบเรื่องการเมืองที่เกิดจาก สนง.ทรัพย์สินฯ เขากล่าวเพียงว่าสนง.ทรัพย์สินฯได้สร้างความมั่งคั่งให้กับราชวงศ ซึ่งได้ช่วยปกป้องราชวงศ์จากแรงกดดันทางการเมือง อันสืบเนื่องจากการใช้งบประมาณของรัฐ


เขียนโดย. Daniel Ten Kate

แปลไทยโดย. panoon

หมายเหตุ
ผมแปลมาให้อ่านกัน โดยพยายามรักษาเนื้อความเดิมไว้ให้มากที่สุด ผิดพลาดประการใด รบกวนเพื่อนสมาชิกชี้แนะด้วยครับ

http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=91...
เมื่อ 6 ธค. ครับ ( panoon )


ที่มาของสำเนาฉบับแปลไทยนี้ : http://www.arayachon.org/forum/arayachon/307
การเน้นข้อความเปนไปตามความเห็นของผู้จัดเก็บบทความเอง ( เจ้าน้อย.. )

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2551 เวลา 01:36

    ไม่ทราบว่า ผู้จัดทำ blog นี้ มีความเห็นอย่างไร ต่อราชวงศ์ หรือ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ดูเหมือน เจ้าของ blog นี้ เป็นอย่าง นปก หรือ พวกทุนสามานย์ ขอยกบทความนี้
    ผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพียงแต่ไล่ผู้มีอำนาจชุดเก่าไป แล้วตัวเขาก็นั่งบัลลังก์แทน

    ในชั้นต้นก็ดูว่า เขาได้พยายามจะชำระล้างความโสโครกอยู่เหมือนกัน แต่ในไม่ช้าความโลภและความเห็นแก่ตัวก็ค่อยงอกงามขึ้นในจิตใจของเขา

    ในที่สุดเขาก็หลงติดอยู่ใน

    ทักษิณ ตัวเหี้ย ก็เป็นเหมือนกัน ดูจากคดีความต่าง ๆ

    ผมเจอ site นี้โดยบังเอิญ แล้วดูเหมือน จะรวบรวมบทความการปฏิวัติ การยกเจ้าอีกองค์เป็นพระมหากษัตริญ์ ในการนี้ ขอพระเสื้อเมือง ทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช เป็นประจักษ์พยาน หากผู้เป็นเจ้าของ blog นี้ มีจิตอันไม่ซื่อต่อประเทศ และคิดร้ายต่อพระประมุขแล้ว ขอให้กรรมตามทันในทุกทาง และทุกชาติไป

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ5 ตุลาคม 2551 เวลา 01:37

    ไม่ทราบว่า ผู้จัดทำ blog นี้ มีความเห็นอย่างไร ต่อราชวงศ์ หรือ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ดูเหมือน เจ้าของ blog นี้ เป็นอย่าง นปก หรือ พวกทุนสามานย์ ขอยกบทความนี้
    ผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เพียงแต่ไล่ผู้มีอำนาจชุดเก่าไป แล้วตัวเขาก็นั่งบัลลังก์แทน

    ในชั้นต้นก็ดูว่า เขาได้พยายามจะชำระล้างความโสโครกอยู่เหมือนกัน แต่ในไม่ช้าความโลภและความเห็นแก่ตัวก็ค่อยงอกงามขึ้นในจิตใจของเขา

    ในที่สุดเขาก็หลงติดอยู่ใน

    ทักษิณ ตัวเหี้ย ก็เป็นเหมือนกัน ดูจากคดีความต่าง ๆ

    ผมเจอ site นี้โดยบังเอิญ แล้วดูเหมือน จะรวบรวมบทความการปฏิวัติ การยกเจ้าอีกองค์เป็นพระมหากษัตริญ์ ในการนี้ ขอพระเสื้อเมือง ทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช เป็นประจักษ์พยาน หากผู้เป็นเจ้าของ blog นี้ มีจิตอันไม่ซื่อต่อประเทศ และคิดร้ายต่อพระประมุขแล้ว ขอให้กรรมตามทันในทุกทาง และทุกชาติไป

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ28 มกราคม 2553 เวลา 01:02

    ขอบคุณท่านผู้ทำ site นี้ ขึ้นมาดิฉันเข้ามาพบโดยบังเอิญเช่นกันการรวบรวมบทความของท่านแม้จะเป็นการรวบรวมจากการนิยมส่วนบุคคล แต่กลายเป็นประโยชน์มากในสถานการบ้านเมืองและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบันที่ไม่ใช่"วัฒนธรรมที่ตายแล้ว "ดังนั้นความเห็นที่มีต่อราชวงศ์ หรือสิ่งที่มักจะเรียกกันว่า " ความจงรักภัคดี" ในฐานะที่เป็นชาวไทยคนหนึ่งทราบดีว่าไม่มีทางใดที่จะ"เปลี่ยนแปลง"ได้ ด้วยถูกสั่งสมมานาน คงจะเกิดการ"ปรับ"ความเข้าใจและ"ปรุง"ความรู้ ทางข้อมูลข่าวสารเท่านั้น

    "เพราะวัฒนธรรมใดไม่มีการเดินต่อไปนั่นคือวัฒนธรรมที่ตายแล้ว" อย่าล้าหลังหรือย่ำอยู่กับที่

    "ถ้าวัฒนธรรมตายนั่นหมายความว่าไม่มีมนุษย์"

    ขอเสนอให้ผู้ที่ เข้ามาเพิ่มความรู้ blog นี้ เข้าใจว่าทุกคนสามารถกลั่นกรองข้อมูล ด้วยตนเอง ได้ดีไม่จำเป็นต้องเป็น นปก หรือ พวกทุนสามานย์ อย่าที่กำลังกล่าวหา...

    กรุณาให้เกีรติผู้ที่เข้ามาใช้ท่านอื่น
    ให้เพียงพอกับที่ท่านให้เกียรติตัวท่านเอง.
    .
    .
    .
    ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย เจ้ากรุงพาลี นางพระธรณี นางพระคงคา พระยามัจจุราช ท้าวจตุโลกบาล เทวบาลทั้งสี่ ขอพระเสื้อเมือง ทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช และบูรพกษัติย์ไทยทุกพระองค์
    จงปกป้องคุ้มครองประชาชนชาวไทยผู้มีศีล
    ให้มีชีวิตที่ดี มีความสุข กาย สุข ใจ พ้นจากอุบาตภัยทั้งหลายทั้งปวง ล่วงสู่ยุคพระศรีอาริย์ ที่จะมาถึงในไม่ช้านี้
    .
    .การให้ทานใดไม่ยิ่งใหญ่เท่าการให้ความรู้
    .
    นิพพานัง ปัตโย โหน ตุ

    ตอบลบ